วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 07:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักวิชชา เพื่อบรรลุธรรม ในทางพุทธศาสนา ตอนที่ ๒ “หลักการพิจารณา)
ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษา ในตอนที่ ๒ นี้ ท่านทั้งหลายควรได้ทบทวน บทเรียน ในตอนที่๑ ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน และควรได้อ่าน บทเรียน ในเรื่อง “มาทำความเข้าใจใน “มรรค” ความไปถึง บทเรียนบทอื่นๆประกอบด้วย จักทำเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการพิจารณา หลักวิชชา เพื่อการบรรลุธรรม ทางพุทธศาสนา ได้อย่างดียิ่ง
มาในตอนที่๒ นี้ ก็จะอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจ ในการพิจารณา และทำความเข้าใจให้เกิดกับท่านทั้งหลายที่มีสมองสติปัญญาน้อย คิดได้ยาก ว่าทำไม ข้าพเจ้าจึงสอนว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ สิ่งสิ่งเดียวกัน เป็นการสอนต่อเนื่องจากบทเรียน “หลักวิชชา เพื่อการบรรลุธรรม ในทางพุทธศาสนา” อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้.-
ทุกข์ คือ หัวข้อหลัก แห่งพฤติกรรม และการกระทำทั้งหลายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะง่ายต่อการพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง)
สมุทัย คือ รายละเอียด แห่งพฤติกรรม หรือการกระทำ อันพิจารณาจากหัวข้อหลัก ซึ่งต้องคิดพิจารณา ถึง พฤติกรรม และการกระทำ ว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อย่างไร ซึ่งแต่ละบุคคล ย่อมมีเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ แตกต่างกันไป ตามแต่ได้รับการขัดเกลาทางสังคม แต่ก็ล้วนมีต้นตอ จากหัวข้อหลักแห่งทุกข์
นิโรธ นั้น ในทางพุทธศาสนาตามพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า ความดับทุกข์ หรือดับตัณหาได้อย่างสิ้นเชิง
การจะดับทุกข์ได้ ก็ต้องรู้ก่อนว่า ทุกข์นั้น คือสิ่งใด เกิดขึ้นได้อย่างไร จึงจะสามารถดับทุกข์ได้ เช่น ท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า ทุกข์ เกิดจาก หลักธรรม ๔ คู่ ๘ ข้อ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ พฤติกรรม หรือการกระทำ ตาม หลักธรรม ๔ คู่ ๘ ข้อ ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ก็คือ หลักธรรม ๔ คู่ ๘ ข้อ เช่นกัน (ทำความเข้าใจให้ดี) หมายความว่า เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ได้ ก็คือ หลักธรรม ๔ คู่ ๘ ข้อ นั่นแหละ เมื่อรู้ว่า นิโรธ คือ อะไรแล้ว ย่อมต้องมี มรรค คือ หนทางแห่งความดับทุกข์
มรรค หรือ หนทางแห่งความดับทุกข์นั้น ก็คือ รายละเอียด ของพฤติกรรม หรือการกระทำ ปลีกย่อย ของ หลักธรรม ที่เป็น นิโรธ ซึ่งย่อมเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความพ้นทุกข์
ดังนั้น ในพระไตรปิฎก จึงกล่าวถึง มรรค ดังที่ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ได้ศึกษากันอยู่
แต่ความจริงแล้ว มรรคในพระไตรปิฎก ก็เป็นดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปในบทความ เรื่อง "มาทำความเข้าใจ ในมรรค"
ซึ่ง ความจริงแล้ว มนุษย์ย่อมต้องปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ย่อมต้องรู้ว่า ทุกข์ นั้นเป็น สมุทัย ได้อย่างไร
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจ และจดจำแล้วว่า ทุกข์ นั้นคือ อะไร เป็นสมุทัยได้อย่างไร
ก็จะรู้ว่า นิโรธ นั้นคืออะไร เพราะนิโรธ ก็คือ หลักธรรมะหัวข้อหลัก ทั้ง ๔ คู่ ๘ข้อ แล้วก็จะเกิดเป็นการประพฤติ ปฏิบัติ ตามหลักธรรมะซึ่งเป็นนิโรธนั้น ซึ่งเรียกว่า “มรรค”
เมื่อท่านทั้งหลายเกิดความรู้ ความเข้าใจใน “มรรค”แล้ว
มรรค หรือหนทางแห่งความดับทุกข์ ก็จะเกิดขึ้นในตัวของท่านเอง ด้วยการขจัดออกซึ่งคลื่นต่างๆ เช่น ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ หรือไม่เกิดทุกข์ขึ้นเลย คือไม่เกิดกิเลสขึ้นเลย แต่การไม่เกิดกิเลสในมนุษย์นั้น แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่น ไม่เกิดกิเลสอย่างหยาบ แต่เกิดกิเลสอย่างละเอียด ซึ่ง ท่านทั้งหลาย ควรได้คิดพิจารณาด้วยตัวเอง
ประการที่สำคัญ ที่ท่านทั้งหลายต้องจดจำ และท่องให้ขึ้นใจไม่มีวันลืมเลือน ก็คือ
กิเลส หรือ ความทุกข์ มิใช่เกิดจากการประพฤติ ไม่ดี หรือปฏิบัติ ไม่ดี ตามค่านิยมทางสังคมแต่เพียงอย่างเดียว อันนี้ต้องทำความเข้าใจ และจดจำไว้ให้มั่นคง
ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ทีละขั้นตอน ไม่ยากขอรับ และสนุกด้วย เพราะได้รู้ ได้เห็น ได้คิด ได้พิจารณา เกิดรวบรวม กลั่นกรอง จนในที่สุดก็จะกลายเป็นกลไกอัตโนมัติ
ประการที่สำคัญ จงอย่ากลัวหรือเกรง หรือเข้าใจว่า ถ้าบรรลุโสดาบัน ฯ จนถึงนิพพานแล้ว จะหนีโลก จะทิ้งเมีย ทิ้งลูก ทิ้งหน้าที่การงาน ไม่จริง ขอรับ ไม่มีการทิ้ง ไม่มีการเบื่อ ฉะนี้
(จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ เขียนเมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2009, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ตอนที่2 นี่ไปไกลอีกหน่อยครับ... :b6: :b6: :b6: ....พิจารณาต่อ....

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 03:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


k.natdanai ท่าทางจะคิดหนักนะนั่น อิอิ :b12:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


อมิตาพุทธ เขียน:
k.natdanai ท่าทางจะคิดหนักนะนั่น อิอิ :b12:

คิดครับ...แต่ไม่หนัก :b13: :b13:
พิจารณาไปเรื่อยๆครับ บทความของท่าน Buddha นั้นมีข้อธรรมให้พิจารณามากมายครับ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2009, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


พอจะเข้าใจได้แล้วว่าหลัก 4 คู่ 8 ข้อ นั้นทำให้เป็นทุกข์ได้อย่างไร เป็นสมุทัยอย่างไร นิโรธอย่างไร และเป็นมรรคอย่างไร....พิจารณาแล้วเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยศึกษามาแล้วลงกันได้ ไม่มีขัดแย้งแต่อย่างใด....สาธุครับกับบทความของท่านที่นำมาลงไว้ให้ได้ศึกษา...แต่ก็ยังรออ่านตอนต่อไปนะครับ :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลาย อย่าหลงว่า คิดนิดหน่อย ก็เข้าใจ
ความจริงแล้ว รายละเอียดมีมาก ดูในพระไตรปิฎก ยังมีเป็น หลายสิบเล่ม หนาๆ
หลายสิบเล่มหนาๆ นั้น ก็ยังไม่ครบหมดทุกอย่างนะขอรับ ยังมีอีกเยอะ เพราะยุคสมัยมันเปลี่ยนไป ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม การกระทำ ของมนุษย์ อันสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ก็มี ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม การกระทำ เพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยโบราณ
ดังนั้น การพิจารณา ใช่ว่าข้าฯรู้แล้ว ไม่สนใจแล้ว อย่างนั้น ก็แค่ครองเรือนปุถุชนไปเรื่อยๆ
เพราะบางคน บางท่าน หลงคิดว่า ไม่มีบุญบารมีบ้าง ต้องสร้างสมบารมีไว้หลายๆชาติบ้าง
ไม่จริงขอรับ
ขอเพียงมีความขยัน มีความพยายาม ย่อมพบความสำเร็จอย่างแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่งกลุ่มบุคคล บางกลุ่ม บางคน
มองหลักการทางพุทธศาสนา เหมือนเป็นหลักการทาง โหราศาสตร์ คือ มองแต่อนาคต มองแต่จุดสุดท้าย ซึงเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องนำมาคิดให้เปลืองสมอง ไม่มอง จากปัจจุบัน หวนถึงอดีต เพื่ออนาคต
ไม่อย่างนั้น หลักการทางพุทธศาสนา คงไม่ทำให้เกิด อริยบุคคล ชั้นต่างๆ เพราะมัวแต่มองอนาคต ไม่ทำปัจจุบันให้ดี

หลักการทางพุทธศาสนา จึงมีหลักธรรม ข้อ ระลึก ,ดำริ ที่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้คิดถึงความหลัง ครั้งอดีต
แต่มีความหมาย กว้าง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่จะต้องเก็บข้อมูลความจำ จากการเรียนรู้ จากการกระทำ หรือได้พบเห็น เพื่อเป็นข้อมูล ในการประพฤติ ปฏิบัติ หรือประกอบกิจกรรม หรือดำเนินงานใดใดก็ตามแต่ในปัจจุบัน และอาจรวมไปถึงอนาคต คำว่าอนาคตในที่นี้ ไม่ใช่จุดท้ายของชีวิต แต่เป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า ในการทำงาน ในการประพฤติ ในการ ปฏิบัติ ในการประกอบกิจกรรม ทางอาชีพ หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน ของมนุษย์ทั้งหลาย ก็มีการวางแผนล่วงหน้า หรือการวางแผนในอนาคต อยู่เกือบตลอดเวลา และในทางตรงกันข้าม
การวางแผน หรือการคิดถึงอนาคต ย่อมต้องประกอบด้วยข้อมูล ต่างๆ ทั้งที่เคยประสบมาในอดีต หรือจากความจำในสิ่งที่เคยได้ประพฤติ ปฏิบัติ หรือประกอบกิจการ หรือกระทำการ อยู่เป็นประจำวัน รวมไปถึงข้อมูลที่หาได้ในปัจจุบัน ฯลฯ เพื่อสร้าง หรือประพฤติ ปฏิบัติ หรือประกอบกิจการ เพื่อให้เกิด การหลุดพ้นจากความทุกข์ ฯลฯ
(จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ 31 มีนาคม 2552


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านทั้งหลายคงมีความสงสัย และย่อมมีบุคคลบางกลุ่ม หรือคนบางคน มีข้อขัด คัดด้านในหลักวิชชา หรือหลักธรรมคำสอนที่ข้าพเจ้าได้สอนไป เหตุเพราะมีเนื้อหา และหัวข้อหลักธรรม แตกต่างจากพระไตรปิฎกอยู่บ้าง ซึ่งในความจริงแล้ว หลักธรรมหรือหลักวิชชาแห่งข้าพเจ้ามิได้แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเลยแม้แต่น้อย
แต่อาจจะดูเหมือนว่าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เหตุเพราะ หลักวิชชา หรือหลักธรรมแห่งข้าพเจ้า กล่าวโดยรวมถึงหลักการ หรือวิธีการ หรือเหตุการณ์อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) เป็นการสอนแบบตรงๆ ไม่อ้อมค้อม นำเอาหลักการที่เป็นหลักความจริงที่ว่า สิ่งที่ชีวิตทั้งหลาย ต้องเป็น ต้องมี อย่างหลักวิชชาที่ได้กล่าวไปทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ เป็นหัวข้อหลักใหญ่ ส่วนในพระไตรปิฎก เป็นเพียงรายละเอียด บ้างก็เป็นเพียงคำอธิบายถึงลักษณะบางประการของ การคิด และการระลึกนึกถึง ในแง่มุมหนึ่ง

ดังข้าพเจ้าจะแจงให้เห็นถึงลักษณะของมรรคตามพระไตรปิฎก เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณา ตามหลักความเป็นจริง ซึ่งจะนับได้ว่า เป็นหลักวิชชาการก็ได้ หรือจะเป็นหลักปฏิบ้ติก็ได้ เช่นกัน

๑.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ ทั้งสามข้อ คือ ข้อเดียวกัน ต่างกันที่ อันหนึ่ง เป็น "ผล" อันหนึ่ง เป็น "มรรค" อันหนึ่ง เป็น มรรคผล แห่งมรรคผล คือ เป็นทั้งผลที่เกิดจากการคิด เป็นผลแห่งการระลึกนึกถึง แล้วเกิดเป็นมรรค คือ สภาพสภาวะจิตใจชนิดหนึ่งในการจะกระทำการใดใด

๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ๘.สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ต่างกันที่ อันหนึ่ง เป็นผล และเป็นมรรคผลแห่งมรรคผลด้วยเช่นกัน อีกอันหนึ่ง เป็นผลและเป็นมรรค คือเป็นผลจากการได้เรียนรู้ ตามหลักวิชชาต่างๆ

สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ ก็คือ ประพฤติชอบ ตามลักษณะอาชีพ หรือ การครองเรือน ฯลฯ
๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ก็คือ สรรพอาชีพ นั่นแหละ เพียงแต่เป็นข้อแยกแยะรายละเอียด ของอาชีพต่างๆ แต่เป็นการอธิบายในแง่มุมเดียว โดยคำนึงถึงแต่ตัวเอง ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
๓.สัมมาวาจา หรือ เจรจาชอบ ความจริงข้อนี้แม้จะเป็นผลแห่งการคิด เป็นผลแห่งการระลึกนึกถึง แต่ต้องแยกออกมาเป็นเอกเทศ ก็เหตุเพราะ การเจรจา ติดต่อสื่อสารนั้น จะขึ้นอยู่กับการครองเรือน อีกทั้งการเจรจา ติดต่อสื่อสาร ผู้เจรจา ย่อมต้องรู้คุณแห่งการเจรจาติดต่อสื่อสารนั้นๆ และยังรู้คุณแห่งการที่ตัวเองจะเจรจาติดต่อสื่อสารออกไป อย่างนี้เป็นต้น

ทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป หากพิจารณาอย่างถ่องแท้ จะพบว่า หลักวิชชา หรือหลักธรรมแห่งข้าพเจ้า มิได้แตกต่าง ไปจากพระไตรปิฎก เพียงแต่ หลักวิชชา หรือหลักธรรมแห่งข้าพเจ้านั้น เป็นหลักการหัวข้อต้นกำเนิด ส่วนที่มีในพระไตรปิฎกนั้น เป็นส่วนย่อย หรือส่วนรายละเอียด ในแง่มุมหนึ่งเท่านั้น
ท่านทั้งหลาย จงได้พิจารณาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามความเป็นจริงเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมใดๆก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2009, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ข้าพเจ้าจะเข้ามาเสวนากับท่านทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่หยุดพักไปสักระยะ ไม่ใช่หยุดเฉพาะที่เดียวนะขอรับ หยุดทั้งหมด

ก่อนที่จะหยุดพักไปนี้ ไหนๆก็ได้สอนหลักวิชชาเพื่อการบรรลุธรรมในทางพุทธศาสนาให้กับท่านทั้งหลาย ได้อ่าน ได้ศึกษา กันมามากพอสมควรแล้ว

ก็เลยจะแนะนำให้ท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจไว้ว่า การได้อ่าน ได้ศึกษา และคิดพิจารณาตามหลักความเป็นจริงแห่งหลักธรรมใดใดก็ตาม ขณะที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น ในทางพุทธศาสนา ถือว่ากำลังปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว
การปฏิบัติธรรม มีหลายรูปแบบ เช่น ปฏิบัติทางใจ ปฏิบัติ ทางกาย อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณา ในหลักวิชชา หรือหลักธรรมท้้งหลาย เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริงแห่งความทุกข์ว่า เกิดจากอะไร ประพฤติปฏิบัติเยี่ยงไรจึงก่อให้เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ประพฤติปฏิบัติ เยี่ยงไรก่อให้เกิดเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ประพฤติปฏิบัติเยี่ยงไร ก่อให้เกิดหนทางแห่งความดับทุกข์ ในทางพุทธศาสนาถือว่า สิ่งที่ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณานั้นคือ การปฏิบัติธรรม เพราะบุคคลจะหลุดพ้นจากความทุกข์หลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลสได้ ก็ย่อมเกิดจากความคิด และระลึกนึกถึง อันมีปัจจัยประกอบ ในการคิดและระลึกนึกถึงนั้น อีกหลายสิ่งหลายประการ
การปฏิบัติ สมาธิ เป็นเพียงการปฏิบัติชั้นพื้นฐาน เพื่อฝึกควบคุม บังคับ มิให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน ทำให้เกิด สติ สัมปชัญญะ ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของมนุษย์ ถึงแม้ว่าในธรรมชาติ มนุษย๋จะมีสมาธิ หรือมีสติสัมปชัญญะ ด้วยการขัดเกลาทางสังคมอยู่บ้างก็ตาม การปฏฺิบัตสมาธิ ในทางพุทธศาสนา ก็มีความสำคัญ ดังที่ได้กล่าวไป
และการปฏิบัติ สมาธิ ก็เป็นพื้นฐานแห่งการปฏิบัติธรรมในชั้นต่อๆไป ตามลำดับ
การปฏิบัติธรรม เพื่อให้สามารถบังคับควบคุม ขจัด หรือป้องกัน คลื่นแห่งกิเลส อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ฯลฯ นั้น ต้องมีปัจจัยประกอบด้วย การปฏิบัติสมาธิ หลักวิชชา หรือหลักธรรมคำสอน เพื่อปฏิบัติทางใจ เพื่อให้เกิดข้อมูลในสมองหรือในระบบของร่างกายของบุคคลนั้นๆ เมื่อมีข้อมูลอยู่ในระบบการทำงานของร่างกาย บุคคลนั้นๆก็สามารถ ป้องกัน ควบคุม หรือขจัดอาสวะแห่งกิเลส ออกจากร่างกายได้
การหลุดพ้นจากกิเลส หรือหลุดพ้นจากความทุกข์ ต้องรู้จักป้องกัน กิเลสจากภายนอก และต้องรู้จักขจัดอาสวะแห่งกิเลสจากภายใน ต้องรู้จักว่า อันไหนเป็นกิเลสอย่างหยาบ อันไหนเป็นกิเลสอย่างละเอียด เพราะศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่ง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
รับรองได้หากบุคคลใดคิดได้ พิจารณาได้ มีแต่สนุก ไม่มีเบื่อ เพราะระบบแห่งสรีระร่างกายจะกระตุ้นเตือนตามข้อมูลที่มีอยู่ในร่างกายอยู่เสมอ
แล้วบุคคลนั้น ก็จะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร