วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการแรก
อ้างคำพูด:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21244&sid=c60962aad335b87420eafcdeeef07722

หัวข้อกระทู้: มาทำความเข้าใจใน "มรรค"
ข้อความบางตอนของกระทู้............
ท่านทั้งหลาย หากได้ลองคิดพิจารณา ในเรื่อง ของ "มรรค" อันที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก นั้น จงได้ทำความเข้าใจว่า เป็นเพียงคำสอน ให้แต่บุคคลผู้มีสมองสติปัญญาอันน้อย หรือจะกล่าวว่า เป็นเพียงสอนให้แก่ระดับบุคคลชั้นปุถุชนคนทั่วไป เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติ ในการดำรงชีวิต ในสังคมเป็นอยู่ได้อย่างปกติสุข หรือจะกล่าว ในอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็หมายความว่า "มรรค" ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในกลุ่มบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์ หรือกลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถจะคิดพิจารณา ในหลักธรรมเพื่อให้สามารถขจัดอาสวะแห่งกิเลส หรือเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส เพื่อบรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคล คือไม่สามารถปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นชั้นอริยะบุคคลได้นั่นแหละ
ซึ่งหาก ท่านทั้งหลายปฏิบัติ หรือคิดพิจารณาในมรรคที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ก็จะเป็นเพียง การ ระงับไว้ เว้นไว้ ควบคุมไว้ ข่มใจไว้ สะกดใจไว้ มิใช่เป็นการขจัดอาสวะแห่งกิเลส

ความเห็นผมเอง ลองมาดูพระสูตรที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสบ้าง
( อรณวิภังคสูตร พระสุตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ 319-320 ฉบับบาลีหน้าที่ 424 )
"ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด๒ อย่างนี้นั้น
อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความ
เข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว [color=#0000FF]มรรค
มีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยง
ชีพชอบความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติ
ปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำ
ให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
นั่น เราอาศัยมรรคมีองค์ ๘อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว" ฯ

พระสูตรนี้แสดงกับภิกษุเมื่อสมัยที่ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร ตรัสอรณวิภังค์สูตรมีเนื้อความคล้ายกับ
ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ใจความย่อตรัสถึงที่สุดสองอย่าง คือ การบำเรอกาม และการประกอบความเพียรเพื่อให้ตนลำบาก
(หมายถึง การปฏิบัติที่หย่อนไปและตึงไป) ในพระสูตรนี้ท่านจึงแนะความปฏิบัติปานกลางไว้ให้กล่าวคือมรรค ๘
ทั้งยังตรัสอีกว่า เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
ฉนั้นที่ผมนำข้อความในบางกระทู้ที่มาอ้างอิงนั้นเป็นอันจบไปได้ว่าท่านสอนมรรคแก่ระดับใด และ
มรรคสามารถทำให้ได้รับผลอย่างไรเมื่อปฏิบัติไม่ไช่มีแค่ในอรณวิภังคสูตร แต่ยังมีอีกมากที่ที่แสดงมานี้พอเป็นตัวอย่าง (โดยที่ไม่ต้องตีความเลย )


ประการที่สอง อ้างอิงจาก
อ้างคำพูด:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21244&sid=c60962aad335b87420eafcdeeef07722

ข้อความบางตอนของกระทู้.............
(เมื่อท่านทั้งหลายอ่านมาถึงตรงนี้ ก็ให้กลับไปอ่านอย่างช้าๆเพื่อพิจารณา ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้)
เหตุเพราะ มรรค ที่แท้จริง ก็คือ นิโรธ
นิโรธ ที่แท้จริง ก็คือ สมุทัย
สมุทัย ที่แท้จริง ก็คือ ทุกข์
เช่นเดียวกัน หากคิดย้อนกลับ หรืออ่านย้อนกลับ ก็จะมีความหมายเช่นเดียวกัน

ความเห็นผม ไม่ว่าจะมองในมุมไหนก็จะไม่ไช่กันและกัน โดยอธิบายได้ดังนี้
แต่ละภาวะต่างกันทั้งโดยหลักและโดยกิจ(โดยกิจที่พระพุทธองค์แสดงในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร)

ทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ โสก ปริเทว โทมนัส (ยังมีเรียกกันอีกมาก ที่นี้เฉพาะตัวหลักๆ)
มีกิจกำหนดรู้( ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยนฺติ) ปริญเญยฺย แปลว่า พึงกำหนดรู้
สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้ทุกข์เกิด (ถ้าแปลตามภาษดั้งเดิม สภาวะที่ทำให้ทุกข์เกิด)
มีกิจต้องละ(ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพนฺติ) ปหาตพฺพ แปลว่า พึงละ
นิโรธ คือ การดับ(ทุกข์)
มีกิจพึงให้เห็นแจ้ง (ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพนฺติ) สจฺฉิกาตพฺพ แปลว่า พึงทำให้แจ้ง
มรรค คือ ทาง (ดับทุกข์)
มีกิจพึงให้เจริญ (ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพนฺติ) ภาเวตพฺพ แปลว่า พึงให้เจริญ


ในข้อสุดท้าย มรรค ก็คือ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา สมดังบาลีในพระสูตร(อย่าให้พิมพ์เลยครับ ยาว)
เมื่อมองที่กิจแล้วจะเห็นได้ว่า มีกิจต่างกัน ย่อมแสดงชัดว่าเป็นสภาวะๆละอย่างกัน มีข้อธรรมมากมายที่เหมือนกัน เช่น มรรคและนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อต่างกัน แต่กิจอันเดียวกัน คือ พึงให้เจริญ
แต่เรียกชื่อต่างกัน แต่ข้อสังเกตุถึงจะต่างกันโดยชื่อก็จะมีวิธีการหรือกิจที่ทำ(ในข้อที่ต่างกันโดยชื่อนั้น)เหมือนกัน
ฉนั้น เมื่อทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ต่างกันโดยชื่อแล้ว มีกิจต่างกันอีก
ฉนั้น การที่จะบอกว่า
เหตุเพราะ มรรค ที่แท้จริง ก็คือ นิโรธ
นิโรธ ที่แท้จริง ก็คือ สมุทัย
สมุทัย ที่แท้จริง ก็คือ ทุกข์
ไม่น่าตรงนัก
แต่ถ้าแก้ว่าเพราะมรรค์เป็นเหตุของนิโรธ
นิโรธที่แท้จริงคือความดับ
สุมทัยเป็นเหตุของทุกข์
แบบนี้รับฟังได้


ในอริยสัจจ์ ๔ ถ้าเรียงแบบหลักเหตุผลเวลาปฏิบัติธรรมเขาจะเรียงแบบนี้ครับ
สมุทัย ทุกข์ ๑ คู่ และ มรรค นิโรธ ๑ คู่
เพระสมุทัยเป็นเหตุ จึงมีทุกข์ เพราะดำเนินมรรค จึงมีนิโรธ
มีเหตุ มีผล คิดแบบตามลำดับเกิด เพราะเหตุเกิดผลจึงมา มีเหตุให้เกิดทุกข์ ก็มีทุกข์ ถ้าไม่มีเหตุให้เกิดทุก ก็ไม่มีทุกข์
การดำเนินตามมรรคเป็นเหตุ การดับทุกข์ตามมา ถ้าไม่มีการดำเนินตามมรรค ก็ไม่มีการดับทุกข์ได้
อันนี้เป็นความเห็นของผมเองที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนา(มีช่วงอารมณ์ที่อุปกิเลสตัวหนึ่งที่เรียกว่าญาณเกิดขึ้น
ตัวนี้ต้องระวังเพราะทำให้หลายคนเข้าใจว่าตัวเองแทงตลอดพระธรรมมามากแล้ว)

ลองมาดูความเห็นท่านพระอรหันต์รูปหนึ่งบ้าง (พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ )

สัจจวาร
"ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์
ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด
ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้."

ในข้อตอบที่ท่านพระสารีบุตรตอบมานี้ ยืนยันของสภาวะอริยสัจจ์ที่ ๔ ว่าเป็นคนละสภาวะกัน อีกทั้งได้ยืน
มรรคทั้ง ๘ ว่าเป็นทางดับทุกข์ได้ และที่สนทนาถามตอบในพระสูตรนั้น ก็เป็นการถามตอบกันในหมู่พระภิกษุ
หาสอนกันเฉพาะบางกลุ่มบางพวก
------------------------------------------------
คำสอนเรื่องมรรค ๘ นี้เป็นเรื่องใหญ่มากในศาสนา เพราะเป็นหลักคำสอนที่เสมือนแกนกลางเห่งความดับทุกข์เลยจะพบบ่อยๆในหลายๆที่ของพระไตรปิฏก อีกทั้งเป็นพระธรรมเทศนาแรกที่พระพุทธองค์ทรงตรัส เป็นเหตุให้
มีพระอริยสงฆ์รูปแรกแเป็นเหตุให้พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์
ผมอธิบายตามภูมิรู้ของคนที่รักการเข้าถึงพระไตรปิฎกด้วยการปฏิบัติ หลักการของปริยัติอาจบกพร่องไปบ้าง
และเหตุที่จะทำให้พระพุทธศาสนาบกพร่องไป ผมก็ขอน้อมรับ
----------------------
ด้วยจิตคารวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:10
โพสต์: 66


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามครับ....มรรคต่างจากสติปัฏฐานสี่อย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียน:
อยากถามครับ....มรรคต่างจากสติปัฏฐานสี่อย่างไรครับ


ถ้าจะเปิดใจอ่าน ก็จะตอบได้ดังนี้ครับ (ยาวหน่อย)

ตอบตามภูมินะครับ และหากไม่ไช่ถามเพื่อมาทดลองภูมิปัญญาผม ผมขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศล และผมจะได้อธิบาย
ตามแนวที่ผมเรียนรู้มาจากการเจริญสติตามแนวทางสติปัฏฐาน อาจมีถ้อยคำที่ไม่ไช่ศัพท์ในทางปริยัติอยู่บ้าง โปรดอภัย

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า "สติปัฏฐาน"ก่อน
คำว่าสติปัฏฐาน หมายถึง ที่ตั้งของสติ ไม่ว่าจะโดยความหมายของการแปลความ หรือการแปลแบบ
ตัวอักษร
เหตุที่เรียกว่าที่ตั้งของสติ เพราะเมื่อเราปฏิบัติธรรม(กรรมฐาน)ตามแนวทางแห่งสติปัฏฐานนี้ เราต้อเอา
สติไปตั้งไว้ตามที่กำหนดของหมวดนี้ คือ
กาย เวทนา จิต ธรรม
กายานุปัสสนาสติ หมายถึงการเอาสติตามเห็น วิธีการปฏิบัติกล่าวคือ มีสติดูตามความเป็นไปของกาย
หรือ ในอริยาบทต่าง หรือ ดูสภาวะต่างๆที่มากระทบกายเกิดจากกายเป็นต้น
เวทนานุปัสสนาสติ หมายถึงการเอาสติตามเห็นเวทนาทั้ง ๓ นอกจากการมองเห็นสิ่งที่เกิดจากกายหรือกระทบกายแล้ว
เวทนาก็เป็นสิ่งที่เนื่องมาจากการเกิดในกายหรือกระทบกาย เช่น ปวดหัว เกิดในกาย มีเวทนาคือทุกขเวทนา
และเวทนาเป็นการมองเห็นได้ง่ายที่สุด
จิตตานุปัสสนาสติ หมายถึงการเอาสติตามดูจิต ปกติจิตนี้เรียกว่าใจ (มโน) แต่ถูกสภาวะต่างๆไม่ว่าดีหรือชั่วปรุงแต่งก็เลยวิจิตร
พิศดารขึ้น เราก็เลยเรียกว่าจิต เพราะวิจิตรพิศดาร ที่ว่าตามดูจิต ก็คือดูภาวะของจิตว่าเป็นเช่นไร เช่น
ปวดหัวเกิดทุกขเวทนาไม่อยากปวดเลย ในขณะที่จิตไม่พอใจกับการปวดหัว ขณะนั้นวิภวะตัณหาอาจเกิดขึ้น
(ไม่อยากมีไม่อยากเป็น)
ธัมมานุปัสสนาสติ หมายถึงการมีสติตามดูธรรม เพราะเกี่ยวเนื่องจากการตามดูทั้ง ๓ ข้อข้างต้น สภาวะธรรมต่างๆย่อมเกิดขึ้นมา
เช่น การเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสภาวะทั้งปวงที่เกิดขึ้น ตัวอย่างก็คือ เห็นปวดหัวเกิด เห็นปวดหัวตั้งอยู่
เห็นปวดหัวดับไป เห็นทุกขเวทนาเกิด ตั้งอยู่ ดับไป เห็นความไม่อยากมีอยากเป็นเกิด ตั้งอยู่ ดับไป ตามความเป็น
จริงของสภาวะนั้นๆ กล่าวคือ เห็น ความแปรเปลี่ยน เห็นความไม่ดำรงคงอยู่ได้ เห็นความไม่ไช่ตัวตน เป็นต้น
ในสติปัฏฐานนั้นการตามดูไม่ไช่การตามไปปรุงแต่งนะครับ เพราะที่เราเห็นทั้ง ๔ อย่างนั้นล้วนประกอบด้วยทุกข์ เป็นทุกข์ เป็นเหตุ
เกิดทุกข์ หน้าที่ก็คือ กำหนดรู้ว่าทุกข์แล้วละ ไม่ไช่นั่งฟุ้งซ่านปรุงแต่งต่อไป
ความเกี่ยวกันของสติปัฏฐานกับมรรค ๘
เมื่อได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว เห็นความจริงว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปแม้แต่นิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งกรรมฐานก็มีเกิดมีตั้งอยู่มีดับไป
ให้ผู้ปฏิบัติเห็นได้ (ช่วงอุทัพพยญาณอย่างแก่) เมื่อนั้นย่อมเห็นเหตุแห่งทุกข์ เห็นทุกข์
ในชั้นนี้มรรค ๘ ได้เกิดขึ้นมานานแล้วในขณะที่เราเริ่มปฏิบัติ อธิบายคือ
ในมรรค ๘ นั้น คือ
สัมมาทิฏฐิ ความรู้อริยสัจ ๔ รู้ธรรมกุศล อกุศล เห็นไตรลักษณ์ รวมถึงปฏิจจสมุปบาท
ในขณะเจริญสติปัฏฐานนั้น จะเห็นไตรลักษณ์ ข้อนี้จัดเป็นสัมมาทิฏฐิของสติปัฏฐาน

สัมมาสังกัปปะ ความดำริเนกขัมมะ ดำริไม่พยาบาท ดำริไม่เบียดเบียน
ในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน ได้มีดำรินี้แล้วเพราะขณะที่เจริญปารถนาหลุดพ้น(เนกขัมมะ)และไม่ได้พยาบาทเบียดเบียนใคร

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ มรรค ๓ อย่างนี้จัดเป็นศีล
ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานนั้น 3 อย่างนี้บริบูรณ์ เพราะไม่ได้พูด ไม่ได้ประกอบการงานมีโทษ ไม่ได้เลี้ยงชีพมีโทษ

สัมมาวายามะ เพียรระวังไม่(อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด)ให้เกิดขึ้น
เพียรละ(อกุศลธรรม)ที่เกิดแล้ว
เพียรเจริญกุศลธรรมที่เกิดแล้ว
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้ว
ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานนั้น เพียรทั้ง ๔ นี้บริบูรณ์

สัมมาสติ ระลึกชอบ อันนี้ก็ตรงตัวของสติปัฏฐานแล้ว มีบริบูรณ์ในขณะปฏิบัติสติปัฏฐาน

สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ ตามสูตรต่างๆหมายถึงฌาน
ในการเจริญสติปัฏฐานนั้นสมาธิที่จะเป็นปัจจุบันมุ่งที่ระหว่าขณิกสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ จึงไม่ไช่ฌาน เพราะที่เรียกว่าฌาน
ได้นั้น ต้องอัปปันนาสมาธิ แต่กระนั้นการเจริญสติปัฏฐานนั้นจะมีสมาธิระดับของอัปปันนาเกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากเป็นสภาวะ
ธรรม และเหตุผลของการเกิดสภาวะธรรม เช่น ปัญญาจะให้รู้เห็นความสกปรกของสังขาร บางครั้งเห็นเป็นนิมิตรูปศพ
ศพเน่า การที่นิมิตเกิดได้นั้นต้องเป็นฌานแล้ว เพราะนิมิตเป็นองค์ประกอบของฌานบางชั้น เช่น ปฐมฌาน(นิมิตอาศัยสมาธิ
ชั้นเดียวกับปีติ ปีติเป็นองค์ฌาน) ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานนั้น จึงเป็นสัมมาสมาธิ

ทั้งสติปัฏฐาน ๔ และมรรค ๘ ต่างก็จัดเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้หรือบรรลุธรรม มีความเกี่ยวเนื่องกัน หากขาดอัน
ใดอันหนึ่งไปก็ไม่สามารถบรรลุได้ ตรัสรู้ได้
ถ้าจะบอกว่าต่างกัน ก็ต่างกันยาก เพราะไปพร้อมกันเหมือนกัน ถ้าจะว่าเหมือนกันก็ไม่เหมือนกันเพราะมีหน้าที่ของแต่ละ
สภาวะธรรมที่ต่างกัน แต่ต้องทำงานพร้อมกันและด้วยกัน ต่างกันที่พยัญชนะเหมือนกันที่การอธิบาย
จึงสรุปได้ว่าทั้งต่างและไม่ต่างในสภาวะ
-------------------------------------------------------------------------------
ผมหวังแค่ว่าพระธรรมคำสอนจะถูกต้องและยั่งยืน ไม่ได้มุ่งหวังให้ใครมาว่าผมรู้จริงหรือไม่จริง เก่งหรือไม่เก่ง
รู้น้อย รู้มาก ลำพังปฏิบัติสู้รบกับอัตตาตัวเองก็แทบตายแล้ว
หากผิดพลั้งประการใดความเสื่อมนั้นผมรับเองครับ
ด้วยจิตคารวะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


หล่อ ลูกแม่อ้วน เขียน:
อยากถามครับ....มรรคต่างจากสติปัฏฐานสี่อย่างไรครับ


ภิกษุ ท.! ค ว า ม ร ะ ลึก ช อ บ เป็น อ ย่างไร ? ภิก ษุ ท.! ภิก ษุในกรณีนี้
เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป
มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผา
บาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.
ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
-----------------
ในมรรคมีองค์ ๘ สัมมาสติ ก็คือ สติปัฏฐานสี่ นั่นเองครับ

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านผู้ตั้งกระทู้ขอรับ ถ้าท่านอ่านบทความของข้าพเจ้าให้ดี คิดพิจารณาให้ละเอียด ท่านคงไม่มีข้อคัดค้านหรือสงสัย
ข้าพเจ้าสอนแล้วว่า ในพระไตรปิฎก เป็นรายละเอียด
สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนไป เป็นความจริง เป็นหลักเป็นแก่นแท้
ถ้าคุณยังสงสัย ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์อย่างคุณว่า
คุณลองอ่าน และพิจารณา ซิว่า ในพระไตรปิฎก ให้ความหมายของคำว่าทุกข์ไว้ว่าอย่างไร
เมื่อคุณรู้แล้วว่า คำว่า ทุกข์ ในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่าอย่างไร
ก็ให้คุณผู้ใช้ชื่อว่า "กามโภคี " และท่านท้้งหลาย ได้คิดพิจารณาความหมายตามพระไตรปิฎก ประกอบกับคำสอนของข้าพเจ้า แล้วท่านท้้งหลายจะเกิดความเข้าใจ
ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึงระดับสมองสติปัญญาของพวกท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะถือว่า ท่านทั้งหลาย ก็มีสมองสติปัญญาดี สามารถคิดพิจารณาตามหลักความเป็นจริงได้
คำว่า "ทุกข์ สมุท้ย นิโรธ มรรค" ในพระไตรปิฎก เป็นการแยกแยะรายละเอียด เพียงท่านทั้งหลาย ใช้ " หลักวิชชา เพื่อบรรลุธรรม ทางพุทธศาสนา" ที่ข้าพเจ้าสอนไว้ ประการพิจารณา ก็จะเกิดความเข้าใจ

และขอเตือนผู้ที่ใช้ชื่อว่า "กามโภคี" ให้คิดพิจารณาให้ดี ก่อนที่จะนำมาโพส รวมทั้งทีมงานด้วย จงได้ใช้หลายความคิดพิจารณา สอนให้แล้ว แต่ยังแข็งขืน ก็ช่วยไม่ได้ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
ท่านผู้ตั้งกระทู้ขอรับ ถ้าท่านอ่านบทความของข้าพเจ้าให้ดี คิดพิจารณาให้ละเอียด ท่านคงไม่มีข้อคัดค้านหรือสงสัย
ข้าพเจ้าสอนแล้วว่า ในพระไตรปิฎก เป็นรายละเอียด
สิ่งที่ข้าพเจ้าสอนไป เป็นความจริง เป็นหลักเป็นแก่นแท้
ถ้าคุณยังสงสัย ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์อย่างคุณว่า
คุณลองอ่าน และพิจารณา ซิว่า ในพระไตรปิฎก ให้ความหมายของคำว่าทุกข์ไว้ว่าอย่างไร
เมื่อคุณรู้แล้วว่า คำว่า ทุกข์ ในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่าอย่างไร
ก็ให้คุณผู้ใช้ชื่อว่า "กามโภคี " และท่านท้้งหลาย ได้คิดพิจารณาความหมายตามพระไตรปิฎก ประกอบกับคำสอนของข้าพเจ้า แล้วท่านท้้งหลายจะเกิดความเข้าใจ
ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึงระดับสมองสติปัญญาของพวกท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะถือว่า ท่านทั้งหลาย ก็มีสมองสติปัญญาดี สามารถคิดพิจารณาตามหลักความเป็นจริงได้
คำว่า "ทุกข์ สมุท้ย นิโรธ มรรค" ในพระไตรปิฎก เป็นการแยกแยะรายละเอียด เพียงท่านทั้งหลาย ใช้ " หลักวิชชา เพื่อบรรลุธรรม ทางพุทธศาสนา" ที่ข้าพเจ้าสอนไว้ ประการพิจารณา ก็จะเกิดความเข้าใจ

และขอเตือนผู้ที่ใช้ชื่อว่า "กามโภคี" ให้คิดพิจารณาให้ดี ก่อนที่จะนำมาโพส รวมทั้งทีมงานด้วย จงได้ใช้หลายความคิดพิจารณา สอนให้แล้ว แต่ยังแข็งขืน ก็ช่วยไม่ได้ขอรับ


การที่ผมจะพูด จะกล่าว จะได้บอกแจ้งเรื่องอะไรในศาสนาก็ตาม ก็ต้องคิด ต้องพิจารณาแล้ว
ผมบอกได้ว่า สิ่งที่พูด ที่กล่าว ที่ได้บอกแจ้งเรื่องต่างๆในศาสนาได้ว่ามีที่มาอย่างไร นำจากที่ใด
มาอ้างอิง ไม่ได้มีมาแค่โวหารสำนวนให้ดูว่าสูงด้วยปัญญามากกว่าคนอื่น หรือเพียงแค่บอกว่า นี้ไช่
นี้ไม่ไช่ นี้ถูก นี้ไม่ถูก โดยไม่มีที่มาที่ไป โดยปราศจากเหตุผลทั้งทางคัมภีร์และทางภาษา
การที่คุณเองจะมากล่าวว่าสิ่งที่คุณกล่าวเป็นของแท้ มันก็เป็นเรื่องที่คุณกล่าวจริง แต่ไม่ไช่
ว่าจะจริงตามหลักฐานทางศาสนา มันคนละเรื่องกัน
การที่จะรู้ว่าสิ่งที่เรารู้เราเข้าใจนั้น ถูกต้องดีงามหรือไม่นั้น ก็ดูจากการปฏิบัติตัว ถ้าจะดูให้ง่าย ก็ดูว่า
ใจตัวเองเป็นเช่นไร สภาวะทางใจของตัวเองยังกิเลสมากน้อยเพียงไร มองใจตัวเองหรือยัง
การที่ผู้ปฏิบัติ รวมทั้งสาวกในอดีตทั้งหลาย ทั้งสาวกปัจจุบัน ได้รับการฟังธรรมจำแนกจากพระพุทธเจ้าเอง
หรือศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยละเอียดปานนั้น โดยย่อและพิศดาร ยังไม่ค่อยจะบรรลุธรรมเลย
ควรหรือที่คุณจะมากล่าวว่า หลักวิชาบรรลุธรรมของคุณจะทำให้ง่ายหรือจะเกิดความเข้าใจได้ ลองพิจารณาครับ
ว่าตัวเองอยู่จบพรหมจรรย์หรือยัง ถ้ายังก็ไม่ควรกล่าวว่าของเราถูกกที่สุด
ผมได้รับการศึกษาทั้งทางปริยัติและทางปฏิบัติมาพอสมควร คงไม่ต้องให้คุณมาโปรดสัตว์ผมหรอก
ผมกล่าวคำถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตั้งแต่อายุไม่ถึง 6 ขวบดี ผมก็มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ถ้าจะมีมาโปรด
สัตว์ผม ก็ควรเป็นพระรัตนตรัยเท่านั้น เพราะพระรัตนตรัยเท่านั้นเป็นสรณะผม สรณะอื่นไม่มี
---------------------------------
ด้วยจิตคารวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การ
แล้วคุณผู้ใช้ชื่อว่า กามโภคี คุณ "จะพิสูจน์ไหมละว่า หลักธรรม หลักการพิจารณา ตามหลักความเป็นจริงที่ข้าพเจัาได้สอนไป สามารถยังบุคคลให้บรรลุชั้นอริยะบุคคลได้
คุณมีสมอง แต่หาได้มีความคิด คุณยังเถียงแบบ กลัวพุทธศาสนา จะเจริญก้าวหน้ากว่าศาสนาอื่น คุณเข้าใจผิดแล้ว ศาสนาทุกศาสนา จะเจริญเท่าเทียมกัน เพราะข้าพเจ้านี้แหละ
ถ้าคุณอ่านภาษาไทยที่ข้าพเจ้าเขียนสอน ไม่รู้เรื่อง ข้าพเจ้าก็ไม่ควรที่จะมาเสวนากับคุณอีก
เพราะข้าพเจ้าอธิบายให้อย่างละเอียด เพียงพอต่อการทำความเข้าใจแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2009, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
การ
แล้วคุณผู้ใช้ชื่อว่า กามโภคี คุณ "จะพิสูจน์ไหมละว่า หลักธรรม หลักการพิจารณา ตามหลักความเป็นจริงที่ข้าพเจัาได้สอนไป สามารถยังบุคคลให้บรรลุชั้นอริยะบุคคลได้
คุณมีสมอง แต่หาได้มีความคิด คุณยังเถียงแบบ กลัวพุทธศาสนา จะเจริญก้าวหน้ากว่าศาสนาอื่น คุณเข้าใจผิดแล้ว ศาสนาทุกศาสนา จะเจริญเท่าเทียมกัน เพราะข้าพเจ้านี้แหละ
ถ้าคุณอ่านภาษาไทยที่ข้าพเจ้าเขียนสอน ไม่รู้เรื่อง ข้าพเจ้าก็ไม่ควรที่จะมาเสวนากับคุณอีก
เพราะข้าพเจ้าอธิบายให้อย่างละเอียด เพียงพอต่อการทำความเข้าใจแล้ว

-------------------------------------------------------------------------
ในเมื่อไม่ควรมาเสวนาอีก ก็ถือโอกาสนี้ปิดกระทู้ได้ เพราะ
1.ผู้ตอบแสดงเจตนาไม่มาเสวนาแล้ว
2.พิสูจน์ได้แล้วว่าทางเช่นไรถูกหรือไม่ถูก(คำว่า คุณมีสมอง แต่หาได้มีความคิด บอกภูมิธรรมและ
สภาวะธรรมของผู้เสวนาได้)
-------------------------------------
จิรํ ติฏฺฐนฺตุ สุคตสฺส สทฺธมฺมา.
ขอพระสัทธัมของพระสคตจงตั้งอยู่สิ้นกาลนาน.
----------------------------------------
ด้วยจิตคารวะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร