วันเวลาปัจจุบัน 25 พ.ค. 2025, 13:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระสำคัญของพระพุทธศาสนา

ต้นสุด คือ ให้มาเอา ไม่ใช่ มาทิ้ง (ต้องหวัง ไม่ใช่ ไม่หวัง)
ยอดสุด คือ ให้ไปทิ้ง ไม่ใช่ ไปเอา (ได้แล้วต้องทิ้ง ไม่ใช่ สะสม)

เบื้องต้น คือ พุทธศาสนาให้มาเอาอะไร
ให้มาเอาบุญ เพื่อให้ตาสว่างเห็นความจริง ยิ่งบุญมากเท่าไหร่ จิต ยิ่งมองเห็นความจริงมากขึ้นเท่านั้น

เบื้องปลาย คือ พระพุทธศาสนาให้ไปทิ้งอะไร
ให้ไปทิ้งความยึดมั่น ถือมั่น ด้วยมรรคา คือทางที่พระพุทธองค์ปูไว้ให้แล้วพร้อมสรรพ

***ส่วนมากเราๆ ก็จะรู้หรือมีปัญญาในระดับที่ คิดคิด ที่นึกและจินตนาการตามที่ได้อ่าน ได้สอบถามและได้ฟังมาเท่านั้น แต่การที่จะรู้แจ้งจริงๆ ได้นั้น มันต้องเป็นปัญญาอยู่ในระดับ เห็นจริง ประจักษ์แจ้งด้วยจิต

ที่เรามาพูดถึงทางที่จะไปนิพพานกันส่วนมากในเวลานี้ก็อยู่ในระดับสูงๆ ทั้งนั้น แต่กลับมองข้ามสิ่งที่เป็นพื้นฐาน เมื่อมีฐานที่ไม่มั่นคง โอนเอนเอียง จึงทำให้ก้าวขึ้นไปค่อนข้างยากลำบาก

ค้นหาสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญ พากันทำสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้สมบูรณ์และมั่นคงสิครับ ก่อนที่ก้าวไปสู่จุดสูงสุดไม่อย่างนั้นก็จะ มีคำถามต่างๆ นานา มากมาย ตามมาอีกเพียบ หรือไม่ก็ถามวนไปวนมา ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ซะที

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ถ้าใครเข้าป่าหาแก่นไม้ แต่ไปเจอกิ่งไม้ เจอสะเก็ด เจอเปลือก เจอกระพี้
ก็อาจสำคัญว่าเป็นแก่น เพราะไม่ทำความรู้จักแก่นให้ดีเสียก่อน เลยได้สิ่งที่ไม่ใช่แก่นติดมือกลับบ้าน
ลาภและสรรญเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งไม้
ศีล เปรียบเหมือน สะเก็ด
สมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
ญาณ หยั่งรู้ต่างๆเปรียบเหมือน กระพี้
ความหลุดพ้นแห่งจิต ชนิดที่ไม่กลับมากำเริบอีก คือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา

สรุป คือ ถ้าเรายังไม่รู้จักภาวะของจิตที่หลุดพ้นเด็ดขาดก็ยังไม่ได้ชื่อว่า เรารู้สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรรู้

***ไว้เป็นข้อสังเกตตัวเองครับ*** ว่าตอนนี้เราได้แก่นแท้หรือยัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่เห็นนะ ส่วนใหญ่คนมักพูดถึง นิพพาน เอ่ยถึงการหลุดพ้นบ้าง อรหันต์บ้าง อะไรต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่ เหนือสิ่งที่ตนเองทำได้อยู่มาก
เหมือนคนหัดขับรถ แต่มานั่งถกกันว่า รถฟอร์มูล่าวัน เวลาเข้าโค้งมีเทคนิคอย่างไร ความเร็วที่ 400 กิโลเมตรนั้น พวงมาลัยมันสั่นขนาดไหน แล้วก็มาโต้กันว่า สั่นมากอย่างนั้นอย่างนี้ อีกคนบอกจะไม่สั่น ถ้าปรับช่วงล่างด้วยวิธีนี้ ของนักแข่งคนนี้ แต่ทั้งสองคนล้วนเคยขับแต่ฮอนด้าซีวิค 4 ประตู

บางคนถือตำราวิศวะยานยนต์ แต่ขับรถไม่เป็น ก็กางตำรามาบอก ซึ่งก็น่าอนุโมทนา (อันนี้หมายถึง น่าขอบใจ) แต่บางคนไม่ถือตำรานะซิ แต่กอดตำรา แล้วเอามาเถียงกับคนขับรถแท็กซี่ คนขับรถก็บอกว่า กรูขับมาอย่างนี้ พวกกอดตำราก็บอกว่าผิดๆ ขับแบบนี้ไม่ได้ๆ เถียงกันหน้าดำหน้าแดง

ยังไม่นับบางคน ที่เขียนหนังสือขึ้นมาเอง แล้วเที่ยวป่าวประกาศว่า หนังสือของฉันดีที่สุด...

พุทธไทย ถ้าอยู่นอกวัด มันก็ช่างเลอะเทอะจริงๆ
รักษาศีล 5 ทำสมาธิบ้าง ทำบุญทำทานตามอัตภาพและความศรัทธา ก็โอเคแล้ว

ส่วนคนที่รักการปฏิบัติ ก็ทำสมาธิให้ได้ก่อนเถอะ บางคนว่ากันถึงนิพพานไปนู่น
ยิ่งมาเถียงกัน ก็ยิ่งเพิ่มอัตตาของตน อยากเอาชนะ อยากเป็นผู้ชนะ แล้วที่แย่คือ มาเถียงกันเรื่องธรรมะ ทั้งที่ตนเองยังห่างไกลธรรมมากเลย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ถ้าใครเข้าป่าหาแก่นไม้ แต่ไปเจอกิ่งไม้ เจอสะเก็ด เจอเปลือก เจอกระพี้
ก็อาจสำคัญว่าเป็นแก่น เพราะไม่ทำความรู้จักแก่นให้ดีเสียก่อน เลยได้สิ่งที่ไม่ใช่แก่นติดมือกลับบ้าน
ลาภและสรรญเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งไม้
ศีล เปรียบเหมือน สะเก็ด
สมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
ญาณ หยั่งรู้ต่างๆเปรียบเหมือน กระพี้
ความหลุดพ้นแห่งจิต ชนิดที่ไม่กลับมากำเริบอีก คือ แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา


:b8: :b8: :b8: ตั้งกระทู้ช่างไพเราะ จริงหนอ :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เอา

แต่ท่านสอนให้สร้าง ให้มีขึ้นในชีวิต

สร้างกุศลธรรมทั้งปวงให้มี สร้างศีลให้มี สมาธิให้มี ปัญญาให้มี
ญาณทัสสนะก็ให้มี มรรคยิ่งต้องสร้างให้มีจนเต็มเปี่ยม

เมื่อสร้างให้มีจนเต็มเปี่ยมแล้ว การปล่อยวางก็จะเป็นเอง
ถึงท่านไม่ต้องบอกให้ปล่อยไม่ต้องบอกให้วาง จิตมันก็วางเอง
หลุดพ้นออกมาเองจากสิ่งที่มันเคยผูกพันธ์

กุศลธรรมที่หมั่นอบรมสร้างให้มีขึ้นจนเต็มเปียมจะพาทิศทางของจิต
ให้ละเอียดขึ้น และความละเอียดขึ้นในทุกลำดับของจิต
ก็ทำให้จิต ก้าวข้ามกุศลธรรมชั้นหยาบ ทั้งปวงไปได้ด้วยในที

กุศลธรรมสูงขึ้น ก็ต้องเริ่มสร้างจากเรื่องหยาบๆ เพื่อใช้เรื่องหยาบมายกจิต
จนเมื่อจิตมีภูมิของกุศลธรรมที่สูงขึ้นแล้ว จิตก็เปลี่ยนมาสร้างกุศลส่วนอื่่น
ที่มันประณีตขึ้น และสร้างไปเรื่อยๆ จนเต็ม ทุกส่วนของบารมี ทุกส่วนของคุณธรรม

กุศลธรรมเป็นเหมือนน้ำสะอาด ทุกครั้งที่สร้างให้มี หรือเติมเต็มให้มี
น้ำสะอาดก็จะเข้าไปเจือจางสิ่งสกปรก ถ้าเติมน้ำสะอาดเข้าไปได้มากเท่าไร
จิตที่เปรียบเหมือนน้ำในแก้ว ก็จะค่อยๆเปลี่ยนสี และใสสะอาดขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเติมกุศลธรรมเข้าไปจนเต็มสมบูรณ์ น้ำก็ใสสะอาดสมบูรณ์ อยู่ในทีของมัน

พระพุทธเจ้าท่านจึงไม่ได้สอนให้เอา

แต่ท่านสอนให้สร้างให้มี และเริ่มสร้างให้มีตั้งแต่กุศลหยาบๆคือเรื่องทาน
ไปจนถึงการสร้าง มรรค ผล นิพพาน ให้มีขึ้นเป็นขึ้น

เมื่อสร้างให้มีจนเต็มเปี่ยมแล้ว มหากุศลที่สมบูรณ์ ก็จะเป็นพลัง
ที่มีทิศทางนำวิถีจิตให้ไหลไปสู่การปล่อยวางทุกสิ่งทุกประการ โดยไม่มีเหลือ
ของมันเองเป็นอัตโนมัติ และเป็นธรรมชาติ

และการปล่อยวางของจิตก็ไม่ได้มาเริ่มปล่อยกันตอนท้ายสุดของการปฏิบัติ

แต่จิต มีการปล่อยวางมาทุกระยะของการปฏิบัติ และปล่อยหลายครั้งหลายหน

ให้ทานมากถึงจุดหนึ่งก็อิ่มเรื่องทาน หันไปสนใจกุศลที่สูงขึ้น
หันมารักษาศีลถึงจุดหนึ่งก็เริ่มเข้าใจ และอิ่มตัว สามารถทรงอยู่กับศีลได้
อย่างเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องเจตนาเพื่อรักษา ต่อมาก็อิ่มต่อความสนใจเรื่องศีล
หันไปมุ่งมั่นกับสมาธิ และจิตก็เรียนรู้ และสร้างให้มี พอมีแล้ว ถึงจุดมันก็ละของ
มันเอง สร้างไปเรื่อยพร้อมกับละไปเรื่อย จนถึงการละแม้แต่พระนิพพาน
ก็สิ้นสุดการสร้างและสิ้นสุดการละ


ผมเข้าใจของผมอย่างนี้ ท่านบัณฑิต จะชี้แนะอย่างไร

:b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวศกล เขียน:
กุศลธรรมเป็นเหมือนน้ำสะอาด ทุกครั้งที่สร้างให้มี หรือเติมเต็มให้มี
น้ำสะอาดก็จะเข้าไปเจือจางสิ่งสกปรก ถ้าเติมน้ำสะอาดเข้าไปได้มากเท่าไร
จิตที่เปรียบเหมือนน้ำในแก้ว ก็จะค่อยๆเปลี่ยนสี และใสสะอาดขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเติมกุศลธรรมเข้าไปจนเต็มสมบูรณ์ น้ำก็ใสสะอาดสมบูรณ์ อยู่ในทีของมัน

ผมเข้าใจของผมอย่างนี้ ท่านบัณฑิต จะชี้แนะอย่างไร

:b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6:


ชอบท่อนนี้จริง ๆ เลย
ชาวพุทธแย่ ๆ ชอบใช้คำอย่างนี้เองเหร๋อ...
อ่านแล้วคิดตามได้ง่ายจัง
สบายตา สบายใจ

:b30: :b30: :b30:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร