วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 17:18
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยทำสังฆาทิเสสตอนบวช สึกแล้วผิดไหมครับ แล้วถ้าบวชอีกจะผิดไหมครับ

ผมปิดบังแล้วสึกอยากบวชใหม่ต้องทำอย่างไรบ้างครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สึกอุปสมบทใหม่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... 655&Z=7210

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้นพึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น

ให้ไปแสดงความผิดต่อคณะสงฆ์ ๔ รูป กล่าวคำขอโทษ
http://www.dhammajak.net/suadmon1/190.html

อยู่กรรมหรือโดนกักบริเวณ กล่าวคำขอโทษต่อหน้าคณะสงฆ์ จำนวนวันแล้วแต่ความผิด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็มีสองทางครับ
1. (หากมีโอกาส หรือตั้งใจ ด้วยหวังใจอย่างยิ่งที่อยากจะทำตัวเองให้บริสุทธิ์) กลับไปบวชใหม่ ๑ อยู่ปริวาส (อยู่กรรม), ๒ ประพฤติมานัต (มานัต แปลว่า นับ) คือ๑. ต้องสวดแจ้ง(ประจาน)แก่พระสงฆ์ในวัดทุกวัน (จนครบวันตามที่ปกปิดไว้) เป็นการประจานตัวเอง และในวันนั้น ๆ หากมีภิกษุรูปใด รูปหนึ่งที่เข้ามาในวัดที่เราอยู่ปริวาส เราต้องรีบไปบอก (เป็นการสวดคำบาลี), ๓ ออกกรรม (วุฏฐานวิธี), ๔ สวดอัพภาน
2. สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ก็ถือว่าก้มหน้ารับกรรม(ในอดีต), ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด โดยตั้งใจรักษาศีล ๕ ด้วยเจตนาอันมุ่งมั่น ประพฤติปฏิบัติธรรม แม้จะมีอุปสรรคใด ๆ ก็ไม่ท้อถอยไม่ท้อแท้ ถึงพระรัตนตรัย มุ่งทำจิตให้เป็นสมาธิ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งปวง (พยายามสร้างกรรมดี ยิ่ง ๆ ขึ้น) คนเราก็มีทั้งดี ทั้งไม่ดี เมื่อรู้ว่าสิ่งใดไม่ดีก็ให้ละ สิ่งใดดี ก็หมั่นเจริญให้มีในตน ถือได้ดังนี้ ชีวิตก็ยิ้มได้ แม้ตายก็ไม่กลัว ให้นึกน้อมแต่สิ่งดี ๆ (ผลจะเป็นอย่างไร อย่าไปคำนึงถึง) ก็แนะได้เท่านี้แหละครับ ขอให้บำเพ็ญตนถูกต้องแบบพุทธมามกะโดยแท้ จะไม่หวั่นต่อสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ (ถึงจะมีกรรมใด ๆ มาให้ชดใช้ ก็ผึ่งผายรับกรรมนั้นไม่กลัวเอง เพราะไม่มีใครหลีกเลี่ยงกรรมไปได้)

ที่มา
http://larndham.net/index.php?showtopic=11598&st=0

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 17:18
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าไม่แก้มีโทษอย่างไรบ้างปิดกั้นนิพพานไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟันธง ครับ

ผิดครับ 100 % ถ้าบวชอีกก็ยังคงเป็นสังฆาฑิเสสอยู่ครับ

คุณห้าม มรรคผลอยู่ตอนนี้แน่นอน ถ้าไม่แก้

ต้องบวชแล้วไป เข้า ปริวาสกรรม ตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้ครับ ปิดไว้ ปีหนึ่ง ก็อยู่ใช้กรรมปีหนึ่ง แล้วมาอยู่มานัต อีก 6 ราตรี แล้ว ออกอัพพาน ถึงจะแก้ได้ครับ

แต่ ไม่ต้องตกใจ เพราะถ้าจำไม่ได้ว่า ทำไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่เท่าไร หรือจำนวนกี่วัน ก็ใช้กรรมแบบรวมครับ

ตอนนี้ ก็ ทำอะไรลำบากหน่อย เพราะติดตัวอยู่โดยที่ไม่รู้ตัว

เมื่อรู้แล้วควรทำคืนเสียครับ

มีโอกาสก็รีบซะ เพราะ นรกกำลังรออยู่ ผมเคยเห็นพระองค์หนึ่งท่านไปอยู่ปริวาส แล้วท่านตาย ตอนอยู่ มานัต 6 ราตรี ใครก็ช่วยไม่ได้ คงต้องตกอบายภูมิอย่างแน่นอน เป็นเรื่องน่าหวาดเสียวอย่างยิ่งครับ

อันนี้ประสบการณ์จริงจากที่เคยประสบมาครับผม

และขออภัยที่ต้องบอกแบบ ขวานผ่าซาก เพราะไม่อยากให้ท่านติดเลย มัีนลำบากจริงๆ ครับ

ลืมบอกไปครับ ถ้าแก้แล้วก็ มรรคผลไม่เสียครับ

คือทำคืน สิกขาบท

ขอให้ผ่านอุปสรรคนี้ไปได้นะครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2009, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:12
โพสต์: 37

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไปแล้ว....เป็นอดีตไปแล้ว แก้ไม่ได้แล้ว(ทำใจยอมรับผลไว้ได้เลยครับ)
ปัจจุบัน....เสวยทุกข์อยู่(ถือเป็นผลจากการกรรมนั้นเช่นกันครับ) ระลึกได้ก็ดีแล้วครับ เรื่องต้องการจะบวชก็ขอให้คิดให้ดีนะครับ จะบวชด้วยเจตนาอะไร

ที่ถามว่าปิดกั้นนิพพานรึป่าว...ก็ตอบได้เลยครับว่า หากยังวางเรื่องนี้ไม่ได้ ก็ปิดกั้นนิพพานแน่นอนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ย. 2009, 21:17
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในฐานะที่เคยบวชมาหลายพรรษา...

ปริวาส การอยู่ชดใช้เรียกสามัญว่าอยู่กรรม,
เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ)อย่างหนึ่ง

ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาสสโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส ;

ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้
จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป,

ภิกษุประสงค์จะออกจากอาบัตินั้น พึงห่มผ้าเฉวียงบ่าเข้าไปหาสงฆ์จตุรวรรค (๔ รูป )
แล้วเปล่งวาจาขอประมานัตต์ ๖ ราตรี

มานัตต์ คือ ระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อจะให้ตนหมดจดจาก อาบัติสงฆาทิเสสที่ได้ต้องไปแล้ว

การบอกต่อสงฆ์เพื่อขอมานัตต์
ซึ่งมานัตต์นี้มีกำหนดตามพระวินัยไว้ ๖ ราตรีเท่านั้น เมื่อครบก็ขออัพภาน
๖ ราตรีนี้ต้องเป็น ๖ ราตรีที่สมบูรณ์ ถ้าทำผิดกฏที่ต้องทำให้ละเมิดราตรีใด
ราตรีหนึ่ง ก็ต้องอยู่ให้ชดใช้ให้ครบราตรีที่กำหนดไว้ คือ ๖ ราตรี

ในระหว่างประพฤติมานัตต์จะถูกจำกัดสิทธิ หลายประการ เช่น จะออกจากอาวาส
นั้นไปค้างคืนที่อื่นไม่ได้ จะร่วมฉันกันภิกษุผู้ไม่ต้องอาบัติไม่ได้ จะร่วมสังฆกรรมบางอย่าง กับสงฆ์ปกติไม่ได้ แม้บวชแล้วหลายพรรษาก็ต้องนั่งท้ายแถวภิกษุปกติที่แม้บวชในวันนั้น และต้องกล่าวคำรายงานตัว ต่อสงฆ์ทุกวัน หรือนัยหนึ่งก็คือ กล่าวประจานตัวนั่นเอง (ภาษาวินัยเรียกว่า สมาทานมานัตต์ และบอกมานัตต์)ต่อสงฆ์ทุกวัน หากมีภิกษุที่อยู่วัดอื่น มาธุระยังวัดทีตนกำลังประพฤติมานัตต์อยู่นั้น
ก็ต้องมารายงานตัว (ประจานตัว) ว่าตนได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสและกำลังประพฤติมานัตต์อยู่ จะยินดีให้ภิกษุทีแม้มีพรรษาน้อยกว่าทำสามีจิกรรม(กราบไหว้และ ลุกต้อนรับเป็นต้น) ไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งวัตรต่าง ๆ เป็นต้นเหล่านี้จะต้องประพฤติให้เคร่งครัด

หลังจากเปล่งวาจาขอประพฤติมานัตต์แล้ว (เนื้อความของคำขอมานัตต์ เป็นภาษาบาลี ระบุถึงข้ออาบัติสังฆาทิเสสที่ต้นได้ล่วงละเมิดเข้า )

การประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรี นี้รียกว่า อัปปฏิจฉันนมานัตต์ เพราะ
ภิกษุผู้ต้องอาบัติไม่ได้ปกปิดไว้ แต่หลังจากที่ต้องแล้ว รีบยอมรับผิด จึงเป็นเพียงแต่ขอมานัตต์ จากสงฆ์แล้วประพฤติมานัตต์ ๖ ราตรีเท่านั้น
๑.๒ เมื่อประพฤติมานัตต์ครบ ๖ ราตรีแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนที่เรียกว่า อัพภาน
อัพภานเป็นขั้นตอนของ
การยอมรับภิกษุผู้ที่ได้ประพฤติมานัตต์มาครบ ๖ ราตรีแล้วเข้ามาเป็นภิกษุที่ไม่มีอาบัติติดตัวเหมือนแต่ก่อน
ตามรูปศัพท์ อัพภาน แปลว่า การเรียกเข้าหมู่ หรือ การยอมรับกลับเข้าพวก นั่นเอง
โดยมีภิกษุสงฆ์วีสติวรรค (๒๐ รูป) ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยก่อนอื่นภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ครบ ๖ ราตรีแล้วนั้น ต้องเข้าไปหาสงฆ์ประณมมือเปล่งวาจากล่าวคำขออัพภานเป็นภาษาบาลีโดยมีเนื้อหาระบุถึงการล่วงละเมิดอาบัติสังฆาทิเสส ของตนพร้อมบอกว่าได้อยู่ปริวาส(สำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้เลยวันคืนที่ตนต้อง) และประพฤติมานัตต์ครบ ๖ ราตรีแล้ว ขอให้สงฆ์รับเข้าหมู่ด้วย ต่อแต่นั้นภิกษุรูปหนึ่งในสงฆ์ ก็จะสวดประกาศ (ภาษาทางวินัย เรียกว่า กรรมวาจาให้อัพภาน) รับภิกษุรูปนั้นกลับเข้าหมู่เป็นภิกษุปกติผู้ไม่มีอาบัติสังฆาทิเสสติดตัวแล้ว

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายข้อ ปกปิดแต่ละข้อไว้ไม่เท่ากันนานบ้าง น้อยบ้าง หรือจำ จำนวนอาบัติ และหรือ เวลาที่ปกปิดไว้ไม่ได้บ้าง เป็นต้น ควรจะเข้าปริวาสแบบสุทธันตปริวาส

สิ่งสำคัญคือ การเข้าปริวาสต้องเข้าแบบสังวาสเดียวกัน
คือ ถ้าบวชธรรมยุติต้องเข้าปริวาสในสังกัดวัดธรรมยุติ
ถ้าบวชมหานิกายต้องเข้าปริวาสในสังกัดวัดมหานิกาย
ถ้าต่างสังวาสกัน ปริวาสเป็นโฆฆะ

พระพุทธได้ตรัสไว้ว่า “ สาปัตติกัสสะ ภิกขะเว นิรยัง วทามิ ติรัจฉานโยนิง วา “
แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติ (ติดตัว) จำต้องไปนรกบ้าง กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง . นอกจากนี้แล้ว ท่านทั้งหลายคงจะเคยได้ยินคำว่า ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นกันมาบ้าง
ครุกาบัติ หรือ อาบัติหนัก เป็นโทษข้อหนึ่งสำหรับภิกษุผู้ล่วงละเมิดเข้าแล้ว ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้มิอาจจะบรรลุมรรคผลได้
มีอุปสรรคอยู่ ๔ ประการที่ขัดขวางการบรรลุมรรคผลนิพพานของผู้ที่แม้มีบารมีพอที่จะบรรลุธรรมแล้ว นั่นก็คือ
๑. อนันตริยกรรม ๕ ประการ
๒. อริยุปวาท (ด่าว่า ให้ร้าย พระอริยะเจ้า)
๓. ต้องครุกาบัติ (คือมีอาบัติหนักติดตัว) สำหรับผู้เป็นภิกษุ
นั่นก็คือ แม้ผู้นั้นหากจะมีบารมีพอจะบรรลุมรรคผลได้ในปัจจุบันชาตินี้ หากไปล่วงละเมิดกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ข้อข้างต้นแล้ว ก็เป็นอันหมดสิทธิ แถมท้ายด้วยการได้ไปอบายภูมิเป็นของกำนัลอีก และประการที่ ๔ สุดท้าย หากผู้นั้นแม้จวนเจียนจะบรรลุมรรคผลนิพพานอยู่รอมร่อแล้ว(เจริญสติปัฏฐานจนวิปัสสนาญาณคือสังขารุเบกขาญาณเกิดแล้ว) ทว่าผู้นั้นได้ปรารถนาพุทธภูมิ ผู้นั้นก็ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เช่นกัน เพราะท่านได้ตั้งสัจจะที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อ่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต เพราะถ้าบรรลุมรรคผลเสียก่อนแล้วหากเป็นพระอรหันต์ก็จะต้องปรินิพพานในปัจจุบันชาติ หากเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ ก็จะต้องเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ซึ่งสำหรับผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นท่านจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีอีกต่อไป
เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุหากต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ไม่แก้ไขให้ถูกต้องตามระเบียบวุฏฐานวิธี(การออกจากอาบัติ) อาบัติที่ติดตัวอยู่นั้นก็จะเป็นโทษอย่างมากต่อตัวภิกษุรูปนั้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทโธ เมื่อ 12 ก.ย. 2009, 22:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2009, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณ วิสุทโธ

ที่นำความรู้มาให้อย่างละเอียดเลยครับ
cool :b8:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2009, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขอให้ศึกษาแนวทางจากกระทู้ข้างล่างนี้นะคะ
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน แจ่มแจ้ง ในเรื่อง สังฆาทิเสส


:b44: จาก...วินัยสงฆ์-อาบัติ-ปาราชิก-สังฆาทิเสส
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=22785

-------> (ปรับปรุงคำตอบใหม่ เมื่อวันที่ ๓/๑๐/๒๕๕๗)
อ้างอิงความเห็น...นายฏีกาน้อย, ท่าน denchai จากกระทู้ข้างล่างนี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42469

อ้างคำพูด:
สึกอุปสมบทใหม่

[๕๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น พึงให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ

[๕๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่ได้ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น

พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ

[๕๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ไม่ปิดบังอาบัติเหล่านั้น

พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อน แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ

[๕๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ปิดบังไว้แล้วสึก
เธออุปสมบทใหม่ ปิดบังอาบัติเหล่านั้น

พึงให้ปริวาสในกองอาบัติตามที่ปิดบังไว้ครั้งก่อนและหลัง แล้วให้มานัตแก่ภิกษุนั้น ฯ

------------------------------------------------------
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
มานัตหนึ่งร้อย สึกอุปสมบทใหม่
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... 655&Z=7210

กล่าวโดยสรุปได้ว่า...

การต้องอาบัติ “สังฆาทิเสส” ถ้าลาสิกขา (สึก) ไปเป็นคฤหัสถ์แล้วก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะอาบัติมีได้เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์แล้วหามีอาบัติติดตัวไม่ อีกทั้งไม่มีผลปิดกั้นสวรรค์หรือมรรคผลนิพพานแต่อย่างใด สามารถสร้างบุญกุศลตามฐานะของตนก็บรรลุคุณธรรมชั้นสูงได้ แต่หากกลับมาบวชใหม่ หวนคืนสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง ก็จำเป็นที่จะต้องกระทำคืนหรือแก้ไขให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ กล่าวคือ ต้องแก้ด้วยการขอมานัตอยู่ประพฤติวัตร หรือการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม) อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ กรณี
(ตามพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มานัตหนึ่งร้อย สึกอุปสมบทใหม่ ข้อ ๕๐๘-๕๑๑) เท่านั้น จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้


การอยู่ปริวาสกรรม มีความสำคัญแก่พระภิกษุที่ท่านต้องอาบัติหนัก
คือ อาบัติสังฆาทิเสส เมื่อพระท่านต้องอาบัติเข้าแล้ว
จะแก้ด้วยการปลงอาบัติไม่ได้
แต่ต้องแก้ด้วยการอยู่กรรม (อยู่ปริวาสกรรม) เท่านั้น

ภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ ถ้าปกปิดไว้จำนวนกี่วัน
ก็ต้องอยู่ปริวาสกรรมตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้
และต้องอาศัยสงฆ์จึงจะพ้นจากอาบัติหนักได้


เช่น เมื่อต้องอาบัติแล้วไม่ยอมบอกกับเพื่อนพระภิกษุ
เวลาผ่านไป ๑ เดือนจึงเล่าให้เพื่อนพระฟังว่าตนต้องอาบัติ

ผู้ต้องอาบัติต้องกระทำตามวินัยกรรม
โดยขอการอยู่ปริวาสจากคณะสงฆ์
หลังจากนั้นก็อยู่ปริวาสประพฤติวัตร ๑ เดือน

เมื่อครบแล้ว ต้องขอมานัตอยู่ประพฤติวัตรอีก ๖ วัน ๖ คืน
แล้ว ขออัพพาน (การประกาศยุติโทษ) จากสงฆ์ จึงจะพ้นจากอาบัติหนักได้


หรืออาจจะเข้า สุทธันตปริวาส อยู่ปริวาสกรรมเพียง ๓ วัน ๓ คืน
เมื่อครบแล้ว ต้องขอมานัตอยู่ประพฤติวัตรอีก ๖ วัน ๖ คืน
แล้วขออัพพาน (การประกาศยุติโทษ) จากสงฆ์ จึงจะพ้นจากอาบัติหนักได้


การจะมีโอกาสได้บวชในบวรพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย
ดังนั้น เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ควรตั้งจิตตั้งใจ ตั้งสติให้ดี
:b8: ขอให้การบวช (แม้จะบวชชั่วคราวก็ตาม) เป็นการบวชเรียน
บวชเพื่อรักษาพระศาสนา บวชเพื่อสืบต่ออายุพระศาสนา
บวชเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และบวชเพื่อปฏิบัติธรรม เจริญจิตตภาวนา


:b40: ศึกษาเพิ่มเติมจาก คัมภีร์จุลวรรค ภาค ๑
http://watparsi.com/pdf/Jullawatbook_part1.pdf

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2009, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2009, 17:18
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากที่ให้ความรู้ครับ ตอนนี้เร่งความเพียรสร้างความดีก่อนขอบคุณอีกทีครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร