วันเวลาปัจจุบัน 15 พ.ค. 2025, 16:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ที่มีขันธ์ หนึ่งขันธ์ มีหรือไม่???

พุทธเจ้ากล่าวไว้ดังนี้

-----------------------------
วิญญาณเมื่อทำหน้าที่เป็นพืช

ภิกษุ ท.! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า?
ห้า อย่างคือ พืชจากเหง้า (มูลพืช ), พืชจากต้น (ขนฺธพีช ), พืชจากตา (ผลุพีช),
พืชจากยอด (อคฺคพีช), และพืชจากเมล็ด (เช่นข้าวเป็นต้น) เป็นคำรบห้า (พีชพีช).

ภิกษุ ท.! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด
ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี, แต่ดิน น้ำ ไม่มี.
ภิกษุ ท.! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่าเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

"หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !"

ภิกษุ ท.! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่น่าเปื่อย
ยังไม่แห้งเพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บ ไว้ด้วย ดี, ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.
ภิก ษุ ท .! สิ่งที่ใช้เป็น พืชห้าอย่างเหล่านั้นจะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?

"อย่างนั้น พระเจ้าข้า !"

ภิกษุ ท.! วิญญาณฐิติ สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) พึงเห็นว่า
เห มือ น กับ ดิน. ภิก ษุ ท .! นัน ทิร า ค ะ พึงเห็น ว่า เห มือ น กับ น้ำ .
ภิกษุ ท.! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (คือกรรม) พึงเห็นว่าเหมือนกับพืชสด ทั้งห้านั้น.
ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;
ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา เวท น า ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;
ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญ ญ า ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้า
ไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้;
ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ ซึ่งเข้าถือเอา สังข าร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้,
เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ
ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ท.! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป
การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์
ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร"
ดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗/๑๐๖-๑๐๗.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นที่เป็นหัวกระทู้
กับพระไตรปิฏกที่ยกมามันคนละเรื่องเดียวกันเลยนะครับ

ถ้าไงลองศึกษาเรื่อง "อสัญญีสัตว์" "อสัญญีพรหม" "พรหมลูกฟัก"
แล้วไปศึกษา "พรหมชาลสูตร" จะเจอคำตอบครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ คามินธรรม ครับ

ไม่มีคำกล่าวใดๆ ของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับพรหมลูกฟัก
ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีคำกล่าวใดๆ ในพระไตรปิฎก เกี่ยวกับพรหมลูกฟัก ครับ


(ขอให้ ผู้อ่านกระทู้ทั้งหลาย ค้นหาในพระไตรปิฎก ด้วยตนเองเถิด
ลองค้นหาคำว่า "พรหมลูกฟัก" หรือ "ลูกฟัก" ใน http://www.84000.org ก็ได้ครับ)
------------------------------
ส่วนอสัญญีสัตว์ และ อสัญญีพรหม
เป็นสัตว์ที่ไม่มีสัญญาครับ (อสัญญีสัตว์)
แต่ยังมี สังขาร กับ วิญญาณ อยู่นะครับ

ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดมาจากผู้ที่ทำ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และ สัญญาเวทยิตนิโรธได้ ครับ
ที่อรูปสมาบัตินี้ จะมี สังขาร กับ วิญญาณ เกาะกันอยู่ ครับ (จะมีความรู้สึกปรุงแต่งว่าเป็นเรา)

ดังนั้น สัตว์จะมีขันธ์ อย่างน้อยที่สุด ๒ ขันธ์ ครับ
คือ สังขาร เกาะอยู่กับ วิญญาณ ครับ

ดังนั้นถ้าใครพูด หรือ สาทยายธรรม ว่า สัตว์มีขันธ์ หนึ่งขันธ์ ก็คง ไม่ถูกต้อง
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้ามีคนกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ หนึ่งขันธ์ เป็นคำของพระพุทธเจ้า แล้วไซร้
คนคนนั้น ก็เป็นผู้กล่าวตู่ พระพุทธเจ้า ด้วยความไม่จริง นั่นเอง

----------------------

คำของพระพุทธเจ้าจะไม่ขัดกัน แน่นอน ครับ

ถ้าอย่างไรก็ให้ผู้อ่านทุกท่าน พิจารณาเองเถิด
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


- ลองยกตัวอย่างสัตว์ (ชื่อสัตว์) เลยได้ไหมครับ ที่ว่า 2 ขันธ์

- ตรงไหนในพระไตรปิฏกที่ว่า สัตว์มีสองขันธ์?

- การกล่าวว่าสัตว์มีสองขันธ์ เป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าหรือไม่?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: สวัสดีครับทุกท่าน ผมฌาณครับ ขอสนทนาด้วยครับ

ผมได้ลองค้นหาคำว่าขันธ์ 1 2 3 และขันธ์ 4 แล้วไม่มีในพระไตรปิฏกครับ

มีแต่คำว่าขันธ์ 5 ครับ

ผมเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงใช้คำว่าสัตว์โลก แทนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด(ที่ยังไม่ใช่อริยบุคคล)
ที่ปรากฏอยู่ในโลกทั้ง 31 ภูมิ(ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสูรกาย เทวดา รูปพรหมและอรูปพรหม)


สัตว์โลกหรือสัตว์ที่ยังมีอวิชชา คือสัตว์ที่เห็นว่าการมีสังขาร(อุปทานขันธ์ 5)นี้จะดีมีความสุข

เมื่อกล่าวถึงสัตว์โลกแล้ว จึงต้องประกอบด้วยรูปกับนาม กายกับจิต (หรือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์)

หรือสัตว์โลกต้องมีขันธ์ 5 นั่นเอง จึงไม่กล่าวว่ามีขันธ์เพียง 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4

แต่จะทรงกล่าวเกี่ยวกับขันธ์ 5 และอุปทานในขันธ์ 5เท่านั้น

การตีความว่าสัตว์นี้มี 1 ขันธ์ เช่น พรหมรูปฟัก ยึดแต่รูปขันธ์ เพราะไม่ยินดีในนามขันธ์
ด้วยอำนาจฌาณกดข่มไว้(แต่จริงๆแล้วยังมีนามขันธ์อยู่นะ) เมื่อหมดบุญจากพรหมรูปฟักนี้แล้ว ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดกับขันธ์ 5 เช่นเดิม

หรือการตีความว่าสัตว์นี้มี 1 2 3 4 ขันธ์บ้างนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่จริง

เพราะสัตว์นั้นใช้อำนาจฌาณกดข่มขันธ์ต่างๆไว้

เมื่อตายขณะอยู่ในอารมณ์ฌาณนั้นอยู่ จึงยึดอยู่ว่าตนมีแค่ 1 2 3 หรือ 4 ขันธ์


(แต่จริงๆแล้วสัตว์นั้นยังมีครบทั้ง 5 ขันธ์)

แล้วเรามาตีความว่าสัตว์นั้นมีไม่ครบ 5 ขันธ์นั้นจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อสัตว์นั้นหมดพลังฌาณกดข่ม หลุดจากพรหมก็รู้ความจริงว่า
อ้อ เราก็มีขันธ์ 5 เช่นเดิมแหละ
ยังละอุปทานจริงๆไม่ได้จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป...................


การไม่มีขันธ์เลยคือ นิพพานเท่านั้น

"นิพพานไม่ใช่ขันธ์ นิพพานเป็นขันธวิมุตติ พ้นจากความเป็นขันธ"



ตราบใดที่ยังยึดติดในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ก็จะเกิดขึ้นในภพชาติต่อไป ซึ่งก็ต้องเป็นทุกข์ เมื่ออบรมเจริญมัคค์มีองค์ 8 ก็จะเริ่มรู้สภาพของขันธ์ 5 ตามความเป็นจริงเป็นการดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ซึ่งไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกเลย ผู้ที่บรรลุอริยสัจจธรรมขั้นสุดท้าย คือ ขั้นอรหันตบุคคล เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ขันธ์ 5 ก็ไม่เกิดอีกเลย

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌานที่รัก ลองนึกดูดีๆว่า
- อะไรคือรูปขันธ์ของเทวดา
- อะไรคือรูปขันธ์ของมนุษย์
- ถ้าเทวดามีรูปขันธ์ รูปขันธ์ของเทวดาและมนุษย์เหมือนกันหรือไม่

และคำถามเดียวกัน เปลี่ยนจากคำว่าเทวดา เป้นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก พรม อรูปพรม

มีแต่สัตว์เดรัจฉานเท่านั้นที่มีรูปขันะ์อย่างมนุษย์
ที่เหลือหารูปขันธ์ไม่ได้

ในบรรดาพวกที่มี 4 ขันธ์นั้น มีอยู่พวกหนึ่งมีขันธ์เดียว แต่ยกเอาไว้ก่อน
เอาแค่ว่า 5 กับ 4 เนียะ
มันเป้น 5 ขันธ์ล้วนๆ หรือ 4 ขันธ์ล้วนๆ
หรือมีทั้ง 5 ขันธ์ มีทั้ง 4 ขันธ์

เอาแค่ 5 กับ 4 ก่อนนะ
3 2 1 อย่าเพิ่งว่ากัน

:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเทพทั้งหลายมีชื่อว่า อสัญญีสัตว์ (สัตว์ผู้
ไม่มีสัญญา) มีอยู่.
ก็พวกเทพเหล่านั้น ย่อมเคลื่อนจากอสัญญีเทพนิกายนั้น เพราะการ
เกิดขึ้นแห่งสัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ สัตว์ตนใดตน
หนึ่ง เคลื่อนจากอสัญญีเทพนิกายนั้นแล้ว มาสู่ความเป็น(มนุษย์)อย่างนี้, ครั้นมาสู่
ความเป็นอย่างนี้แล้ว ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน ครั้นออกบวชจากเรือนแล้ว
เป็นผู้ไม่มีเรือน ครองชีวิตอยู่, ได้อาศัยความเพียรเผากิเลส... เกิดเจโตสมาธิใน
ลักษณะที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมระลึกได้ถึงการเกิดขึ้นแห่งสัญญานั้น; ที่ไกลไปกว่านั้น (เมื่อเป็นอสัญญีสัตว์) เขาระลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า "อัตตาและโลกเกิดขึ้นเองลอย ๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ในกาลก่อน ข้าพเจ้ามิได้มีอยู่เลย แต่บัดนี้ข้าพเจ้ามี เพราะข้าพเจ้าน้อมจิตไป เพื่อความไม่มีแล้วกลับมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เป็นฐานะที่ ๑ อันสมณพราหมณ์พวกหนึ่งซึ่งเป็นพวกอธิจจ-
สมุปปันนิกวาทอาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงบัญญัติซึ่งอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ.
- พรหมชาลสูตร สี.ที. ๙/๑๖/๒๖,ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่สวนอัมพลัฏฐิกา.
-----------------------------------

ตรัสถ้อยคำโดยโวหารโลก แต่มิได้ทรงยึดถือ

โปฏฐปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือการ
ได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ, การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ,
การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป.
โปฏฐาปาทะ ! การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดหยาบ เป็นอย่างไรเล่า ?
ชนิดหยาบคือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตสี่ มีกวฬีการาหารเป็นภักษา.

การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดสำเร็จด้วยใจ เป็นอย่างไรเล่า?
ชนิดสำเร็จด้วยใจคือ อัตตาที่มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ ไม่บกพร่อง.

การได้อัตตาเฉพาะอย่าง ชนิดไม่มีรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ชนิดไม่มีรูปคือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา.


(ต่อจากนี้ได้ทรงแสดงการละและอานิสงส์แห่งการละซึ่งอัตตาทั้งสามนั้น ในลักษณะ
ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง แล้วทรงผันไปตรัสกะจิตตหัตถิสารีบุตรผู้นั่งอยู่ด้วยกันกับโปฏฐปาทะ ว่า :-)

จิตตะ !…สมัยใด การได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบ สมัยนั้นไม่
ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดสำเร็จด้วยใจ และชนิดไม่มีรูป. คงได้แต่
อัตตาชนิดหยาบอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! สมัยใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่าง
ชนิดสำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดหยาบและ
ชนิดไม่มีรูป, คงได้แต่อัตตาชนิดสำเร็จด้วยใจอย่างเดียวเท่านั้น. จิตตะ ! สมัย
ใด มีการได้อัตตาเฉพาะอย่างชนิดไม่มีรูป สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งการนับว่าได้อัตตา
เฉพาะอย่างชนิดหยาบ และชนิดสำเร็จด้วยใจ, คงได้แต่อัตตาชนิดไม่มีรูปอย่าง
เดียวเท่านั้น. จิตตะ ! เปรียบเหมือน นมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด
เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนย หัวเนยใสจากเนยใส. สมัยใดเป็นนมสด
สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่านมส้ม เนยข้น เนยใส หัวเนยใส, คงนับว่าเป็นนม
สดอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นนมส้ม สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด
เนยข้น เนยใส หัวเนยใส, คงนับว่าเป็นนมส้มอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็น
เนยข้น สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยใส หัวเนยใส, คง
นับว่าเป็นเนยข้นอย่างเดียวเท่านั้น. สมัยใดเป็นเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการ
นับว่าเป็นนมสด นมส้ม เนยข้น หัวเนยใส. คงนับว่าเป็นเนยใสอย่างเดียว
เท่านั้น. สมัยใดเป็นหัวเนยใส สมัยนั้นไม่ถึงซึ่งการนับว่าเป็นนมสด นมส้ม
เนยข้น เนยใส, คงนับว่าเป็นหัวเนยใสอย่างเดียวเท่านั้น; ฉันใดก็ฉันนั้น.

จิตตะ ! อัตตา ๓ ชนิดเหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา โลกนิรุติ โลกโวหาร โลกบัญญัติ
ที่ตถาคตก็ กล่าวอยู่อย่างชาวโลก แต่มิได้ยึดถือความหมายอย่างชาวโลก, ดังนี้.
- สี. ที. ๙/๒๔๑, ๒๔๗/๓๐๒, ๓๑๒.
---------------------------------

ผู้รู้จักเลือกเอาฝ่ายดับไม่เหลือแห่งภพ

คหบดี ท. มีสมณ พราหมณ์ พวกหนึ่ง มีถ้อยคำ อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า
"ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี" ;
แต่มีสมณะพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีถ้อยคำเป็นข้าศึกอย่างตรงกันข้ามจากสมณพราหมณ์เหล่านั้นโดยกล่าวว่า
"ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงมีอยู่" ดังนี้.
คหบดี ท.!ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร : สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึก
อย่างตรงกันข้ามต่อกันและกันมิใช่หรือ ?
"อย่างนั้น พระเจ้าข้า !"
คหบดี ท.! บุรุษวิญญูชน (คนกลาง) มาใคร่ครวญอยู่ในข้อนี้ ว่า "
สมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี' ดังนี้ นี้เราก็ไม่ได้เห็น ;
แม้สมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่' ดังนี้ นี้เราก็ไม่รู้จัก.ก็เมื่อเราไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ จะกล่าวโดยโวหารข้างเดียว ว่าฝ่ายนี้เท่านั้นจริงฝ่ายอื่นเปล่า ดังนี้ : นั้นก็ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

สำหรับสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี' ดังนี้ ถ้าคำของเขาเป็นความจริง.
เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักมีการอุบัติในหมู่เทพที่ไม่มีรูป มีอัตตภาพสำเร็จด้วยสัญญา เป็นแน่นอน ;

แต่ถ้าถ้อยคำของสมณ-พราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่' ดังนี้เป็นความจริง, เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้เอง.
สำหรับสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง ไม่มี' ดังนี้, ทิฏฐิของเขาก็กระเดียดไปในทางกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบอยู่ในภพ กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน ในทางสยบมัวเมา ในทางยึดมั่นด้วยอุปาทาน;

ฝ่ายสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวง มีอยู่'ดังนี้ นั้นเล่า, ทิฏฐิของเขาก็กระเดียดไปในทางไม่กำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางไม่ประกอบอยู่ในภพ กระเดียดไปในทางไม่เพลิดเพลิน ในทางไม่สยบมัวเมา ในทางไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน" ดังนี้.

บุรษวิญญูชนนั้น ครั้นใคร่ครวญเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ เลือกเอาการปฏิบัติฝ่ายที่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งภพทั้งหลาย นั่นเทียว.
- ม. ม. ๑๓/๑๑๘/๑๒๑.
-----------------------------

คำของพระพุทธเจ้าจะไม่ขัดกัน แน่นอน ครับ
ถ้าอย่างไรก็ให้ผู้อ่านทุกท่าน พิจารณาเองเถิด
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์! วิญ ญ าณ ฐิติ เจ็ด เหล่านี้ และ อายต น ะสอง มีอยู่.
วิญญาณฐิติเหล่าไหนเล่า ? วิญญาณฐิติเจ็ดคือ :-

๑. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ;
ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หนึ่ง.

๒. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่;
ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหมที่บังเกิดโดยปฐมภูมิ และสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งสี่ :
นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สอง.

๓. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่;
ได้แก่พวกเทพอาภัสสระ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สาม.

๔. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอยู่;
ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สี่.

๕. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา
โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา
จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ มีการทำในใจว่า"อากาศไม่มีที่สุด" ดังนี้มีอยู่ :
นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่ห้า.

๖. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า"วิญญาณไม่มีที่สุด" ดังนี้ มีอยู่ :
นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หก.

๗. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ มีการทำในใจว่า"อะไรๆไม่มี" ดังนี้ มีอยู่ :
นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่เจ็ด.

ส่วน อายตนะอีกสอง นั้น คือ อสัญญีสัตตายตนะ ที่หนึ่ง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่สอง.
อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า)นั้น :

วิญญาณ ฐิติประเภทที่หนึ่ง อันใด มีอยู่, คือ สัตว์ทั้งหลาย มีกาย
ต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาต
บางพวก. อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญ ญ าณ ฐิติที่หนึ่งนั้น รู้ชัดการเกิด (สมุทัย)
แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดความดับ (อัตถังคมะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่ง
สิ่งนั้น รู้ชัดโทษต่ำ ทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออก
(นิสสรณ ะ) แห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง
วิญญาณฐิติที่หนึ่ง นั้น? "ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !"

(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่สอง วิญญาณฐิติที่สาม วิญญานฐิติที่สี่ วิญญาณฐิติที่ห้า วิญญาณฐิติที่หก วิญญาณฐิติที่เจ็ด และ อสัญญีสัตตายตนะที่หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอย่างดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติที่หนึ่งนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่งสภาพธรรมนั้นๆเท่านั้น.
ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะที่สองนั้น จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-)

อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า)นั้น :
เนวสัญญานาสัญญายตนะ อันใด มีอยู่,
อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัด เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดการดับแห่งสิ่งนั้น
รู้ชัดรสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำ ทรามแห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว
ควรหรือหนอ ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ?
"ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !"
อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันต่ำทราม และอุบายเป็นเครื่องออก แห่งวิญญาณฐิติเจ็ดเหล่านี้ และแห่งอายตนะสองเหล่านี้ด้วย แล้วเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่น;

อานนท์ ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นปัญญาวิมุตต์.
- มหา.ที.๑๐/๘๑-๘๓/๖๕.
------------------------------------------

คำของพระพุทธเจ้าจะไม่ขัดกัน แน่นอน ครับ
ถ้าอย่างไรก็ให้ผู้อ่านทุกท่าน พิจารณาเองเถิด
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
คุณฌานที่รัก ลองนึกดูดีๆว่า
- อะไรคือรูปขันธ์ของเทวดา
- อะไรคือรูปขันธ์ของมนุษย์
- ถ้าเทวดามีรูปขันธ์ รูปขันธ์ของเทวดาและมนุษย์เหมือนกันหรือไม่

และคำถามเดียวกัน เปลี่ยนจากคำว่าเทวดา เป้นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก พรม อรูปพรม

มีแต่สัตว์เดรัจฉานเท่านั้นที่มีรูปขันะ์อย่างมนุษย์
ที่เหลือหารูปขันธ์ไม่ได้


คุณพี่คามินธรรมที่เคารพ :b8:

กายละเอียด คือ รูปขันธ์ของเทวดา
กายหยาบ คือ รูปขันธ์ของมนุษย์

รูปขันธ์ของเทวดาและมนุษย์ไม่เหมือนกันครับ ขึ้นกับกิเลสใครมีมากกว่ากัน
มนุษย์มีกิเลสมากกว่า กายจึงหนาและหยาบกว่าเทวดา

เมื่อจิตละเอียดขึ้น กายก็จะละเอียดขึ้นด้วยเช่นรูปพรหม อรูปพรหม

สัตว์เดรัจฉานและมนุษย์เป็นสัตว์โลกที่เราสามารถมองเห็นกายหรือ รูปขันธ์หยาบได้
แต่กายละเอียดหรือต้องฝึกจิตให้ดีจึงจะเห็นได้

เพราะกิเลสมีหลายชั้น ขันธ์จึงมีหลายชั้นด้วย ,

กายละเอียดก็คือขันธ์ชั้นละเอียดที่ซ้อนอยู่ข้างในนั่นเอง ตามแต่ความละเอียดของจิต
( ตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่า อทิสสมานกาย )

พวกที่ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมในชั้นต่างๆก็ไปจากอันนี้ ละเอียดแค่ไหนไปเกิดใหม่ก็ได้ขันธ์ใหม่ละเอียดตามภูมิชั้นนั้นๆ,

สรุป แล้วก็เป็นขันธ์ห้าประเภทต่างๆที่ต้องถอนอุปาทานออกมาเช่นเดียวกับกายหยาบ ยังมีขันธ์ 5 อยู่นั่นเอง ไม่มีคำว่า สัตว์นี้มีเพียง 1 2 3 หรือ 4 ขันธ์

ที่กล่าวว่าสัตว์นี้มี 1 2 3 หรือ 4 ขันธ์นั้น ไม่มีอยู่จริงๆ มีแต่ขันธ์ 5 เสมอ แต่ด้วยอำนาจของฌาณจิตกดข่มไว้ว่า ไม่มีสัญญาบ้าง ไม่มีวิญญาณบ้าง ไม่มีสังขารบ้าง ไม่มีรูปบ้าง เมื่อพ้นจากอำนาจของฌาณจิตแล้วก็จะรู้ว่า ขันธ์ 5 ยังมีอยู่ อุปทานขันธ์ 5 ยังมีอยู่นั่นเอง ไม่พ้นจากสัตว์โลกไปได้


:b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณฌาน ผมจะแนะอย่างนี้ดีกว่า ว่า

รูป กับ รูปขันธ์ ต่างกัน



ตาเห็นรูป เป็นรูปธรรม ที่ไม่ใช่รูปขันธ์

ข้าวขาหมูเป้นรูปะรรมดาๆ ต่อเมื่อกินเข้ามาในตัวแล้วย่อยดูดซึม"เข้าไปในตัวเราแล้ว"
รูปพวกนั้นก็ได้ผนวกเข้าไปในรูปขันธ์ของเรา
แต่ถ้ามันอยู่ต่างหากของมัน มันเป้นแค่รูป

สรุปว่า รูปที่จะเป้นรูปขันธ์ มันต้องเป้นรูปที่เกิด"ร่วม"กับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
ประชุมกันอยู่แล้วมีจิต จึงเป้นปัจจัยที่พร้อมสำหรับให้เกิดชีวิต
แล้วต้องมีชีวิตอยู่ จึงจะเรียกว่ารูปขันธ์

ถ้าตายลง ปัจจัยอันใดอันหนึ่งมันขาดไป ความเป้นชีวิตก็หมดลง ไม่เป้นชีวตินทรีย์
ร่างกายที่เป้นศพนี้ ก็ไม่เรียกว่ารูปขันะ์อีกต่อไป มันเป็นแค่รูปเท่านั้นเอง


รูปที่ตาเห็น เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จิตเอาเป็นอารมณ์
รูปขันธ์หมายถึงร่างกายที่มีชีวิตของเรานี่แหละ
มีคำว่า "มีชีวิต" มีคำว่า "รูป"

------------------

สมมุติว่าผมฆ่าคุณฌานตาย แล้วคุณฌานไปเกิดเป็นเทวดาพวกหนึ่ง
คำถามคือ คุณฌานที่เป้นเทวดานี้ มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต

ถ้ามีชีวิต ต้องมีรูปขันธ์



มันเป้นความสับสนของคำ คล้ายๆกับคำว่า"ทุกข์"

มันมี"ทุกข์เวทนา" กับ"ทุกสัจ"
รากมันเหมือนกัน แต่หน้าที่ที่คำมันใช้แทนความหมาย มันต่างกัน

"ทุกขเวทนา"ก็เช่น ปวดนั่นปวดนี่
แต่"ทุกขสัจ" มันหมายถึงการที่สิ่งหนึ่งๆมันไม่คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดกาล มันต้องมีความเสื่อม หรือเปลี่ยนแปลง

อย่างพูดว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
ทุกข์ตัวนี้ไม่ได้แปลว่า เสียใจ เจ็บปวด แต่หมายถึงความที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันไม่คงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


5 ขันธ์ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ปุถุชน)
3 ขันธ์ = กาย รูป และ นาม (เสขะบุคคล)
2 ขันธ์ = รูป และ นาม (รูปพรหม)
1 ขันธ์ = นาม (อรูปพรหม)
ไม่มีขันธ์ = นิพพาน

(...ขอแย้งตัวเองแทนท่านพลศักดิ์ด้วยว่า "นิพพานก็มีขันธ์ เรียกว่าธรรมขันธ์".... :b13: :b13: )

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:05
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ขันธ์ 5


สรรพสิ่งทั้งหลายในอนันตจักรวาลนั้น แยกประเภทได้เป็น 3 ส่วน (ดูแผนผังด้านล่างประกอบ) คือ


1.) ส่วนที่เป็นวัตถุทั้งหลาย ได้แก่ สสารทั้งหลาย แสง สีทั้งหลาย เสียง กลิ่น รส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง อาการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ช่องว่างต่างๆ อากาศ ดิน น้ำ ไฟ ลม สภาพแห่งความเป็นหญิง เป็นชาย เนื้อสมองและระบบของเส้นประสาททั้งหลาย อันเป็นฐานให้จิตเกิด รวมทั้งอาการแห่งความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของวัตถุทั้งหลายด้วย

ซึ่งรวมเรียกว่ารูปขันธ์ (ขันธ์ = กอง หมวด หมู่)


2.) ส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิด และความคิดทั้งหลาย รวมเรียกว่านามขันธ์ แยกได้ 4 ชนิดคือ


2.1) เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกเป็นสุขทางกาย ทุกข์ทางกาย โสมนัส(สุขทางใจ) โทมนัส(ทุกข์ทางใจ) อุเบกขาหรืออทุกขมสุขเวทนา(เป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์)


2.2) สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ในสิ่งต่างๆ คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการจำนั่นเอง (ไม่ใช่เนื้อสมอง แต่เป็นส่วนของความรู้สึกนึกคิด เนื้อสมองนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เนื้อสมองเป็นเหมือนสำนักงาน ส่วนนามขันธ์ทั้งหลายเหมือนผู้ที่ทำงานในสำนักงานนั้น)


2.3) สังขารขันธ์ คือส่วนที่ปรุงแต่งจิต คือสภาพที่ปรากฎของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทาน(สภาพของจิตที่สละสิ่งต่างๆ ออกไป) ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว ความไม่ละอาย ความไม่เกรงกลัว เจตนาในการทำสิ่งต่างๆ ความลังเลสงสัย ความมั่นใจ ความเย่อหยิ่งถือตัว ความเพียร ปิติ ความยินดีพอใจ ความอิจฉา ความตระหนี่ ศรัทธา สติ ปัญญา การคิด การตรึกตรอง


2.4) วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่างๆ
ตั้งแต่ ข้อ 2.1 จนถึงข้อ 2.3 และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่งนิพพานด้วย


3.) นิพพาน คือสภาวะที่พ้นจากรูปขันธ์และนามขันธ์ทั้งปวง
หรือสภาวะจิตที่พ้นจากความยึดมั่นผูกพันธ์ในสิ่งทั้งปวง รวมถึงไม่ยึดมั่นในนิพพานด้วย
นิพพาน = นิ + วาน (ในภาษาบาลีนั้น ว. กับ พ. ใช้แทนกันได้ วาน จึงเท่ากับ พาน)
นิ = พ้น
วาน = สิ่งที่เกี่ยวโยงไว้ ได้แก่ ตัณหาคือความทะยานอยาก และอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง
นิวาน หรือนิพพาน แปลตามตัวจึงหมายถึงความพ้นจากเครื่องเกี่ยวโยง(ตัณหาและอุปาทาน) นั่นเอง


สรุปแล้วขันธ์ 5 ประกอบด้วย


1.) รูปขันธ์
2.) เวทนาขันธ์
3.) สัญญาขันธ์
4.) สังขารขันธ์
5.) วิญญาณขันธ์


โดยที่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์รวมเรียกว่าเจตสิก ซึ่งแปลว่าเป็นสิ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ (ในภาษาบาลีนั้นสระ อิ กับสระ เอ ใช้แทนกันได้ เจต จึงเท่ากับ จิต นั่นเอง) คือจิตและเจตสิกจะเกิดและดับพร้อมกันเสมอ จะแยกกันเกิดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพียงแต่ว่าตอนนั้นนามขันธ์ตัวไหนจะแสดงตัวเด่นกว่าตัวอื่นเท่านั้นเอง

คัดลอกจาก
ขันธ์ 5(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

.....................................................
ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนี ผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้ว มีสติในกาลทุกเมื่อ

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ายินดี
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ายินดี

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันไม่น่ารัก
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นของน่ารัก

เพราะฉันประมาท
ทุกข์อันเร่าร้อน
ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท
โดยความเป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2009, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โชคดีมากเลยนะครับ
ผมได้บังเอิญไปพบพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เรื่องนี้พอดี เป๊ะๆ
ลำพังเอาคำพูดพระอาจารย์ที่ผมนับถือมาพูด คนยังต่อต้านอยู่มาก
ต้องอาศัยบารมีหลวงปุ่เทสก์ มอบความสว่างในเรื่องนี้

อ้างคำพูด:

(๓) ผู้ไม่รู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของ ขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง ขันธ์ทั้งสามย่อมถูกกิเลสกลืนกินหรือครอบงำได้
นักปราชญ์ย่อมรู้เท่าเข้าใจที่ตั้งที่เกิดของขันธ์ห้า ขันธ์สี่ ขันธ์หนึ่ง แล้วท่านย่อมพ้นจากการครอบงำของมันได้

ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์สี่ ได้แก่ อรูปฌาน
ขันธ์หนึ่ง ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธ



คัดลอกมาจาก บันทึกธรรมภาษิตของพระราชนิโรธรังสีฯ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=816

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2009, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ เหล่านี้ มีอยู่.
เก้าประการอย่างไรเล่า ? เก้าประการ คือ:-
(๑) เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน อามิสส (กาม) สัญญา ย่อมดับ ;
(๒) เมื่อเข้าถึงทุติยฌาน วิตกและวิจาร ย่อมดับ ;
(๓) เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ปีติ ย่อมดับ ;
(๔) เมื่อเข้าถึงจตุตถฌาน อัสสาสะและปัสสาสะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า) ย่อมดับ ;
(๕) เมื่อเข้าถึงกาสานัญจายตนะ รูปสัญญา ย่อมดับ ;
(๖) เมื่อเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ ;
(๗) เมื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ ;
(๘) เมื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตน ย่อมดับ ;
(๙) เมื่อเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ.
- นวก. อํ. ๒๓/๔๒๓/๒๓๕.
----------------------------------

สัญญาเวทยิตนิโรธ ยังมี สังขาร และ วิญญาณ ทำงานอยู่นะครับท่าน

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2009, 01:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 03:28
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ที่มี ๑ ขันธ์ ได้แก่ อสัญญีสัตตพรหม (มีเพียงรูปขันธ์เท่านั้น)
สัตว์ที่มี ๔ ขันธ์ ได้แก่ อรูปพรหมม (มี เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณขันธ์) (ไม่มีรูป)
สัตว์ที่มี ๕ ขันธ์ ได้แก่ สัตว์จำพวกอื่นๆเว้น อสัญญีสัตตพรหม และอรูปพรหม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร