วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีความสงสัยว่า โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมะ ที่มีหน้าที่อย่างไร ใช้เพื่ออะไร

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
มีความสงสัยว่า โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมะ ที่มีหน้าที่อย่างไร ใช้เพื่ออะไร


โพชฌงค์ ๗ มีความหมายตาม พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก ดังนี้.-

"ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา"

ถ้าหากท่านทั้งหลาย ได้พิจารณาให้ดี ก็จะพบว่า โพชฌงค์ ๗ นั้น คือคำแนะนำ หรือหัวข้อหลักวิธี ในอันที่จะปฏิบัติธรรม หรือฝึกตน เพื่อให้บรรลุถึงผลสูงสุด คือ นิพพาน
ถ้าหากจะกล่าวตามภาษาหลักวิชาการแล้ว โพชฌงค์ ไม่ใช่หลักธรรมะ คือ ไม่ใช่ตัวธรรมที่จะนำให้ผู้ปฏิบัติ บรรลุธรรม แต่เป็นเพียง วิธีการ คำแนะนำ คำเตือน หรือเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย ว่าบุคคลจะตรัสรู้ธรรมได้ ก็ต้องมีการปฏฺับัติสมาธิ,เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็ย่อมเกิดหรือมีสติตามมา, การจะมีสติได้ ก้ต้องมีการเรียนรู้หลักธรรมคำสอน ต้องพินิจพิเคราะห์ว่า หลักธรรมใดควร หรือไม่ควร เพราะหลักธรรมที่จะทำให้บุคคลตรัสรู้ได้มีไม่มากนัก แต่รายละเอียดมีมากมาย เมื่อรู้จักใช้ธรรมะแล้วก็ ตามธรรมชาติของมนุษย์ ก็ย่อมเกิด ปีติ เมื่อเกิดปีติ ก็ต้องมีสติ ระลึกได้ว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นเรื่องธรรมดา ความสงบกาย สงบใจ สงบอารมณ์ ก็ย่อมเกิดขึ้น แต่การที่บุคคลจะฝึกสมาธิ จนเกิดหรือมีสติ รู้จักพินิจพิเคราะห์หลักธรรม ก็ย่อมล้วนอาศัย สภาพสภาวจิตใจรูปแบบหนึ่ง อันได้แก่ "วิริยะ คือ ความเพียร ความไม่ท้อถอย พยายามในการกระทำกิจ " อย่างนี้เป็นต้น
อนึ่ง การอธิบายของข้าพเจ้า เป็นเพียง ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ท่านอื่นๆ อาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากข้าพเจ้าก็เป็นเรื่องธรรมดา อย่าได้นำเอาข้อคิดเห็นของข้าพเจ้า เป็นบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานนะขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง

อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

คือ
(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน
(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย
(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผม โพชฌงค์ คือ
การเดินสู่ความเป็นพุทธะ พุทธะเกิดได้ด้วยการเดิน ๗ ก้าว ไปตามทางแห่งมรรค

....การเดิน(โพชฌงค์) ทาง(มรรค) สู่ความเป็นอาริยะ (อลมริยา)

วิธีการเดิน ๑ ก่อนอื่นใด ต้องทำสัมมาทิฐิ( ในมรรค ๘ )ให้เกิดขึ้นก่อนโดย ปัจจัย ๒ ประการคือ
๑. ปรโตโฆสะ (ความได้สดับฟังสัจจะอื่น จากผู้รู้อื่นๆหรือบัณฑิตอื่น)
๒. โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ่องแท้
ให้หยั่งลงไปถึงแดนเกิดคือ..ใจ) (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ ข้อ ๔๙๗)

ต่อไปก็เริ่มทำมรรคข้ออื่นๆคือ
...ทุกเรื่องราวที่เราคิด(ให้เป็นสัมมาสังกัปปะ)
สัมมาสังกัปปะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
๒. ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
๓. ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)(พระไตรปิฎกเล่ม๑๔ ข้อ๒๖๒)

...ทุกกิจที่เราทำ(ให้เป็นสัมมากัมมันตะ)
สัมมากัมมันตะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี)
๓. งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี) (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๒)

...ทุกคำที่เรากล่าว(ให้เป็นสัมมาวาจา)
สัมมาวาจา๔ (ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
๒. งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
๓. งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
๔. งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี) (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ ข้อ ๒๖๗)

...ทำงานอาชีพ(ให้เป็นสัมมาอาชีวะ)
สัมมาอาชีวะ ๕(ที่ยังเป็นสาสวะ อันเป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ )
๑. งดเว้นจาก การโกง (กุหะนา)
๒. งดเว้นจาก การล่อลวง (ลปะนา)
๓. งดเว้นจาก การตลบตะแลง (เนมิตตกะตา)
๔. งดเว้นจาก การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกะตา)
๕. งดเว้นจาก การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนะตา)
(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๗๕)

ทำมรรคทั้ง๔ข้อที่กล่าวมานี้โดย
... มีจิตรับรู้(สติสัมโพชฌงค์, สัมมาสติ)
... ดูว่าควรหรือไม่(ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์)
... เพียรทำแต่สิ่งที่ดีๆ(วิริยะสัมโพชฌงค์, สัมมาวายามะ)
แล้วจะเกิดผลเป็น
...ความอิ่มใจ(ปิติ) ความสงบ(ปัสสัทธิ) ความตั้งมั่น(สมาธิ) เห็นตามความเป็นจริง(อุเบกขา)

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร