วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม

ภิกษุ ท.! ที่เรากล่าว่า "กาม นิทานสัมภวะแห่งาม เวมัตตตา
แห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่ง
ที่ควรรู้แจ้ง" นั้น เรากล่าวหมายถึงกามไหนกันเล่า?
ภิกษุ ท.! กามคุณ ๕อย่างเหล่านี้
คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ....
เสียงทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ....
กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ....
รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา....
โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัด มีอยู่,
ภิกษุ ท.! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ

ความกำหนัดัไปตามอำนาจความติตรึก (สงฺกปฺปราค)นั่นแหละคือกามของคนเรา;
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่;

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา;
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น;

ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

ภิกษุ ท.! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท.! เวมัตตา (ประมาณ ต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! เวมัตตตาแห่งกาม คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ,
ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ;
ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.

ภิกษุ ท.! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด
เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้น ๆ ให้เกิด
ขึ้น๑ เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี;
ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.

ภิกษุ ท.! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุ ท.! นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น

ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ภิกษุ ท.! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัด
ซึ่งวิบากแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทา
ให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้; ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่ อ ม รู้ชั ด ซึ่ ง
พรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.

- ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร