วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 07:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้จะลบหลู่นะ แต่แค่สงสัยน่ะว่า ญาณระดับต่างๆ รวมถึงอาการต่างๆ นั้น มีในพระไตรปิฎก หรือว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวม เพิ่มเติมในภายหลัง

และที่ว่ากันว่าญาณ 4 ไม่สามารถคิดได้ อันนั้น มันคือ ภวังค์ ไม่ใช่หรือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


[๑๓๓๗] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจากกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละ
ให้ดี.
[๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.
[๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ก็พึง
มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.


ไม่เคยนั่งสมาธิได้ซักฌาน(สมาธิสั้น)
แต่อยู่มาวันนึง ขณะนั่งสมาธิ จิตเกิดความรู้ขึ้นมาเองว่า ฌาณ๑(ปฐมฌาน) เป็นอย่างนี้
และจะกระโดดสู่ฌาน๒ อย่างนี้
ว่าแล้วจิต(ที่รู้มากไปหน่อย)ก็วิ่งไปคว้าปิติอ่อนๆมาโหนเพื่อก้าวขึ้นสู่ฌาน๒(ทุติยฌาน)
แต่ความที่เชือกเส้นเล็กไปหน่อยเลยขาดก่อนที่จะโหนไปได้ :b12:
ก็ได้แต่ขำกลิ้งกะความฉลาดแบบโง่ๆของจิต
(ประมาณขี้เกียจมาก จะหาทางลัดเรื่อย)

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 03:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาคุณโปเต้นะครับ

ปฐม- แปลว่า 1
ทุติ- แปลว่า 2
ตติ- แปลว่า 3
จตุ- แปลว่า 4


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ญาณ 1-4 มีในพระไตรปิฎกไหม


เข้าใจว่าน่าจะหมายถึงฌาน1-4 น่ะครับ

คำว่า ฌาน เป็นคำที่ใช้แสดงสมาธิขั้นแน่วแน่ในสมัยพุทธกาล เรียกอีกอย่างว่า เอกัคคตาจิต

ฌาน เป็นภาษาดั้งเดิมในพระสูตรครับ

ลอง ค้นจากพระไตรปิฎกดูเอาเองด้วยน่ะครับ มี ปรากฏเยอะมาก

คำว่า อัปปานาสมาธิ ต่างหากที่เป็นคำที่มาบัญญัติใช้กันในภายหลังพุทธกาล(รวมทั้งขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ )




อ้างคำพูด:
ไม่ได้จะลบหลู่นะ แต่แค่สงสัยน่ะว่า ญาณระดับต่างๆ รวมถึงอาการต่างๆ นั้น มีในพระไตรปิฎก หรือว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวม เพิ่มเติมในภายหลัง


ฌาน ที่ปรากฏในพระสูตร มีตัวชี้วัดที่องค์ประกอบของฌานครับ

ถ้ามีองค์ประกอบแห่งฌานครบ ก็เรียกว่าเป็น ฌาน
ส่วนจะเป็นไปในทางโลกียะ หรือ ทางโลกุตระ(สัมมาสมาธิ) ก็แล้วแต่ เหตุที่นำมาสู่ฌาน และ ผลอันบังเกิดจากฌานนั้นๆ

ส่วนอาการต่างๆนั้น
บางครั้ง ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลบางเล่ม บรรยายอาการ ปิติ ในฌานเสียจนเกินเหตุ

และ บางอาจารย์ในยุคปัจจุบันก็บรรยายอาการปิติไปในแบบลืมกายลืมใจ จนเป็นเหตุให้คนรุ่นปัจจุบันเข้าใจอาการปิติเป็นแบบเดียวกับการขาดสติ

(เดี๋ยวผมจะไปนำคำบรรยาย ปิติ ในองค์ฌาน ของท่านพุทธทาสมาลง ถ้าว่างๆ)



อ้างคำพูด:
และที่ว่ากันว่าญาณ 4 ไม่สามารถคิดได้ อันนั้น มันคือ ภวังค์ ไม่ใช่หรือ


“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


แสดงถึงความสัมพันธ์ ของฌาน และ ปัญญา เป็นเครื่องส่งเสิมให้ใกล้พระนิพพาน

ฌาน ในอรรถนี้ ย่อมหมายเอา "สัมมาสมาธิ" แน่นอนน่ะครับ
สัมมาสมาธิ คือ สมาธิจิตขั้นแน่วแน่(เอกัคคตาจิต)ที่มีสัมมาสติเป็นเหตุใกล้
ดังนั้น ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิจึงสามารถพิจารณาอรรถธรรมได้แน่นอนครับ และ ดีกว่าสภาวะจิตธรรมดาเสียด้วย

(ฌานประเภทที่ไม่สามารถนำมาพิจารณาสภาวธรรมได้ จัดเป็น มิจฉาสมาธิ ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสอน ฌานแบบนี้ไว้ให้สาวกปฏิบัติกันแน่นอนครับ อย่าสับสน)



อนึ่ง
ถ้า ฌาน4 ไม่สามารถพิจารณาอรรถธรรมได้แล้ว
ก็น่าจะมีพระพุทธพจน์ในระดับพระสูตร ที่ตรัสว่า "ต้องละฌาน มาเจริญปัญญาล้วนๆ จึงจะใกล้พระนิพพาน" บ้าง

ความเชื่อที่ว่า ในฌานจิต จะคิดอะไรไม่ได้เลยนั้น คือ หลักแห่งแนวคิดสุทธวิปัสสนายานิก ที่อิงกับคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลครับ.เพราะ เชื่อว่า ฌาน มีความหมายในแง่มุมของมิจฉาสมาธิอย่างเดียว(มักยกกรณีของดาบสอดีตอาจารย์พระพุทธเจ้าเป็นหลัก โดยลืมนึกไปว่า ในขณะนั้น ที่ท่านดาบสทั้งสอง
ไม่สามารถตรัสรู้ได้ เป็นเพราะท่านไม่รู้จักอนาสวะสัมมาทิฏฐิ หรือ ไม่มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ....หาใช่ เป็นเพราะ สมาธิปิดกั้นปัญญา อย่างที่เขาเชื่อกัน)



ในระดับพระสูตรดั้งเดิม ฌาน4สามารถพิจารณาอรรถธรรมได้
ดังเช่น ที่พระพุทธองค์ทรงใช้ รูปฌาน4เป็นบาทแห่งอาสวักขยญาณในคืนตรัสรู้
ก็ไม่ปรากฏในพระสูตรว่า พระองค์ต้องออกจากฌาน4ก่อนจึงจะมาสามารถเจริญอาสวักขยญาณ แต่ประการใด
(ต่างกับตอนพุทธปรินิพพาน ที่ระบุชัดเจนว่าออกจากฌานแล้วปรินิพพาน ไม่ได้ปรินิพพานในฌานใดๆ)

หรือ มีพระสูตรที่กล่าวชัดเจนว่า พระสารีบุตรสามารถพิจารณาธรรมในขณะเข้าฌานได้ด้วย โดยในพระสูตรก็ไม่ได้ระบุว่า ต้องออกจากฌานมาก่อนแต่อย่างใดเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีพระสูตรที่ตรัสถึง การที่มีเอกัคคตาจิต(ฌาน)ฟังธรรม เป็นเหตุให้ฟังธรรมเข้าใจ อีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในฌานจิต สามารถพิจารณาธรรมได้ไหม?


.................................



ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ :b8:

ท่านกล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากสมาธิภาวนาที่เป็นฌานมาช่วยสนับสนุนการเจริญปัญญา ไว้ดังนี้

”....ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)….”




ซึ่ง ฌานที่มีสติบริสุทธิ์นี้ ย่อมหมายถึง ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ.
ใน ฌานที่เป็นสัมมาสมาธินี้ สามารถใช้พิจารณาธรรมได้.



ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ ในจุดอื่นอีก ดังนี้

“..ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?
ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น
ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ

โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว) มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ. 34/196/83)”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


พวกนายแน่มากเลย :b4: แสดงว่า ในรุ่นหลังๆ นั้น คนที่เขียนตำราเผยแพร่ เขียนจากการบอกเล่ากันมา ไม่ได้ปฏิบัติจนรู้เอง หรือปฏิบัติแบบผิดๆ

คือเราไม่ได้มีครูอะนะ (สมัยนี้ก็ดูกันยากด้วย) บางทีก็เลยอยากถามเพื่อเป็นความเห็นที่สอง อย่างฌาณ 4 ที่บางที่ว่าไว้ว่า จิตจะไม่รับรู้อะไร คิดไม่ได้ เราก็เลยสงสัยว่า ถ้าจิตไม่รับรู้อะไร แล้วจะก้าวหน้าต่อไปได้ยังไง มันก็น่าจะเป็นทางตันที่เรียกว่า ภวังค์
หรืออาการปีติทั้งหลาย ก็บรรยายเสียจน... ไม่รู้จะว่ายังไง คือ ตั้งแต่ลองทำสมาธิมา ไม่เคยเจออาการอะไรเวอร์ๆ แบบนั้นเลย

วันหน้า จะหาอะไรมาถามอีก :b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฌาน ที่ปรากฏในพระสูตร มีตัวชี้วัดที่องค์ประกอบของฌานครับ

ถ้ามีองค์ประกอบแห่งฌานครบ ก็เรียกว่าเป็น ฌาน
ส่วนจะเป็นไปในทางโลกียะ หรือ ทางโลกุตระ(สัมมาสมาธิ) ก็แล้วแต่ เหตุที่นำมาสู่ฌาน และ ผลอันบังเกิดจากฌานนั้นๆ

ส่วนอาการต่างๆนั้น
บางครั้ง ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลบางเล่ม บรรยายอาการ ปิติ ในฌานเสียจนเกินเหตุ

และ บางอาจารย์ในยุคปัจจุบันก็บรรยายอาการปิติไปในแบบลืมกายลืมใจ จนเป็นเหตุให้คนรุ่นปัจจุบันเข้าใจอาการปิติเป็นแบบเดียวกับการขาดสติ

(เดี๋ยวผมจะไปนำคำบรรยาย ปิติ ในองค์ฌาน ของท่านพุทธทาสมาลง ถ้าว่างๆ)




ได้กลับไปค้นมาแล้ว ถึง คำว่า ปิติ ในฌาน


..............................................

องค์แห่งฌาน ใน อานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


สำหรับการฝึกที่ใช้ลมหายใจเป็นหลัก หรือ อารมณ์ ในที่นี้มีแนวย่อๆ คือ

ขั้นแรกที่สุด การที่สติกำหนดลงตรงลมหายใจ ดุจว่าบุคคลจดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าที่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง เราเรียกว่า”วิตก” ภาวะที่เรียกว่า วิตก ในที่นี้ มิได้หมายถึงความตริตรึก หรือ คิดแส่อย่างหนึ่งอย่างใด แต่ หมายถึง อาการที่สติกำหนดแน่วแน่เฉยๆ อยู่ในอารมณ์ที่ไม่มีความหมาย (หรือ ไม่ทำความหมายในการพิจารณาหาเหตุผล) อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น

ส่วน การที่ จิตต้องเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์กล่าวคือ ลมหายใจ ด้วยอำนาจสัมปชัญญะอยู่ไปมานั้น เรียกว่า “วิจาร” ภาวะที่เรียกว่า วิจารณ์ ในที่นี้ มิได้หมายถึงการพิจารณาหาเหตุผล หรือ หมายถึงการใช้ปัญญาพิจารณาแต่อย่างใด หมายเพียง ลักษณะที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์อย่างทั่วถึงไม่ออกห่าง . เมื่อเปรียบกับการผูกลิงแล้ว วิตกได้แก่การที่มันถูกผูกติดอยู่กับหลักโดยเฉพาะ .ส่วน วิจาร หมายถึง การที่มันเต้นอยู่รอบๆหลัก จะ ไปๆ มาๆ ขึ้นๆ ลงๆ อย่างไร ก็เคล้ากันอยู่กับหลักนั่นเอง. ในขณะที่ยังเป็นเพียงวิตก วิจาร ล้วนๆนี้ เราเรียกว่าขณะแห่งบริกรรม หรือ การบริกรรม. .

เมื่อการบริกรรมเป็นไปด้วยดี และ ถ้ากฎธรรมชาติแห่งจิตได้ทำให้เกิดผลตามที่ควรอย่างไรสืบไปแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกว่าจิตยอมอยู่ในอำนาจ และ เกิด ความซาบซ่านหรืออิ่มใจชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ปิติ” เป็นความอิ่มใจที่เกิดซาบซ่าน .ในขณะที่เริ่มรู้สึกว่า ร่างกายได้เบาสบายไปทั่วตัว ไม่รู้สึกติดขัด หรือ อึดอัด ความร้อนในร่างกายได้สงบลง จนรู้สึกราวกับว่า มันไม่มีอยู่เลย ลมหายใจค่อยๆละเอียดยิ่งขึ้น จนคล้ายกับไม่มีการหายใจ ความตื่นเต้นของประสาทไม่มีแม้แต่น้อย คงอยู่แต่ความเบาสบาย อันเรียกว่า ปิติ ซึ่งในภาษาแห่งธรรมย่อมหมายถึง ความเย็นใจ อันซาบซ่านอยู่ภายในเท่านั้น ไม่หมายถึงความฟุ้งซ่าน หรือเต้นแร้งเต้นกา.

และ พร้อมๆกันกับปิตินี้ ก็มีความรู้สึกที่เป็นสุข หรือ ความปลอดโปร่งใจ รวมอยู่อย่างแนบแน่นด้วย โดยไม่ต้องมีเจตนา และ เรียกความรู้สึกอันนี้ว่า “สุข”.

ต่อจากนี้ ก็มีหน้าที่ ที่จะควบคุมความรู้สึกอันนี้ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอด้วยดี เพราะเหตุว่า ลิงได้หยุดเต้นแล้ว เชือกหรือสติไม่ถูกกระชากอีกต่อไปแล้ว.เพียงแต่รักษาภาวะอันนี้ให้คงที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ซึ่งแท้ที่จริงก็ได้เริ่มมีความกลมเกลียวกันมาตั้งแต่แรกแล้ว ให้เป็นลักษณะที่เด่นชัดยิ่งขึ้น จนปรากฏว่าจิตได้อยู่ในอารมณ์เดียว เสมอต้นเสมอปลายแล้วจริงๆ ยิ่งขึ้นกว่าตอนต้นๆ .ก็เป็นอันว่า สมาธินั้นได้ลุถึงผลสำเร็จของมันแล้วอย่างเต็มเปี่ยมชั้นหนึ่ง และ เรียกความมั่นคงเป็นอันเดียวนี้ว่า “เอกัคคตา” และ พึงทราบว่า ในขณะนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข และ เอกัคคตา ได้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน พร้อมกันอยู่ตลอดเวลาที่มั่นในสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นแทรกแซง จนกระทั่งถึงเวลาที่ผู้นั้นออกจากสมาธิ .

การฝึกขั้นต่อไป ก็มีการฝึกให้เข้าสมาธิได้เร็ว อยู่ได้นานตลอดเวลาที่ต้องการ ตื่นหรืออกจากสมาธิได้ตรงตามเวลาที่ต้องการ คือ มีความชำนาญคล่องแคล่ว จนกลายเป็นของชินหรือเคยตัว จนกระทั่งเวลาธรรมดาทั่วไป ก็รู้สึกว่าจิตยังได้อาบรดอยู่ ด้วยปิติและสุขในภายในอยู่เสมอ ทุกๆอิริยาบถ ไม่ว่าจะไป หรือ อยู่ในสถานที่ไหน เหมือนกับคนที่มีลาภใหญ่หลวง มีความดีอกดีใจซาบซ่านอยู่ในที่ทุกแห่ง ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ฉันใดก็ฉันนั้น. เมื่อลุถึงขั้นนี้ สิ่งที่เรียกว่า การฝึกจิต ก็กล่าวได้ว่า ลุถึงผลอันสมบูรณ์ขั้นหนึ่งแล้ว และเรียกว่า ขั้นปฐมฌาน ความเพ่งจิตอันเป็นบทเรียนขั้นต้นได้ลุถึงแล้ว .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลของการเจริญอานาปานสติ

โอวาท ท่านพุทธทาสภิกขุ


นี่เป็นผลอย่างแรกของสมาธิ ซึ่ง เรียกตามโวหารศาสนาว่า “การเสวยสุขในทิฏฐธรรม”ชนิดหนึ่ง. ซึ่งแม้ว่าความพากเพียรของตน จะมาหมดกำลังสิ้นสุดลงเสียเพียงขั้นนี้ ก็ยังนับได้ว่า การกระทำของตนไม่เสียหลายอยู่มากแล้ว

ผลประการที่สองก็คือว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิด้วยดีแล้ว วิปัสสนาญาณจักเป็นไปด้วยดี และ มองเห็นความจริงในสรรพสังขารได้แจ่มแจ้ง เพราะว่า สมาธินั้นเป็นเหมือนการลับมีดให้คม หรือ การเช็ดแว่นกระจกให้ใส. มีดที่คมแล้วใช้ตัดฟันได้ แว่นที่ในแล้วใช้ส่องดูได้ และ ได้ผลตามที่ต้องการ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ฮ่า... ไปอ่านที่นี่มา http://www.nkgen.com/727.htm เรื่องนิมิตและภวังค์
เราเคยเข้า ภวังคุปัจเฉท เป็นบางครั้ง ถ้าไม่พยายามตั้งสติ ก็จะเข้าบ่อยเลย
ภวังคุปัจเฉท เป็นภวังค์ที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ :b9: สามารถสร้างกำลังจิตอันดียิ่ง เพราะงั้น ถ้าเราเข้าบ่อยๆ เราต้องทำลายล้างโลกได้ เป็นแน่แท้ :b4: :b4: :b4:

พุทธศาสนามีหลายสายเน๊อะ อันนี้เป็น ปฏิจจสมุปบาท แปลว่าอะไรก็ไม่รู้ เนื้อหา ดูมีเหตุมีผล เป็นวิชาการไม่ใช่น้อย :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พุทธศาสนามีหลายสายเน๊อะ



สายของพระพุทธศาสนามีสายเดียว คือ อริยมรรคที่มีองค์ประกอบแปด

ไม่ว่าท่านผู้ใด ถ้าจะพ้นทุกข์ต้องเดินอยู่ในทางนี้

แต่ เหตุที่แต่ละท่านอาจมีรายละเอียดไม่ตรงกันเป็นเพราะมีจริตนิสัยที่แตกต่างกัน

จริตนิสัยของบุคคลมีแตกต่างกันเป็นหกจริตนิสัย มีพระสูตรหนึ่งที่พระพุทธเจ้าแนะกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตนิสัยต่างๆไว้ถึงหกแนว

อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส


พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.



ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าท่านจะแสดงธรรมที่หลากหลายกับแต่ละจริตนิสัย และ ท่านมีพระญาณที่จะทราบว่าบุคคลใดมีจริตนิสัยแบบใด เหมาะสมกับกรรมฐานแบบใด

ต่างจากอาจารย์ปัจจุบัน ที่มักจะเอาแนวทางของตนเป็นหลัก แล้วตัดสินผู้อื่นที่ไม่ปฏิบัติเหมือนตนว่า ผิด

ดังนั้น ชาวพุทธในปัจจุบัน จึงควรย้อนไปเทียบเคียง คำสอนของแต่ละอาจารย์ กับพระสูตร(ซึ่งคือ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมสุด) อยู่เสมอๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2009, 22:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 13:47
โพสต์: 288


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมชอบอ่าน คุณตรงประเด็น ตอบคำถามนะ
ไม่มีตีบมีตัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณguest


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 16:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ค. 2008, 13:47
โพสต์: 288


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
สวัสดีครับคุณguest

สวัสดีครับ คุณ mes
หมู่นี้ไม่ค่อยมีเวลาครับ
ถึงไม่ได้เข้ามา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


guest เขียน:
mes เขียน:
สวัสดีครับคุณguest

สวัสดีครับ คุณ mes
หมู่นี้ไม่ค่อยมีเวลาครับ
ถึงไม่ได้เข้ามา


ผมก็เช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2009, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


หวัดดีฮับ... อยากขอความเห็นว่า การถอดจิตนั้น ทำได้จริงหรือไม่ แบบถอดจิตจริงๆ ไม่ใช่ถอดจิตในภวังค์นะ :b6: :b6: :b6:

เพิ่มเติม... ความบังเอิญ ไม่มีจริง อันนี้พระพุทธเจ้าเอ่ยไว้ ใช่ป่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร