วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2025, 17:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2008, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้ปารภ ความเห็นให้ผมฟังว่า

ลังเลสงสัย ใน บุคคล ที่ตนเคารพอยู่... เพราะ ไม่แน่ใจเรื่องวัตรปฏิบัติ ของท่าน ???



ความลังเลสงสัยนี้... ถ้า เป็นความลังเลสงสัยในตัวบุคคล ก็ คงไม่เป็นไรมาก..
ความลังเลสงสัยในตัวบุคคล ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม...บางครั้ง ก็ช่วยให้เราไม่หลงทางตามผู้อื่นไปด้วยก็ได้ ใน กรณีที่ผู้อื่นเกิดเดินทางผิด

แต่ ถ้า ลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า ลังเสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่า ดีจริงไหม ดับทุกข์ได้จริงไหม มีผู้ปฏิบัติได้จริงไหม...
เขาเรียกว่า วิจิกิจฉา... ซึ่งนี่เป็น นิวรณ์ ถ่วงความเจริญทางธรรม



จะอย่างไรก็ตาม

อย่าเผลอให้ ความลังเลสงสัยในตัวบุคคล พาไปสู่ ความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า ลังเสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า เลย





ใน คห. ส่วนตัวของผม
คำว่า ศรัทธา ๆ ที่เราชาวพุทธใช้กันอยู่บ่อยๆ ในปัจจุบัน นั้น
มันมีสาระหลักๆ อยู่2อย่าง คือ
1.ศรัทธาในบุคคล
2.ศรัทธาในหลักสัจจธรรม



#ศรัทธาในตัวบุคคลนั้น ก็มีทั้งดี และ ไม่ดี

ศรัทธาในตัวบุคคลที่มีผลดี ก็เช่น ผู้ที่พบเห็นพระผู้ปฏิบติชอบ เห็น อาการอันสงบของท่าน จึงพาศึกษาและปฏิบัติตามท่าน ...อาศัยกำลังแห่งศรัทธานำร่อง จนพ้นทุกข์ในที่สุด(แต่ ก็ต้องประกอบด้วย อินทรีย์ อื่นๆ ตามมาด้วยน่ะ)

ศรัทธาในตัวบุคคลที่มีผลไม่ดี ก็เช่น พระเจ้าอชาตศัตรูที่หลงศรัทธาพระเทวทัตจนกระทำกรรมหนัก หรือ ภิกษุที่หลงศรัทธาพระเทวทัตจนไปร่วมทำสังฆเภทเข้า.

ศรัทธาในตัวบุคคล จึงต้องมีเหตุหลายๆอย่างมาประกอบ จึงจะดี... ถ้า เหตุไม่ประจวบเหมาะ เช่น ไปศรัทธาคนผิด ก็อาจจะเสียหายเอง...
ใน หนังสือ พุทธธรรม ที่ท่านอ้างอิงถึงคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล ท่านถึง กล่าวว่า ให้ถ่วงดุลย์ศรัทธาด้วยปัญญา... ซึ่ง ศรัทธาในกรณีเช่นนี้ น่าจะหมายเอา ศรัทธาในตัวบุคคล



#ศรัทธาในหลักสัจจธรรม ที่ถูกทาง ย่อมมีแต่ส่วนดีแน่นอน
(ถ้า ไม่หลงเข้าใจผิดในสัจจธรรรม เช่น ไปเห็นว่า อธรรมเป็นธรรม เข้า)

ในพระสูตรมีการกล่าวถึง

ศรัทธาที่เป็นใหญ่(สัทธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์)
ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์)
สติที่เป็นใหญ่(สตินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์)
สมาธิที่เป็นใหญ่(สมาธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ปัญญาที่เป็นใหญ่(ปัญญิณทรีย์)


สัทธาสูตร

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=405601

ศรัทธาที่เป็นใหญ่(สัทธินทรีย์) ย่อมยังให้บังเกิด ความเพียรที่เป็นใหญ่(วิริยินทรีย์).. คือ เพียรที่จะเจริญสติ จึงบังเกิด สตินทรีย์ ตามมา

เมื่อมีสตินทรีย์แล้ว จังบังเกิด สมาธินทรีย์ คือ ได้ เอกัคคตาจิต ตามมา (สังเกตุ ในพระสูตร ระบุคำว่า เอกัคคตาจิต )

เมื่อมี สมาธินทรีย์ ก็จะบังเกิดปัญญิณทรีย์ อันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในที่สุด...

ศรัทธาใน พระพุทธเจ้า และ หลักสัจจธรรม นี้ จึงพึงเจริญให้มาก...
เมื่อ ถึงจุดหนึ่ง ที่บังเกิด อจลศรัทธา คือ ไม่หวั่นไหว... ก็ จะละสังโยชน์ วิจิกิจฉา ได้ขาด
จะเป็นกำลังที่สำคัญที่จะ ทำให้มีความเพียรไม่ถอยหลัง และ บ่ายหน้าไปสู่พระนิพพานโดยฝ่ายเดียว
ที่ ท่านเรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน หรือ บรรลุโสดาบัน นั่นเอง



ก็ขอให้ทุกๆท่าน รวมทั้งผม... มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า และ หลัก สัจจธรรม แบบไม่หวั่นไหว ....ที่พา ไหลไปสู่พระนิพพานในที่สุด เทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


ปุจฉา ผมควรจะทำอย่างไรครับเมื่อผมสงสัย บางวันผมวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ หรือในความคืบหน้าของผม หรือ ในอาจารย์


วิสัชชนา ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมายจากความสงสัยนั้น

ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน
นั่นคือ อย่าตกเป็นเหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด

แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัยนั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออกจากความสงสัย และจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร

จงปล่อยวางสิ่งต่างๆที่ท่านยึดมั่นอยู่ ปล่อยวางความสงสัยของท่าน และ เพียงแต่เฝ้าดู

นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2008, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน มหาสติปัฏฐานสูตร

ธัมมานุปัสสนา นิวรณบรรพ


ท่านกล่าวถึง การ พิจารณาถึง นิวรณ์ที่อยู่ในใจตน


ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

นีวรณบรรพ.

[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕

ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์๕ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มีอยู่
ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด ประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย


ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่.





วิจิกิจฉา ก็ เป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง ...
และก็ เป็นสังโยชน์ในกลุ่มแรก ที่บุคคลจะพ้นทุกข์ได้ ต้องสามารถผ่านไปได้

(ปล...
ความเห็นส่วนตัว
คำว่า ผ่านวิจิกิจฉาไปได้ อาจจะ "ไม่ตรงกันทุกประการ" กับ การบังคับให้วิจิกิจฉา ไม่เกิดขึ้นในใจ )


จากพระสูตรนี้ เสมือนเป็นการย้อนใช้นิวรณ์ มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน



หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย

ท่านเคยกล่าวถึง การใช้กิเลสมาเป็นเครื่องมือของจิต ไว้อย่างน่าสนใจ

เห็นว่า น่าสนใจ และ อาจมีประโยชน์กับทุกท่าน


ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย

เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็น สตินนทรีย์

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ

เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย

ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย..... สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2008, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีเรื่องจะเล่าให้ฟังนะคับ

ผมเคยมีโอกาสบวชในชนบทระยะหนึ่ง
ทำให้เห็นความแตกต่างอย่างมากมายระหว่างศรัทธาในแบบคนเมือง
กับศรัทธาแบบชนบท

ชาวเมืองเป้นอย่างไร เราๆท่านๆคงทราบกันดีนะคับ
แต่ชาวชนบทนั้น เขามีศรัทธามาก มีศรัทธานำ

เวลาเขาทำบุญ ไม่ว่ามันจะเป็นประเพณีเฉพาะถิ่น หรือประเพณที่ดูีแปลกๆสำหรับชาวเมือง
แต่ชาวชนบทไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในการทำบุญกุศล
จิตเขาเป็นบุญกุศลล้วนๆ

ตอนแรกผมคิดว่าพวกเขาโง่จังเลย ทำอะไรแปลกๆ
แต่ต่อมาผมเข้าใจเรื่องบุญบาป กุศลจิต อกุศลจิต ปฏิสนธิจิต
ผมกลับพบว่าชาวชนบทนี้บุญเยอะจริงๆ


การมีศรัทธานำนี้ก็ดีนะครับ
ยิ่งถ้าพบครูอาจารย์ดีๆ ผู้นำทางจิตใจที่ดีมีความรู้ถูกต้อง
ศรัทธาแบบนี้แหละ ที่จะเจริญธรรมได้ดี ได้ไว
ไม่เสียเวลากับความคิดลังเลสงสัยอยากรู้อยากเห็นต่างๆ

อย่างที่เราเห็นกันอยู่ว่า บางคนที่ยึดติดกับความคิด
สร้างความคิดขึ้นมาแล้วก็เข้าครอบครองว่าความคิดนั้นเป็นจริงมีจริง
มันถ่วงเวลาเขาได้ทั้งชีวิต
ร้ายไปกว่านั้นคือ
ถ้าพวกเขาเหล่านี้ มีพลังอำนาจในการสื่อสารความคิด
ความคิดของเขามันก็เหมือนเชื้อโรคร้ายที่จะแพร่กระจายได้

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคุณคามิน
[b]"การมีศรัทธานำนี้ก็ดีนะครับ
ยิ่งถ้าพบครูอาจารย์ดีๆ ผู้นำทางจิตใจที่ดีมีความรู้ถูกต้อง
ศรัทธาแบบนี้แหละ ที่จะเจริญธรรมได้ดี ได้ไว"
[/b]
....ชัดเจนค่ะ....... :b8:

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรัทธา สติ วิริยะสมาธิ ปัญญา ควร ทำ นำ ให้ครบครับ
บ่อเกิดแห่งมรรค ด้วย สติ........ไม่ให้โมหะครอบงำ

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร