วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 10:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกวันนี้ มีผู้เข้าใจว่า "การพิจารณา" คือ การปฏิบัติธรรมโดยดูสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันจริงๆ จนกระทั่งสภาวะนั้นได้ดับไป ซึ่งวิธีนี้ไม่ผิด ปฏิบัติไปแล้วได้ผลเช่นกัน

แต่แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การดูสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบันจริงๆ จนกระทั่งสภาวะนั้นได้ดับไป จะวิธีปฏิบัติแบบ "รู้แจ้ง" ซึ่งวิธีนี้ไม่ผิด ปฏิบัติไปแล้วได้ผลเช่นกัน

ซึ่งเมื่อความเห็นเป็นไปในทางคลาดเคลื่อนเช่นนี้แล้ว จึงเกิดการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนตามความเห็นไปด้วย โดยมีการสั่งให้ห้ามคิด ห้ามใช้การคิดช่วยพิจารณาสภาวะเกิด-ดับ ซึ่งตรงนี้เป็นอันตรายมากทีเดียว

การห้ามคิด พระพุทธเจ้าทรงห้ามคิดจริง คือ ห้ามคิดในแง่ที่ไม่ดี เป็นอกุศลวิตก แต่หากเป็นด้านดี เป็นกุศลวิตกแล้ว ให้หมั่นคิดให้มากๆ

เพราะเนื่องจากว่า...

"การคิด" แท้จริงก็คือ "โยนิโสมนสิการ" (การพิจารณาโดยแยบคาย, การกระทำในใจโดยแยบคาย) นั่นเอง ได้แก่ การใช้ความคิดในแง่เป็นเหตุเป็นผลต่างๆ คิดเป็นสามัญลักษณะ คิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย ยกตัวอย่างโยนิโสมนสิการง่ายๆ เช่น การพิจารณาปัจจัยสี่ มีอาหาร เป็นต้น หากห้ามคิดในแง่ดังกล่าวแล้ว หมายถึงห้ามเจริญโยนิโสมนสิการนั่นเอง เมื่อไม่เจริญโยนิโสมนสิการแล้ว จึงทำให้ผู้ปฏิบัติก้าวหน้าได้ช้า เพราะขาดธรรมอันเป็นหลักสำคัญแก่การเกิด "สัมมาทิฐิ" ซึ่งคือ "วิปัสสนา" นั่นเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า

[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ
ยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจโดยไม่แยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล
ทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง
เป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ
ยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำ
ในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ


ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

บางคนอาจจะบอกว่า "การคิดไปก่อนเป็นการไม่เห็นของจริง เป็นการอุปทานไปเอง" แท้จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการคิดถึงสภาวะเป็นต้นว่า ให้เห็นรูปที่มองอยู่ว่าไม่เที่ยง ประกอบไปด้วยปฏิกูลอะไรบ้าง เป็นต้นอย่างนี้ ย่อมเป็นอันถูกทีเดียว ที่ถูกเพราะอะไร เพราะสภาวะที่เกิดขึ้นกับใจ คือ "ความหน่าย", "ความปล่อยวาง" นั่นเอง เป็นเครื่องยืนยันแก่ผู้ปฏิบัติว่าไม่ผิด

บางสิ่งบางอย่างเราไม่ต้องให้ปรากฏความไม่เที่ยง เสื่อมไป ดับไปให้เราเห็น เราสามารถพิจารณาไปก่อนได้เลย ก็ทำให้เราปล่อยวางสิ่งนั้นๆ ได้เหมือนกัน ขอเพียงให้เรารู้จักคิดถึงสิ่งที่มันจะเป็นจริงๆ อย่างนั้นในอนาคต หรือเคยไม่เที่ยงในลักษณะนั้น ดับไปอย่างนั้นมาแล้วในอนาคตก็ถือว่าใช้ได้

ซึ่งหากเราไปคิดว่าการตามดูสภาวะให้ปรากฏจริงๆ เท่านั้นเป็นการพิจารณาแล้ว เราจะเห็นว่าการทำดังนั้นจะไม่ทำให้เราเห็นทุกสิ่งเป็นอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ได้ เป็นต้นว่า แท่งเหล็กกล้า, ดวงดาว, ตึกสร้างใหม่ๆ เราจะไปรอให้เห็นความดับปรากฏจริงๆ ได้อย่างไร หากไม่มีอะไรมาทำให้แปรไป สิ่งนั้นย่อมตั้งอยู่ได้นาน อย่างมากเราก็เห็นความเสื่อมของสิ่งนั้นเท่านั้น แต่หากจะมีผู้แย้งว่า ก็ผู้ได้ฌานไงจะเห็นได้เองในกาลต่อมา อย่างนี้ย่อมเป็นอันขัดแย้งกับ ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน เพราะว่า ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนนั้น ได้เห็นขันธ์ห้าทุกอย่างประดามี เห็นธรรมทั้งปวงตั้งแต่แรกจนกระทั่งสำเร็จมรรคผลเป็นฌานในภายหลัง

"การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องยาก ไม่ใช่ว่าเราไปห้ามคิด แต่ให้เราใช้ทั้งหมดทุกสิ่งอย่างประดามีของเรา ไม่ว่า กาย วาจา ใจ รวมทั้งคิด เพื่อให้บรรลุธรรมให้ได้ถึงจะถูก เหมือนคนขี้จักรยานนั่นแหละ หากเราไม่ใช้ล้อเล็กๆ ช่วยคำยันก่อน แต่จะให้ขี่จักรยานให้เป็นย่อมยาก ยกเว้นเขานั้นมีพรสวรรค์ ไม่ต้องดูอะไรมาก แม้แต่สมาธิ หากไม่ใช้คำบริกรรมช่วย ยังเกิดฌานยากเลย"

ผิดถูกอย่างไร พิจารณาดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย

เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็น สตินนทรีย์

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย

ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย..... สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่ง
ขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล



"คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้

ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้

แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้"





...............................................







ตามความเข้าใจ ของผมน่ะครับ

ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยล่วงหน้าครับ



มีอยู่ 3คำ ที่ผมใส่ใจ

1.คิด
2.หยุดคิด
3.รู้


คิด ... ผมเห็นว่า น่าจะตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค คือ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ(ระดับอนาสวะ). ซึ่งยังคงเป็นระดับการใช้ความรู้สึกนึกคิดเอาอยู่ ยังไม่ใช่ญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง เป็น วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ

หยุดคิด ... ผมเห็นว่า สื่อถึง สมถะในองค์แห่งอริยมรรค(สัมมาสมาธิ) คือ เอกัคตาจิตที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด

รู้.....หรือ รู้แจ้ง..... ผมเห็นว่า สื่อถึง อธิปัญญาในขั้นอริยผล คือ สัมมาญาณะ ซึ่งเป็นญาณหยั่งรู้ เป็น วิปัสสนาที่แท้จริง



คิด จะนำไปสู่การ รู้แจ้ง ได้.... ก็ต้องผ่าน การหยุดคิด

วิปัสสนาภาคปฏิบัติ จะนำไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง ได้... ก็ต้องผ่าน สมถะในองค์แห่งอริยมรรค หรือ สัมมาสมาธิ

แต่ ก็ต้องอาศัยคิด(สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสังกัปปะ) แล้วไล่เรียงไปตามลำดับแห่งองค์มรรค จึงจะบรรลุซึ่ง การรู้แจ้ง(สัมมาญาณะ) ในที่สุด




ปล...

ส่วนตัว ผมเองไม่ประเมินคำว่า ความคิด หรือ วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ ว่าต่ำต้อยอะไรน่ะครับ...เกรงว่าจะเข้าใจผิด....
เพราะ มีบางท่านไปนำคำนี้ มาล้อเล่นกันว่า เป็น วิปัสสนึก

อย่างที่ ท่านผู้รู้กล่าวไว้น่ะครับ
การใช้ความคิด หรือ วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ... ถึง แม้นจะยังไม่ใช่เป็นขั้นญาณหยั่งรู้
แต่ ก็เป็นต้นทางแห่งมรรคทั้งหมด

จึง ไม่เห็นด้วย กับการกล่าวถึง วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ ไปในทิศทางที่ทำให้ดูต่ำต้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุกับความคิดเห็นของท่านตรงประเด็นครับ

การเข้าถึงวิปัสสนาโดยการใช้การคิด หรือโยนิโสมนสิการเป็นตัวนำนั้น จะเป็นอะไรที่รู้สึกแปลกสำหรับสมัยนี้ เพราะเนื่องจากวิธีนี้เป็นอะไรที่ดูเหมือนขัดแย้งกับที่สอนๆ กันอยู่ เรียกง่ายๆ ว่ากำลังจะสาปสูญไปนั่นเอง

ผมเองก็คืดเหมือนกันกับคุณในตอนแรก เพียงแต่ไม่ใช่เพียงแต่คิดเท่านั้น ได้ทำการค้นคว้าทดลองทดสอบด้วยตัวเองจึงเห็นว่าหาได้ผิดไม่เลย เริ่มแรกเราใช้ความคิดช่วยก็จริง เป็นต้นว่า

เราดูที่สิ่งของอันปรากฏตรงหน้า เช่น จอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เราก็พิจารณาให้เห็นว่าจอจะไม่เที่ยงอย่างไร หรือประกอบขึ้นมาจากส่วนย่อยๆ อะไรบ้าง เป็นต้น จะทำให้เราเห็นถึงความเป็นอนัตตาปรากฏออกมาให้เห็นจริงๆ ใจจะเกิดสภาวะคลายออกไม่หลงไปกับมัน จะเกิดสภาวะปราโมทย์ขึ้นในใจหากเราพิจารณาโดยแยบคายมากเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น

แต่ๆ จนในที่สุด ระดับยากๆ หรือสภาวะละเอียดถี่ยิบจนอาศัยการคิดช่วยไม่ได้ ปัญญาจะคิดเองต่อไป เหมือนกับสมาธินั่นแหละ ที่ละวิตก วิจารที่เป็นส่วนของวจีสังขาร หรือละคำบริกรรมออกไป ทีนี้จิตจะคิดเองครับ

"คิดช่วยให้จิตคิดเป็น" "เมื่อจิตคิดเป็นก็ไม่ต้องคิด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความคิดเห็น จากความเข้าใจนะครับ


เมื่อเราภาวนาไปถึงระดับหนึ่ง จะเกิดปรากฏการณ์ทางจิตขึ้นคือจิตจะยิ้ม
ปรากฏการณ์นี้จิตเราจะเกิดสภาวะที่เรียกว่า มีผู้รู้ อยู่ต่างหาก
สำเร็จเป้นโสดาบันแล้ว

ตรงที่ี่คุณตรงประเด้นยกหลวงปู่มานั่นแหละครับ
ตรงนั้นคือสภาวะของผู้รู้ ที่แยกออกมาต่างหาก
ผู้รู้คือสติ สติที่ตื่นแล้ว มีปัญญาของตัวเอง ทำงานเองโดยอัตโนมัติ
เป้นจิตผู้รู้ ผ้ตื่น ผู้เบิกบาน


ส่วนสติที่ได้จากการที่เราพยามภาวนา เช่นการน้อมไปน้อมมา พร้อมกับน้อมเอาสัญญาต่างๆ มาช่วยใหนการคิดนั้น
ล้วนแล้วแต่เป้นสิ่งที่เรียก"อุบาย" อุบายให้จิตมันตื่น
ไม่ใช่สติที่เรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ยังเป็นสติแบบอาศัยตันหาฝ่ายดีในการขับดันให้มันตื่น
หลับๆ ตื่นๆ บางทีนั่งสมาธิเข้าฌานจึงจะภาวนาให้มันตื่น
แต่พอออกฌานมาแล้วเจอกับสภาพความเป้นจริงที่ตาเห็นรูป หูให้ยินเสียง บังคับทวารไม่ได้
ปรากฏว่ามันไม่ได้สติอย่างที่เข้าวิปัสนาฌาน

แต่สติพระโสดาบันจะตื่นสืบเนื่องตลอดเวลา ทั้งยามหลับก็ตาม

ผมเข้าใจอย่างนั้นนะคับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การคิด คือ การพิจารณา การดูสภาวะเกิดดับ คือ รู้แจ้ง


การรู้อยู่นี้ ยังไม่จัดเป้นรู้แจ้งนะครับ

การรู้อยู่ นะจะเทียบคำว่า อุเบกขา ได้
คือเฝ้ารู้ เฝ้าดู ความจริงๆต่างๆที่จิตมันแสดงให้ดู
ดูเฉยๆ ดูอย่างวางอุเบกขา ปล่อยไปตามจริง

แต่ไม่ว่าว่าดูครั้งเดัียวก็รู้แจ้ง มันต้องดุนานมาก
ค่อยสังเกตุกระบวนของจิต
ซ้ำไปซ้ำมาจนเข้าใจทะลุปรุโปร่งว่านี่แหละ อริยะสัจ จึงเกิดความรู้แจ้ง
สิ่งใดเป้นเหตุ สิ่งใดคือผลของเหตุ
รู้แจ้งแทงตลอดในอริยะสัจ

การรู้แจ้งนั้นต้อง รู้ โดย ผู้รู้ กล่าวคือสัมมาสติ
สิง่ที่รู้คืออริยะสัจจ
และผู้รู้ หรือสัมมาสตินั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน และทำงานอย่างพอดี

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของท่าน คามินธรรม ครับ :b8:

ผมต้องยอมรับจริงๆ ว่าไม่ได้ฝึกแนวทาง "ผู้รู้" เพียงแต่ว่า สภาวะที่เกิดขึ้นแนวทางนี้เมื่อปฏิบัติไปแล้วจะแตกต่างกับที่คุณบอกมาอยู่บ้าง คือ จะไม่มีตัวผู้รู้อยู่ต่างหากอะไร แต่จะมีความรู้สึกว่า ไม่มีเรา ไม่มีของเราอยู่แต่ไหนๆ เลย ไม่มีแม้กระทั่งตัวผู้รู้ ความรู้สึกมีเพียงว่าอะไรๆ ก็ไม่เที่ยงๆ เป็นสมมุติๆ ทั้งนั้น จิตเกิดความเข้าใจอย่างนั้น เห็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ใจแม้เห็นอย่างจริงๆ แล้วยังไม่วายปรุงแต่งเป็นตัณหาต่างๆ ได้อีกครับ (ผมเองนะ) แต่ว่าอวิชชา ตัณหา อุปทานมั่นใจได้เลย รู้ด้วยตนเองเลยได้เลยว่าน้อยลงมากๆ แต่ยังไม่ดับสนิท ใจมีแต่ความปราโมทย์จากความปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา เหมือนอิ่มบุญอยู่ในใจตลอดเวลา เห็นอะไรก็ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลยว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาครับ จะไปเห็นอย่างนั้นไม่ได้จริงๆ แม้บังคับให้เห็นแต่ไม่เห็นอย่างนั้นได้เลยแม้แต่น้อย (ไม่รู้ว่าจะบรรยายอย่างไรให้เข้าใจชัด) จึงเกิดความคิดให้ผู้อื่นลองปฏิบัติตามบ้าง จะได้รู้สึกสุขแบบนี้บ้าง หรือมากกว่านี้ได้ไม่มากก็น้อยครับ

หากท่านใดสนใจแนวทางนี้มีพระสูตรยืนยันความสำเร็จในการปฏิบัติ เพื่อเสริมความมั่นใจดังต่อไปนี้ครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙
ประการนี้ ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย ศิรัสพล เมื่อ 16 ธ.ค. 2008, 18:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วแต่มุมมองน่ะ

การคิดมี 2 แบบ คือ
1.คิดแบบมีสติคือ โยนิโสมนสิการ
2.คิดแบบที่คิดทั่วๆไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวที่ผมทำนี้ (ความเห็นส่วนตัวที่เข้าใจนะี้)

คือ ไม่สำคัญว่าคิดอะไร ไม่ต้องการความแยบคาย หรือความฉลาดปราดเปรื่องใดๆเลย
ทำเพียงแค่จับให้ทัน ดุให้ทัน ว่าจิตมันคิด จิตมันรู้สึก (พูดถึงแต่จิตนะ)

แรกๆก็ดูที่เจตสิกเลย คืออารมณืต่างๆ
กล่าวคือมีอารมณืแล้วถึงดู เช่นความดีใจเสียใจเกิดขึ้นแล้ว ฟูเฟื่องแล้ว เราถึงดู

แต่เมื่อดูนานๆเข้า มันจะดูได้ละเอียดกว่าเดิม
กล่าวคือบางทีก้ยังไม่ทันจะสร้างอารมณ์ได้เลย
เราดุทันเสียก่อน (ดูทันพฤติกรรมของจิตที่เป้นเหตุแห่งความดีใจเสียใจ)


(ขออนุญาตไม่ยกชื่ออาจารย์ต่างๆ หรือคัมภียร์หนังสืออะไรนะครับ
เป้นความเห้นส่วนตัวล้วนๆ ออกชื่อออกอ้างไปแล้วถ้าผมเข้าใจผิด ก้จะเป้นการทำแปรรูปคำสอนครูอาจารย์ไป คนจะเข้าใจผิดกันได้)

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ครับท่าน คามินธรรม

หากหลายๆ ท่านได้อ่านพระสูตรที่ผมได้ยกไปตอบก่อนหน้านี้ ลองพิจารณาดูดีๆ จะเห็นถึงอะไรบางอย่างที่เป็นความลับซ่อนเร้น (น่าจะนานมากๆ แล้ว จนเกือบจะสาปสูญก็ว่าได้) อยู่ภายใน ซึ่งวันนี้จะเปิดเผยกันที่นี้ เดี๋ยวนี้

Quote Tipitaka:
[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์


ความลับที่ซ่อนเร้นอยู่ คือ แนวทางการปฏิบัติแบบ "สมถอันมีวิปัสสนานำหน้า" หน้านั่นเอง อันเป็นหนึ่งในสี่แนวทางการปฏิบัติที่ทำให้หลุดพ้นได้ในพระพุทธศาสนา ผู้ที่เจริญโดยใช้โยนิโสมนสิการพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยแยบคายอย่างนี้ คือ การปฏิบัติของ "พระสุกขวิปัสสก" หมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนอย่างเดียวแท้ๆ ได้สมาธิระดับฌานเมื่อถึงขณะแห่งมรรค ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้นั่นเอง การปฏิบัติที่กระทำกันอยู่มากมายในอดีตถึงปัจจุบัน หากไม่เป็นไปโดยมีโยนิโสมนสิการเป็นตัวนำแล้ว น่าคิดว่าเป็นแนวทางของวิปัสสนาล้วนอย่างแท้จริงหรือไม่?

เพราะผู้เจริญวิปัสสนาล้วน จะเป็นผู้ที่มีความปล่อยวางเป็นอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ สภาวต่างๆ จะเกิดขึ้นตรงกับพระสูตรข้างต้นที่ยกมา นอกจากนี้โยนิโสมนสิการ 9 ประการ ยังให้เกิดการบรรลุหลุดพ้นได้ดังพระสูตรต่อไปนี้

[๔๕๕] ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมา
แต่โยนิโสมนสิการ ๙ คือ เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด
ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ กายของผู้มีใจกอปรด้วยปิติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อม
เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ผู้รู้เห็น
ตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้น ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก


ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๑๑. ทสุตตรสูตร (๓๔)

หากสรุปเป็นกระบวนธรรมแห่งการหลุดพ้นแล้ว จะเป็นดังต่อไปนี้

โยนิโสมนสิการ -> ปราโมทย์ -> ปีติ -> ปัสสัทธิ -> สุข -> สมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ(รู้เห็นตามเป็นจริง) -> นิพพิทา(หน่าย) -> วิราคะ(คลายกำหนัด) -> วิมุตติ(หลุดพ้น)

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เพื่อให้เห็นความจริงว่าพิจารณาคืออะไร เสริมสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการปฏิบัติแนวทางนี้ จะได้มั่นใจ และหากสนใจปฏิบัติแต่ไม่รู้ว่าจะประยุกต์ ใช้อุบายอย่างไร หรือปฏิบัติไปแล้วเกิดความติดขัดไม่เข้าใจตรงไหน สอบถามได้นะครับ ยินดีช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ครับ

"หากปฏิบัติแนวทางเดิมไม่แน่ใจ หรือปฏิบัติไปแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่ได้รับสุขยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะทุกข์ลดลง ให้ลองปฏิบัติแนวทางนี้ดูได้ แต่ว่าต้องอาศัยความกล้า แต่คุ้มค่าหากได้ผล"

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: การใช้หลักโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยหลักของปัญญาด้วยความแยบคายจนตัวเองเข้าสู่สภาวะความทุกข์ซึ่งเกิดจากปัญญาล้วนๆ หรือบางครั้งเราเรียก "สุขวิปัสสโก" ผมได้ยินมานานแล้ว ตัวอย่างเช่นพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ และพระปัจเจกอรหันต์บางองค์ ล้วนแต่ใช้วิธีนี้ :b40:

:b40: :b40: แต่พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านสอนใครๆให้ปฏิบัติเพื่อหมดทุกข์อย่างท่านไม่ได้ สอนตัวเองแต่ไม่ทรงสอนคนอื่น เพราะเหตุที่ใช้หลักแบบสุขวิปัสสโก ถ้าจะสอนใครได้ต้องมีองค์ภาวนาแบบสมถะ-วิปัสสนาอย่างที่องค์สมณโคดมทำเป็นองค์แรก อย่างงี้จึงจะเรียกว่าสอนคนทั้งโลกได้ :b41: เพราะฉะนั้นการฝึกแบบพิจารณาความคิดอย่างแยบคายตามหลักโยนิโสฯหากเราปฏิบัติจนพ้นทุกข์ในชาตินี้แล้ว เราก็ไม่สามารถสอนใครให้พ้นทุกข์ได้เหมือนเราใช่ไหมครับ?? ช่วยแนะนำหน่อย? :b39: อีกทั้งการฝึกแบบนี้จะไม่ได้ทิพย์ทางอภิญญาใดๆเลย จะได้ข้อเดียวก็คือทำอาสวะกิเลสของเราเองให้หมดสิ้นไป :b44: :b44: :b42:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณอินทรีย5 ครับ

ถาม : การฝึกแบบพิจารณาความคิดอย่างแยบคายตามหลักโยนิโสฯหากเราปฏิบัติจนพ้นทุกข์ในชาตินี้แล้ว เราก็ไม่สามารถสอนใครให้พ้นทุกข์ได้เหมือนเราใช่ไหมครับ?? ช่วยแนะนำหน่อย?

ตอบ : ทั้งนี้การสอนใครให้บรรลุมีปัจจัยกว้างๆ 3 อย่าง คือ ผู้สอน ผู้รับการสอน วิธีการสอน โดยหากผู้สอนบรรลุแล้ว และผู้รับการสอนก็มีปัญญาดี และวิธีการสอนก็สื่อสารให้เข้าใจได้ดี พร้อมด้วยบารมีด้านการสอนที่สั่งสมมา ย่อมเป็นรับรองได้ว่าผู้รับการสอนบรรลุตามได้แน่นอนครับ

หากปัจจัยทั้งสามอย่างนี้ ไม่บริบูรณ์มากเท่าใด โอกาสบรรลุก็น้อยเท่านั้นครับ

ถาม : อีกทั้งการฝึกแบบนี้จะไม่ได้ทิพย์ทางอภิญญาใดๆเลย จะได้ข้อเดียวก็คือทำอาสวะกิเลสของเราเองให้หมดสิ้นไป

ตอบ : หากว่าโดยหลักการแล้ว อภิญญา คือ ความรู้ยิ่ง, ความรู้ยิ่งยวด, ความรู้ชั้นสูง จะมีด้วยกันอยู่ 6 ประการ ดังนี้

1. อืทธิวิธี แสดงฤิทธิ์ต่างๆ เช่น เหาะ, เดินบนน้ำ เป็นต้น
2. ทิพพโสต หูทิพย์
3. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจผู้อื่นใด้ (อ่านใจ)
4. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณระลึกชาติได้
5. ทิพพจักุข ตาทิพย์
6. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป (สิ้นกิเลส)


ผู้ที่เจริญแนวทาง "สมถมีวิปัสสนานำหน้า" หรือ "วิปัสสนาล้วน" จริงๆ คำว่า "ล้วน" นี้เป็นคำเรียกแบบรู้ๆ กัน ไม่ได้หมายถึงไม่มีสมาธิอยู่เลย การปฏิบัติจริงๆ สมาธิจะถูกพัฒนาขึ้นไปพร้อมกันด้วย เพียงแต่ไม่ได้เด่น หรือเน้นหนักในด้านจดจ่อเป็นอารมณ์เดียวแน่วแน่แนบแน่นเป็นเวลายาวนาน ผู้เจริญแนวทางนี้จะไม่ได้โลกียอภิญญาคือ 5 ข้อแรก แต่ว่าจะได้ โลกุตตรอภิญญา คือ ข้อ 6

นอกจากนั้นท่านยังได้ "ฤิทธิ์ของพระอริยะ" ครับ ซึ่งจะแตกต่างจากคำว่า "ฤิทธิ์" ในอภิญญาข้อที่ 1 ดังต่อไปนี้

1. เห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลได้
2. เห็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลได้
3. เห็นสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลได้
4. เห็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลได้
5. วางเฉยมีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลได้


ที่กล่าวมาทั้งหมดจะทำให้เห็นว่าผู้ที่เจริญแนวทางนี้ได้อภิญญาอะไร ได้ฤทธิ์อะไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่ได้มานี้ ท่านเองมิได้ยึดติดถึอมั่นเลย แม้สิ่งดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ประเสริญกว่าอภิญญาข้ออื่นๆ ก็ตาม

ชีวิตของเรานั้นสั้นยิ่งนัก เราไม่รู้เลยว่าเราจะถึงกาลเจ็บตายเมื่อไร วิธีนี้เป็นแบบลัดสั้น เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาทำสมถะเสียก่อน เป็นวิธีที่มุ่งตรงแก่การเกิดปัญญากำจัดอาสวะ เป็นวิธีที่ทำให้เกิดพระอรหันต์มากที่สุดในสมัยพุทธกาล เพราะเป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยาก เพียงใช้สมาธิที่มีอยู่แล้วตามชีวิตประจำวันมาเริ่มได้เลย สติ-สมาธิ-ปัญญาก็พัฒนาควบคู่ไปพร้อมกันไป การปฏิบัติก็ไม่ต้องมีสถานที่สัปปายะอะไร ทำได้ทุกที่ทุกเวลา การปฏิบัติจึงดำเนินก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่องไม่ว่างเว้น

ลองปฏิบัติดูเถิดครับ อย่ารีรอ แล้วจะไม่เสียเวลาที่ลองเลย จะช้าอยู่ใย ผลจะเกิดขึ้นกับเราเอง ลองเทียบดูกับการปฏิบัติแบบอื่นๆ ที่ทำมาดูก็ได้ครับว่าระยะเวลาเท่ากันก้าวหน้ากว่ากันมากน้อยแค่ไหน ลองดูสัก 7 วันหรือ 1 เดือน แล้วคุณจะรู้ว่าเหมาะกับคุณหรือไม่ ถ้าคุณทำจริงๆ จังๆ แล้ว ผลย่อมเกิดขึ้นกับคุณเป็นแน่แท้ครับ เมื่อนั้นคุณจะเกิดศรัทธามั่นใจยิ่งๆ ทำให้เกิดความขยันทำยิ่งๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาท่านทั้งหลายนะครับ

คุณศิรัสพล
ผมค่อนข้างสนใจ และอยากจะเข้าใจมากกว่านี้
พอจะแสดงวิธีปฏิบัติได้ไหมครับ
หมายถึงในแง่ practical (ไม่รู้จะใช้ภาษาไทยคำไหนดี)
แบบว่า 1 2 3

เพราะเท่าที่คุยๆกันดูเหมือนจะเป็นหลักการซะมากกว่า
อยากทราบวิธีการครับ

:b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณคามินธรรมครับ

การที่ต้องคุยกันถึงทฤษฏี หรือหลักการ จะเรียกว่า ปริยัติ ก็ได้ ดังกล่าวไปข้างต้นทั้งหมดนั้น เพราะเห็นประโยชน์สามประการดังนี้

1. ปรับทิฐิ คือ การแสดงหลักการและเหตุผล เพื่อให้เห็นว่า "การพิจารณา" แท้จริงเป็นอย่างไร และการห้ามใช้คิดช่วยพิจารณาเป็น ความเห็นคลาดเคลื่อนอย่างไร โยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาโดยแยบคายมีประโยชน์อย่างไร ให้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไร การมีเจตนาปรับทิฐิก่อนนี้ เป็นการประยุกต์วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงดำเนิน ทรงใช้มาก่อนที่ปรับทิฐิ ความเห็นผิดของลัทธิศาสนาอื่นๆ

2. ปริยัติ หรือทฤษฏี หลักการเป็นสิ่งจำเป็น หากไม่มีปริยัติอย่างเพียงพอถูกต้องแล้ว อาจเกิดความลังเลสงสัย ทำให้ปฏิบัติไปอย่างผิดพลาด แต่หากได้ศึกษาปริยัติจนเพียงพอ ย่อมทำให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดความลังเลสงสัย สามารถมีตน มีธรรม เป็นที่พึ่งต่อไปเองได้

3. ศรัทธา คือ การสนทนาในกระทู้นี้ เพื่อให้เกิดศรัทธาแก่แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาด้วยโยนิโสมนสิการ หากปราศจากศรัทธาแล้วย่อมไม่ต้องการปฏิบัติเรียนรู้ หรือทำให้การปฏิบัติไม่ต่อเนื่องล้มเลิกเสียกลางทาง เพราะการตั้งอยู่ในอรหัตตผลมีศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญ หากขาดซึ่ง ศรัทธา รวมทั้งองค์ธรรมอื่นๆ ต่อไปนี้เป็นอันปฏิบัติผิด ดังนี้

Quote Tipitaka:
การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก
เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ
โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้
ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร? ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้
ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทน
ได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว
ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรม
ก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี
การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๑๐. กีฏาคิริสูตร


ณ ที่นี้ก่อนจะไปตอบคำถามของคุณ ที่เป็นรายละเอียดวิธีปฏิบัติจริงๆ ว่าทำอย่างไร ผมขอทิ้งท้ายในหลักการพร้อมไปกับเกริ่นนำว่าวิธีปฏิบัติต่อไปข้างหน้าว่าเป็นสมาธิชนิดที่ 4 จากสมาธิทั้งหมด 4 ชนิด และแตกต่างกับชนิดที่ 3 อย่างไรดังต่อไปนี้

Quote Tipitaka:
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนาอันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑ สมาธิภาวนา
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
. . . . . . . . . .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

. . . . . . . . . .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรหิตัสสวรรคที่ ๕ สมาธิสูตร


จากพระสูตรได้บอกถึงการเจริญสมาธิแบบที่ 3 กับแบบที่ 4 เอาไว้ การปฏิบัติแบบที่ 3 จะเป็นสมาธิที่มีวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งถึงว่าวิตก สัญญา เวทนาได้เกิดขึ้น ได้ตั้งอยู่ ได้ดับไป จะสังเกตเห็นคำว่า "รู้แจ้ง" อยู่ในวรรคนั้นๆ ฝึกไปแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ส่วนแบบที่ 4 จะเป็นการพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ของอุปทานขันธ์ 5 ซึ่งแบบที่ 4 นี่แหละเป็นสมาธิที่เรากำลังพูดถึงกัน ที่ใช้โยนิโสมนสิการช่วย ฝึกไปแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะครับ ทั้งสองแบบนี้แม้แตกต่างกันแต่ถูกต้องตรงตามพระพุทธเจ้าสอนครับ

เอาไว้ผมจะมาตอบเพิ่มต่อไปในภายหน้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรหิตัสสวรรคที่ ๕ สมาธิสูตร


ขอบคุณคุณศิรัสพลเช่นกันคัรบ ที่ยกธรรมมาพิจารณาได้น่าสนใจมากๆ

ในวิธีที่ 4 ที่เป้นไปเพื่อสิ้นอาสวะนี้
คำว่าการพิจารณานั้น น่าจะหมายถึงลงไปเฉพาะสิ่งเดียว คือ ไตรลักษณ์ กล่าวคือความเกิด และความดับ

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า การพิจารณานั้น เราใช้สิ่งใดพิจารณา
ระหว่างการขบคิด หรือการเฝ้ารู้ หรือส่วนประสมทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย
ผมสังเกตุ เอาไว้ดังนี้ครับ

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น อาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้
เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้
สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้
สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้
วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้



อย่างที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ว่า การพิจารณาขันธ์
ท่านบอกให้เรา้พิจารณาเห็นความเกิดดับของขันธ์นั้น

ดังัน้น วิธีการพิจารณานั้น ย่อมเป็นไปเพื่อทราบความเกิดดับของขันธ์ต่างๆ
เช่นความรู้เกิด รู้ว่าเกิด เมื่อตั้งอยู่รู้ว่าตั้งอยู่ และเมื่อดับไปรู้ว่าดับไป
การทำอย่างนี้ น่าจะเรียกว่าการครองสตินะครับ

แต่สติแค่ไหนระดับไหนกำลังแค่ไหน ก้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับสมรรถะนของสติ

ผมจึงมานึกว่า แนวที่คุณศิรัสพลยกมาให้พิจารณานี้
น่าจะเข้ากับท่านอาจารย์เหล่านี้ครับ (หมายถึงว่า ท่านเหล่านี้ มีแนวที่เน้นการเจริญสตินำหน้า)

- หลวงพ่อเทียน ที่สอนให้เอาสติไปจับกับความเคลื่อนไหว ( รูป-กายานุปัสนา)
ในระหว่างที่คอยกำหนดเอาสติไปจดจ่อกับร่างกายนี้ จิตใจของเรามันก้จะทำแบบเดิมๆ คือว่อกแวกออกไปตามทวารต่างๆ
ซึ่งก็เป้นการที่สติจะได้ระลึกรู้และคอยเอาสติไปจับความคิดความรู้สึกต่างๆ (เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาน)

- หลวงพ่อปราโมช อันนี้ท่นก้สอนให้ดูไปตรงๆที่จิตเลย ว่ามันแสดงเจตสิก ก็ให้ดูไตรลักษณืของเจตสิก
ท่านย้ำลงไปเลยว่า ต้องรู้ความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาที่ "มีสติเกิด" กับ "ไม่มีสติเกิด"
เช่นการมีสติทันความคิด หนาวก้รู้ว่าหนาว โกรธก้รู้ว่าโกรธ มีอะไรก้รู้อันนั้น ไม่เข้าไปบงการแทรกแทรงมัน


- หลวงพ่อชา อันนี้ท่านสอนทั้งสองแบบ ความจริงท่านไม่ตั้งข้อรังเกียจแนวทางใดเลย
แต่ท่านพยามเน้นเสมอว่า สติ ต้องมี ไม่ว่าจะออกจากสมาธิ หรือเข้าสมาธิ ต้องมีสติตลอดเวลา
กิน ยืน เดิน นั่ง นอน หรือเข้าสมาธิ ก้ต้องมีสติ


โดยสรุป ผมจึงตั้งข้อสังเกตุพระสูตรที่ยกมา ในเรื่องพิจารณาเพื่อความสิ้นอาสวะ (วิธีที่ 4)
ผมสังเกตุว่า
ผู้พิจารณาคือจิตที่มีสติ
สิ่งที่พิจารณาคือไตรลักษณ์
การที่เราทำดังนี้ คือความมีปัญญา

สติอย่างไร ก็ได้ปัญญาอย่างนั้น
ปัญญาอย่างไร ก็ได้สติอย่างนั้น



เมื่อหมั่นเจริญขึ้นไปให้มาก สติและปัยญาย่อมเจริญขึ้นตามลำดับจนนำไปสู่การสิ้นอาสวะ
ดังที่พระพุทธเจ้าให้ทิ้งท้ายในพระสูตรนี้ว่า
Quote Tipitaka:
.....
พ. สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
....


(สังเกตุว่าท่านใช้คำว่า ... ทำให้มาก...
หมายถึงว่า ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วได้ผล ต้องทำให้มาก ถึงได้ผล)

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร