วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 12:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นไปของคนป่วยหนัก ถ้าไม่ใช่เป็นผู้มีปัญญาหรือ ไม่ได้สะสมบุญไว้มาก

ย่อมจะเกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจเป็นธรรมดา ส่วนผู้ที่มีปัญญาและผู้ที่สะสม

บุญไว้มาก ทั้งมิได้ประกอบอกุศลกรรมไว้ ย่อมไม่เกิดทุกข์ทางใจ แม้จะมีทุกข์ทางกาย

บ้าง ดังนั้น ในชีวิตขณะที่ปกติ ถ้าไม่สะสมการฟังการเห็นประโยชน์ของพระธรรม

ในขณะที่ป่วยหนักจะสนใจฟังพระธรรมนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะความเจ็บปวดทางกาย

และจิตใจก็ศร้าหมอง และขาดศรัทธา การเห็นประโยชน์ก็ไม่มี และก่อนหน้านี้เขา

ก็ไม่สนใจ นอกจากจะนำเสนอเพียงเรื่องเบาๆ พื้นๆทั่วไป เช่น พุทธประวัติ ชาดก

เป็นต้น ก็อาจจะทำให้จิตเปลี่ยนจากความกังวล ความทุกข์ได้บ้างครับ

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา นั้น ประกอบด้วยเหตุและ

ผล เป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อการละคลายอกุศล เป็นไปเพื่อการ

ดับกิเลส เป็นไปเพื่อการดับทุกข์โดยประการทั้งปวง เป็นไปเพื่อการไม่เกิดอีก บุคคล

ผู้ที่ไม่มีปัญญา (ถึงแม้จะยังไม่เจ็บป่วยก็ตาม) ไม่ได้สะสมเหตุที่ดีมา ย่อมไม่เห็น

ประโยชน์ของพระธรรมซึ่งมีคุณค่ามากอย่างนี้ที่สามารถนำออกจากทุกข์ได้จริง ถึงแม้

ว่าจะมีผู้แนะนำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์แก่เขาอย่างไรก็ตาม เขาย่อมไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็น

ประโยชน์ ซึ่งเป็นไปตามการสะสมมาของบุคคลผู้นั้น

เพราะฉะนั้น พระธรรม จึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้สะสมบุญมาแล้วตั้งแต่ชาติ

ปางก่อนเท่านั้น ส่วนบุคคลผู้ที่ไม่ได้สะสมบุญมาย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากพระธรรม

พระธรรมย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าสำหรับเขา ซึ่งจะตรงกับคำที่ว่า “ธรรม ไม่ได้สาธารณะ

กับทุกคน” ประการที่สำคัญที่ควรจะตระหนักอยู่เสมอ คือ เราไม่สามารถจะไป

เปลี่ยนแปลงชีวิตของบุคคลอื่นให้มาสนใจพระธรรม ตามที่เราปรารถนาได้ทั้งหมด แต่

สิ่งสำคัญที่สุด ที่ควรทำสำหรับตนเอง คือ ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญ

ปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ และเกื้อกูลบุคคลนั้นด้วยพระธรรม

ตามที่ตนเองเข้าใจ เท่าที่จะเกื้อกูลได้ตามกำลังปัญญาของตนเอง ด้วยจิตที่ประกอบ

ด้วยเมตตา มีเมตตา มีความปรารถนาดีหวังดีทุกเมื่อ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นเมตตา

แล้วจะไม่ทุกข์ แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะไม่รับฟังในคำแนะนำของเราก็ตาม (แต่ถ้ารับฟังได้

ย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขา) และที่สำคัญ ขอให้ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดเท่าที่จะ

ทำได้ ครับ
ต้องมั่นคงในความเป็นสภาพธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมะ

ก็จะค่อยๆละคลายความติดข้อง ความกังวล เพราะสะสมความเป็นเรา

หนาแน่นมานานแสนกัปฏ์

การเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรับสภาพการป่วยหนักจนกระทั่งตาย นั้น

ก็คือเดี๋ยวนี้ครับ ศึกษาธรรมะและไตร่ตรองจนเป็นปัญญาของเราเองจริงๆ

จะหวั่นไหวน้อยลงเมื่อมั่นคงในความไม่มีเรา เพราะทุกอย่างเป็นธรรม

การจะคิดอย่างไรนั้นแล้วแต่การสะสม ห้ามไม่ได้ เพราะทุกคนอยู่ในโลก

ของความคิด และความคิดนั้นก็ไม่ใช่เราที่คิด

ขอให้มีความอดทนที่จะฟังธรรมให้เข้าใจจริงๆว่า ทุกอย่างเป้นธรรมะ

ไม่ใช่เรา ขณะต่อไปอะไรจะเกิดขึ้น แล้วแต่เหตุปัจจัย จริงๆ ไม่สามารถรู้ได้
ไม่พ้นไปจากธรรมที่มีในขณะนี้ ขณะที่หวั่นไหว ขณะที่ห่วง เป็นสิ่งที่มีจริง เป็น

ธรรม ซึ่งก็เป็นไปตามความคิดนึก จากสิ่งที่เห็น ได้ยิน ..การอบรมปัญญาเพื่อ

เข้าใจความจริง ไม่ใช่ไม่ให้มีความหวั่นไหว เพราะห้ามไม่ได้เพราะเป็นธรรมและ

เป็นอนัตตา แต่การศึกษาเพื่อเข้าใจความจริงที่ถูกต้อง ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

ประจำวันนั้นเป็นเพียงสภาพธรรมครับ โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนครับว่า

ธรรมคืออะไร ขออนุโมทนาครับ

ธรรมข้อคิด พระธรรม ไม่ใช่ยาที่ใช้ทันทีแล้วหาย(ไม่ให้ไม่หวั่นไหว) แต่เป็นยาที่

ใช้เวลารักษาเพราะสะสมโรคร้ายมามากคือกิเลสและความไม่รู้และยึดถือว่าเป็น

เรามานาน

บุญไม่ใช่แบบพัสดุไปรษณีย์ที่ยกให้ ส่งให้กันได้ กุศลของใครก็ของคนนั้นครับ

ใครทำกรรมได้ คนนั้นย่อมได้เอง ไม่ใช่ให้คนอื่นได้ หากแต่ว่าการอนุโมทนา

บุญนั้น ก็เพราะกุศลของบุคคลที่อนุโมทนาเกิดขึ้นเองครับ กุศลของเขาเองเกิด

ขึ้น ไม่ใช่ว่าคนอื่นทำบุญแล้วก็ยกบุญให้คนนั้น กรรมของใครก็ของคนนั้นครับ

แต่ที่บอกบุญ ไม่ใช่ยกบุญ แต่ให้กุศลจิตของคนที่รู้เกิดขึ้นครับ ที่เรียกว่า

อนุโมทนาครับ และที่สำคัญ สิ่งที่ทำที่จะไปบอกบุญนั้นเป็นกุศลหรือไม่ เป็น

ความเห็นถูกหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ คนที่ทราบก็ยินดีชื่นชมในทางผิด ในสิ่งที่ผิด ก็

ไม่ใช่บุญที่เกิดจากการอนุโมทนา เพราะกุศลที่เกิดจากการอนุโมทนาต้องเกิด

จากการยินดีจากสิ่งที่เป็นกุศล ไม่ใช่อกุศลครับ ขออนุโมทนา

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สัตวโลกเป็นไปตามการสะสมมา สะสมที่จะสนใจพระธรรม หรือไม่สนใจ หรือสนใจ

ธรรมแล้ว แต่ก็สะสมไปในทางเห็นถูกและเห็นผิด สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ว่าจะให้สนใจหรือไม่สนใจ จะเห็นถูกหรือเห็นผิด แผ่นดินโลกนี้

ไม่มีใครถมให้เสมอกันได้ จะทำให้แต่ละคนสนใจพระธรรมไม่ใช่ฐานะ แม้พระพุทธเจ้า

ก็ช่วยไมได้ หากบุคคลนั้นไม่ได้สะสมมา พระองค์เป็นแต่ผู้บอกทาง บางคนไม่อยาก

ไป พระองค์ไม่ตรัสบอก เพราะไม่เป็นประโยชน์ บอกทางแล้ว บางคนไปทางผิด ไป

ทางถูก จะทำอย่างไรได้เพราะตามการสะสมมา หากแต่ว่า กิจที่ควรทำที่สำคัญที่สุด

คือ ความเข้าใจธรรมของเราว่าถูกต้องเพียงไร ตรงตามพระธรรมวินัยหรือไม่ มิเช่นนั้น

เราก็อาจจะเผยแพร่แนะนำในสิ่งที่ผิดก็ได้โดยไม่รู้ ..จึงเริ่มที่เราเอง ..คบความเห็นถูก

บุคคลที่เห็นถูกและแนวทางที่ถูกต้องครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 750

การันทิยชาดก

ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย

[๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่

กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะ

จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้ง

ก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.

[๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง

จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็น

ขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

[๗๒๙] ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์

คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบ

เรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขา

นี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย

เปล่าเป็นแน่.

[๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์

คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้

ราบเรียบได้ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้

ผู้มีทิฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๗๓๑] ดูก่อนการันทิยะ. ท่านได้บอกความจริง

โดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แผ่นคนนี้

มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ฉันใด

เราก็ไม่อาจจะทำให้มนุษย์ทั้งหลายมาอยู่ใน

อำนาจของเราได้ ฉันนั้น.

จบ การันทิยชาดกที่ ๖
การตอบแทนบุญคุณของผู้ที่มีพระคุณ เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง และควรตอบแทน

ด้วยสิ่งของที่มีประโยชน์ ตามสมควรแก่โอกาส ทั้งอามิสและธรรมะตามควร แม้ว่า

ธรรมะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด แต่บางท่านอาจจะไม่รับฟังก็ได้ ควรสอบถามใน

เบื้องต้นก่อนว่า ท่านมีอุปนิสัยหรือไม่ ถ้าผู้รับไม่มีอุปนิสัย การให้ของเราก็ไม่เป็น

ประโยชน์สำหรับท่าน ถ้าท่านผู้รับมีอุปนิสัยสะสมมาในการฟังพระธรรม การให้

พระธรรมเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์สูงสุด (จะเป็นสื่อ รูปแบบไหนก็ได้)

พระพรหมในพรหมโลก ที่เป็นปุถุชนก็มี พระเสกขบุคคลก็มี

พระพรหมที่เป็นพระอรหันต์ก็มี พระพรหมที่เป็นปุถุชน และพระเสกขบุคคล

ยังมีอกุศลอยู่ อกุศลที่ยังไม่ได้ดับย่อมเกิดขึ้นได้เมื่อมีปัจจัย แต่อกุศลหยาบๆ

ไม่มีในพรหมโลก อนึ่งมีข้อความในพระสูตรมีปรากฏว่า พรหมมีความเห็นผิด

ก็มี และกิเลสที่ยินดีในภพของพระพรหมที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็ยังมี

สรุปคือ พรหมโลกยังมีอกุศล สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

แม้นี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตคือพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย

ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจคำว่ากามาวจรจิตให้ถูกต้องก่อน กามาวจรจิต ไม่ได้หมายถึง

กิเลสกามที่เป็นโลภะ เป็นอกุศล แต่กามาวจรจิตคือตัวจิตที่ท่องเที่ยวไป ด้วย

สามารถแห่งการกระทำให้เป็นอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หมายความ

ว่า จิตใดที่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์แล้ว จิตนั้นเป็น กามาวจรจิต

ดังนั้น กามาวจรจิตจึงเป็นได้ทั้ง 4 ชาติคือ กุศล อกุศล วิบากและกิริยา ขณะที่เห็น มี

รูปเป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นกามาวจรจิต พรหมมีการเห็น ขณะที่เห็นเป็นกามาวจรจิต

พรหมเห็นรูปแล้วเป็นกุศลจิต กุศลจิตมีรูป (สิ่งที่ปรากฎทางตา)เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็น

กามมาวจรจิต ดั งนั้นคำว่าจิตเนื่องด้วยกาม หรือกามมาวจรจิตไมได้หมายถึงจะต้อง

เป็นอกุศลจิตเท่านั้น แต่จิตใดมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็น

กามาวจรจิต พระอรหันต์ ท่านก็ยังเห็น ขณะที่เห็นเป็นวิบากจิต เห็นมีรูป เป็นอารมณ์

เพราะมีรูปเป็นอามรณ์จึงเป็นกามมาวจรจิต ดังนั้นไม่ว่าเป็นบุคคลใด สัตว์ประเภทใด

เมื่อใดก็ตามจิตนั้นมีรูป เสียง.. โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นกามมาวจรจิต
พรหมในที่นี้ คือ ผู้ที่เคยเจริญฌานกุศล จนได้ไปเกิดบนพรหมโลกเพราะวิบากแห่งฌานกุศลนั้น.

เมื่อแบ่งตามการเจริญสติปัฏฐาน เราสามารถพรหมออกได้ดังนี้ .-

1. พรหมชั้นที่เจริญสติปัฏฐานไม่ได้แน่นอน

มี 1 ชั้นเท่านั้น คือ อสัญญาภพ เพราะไม่มีปัญญาเกิดที่อสัญญสัตตาภพ เว้นแต่จะมีอภิญโญทัวร์.

2. พรหมชั้นที่เจริญสติปัฏฐานได้แน่นอนแม้ไม่ได้ฟังธรรม

มี 5 ชั้น คือ สุทธาวาสภพ 5 เพราะเคยบรรลุธรรม รู้วิธีชัดเจนดีอยู่แล้ว.

3. พรหมโลกชั้นที่เจริญสติปัฏฐานได้แน่นอนถ้าได้ฟังธรรม

มี 10 ชั้น คือ ตั้งแต่ปาริสัชชาภพจนถึงเวหัปผลาภพ (รูปพรหมทั้งหมดเว้น 6 ชั้นใน 2 ข้อแรกที่กล่าวไปแล้ว).

เพราะท่านมีจักขุและโสตะ จึงรับรู้รับฟังคำสอนที่ทำให้ตรัสรู้ได้.

4. พรหมโลกชั้นที่เจริญสติปัฏฐานได้เฉพาะผู้ที่เป็นพระอริยะมาก่อนเท่านั้น

มี 4 ชั้น คือ อรูปภพ 4 เพราะพระอริยะเท่านั้นที่รู้วิธีเจริญสติปัฏฐานตาม มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้นได้ตามที่เคยบรรลุมา.

ส่วน อรูปพรหมปุถุชนไม่มีสิทธิ์ทราบพระสัทธรรมได้เลย เหตุผลเท่าที่รวบรวมได้ มี 3 ประการ คือ.-

1. อรูปพรหมปุถุชนไม่มีทั้งจักขุและโสตะ(ทั้งตาบอดและหูหนวก) ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าไม่มีจะทำให้รับรู้คำสอนที่ทำให้ตรัสรู้ไม่ได้.

2. อรูปพรหมเจริญอภิญญา เช่น บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น ที่เกี่ยวกับตาและหูไม่ได้ เพราะไม่มีทั้งจักขุปสาทะและโสตะปสาทะ.

3. ไม่มีปัญจมฌานกุศลที่เป็นอภิญญาเกิดในอรูปภพอีก ทำให้เจริญอภิญญาไม่ได้เลยโดยประการทั้งปวง.



"ความสันโดษ" หมายถึง ความยินดีพอใจในสิ่งที่มี

ขณะที่ยินดีพอใจ เป็นอกุศลหรือเปล่า.?


อกุศล มีมากมาย โดยเฉพาะ "โลภะ" คือ ความโลภ ความติดข้อง

จะดับให้หมดไปทันทีได้ไหม.?


อะไร เป็น"เครื่องวัดความสันโดษ" ในชีวิตของผู้ที่เป็น "คฤหัสถ์".?


ชีวิตของคฤหัสถ์

ไม่ใช่ ชีวิตของบรรพชิต ซึ่งสละทรัพย์สมบัติทั้งหมด

เพื่อจุดประสงค์ คือ การอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต

ซึ่งเป็นไปตามอัธยาศัยที่แท้จริง ที่สามารถสละออกจากชีวิตของคฤหัสถ์

ซึ่งเต็มไปด้วยความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต่าง ๆ


ความสันโดษนั้น อยู่ที่ใจ.!


ผู้ที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นไม่มี

เช่น นักวิทยาศาสตร์ พ่อค้า และอาชีพสุจริตอื่น ๆ

ก็ควรที่จะกระทำใน "สิ่งที่เป็นประโยชน์"

ทั้งแก่ตนเอง และ สังคมส่วนรวม..........?


จะกล่าวว่า เป็นความสันโดษแค่ไหน สำหรับใคร อย่างไร

มีอะไรเป็นเครื่องวัด.?


ถ้าบุคคลนั้น มีความสามารถทำกิจการงานที่ "สุจริต" ของตนได้ผลมาก

มีความยินดีพอใจในความสามารถของตน ไม่เดือดร้อนใจ

และการได้มาซึ่ง "ทรัพย์สินที่ได้มาจากกิจการงานที่สุจริต" นั้น

ถ้าบุคคลนั้น มี "ปัญญา" บุคคลนั้นย่อมเข้าใจว่า

ทรัพย์สินที่ได้มานั้น....

ไม่ได้มาจากการกระทำที่เป็น อกุศลกรรม หรือ "ทุจริตกรรม"

แต่ได้มาจากการกระทำที่เป็น กุศลกรรม หรือ "สุจริตกรรม"

หมายความว่า

การได้มาซึ่งทรัพย์นั้น เป็น"ผลของกุศลกรรม" นั่นเอง.


เพราะฉะนั้น

ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ผู้มี "ปัญญา" คือ เข้าใจในเรื่องของเหตุและผลของกรรม

ย่อมทราบตามความเป็นจริง ว่า

ผลที่ดี ต้องเป็นผลของกุศลกรรม ไม่ใช่ ผลของอกุศลกรรม.
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แม้แต่

การน้อมไป... ไม่ใช่ตัวตนที่น้อมไป...

การฟังพระธรรมให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟังบ่อย ๆ เนือง ๆ สังขารขันธ์ปรุงแต่ง

น้อมไปเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ตัวตนที่น้อมไป ขณะนี้น้อมไปคือภาวนา

การอบรมความเห็นถูก เข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงกำลังปรากฏ แม้แต่การน้อมไปใน

ภาวนา (การอบรมเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น) ก็ไม่มีตัวตนที่จะน้อม

แต่เป็นการปรุงแต่งของสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไป น้อมไปในกุศลธรรมทั้ง

หลายนั่นเอง ซึ่งต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเท่านั้น ที่จะเป็น

ไปเพื่อยังกุศลทั้งหลายให้ถึงพร้อมได้ในชีวิตประจำวันทั้งทาน ศีล และการ

อบรมเจริญปัญญา

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศ๊ล เมื่อวานนี้
มีการถวายผ้าไตรจีวร และได้ถวายพระไตรปิฏก และได้สนทนาธรรม
และศึกษาการรักษาโรค ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมผ้าป่าในโครงงานอบรมปฎิบัติธรรมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน(บวร) จ.ชัยภูมิ
สิ่งที่ต้องเริ่มก่อสร้างมีดังต่อไปนี้

ศาลาปฎิบัติธรรม 2 หลัง
ห้องน้ำ 20 ห้อง
พระพุทธรูปใหญ่(สมเด็จองค์ปฐม)เชิงเขาบัวสูง 2 เมตรหน้าตัก 5 เมตร
สูง 7 เมตร ฐานพระ สูง 9 เมตร เป็นศาลาหรือใช้เป็นโบสถ์ทำ สังฆกรรมได้
สร้างลานปฏิบัติธรรมเนื้อที่ 1 ไร่
สร้างทางเดินจงกรม
ค่าอาหารและน้ำปานะ

เบอรโทร 084-419-0553
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร