วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 23:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


1. บุคคลเช่นใดเรียกว่าเป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ?

2. อะไรเป็นเหตุให้ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า นั้นเกิดขึ้น?

3. เมื่อความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า นั้นเกิดขึ้น แล้ว อะไร เป็น ปัจจัยให้
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า คงอยู่ หรือเจริญยิ่งขึ้นไป?

4. บุคคลผู้เป็น มี ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีประโยชน์
หรือบุคคลผู้ ไม่ เป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีโทษอย่างไร?

5. คำว่า "วิจิกิจฉา" มีความเกี่ยวข้องอะไรกับมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ผู้ถึงไตรสรณะคมณ์และพระอริยสาวก ตั้งแต่ โสดาบันขึ้นไป เรียกว่า ผู้มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

๒. ศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา จึงทำให้เกิดความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว มีปัญญาความเห็นชอบ เห็นว่า พระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงสมบูรณ์ ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ฯลฯ

๓. เห็นว่าพระธรรมที่ทรงสั่งสอนนั้น นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นำไปสู่การพ้นทุกข์ พ้นโลกสงสารได้จริง

๔. บุคคลผู้เป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ย่อมพ้นจากอบาย บุคคลผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ย่อมไปสู่อบาย

๕. "วิจิกิจฉา" แปลว่าความสงสัย ความเคลือบแคลง เมื่อเกิดความสงสัย ศรัทธาก็ไม่มั่นคง ปัญญาก็ไม่เกิดความตั้งมั่น ย่อมนำไปสู่ ความไม่ศรัทธา ความไม่เลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนครับ
เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b20: :b20:
คุณ มิตรตัวน้อย เหมาหมดเลย... :b8: :b8: :b8:

:b5: :b5: :b5:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไขว่คว้าหาดาวกับผม ฌาณครับ สาธุกับท่านมิตรตัวน้อยครับตอบชัดเจนแล้ว ผมอยากได้ดาวจึงขยันโพสครับ ร่วมด้วยช่วยกับผมครับ :b13:

:b8:

อ้างคำพูด:
1. บุคคลเช่นใดเรียกว่าเป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ?


บุคคลเช่น ผู้มีปัญญาสัมาทิฎฐิ คือเป็นผู้มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

หรือ

ทิฏฐิสัมปันนบุคคล คือบุคคลผู้ที่ จะไม่พึงฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตห้อ ทำสงฆ์ให้แตกกัน และจะไม่นับถือผู้อื่นว่าเป็นศาสดา นอกจากพระพุทธเจ้า

หรือ


สัตบุรุษ (คือพระโสดาบัน) ผู้หยั่งรู้อริยสัจ พระตถาคตตรัสเรียกว่า ผู้มีศรัทธาไม่คลอนแคลน ดุจเสาหลักเมืองที่ฝังลงดินลึก ลมพัดมาจากทิศทางใด ก็ไม่สามารถให้ขยับเขยื้อน

อ้างคำพูด:
2. อะไรเป็นเหตุให้ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า นั้นเกิดขึ้น?


หรืออะไรเป็นเหตุให้เป็นผู้มีปัญญาสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ปัจจัย ๒ ประการเหล่านี้
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ


คือการได้ยินได้ฟังจากผู้อื่น ๑
การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ๑.

เพราะเป็นผู้หยั่งรู้อริยสัจ พระตถาคตตรัสเรียกว่า เป็นผู้มีศรัทธาไม่คลอนแคลน ดุจเสาหลักเมืองที่ฝังลงดินลึก ลมพัดมาจากทิศทางใด ก็ไม่สามารถให้ขยับเขยื้อน

อ้างคำพูด:
3. เมื่อความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า นั้นเกิดขึ้น แล้ว อะไร เป็น ปัจจัยให้
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า คงอยู่ หรือเจริญยิ่งขึ้นไป?


เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ความเลื่อมใสอันมั่นคงในพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว
มรรคย่อมคงอยู่ ย่อมเจริญต่อไป

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะจึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมีสัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ

อ้างคำพูด:
4. บุคคลผู้เป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มีประโยชน์
หรือ บุคคลผู้ไม่เป็นมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า มี โทษ อย่างไร?


ผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีจิตใจเคารพนับถือใน พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ ยึดเอาพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งพา ของชีวิตตลอดไป จิตพ้นจากอบายภูมิทั้งปวง มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา มีความเป็นผู้เที่ยง ต่อการตรัสรู้ในเบื้องหน้า

อ้างคำพูด:
5. คำว่า "วิจิกิจฉา" มีความเกี่ยวข้องอะไรกับมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า


วิจิกิจฉาเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมต่อความเลื่อมใส เหตุให้เกิดมิจฉาทิฏฐิได้

วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบ

แคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา

ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง

ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความ

คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.



(อยากได้ดาว) :b4:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเวียนกลับไปสู่การประพฤติซึ่งวัตตโกตูหลมงคลทั้งหลาย

(มงคลภายนอกของสมณพราหมณ์ เหล่าอื่น คือเป็นข้อปฎิบัติทางกาย ทางวาจา ตามความเห็น ความเชื่อของชนเหล่าอื่น)
ตามแบบของสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าอื่นเป็นอันมาก โดยความเป็นสาระ?

- มหาตัณหาสังขยสูตร ม.ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับท่านมิตรตัวน้อยครับตอบชัดเจนแล้ว
สาธุกับท่านฌาณ...ขอให้ได้ 10 โดยพลัน..โดยดี ..โดยปิติ.อนุโมทนาในความพยายามด้วย
สาธุ...ท่านBlackHospital..ที่พยายามรักษา แก่นไม้เดิมไว้..
--------------------------------

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 12 ก.พ. 2009, 21:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ภาพประกอบ-เป็นภาพวาดของอจ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นลิขสิทธ์ของ อจ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

101.jpg
101.jpg [ 52.18 KiB | เปิดดู 4862 ครั้ง ]
................ท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด ฯ

จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้แสดงสิงคาลสูตร แก่สิงคาลมาณพ
เมื่อจบแล้วสิงคาลมาณพบังเกิดความเลื่อมใส กล่าว
:b42: ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต.... :b42:
นางสิงคาลมาตา(ผู้เป็นมารดา)ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันในคราวนั้น ... :b41:

นางสิงคาลมาตาออกบวช
จากนั้น เมื่อนางเห็นว่า สามีก็ได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ประกอบกับบุตรของตนก็ได้
เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว จึงได้ออกบวชเป็นภิกษุณี

ตั้งแต่บวชแล้ว กลับได้สัทธินทรีย์ประมาณยิ่ง นางไปสู่วิหารเพื่อต้องการฟังธรรม กำลังยืนมองดูพระสิริสมบัติของพระทศพลอยู่นั่นเอง ขณะนั้นพระศาสดาทรงทราบว่า

นางเป็นผู้ดำรงมั่นในลักษณะแห่งศรัทธาแล้ว จึง
ทรงแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
พระเถรีนั้นก็กระทำศรัทธาลักษณะนั่นแหละให้เป็นธุระ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว


....................
ถามว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงแก่พระเถรี ...นั้นว่าอย่างไร
??????


(อย่างเดียวกับ คห2-3หรือ?)
..................
..................

ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก ภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระสิงคาลมาตาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศกว่า ภิกษุณีทั้งหลายผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6719

.....................................................
"เป็นผู้เคารพยิ่งนักต่อพระสัทธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาค"
ขอข้าพเจ้าพึงเป็นอติธัมมครุคือ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2009, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
อ้างคำพูด:
พระเถรีนั้นก็กระทำศรัทธาลักษณะนั่นแหละให้เป็นธุระ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว


พระเถรีกระทำศรัทธาลักษณะนั่นแหละให้เป็นธุระ อย่างไร
ใช่พิจารณา...ศรัทธาลักษณะ เข้าในไตรลักษณ์ ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง แล้วจึงละ ปล่อยวางศรัทธาลง เป็นอนัตตา ว่าธรรมนั้นไม่ควรยึดมั่น ถือมั่นต่อไป จึงสำเร็จ บรรลุอรหัตผล .... หรือเปล่าคะ
เข้าใจถูกหรือเปล่า ได้โปรดอธิบายหน่อยค่ะ....


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา หรือ สัทธา นี้เป็นอย่างไรน่า..

สัทธา แม้อย่างน้อยเพียงเชื่อว่าสัตว์นั้นมีกรรมเป็นของตน คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพียงเท่านี้ก็เป็นคุณยิ่ง มิฉะนั้นก็จะไม่ประหยัดต่อบาปกรรม จะกระทำอะไรก็ไม่คิดว่าเป็นทุจริตเสียหาย เพราะสำคัญผิดว่าจะไม่ต้องได้รับผลนั้น ถ้ามีสัทธา เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมแล้ว ก็จะตั้งตนไว้ในทางที่ชอบ ประกอบการงาน ที่ปราศจากโทษ

สัทธา จึงเป็นธรรมเบื้องต้นที่จะทำให้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญเป็นกุศล จนหาประมาณมิได้
สัทธา พีชํฯ สัทธาเปรียบเหมือนพืช (อันจะงอกงามโตใหญ่ให้ดอกผลในภายหน้า) เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสสัทธา

- รูปปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
- ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อย เคร่งในธรรมวินัย
- โฆสปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้ฟังชื่อเสียงลือว่า ดีอย่างนั้น อย่างนี้
- ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสสัทธา เพราะได้สดับธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใสไว้ ๑๐ ประการ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่านั้น
อาตมภาพทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น ครั้นสักการะ เคารพแล้ว
ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกร พราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
๒. เป็นพหูสูต ทรงการศึกษา สั่งสมการศึกษา
๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิตเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
๕. ย่อมแสดงฤทธิ์ได้ เป็นอเนกประการ
๖. ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์
๗. ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ
๘. ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ
๙. ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
๑๐. ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้


ดูกรพราหมณ์ เหล่านี้แล ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสบอกไว้ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่านี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... .php?name=โคปกโมคคัลลานสูตร&book=9&bookZ=33

:b8: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย มิตรตัวน้อย เมื่อ 13 ก.พ. 2009, 10:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2009, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

นี่แหละ... เสวนา จ พาลานัง บัณฑิตานัน จ เสวนา...

สาธุค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร