วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 60, 61, 62, 63, 64, 65, 66 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สัมมามรรค มิจฉามรรค ชื่อว่าเป็นธรรมคู่
ผู้ที่ตั้งอยู่ในสัมมาภูมิ ย่อมไม่เกิดวิกัลปะว่านี่เป็นสัมมามรรค นั่นเป็นมิจฉามรรค
ผู้ใดพ้นจากธรรมคู่นี้ไปได้ จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร"

"สัตย์กับอสัตย์ ชื่อว่าเป็นธรรมคู่
ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริง ย่อมไม่เกิดทิฐิ ว่านี้มีสภาวะจริง
จักป่วยกล่าวไปใย กับที่จักเกิดทิฐิว่านี้เป็นสภาวะเท็จเล่า ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ?
ก็เพราะว่าอันความรู้แจ้งเห็นจริงนั้น ย่อมมิได้เห็นด้วยมังสจักษุ แต่เห็นได้ด้วยปัญญาจักษุเท่านั้น
แลปัญญาจักษุนี้เล่า ย่อมไม่มีการเห็นหรือไม่เห็น* จึงชื่อว่าเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวาร"
(* หมายความว่า สรรพธรรมเป็นศูนยตา จึงไม่มีการเห็นหรือไม่เห็นใดๆ เพราะเห็นก็ศูนยตา ไม่เห็นก็ศูนยตา ปัญญาจักษุเห็นแจ้งในพระนิพพานซึ่งเป็นศูนยตาอีกเหมือนกัน)

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ต่างก็ได้แสดงทัศนะของแต่ละท่านออกมาด้วยประการฉะนี้ และแล้วที่ประชุมนั้นจึงพากันปุจฉาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ขึ้นว่า

"ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ก็พระโพธิสัตว์ผู้เข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถีนั้น เป็นประการฉันใดหนอ?"

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ วิสัชนาว่า

"ตามมติของกระผม ในธรรมทั้งหลาย เมื่อปราศจากคำพูด ปราศจากโวหาร
ปราศจากการแสดง ปราศจากความคิดรู้คำนึง
พ้นจากการปุจฉาวิสัชนา นั่นคือเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถี"

ลาดับนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า

“ดูก่อนท่านคฤหบดี พวกอาตมะทั้งปวงต่างก็ได้เฉลยพจน์ของตนแล้ว บัดนี้เป็นวาระของท่านจักพึงเฉลยบ้าง โดยประการฉันใดหนา พระโพธิสัตว์จึงเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถี”

ครั้งนั้นแล ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี ได้สงบนิ่งปราศจากด้วยวจนะใดๆ

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงเปล่งสาธุการขึ้นว่า

“สาธุ!! สาธุ!! เมื่อปราศจากอักขรโวหารวจนบัญญัติใดๆ จึงนับว่าเป็นการเข้าสู่อไทฺวตธรรมทวารวิถีโดยแท้จริงทีเดียว"


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโน๊ตสำหรับข้อความในพระสูตรด้านบนไว้ตรงนี้นิดนึงนะครับว่า :b1: :b46: :b39: :b46:

การสงบนิ่งโดยไม่เปล่งวาจาใดๆดังเช่นท่านวิมลเกียรติหรือท่านเอก้าในเรื่องเซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก กระทำให้ดูเพื่อแสดงธรรมในระดับโลกุตระนั้น :b46: :b47: :b46:

ถ้าเป็นแค่การยืนนิ่งเฉยๆ แต่ภายในจิตใจยังว้าวุ่นครุ่นคิด ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่า เป็นการแสดงโลกุตรธรรมที่แท้จริงไปได้ :b46: :b47: :b46:

การแสดงโลกุตรธรรมที่แท้จริงให้ผู้อื่นดู "โดยปรมัตถ์" นั้น จะต้องเป็นการสื่อด้วยการแสดงออกถึงอาการอันพ้นจากการปรุงแต่งแล้วทั้งปวงในสามส่วน :b46: :b44: :b39:

คือพ้นจากการปรุงแต่งใน วจีสังขาร กายสังขาร และ จิตตสังขาร เรียงลำดับตามความยากง่ายในการดับ ให้สงบระงับลงไปของกิเลสและกองทุกข์ด้วยโลกุตรธรรม โดยยังมีธาตุขันธ์เหลืออยู่ (คือในขั้นสอุปาทิเสสนิพพาน)
:b46: :b39: :b46:

ซึ่งในวจีสังขาร กับกายสังขารนั้น ปุถุชนคนธรรมดาก็อาจจะแสดงออกให้สงบระงับได้ชั่วคราว เช่นขณะเข้าฌานสมาบัติ (ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องนั่งทำสมาธิหลับตา คือถ้ามีความชำนาญหรือวสีพอ แค่ยืนลืมตาแล้วมนสิการเพียงอึดใจก็สามารถทำได้แล้ว) :b46: :b47: :b46:

โดยผู้ดู สามารถรับรู้ในการระงับสังขารทั้งสองของผู้แสดงได้โดยง่ายผ่านประสาท ๕ :b48: :b49: :b48:

แต่สำหรับจิตตสังขารนั้น ผู้ดู ไม่สามารถรับรู้การระงับลงไปในจิตตสังขารของผู้แสดงได้ด้วยประสาท ๕ :b49: :b50: :b49:

หรือแม้แต่จะใช้ประสาทที่ ๖ คือใจในการดู ก็จะจำกัดการรับรู้ได้เฉพาะผู้ที่มีทิพยจักษุญาณอันเป็นเลิศเช่นพระบรมครูหรือพระอนุรุทธเถระเท่านั้น :b8: :b46: :b44:

ซึ่งสำหรับจิตตสังขารนั้น จะสงบระงับได้อย่างแท้จริงในระดับโลกุตระ ก็ต่อเมื่อผู้แสดงให้ดูนั้น เข้าผลสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ (เป็นการจำลองของการดับกิเลสทั้งหลายลงด้วยโลกุตรธรรมในระดับสอุปาทิเสสนิพพาน) :b46: :b39: :b46:

หรือเข้านิโรธสมาบัติ ที่มีการดับลงของสัญญาแลเวทนาเท่านั้น (โดยเป็นการจำลองของการดับกิเลสทั้งหลายลงด้วยโลกุตรธรรมในระดับอนุปาทิเสสนิพพาน)
:b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสำหรับผลสมาบัติที่แสดงได้ง่ายกว่าและไม่จำเป็นต้องหลับตา ถ้าเป็นผู้ที่ชำนาญในการเข้าผลสมาบัติดีแล้ว ไม่ต้องไล่ดับวจีสังขารและกายสังขาร :b46: :b47: :b46:

แค่พุ่งเป้าเข้าไปดับเพียงแค่จิตตสังขาร ก็ทำให้สังขารทั้งสามดับลงไปพร้อมกันในคราวเดียว :b46: :b39: :b46:

โดยผู้ปฏิบัติ เพียงแค่มนสิการในศูนยตา หรือปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่เคยทำให้แจ้งแล้ว เพื่อสลัดคืนจิตกลับสู่ธรรม :b46: :b47: :b46:

เพียงแค่อึดใจเดียว จิตที่รวมอยู่ที่ฐาน ก็จะค่อยๆเบ่งบาน จนกระทั่งแผ่กระจายออกไปเต็มในทุกอณูของสสาร ทุกอณูของกาล ทุกอณูของอวกาศ ทุกอณูของสามแดนโลกธาตุ ไม่ว่ารูปไม่ว่านาม ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ :b46: :b39: :b41:

อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ ของการสลัดคืนจิตกลับสู่ธรรมธาตุดั้งเดิมของเขาเอง :b46: :b39: :b46:


(สำหรับผู้ปฏิบัติที่ฝึกเข้าผลสมาบัติใหม่ๆ จิตจะรวมแล้วกระจายออกในพรึบเดียว :b46: :b47: :b46:

แต่สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้วในระดับของผลสมาบัติที่สูงขึ้นไป กำลังของสติและสมาธิที่แข็งแรงขึ้น จะทำการ "หน่วง" เวลาของจิตให้เดินช้าลงโดยสัมพัทธ์ จนจิตสามารถเห็นพัฒนาการของจิตเอง ในการที่จะค่อยๆเบ่งค่อยๆบานจนกระทั่งกระจายออกไปอย่างนิ่มนวลจนเต็มโลกธาตุ ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ .. :b46: :b39: :b46:

รายละเอียดตรงนี้จะไปขยายความอีกทีเมื่อเรียบเรียงถึงการเข้าผลสมาบัติในช่วงอธิจิตตสิกขา และอานาปานสติขั้นที่ ๑๖ ในช่วงอธิปัญญาสิกขานะครับ) :b1: :b46: :b39:

และนี่คือการแสดงโลกุตรธรรมโดยปรมัตถ์ ให้ผู้อื่นดูจากของจริงโดยที่ไม่ผ่านบัญญัติใดๆ ซึ่งจำกัดเฉพาะแต่ผู้ที่เข้าผลสมาบัติ และผู้ที่มีตาปัญญาระดับทิพยจักษุญาณเท่านั้น จึงจะเห็นวาระของโลกุตรจิตที่ดำเนินไปได้อย่างแจ่มแจ้ง :b46: :b39: :b46:

ครั้งนี้ขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ เพราะเกรงว่าจะยาวเกินไปแล้วทำให้อ่านยาก ย่อยยาก :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แรม ๕ ค่ำเดือน ๘ หลังวันอาสาฬหปุณณมี ๕ วัน เมื่อ ๒๖๐๒ ปีที่แล้ว
ณ. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ..


ขอนอบน้อมแด่พระบรมครู ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน :b8: :b8: :b8:

แนบไฟล์:
อนัตตลักขณสูตร.jpg
อนัตตลักขณสูตร.jpg [ 133.72 KiB | เปิดดู 4071 ครั้ง ]


บทว่า ปญฺจวคฺคิเย ได้แก่ นักบวช ๕ รูปมีพระอัญญาโกณฑัญญเถระเป็นต้น ซึ่งเป็นอุปัฏฐากเดิม.

บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า วันแรม ๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลตามลำดับ ตั้งแต่ทรงประกาศธรรมจักรในวันอาสาฬหปุณณมีว่า

บัดนี้เราจักแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอทั้งหลาย ...


http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=127

..................................................

อนัตตลักขณสูตร .. ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุเบญจวัคคีย์ ฯลฯ แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ มิใช่ตัวตน.

ก็หากว่ารูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ นี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ นี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ

ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาใน รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ว่า

ขอรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


ก็เพราะเหตุที่รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ มิใช่ตัวตน

ฉะนั้นรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ว่า

ขอรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ เที่ยง หรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป .. แม้ในเวทนา .. แม้ในสัญญา .. แม้ในสังขาร .. แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสอนัตตลักขณสูตรนี้ จบลงแล้ว ภิกษุเบญจวัคคีย์ต่างมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น.


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1472&Z=1535&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับการเกิดของอนิจจังนี้ จะมีการปลดปล่อยพลังออกมาในลักษณะเวทนา สัญญา สังขาร โดยเฉพาะสังขารนี้ถึงแม้จะเป็นลักษณะของนาม(อนุสัย) เช่น อารมณ์อึดอัด บีบคั้น นั้น ขณะคลายออกจะมีการคลายของอาสวะ เช่น ความชา ร้อน เจ็บ คัน ร่วมด้วย ซึ่งขณะนั้นจะเกิดจุดรู้ 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นกรรมฐานเดิม ได้แก่ ลมหายใจ และส่วนที่เป็นอนุสัย อาสวะ ซึ่งธรรมชาติของจิตจะรับรู้ได้เป็นขณะเพียงส่วนเดียว
ดังนั้น ขณะกำลังรู้กรรมฐานลมหายใจเข้าออก แล้วเกิดอารมณ์อึดอัด บีบคั้น หรือความชา ร้อน เจ็บ คัน
เกิดขึ้น จึงละการรู้ลมหายใจเข้าออก มารู้อารมณ์อึดอัด บีบคั้น หรือความชา ร้อน เจ็บ คัน (ทุกขัง)แทน จะทำให้เกิดการคลาย ละ วางสิ่งร้อนออกไปอย่างรวดเร็ว
การรู้หากสภาวเกิดขึ้นหลายอย่างก็ให้รู้รวมๆ
หากไม่ต้องสนใจอาการเหล่านี้ แต่รู้ลมหายใจเข้าออก ทำได้หรือไม่ คำตอบคือได้ แต่มีความต่างคือการรู้ลมหายใจในขณะนั้นยังเป็นความจริงที่เราสนใจ นั่นหมายถึงยังอิงตัวตนมากกว่า สำหรับการรู้อารมณ์อึดอัด บีบคั้น หรือความชา ร้อน เจ็บ คันที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการรู้ความจริงของรูปนามตามธรรมชาติที่กำลังแสดงอนิจจังที่ส่งผลให้เกิดทุกขังและจะเป็นไปเพื่ออนัตตาต่อไป คือการเห็นไตรลักษณ์ตลอดสาย ซึ่งหากเห็นและเดินบนเส้นทางนี้ มรรค 8 ก็จะสมบูรณ์


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.ค. 2014, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ถึงสภาพไตรลักษณ์นี้ จะมีลักษณะหมุนวนต่อเนื่องกัน กล่าวคือรู้อาการรูปนามเมื่อรูปนามเกิดดับ(อนิจจัง)จะปลดปล่อยความร้อน อึดอัด(ทุกขัง)แล้วสลายไป(อนัตตา) แล้วจึงเริ่มรู้อาการรูปนามใหม่เป็นสภาวะลูกโซ่ แต่เนื่องจากผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะไม่ละเอียดพอ อาจไม่ทันสังเกตสภาพทุกขัง(กลาง) แต่จะรู้สภาพอนิจจัง(ต้น)และอนัตตา(ปลาย) ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปรับอินทรีย์ บางขณะสติอ่อนลงจิตตกลงไปสัมสนญาณ จึงเกิดนิมิต หรือรูปนามแสดงอาการของปิติมีการโยก เอน ยึด หด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุปกิเลส 10 แต่พอสติรู้เท่าทันอาการเหล่านี้ จิตก็จะเคลื่อนขึ้นไปอุทพยญาณอีกครั้ง เริ่มพบความเกิดดับอีกอาการต่างๆสงบลง


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 18:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติในช่วงนี้จึงต้องรักษาอารมณ์ ไม่รับอารมณ์จากภายนอกเพิ่ม คือไม่พูดคุยโดยไม่จำเป็น สิ่งที่เรียกสภาวธรรม มีทั้งส่วนที่เป็นผล คืออาการที่รูปนามแสดง และส่วนที่เป็นเหตุ คือพละ 5 โดยอาการที่รูปนามแสดง ที่เรียกว่าญาณนั้น คือการคลายออกแล้ว คือผลของสติและสัมปชัญญะที่ดำเนินไป ทำให้รูปนามแสดงอาการที่คลายออกของทุกขัง ได้แก่ความกลัว ความเบื่อหน่าย ความทุรนทุราย ซึ่งสิ่งนี้ คืออนุสัย และอาสวะที่คลายออกมา แต่หากสติและสัมปชัญญะขาดวิปัสสนาญาณตกลง อาการของ อุปกิเลส 10ก็จะปรากฏขึ้นอีก จึงกล่าวได้ว่ามีการเคลื่อนขึ้นลงของวิปัสสนาญาณ



โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ค. 2014, 18:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติในช่วงนี้จึงต้องรักษาอารมณ์ ไม่รับอารมณ์จากภายนอกเพิ่ม คือไม่พูดคุยโดยไม่จำเป็น สิ่งที่เรียกสภาวธรรม มีทั้งส่วนที่เป็นผล คืออาการที่รูปนามแสดง และส่วนที่เป็นเหตุ คือพละ 5 โดยอาการที่รูปนามแสดง ที่เรียกว่าญาณนั้น คือการคลายออกแล้ว คือผลของสติและสัมปชัญญะที่ดำเนินไป ทำให้รูปนามแสดงอาการที่คลายออกของทุกขัง ได้แก่ความกลัว ความเบื่อหน่าย ความทุรนทุราย ซึ่งสิ่งนี้ คืออนุสัย และอาสวะที่คลายออกมา แต่หากสติและสัมปชัญญะขาดวิปัสสนาญาณตกลง อาการของ อุปกิเลส 10ก็จะปรากฏขึ้นอีก จึงกล่าวได้ว่ามีการเคลื่อนขึ้นลงของวิปัสสนาญาณ


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เนื่องจากเห็นข้อมูลบางส่วนกลับมาไม่ครบหลังจากผู้รับฝาก server ทำการย้ายเครื่องเสร็จนะครับ เลยขอเอาที่หายไปกลับมาโพสท์ใหม่เพื่อความต่อเนื่องของเนื้อหา :b1: )

ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ในคราวที่แล้วเนื่องด้วยโอกาสอันประจวบเหมาะพอดีกับเนื้อหาที่กำลังว่าด้วยเรื่องของศูนยตาในพระสูตรฝั่งมหายาน :b46: :b47: :b46:

วิสุทธิปาละเลยขอโอกาสแทรกพระสูตรที่ว่าด้วยลักษณะของอนัตตา ซึ่งก็คืออนัตตลักขณสูตร ที่พระบรมครูทรงแสดงให้องค์ภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ในวันแรม ๕ ค่ำเดือน ๘ เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว หลังจากทรงเริ่มหมุนกงล้อธรรมจักรด้วยการแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรให้แก่เหล่าท่านปัญจวัคคีย์ในคืนวันอาสาฬหปุณณมีล่วงไปได้ ๕ วัน :b8: :b46: :b44:

ก็เนื่องด้วยในอดีตกาลของวันนั้น เป็นวันที่พระบรมครูทรงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะให้แก่เหล่าท่านพระโสดาบันปัญจวัคคีย์ ก็เพื่อให้ท่านเหล่านั้นมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ "เพราะไม่ถือมั่น" :b49: :b50: :b41:

ซึ่งถ้าหากนักปฏิบัติได้ศึกษาพระสูตรนี้อย่างลึกซึ้ง :b46: :b39: :b46:

ก็จะเกิดความซาบซึ้งได้ถึงคำสอนผ่าน "วิธีการแสดงธรรม" อันน่าอัศจรรย์ หรืออนุสาสนีปาฏิหาริย์ จากพระมหาปัญญาและพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมครู ที่ทรงรู้ว่าจะต้องสอนต้องแสดงธรรมอะไร อย่างไร กับใคร ที่ไหน และเมื่อไร :b47: :b48: :b49:

ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการ "เคาะ" สิ่งที่ยังหลงเหลือ ที่ยังติดข้องอยู่ในจิตของเหล่าท่านปัญจวัคคีย์ ให้หลุดร่วงลงไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ :b46: :b47: :b46:

และเป็นการหลุดพ้นในแบบ "ฉับพลันทันที" จากโสดาบันสู่พระอรหันต์ ก่อนที่พระบรมครูจะทรงแสดงธรรมจบเสียด้วยซ้ำนะครับ
:b1: :b46: :b39:

(ตามคำในตอนท้ายพระสูตรที่ว่า "ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น") :b49: :b55: :b50:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์กระบวนการในการชี้ช่อง ค่อยๆโน้ม ค่อยๆน้าว ค่อยๆชัก ค่อยๆจูง ให้จิตของผู้ฟังเข้าสู่คลองของธรรม จนที่สุดเกิดปัญญาคล้อยตามสัจจธรรม (สัจจานุโลมิกญาณ) ของพระบรมครูแล้วละก็ :b46: :b39: :b46:

ทรงเริ่มต้นด้วยการเทศน์ปูพื้นถึงความเป็นจริงแห่งขันธ์ เพื่อนำทางจิตวิญญาณของผู้ฟังให้ไปสู่ความเหมาะสม ควรค่าแก่การงานในเรื่องที่กำลังจะแสดงดังกล่าวเสียก่อนในลำดับแรก ด้วยข้อความในส่วนต้นที่ว่า :b46: :b39: :b46:

(ขอรวบมาแบบย่อนะครับ เนื้อหาเต็มแบบละเอียดเข้าไปดูได้ที่ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1472&Z=1535&pagebreak=0)

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ มิใช่ตัวตน.

ก็หากว่ารูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ นี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ นี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ

ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาใน รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ว่า

ขอรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


ก็เพราะเหตุที่รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ มิใช่ตัวตน

ฉะนั้นรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ว่า

ขอรูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย."


ซึ่งก็คือการแจกแจงลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ระหว่างอัตตา คืออาการอันปรากฏตัวตน กับอนัตตา คืออาการอันไม่ปรากฏตัวตนในขันธ์ และชี้ให้เห็นว่า ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา :b46: :b42: :b46:

ด้วยเหตุเพราะว่า แท้จริงแล้วอัตตาไม่เคยปรากฏมีมาแต่ไหนแต่ไร เป็นเพียงแค่ความเข้าใจที่ผิด หรือมิจฉาทิฏฐิของจิต ดังนั้น ขันธ์ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกจึงมีความเสื่อม และไม่ได้ดังปราถนา


(ซึ่งตรงนี้ยังไม่ต้องการใช้เวลาแจกแจงไปถึงบางคติ ที่ตีความด้วยตรรกะในคำเทศน์ท่อนนี้ผิดไปว่า นิพพานเป็นอัตตา มิใช่อนัตตานะครับ เดี๋ยวเนื้อหาจะยาวเกินไปไม่ต่อเนื่อง ไว้ว่างๆแล้วจะย้อนกลับมาอธิบายอีกทีว่า ทำไมนิพพานถึงมีลักษณะของอนัตตา และทำไมองค์หลวงตาบัวท่านจึงว่า นิพพานไม่เป็นทั้งอัตตาและอนัตตา) :b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อจิตใจของผู้ฟังควรค่าแก่การงานดีแล้ว จึงทรงตั้งคำถามเพื่อชักนำให้เห็นแง่มุมของสัจจธรรมแห่งขันธ์ต่อ ก็เพื่อให้ผู้ฟังตอบตามที่จิตเห็นและเป็นจริง :b46: :b39: :b46:

โดยเป็นการไล่ลำดับความเข้มข้นในการเห็นแจ้งและเข้าใจในขันธ์ เพื่อ "ตอกย้ำ" ลงไปด้วยคำตอบจากตัวผู้ฟังนั้นเอง จนผู้ฟังเกิดปัญญาคล้อยตามสัจจธรรมตามที่จิตเห็นและเป็นจริงของขันธ์ในส่วนที่สอง :b46: :b47: :b46:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ เที่ยง หรือไม่เที่ยง?

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า."


เมื่อเมื่อจิตผู้ฟังคล้อยตามสัจจธรรมแล้ว (ซึ่งด้วยข้อธรรมที่ลึกซึ้งถึงใจ ภายใต้บรรยากาศการฟังเทศน์ต่อหน้าพระบรมครู ณ.ที่ตรงนั้น อาจมีบางองค์ที่ข้ามโคตรเป็นพระอรหันต์เมื่อทรงจบการเทศน์ในส่วนที่สองนี้แล้วด้วยซ้ำนะครับ) :b8: :b46: :b39:

จึงทรงสรุปย้ำตบท้าย จนผู้ฟังเกิดอาการ "ปิ๊ง" สว่างแจ้งขึ้นในจิต เห็นธรรมตามจริง "ด้วยตนเอง" กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบฉับพลันชนิด "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" ในระหว่างการแสดงธรรมนั้นนั่นเอง ด้วยข้อความในส่วนสุดท้ายที่ว่า
:b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป .. แม้ในเวทนา .. แม้ในสัญญา .. แม้ในสังขาร .. แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."


เป็นการสรุปรวบยอดที่ลึกซึ้งที่สุด สวยงามที่สุดพระสูตรหนึ่งเลยทีเดียว :b8: :b46: :b44:

ทำให้นึกถึงคำอุทานที่ผู้ฟังธรรมโดยตรงจากพระบรมครูในสมัยนั้น มักจะกล่าวอย่างติดปากกันเพื่อเปรียบเทียบ หลังจากที่พระบรมครูทรงแสดงธรรมจบว่า :b46: :b47: :b46:

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป" :b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และสำหรับนักปฏิบัติที่ซาบซึ้งเห็นผลในรสพระธรรมมาบ้างแล้ว :b46: :b39: :b46:

จะสามารถจินตนาการได้ถึงบรรยากาศในวันนั้นอย่างมีความรู้สึกร่วมในเนื้อหาข้อธรรม ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาอันลึกซึ้งในมุมมองต่อโลกตามความเป็นจริง :b46: :b47: :b46:

รวมถึงเกิดปีติศรัทธาขึ้นได้อย่างมากมายในพระมหาปัญญา และพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมครู แบบน้ำตาร่วงด้วยธรรมปีติในระหว่างอ่านพระสูตรนี้กันแบบซาบซึ้งถึงใจเลยทีเดียวนะครับว่า ทำไมท่านพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จึงสามารถหลุดพ้นไปได้ภายในเพียงชั่วไม่กี่ประโยคของการแสดงธรรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหาปัญญา และพระมหากรุณาในคราวนั้น
:b8: :b46: :b44:

(แต่ที่นักปฏิบัติยุคหลังยังไม่อาจหลุดพ้นเพียงด้วยการอ่านพระสูตรนี้ได้เหมือนอย่างที่ท่านพระปัญจวัคคีย์หลุดพ้นเพียงด้วยการฟังเทศน์ต่อหน้าพระบรมครู ก็เนื่องด้วยนักปฏิบัตินั้นไม่ได้ฟังพระสูตรนี้โดยตรงจากพระบรมครูผู้ทรงรู้วาระจิตของผู้ฟังว่าจะแสดงธรรมอะไรอย่างไร จนเกิดพลังแห่งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาขึ้นอย่างแรงกล้าพอเพียง :b46: :b47: :b46:

อีกทั้งสภาวะจิตของนักปฏิบัติขณะอ่านข้อความแสดงธรรมนี้ ยังไม่มีความเหมาะสมควรค่าแก่การงานเพียงพอ บารมีที่สะสมมายังไม่พอเพียงต่อการตัดเยื่อตัดใย ตัดอาลัยในขันธ์เพื่อบรรลุธรรมในขั้นสุดท้าย :b48: :b49: :b50:

จึงทำได้อย่างมากก็เพียงแค่ไปถึงขอบๆของสัจจานุโลมิกญาณ จนเกิดความปลาบปลื้มปีติซาบซึ้งถึงใจในรสพระธรรมสำหรับทุกครั้งที่ได้อ่าน แต่แล้วก็ถอยลงมาใหม่ไม่สามารถข้ามโคตรไปโคตรภูญาณของระดับอรหัตมรรคอรหัตตผลเหมือนท่านปัญจวัคคีย์ได้นะครับ) :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคำสำคัญหรือ key words ที่พระบรมครูทรงเน้นย้ำอยู่หลายต่อหลายรอบในการแสดงธรรมครั้งนั้น ได้แก่ท่อนสำคัญที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดี และเป็นพุทธพจน์ที่กระจายอยู่หลายที่ในพระไตรปิฎก ก็คือ :b8: :b46: :b44:

"นั่น (คือขันธ์ทั้ง ๕) ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม - เนตัง มะมะ)

นั่นไม่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ - เนโสหะมัสมิ)

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตาติ - นะ เมโส อัตตาติ)"


แล้วทำไม่ท่านถึงเทศน์ย้ำๆในประโยคเหล่านี้ ให้กับเหล่าท่านปัญจวัคคีย์ซึ่งบรรลุโสดาบันละสักกายทิฏฐิลงได้แล้ว :b46: :b47: :b46:

คือท่านปัญจวัคคีย์เหล่านั้น "ไม่เห็นขันธ์โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีขันธ์ ไม่เห็นขันธ์ในตน ไม่เห็นตนในขันธ์" แล้ว แต่ทำไมถึงต้องมาแสดงธรรมในส่วนที่ดูเหมือนว่าท่านเหล่านั้น รู้แจ้งแก่ใจดีอยู่แล้วกันอีก :b48: :b47: :b48:

เหตุผลก็คือ ถึงแม้ว่าพระอริยะในระดับโสดาบัน จะสามารถ "ละความเห็นผิด" ในขันธ์ :b47: :b48: :b49:

คือมีความเห็นถูกแล้วว่า ขันธ์ไม่เป็นตน ไม่มีตนในขันธ์ :b50: :b51: :b50:

แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถ "ละความยึดติด" ในขันธ์ลงไปได้ :b49: :b48: :b51:

คือแม้จะไม่เห็นขันธ์ว่าเป็นตนแล้ว แต่ยังมีอาการละห้อย โหยหา ด้วยความ "อาลัย" ในขันธ์คงค้างอยู่เป็นตะกอนของจิต
:b46: :b47: :b42:

(คำว่า "อาลัย" นี้ รากศัพท์ทางบาลีคือ อา (ทั่ว, ยิ่ง) + ลี/ลย (ยึดติด) เป็น อาลยะ อาลโย แปลว่า ห่วงใย, พัวพัน, ติดอยู่, มีเยื่อใย, ยึดอยาก "อยู่ทั่วไป (ในขันธ์) - ด้วยอาการอันยิ่ง" :b49: :b48: :b47:

คืออาการที่จิต คงติดค้างด้วยอาการยึดอยู่ ตัดใจทิ้งหรือปล่อยวางขันธ์ลงไปไม่ได้ ด้วยยังเหลือเยื่อใยในขันธ์ อันได้แก่ตัณหาในสุขโสมนัสเวทนาขันธ์เป็นต้น นั่นเอง) :b50: :b49: :b51:

และความอาลัยในขันธ์นี้เอง (ซึ่งเป็นอาการแสดงออกของตัณหาในเวทนาขันธ์ส่วนสุขโสมนัส (ติดสุข) ซึ่งเป็นกิเลสหยาบส่วนสังโยชน์เบื้องต่ำ หรือตัณหาในสังขารขันธ์ส่วนอาเนญชาภิสังขาร (ติดฌาน) และปุญญาภิสังขาร (ติดดี) ซึ่งเป็นกิเลสละเอียดส่วนสังโยชน์เบื้องสูง) :b49: :b50: :b55:

ที่ทำให้อริยบุคคลซึ่งยังเป็นเสขะอยู่ เกิดอาการ "เผลอ" หรือ "หลง" ไปในขันธ์ ด้วยโมหะอวิชชาที่ยังแฝงอยู่ไปบ้างในบางครั้ง
:b48: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ "อยาก" ให้ขันธ์นั้น (ทั้งภายในและภายนอก) ยังเป็นของเรา ยังเป็นเรา ยังเป็นตัวตนของเราอยู่อีกเมื่อเกิดความอาลัย ทั้งๆที่ละความเห็นผิดไปแล้วว่ามันไม่ใช่เช่นนั้น :b46: :b47: :b46:

คือ รู้ทั้งรู้ว่าไม่มี "เรา" แต่ก็ทิ้งความ "อยากมี" เรา (หรืออยากมีขันธ์), "อยากได้" ของๆเรา (หรืออยากได้ขันธ์), "อยากเป็น" เรา (หรืออยากเป็นขันธ์) ไม่ได้อยู่ เนื่องด้วยความยินดีในเวทนา (ติดสุข/อยากสุข) ยินดีในฌาน (ติดสงบ/อยากสงบ) ยินดีในบุญกุศล (ติดดี/อยากดี) ที่มีแต่เดิมมาในอดีต ยังละไปเสียมิได้ (เพียงแต่เบาบางลงไปบ้าง)
:b49: :b50: :b51:

และเมื่อ อยากสุข อยากสงบ อยากดี (หรืออยากให้ผู้อื่นหรือสังคมดีตามกรอบที่คิดว่าดี) แต่ไม่ได้ตามอยากตามหวัง ก็ยังเกิดอาการผิดหวัง ขัดใจ :b33: :b47: :b46:

จนกว่าจะละวางอาการขัดใจลงไปได้ ด้วยการเห็นแจ้งในลักษณะสามัญแห่งขันธ์/เห็นแจ้งปฏิจจสมุปบาท/เห็นแจ้งอริยสัจจ์ในขั้นอนาคามี :b49: :b50: :b40:

ซึ่งสภาวะในขั้นอนาคามี ก็คือการเห็นแจ้งในทุกข์ของอาการขัดใจเมื่อไม่ได้ตามอยาก (ทุกขัง อริยสัจจัง เป็นโทสะปฏิฆะที่เกิดขึ้นในช่วงความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส คับแค้นใจ ที่อยู่ช่วงท้ายของวงจรปฏิจจสมุปบาท (ถ้านับอวิชชาเป็นตัวต้น) :b49: :b50: :b39:

แต่ด้วยสภาวะของจิตอันประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะที่ละเอียดจริงๆ จากการฝึกฝนบ่มเพาะในขั้นสกทาคามีจนคุ้นชินแก่กล้า เพียงแค่จิตขยับด้วยอาการอยากขึ้นมา จิตก็จะเห็นว่าเป็นทุกข์แล้ว :b46: :b47: :b46:

เพราะอาการที่จิตขยับ ก็คือภพชาติที่ถูกสร้างขึ้น (ชาติปิทุกขา) จิตเคลื่อนออกจากสภาวะนิโรธ คือความสงบตั้งมั่น "รู้" อย่างเบิกบาน ด้วยสติสัมปชัญญะสมาธิอันบริสุทธิ์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ปรกติของจิต ไม่ต้องไปถึงช่วงท้ายของวงจรหรอกครับจึงจะรู้ทุกข์ได้) :b50: :b49: :b46:

พร้อมเห็นในเหตุปัจจัยของทุกข์จากความผิดหวังขัดใจ ว่ามาจากความอยากความอาลัย (ทุกขสมุทโย อริยสัจจัง คือตัณหา คือสมุทัย) ที่หวังในสิ่งซึ่งไม่ตรงกับกระแสของธรรม ไปฝืนขวางกระแสของธรรม นั่นคือกระแสแห่งเหตุปัจจัย :b46: :b39: :b46:

และทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้น (ซึ่งก็คืออาการของปฏิจจสมุปบาทสายเกิดที่ดำเนินไป คือการเกิดขึ้นของภพชาติเมื่อจิตไหวออกจากอาการรู้แบบตั้งมั่น) ก็เป็นเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัย ที่ถูกขับเคลื่อนจากอวิชชาในภายใน หามีบุคคลตัวตนที่ไหน เป็นผู้ทุกข์ไม่ (เห็นอนัตตา ศูนยตา)
:b46: :b47: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 60, 61, 62, 63, 64, 65, 66 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร