วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 13:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านsuttiyan ช่วย เขียนก้าวต่อไปอย่างต่อเนื่องรวดเดียวจะได้ไหมเจ้าค่ะ จะดีมากเลยเจ้าค่ะ
ช่วยอธิบายไปจนกว่าจะสุดแห่งปัญญาของท่าน
สาธุ......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2014, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางวิปัสสนา 2 ลักษณะที่มาจากฐานความสุดโต่งสองส่วน
หากเปรียบมัชฌิมาปฏิปทาคือจุดกลางบนเส้นตรง ทางขวามือคือติด + คืออัตตกิลมถานุโยค เป็นความสุดโต่งส่วนหนึ่ง ทางซ้ายมือคือติด – คือกามสุขัลลิกานุโยค เป็นความสุดโต่งอีกส่วนหนึ่ง การพิจารณาเชิงปริมาณ(รูปธรรม) จะเห็นจุด 0 คือ ความเป็นกลาง แต่ในความเป็นจริง มัชฌิมาปฏิปทาเป็นลักษณะทางนามธรรม จึงไม่สามารถกำหนดเป็นสภาพที่แน่นอนได้ อีกทั้งเป็นสภาพธรรมที่ขึ้นอยู่กับแรงยึดทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล ความต่างนี้จึงทำให้วิธีการปฏิบัติบนเส้นทางวิปัสสนาต้องปรับให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล จึงเกิดแนวทางปฏิบัติที่พุทธศาสนานิกายฝ่ายใต้(เถรวาท) โดยมีสติปัฏฐานสูตร เป็นดุจเพชรน้ำหนึ่ง ยกย่องว่าเป็นเลิศ เป็นทางสายเอก และแนวทางปฏิบัติที่พุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ(มหายาน) ที่ใช้หลักการไม่ติดในสองส่วน ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในหลักทั้ง 2 จะมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจในการปรับอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติ หลักการทั้งสอง จึงเปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ที่ผู้ปฏิบัติอาจใช้หลักใดหลักหนึ่ง หรือใช้ทั้ง 2 หลักร่วมกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2014, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


มัชฌิมาปฏิปทาเป็นลักษณะทางนามธรรม จึงไม่สามารถกำหนดเป็นสภาพที่แน่นอนได้ อีกทั้งเป็นสภาพธรรมที่ขึ้นอยู่กับแรงยึดทางอารมณ์ของแต่ละบุคคล

หากเปรียบคนที่ใช้มือจับแก้วถือไว้ เพื่อสื่อถึงมัชฌิมาปฏิปทา คนที่ออกแรงอย่างมากจับแก้ว จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค หากค่อยๆคลายแรงที่จับแก้วจนกระทั่งแก้วหลุดจากมือ จัดเป็นกามสุขัลลิกานุโยค แต่ขณะที่กำลังคลายแรงโดยให้เหลือแรงน้อยที่สุดแล้วแก้วยังไม่หลุดจากมือ จัดเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ดังนั้นแรงที่บุคคลจะต้องคลายให้เหลือเป็นมัชฌิมาปฏิปทาในแต่ละบุคคลจึงไม่เท่ากันขึ้นอยู่ว่ายึดมากหรือน้อย
สำหรับคนที่ออกแรงอย่างมาก(action)จับแก้ว จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค จะเกิดแรงต้านจากแก้ว(re action) จึงเป็นการสร้างแรง ซึ่งที่จริงแล้วควรจะต้องเป็นการละแรง
สำหรับการคลายแรงโดยให้เหลือแรงน้อยที่สุดแล้วแก้วยังไม่หลุดจากมือ ที่จัดเป็นมัชฌิมาปฏิปทา แรงที่ใช้น้อยที่สุดนี้ จึงเป็นการสักแต่รู้
สำหรับแรงที่จับแก้วจนกระทั่งแก้วหลุดจากมือ จัดเป็นกามสุขัลลิกานุโยค คือการปล่อยให้เผลอสติไหลไปตามอารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 06:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน 4 ที่ตั้งต้นจากกามสุขขัลลิกานุโยคกับอัตตกิลมถานุโยค
กามสุขขัลลิกานุโยคมีลักษณะไหลไปตามอารมณ์ คือการเผลอไม้รู้เนื้อรู้ตัว ข้อเด่น คืออารมณ์เป็นธรรมชาติทำาิปัสนาได้ง่าย
ข้อด้อย สมาธิน้อย เกิดนิวรณ์ง่าย
อัตตกิลมถานุโยคมีลักษณะคือการเพ่งรู้อย่างต่อเนื่อง ข้อเด่นคือ
มีสมาธิ เห็นสภาพธรรมได้ละเอียด ข้อด้อยคือติดยึดในการรู้เฉพาะสิ่งที่สนใจ จึงไม่รู้รูปนามตามความจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2014, 14:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าศึกของสมาธิคือนิวรณ์ธรรม ซึ่งถือเป็นสิ่งขัดขวางสมาธิ จึงจัดนิวรณ์ธรรม เป็นด้านลบ แต่ที่จริงแล้วอีกด้านหนึ่งนิวรณ์ธรรม ถือเป็นด้านบวก เพราะเป็นสภาพอารมณ์ ที่เป็นเครื่องมือของวิปัสสนา ถือเป็นอาจารย์(ธรรม)ที่เรียกผู้ปฏิบัติให้เข้ามาดู ทุกสรรพสิ่งจึงมี 2 ด้านแล้วแต่จะยืนมองด้านใหน มองอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2014, 19:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ธรรมได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถินมิทะ วิจิกิจฉา อุทธัจจะกุกกุจจะและวิจิกิจฉา เป็นสภาพอารมณ์ (1)เป็นผลมาจากการปรุงแต่ง การนึกคิด (2) (การใช้เงื่อนไข กฏเกณฑ์ หรือสิ่งที่เราคิดว่าควรจะเป็นมาเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ที่เราได้รับสัมผัสมา เกิดการตัดสิน ใช่ ไม่ใช่ เป็น ไม่เป็น ถ้าตรงข้ามก็ไม่พอใจหรือเป็นไปทางเดียวกันก็พอใจ) ความคิดนึก การปรุงแต่ง เป็นผลมาจากประสบการณ์ที่เก็บสะสมในรูปความทรงจำ(3) ความทรงจำเก็บรวบรวมลงที่ตัวรู้ (วิญญาณ)(4) ซึ่งก็คือตัวตน หรือตัวเรา และองค์ประกอบที่เกิดร่วมกับวิญญาณ ได้แก่ อารมณ์(เวทนา) ความทรงจำ(สัญญา) ความคิดนึก การปรุงแต่ง(สังขาร) สภาพ องค์ประกอบทั้งหมดที่เกิดร่วมกับวิญญาณ จัดเป็นของของตน แต่เนื่องจากทั้งวิญญาณและองค์ประกอบได้เกิดขึ้นพร้อมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าทั้งวิญญาณและองค์ประกอบ ก็คือตัวตนนั่นเอง
ที่กล่าวมาผลที่เกิดย้อนเหตุในลักษณะลูกโซ่ของเหตุผลคือตั้งแต่นิวรณ์ธรรม(ผล)จนถึง(เหตุ)ตั้งต้นคือตัวตน ดังนั้นหากตัดตอนกระบวนการเกิดปฏิจสมุปบาทตรงเหตุที่เกิดทุกข์ หรือจุดที่จะเกิดตัวตนได้ ทุกข์ย่อมดับลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับทุกข์(นิวรณ์)ที่มีเหตุจากตัวตน(อัตตา) และที่เรายังวนเวียนอยู่กับทุกข์ ทั้งที่ปฏิบัติธรรมเพื่อหาทางพ้นทุกข์ แต่เราไม่สามารถหลุดออกจากวงเวียนแห่งทุกข์ได้ เพราะยังหลงใช้อัตตาในการหาทางพ้นทุกข์ เปรียบเสมือนต้องการทำความสะอาดบ้านแต่เราใช้ผ้าสกปรกมาถูบ้าน นั่นเพราะความไม่เข้าใจในกระบวนการสร้างอัตตาในการปฏิบัติธรรม(อวิชชา)นั่นเอง
ความหมายของความเป็นตัวตนหรืออัตตา ซึ่งรวมถึง สังขารคือการใช้สิ่งที่คาดหมาย สิ่งที่ควรจะเป็น(criteria)จากประสบการณ์เดิม(ความทรงจำ:สัญญา) มาเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ที่รับสัมผัสใหม่ เพื่อตัดสิน ซึ่งก็คือมุมมองของเราต่อปรากฏการณ์นั้น ที่จริงแล้วปรากฏการณ์จากการรับสัมผัส(การกระทบระหว่างอายตนะภายในกับภายนอก)นั้น หากเราหรือใครก็ตามไม่ใช้มุมมองของตนเองในการตัดสินย่อมมองเห็นหรือสัมผัสรู้สิ่งนั้น เหมือนกันหมด เป็นเช่นนั้นเอง ซึ่งก็คือการสักแต่รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2014, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การสักแต่รู้ จะเกิดขึ้นได้หากเข้าใจในกระบวนการไม่สร้างอัตตาในการปฏิบัติธรรม(วิชชา) ซึ่งมีปัจจัย 2 ประการ คือ
1.ระยะเวลาที่ใช้ในการรู้
2.แรงที่ใส่ในการรู้

1..ระยะเวลาที่ใช้ในการรู้
ทำไมระยะในการรู้จึงสัมพันธ์กับการสร้างตัวตน ตัวอย่างต่อไปนี้ คือ.......
หากมีขวดน้ำใบหนึ่งตั้งอยู่บนโต๊ะ โดยเราไม่รู้มาก่อน เขาเอาผ้าปิดตาเราแล้วจูงมือไปที่โต๊ะ
ให้เรา
1.ใช้ฝ่ามือสัมผัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นขณะๆละ 2-3 วินาที สัก 2 ครั้ง ครั้งแรกของการสัมผัสเราจะรู้สึกถึงลักษณะความแข็ง ถึงแม้ครั้งที่ 2 3 และ4 ก็เช่นเดียวกัน และไม่ว่าเราให้ใครหรือคนชนชาติใดมาทด
ลองในลักษณะนี้ ก็จะได้ผลเหมือนกัน คือการสัมผัสถึงความแข็ง ซึ่งเป็นปรมัตถ์
2.ใช้ฝ่ามือสัมผัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แบบลูบคลำไม่ใช่การสัมผัสเป็นขณะ คือการสัมผัสต่อเนื่อง และใช้เวลามากกว่า 2-3 วินาที ผลการสัมผัสระยะหนึ่งเราจะรู้สึกว่า นี้คือขวดน้ำ และรู้หากรู้สึกถึงความเย็นที่ผิวก็จะรู้สึกสบาย ชอบ จึงอยากสัมผัสนานๆ

วิเคราะห์
1.การสัมผัสรู้เป็นขณะๆ ละ 2-3 วินาที คือการรับรู้การกระทบของอายตนะภายในกับภายนอก เป็นจุดที่ยังไม่มีการนำตัวตนมาใช้ จึงไม่ก่อให้เกิดทุกข์
2.ความรู้ว่าเป็นขวดน้ำ คือการนำความทรงจำ (สัญญา)มาเทียบเคียงความรู้สึกที่สัมผัสแล้วประมวลผล ซึ่งจิตทำงานเร็วมาก ความรู้สึกถึงความเย็นที่ผิวก็จะรู้สึกสบาย ชอบ (เวทนา)จึงอยากสัมผัสนานๆ(กามฉันทะ) เหตุเพราะรับรู้นาน จึงเป็นจุดเริ่มกระบวนการเกิดทุกข์

สรุป ระยะเวลาการสัมผัสรับรู้ต่อเนื่องนาน ไม่เป็นปัจจุบันขณะ จนเป็นเหตุให้สามารถนำตัวตนออกมาร่วมกับการรับรู้ เป็นจุดเริ่มกระบวนการเกิดทุกข์ ดังนั้น จึงไม่ควรสัมผัสรับรู้ต่อเนื่องนาน เกิน 2-3 วินาทีหรืออาจมากกว่านั้นเล็กน้อย คือ 4-5 วินาที เพื่อไม่สร้างเหตุของทุกข์(ตัวตน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2014, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลสรุปข้างต้น โดยเฉพาะข้อความ “ไม่ควรสัมผัสรับรู้ต่อเนื่องนาน เกิน 2-3 วินาทีหรืออาจมากกว่านั้นเล็กน้อย คือ 4-5 วินาที” อาจมีผู้เห็นว่าทำอย่างนั้นไม่จงใจฝืนธรรมชาติ หรือ ?
แต่หากเราฉุกคิด ทุกวันนี้เราทำกรรมฐานโดยพยายามอยู่กับลม หรือคำภาวนา เราฝืนธรรมชาติของวิถีจิตหรือไม่ เพราะที่จริงโดยธรรมชาติแล้ว จิตจะเคลื่อนที่อยู่เสมอ จะไม่อยู่กับอารมณ์ใดนานๆ โดยเฉลี่ยจิตจะกระทบสิ่งถูกรู้ประมาณ 3-4 วินาทีก็จะเคลื่อน ดังนั้นบทสรุปข้างต้นที่กล่าวว่าระยะเวลาที่ใช้ในการรู้ไม่ควรนาน ซึ่งเป็นการกล่าวในหลักการ เป็นการจำลองสถานการณ์ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของจิต แต่ในทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักการ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนในกระบวนการปฏิบัติ จะได้กล่าวต่อไป

นอกเหนือจากระยะเวลาที่ใช้ในการรู้ไม่ควรนานแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต้องพิจารณาคือแรงที่ใส่ในการรู้หรือการใช้เจตนาในการรู้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะอุปนิสัย

หากพิจารณาถึงลักษณะอุปนิสัยของคนในสมัยพุทธกาลกับปัจจุบัน ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยในสมัยก่อนความเจริญด้านจิตใจมีสูงบุคคลส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ลักษณะอุปนิสัยจึงใกล้มัชฌิมาปฏิปทา แต่ปัจจุบันที่มุ่งเน้นวัตถุนิยม การแข่งขันสูง ความซับซ้อนของความคิด จิตของบุคคลส่วนใหญ่เบนออกจากมัชฌิมาปฏิปทา ให้เป็นผู้มีอุปนิสัยอัตตกิลมถานุโยค การถูกสภาพแวดล้อมกดดันเกิดความเครียด เป็นแรงผลักดันให้หาทางออกเป็นผู้มีอุปนิสัยกามสุขัลลิกานุโยค สภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมให้จิตเคยชินต่อความสุดโต่งสองส่วนเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติที่จะเข้าถึงมัชฌิมาปฏิปทา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2014, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากสอบถามท่านเรื่องธาตุน้ำหน่อยครับ ว่าลักษณะปรมัตร์เป็นอย่างไร
ผมต้องการพิจารณาเปรียบเทียบว่าความเข้าใจของผมเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2014, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เป็นองค์ประกอบของรูปขันธ์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงอยู่ของขันธ์ ขันธ์ 5 ที่จะสมบูรณ์หรือบกพร่องขึ้นอยู่กับธาตุ 4 ทั้งสิ้น การกำจัดขยะกายขยะใจ จะส่งผลให้ธาตุทั้ง 4 ซึ่งเป็นธาตุจากภายในร่างกายปรับตัว ซึ่งในขณะปรับตัวจะสัมผัสธาตุทั้ง 4 ได้ชัดเจน สำหรับธาตุทั้ง 4 นี้มีทั้งธาตุภายนอกและธาตุภายใน การปฏิบัติวิปัสสนาโดยกำหนดรู้ธาตุทั้ง 4 สำหรับธาตุภายในทำได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่เป็นการรู้ธาตุภายนอก เช่น ธาตุดินมีลักษณะแข็ง ร่างกายที่กระทบกับสิ่งภายนอกถึงความแข็ง ธาตุลมมีลักษณะไหว ส่วนใหญ่เป็นการรู้ธาตุลมจากภายนอกคือลมหายใจเข้าออก ธาตุไฟมีลักษณะความร้อน เย็น เป็นธาตุที่สามารถสัมผัสทั้งธาตูภายนอกและธาตุภายในได้ สำหรับธาตุน้ำมีลักษณะการเกาะกุม เหนี่ยวรั้ง เป็นธาตุที่ไม่สามารถสัมผัสภายในได้คือไม่สามารถกำหนดรู้การเกาะกุม เหนี่ยวรั้ง

สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนาที่เป็นภาวนามยปัญญา ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดรู้ที่เวทนาและจิต การรู้ที่จุดกระทบอายตนะมีบ้างแต่น้อย การรู้ที่ธาตุภายในมีน้อยลงไปอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะธาตุเป็นเรื่องละเอียดรู้เห็นได้ยาก ผมขออนุโมทนากับคุณ Student ที่กำหนดรู้เรื่องธาตุ เป็นการนำประสบการณ์ในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนาในความหลากหลายมาเล่าสู่กันฟัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
เรื่องของธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เป็นองค์ประกอบของรูปขันธ์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงอยู่ของขันธ์ ขันธ์ 5 ที่จะสมบูรณ์หรือบกพร่องขึ้นอยู่กับธาตุ 4 ทั้งสิ้น การกำจัดขยะกายขยะใจ จะส่งผลให้ธาตุทั้ง 4 ซึ่งเป็นธาตุจากภายในร่างกายปรับตัว ซึ่งในขณะปรับตัวจะสัมผัสธาตุทั้ง 4 ได้ชัดเจน สำหรับธาตุทั้ง 4 นี้มีทั้งธาตุภายนอกและธาตุภายใน การปฏิบัติวิปัสสนาโดยกำหนดรู้ธาตุทั้ง 4 สำหรับธาตุภายในทำได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่เป็นการรู้ธาตุภายนอก เช่น ธาตุดินมีลักษณะแข็ง ร่างกายที่กระทบกับสิ่งภายนอกถึงความแข็ง ธาตุลมมีลักษณะไหว ส่วนใหญ่เป็นการรู้ธาตุลมจากภายนอกคือลมหายใจเข้าออก ธาตุไฟมีลักษณะความร้อน เย็น เป็นธาตุที่สามารถสัมผัสทั้งธาตูภายนอกและธาตุภายในได้ สำหรับธาตุน้ำมีลักษณะการเกาะกุม เหนี่ยวรั้ง เป็นธาตุที่ไม่สามารถสัมผัสภายในได้คือไม่สามารถกำหนดรู้การเกาะกุม เหนี่ยวรั้ง

สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนาที่เป็นภาวนามยปัญญา ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดรู้ที่เวทนาและจิต การรู้ที่จุดกระทบอายตนะมีบ้างแต่น้อย การรู้ที่ธาตุภายในมีน้อยลงไปอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะธาตุเป็นเรื่องละเอียดรู้เห็นได้ยาก ผมขออนุโมทนากับคุณ Student ที่กำหนดรู้เรื่องธาตุ เป็นการนำประสบการณ์ในแนวทางปฏิบัติวิปัสสนาในความหลากหลายมาเล่าสู่กันฟัง

อนุโมทนาครับคุณsuttiyan
สมกับเป็นนักปฎิบัติที่เป็นตัวอย่างต่อผู้สนใจทุกคน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 19:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับมา กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่เป็นหัวใจการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ1.ระยะเวลาที่ใช้ในการรู้แต่ละครั้งที่ไม่ควรนานเกินไป:ที่ได้กล่าวแล้วนั้น เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้เป็นเหตุเกิดอัตตา แต่อย่างไรก็ตามหากตัวรู้เป็นอัตตาเสียเอง เรื่องระยะเวลาที่รู้ไม่นานก็ไม่เกิดผล ดังนั้นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญกว่าเรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการรู้ คือความเข้าใจถึงตัวรู้ที่ประกอบด้วยอัตตา ซึ่งก็คือ 2.แรงที่ใส่ในการรู้

2.แรงที่ใส่ในการรู้
หากพิจารณาถึงระดับของแรงที่ใส่ในการรู้ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ
2.1 แรงที่จับแก้วน้อยเกินไปจนกระทั่งแก้วหลุดจากมือ จัดเป็นกามสุขัลลิกานุโยค คือการปล่อยให้เผลอสติไหลไปตามอารมณ์
2.2 แรงที่จับแก้วมากเกินไป(action) เกิดแรงต้านจากแก้ว(reaction) จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค คือการเพ่งรุ้หรือใส่เจตนาในการรู้
2.3 แรงที่จับแก้วโดยให้เหลือแรงน้อยที่สุดแล้วแก้วยังไม่หลุดจากมือ ที่จัดเป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือการสักแต่รู้
จากแรงที่ใส่ในการรู้ ทั้ง 3 แรงนี้ แรงที่ควรพิจารณาคือ 2.2 แรงที่จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค คือการเพ่งรุ้หรือใส่เจตนาในการรู้ เพื่อปรับแรงใน 2.2 เป็น 2.3 คือแรงที่ใส่ในการรู้ให้เหลือแรงน้อยที่สุดให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา คือการปรับตัวรู้ให้ไร้เจตนาหรือมีเจตนาน้อยที่สุด จนสามารถสักแต่รู้

ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจในความหมาย ”การเพ่งรู้หรือใส่เจตนาในการรู้” ที่จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค ว่ามีลักษณะดังนี้
1.มีความรู้สึกว่าจะทำกรรมฐาน หรือตั้งท่าทำกรรมฐาน
2.ใฃ้ความรู้สึกที่ใฃ้ในการทำงานมาทำกรรมฐาน
3.การพยายามจะอยู่กับกรรมฐานอย่างต่อเนื่อง
4.การพยายามรู้องค์กรรมฐานให้ชัดเจน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อปัญญา แต่ละบุคคล มีวิธีการนำไปสู่ปัญญาที่แตกต่างกัน(แต่ไม่เกินขอบข่ายที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงสอนไว้)
แต่ผลนั้นเหมือนกัน คือปัญญารู้แจ้ง ถึงความบริสุทธิ์หลุดไป พ้นไป
หากไม่เรียนรู้ที่จะสุดโต่ง ก็ไม่รู้ว่ากลาง อยู่ตรงไหน
สุดท้ายแล้ว ปัญญา ที่ว่านี้ ที่เป็นเครื่องพาเราออกจากวัฏฏะ
ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติที่พาเราออกไป วิธีการเป็นเพียงเครื่องมือช่วยเท่านั้น
อย่าไปหลงติดอยู่ว่า ทำอย่างงี้ๆๆ แล้วจะดี ทำอย่างงี้ๆๆ แล้วจะได้อะไรๆ
ไม่ใช่เลย ทำตามวิธีการปฏิบัติแล้วโยนิโส น้อมมาใส่ตัว แล้วจะเกิดปัญญา
"ปัญญา คือ การรู้ถูกเข้าใจถูก ที่ท่านเรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นถูก เห็นตรง ตามความเป็นจริง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร