วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 04:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 11:30
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้องครับ
เคยได้ยืนมาว่าผู้ที่จะฝึกสมาธินั้นควรจะมีอาจารย์หรือผู้รู้คอยแนะนำวิธีใช่มั้ยครับ...ไม่ควรฝึกเอง
เพราะเราอาจจะหลงทาง ทำผิด และไม่รู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ...รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบข้อข้องใจด้วยนะครับ...และถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะถามปัญหาเกี่ยวกับธรรมะอีกมายมายเลยครับ...ผมสนใจศึกษาธรรมะมานานแล้ว แต่ยอมรับว่าเป็นแบบลุ่มๆดอนๆอาจจะเป็นเพราะว่าสภาพสังคมโดยรวมทั้งวัย เพื่อน และขาดกัลยานมิตรคอยกระตุ้น มั้งครับ5555 หลายครั้งที่อยากจะศึกษาจริงๆจังๆ ก้เลยหวังว่าจะได้เจอกัลยานมิตรในบอร์ดนี้นะครับ...ขอบพระคุณล่วงหน้าทุกคำตอบนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


m4p4n1 เขียน:
อยากรู้วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้องครับ
เคยได้ยืนมาว่าผู้ที่จะฝึกสมาธินั้นควรจะมีอาจารย์หรือผู้รู้คอยแนะนำวิธีใช่มั้ยครับ...ไม่ควรฝึกเอง
เพราะเราอาจจะหลงทาง ทำผิด และไม่รู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ...รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบข้อข้องใจด้วยนะครับ...และถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะถามปัญหาเกี่ยวกับธรรมะอีกมายมายเลยครับ...ผมสนใจศึกษาธรรมะมานานแล้ว แต่ยอมรับว่าเป็นแบบลุ่มๆดอนๆอาจจะเป็นเพราะว่าสภาพสังคมโดยรวมทั้งวัย เพื่อน และขาดกัลยานมิตรคอยกระตุ้น มั้งครับ5555 หลายครั้งที่อยากจะศึกษาจริงๆจังๆ ก้เลยหวังว่าจะได้เจอกัลยานมิตรในบอร์ดนี้นะครับ...ขอบพระคุณล่วงหน้าทุกคำตอบนะครับ


คุณขอรับ ค้นหาอ่านได้ในเวบนี้แหละขอรับ มีสอนไว้เยอะแยะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 18:49
โพสต์: 49

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ เป็นเรื่องที่กว้างมาก แต่ตามความมุ่งหมายของพุทธธรรมแล้วคือ สัมมาสมาธิ คือ สมาธิชอบ หรือสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง สมาธิที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วยปัญญา ที่เป็นตัว สติสัมปชัญญะ ทำงานร่วมกับสมาธิ ตัวปัญญาเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ "วิปัสสนา"

“วิปัสสนา” เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังกันมาก และใช้กันมากจนเกิดปัญหาสำหรับผู้ปฏิบัติหรือผู้ศึกษาที่มาใหม่ สำนักแต่ละสำนักต่างยืนยันหลักการและวิธีการของตนเองว่าถูกต้องตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ผู้ที่สามารถแสดงหลักการวิปัสสนาที่เป็นเนื้อแท้ตรงแท้ตามหลักการและวิธีการของ พระพุทธเจ้าได้ดีที่สุดคือ “พระสารีบุตร” และพระสารีบุตรท่านแสดงได้อย่างจะแจ้งชัดเจนว่า หลักการปฏิบัติวิปัสสนาของพระพุทธเจ้ามีเพียง ๔ อย่าง คือ (๑) วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (๒) สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (๓) สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันหรือพร้อมกัน (๔) เมื่อจิตเขวด้วยธรรมุธัจจ์ หรือ จิตฟุ้งด้วยวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีแสงสว่าง เป็นต้น

ท่านชี้ชัดว่าวิปัสสนาคือ การยกจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยหลักการและวิธีการที่พระพุทธองค์ทรงแสดงวิปัสสนาไว้สมบูรณ์ที่สุดอยู่ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” เป็นหลักการวิธีการปฏิบัติวิปัสสนามีสมถะนำหน้า ยกตัวอย่าง การตามดูลมหายใจเข้า-ออก ในตอนแรก เป็นสมถะ และเมื่อมีสติพิจารณาเห็นธรรม(ลมหายใจ)ที่เกิดในกาย เห็นธรรม(ลมหายใจ)ที่ดับในกาย โดยไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก สภาวะอย่างนี้จึงเป็นวิปัสสนา

ผู้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา อุปมาเหมือนนักมวยสากลสมัครเล่น ที่มีกฎกติกาการให้คะแนน ถ้าชกโดยส่งกำลังออกจากหัวใหล่ แล้วใช้ส่วนหน้าของหมัด(ที่เป็นสีขาวที่อยู่บริเวณหน้านวม) ชกโดนคู่ต่อสู้จะเป็นหน้า ลำตัว หรือส่วนไหน ๆ ก็จะได้คะแนน ถ้าเป็นสันมือ หรือการชกในลักษณะเหวี่ยงหมัดจะไม่ได้คะแนน วิปัสสนาในพระพุทธศาสนามีคะแนนการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติที่ฉลาดต้องรู้ด้วยตนเองว่าได้คะแนนหรือไม่ ซึ่งการได้คะแนนก็คือการกำหนดยกจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์ได้อาจจะเห็นอนิจจัง หรือทุกขัง หรืออนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร เกิดลักษณะอาการคลายกำหนัด อาการราคะดับ สุดท้ายมีสภาวะไม่ยึดมั่นถือมั่น อย่างนี้ เรียกว่าได้คะแนน แต่ถ้าเพียงบริกรรมเฉย ๆ แล้วใจสงบ สบาย ไม่เห็นไตรลักษณ์อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้คะแนน เหมือนนักมวยสากลที่ชกไม่โดน หรือชกไม่ถูกตามกฎการให้คะแนน เหวี่ยงหมัดบ้าง ขว้างหมัดบ้าง ซึ่งมีประโยชน์เพียงการป้องกันคู่ต่อสู่ไว้ไม่ให้บุกเข้ามา คะแนนจากการกำหนดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะกัดกร่อนกิเลสทีละเล็กทีละน้อยจนในที่สุดทำไปด้วยวิระยะ(ความเพียร) ก็สามารถน็อคกิเลสได้ ดับทุกข์ พ้นทุกข์ ได้จริง สติปัฏฐานมีลักษณะการทำงาน หรือหน้าที่ตามสภาพกำลังของสติได้ ๔ อย่าง คือ

๑. สติที่มีกำลังหน้าที่ “กั้น” ความชั่ว กั้นอกุศล (สมถะ)

๒. สติที่มีกำลังหน้าที่ “เจริญ” ความดี พัฒนากุศล

๓. สติที่มีกำลังหน้าที่ “ฆ่า” ความชั่ว ปหานอกุศล (วิปัสสนา)

๔. สติที่มีกำลังหน้าที่ “รักษา” ความดี รักษากุศล

เมื่อความมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การดับทุกข์ หรือการพ้นจากทุกข์ จึงมีพระพุทธพจน์ที่ระบุชี้ชัดว่าหลักการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ หรือพ้นจากทุกข์ คือ “สติปัฏฐาน” ซึ่งเป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้น เป็นการยืนยันถึงหลักการและวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนของพุทธธรรม “สติปัฏฐาน” จึงเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวพุทธที่ถูกรักษาถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมา แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง “สติปัฏฐาน” ก็เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกนำมาอธิบายขยายความวิพากษ์วิจารณ์ตีความไปในลักษณะต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้แสดงสติปัฏฐานด้วยพระองค์เองซึ่งปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกพบว่า พระองค์ทรงได้อธิบายขยายความของสติปัฏฐานในหลากหลายรูปแบบหลายลักษณะ ครอบคลุมหลักพุทธธรรมและหลักการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทรงแสดงตั้งแต่หลักพื้นฐาน ทั่ว ๆ ไปจนไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ “ความดับทุกข์” ทรงตรัสแสดงในฐานะเป็นพุทธบัญญัติบ้าง ในฐานะหลักธรรมคำสอนบ้าง ทรงแสดงเต็มรูปแบบบ้าง ทรงแสดงเพียงบางส่วนบ้าง ทรงแสดงไว้เป็นการเฉพาะและทรงแสดงไว้ในชื่อกัมมัฏฐานอื่นบ้าง และทรงตรัสแสดงเพื่อเชื่อมโยงหรือขยายไปสู่หลักธรรมอื่น ๆ ซึ่งมีคำอธิบายทั้งในด้านหลักการและวิธีปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนโดยเฉพาะใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” มีรายละเอียดสมบูรณ์เต็มรูปแบบเพียงพอต่อการนำไปปฏิบัติกัมมัฏฐานได้ด้วยตนเอง

ในสมัยเดียวกันนั้น “พระสารีบุตร” อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้มีปัญญามากสามารถอธิบายธรรมะได้อย่างแตกฉานพิสดาร ซึ่งท่านได้อธิบายสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้หลากหลายนั้นด้วยการสรุปลงที่หลักการของ “ปัญญา” หรือ “วิปัสสนา” เป็น “วิปัสสนาล้วน” ว่าด้วยการกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ราคะดับ ไม่ยึดมั่นถือมั่น สติปัฏฐานที่ท่านอธิบายมีชื่อว่า “สติปัฏฐานกถา” [๑] อยู่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ ถือกันว่าเป็นปกรณ์ทางกัมมัฏฐานเล่มแรกของพระพุทธศาสนา[๒] เป็นคัมภีร์แนวอภิธรรมชั้นต้น ๆ[๓] ที่สำคัญคือเป็นผลงานของพระสารีบุตรผู้เป็นพระธรรมเสนาบดีที่มีปัญญาล้ำเลิศ ด้วยเหตุนี้สติปัฏฐานกถาจึงเปรียบดั่งเพชรเม็ดงามที่ถูกเจียรนัยแล้วเพื่อประกาศสัทธรรมจักร ดังคำกล่าวยกย่องท่านไว้ว่า[๔]

ท่านเป็นสัทธรรมเสนาบดี คือผู้ประกาศพระสัทธรรมจักร ผู้เข้าใจความแจ่มแจ้งในอรรถตามความเป็นจริงของพระสูตรทั้งหลายที่พระตถาคตเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว ผู้นำในการยังธรรมประทีปให้โชติช่วง อธิบายความได้อย่างลึกซึ้ง มีความลุ่มลึกดุจสาคร กว้างขวางดุจท้องฟ้านภากาศที่ดารดาษด้วยหมู่ดาว

เนื้อหาที่กล่าวมาเป็นเพียงการสรุปจาก “วิทยานิพนธ์การศึกษาเชิงวิเคราะห์สติปัฏฐานกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค” ซึ่งถูกคัดเลือกตัดสินให้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น ๒๕๕๑ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้วิจัยมีซีดีในรูปแบบ word และ pdf พร้อมหนังสือเก็บเพชรจากวิทยานิพนธ์ดีเด่น จำนวนจำกัดเพื่อแจกฟรี หรือผู้ใดสงสัยการปฏิบัติ หรือครูบาอาจารย์ท่านใดที่ต้องการจะแนะนำเสริมเติมแต่งให้สมบูรณ์สามารถติดต่อผู้วิจัยได้ที่ ๐๘๓๑๒๕๖๓๗๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองไปที่



วัดนาป่าพง
http://www.watnapahpong.org/index.aspx

วัดฟ้าคราม
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=121

วัดป่าเชิงเลน
http://www.watpa.com/article_dharma_detail.asp?cid=4

วัดอโศการาม
http://www.geocities.com/asokaram00/thai.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2009, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้องครับ
เคยได้ยืนมาว่าผู้ที่จะฝึกสมาธินั้นควรจะมีอาจารย์หรือผู้รู้คอยแนะนำวิธีใช่มั้ยครับ...ไม่ควรฝึกเอง
เพราะเราอาจจะหลงทาง ทำผิด และไม่รู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ...


ใช่ครับ ควรมี อาจารย์ หรือผู้ที่มีภูมิ ความรู้ทางด้านปฏิบัติ

เพราะท่านเหล่านั้น ถ้ามีภูิมิจิตภูมิธรรมสูง ท่านก็สามารถ รู้จริตนิสัย ในการปฏิบัติของเราได้และท่านจะชี้แนะให้ถูกต้องตามลักษณะนิสัยที่เราชอบฝึก

หรือถึงขนาดว่า ถ้าท่านสามารถระลึกชาติได้ ท่านก็จะสอนต่อจากที่เราทำในชาติที่แล้วเลย

แต่อันหลังนี้หากครูบาอาจารย์ในลักษณะนี้ได้ยากแล้วต้องมีวาสนากับท่านจริง ๆ จึงจะพบและได้ปฏิบัติ

ฝึกเอง ก็ดี แต่ จะเผือ เวลาเราเกิดความสงสัย อาจใช้เวลานาน ในการแก้อารมณ์หรือสมาธิที่เราติดครับ cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2009, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...ข้าพเจ้าเรียนรู้การฝึกทำสมาธิด้วยตนเอง...ส่วนใหญ่ทำที่บ้าน...
...ไปเรียนรู้การปฏิบัติที่วัดบ้าง...ส่วนใหญ่ฟังพระธรรมเทศนา...
...ในวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนของหลวงตามหาบัว...
...เพราะท่านนำเทปครูบาอาจารย์สอนพระมาเปิดให้ฟัง...
...ของพระวัดป่าปฏิบัติสายกรรมฐาน...


...ประสบการณ์ที่เคยนั่งสมาธิที่ตัวเองใช้...ท่าแรกก็นั่งสมาธิแบบพระประทาน...
...ขาขวาท่อนล่างวางบนขาซ้าย...หงายมือบนตักวางมือซ้ายแล้วเอามือขวาวางทับบนมือซ้าย...
...หรือวางมือแบบหงายฝ่ามือซ้ายบนเข่าซ้าย...และหงายฝ่ามือซ้ายบนเข่าซ้าย...

...ท่าที่2ก็ท่านั่งขัดสมาธิเพ็ชร...ขาซ้ายท่อนล่างวางบนต้นขาขวา...จากนั้นยกขาขวาท่อนล่าง...
...มาซ้อนวางทับบนต้นขาซ้าย...(วางมือแบบเดียวกันกับท่าแรก)...

...ท่าที่3ก็ท่านั่งพับเพียบ......หงายมือบนตักวางมือซ้ายแล้วเอามือขวาวางทับบนมือซ้าย...
...อื่นๆที่ใช้อยู่ในการฝึกทำสมาธิ-วิปัสสนาให้มีสติทั้งยืน-เดิน-นั่ง-นอน...


...วิธีฝึกสมาธิตอบอยู่ในกระทู้ 26543 ถามเรื่องสมาธิครับ...ลองเข้าไปดูนะเจ้าค่ะ...

:b16: :b16: :b16:
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร