วันเวลาปัจจุบัน 15 พ.ค. 2025, 20:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว

ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ)ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้.ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ ;

ภิกษุ ท.! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัส
นั้น เราเรียกว่า กามสุข อันเป็นสุขบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬหสุข)ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.

ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน…ทุติยฌาน...ตติยฌาน…จตุตถฌาน… แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก, ไม่ควรกลัว. คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายในนั้น; คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้.

- อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ความกำหนัดัไปตามอำนาจความติตรึก (สงฺกปฺปราค)นั่นแหละคือกามของคนเรา;
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่;
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา;
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น;

ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

ภิกษุ ท.! กามคุณ ๕อย่างเหล่านี้
คือ รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ....
เสียงทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ....
กลิ่นทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ....
รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา....
โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ หนัด มีอยู่,
ภิกษุ ท.! อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่; ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัย ว่า กามคุณ
- ฉกฺก. อ. ๒๒/๔๕๗-๔๖๐/๓๓๔.
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร