วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 17:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2008, 20:19 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้คุยกันแบบสบายๆนะคะว่าท่านสมาชิกทุกท่านคิดว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับทุกท่านเป็นเพราะอะไรและทุกท่านมีวิธีแก้ไขอย่างไรในสิ่งทำให้ท่านเกิดความทุกข์ :b6: :b6: :b6:
สำหรับตัวpuyเองนะคะคิดว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวpuyนั้นเป็นเพราะบางครั้งตัวเองหลงไปในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทและเผลอไปจนขาดสติหลงไปคิดปรุงแต่งกับสิ่งที่มากระทบทางอายตนะ6และในบางครั้งยังมีตัวตัณหาและอุปาทานเข้ามามีบทบาทกับจิตบ้างแต่ก็รู้ทันและพยายามปล่อยวางส่วนวิธีแก้นั้นก็พยายามแก้ที่เหตุนะคะก็คือเมื่อมีรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสธรรมารมณ์เข้ามากระทบก็จะหยุดเวทนานั้นด้วยสติคือกำหนดรู้แล้ววางหรือบางครั้งก็พยายามทำความเข้าใจกับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นหรือถ้าทุกข์นั้นเกิดเพราะตัณหาก็หยุดที่ตัวตัณหานั้นก็มีความรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้มีความทุกข์น้อยลงไปมากเมื่อรู้จักคำว่าสติ
แล้วทุกท่านละคะคิดว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับท่านเป็นเพราะอะไรและท่านใช้วิธีแก้แบบไหนมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2008, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ ครับ


เรื่อง อริยสัจจ์สี่ ปฏิจจสมุปบาท และ สติปัฏฐาน เป็น ทางแห่งการพ้นทุกข์
พึงเสวนากันให้บ่อยๆ


ในสมัยพุทธกาล มีผู้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า

ทุกข์เกิดจากเหตุใดกันแน่

ระหว่าง

1.ทุกข์เกิดจากตนเองทำเอง
2.ทุกข์เกิดจากผู้อื่นทำให้
3.ทุกข์เกิดจากทั้งตนเองทำเอง และ ผู้อื่นทำให้
4.ทุกข์ไม่เกิดจากทั้งตนเองทำเอง หรือ ผู้อื่นทำให้ ...ทุกข์เกิดขึ้นเอง


พระพุทธองค์ ท่านตรัสเฉลยว่า ทุกข์เกิดจากผัสสะ

เพราะ คำกล่าวว่า ทุกข์เกิดจากผัสสะ ครอบคลุมประเด็นทั้งสี่ และ ชี้ไปถึง เหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง

Quote Tipitaka:
อัญญติตถิยสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =785&Z=930


คำว่า ผัสสะ นี้ หมายถึง ผัสสะจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เมื่อผัสสะนั้น ยังอยู่ในเงื่อนไขแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด(สมุทัยวาร)คือ จิตยังคงมีอวิชชาอยู่.... ผัสสะนั้น ย่อมนำไปสู่ทุกข์

หรือ จะกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
"ทุกข์จะไม่เกิด ถ้าไม่โง่(มีอวิชชา) เมื่อผัสสะ"



การมีสติสืบเนื่องในทุกผัสสะ... จิต"ไม่ไหลไปตาม"(จิตตั้งมั่นชอบ)เงื่อนไขแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด(สมุทัยวาร) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2008, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

การมีสติสืบเนื่องในทุกผัสสะ... จิต"ไม่ไหลไปตาม"(จิตตั้งมั่นชอบ)เงื่อนไขแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด(สมุทัยวาร) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้



ขอขยายความ เพิ่มสักเล็กน้อยน่ะครับ


จาก สัทธาสูตร

ศรัทธาที่เป็นใหญ่(สัทธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์)
ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์)
สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์)
สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ปัญญาที่เป็นใหญ่(ปัญญิณทรีย์)


Quote Tipitaka:
สัทธาสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=405601

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก
ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้
เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่า
อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่
เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความ
ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน.

[๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์


เมื่อจิตมีสติสืบเนื่อง เป็นมหาสติ (หรือ สตินทรีย์)... จิตย่อมตั้งมั่นไม่ไหลไปกับอารมณ์(เอกัคคตาจิต หรือ สมาธินทรีย์)สามารถเห็นสภาวธรรม ตามเป็นจริงได้.... ปัญญาดับทุกข์ที่แท้จริง(หรือ ปัญญิณทรีย์) จึงจะบังเกิดขึ้นได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2008, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระพุทธพจน์

ยสฺส เสลุปมํ จิตฺตํ ฐิตํ นานุปกมฺปติ
วิรตฺตํ รชนีเยสุ โกปเนยฺเย น กุปฺปติ
ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ กุโต ตํ ทุกฺขเมสฺสตีติ

จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน


ขุททกนิกาย อุทาน



เป็น พระพุทธพจน์ที่ไพเราะมาก


อาการ ที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
นี่คือ สภาะที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ นั่นเอง

จิต ที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
นี่คือ สภาะที่เรียกว่า เอกัคคตาจิต นั่นเอง

นึกถึง ครูบาอาจารย์ ท่านจะกล่าวไว้บ่อยๆว่า
อ้างคำพูด:
"ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ ...ไม่ต้องเอา ทั้งนั้น"


สภาวะจิตที่เป็นหนึ่ง เช่นนี้ จึงจะเป็นสภาวะจิตที่ปัญญาญาณสามารถเจริญงอกงามได้

สภาวะจิตเช่นนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการมีสติในทุกๆผัสสะ

สติ สมาธิ ปัญญา


ดังนั้น ถ้าผู้ใดปราถนาพ้นทุกข์ ก็ต้องมี วิริยินทรีย์ ในการเจริญสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 10:16 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุคะขอบคุณมากคะขออนุโมทนาบุญด้วยคะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: เจ้าคะ

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร