วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 11:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

กราบขอบพระคุณท่าน ฮ๊าฮา
rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 13:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.
บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๘-๙.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต้นสาละ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐะ.[/color]


เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย.
เกิดใน นิพพาน ได้อย่างไร

รูปภาพ

:b48: :b46: :b48: ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน :b48: :b46: :b48:

รูปภาพ

:b48: :b46: :b48: ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน :b48: :b46: :b48:

:b30: :b30: :b30: :b30: :b30: :b30: :b30:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 11 ก.ค. 2011, 13:39, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 13:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไซอิ๋ว อินเซ็ปชั่น

โยงใยที่ซ่อนเร้น

:b10: :b10: :b10:


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2011, 14:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


สร้างเหตุให้ตรง ผลจะมาเอง : ธรรมไหลไปสู่ธรรม

59.(ค่ำวันเสาร์ 25 ต.ค.51)

Download





“ดูก่อนพรหม ประตูทั้งหลายแห่งอมตนคร
เราเปิดสำหรับท่านแล้วล่ะ
ขอเหล่าสัตว์ที่มีโสตประสาท
จงปล่อยศรัทธาออกมาเถิด
แต่ก่อนเราสำคัญว่าจะลำบากเปล่า
จึงไม่กล่าวธรรมอันประณีต - ที่ชำนาญในหมู่มนุษย์”

:b39: ประตูอยู่ท้ายๆ :b53:

ที่มา
http://www.pobbuddha.com/buddhawaj/musi ... _refer=kum
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=5857.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b27: :b8:

เนื่องจากหายไปนาน วันนี้จึงนำแผ่นภาพกระบวนการเจริญมรรค 8 ภาคปฏิบัติมาให้ทุกท่านลองพิจารณา แล้ววิตกวิจารณ์ ว่าทุกท่านจะตีความ จับประเด็น หรือเข้าใจได้มากน้อยเพียงไร เรียนเชิญวิจารณ์กันนะครับ ขอบคุณและอนุโมทนา :b1: :b12: :b16: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




กระบวนการทำงานของมรรค 8_resize.jpg
กระบวนการทำงานของมรรค 8_resize.jpg [ 54.51 KiB | เปิดดู 6737 ครั้ง ]
แผ่นภาพกระบวนการทำงานของมรรค 8 ภาคปฏิบัติ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ในสิ่งที่ถูกเห็น

รู้ในสิ่งที่เห็น

:b21:

รู้นั้น คือ ถูกรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 14:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว สภาวะอรหันต์ ก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้

:b21:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
[b]ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งหมดทั้งปวง

สาธุ สาธุ ข้อนี้ตรงตามภัทเทกรัตตสูตรโดยแท้ สอดคล้องกับการปฏิบัติมหาสติปัฎฐานสูตรจริง

อนัตตาธรรม เขียน:
วิธีภาวนากับปัจจุบันอารมณ์
ให้ทำภาวนาในอิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน นอน ท่าใดท่าหนึ่งก็ได้
เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอยู่เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์ แล้วหลับตา ลงมือทำภาวนา

ข้อนี้ขออนุญาตเสริมนิดหน่อยครับ ตามมหาสติปัฎฐานสูตรนั้น ในอิริยาบทบรรพ พระพุทธองค์ทรงแนะอิริยาบทใหญ่ไว้ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และในสัมปชัญญะบรรพทรงแนะอิริยาบทย่อยต่างๆไว้อีก
ข้อนี้ทำให้สันนิฐานได้ว่า รู้ปัจจุบันอารมณ์ได้ทุกอิริยาบท น่าจะปฏิบัติตามนี้ก็ควรนะครับ แม้จะดูว่ามากไปซักหน่อย แต่ถ้าเทียบกับใจที่จะได้หลุดพ้นเป็นผล ถือว่าคุ้มค่าและน้อยไปด้วยซ้ำในการปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: อนุโมทนาสาธุกับคุณกามโภคีเป็นอย่างยิ่งครับ

ที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นเขาเป็นสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปทำให้ต้องจดจำข้อความและวิธีทำให้มากมาย ดังรายละเอียดใน
มหาสติปัฏฐานสูตร

วิปัสสนาภาวนานั้นทำได้ในทุกอิริยาบถ ทุกที่ ทุกกาลเวลา เพราะเป็นอกาลิโก ที่กำหนดให้ฝึกหัดในท่านั่ง ยืน เดิน 3 อิริยาบถก่อน เลี่ยงท่านอนไว้เพราะท่านอนจะเกิดโมหะ ถีนะ มิทธะได้ง่าย การปฏิบัติจะก้าวหน้าช้า ต่อเมื่อชำนาญใน 3 อิริยาบทแล้วจึงค่อยไปภาวนาในท่านอน แต่ทั้งนี้ก็มิได้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวอะไร เป็นเพียงแนะแนวทางคร่าวๆเท่านั้น ถึงเวลาปฏิบัติจริงๆ คงแล้วแต่อุปนิสัย วาสนา บารมีของแต่ละท่านอีกทีนะครับ

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแท้ๆนั้น ต้องยึดหลักอนัตตาเป็นแนวทางเริ่มต้นไปก่อน คือไม่ตั้ง
กำหนดกฏเกณฑ์อะไรไว้มากหรือยึดแน่นในกฏเกณฑ์จนเกินไป

เป็นการยึดเพื่อจะไปให้ถึงความไม่ยึดถือในธรรมทั้งปวง
ดังบาลีที่ว่า
สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ = ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


ทำยากให้เป็นง่าย ทำมากให้เป็นน้อย ทำยุ่งยากให้เรียบง่าย เบา สบาย น่าจะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจการปฏิบัติธรรมได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้นะครับ

เอาปัจจุบันอารมณ์อย่างเดียวก็พอเพราะ

ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมแหงธรรมทั้งปวง


เพิ่มเติมจากภาพกระบวนการทำงานของมรรค 8 อีกสักนิดหนึ่งนะครับ
กระบวนการทำงานของมรรค 8 เมื่อสรุปออกมาเป็นแผนผังก็จะเป็นไปดังรูปภาพที่แสดงไว้นี้ เชิญช่วยกันพิจารณา เทียบกับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิตขณะลงมือเจริญมรรค 8 ด้วยตนเองจริงๆ ว่าเป็นไปตามแผนผังที่แสดงนี้หรือไม่ หรือมีอะไรที่แปลกพิเศษเพิ่มเติมมากไปกว่านี้อีก

กรุณาช่วยกันทดสอบแล้ววิจารณ์สู่กันฟังเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญาเพื่อการปฏิบัติจริงกันต่อไปครับ

ท่านที่เห็นภาพไม่ชัด จะใช้การขยายด้วย Ctrl + หรือไปเปิดดูด้วยลิ้งค์ต่อไปนี้ก็ได้นะครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?n ... d=57&old=1
:b43:
:b16:

สำหรับท่านเอรากอนและคณะ พากันค้นหาใจกันเจอแล้ว จึงไปถึงความเป็นอรหันต์ทางทฤษฎีกันหมดแล้ว จึงขออนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งด้วยครับ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเลี่ยงอิริยาบทนอนก็ถือว่าตามความสะดวกของผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน จะมีเทคนิคอย่างไร ก็สุดแท้แต่ครับ พึงดูวิธีการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์และวิธีการเป็นตัวอย่างไว้ซักนิดก็ดีครับ

อิริยาบถบรรพ
[ ๒๗๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุเมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเดิน
หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน
หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง
หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน
อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้ แล้วอย่างใดๆ
ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ ดังนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง
ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

พระองค์ทรงแนะนำให้พิจารณาเนืองๆอยู่อย่างนี้ นี่หมายถึงสติ และทรงตอกย้ำไม่ให้เผลอในอิริยาบทย่อยๆเล็กๆน้อยอีกด้วย

สัมปชัญญบรรพ

[ ๒๗๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ( ความเป็นผู้รู้พร้อม )
ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้ายข้างขวา
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่

ดังนี้

ก็พึงพิจารณาตามควรเถิดครับ
ส่วนการปฏิบัติแท้ๆนั้น ในทัศนะผม ไม่จำต้องยึดหลักอนัตตาเป็นแนวทางเริ่มต้นไปก่อนก็ได้ เพียงแค่ปลูกศรัทธาในเบื้องต้นแบบปุถุชนไปก่อนว่า ทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา ตามปัญญาจากการสดับรับฟังมา จากการคิด จากนั้นดำเนินไปตามวิถีทางของการปฏิบัติที่พระองค์ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้ เมื่อปัญญาจากการปฏิบัติเกิดขึ้น ก็จะเห็นก็จะเข้าใจเอง

การปฏิบัติตามแนวทางที่พระองค์ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้ ไม่ได้ถือว่ายากหรือง่ายอันใดเลย เพราะพระองค์ทรงสอนทางสายกลาง การตรัสสอนอันใดย่อมเป็นไปในลักษณะของความเป็นกลางทั้งหมด การที่บุคคลจะหันมาสนใจในการปฏิบัติ น่าจะมีสาเหตุอื่นประกอบเข้ามาด้วย

อนึ่ง การดำเนินวิธีการปฏิบัติตามหลักการของมหาสติปัฎฐานสูตรนั้น ชื่อว่าดำเนินตามมรรค ๘ อยู่แล้ว จึงไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เกรงว่าจะออกนอกเรื่องของกระทู้ที่ตั้งไว้

ต้องขออภัยอย่างสูงที่ออกนอกเรื่องไปหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 14:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
ที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นเขาเป็นสติปัฏฐาน 4 โดยธรรมชาติอยู่แล้ว
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปทำให้ต้องจดจำข้อความและวิธีทำให้มากมาย ดังรายละเอียดใน
มหาสติปัฏฐานสูตร

วิปัสสนาภาวนานั้นทำได้ในทุกอิริยาบถ ทุกที่ ทุกกาลเวลา เพราะเป็นอกาลิโก ที่กำหนดให้ฝึกหัดในท่านั่ง ยืน เดิน 3 อิริยาบถก่อน เลี่ยงท่านอนไว้เพราะท่านอนจะเกิดโมหะ ถีนะ มิทธะได้ง่าย การปฏิบัติจะก้าวหน้าช้า ต่อเมื่อชำนาญใน 3 อิริยาบทแล้วจึงค่อยไปภาวนาในท่านอน แต่ทั้งนี้ก็มิได้เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวอะไร เป็นเพียงแนะแนวทางคร่าวๆเท่านั้น ถึงเวลาปฏิบัติจริงๆ คงแล้วแต่อุปนิสัย วาสนา บารมีของแต่ละท่านอีกทีนะครับ

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแท้ๆนั้น ต้องยึดหลักอนัตตาเป็นแนวทางเริ่มต้นไปก่อน คือไม่ตั้ง
กำหนดกฏเกณฑ์อะไรไว้มากหรือยึดแน่นในกฏเกณฑ์จนเกินไป

เป็นการยึดเพื่อจะไปให้ถึงความไม่ยึดถือในธรรมทั้งปวง
ดังบาลีที่ว่า
สัพเพธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ = ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

ทำยากให้เป็นง่าย ทำมากให้เป็นน้อย ทำยุ่งยากให้เรียบง่าย เบา สบาย น่าจะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจการปฏิบัติธรรมได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้นะครับ

เอาปัจจุบันอารมณ์อย่างเดียวก็พอเพราะ

ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมแหงธรรมทั้งปวง

เพิ่มเติมจากภาพกระบวนการทำงานของมรรค 8 อีกสักนิดหนึ่งนะครับ
กระบวนการทำงานของมรรค 8 เมื่อสรุปออกมาเป็นแผนผังก็จะเป็นไปดังรูปภาพที่แสดงไว้นี้ เชิญช่วยกันพิจารณา เทียบกับสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในกายและจิตขณะลงมือเจริญมรรค 8 ด้วยตนเองจริงๆ ว่าเป็นไปตามแผนผังที่แสดงนี้หรือไม่ หรือมีอะไรที่แปลกพิเศษเพิ่มเติมมากไปกว่านี้อีก

กรุณาช่วยกันทดสอบแล้ววิจารณ์สู่กันฟังเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญาเพื่อการปฏิบัติจริงกันต่อไปครับ

ท่านที่เห็นภาพไม่ชัด จะใช้การขยายด้วย Ctrl + หรือไปเปิดดูด้วยลิ้งค์ต่อไปนี้ก็ได้นะครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?n ... d=57&old=1

อนัตตาธรรม เขียน:
....
สำหรับท่านเอรากอนและคณะ พากันค้นหาใจกันเจอแล้ว จึงไปถึงความเป็นอรหันต์ทางทฤษฎีกันหมดแล้ว จึงขออนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งด้วยครับ :b10:


รู้สึกอย่างไรกับทั้งหมดทั้งสิ้นนี้
สุขใจเพียงได้ที่ได้กล่าว สุขเพียงใดที่กล่าวได้
กล่าวได้มากกว่านี้จะสุขขึ้นมั๊ย
ถ้าไม่กล่าวซะจะทุกข์มั๊ย
ไม่มีจะกล่าวจะสุขหรือจะทุกข์ขึ้นล่ะ

:b55: :b55: :b55:

อุเบกขา นี่มันช่างสุขลึกซึ้งมากเกินบรรยายเลยรึเปล่า

สุญญตา นี่มันเย้ายวนใจยังไง สภาวะในนั้นเป็นยังไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 19:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา นั้น เที่ยงมั๊ย
มีอะไรเป็นที่ตั้งแห่งสุญญตา
มีอะไรเป็นสิ่งที่รู้สุญญตา
และสิ่งที่เข้าไปรู้นั้น รู้อะไร จึงเรียกว่า สุญญตา

รับรู้แต่ทฤษฎีมามากแล้ว แบบว่าอยากรู้ในทางนักปฏิบัติบ้างหง่ะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 20:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหายไปแห่งตัวกู ของกู กระจ่างแจ้งที่ ความคิดคำนึง
หรือ ที่ภาวะรู้ชัดที่ สุญญตา

การเข้าถึงความไม่มีตัวกู ของกู ที่ทั้งสองสภาวะ เป็นไปอย่างไร
ผลที่ปรากฎหลังจากที่เข้าไปรู้ ต่างกันอย่างไร

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 03 ส.ค. 2011, 07:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




b26.jpg
b26.jpg [ 48.01 KiB | เปิดดู 6659 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับคุณกามโภคีและคุณเอรากอน

"แมว จะสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูเป็น"
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร