วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตหยั่งลงสู่อมตะเมื่อประกอบด้วยสัญญาอันเหมาะสม

ภิกษุ ท. ! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำ ให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.
เจ็ดประการ อย่างไรเล่า ? คือ อสุภสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตสัญญา.

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อสุภสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก จิต
ย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นเข้าไปในการดื่มด่ำ อยู่ในเมถุนธรรม
แต่ความวางเฉยหรือว่าความรู้สึกว่าปฏิกูล ดำรงอยู่ในจิต; เปรียบเหมือนชนไก่
หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหด ย่อมงอ ไม่เหยียดออก ฉันใดก็ฉันนั้น.
ภิกษุ ท.! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่จิตยังไหล
เข้าไปในความดื่มด่ำอยู่ในเมถุนธรรม หรือความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลยังดำรงอยู่ในจิต
แล้วไซร้; ภิกษุนั้นพึ่งทราบเถิดว่า "อสุภสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว
คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา" ดังนี้.
เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. ....ภิกษุ ท.! เรามีเหตุผลในข้อนี้
อยู่ดังนี้ จึงกล่าว่า "อสุภสัญญาอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล
ใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน" ดังนี้.

[ในกรณีแห่ง มรณสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความยินดีในชีวิต
(ชีวิตนิกนฺติ) ก็ดี ;
ในกรณีแห่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากตัณหาในรส
(รสตณฺหา) ก็ดี ;
ในกรณีแห่ง สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความเป็นจิต
ติดอยู่ในโลก (โลกจิตฺต) ก็ดี ;
ในกรณีแห่ง อนิจจสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากลาภสักการะและเสียง
สรรเสริญ (สาภสกฺการสิโลก) ก็ดี ;
ทั้งสี่สัญญานี้ ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ อสุภสัญญา ซึ่งผู้ศึกษา
สามารถทำการเปรียบเทียบดูเองได้ ต่อไปนี้ได้ตรัสถึง อนิจเจทุกขสัญญา อันมีระเบียบแห่งถ้อย
คำแปลกออกไปดังต่อไปนี้ :-]

ภิกษุท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อนิจเจทุกขสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก
สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้า (ติพฺพาภยสญฺญา) ย่อมปรากฏขึ้นในความไม่
ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่
ประกอบความเพียร และในความสะเพร่า อย่างน่ากลัวเปรียบเสมือนมีเพชฌฆาต
เงื้อดาบอยู่ตรงหน้า
ฉะนั้น. ภิกษุ ท.! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอนิจเจทุกข-
สัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่สัญญาว่าความน่ากลัวอันแรงกล้า ในความไม่ขยัน
ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่ประกอบ
ความเพียร และในความสะเพร่า ก็ไม่ปรากฏขึ้นอย่างน่ากลัวเสมือนหนึ่งมีเพชฌ-
ฆาตเงื้อดาบอยู่ตรงหน้า แล้วไซร้ ; ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า "อนิจเจทุกขสัญญา
เป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้
บรรลุผลแห่งภาวนา" ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญ ญ ะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. ....
ภิกษุ ท.! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า "อนิจเจทุกขสัญญา อัน
บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ
มีอมตนะเป็นปริโยสาน" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย ทุกเขอนัตตสัญญา อยู่เป็นอย่าง
มาก ใจย่อมปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา (อหงฺการมมงฺการมาน) ทั้งในกาย
อันประกอบด้วยวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหลายในภายนอกด้วย เป็นใจที่ก้าวล่วง
เสียได้ซึ่งวิธา (มานะ ๓ ชั้น) เป็นใจสงบระงับ พ้นพิเศษแล้วด้วยดี. ภิกษุ ท.!
ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่ใจยังไม่ปราศจาก
มานะว่าเราว่าของเรา ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหลาย
ในภายนอก ไม่เป็นใจก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิธา ไม่สงบระงับพ้นพิเศษแล้วด้วยดี
แล้วไซร้ ; ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า "ทุกเขอนัตตสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรม
เสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา"
ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. ....ภิกษุ ท.! เรามีเหตุ
ผลในข้อนี้ออยู่ดังนี้ จึงกล่าว่า "ทุเขอนัตตสัญญาอันบุคคลเจริญ กระทำ ให้
มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน"ดังนี้.

ภิกษุ ท.! สัญ ญ าเจ็ดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำ ให้มากแล้ว
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน,แล.
- สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๘/๔๖.
----------------------------------

ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สัญ ญ า เหล่านี้ แม้จะนำ ไปสู่อมตะด้วยกันทั้งนั้น
แต่ก็มีลักษณะต่าง ๆ กัน พึงเลือกเฟ้นเจริญให้ถูกต้องเหมาะสมแก่กรณีของตน ๆ เถิด
ขอบพระคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่พูดเรื่องของสัญญาเจ็ดที่เอามาพิจารณากันนี้ ความจริงสัญญาเจ็ดประการนั้นไม่ต้องไปเจริญทั้งเจ็ดก็ได้ เพราะว่านั่นมันเพียงแต่เป็นหลักสำหรับให้รู้เท่านั้นเอง ความจริงถ้าเจริญเฉพาะสัญญาเดียวก็พอ แล้วก็แตกฉานไปได้ทั้งเจ็ดสัญญา เช่นอสุภสัญญาเป็นต้น พิจารณาให้เห็นความเป็น อสุภะ ของกายทั้งหมดว่า ไม่มีอะไรที่จะเป็นของงดงามถาวร ก็เห็นโดยความเป็น ปฏิกูล เมื่อเห็น อสุภะ แล้วมันก็ต้องเห็นโดย ความเป็นธาตุ เมื่อเห็นโดย ความเป็นธาตุ แล้วก็ต้องรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ตัวตน พอถึงความไม่มีตัวตนก็เป็น อนัตตสัญญา ได้เลย รวบยอดหมดในเรื่อง อนัตตสัญญา


ทีนี้การพิจารณาในอสุภสัญญา เป็นการรู้ชั่วคราว ก็จะต้องมีการเจริญสัญญาเช่น อาทีนวสัญญา ให้เห็นโทษในความเป็นทุกข์ของร่างกายทั้งหมดที่มีโรคภัยเบียดเบียน หรือทางกาย ทางใจก็ตาม ให้เปลี่ยนมาพิจารณา อาทีนวสัญญา ให้เห็นความเป็นโทษทั้งหมดในอาทีนวสัญญา นี้ ถ้าพิจารณาให้เห็นโทษของร่างกายในรูปธรรมหมดแล้ว ก็เห็นโทษในนามธรรมด้วย โทษในฝ่ายนามธรรมก็เป็นทุกข์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์นั่นเอง ถ้าเห็นแล้วก็รวมอยู่ใน อนิจจสัญญา ได้ ซึ่งก็อยู่ในแนวเดียวกันทั้งหมดรวมเป็น อนัตตสัญญา ได้เลยทีเดียว


อนัตตสัญญา นั้นเป็น สัญญาขั้นสูง แล้วก็สัญญาเหล่านี้เช่น ปหานสัญญา ที่จะต้องมีการพากเพียรเผากิเลส อย่างนี้มันก็ต้องรู้แล้วว่า กิเลสนี่มันมีทุกข์โทษเท่าไร มันเกิดขึ้นมาแล้วทำให้จิตใจนี้เศร้าหมองเร่าร้อนเท่าไร เมื่อประหารมันลงไปได้ ดับมันลงไปได้ ก็พิจารณาให้เห็นความเป็นของไม่เที่ยง ของสัญญาทั้งเจ็ดประการ ซึ่งรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด นอกจากว่ามันจะเห็นอะไรชัดมากกว่ากันเท่านั้น เช่นการเห็นอสุภสัญญาชัดบ้างไม่ชัดบ้าง แล้วก็ไปเห็นอาทีนวสัญญา ชัดบ้างไม่ชัดบ้างอย่างนี้ก็เป็นเหตุให้ไม่รู้แจ้งแทงตลอดไปได้ ถ้าหากเห็นสัญญาหนึ่งสัญญาใดแจ้งชัดลงไปแล้วทั้งเจ็ดสัญญาก็รวมกันได้ทั้งหมด ไปถึงจุดอนัตตสัญญาตลอดไปเลย โดยไม่ต้องจำแนกอย่างอื่นอีกก็ได้ ทีนี้ถ้าเห็นแทงตลอดไปอย่างโน้นว่า นี่เป็นความดับทุกข์ ถ้าไม่เห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว มันก็ยังปล่อยวางไม่ได้ หรือยังดับทุกข์ไม่ได้นั่นเอง

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอนุโมทนา สาธุครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร