วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[รูปจากสมุดภาพของวัดหนองป่าพง
จากหนังสือพระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภทฺโท, หน้า ๗๙]



:b42: รำ ลึ ก ถึ ง ห ล ว ง ปู่ ช า :b42:

วัดหนองป่าพง หมู่ที่ ๑๐ ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่ง พระอาจารย์ชา สุภัทโท ได้ก่อตั้งขึ้น
เพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร
ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ
พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม

ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย
อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น
ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง
กระทั่งต่อมาได้เป็นศูยน์กลางการอบรมสั่งสอน
ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
ให้กับนักปฏิบัติธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
จนเป็นแรงศรัทธาเกิดสาขาขยายไปยังประเทศทั่วโลก

กล่าวสำหรับ พระโพธิญาณเถร หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท
แห่งวัดหนองป่าพง ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน
ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก


หลวงปู่ชาได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พุทธศาสนา
ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา
ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา
และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย
ทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา


จนย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่ชา สุภัทโท
สุขภาพร่างกายของท่านไม่แข็งแรงดังเดิม เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์
หลวงปู่ชาถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ เวลา ๐๕.๓๐ น.
ท่านได้ละสังขารอันเป็นภาระหนัก
และทรมานที่อาพาธมานานไปโดยอาการอันสงบ

ทุกวันนี้ วัดหนองป่าพง มีสถานที่เป็นที่เตือนใจของผู้ประสงค์
จะนมัสการและรำลึกถึงหลวงปู่ชา
คือ พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมประวัติและผลงานของท่านมารวมไว้
ผนังพิพิธภัณฑ์มีภาพชีวิตของท่านปรากฏ
ตลอดจนรูปปั้นขี้ผึ้งของท่าน
เสมือนหนึ่ง หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง ยังมีชีวิตอยู่

ธรรมโอวาทของหลวงปู่ชาเป็นไปด้วยความเรียบง่าย แต่ตรงไปตรงมา
บางครั้งอ่านหรือฟังแล้วอดอมยิ้มไม่ได้
เพราะท่านมีมุมมองที่ลึกซึ้ง
ในขณะที่เรามองข้ามความจริงบางอย่างไปด้วยความเคยชิน


"การไม่กระทำบาปนั้นมันเลิศที่สุด
บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั้นน่ะ มันยากที่สุด

การจะละความชั่วไม่กระทำผิดมันยาก
การทำบุญ โจรมันก็ทำได้ มันเป็นปลายเหตุ
การไม่กระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั้นน่ะเป็นต้นเหตุ"


ในโอกาสที่ วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓
ตรงกับวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง
จึงขอเชิญสานุศิษย์ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ชา สุภัทโท
พร้อมใจเข้าวัดปฏิบัติธรรม รำลึก "หลวงปู่ชา" ละสังขาร โดยพร้อมเพรียงกัน


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คอลัมน์ หน้าต่างศาสนาข่าวสดรายวัน ปีที่ ๑๙ ฉบับที่ ๖๙๓๘,
วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓)

http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... RFMU13PT0=

:b47: รวมคำสอน “หลวงพ่อชา สุภัทโท”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38519

:b47: “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” กับ “หลวงพ่อชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=58059


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 04:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แก้ไขล่าสุดโดย อมิตาพุทธ เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 04:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2010, 20:20
โพสต์: 47

ชื่อเล่น: ซี
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุครับ :b8:

.....................................................
ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่น
ตามแต่บาปบุญแล ก่อเกื้อรักษา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอฉลองกระทู้ด้วยการนำพระธรรมเทศนาอันหนึ่งของพระคุณท่านมาลงไว้
:b8:

หลวงพ่อชา เขียน:
เมื่อมีเรา ก็มีของเรามาหมายมั่น
เหมือนกันกับฝาผนัง ถ้าไม่มีหัวตะปูแล้วห้อยเสื้อไม่ได้
ห้อยกางเกงไม่ได้ ไม่มีที่เกาะฉันใด ถ้าภาวนาถึงที่แล้วมันก็ "ไม่ใช่เรา" "ไม่ใช่ของเรา" เป็นต้น

พระอรหันต์ท่านจึงหลุดพ้น หลุดพ้นจาก "เรา" หลุดพ้นจาก "เขา"
อาสวะทั้งหลายไม่มีที่เกาะ อาสวะทั้งหลายไม่มีที่แอบอิง ไม่มีที่พึ่ง
ถ้ามันหมดตัวเรา

การกระทำทุกวัน การประพฤติทุกวัน การพิจารณาทุกเวลา
จึงเป็นปัญหาที่จะแก้ปัญหาให้รู้จักตัวว่าเราหรือไม่ใช่ของเราออก
ถ้ายังมีตัวเราอยู่อย่างอุปาทาน ก็มีของเราตลอดไป
เมื่อมีของเรา ก็มีของหาย มีของได้
เมื่อมีได้เมื่อมีเสีย ก็มีสุขก็มีทุกข์
เมื่อมีสุขเมื่อมีทุกข์ก็มีเหตุมีปัจจัยหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไม่มีที่สิ้นสุดที่จบลงได้

ฉะนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงเน้น เน้นข้อประพฤติ เน้นข้อปฏิบัติให้เห็นตามเป็นจริง
เมื่อเห็นตามเป็นจริงแล้วก็สบาย แต่เราไม่ค่อยเห็นตามเป็นจริงได้ง่าย

สมัยก่อน ศีล สมาธิ ปัญญาไม่ค่อยมี
มีแต่ว่าบรรลุธรรมะไปฟังธรรมก็ภาวนาไปด้วย

เมื่อรู้จักธรรม ความละอายก็เกิดขึ้นมา ไม่กล้าทำในสิ่งที่ผิดทางกาย วาจา ใจ
เพราะได้ฟังธรรมะ รู้เรื่องตามความเป็นจริงแล้วจึงมีความละอาย
ความละอายท่านเรียกว่า"ศีล"
จิตที่มั่นอยู่กับความละอายว่าจะเป็นบาปอยู่นั้น
ความมั่นในอารมณ์ที่ว่ามันเป็นบาปอันเดียวนั้นเรียกว่า "สมาธิ" ก็ได้

เมื่อสมาธิความมั่นอยู่ในอารมณ์ ไม่กระทำบาป ทำใจให้สุขุม
"ปัญญา" ความรู้เท่าทั้งหลายก็เกิดขึ้นมา บรรลุถึง "สันติธรรม"
เห็นตัวเราของเราตามความเป็นจริงว่ามิใช่เราขึ้นมา เป็นตัวปัญญาเกิดขึ้น
มาพ้นจากวัฏฏะสงสารอันนี้ได้
ฉะนั้นในครั้งพุทธกาลท่านว่า เมื่อมีการฟังธรรมก็บรรลุธรรมเท่านั้นเอง
เมื่อมีศีล สมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นมา


เมื่อหากว่าเราพอแล้ว สิ่งอื่นก็หมดราคา
พูดง่ายๆว่าเรารับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารจะเอร็ดอร่อยอย่างไรก็ช่างมัน
เมื่อมันมีเกินที่เราต้องการแล้ว ถ้าหากว่าเราอิ่มอยู่ทุกอย่างแล้ว
อาหารที่เหลือนั้นมันหมดราคาน้อยลง ไม่เหมือนเรารับประทานครั้งแรก
ทีแรกอันนั้นก็จะเอา อันนี้ก็จะเอามีราคาหมดทุกอย่าง
พออิ่มเข้าอิ่มเข้า อาหารที่อร่อยย่อมหมดราคาน้อยลง เพราะเราอิ่ม
มันเลยเป็นของหมดราคา เมื่อความหิวมีอยู่ก็เอาหมด ผักน้ำพริกก็เอา
แก่เท่าไรก็ว่าอ่อน เพราะความหิวมีอยู่ ความอยากมีอยู่เป็นต้น
ความต้องการมีอยู่ เมื่อความเป็นเราเป็นเขามีอยู่เป็นต้น
มันก็มีปัญหาอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาเสมอ

ดังนั้นการฟังธรรมะเพื่อจะอบรมใจเราให้เกิดปัญญา เพื่อให้ไปแก้ปัญหาของโลก

ปัญหาของโลกอยู่ไหน

"โลก" คือ"อารมณ์" ที่มีอยู่รอบๆตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นต้น
จัดได้ว่าเป็นอารมณ์ ดีชั่วทั้งหลายทั้งปวงเป็นอารมณ์

อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเราหลงอารมณ์ก็คือเรา "หลงโลก"
"หลงโลก" ก็คือ"หลงอารมณ์"


คำว่าดูโลกไม่ใช่ว่านั่งเครื่องบินไปรอบโลก
โลกนั้นคืออารมณ์ อารมณ์ที่ชอบใจไม่ชอบใจ มีสุขมีทุกข์ ทั้งหมดท่านเรียกว่า "อารมณ์"
ซึ่งมันเกิดขึ้นกับใจเราก็มี
นั่งอยู่เฉยๆก็เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เรามีอยู่รอบสิ่งทั้งหลายเท่านี้แหละเมื่อเราได้สัมผัสกับอารมณ์ทั้งหลายแล้ว
ใจเรามันจะหลงอารมณ์ถ้ามันหลงอารมณ์มันก็แก้ปัญหาของโลกไม่ได้
เมื่อแก้ปัญหาของโลกไม่ได้ใจเราก็เศร้าหมอง ก็ไม่ผ่องใสติดอยู่ในโลก
เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้ามันติดปัญหาข้องปัญหาขึ้นมาจริงๆแล้ว บางทีก็ร้องไห้น้ำตาไหล

เคยร้องไห้ไหม? แก้ปัญหาลูกไม่ตก แก้ปัญหาเมียไม่ตก แก้ปัญหาวัตถุข้าวของเงินทองไม่ตก
แก้ปัญหาความเจ็บไข้ไม่ตก มีแต่น้ำตาไหลออกมาเท่านั้นแหละ คนโง่คนไม่มีปัญญา



คนแก้ปัญหาของโลกไม่ได้ก็ร้องไห้ ถ้าไม่ร้องไห้ก็หนี หนีไปยิงตัวตาย
หนีไปกินยาตาย หนีไปโดดน้ำตาย มันก็หนีไปอย่างนั้นแหละ
เพราะคนโง่คนชั่วหนีไปทั่วนั่นแหละ

เหมือนกับไฟมันไหม้ป่า
สัตว์ต่างๆก็หนีไปตามสัญชาติญาณของมันเพราะกลัวตายมันดับไฟไม่ได้
มนุษย์เรานี้เหมือนกันฉันนั้น มันติดในอารมณ์ แก้อารมณ์ของโลกไม่ได้
เดี๋ยวก็ทะเลาะกัน เดี๋ยวก็วุ่นวายกันเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวก็ร้องไห้วุ่นวาย
เป็นอยู่อย่างนี้เอง สภาพของโลกเป็นอยู่อย่างนี้ หลงโลกจึงทุกข์

ฉะนั้น เราฟังธรรมก็เพื่อจะได้มีความรู้ ไปแก้ปัญหาของโลก
เพราะโลกอันนี้ไม่ต้องแก้ปัญหาอะไรให้มันมากมาย
มาแก้ความเห็นของเรา มาแก้ความคิดของเรา
มาแก้ทิฏฐิของเราให้มีความเห็นอันถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น
โลกที่มันตั้งอยู่มันก็ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน เพราะเราไปหลงโลกมันจึงทุกข์
โลกนั้นมันไม่ทุกข์ โลกนั้นมันไม่ยาก เราเป็นคนยาก

เหมือนกับเราเดินทางหนทางไกลเท่าไร มันก็ไม่เหนื่อยกับเรา
หนทางไม่เหนื่อยเราผู้เดินนี้เหนื่อย เราผู้วิ่งนี้มันหนัก
หนทางมันจะไปไหนก็ช่าง มันไม่เมื่อย มันก็ไม่เหนื่อย
มันเหนื่อยเพราะเราเดินทาง มันเป็นอย่างนี้

ฉะนั้นทางมันพอดีของมันอยู่
พอดีอย่างไร ..ถ้าเราเดินเหนื่อยเราก็พักก็ไม่เป็นไรถ้าเราฉลาด
ถ้าเหนื่อยแล้วยังขืนเดินไปก็ตายกับหนทางเท่านั้นแหละทางไม่เป็นอะไร
ถึงแม้ว่าเราจะหยุด มันก็ไม่บังคับให้เราเดินไปอีก
ถึงแม้เราจะไปอีกมันก็ไม่บังคับให้เราหยุด โลกมันเป็นอย่างนี้
ถ้าเรารู้จักทางก็รู้จักกำลังของเรา พอสมควรเราก็พักได้เราจึงค่อยเดินไป เป็นเรื่องของเรา คนรู้จักทางเป็นอย่างนี้


คนรู้จักโลกก็เหมือนกัน
โลกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเองทางนั้นก็เป็นโลก
โลกนั้นก็คือหนทาง ถึงแม้ว่าเราเดินต่อมันก็ไม่สิ้นสุดสักที
โลกไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราทุกข์เอง ฉะนั้นจึงมาแก้ที่เรา ใจเรานี้มันหลงโลก
ไม่ใช่โลกหลงเรา เรามันหลงโลกเข้าใจไหม?


ถ้าว่าอาหารทั้งหลาย ถ้ามันอร่อย ไม่ใช่อาหารมันหลงเรา
เรามันหลงอร่อยอันนั้น หลงหวาน หลงเปรี้ยว หวานก็พอดีของมัน เปรี้ยวก็พอดีของมัน
มันเป็นของพอดี อย่าหลงอารมณ์ตนเอง


โลกนี้เป็นของพอดี แต่เรามีความโลภ ทะเยอทะยาน ไปเอง ไม่รู้จักโลก ไม่รู้จักภาษาของโลก
ไม่รู้จักความหมายของโลกว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตามธรรมชาติของมันอยู่ทุกวินาที
ว่าเมื่อมันเกิดแล้วมันก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เมื่อเจ็บแล้วมันก็ตาย

คนทั้งหลายเกิดแล้วก็ไม่อยากแก่ แก่แล้วไม่อยากไปทางไหน
อยากอยู่อย่างนี้ ให้มั่นคงให้ยั่งยืนอยู่นี่ อยู่กับลูกกับหลานนี่
"ลูกไปไร่ไปนา ลูกไปสวนมาบ้าน คนขี้คร้านให้นอนอยู่บ้านอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปที่ไหนอีก" อยากอยู่นี่ไม่อยากไปทางไหน ไม่อยากให้เฒ่า ไม่อยากให้เจ็บ
ไม่อยากให้วุ่นวาย ไปกั้นแม่น้ำทะเลเอาไว้
ถ้ากั้นไม่อยู่ก็ท่วมบ้านท่วมเรือนเหมือนเก่านั้นแหละ ตายหมดเหมือนเก่านั่นแหละ


ท่านจึงให้พิจารณาโลก ปัญญารู้เท่าตามความเป็นจริงของโลก
โลกเป็นอย่างใดก็ให้รู้เท่าตามเป็นจริงมันซะ
ถ้าเรารู้จักปัญหาของโลกแล้วก็เหมือนกันกับเรารู้จักธรรมะ
รู้บรรลุธรรมะเมื่อรู้จักธรรมะแล้วมันก็รู้แจ้งโลก
เมื่อรู้แจ้งโลกก็ไม่ติดในโลกเป็น "โลกวิทู รู้แจ้งโลก"


ฉะนั้น ธรรมะนี้จึงมีอานิสงส์มาก
ท่านว่าฟังธรรมะมีอานิสงส์มาก

การให้ธรรมเป็นทานได้บุญมากกว่าสิ่งทั้งหลายปวงมันก็ถูกอยู่การฟังธรรมก็ได้บุญ
คนฟังธรรมเอาบุญเกิดจากการฟังไม่ค่อยมี

ทุกวันนี้ฟังแล้วหมดไป หมดไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักอะไรการฟังธรรม การรักษาศีล
ปีนี้ชาวพิบูลฯเขามารดน้ำ เขามาขอศีล ขอก็ให้ นั่งดีๆ

อาราธนาแล้ว
ข้อ ๑. อย่าฆ่าสัตว์
๒. อย่าลักขโมยของเขา
๓. อย่าไปนอกใจลูก ใจผัว ใจเมีย
ข้อ ๔. อย่าโกหกกัน
ข้อ ๕. อย่ากินสุรา

เอาแหละใครจะเอาก็เอา ถ้าจะเอา
เอาไหมล่ะ?
พูดอย่างนี้ ทำไมให้ศีลง่ายจัง นั่นแหละให้ง่ายๆอย่างนี้แหละ
มันจะยากอะไรถ้าจะเอา เอาไหมล่ะเรื่องเท่านี้ เรื่องไม่มากหรอก
เขาไม่ค่อยได้ยิน เขาอาราธนาขอศีลก็ว่าไป
มันไม่ค่อยได้เรื่องแบบนั้น มันตรงเกินไป ข้าวไม่กินจะกินแต่รำ

กระเทาะเอาเปลือกเอารำมันออกหมด
ไม่ค่อยอยากจะได้มันไม่รู้จักของกินหรือนี่ ทีเอาข้าวสารให้ไม่ค่อยอยากจะกิน
แต่ถ้าเลียแกลบเลียรำนั้นเร็วมาก ชอบมาก

จาก - http://www.isangate.com/dhamma/emotion_looser.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ชาติสยาม เขียน:
ขอฉลองกระทู้ด้วยการนำพระธรรมเทศนาอันหนึ่งของพระคุณท่านมาลงไว้...


:b8: :b4: :b8: ขอบพระคุณมากนะคะ...และขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ :b8: :b4: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 17 ม.ค. 2010, 16:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เธอจงระวังความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ
เธอจงระวังความประพฤติของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ
เธอจงระวังความเคยชินของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ
เธอจงระวังอุปนิสัยของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

คำสอนหลวงปู่ชา
ได้อ่านและทบทวนทำให้เข้าใจเรื่องอนุสัยมากขึ้น มีความละเอียด หยาบของภาวะธรรม ทบทวนไปมาแล้วชัดเลย ข้าน้อยขอคาระวะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร