วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือการสำเร็จมรรค-ผล-นิพพาน ว่าจำเป็นต้องมีสมาธิระดับใดเป็นบาทฐานบ้าง ดังต่อไปนี้

*****************

ฌานสูตร

[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
*ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
*นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
*ปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-
*สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

จบสูตรที่ ๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๐๔๑ - ๙๑๔๕. หน้าที่ ๓๙๐ - ๓๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=23&i=240


*********************
จากพระสูตรเมื่อได้อ่านแล้วจะทราบว่า ภิกษุหรือผู้ปฏิบัติจะสิ้นอาสวะได้นั้นจะต้องอาศัยสมาธิระดับปฐมฌานเป็นอย่างน้อย ไปถึงระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ปฏิบัติจะต้องไปทำสมาธิแบบสมถะ หรือที่เรียกว่าแนวทาง "วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า" เท่านั้น สมาธิอันเป็นฌานนี้อาจเกิดมาจากแนวทางอื่นๆ เช่น การเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะ, การเจริญวิปัสสนาควบคู่ไปกับสมถะ เป็นต้น ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณิกสมาธิก็พอแล้วงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ เขียน:
ขณิกสมาธิก็พอแล้วงับ


แล้วขณิกสมาธิมันแค่ไหนงับบบบ เอาอะไรวัดงับบบบ จึงจะรู้แค่นี้ขณิกสมาธิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วแต่เหตุที่กระทำมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ...ตามยถากรรม ตามแต่บุญกรรมแต่ชาติก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 ธ.ค. 2009, 21:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัวแต่ หาว่า สมาธิ เท่านั้นเท่านี้ ก็เลยไม่ได้ดู ไตรลักษณ์ซะที :b55:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2009, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



สมาธิก็ไตรลักษณ์ค่ะ เพียงแต่ว่า จะมองเห็นหรือเปล่า

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/

ในความเข้าใจของท่านทั้งหลายการบรรลุธรรมมีความอย่างไร จึงคิดว่าต้องมีสมาธิถึงขีดขั้นไหนแล้วจึงคิดว่าเป็นการบรรลุธรรม?
หากแปลความหมายกันจริงคำว่าบรรลุนี้ หมายถึง การลุล่วง ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา ไม่คงความเป็นอะไรกับอะไร ที่ตรงต่อความเป็นเดิมแท้อยู่เองแล้ว ไร้ตัวไร้ตน กับระบบ กายใจ นี้ และธรรมทั้งหลาย คือ มีกายก็ไม่ติดกาย มีเวทนาไม่ติดเวทนา มีสัญญาไม่ติดสัญญา มีสังขารไม่ติดในสังขาร มีวิญญาณไม่ติดในวิญญาณ มีสมาธิไม่ติดสมาธิ มีฌานไม่ติดในฌาน มีญาณไม่ติดญาณ มีสติไม่ติดในสติ มีปัญญาไม่ติดในปัญญา เรียกว่าไม่ข้องคา ไม่ยึด ไม่ขัดข้อง ไม่ดำรง ทรงอยู่ ถือเป็นประมาณเอาในส่วนหนึ่งส่วนใดที่ว่ามานี้ หากไม่เข้าใจอย่างนี้มีบ้างท่านการบรรลุนี้เป็นการเอาตัวตนไปพ้นอะไรสักอย่าง เหมือนเอาตัวตนหมุดพ้นน้ำ พยายามเอาชนะแล้วมีเราเป็นผู้ชนะหรือเส้นชัย เอาตัวตนให้พ้นให้รอด เป็นต้น แบบนี้ท่านเรียกว่า ทะลุ ไม่ใช่เนื้อหาบรรลุของจริงที่ตรงต่อสัจธรรมหลุดก็หลุดอยู่เองแล้ว พ้นอยู่เอง วางอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว ไม่อะไรกับอะไรอยู่เองแล้ว ไม่เนือง วิถี วิธีการ นิพพานอยู่เองแล้ว


ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


บำเพ็ญฌานก่อนก็ได้
ทำวิปัสสนาเลยก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องขณิกสมาธิ คับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่าน


ใช้ปฐมฌานในการเจริญอริยะมัคคครับ
พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากนิวรณ์ 5
ปฐมฌานใช้เป็นเครื่องมือในการประหารนิวรณ์ 5 ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2010, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 18:10
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองพิจารณาอันนี้ดูก็ได้ครับ คือ เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา

กล่าวคือผู้ที่จะบรรลุธรรมสิ้นอาสวะกิเลสนั้นปัญญาเป็นเครื่องทำให้สิ้นอาสวะกิเลส ไม่ใช่สมาธินะครับ
สมาธิเพียงแค่กดทับไว้ชั่วคราวเหมือนกับหินทับหญ้า แต่ถ้าเป็นปัญญาแล้วเหมือนถอนรากถอนโคนครับ
เพราะฉะนั้นที่ท่านบอกให้นั่งสมาธิภาวนาก็เพื่อให้เป็นฐานหรือเป็นเหตุปัจจัยในการเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญารู้แจ้งโลกแล้ว ปัญญาจะทำหน้าที่ประหัดประหารกิเลสเองครับ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะสมาธิระดับไหนก็ได้ครับก็สามารถบรรลุได้ ถ้าผู้ทำไม่ไปติดในสมาธิซะก่อนเพราะปัญญามันจะไม่เกิดครับ เหมือนผู้ที่ยังติดอยู่ในสุขของฌานในระดับต่าง ๆ ครับถึงไม่หลุดพ้นเสียที

หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลอีกด้านนึงนะครับ ไม่ต้องเชื่อนะครับให้ลองพิจารณาดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ กำจัดอาสวะให้หมดสิ้นมิได้

ปัญญา จึงกำจัดให้หมดสิ้นอาสวะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ฌาณ กำจัดอาสวะให้หมดสิ้นมิได้

ปัญญา จึงกำจัดให้หมดสิ้นอาสวะ




สวัสดีครับคุณmes

ตามทัศนะของคุณmes ฌานอยู่ที่ไหนหรือครับ และปัญญาอยู่ที่ไหนละครับ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ คือ ระดับสมาธิ

ปัญญา คือ ปัญญา

ขอรับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องได้ปฐมฌาณ เป็นอย่างน้อย...

ถ้าเราฟุ้งซ่าน เราไม่รู้ตัวหรอกว่า เราฟุ้งซ่าน... แต่ถ้าเรามีเอกัคคตาจิต แม้จะคิดเรื่องเดียว เราก็รู้ว่าเราคิดเรื่องเดียว
สิ้นอาสวะ คือระดับอรหันต์ เป็นการมองที่ไกลเกินไปหรือเปล่า... เอาแค่ละความยึดมั่นถือมั่น บุคคลธรรมดาก็ทำได้ยากเย็นเต็มทีแล้ว

รู้สึกว่า คุณ "ตรงประเด็น" จะเคยยกพระสูตรขึ้นมาอันหนึ่ง ประมาณว่า... เจริญสมาธิให้มาก ก็สิ้นอาสวะได้

เรื่องปัญญานี่ เห็นพูดกันมาก เพราะมันฟังดู ฉลาด แต่มี "ปัญญา" จริงหรือเปล่า แค่การเห็นว่า ใดๆ ไม่เที่ยง คือมีปัญญาแล้วหรือ... ถ้าเห็นจริง ก็คงนับเป็นปัญญา แต่รู้ไหมว่า ระดับสิ้นอาสวะนั้น เขาเห็นอะไร

พระอรหันต์ทุกประเภท ล้วนมี ฌาณ ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนในระดับเราๆ ท่านๆ ละสักกายทิฎฐิกันก่อนดีไหม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร