วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 21:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจว่า มหานิกายก็คือมหายาน ไม่รู้ว่าโดยหลักๆ แล้วเป็นยังไง เอาแบบคร่าวๆ เช่น ถ้าพูดถึงเถรวาท เราก็มักนึกถึงการฟังเทศน์ฟังธรรม ถือศีลห้า เข้าวัดทำบุญทำทาน มีการนั่งสมาธิกรรมฐาน แล้วมหานิกายล่ะ... แล้วพุทธภูมิคืออะำไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

เอาแบบคร่าว ๆ นะครับ

มหานิกายไม่ใช่มหายาน.........

(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย(กลุ่ม)ของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็น "มหานิกาย" และ "ธรรมยุตินิกาย" ยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุติขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาท สายลังกาวงศ์ ซึ่งสืบทอดมาแต่สมัยสุโขทัยทั้งสิ้น

ต่อมาเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุติขึ้น ในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้เกิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาท (สายลังกาวงศ์เดิม) ว่า "พระส่วนมาก" หรือ "มหานิกาย" นั่นเอง ซึ่งคำ "มหานิกาย" (บาลี : mahānikāya, สันสกฤต: महानिकाय) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหา + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ "พระสงฆ์ฯ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุตินิกาย"

ส่วน มหายาน นั้น ต้องท้าวความว่าพระพุทธศาสนาแบบที่เรานับถือกันอยู่ ซึ่งสืบต่อมาในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพระพุทธศาสนาเถรวาท หรือบางทีก็ถูก เรียกว่า หินยาน ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของคำสอนที่รักษามาในพระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎกภาษาบาลีของเถรวาทนี้เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นคำสอนดั้งเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า เก่าแก่ ที่สุดเท่าที่จะสืบหาได้ แล้วรักษากันมาอย่างเคร่งครัด ทั้งแม่นยำที่สุด และครบถ้วนที่สุด เวลานี้ในโลกก็รู้กันอยู่ว่าพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ 2 นิกาย คือ เถรวาท กับมหายาน นอกจากพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทอย่างของเรานี้ ก็มีพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ที่มีในประเทศแถบเอเชียภาคเหนือ อย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลี มองโกเลีย เป็นต้น รวมทั้งทิเบตซึ่งมักจะไม่ยอมเรียกตนเป็นมหายาน แต่เรียกตนว่าวัชรยาน กลายเป็น 3 นิกาย

ครับ...มหานิกาย กับ มหายาน จึงเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ตามที่เข้าใจ

ส่วนคำว่า พุทธภูมิ นั้น พุทธภูมิ เท่าที่ทราบ หมายถึง ภาวะความเป็นพระพุทธเจ้า อย่างในหมู่ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม จะพูดกันว่า ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ ซึ่งเข้าใจกันในหมู่คณะ ว่าหมายถึงผู้ที่ปรารถนาคือตั้งจิตปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ดังนั้น คำว่าพุทธภูมิ ก็จะจำกัดเฉพาะผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้ตรัสรู้ธรรมเพื่อออกจากทุกข์ และนำธรรมนั้นมาโปรดสรรพสัตว์ให้ได้พลอยพ้นทุกข์ตามได้ด้วย บางทีก็อาจหมายถึงดินแดนแห่งธรรม มีสารคดีท่องเที่ยวชวนไปท่องแดนพุทธภูมิอยู่บ่อยครั้ง....ครับ เอาแบบคร่าว ๆ แล้วกัน :b6: :b6:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8:



:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:
เสียดายจัง...."ท่านพลศักดิ์"....ไม่น่าเลย :b2: :b2:
ไม่งั้นคงได้คำตอบไปแล้ว... :b13: :b13:

ถ้าจะตอบว่าเป็นศาสนาพุทธเหมือนกันจะคิดว่าเรากวนวัยรุ่น(teen)รึป่าวล่ะนี่ :b14: :b14: เพราะอย่างที่ยกมาว่า
อ้างคำพูด:
ถ้าพูดถึงเถรวาท เราก็มักนึกถึงการฟังเทศน์ฟังธรรม ถือศีลห้า เข้าวัดทำบุญทำทาน มีการนั่งสมาธิกรรมฐาน

คือว่าศาสนาพุทธนิกายไหนๆก็มีอย่างนี้ทั้งนั้น เพราะการฝึกกรรมฐานนั้นเป็นวิธีเดียวที่จะเข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าได้พบ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
"เมื่อเรายังไม่พบญาณ เราได้ท่องเที่ยวไปในวัฎฏสงสารเป็นเอนกชาติ"
ญาณนั้นก็คือ วิปัสนาญาณ เป็นที่สุดของสมถะกรรมฐาน

ส่วนพุทธภูมิคือ ภูมิของพระพุทธเจ้าครับ ผู้ที่ปราถนาพุทธภูมินั้นก็จะต้องมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าครับ แต่ก็ต้องสร้างบารมีนานมากๆ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เดิมเข้าใจว่า มหายานจะเน้นเทพเจ้า เช่น เทพกวนอิม เวลาเข้าวัดก็จะเข้าไปเพื่อเคารพหรือทำบุญ กับเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ได้ทำบุญกับพระ (แบบสังฆทานของเถรวาท) คือ... พระเป็นรองจากเทพ (ในเถรวาท พระกับเทพเป็นอิสระต่อกัน) ในคนทั่วไปก็ไม่มีการนั่งสมาธิ แต่จะเน้นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ แบบพระโพธิสัตว์ ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า :b6: :b6: :b6:

แล้วธรรมยุติ ต่างจากมหานิกายตรงไหน... แล้ววัชรยาน ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมยุติ หรือ ธรรมยุติก
เป็นนิกายหนึ่งของพระสงฆ์ในประเทศไทย เป็นฝ่าย วิปัสสนาธุระ
ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระวชิรญาณเถระ ( เจ้าฟ้ามงกุฏ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 )
และใน รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ
ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ รศ.121” มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ
ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย


การแยกออกเป็น 2 นิกายในไทยนั้น เกิดจากการเรียกชื่อของทางราชการ
ไม่ได้เกิดจากความแตกแยกแต่อย่างใด


"ก่อนรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคตไม่นาน สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชอยู่ที่วัดมหาธาตุ
พอรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์จึงถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระองค์เจ้าชายทับ)
พระเชษฐาธิราชต่างพระราชมารดาของเจ้าฟ้ามงกุฎ เจ้าฟ้ามงกุฎจึงต้องดำรงเพศเป็นพระภิกษุต่อมาอีก 27 พรรษา
เมื่อไม่ได้ครองราชย์แล้ว พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎจึงทรงฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงเห็นพระภิกษุ
ในสมัยนั้นปฏิบัติย่อหย่อนเป็นอันมาก ถูกจับสึกปีละหลายร้อยรูป จึงทรงดำริให้พระสงฆ์ปฏิบัติเคร่งครัดขึ้น
โดยพระองค์และคณะทรงกระทำเป็นตัวอย่างเรียกว่า คณะธรรมยุติกา ไม่ได้ตั้งเป็นนิกาย และปฏิบัติเช่นนี้
ตลอดจนรัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตและพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางผู้ใหญ่กราบทูลให้ทรงลาผนวชเสวยราชสมบัติ
และทรงปฏิบัติตาม
พระสงฆ์คณะธรรมยุติกาก็คงปฏิบัติเคร่งครัดเช่นเดิม และขยายตัวออกไปมาก
ทั้งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารคณะสงฆ์ ตั้งแต่ระดับสมเด็จพระสังฆราช เจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะจังหวัดเป็นต้น
ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชการได้เรียกชื่อใหม่ คือ คณะธรรมยุติกา เรียกว่าธรรมยุติกนิกาย พระสงฆ์นอกนั้น
ซึ่งมีจำนวนมากเรียกว่ามหานิกาย นิกายของพระสงฆ์ในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นเพราะการเรียกชื่อของทางราชการ
หาได้เกิดเพราะความแตกแยกกันไม่"

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติพุทธศาสนาโดยย่อ โดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยานของทิเบต

คำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ๆ

1 กลุ่มคำสอนซึ่งถูกจารึกไปเป็นภาษาบาลี อันเป็นพื้นฐานสำคัญของ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งเน้น หนักทาง ด้านวินัย
2 กลุ่มคำสอนของฝ่ายมหายาน ซึ่งถูกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เน้นหนักใน ความเมตตา และห่วงใยผู้อื่น
3 กลุ่มคำสอนตันตระ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของวัชรยานหรือมนตรยานหรือตันตรยาน ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ
มีคุณสมบัติพิเศษและสามารถนำไปสู่การรู้แจ้งในเวลาอันสั้น คำสอนในกลุ่มวัชรยานพระพุทธเจ้าได้สอน
ไว้แก่กลุ่มศิษย์ในแวดวงอันจำกัด แต่พระองค์ท่านก็ได้มีพุทธทำนายว่า คำสอนวัชรยานจะมีการเผยแพร่ในอนาคตกาลซึ่งจะมีบุคคลรู้แจ้งบรรลุเกิดขึ้นในกาลข้างหน้า สั่งสอนอบรม ฉะนั้นคำสอนวัชรยานจึงไม่ได้มีความเป็นพุทธะน้อยกว่าคำสอนอีก 2 กลุ่ม แม้จะแพร่หลายไม่มากนักในสมัยนั้น


หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ความแตกต่างในการตีความคำสอนและคิดเห็นซึ่งเกิดจากการรับคำสอนซึ่งต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยตามกลุ่มตามสภาพ จึงเป็นที่มาของความขัดแย้งในปรัชญาแนวความคิด ความขัดแย้งเริ่มมากขึ้นตามเวลาจนทำให้มีนิกายต่างๆเกิด ใหม่ขึ้นมา มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตัวอย่าง เช่นในฝ่ายเถรวาทในยุคนั้นแบ่งเป็น18 นิกายมหายานก็มีการแบ่งเป็นนิกายต่างๆ แบ่งเป็น3สายใหญ่ และเมื่อมหายานเข้าสู่ประเทศจีนก็แบ่งเป็นนิกายต่างๆมากมาย ในแต่ละนิกายก็มีข้อแตกต่างในเชิงปรัชญาซึ่งในวัชรยานก็เช่นกัน แนวปรัชญาและแนวปฏิบัติหลายอย่าง เริ่มต้นเกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคน เดียว เท่านั้น

ในยุคหลังต่อมาคำสอนที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้มีการเผยแพร่ออกไปทั่วอินเดียและต่างประเทศที่อิทธิพลของพุทธศาสนาแพร่ไปถึงเช่นอาเซียกลาง อาเซียตะวันออก อาเซียใต้ ไปไกลสุดถึงอินโดนีเซียบางนิกายก็สูญหายไปไม่เหลือ บางนิกายก็เข้ารวมกับนิกายอื่นเกิดเป็นนิกาย ใหม่ขึ้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่13การมาเยือนของศาสนาอิสลามและการเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมืองในคาบสมุทรอินเดียทำให้พุทธธรรมมีอันต้องหายไปจากประเทศผู้ให้กำเนิด กลับกลายเป็น ประเทศอื่นๆที่ได้รับคำสอนเก็บรักษาไว้เช่นเถรวาทเก็บรักษาไว้ในลังกา พม่า ไทย กัมพูชา มหายานเก็บรักษาใน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีประเทศในกลุ่มอินโดจีน วัชรยานส่วนใหญ่เก็บไว้ในประเทศทิเบตและแถบหิมาลัย ประเทศทิเบตถือว่าเป็นโชคดี 2 ชั้น ทิเบตถือว่าเป็นหนึ่ง ในไม่กี่ประประเทศที่มีการปฏิบัติคำสอนวัชรยานอยู่อย่างสมบูรณ์แบบและทิเบตเป็นประเทศเดียวที่มีการเก็บรักษาคำสอนทั้งหมดอย่างสมบูรณ์(ทั้งหมดคือทั้งเถรวาท มหายานและวัชรยาน)


รายละเอียด ลองไปอ่านที่เว็บนี้ดูนะครับ
http://www.mahayana.in.th

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
เดิมเข้าใจว่า มหายานจะเน้นเทพเจ้า เช่น เทพกวนอิม

พระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านเป็นพระพุทธะ ไม่ใช่เทพเจ้าครับ ว่ากันว่า ท่านคือ
พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์(ประทับอยู่ที่สุขาวดีโลกธาตุ) แบ่งภาคมาจุติ เพื่อโปรดสรรพสัตว์
และเพื่อหนุนส่งพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ให้เผยแพร่กว้างขวาง เพราะในสมัยก่อน การเผยแผ่
พระพุทธศาสนา มาทางตะวันออก (ประเทศจีน) เป็นไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนไม่รู้จักพระพุทธองค์
ไม่รู้จักพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ที่เดินทางจากอินเดียมาเผยแผ่ก็พบเจอกับความยากลำบากจนท้อแท้
พระโพธิสัตว์กวนอิมหลังจากสำเร็จธรรม ก็ท่องจาริกโปรดสรรพสัตว์ไปทั่วแผ่นดินตะวันออก เป็นการปูทาง
ให้คนรู้จักพระพุทธศาสนา ทำให้พระสงฆ์ยุคหลังที่ไปเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้รับการต้อนรับที่ดีขึ้น
ได้รับความสะดวก ผู้คนในสมัยนั้นต่างก็ยกย่องพระพุทธศาสนา...
murano เขียน:
เวลาเข้าวัดก็จะเข้าไปเพื่อเคารพหรือทำบุญ กับเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ได้ทำบุญกับพระ (แบบสังฆทานของเถรวาท) คือ... พระเป็นรองจากเทพ (ในเถรวาท พระกับเทพเป็นอิสระต่อกัน)

ปุถุชนทั่วไป เมื่อมีทุกข์ ก็ยังยึดติดอยู่กับการบนบาน สานกล่าว ก็อาจจะไปวอนขออะไรเป็นพิเศษ
กับเทพเจ้าที่คิดว่าจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาจจะไม่ได้ไปตั้งใจไปทำบุญทำสังฆทานมั้งครับ :b12:

murano เขียน:
ในคนทั่วไปก็ไม่มีการนั่งสมาธิ แต่จะเน้นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ แบบพระโพธิสัตว์ ไม่รู้เข้าใจถูกหรือเปล่า :b6: :b6: :b6:

รู้ได้ยังไงครับ ว่าเขาไม่มีการนั่งสมาธิ เขาอาจจะปฏิบัติอยู่ที่บ้านก็ได้ :b12:
อย่างน้อยพระสงฆ์ในวัดก็ต้องทำบ้างล่ะ เหมือนที่คุณ Natdanai กล่าวไว้นั่นแหล่ะครับ
พุทธนิกายไหนๆ ก็มีกรรมฐานเหมือนกัน เพียงแต่เราอาจจะไม่เห็นตอนเขาปฏิบัติ
การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ก็เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของพระโพธิสัตว์
โพธิสัตว์ญาณ คือ การบำเพ็ญบารมี 6 (ปารมิตา 6)
1.ทานบารมี
2.ศีลบารมี
3.ขันติบารมี
4.วิริยะบารมี
5.ญาณบารมี
6.ปัญญาบารมี
ก็ไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติได้ง่าย ต้องมีศรัทธา ปณิธาน ที่มั่นคงมากเหมือนกันครับ
มีคำกล่าวว่า
"พระโพธิสัตว์ กลางวันโปรดผู้คน กลางคืนโปรดจิตญาณตนเอง"
กลางวันโปรดผู้คน ก็คือช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ส่งเสริมให้คนได้หันเข้าหาธรรม
กลางคืนโปรดจิตญาณตนเอง ก็คือ ทำสมาธิ วิปัสสนากรรมฐาน.
ผิดตกบกพร่องประการใดขออภัยด้วยครับ เพราะยังด้อยปัญญา ยังศึกษาหาความรู้อยู่เหมือนกันครับ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


^ คือ ไม่เคยเห็นกรรมฐานแบบจีนน่ะ ส่วนหลวงจีนอันนั้นแน่นอน ย่อมต้องทำสมาธิอยู่แล้ว :b1:

ทีนี้ ว่าแบบไม่เอาอคตินะ เป็นไปได้ว่า ธรรมยุตินั้นเป็นเรื่องการเมือง คือสงฆ์ฝ่ายกษัตริย์ อาจตั้งใจตั้งขึ้นมาเพื่อหวังผลในทางปกครอง... ธรรมยุติจึงไม่ใช่นิกาย ไม่มีอะไรแตกต่างจากมหานิกาย เพียงแต่เป็น ฝ่าย ที่มีหน้าที่คัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในทางสงฆ์ต่างๆ :b6: :b6:

พอจะเข้าใจภาพรวมๆ แระ เหลือแต่วัชรยาน คงต้องไปหาข้อมูลต่อ แต๊งๆ รูปภาพ


เพิ่มเติม: ไปอ่านแบบคร่าวๆ แล้ว วัชรยาน ก็คล้ายๆ กับมหายาน แต่อาจจะเคร่งกว่า ทั้งมหาและวัชรเน้นพุทธภูมิ คือสร้างบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า (แต่ก่อนอื่น ก็เป็นพระโพธิสัตว์ก่อน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
เพิ่มเติม: ไปอ่านแบบคร่าวๆ แล้ว วัชรยาน ก็คล้ายๆ กับมหายาน แต่อาจจะเคร่งกว่า ทั้งมหาและวัชรเน้นพุทธภูมิ คือสร้างบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า (แต่ก่อนอื่น ก็เป็นพระโพธิสัตว์ก่อน)

:b8: :b8: :b8:
นานแล้ว เคยอ่าน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เกิดอาการมึนๆ อยู่ เลยอ่านไม่จบ
พอดีเห็นคุณถามเรื่องนี้ เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เรามีหนังสือเล่มนี้อยู่นี่นา
เลยกะว่า ว่างๆ จะลองเอามาอ่านดูอีกที :b20:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


^ คือ ไม่เคยเห็นกรรมฐานแบบจีนน่ะ ส่วนหลวงจีนอันนั้นแน่นอน ย่อมต้องทำสมาธิอยู่แล้ว

ขอถามน่ะค่ะการทำกรรมฐาน
กับการทำสมาธิไม่เหมือนกันหรอค่ะ! :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนกันฮับ แต่คำว่ากรรมฐานมันเท่ห์กว่า อิอิ

ที่เขียนประโยคนี้ หมายความว่า ไม่ค่อยได้ยินชาวบ้านฝ่ายมหายานเขาพูดถึงกสิน สมาธิอะไรกันน่ะ เลยเข้าใจว่า มหายานเขาเน้นการสร้างบารมีแบบพระโพธิสัตว์มากกว่าน่ะ (คือเน้นเมตตา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2009, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเป็นมหายานที่คุณคุยกันแบบจีนแล้วล่ะก้อ
เค้าจะเน้นการสวดมนต์ค่ะ
เรายังไม่เคยได้ยินใครพูดถึงการนั่งสมาธิเลย
แม้แต่เวลาที่เราฟังจากVCD
จีน+ใต้หวัน+มาเลย์ เค้าจะเน้นการสวดมนต์อย่างเดียวค่ะ
เค้าจะสอนว่า สวดอามิธอฝอ1คำ....ก็เลื่อนลูกประคำไป1เม็ด

ลูกประคำจะมี108เม็ด...เค้าบอกว่ายิ่งสวดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีค่ะ
แต่ใจต้องนิ่งเช่นกัน....ถ้าิคิดโน่นคิดนี่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

มีใครเคยเห็นคนธิเบตสวดมนต์ไม๊ค่ะ
แปลกน่ะค่ะ...เวลาเค้าสวดมนต์..ทำไม? เค้าจะต้องยืน
พอสวดคำหนึ่ง....เค้าก็จะลงไปนอนคว่ำ
แล้วก็สวดต่อ แล้ว็ทำอย่างเก่าอีก
มีใครเคยอ่านเจอบ้างไม๊ค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2009, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


การสวด อามิทอฝอ (พระอมิตาภะพุทธเจ้า) แล้วนับลูกประคำ ก็เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งซึ่งทางพุทธมหายาน นิยมทำกัน สวดจนใจเป็นสมาธิ ก็จะเกิดปัญญา เคยได้ยินมาว่ามีผู้สำเร็จธรรม ด้วยการภาวนา พระนามพระพุทธเจ้า ก็มีนะครับ
การทำสมาธิ ชอบแบบไหน ถนัดแบบไหน ก็เลือกให้ถูกกับจริตของตนเองก็จะดีที่สุดครับ
.:b16:

การกราบของชาวธิเบต เป็นการกราบที่เรียกว่า อัษฎางคประดิษฐ์
เป็นการหมอบกราบ ด้วยอวัยวะทั้ง ๘ สัมผัสพื้น ได้แก่
ฝ่ามือ๒, ข้อศอก๒, หัวเข่า๒ และปลายเท้า๒
เริ่มจาก การยืน แล้วก็ทรุดตัวลง เหยียดตัวไปข้างหน้าราบกับพื้นหมด แล้วค่อย ๆ ลากเข่าเข้าไปแล้วจึงคู้ตัวลุกขึ้นยืน


ส่วนคนไทยเราเวลากราบพระ จะเป็น การกราบแบบ เบญจางคประดิษฐ์ :b1:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ท่านปรมาจารย์ตักม้อโจวซือ เป็นชาวอินเดีย
.jpg
.jpg [ 35.77 KiB | เปิดดู 5733 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
ไม่ค่อยได้ยินชาวบ้านฝ่ายมหายานเขาพูดถึงกสิน สมาธิอะไรกันน่ะ เลยเข้าใจว่า มหายานเขาเน้นการสร้างบารมีแบบพระโพธิสัตว์มากกว่าน่ะ (คือเน้นเมตตา)

คุณคงจะลืมไปว่าในยุคหนึ่งของจีนเคยมีพระเถระผู้ที่เก่งมากได้เผยแผ่พุทธธรรมในเมืองจีน
ท่านผู้นั้นคือท่านตั๊กม๊อ และก่อเกิดลูกศิษย์ที่เก่งตามๆกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่ว่าจะเป็น
ด้านสมาธิและวิปัสสนาถือได้ว่าเข้าถึงธรรมขั้นสูงสุดเกือบทุกองค์
ดูได้ที่นี่ครับ
http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=186&txtmMenu_ID=7

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธิเบตนี่
เค้าจะสวดกันเยอะมากๆน่ะค่ะ
เวลาที่ใครจะเสียชีวิต พวกเค้าจะไปที่บ้านนั้น
แล้วพวกเค้า รวมทั้งผู้ป่วย จะสวดมนต์ด้วยกัน...จนผู้ป่วยเสียชีวิต(เราดูจากVCDพระน่ะ่ค่ะ)
คือเค้าเรียกว่า...ส่งคนตายให้ขึ้นสวรรค์น่ะค่ะ

ส่วนพระธิเบตนั้น...เวลาที่เค้าสวด...เค้าจะมีอะไรที่เป็นแบบหมุนๆ
เวลาสวดก็เหวี่ยงที่หมุนๆนั้นไปด้วย
คนธิเบตนี่...ตอนเช้าเค้าจะทำสวน
แต่พอตอนบ่ายพวกเค้าจะสวดมนต์อย่างเดียว
ใช่อย่างนี้หรือปล่าวค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร