วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 15:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2014, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขออนุโมทนาครับ ลำดับต่อไปเพียงแต่ภาวิตา พหุลีกตา กล่าวคือบำเพ็ญให้มาก เจริญให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ที่เราใช้ขับขี่
สู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ในชั้นนี้หากสติรู้เร็ว สิ่งสะสมในเบื้องลึกจะคลายออกมาเป็นทุกข์ที่เกิดทั้งกายและใจ ต้องอดทนเพราะเห็นทุกข์จึงจะพ้นทุกข์ หากยังเห็นว่าสุข จะทำให้เกิดนันทิคือการติดอยู่ ทำให้มรรคไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าถึงความเป็นสัมโพชฌงค์(องค์แห่งการตรัสรู้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2014, 23:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
:b8: :b8: :b8:
ขออนุโมทนาครับ ลำดับต่อไปเพียงแต่ภาวิตา พหุลีกตา กล่าวคือบำเพ็ญให้มาก เจริญให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ที่เราใช้ขับขี่
สู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ในชั้นนี้หากสติรู้เร็ว สิ่งสะสมในเบื้องลึกจะคลายออกมาเป็นทุกข์ที่เกิดทั้งกายและใจ ต้องอดทนเพราะเห็นทุกข์จึงจะพ้นทุกข์ หากยังเห็นว่าสุข จะทำให้เกิดนันทิคือการติดอยู่ ทำให้มรรคไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าถึงความเป็นสัมโพชฌงค์(องค์แห่งการตรัสรู้)



ที่กล่าวทั้งหมดนี้คือ ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน
หากจะเรียนถาม suttiyan ถึงเรื่องนี้ คือ
หากแต่ พอทำให้มาก มันจะเบา ทั้งกาย และ ใจ
ความเบานี้ หมายถึง ไม่ถูกความทุกข์ ทางใจ ทางกาย ครองงำอยู่นาน
ดังที่กล่าวมานี้ ไม่ได้จมอยู่ในทุกข์ และไม่ได้รู้สึกว่าหลงระเริงเป็นสุข
เช่นนี้แล้ว กล่าวได้ว่า เกิดนันทิ ได้หรือไม่
เพราะการไม่จมในทุกข์และไม่หลงระเริงในสุข ก็เกิดความรู้สึกสุขจากการไม่ยึดเกาะอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนิวรณ์ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาดับไป ได้รับความสงบจากสัมมาสมาธิ เปรียบเสมือนผู้เดินทางไกลตอนกลางวันในฤดูร้อนที่แห้งแล้ง ต่อมาได้พบต้นไม้ใหญ่เมื่อเข้าไปใต้ล่มเงาพบความเย็น จิตใจเกิดความแช่มขื่น ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกท่านต้องเกิดความพอใจ ไม่เว้นแม้แต่พระอริยเจ้าตั้งแต่โสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามี แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ถึงความพอใจ และเหตุของความพอใจ มื่อความพอใจระดับหยาบดับไป ก็เข้าถึงความพอใจระดับละเอียด และละเป็นลำดับ ๆ ไป จนกระทั่งเข้าถึงความดับกิเลสสิ้นเชิงเป็นพระอรหันต์ จึงละความพอใจในส่วนของภาวะตัณหาและวิภาวตัณหา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 08:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เดินทางกลางทะเลทรายที่เวิ้งว้าง เมื่อเดินกลางแดดแแบบบ้านเราก็รู้สึกดีกว่า
แต่หากเดินมาพบใต้ต้นไม้ใหญ่ก็จะรู้สึกดีกว่า แต่หากเข้าร่มใต้หลังคาบ้านก็รู้สึกดีกว่า เมื่อเข้าบ้านเปิดแอร์ก็รู้สึกดี
ความสุขดังกล่าวเป็นผลจากการเปรียบเทียบ
ความสุขคือความทุกข์ที่ลดลง
ความสุขเปลี่ยนแปลงตามประสพการณ์
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นทุกข์ในสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2014, 17:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ผู้เดินทางกลางทะเลทรายที่เวิ้งว้าง เมื่อเดินกลางแดดแแบบบ้านเราก็รู้สึกดีกว่า
แต่หากเดินมาพบใต้ต้นไม้ใหญ่ก็จะรู้สึกดีกว่า แต่หากเข้าร่มใต้หลังคาบ้านก็รู้สึกดีกว่า เมื่อเข้าบ้านเปิดแอร์ก็รู้สึกดี
ความสุขดังกล่าวเป็นผลจากการเปรียบเทียบ
ความสุขคือความทุกข์ที่ลดลง
ความสุขเปลี่ยนแปลงตามประสพการณ์
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นทุกข์ในสุข


:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การคลายของสภาวธรรมจากหยาบสู่ละเอียด
สำหรับการคลายลำดับที่ 1และ2 จริงแล้วทั้ง2 ลำดับจะเกิดสัมพันธ์กันจนแยกไม่ออก แต่ในที่นี้จะเรียงตามลำดับการเกิด
1.การรับผัสสะของอายตนะภายในกับภายนอก
ตา.... รับรู้..... แสงสว่างและภาพ
หู.... ..รับรู้.....เสียง
จมูก...รับรู้.....กลิ่น
ลิ้น.... รับรู้.....รส
กาย...รับรู้.....สัมผัส
ใจ.... รับรู้.....อารมณ์
โดยอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้เมื่อรับสัมผัสอายตนะภายนอกแล้ว จะเก็บสะสมข้อมูลที่จิต
ตาและหู เมื่อการกระทบจบลงจะเก็บข้อมูลที่จิตทั้งรูปหยาบ(แสง เสียง)และความรู้สึก อารมณ์
จมูก ลิ้นและกายเก็บข้อมูลที่จิตเฉพาะความรู้สึก อารมณ์
ใจหรือจิต เมื่อการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายจบลงจะเก็บข้อมูลที่จิต รวมถึงการปรุงแต่งคิดนึกเกิด ปฏิกิริยาเก็บข้อมูลสู่กายใจในลักษณะปฏิกิริยาลูกโช่

ดังนั้นเมื่อปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจึงมีการคลายของข้อมูลจากจิต เช่น เห็นแสง ภาพ เสียง และความรู้สึก ซึ่งส่วนใหญ่จะนึกว่าเป็นเรื่องจริงมาจากปัจจัยภายนอก โดยลืมหลักเหตุผลที่พระพุทธองค์ตรัสว่าธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2014, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับถังขยะใจถังขยะกายนี้เป็นที่รวมของอนุสัย(นาม)และอาสวะ(รูป)กิเลส ของร้อนสภาพเบา(นาม) ที่อยู่ส่วนบนปากถังได้แก่ความนึกคิด จึงผุดลอยออกมาก่อน ซึ่งความนึกคิดดังกล่าวมีมากกว่าขณะไม่ได้นั่งสมาธิอีกด้วย เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติ ที่คาดการณ์ว่านั่งสมาธิแล้วต้องสงบรับไม่ได้ รวมถึงผู้สอนบางท่านบอกให้ผู้ปฏิบัติสำรวมใจให้สงบ โดยไปยึดกับองค์กรรมฐาน เปรียบเสมือนการเอาฝาถังขยะปิดให้แน่นทำให้เกิดความอัดแน่นของอารมณ์เกิดความเครียดขึ้น

2.ปฏิกิริยาลูกโซ่ของกายใจ(ขยะกาย ขยะใจ)
การคิดนึกปรุงแต่งเปรียบเทียบเก็บสะสมอารมณ์ทางใจ คือความพอใจ (โลภะ) หงุดหงิด เบื่อหน่าย เสียใจ(โทสะ)และ ความฟุ้งซ่าน การไม่รู้เท่าทันนี้เป็นลักษณะการเหม่อซึม ง่วง (โมหะ)
การคิดนึกปรุงแต่งเกิดอารมณ์ ทำให้เกิดการหลั่งสารอินทรีย์เคมี ฮอร์โมน สะสมเอิบอาบ ซึมซาบ หมักดองในกระแสโลหิตและเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดความร้อน ชา เจ็บ

เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจึงมีการคลายของข้อมูลทางใจ(ขยะใจ) เช่น ความนึกคิด ความพอใจ เบื่อหน่าย ความฟุ้งซ่าน การคลายข้อมูลทางกาย(ขยะกาย) เข่น เกิดความร้อน ชา เจ็บ เหนื่อย เมื่อคลายข้อมูลกายใจออกมามากแล้ว โมหะก็คลายออก คือความเหม่อซึม ง่วง และนั่งสมาธิหลับในที่สุด เป็นที่สังเกตเมื่อเผลอหลับแล้วเมื่อตื่น จะสดชื่นขึ้น เพราะมีการคลายระดับลึกจากภวังคจิต

การคลายของขยะใจขยะกายนี้ ในระดับหยาบนี้จะรวดเร็ว สับสน ไม่เป็นระเบียบจึงไม่สามารถสังเกตเห็นความสัมพันธ์ของเหตุผล (ลำดับความสัมพันธ์ของการคลายที่ต่อเนื่องกัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2014, 10:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้ความจริงของกายและใจแล้ว หากเปรียบลำดับความรู้จากผลที่มาจากการภาวนามยปัญญากับญาณ ในวิปัสสนาญาณในขั้นนี้ จะจัดอยู่ในปัจยปริคคหญาณ (ญาณที่ 2)คือการรู้ความสัมพันธ์ที่รูปนามแสดงความจริงออกมา สำหรับผู้ที่ถึงญาณที่ 2 นี้ เปรียบได้กับจุลโสดาบัน คือเป็นผู้ปิดอบายภูมิได้ในชาติที่ถัดจากชาตินี้ จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้คุณอย่างมาก หากปฏิบัติตรงก็จะได้ผลจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 12:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การคลายของกิเลสอย่างหยาบ ของร้อน คือนิวรณ์ จะทำให้ผู้ปฏิบัติเริ่มได้รับผลจากสมาธิ เข้าถึงความรู้ ของญาณที่ 3 สัมมสนญาณ การคลายออกของขยะกายจิตในขั้นต่อไปจะเร็วหรือช้าขึ้นอยุ่กับ อาตาปี สติมา สัมปชาโน และการยึดถือในปรากฏการณ์สภาวธรรมว่ามีมากหรือน้อย สำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าว บางส่วนเป็นผลจากการบำเพ็ญบารมีในอดีต ซึ่งประกอบพร้อมกับสมาธิ เคยเป็นข้อมูล วิถีทาง ผลที่ได้รับ เช่นเคยนั่งสมาธิดูแสงสว่างจากดวงจันทร์ พอชาติปัจจุบันปฏิบัติธรรมแล้วได้สมาธิเช่นเดียวกับอดีต ดังนั้นภาพดวงจันทร์
หรือแสงสว่างจึงปรากฏขึ้นอีกครั้ง ปรากฏการณ์ที่เกิดร่วมกับสมาธินี้บางท่านที่ขาดความเข้าใจจึงมองเป็นสิ่งมหัศจรรย์
บางทีหลงว่าได้บรรลุ ธรรม ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุปกิเลส 10


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2014, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


3.แรงเจตนาในการสร้างกรรม
แรงนี้จำแนกเป็น1.แรงเจตนาที่รู้องค์กรรมฐาน เช่น การใส่ใจต่อการรู้ลมเข้าออก พองยุบ หรือภาวนาสัมมาอะระหัง พุทโธ และ 2.แรงปารถนาทั้งดึงเข้ามา(โลภะ)และผลักออกไป(โทสะ) ต่อปรากฏการณ์ที่กระทบจากอายตนะ
แรง กรณีที่ 1.เป็นการใส่แรงแบบ momentum ลูกตุ้มนาฬิกา คือการจดจ่อองค์กรรมฐาน(action)อย่างต่อเนื่องหากจดจ่อมาก จะทำให้รู้สึกมึน ตึงที่ศีรษะ บ้างปวดศีรษะได้
แรง กรณีที่ 2 เป็นแรงพยายามตั้งใจต่อการปฏิบัติกรรมฐาน ทำให้เกิดแรงทาบ ปกคลุม ที่กลางหน้าอก และบีบ รัด เสียดแทงที่หัวใจ
ดังนั้นเมื่อปฏิบัติวิปัสสนาแล้วจึงมีการคลายของแรง กรณีที่ 1 เช่น ผู้ปฏิบัตินั่งสมาธิแล้วมีการโยก การหมุน(reaction) หากเกิดเร็วจะกลายเป็นการสั่นไหว การปฏิบัติวิปัสสนาที่สมาธินำสติจะเกิดการกระตุกบางทีเกิดเป็นจุดๆเข่นแขน ขากระตุก หรืออาจเกิดกระตุกทั้งกาย ถ้าสมาธิแรงสติอ่อนมากร่างกายอาจกระเด็นกระดอน
แนวทางปฏิบัติให้รู้การโยก หมุน ควรแตะรู้เบาๆ เพื่อไม่ให้สร้างแรง แบบ momentum ขึ้นอีก การแตะรู้(รูป)ไม่ควรนานเกิน 5-6 วินาที เพราะหากรู้นานจะเกิดการยึดรู้โดยไม่รู้ตัวอีก และถ้าสังเกตที่ความรู้สึก จะมีแรงเจตนาที่ความรู้สึก(เบามากสังเกตได้ยาก) ความรู้สึกอยู่ตรงใหนก็ให้เลื่อนมาตรงนั้น บางทีอยู่กลางหน้าอก ก็เลื่อนมาที่กลางหน้าอก ข้อควรระวังการเลื่อนความรู้สึกจากการหมุนของกายสู่กลางหน้าอกควรละการรู้ก่อน ความหมายของการละคือปล่อยวาง ทำเหมือนคนพักผ่อนที่ไม่มีการงานแล้ว ค่อยๆเลื่อนมาที่กลางหน้าอก บางทีจะรู้มีแรงทาบเบาๆที่จุดนี้ให้รู้เบาๆ 2-3 วินาทีแล้วละการรู้ อาจกลับมาที่การหมุน หรือหากจิตเคลื่อนไปจุดใดก็ให้ตามรู้ไปที่จุดนั้น การเคลื่อนรุ้มีข้อดีคือ ทำให้ไม่ ซึม ง่วง ข้อพึงระวังก็คือเรื่องการสร้างแรง ดังนั้นผู้มีการยึดในองค์กรรมฐาน หรือมีอาการมึนศีรษะจากการทำสมาธิมาก่อน จึงยังไม่ควรใข้วิธีนี้ โดยต้องกลับไปแก้ไขการยึดในองค์กรรมฐานก่อน เมื่อผ่านการละวางจิตเป็นธรรมชาติแล้วจึงมาใช้วิธีนี้
ผู้ปฏิบัติที่เป็นธรรมชาติแต่แรกก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้ แนวทางนี้เป็นการรู้ในลำดับที่ 3 คือเป็นผู้ที่มีตัวรู้ละเอียด จนกระทั่งรู้ถึงแรงที่กระทำต่อใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2014, 09:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


หากมีผู้สงสัยว่าทำไมไม่รู้แบบธรรมชาติ ต้องเลื่อนไปเลื่อนมา ก็เพราะผู้ปฏิบัติผ่านการรู้แบบธรรมชาติ ลำดับที่1 และ2 มาแล้ว เป็นการรู้การเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง)ในระดับพื้นผิวของจิต เจตสิกที่คลายออกมาหลากหลายไม่เป็นระเบียบคืออะไรเกิดขึ้นก่อนก็รู้ไปตามนั้น แต่เพราะลำดับที่ 3 เป็นการหยั่งตัวรู้ลงสู่ระดับลึกลงจากลำดับ1และ 2 ผู้ปฏิบัติเริ่มสังเกตเห็นถึงแรงเจตนาที่กลางอก และสภาพเวทนา(ส่วนใหญ่เป็นสุขเวทนา)ที่เกิดเป็นลักษณะของคู่ ผู้ปฏิบัติจึงต้องฝึกสังเกตความสัมพันธ์สภาวธรรมคู่ จึงเสมือนรู้แบบมีเงื่อนไข แต่จริงแล้วหากดำเนินลำดับที่1 และ2 มาแบบธรรมชาติแล้ว ลำดับที่3 ก็จะทำได้ง่าย

สำหรับการแก้สภาวของผู้ที่เคยปฏิบัติกรรมฐานแล้ว มีอาการเครียดปวดศีรษะ ที่เกิดสภาวะเช่นนี้เพราะความตั้งใจจดจ่อ โดยไม่รู้ตัว เพราะความจริงแล้วจิตจะอยู่กับลมหรือกรรมฐานอะไรก็ตามได้ไม่เกิน 3-4 วินาทีก็จะเคลื่อนแต่เราพยายามจะให้อยู่กับลม จึงเป็นการฝืนธรรมชาติ ในเบื้องต้นจะเกิดความมึนตึงหนักศีรษะ หากมีการเพ่งเพียรไปนานเข้า จะทำให้ปวดศีรษะให้ดำเนินการดังนี้

นั่งสมาธิแบบลืมตา หากรู้องค์กรรมฐานแบบใด ให้หยุดรู้สิ่งนั้นก่อน
ให้ทำการผ่อนคลายทำเหมือนคนพักผ่อนที่ไม่มีการงานแล้ว
โดยหากท่านเคยนั่งขัดสมาธิกับพื้น ให้เปลี่ยนมานั่งเก้าอี้นั่งพิงแบบสบายๆ

ปล่อยใจสบายๆ เมื่อจิตเคลื่อนไปที่ใด หรือหลงให้ตามรู้ เพียง 2-3 ขณะจิต
หากรู้สึกมึน ก่อนรู้ความมึนให้ทำเหมือนคนพักผ่อนที่ไม่มีการงานแล้ว ค่อยๆเลื่อนมาที่จุดปวดมึนแตะรู้เบาๆ 4-5 วินาทีแล้วละ ความหมาย"ละ"คือเมื่อแตะรู้ที่มึนเบาๆ 4-5 วินาที ให้ทำเหมือนคนพักผ่อนละความสนใจต่อการมึน 3-4 วินาที หรืออาจละมารู้ที่ลมพัดมาถูกตัว หรือเสียงที่กระทบ ภาพที่มองเห็น อะไรก็ได้ที่จิตเคลื่อนไป สรุปคือ ละ หรือเปลี่ยนรู้เป็นนัยยะเดียวกัน


ในช่วงนี้ไม่ควรใช้กรรมฐานเดิม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันกับข้อเขียนของหลวงปู่นัท ฮันห์ ในส่วนที่เหลือครับ :b8:

การแล่นเรือไปบนกระแสคลื่นของความเกิดและความตาย

ตอนครูอายุ ๑๙ ปี ครูได้รับมอบหมายให้เจริญสติพิจารณาซากศพ (บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน) ในป่าช้า

ตอนนั้นครูรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากเย็นที่สุด และครูได้ต่อต้านการเจริญสติแบบนั้นด้วย ครูเคยคิดว่า การเจริญกรรมฐานแบบนั้น น่าจะเอาไว้ให้คนอายุมากสักหน่อย ราว ๓๕ หรือ ๔๐ ปีจะเหมาะกว่า

แต่ทว่า นับแต่นั้นมาครูได้เห็นศพทหารหนุ่มมากมาย นอนเหยียดยาวไม่กระดุกกระดิกเป็นแถวๆ บางคนอายุเพียง ๑๓, ๑๔ หรือ ๑๕ ปีเท่านั้น เขาเหล่านั้นยังไม่พร้อม ยังไม่ได้เตรียมตัวสำหรับความตายเลย

และเดี๋ยวนี้ ครูเห็นแล้วว่า ถ้าคนเราไม่รู้จักวิธีตาย เราก็จะไม่รู้จักวิธีมีชีวิตอยู่ด้วย เพราะว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

มหาสติปัฏฐานสูตรได้กล่าวถึงการบำเพ็ญอสุภกรรมฐานไว้ว่า จงพิจารณาความแตกสลายของร่างกาย ดูให้เห็นว่า ร่างกายนั้นขึ้นอืดอย่างไร ค่อยๆกลายเป็นสีม่วง และหนอนได้มารุมไชกินอย่างไรจนเหลือเนื้อแดงๆติดกระดูก พิจารณาจนถึงจุดที่เหลือแต่กระดูกขาวโพลน และค่อยๆเปลี่ยนสภาพกลายเป็นดินเป็นฝุ่นไป

ดำรงสติพิจารณาเช่นนี้ รู้ชัดว่าร่างกายของเราก็ต้องดำเนินไปตามขั้นตอนนั้นๆ เหมือนกันทุกประการ

พิจารณาซากศพ จนกระทั่งเธอเกิดความสงบและสันติขึ้น จนกระทั่งดวงจิตและหัวใจของเธอเบาและสงบสงัด และรอยยิ้มปรากฏขึ้นบนใบหน้า

โดยวิธีนี้ เมื่อเธออยู่เหนือความขยะแขยงและความกลัว เธอก็จะมองเห็นชีวิตเป็นสิ่งมีค่าสูงสุด

.. เรามองเห็นว่า ทั้งความเป็นและความตายนั้น ต่างเป็นด้าน ๒ ด้านของชีวิต ถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่ง ชีวิตก็ไม่มีอยู่ เหมือนเหรียญที่ต้องมี ๒ ด้านจึงจะเป็นเหรียญ ต้องถึงจุดนี้เท่านั้นที่เราจะอยู่เหนือความเป็นและความตาย และต้องรู้จักวิธีที่จะมีชีวิตอยู่ และวิธีที่จะตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระสูตรกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ทั้งหลายซึ่งมองเห็นความเป็นจริงแห่งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของกันและกันของสรรพสิ่ง ซึ่งสามารถทำลายทัศนะอันคับแคบลงได้ว่า ท่านเหล่านั้นสามารถที่จะท่องเที่ยวไปในความเกิดและความตาย เสมือนบุคคลผู้แล่นเรือไปในกระแสคลื่นของความเกิดและความตายโดยที่เรือไม่อาจถูกคลื่นซัดให้จมได้เลย

.. ครูได้พูดถึงการเจริญสติ พิจารณาความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่งมาแล้ว .. การภาวนาในเรื่องความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่งนั้น ก็เพื่อจะทำให้เราก้าวขึ้นสู่ความจริงของชีวิตที่กลมกลืนกับจักรวาล โดยทำลายม่านบังตาที่ทำให้เรามองเห็นสรรพสิ่งแบ่งแยกจากกัน มีการเลือกที่รักมักที่ชัง มีเขามีเรา

ซึ่งมิใช่การนำเอาเรื่องนี้มาพิจารณาเพื่อสร้างระบบปรัชญาว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสรรพสิ่ง แล้วยึดติดในระบบปรัชญานั้น

.. ความนึกคิดเอาเองตามจินตนาการจึงเป็นภาพลวงตาของความเป็นจริง ซึ่งมีการรับรู้ความเป็นจริงในฐานเป็นตัวตนและสิ่งที่แยกจากกัน

การจะทำลายม่านบังตา (วิกัลป ความนึกคิดเอาเองตามจินตนาการ) อันนี้ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องบำเพ็ญสมาธิ พิจารณาธรรมชาติแห่งความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของปรากฏการณ์ต่างๆ (ปรตันตระ) ในลักษณะที่เป็นขบวนการเกิดและดับ

และการพิจารณานี้ ก็เป็นการบำเพ็ญสมาธิอย่างหนึ่ง

.. การภาวนาโดยแนวทางแห่งปรตันตระนั้น เป็นไปเพื่อช่วยให้เราสามารถเห็นแจ้งแทงตลอดในความเป็นจริง โดยไม่ไปติดอยู่กับตัวปรตันตระเสียเอง

แพนั้นมีไว้เพื่อใช้ข้ามน้ำ มิใช่เพื่อเอาแบกไว้บนบ่า

นิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ หาได้เป็นดวงจันทร์เองไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในที่สุดเราก็จะเข้าถึงธรรมชาติของสัจจธรรมสุดท้าย คือปรินิพพาน

คำว่าปรินิพพานนี้ หมายความถึงความเป็นจริงที่พ้นจากการบดบังของทัศนะที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งเกิดจากความนึกคิดเอาเองตามจินตนาการ

ปรินิพพานแปลว่าความเป็นจริงที่เป็นความจริง ซึ่งไปพ้นแนวความคิดใดๆทั้งสิ้น ไม่มีระบบความคิดใดๆที่สามารถจะอธิบายความเป็นจริงนี้ได้ แม้แต่ระบบความคิดเรื่องความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันก็ไม่อาจจะอธิบายปรินิพพานได้

.. โดยปรมัตถปารมีที่ช่วยให้สามารถเห็นความเป็นจริงตามธรรมชาติได้แล้ว ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะเข้าถึงระดับปัญญาที่เรียกว่า อวิกัลปญาณจิต (จิตที่ไม่มีการแบ่ง ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง แบ่งเขาแบ่งเรา) อีกต่อไป ..

นี่ไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินไปเลย ไม่ใช่สภาวะสุดเอื้อม ผู้ปฏิบัติงานของเราทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถ้าเราลองปฏิบัติแม้แต่เล็กน้อยอย่างจริงจัง เขาจะได้ลองชิมรสของปัญญาได้

.. เมื่อสามารถสัมผัสสภาวะธรรมชาติของปรมัตถปารมีได้ ต้นอามันต์ที่สนามหญ้าหน้าบ้านเธอนั้นก็จะเปิดเผยธรรมชาติความเป็นหนึ่งเดียวอันสมบูรณ์

ต้นอามันต์นั้นคือสัจจธรรม

คือพุทธภาวะ

คือความเป็นจริง

คือตัวเธอเอง

.. ถ้าหัวใจของเธอปราศจากม่านมิจฉาทิฏฐิ เธอก็จะเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นหนึ่งเดียวกันกับต้นอามันต์ได้

ต้นอามันต์จะเปิดเผยตัวมันเองต่อเธอ

การเห็นต้นอามันต์ก็คือการเห็นธรรม

อาจารย์เซนท่านหนึ่ง เมื่อได้รับการขอร้องให้อธิบายความอัศจรรย์ของสัจธรรม ท่านชี้ไปที่ต้นสนต้นหนึ่งและพูดว่า "จงมองดูที่ต้นสนนั้นซิ"

เธอเข้าใจที่ท่านพูดไหม ..

ครูเชื่อว่า เธอเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2014, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตของเธอได้รับการปลดปล่อย หัวใจของเธอก็จะเปี่ยมล้นไปด้วยด้วยเมตตา

เมตตาต่อตนเอง ที่ต้องผ่านความทุกข์มาอย่างเหลือคณานับ ด้วยเหตุที่ยังติดอยู่ในม่านแห่งความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ความเกลียด ความไม่รู้แจ้ง และความโกรธ

จงมีเมตตาต่อผู้อื่นเถิด เพราะเขาเหล่านั้นเป็นเพื่อนทุกข์ และไม่เห็นทาง ยังถูกจำขังด้วยความเห็นผิด ด้วยความเกลียด ความไม่รู้แจ้ง และยังคงสร้างความทุกข์ต่อตนเองและต่อผู้อื่นอย่างไม่หยุดหย่อน

นี้คือการมองตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยสายตาแห่งความรัก ความเมตตา


-------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: --------

(หมายเหตุ : บทสวดแผ่เมตตาที่ขึ้นต้นด้วยคำสั้นๆว่า "สัพเพ สัตตา" โดยมีท่านผู้รู้ให้ความหมายขยายความเป็นไทยแบบยาวๆว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น .." :b46: :b39: :b41:

คำสั้นๆแต่ความหมายยาวๆของบทสวดแผ่เมตตาท่อนแรกนี้ ปูพื้นได้ถึงความรู้สึกแรกเริ่มในอาการ "เป็นหนึ่งเดียวรวด ไม่แบ่งแยกเราเขา" ได้อย่างลึกซึ่งถึงใจมากนะครับ เพราะเป็นการตอกย้ำเตือนสติในเบื้องต้น เพื่อให้ระลึกได้ว่า :b46: :b47: :b46:

๑) ไม่ว่าจะโกรธจะเกลียด จะรักจะชอบอย่างไร ระหว่าง "เราเขา" ทั้งหมดใน ๓๑ ภพภูมิ (ที่ยังมีการแบ่งแยกเราเขาก็ด้วยอวิชชาความเห็นผิดเป็นม่านบังตา) :b46: :b39: :b46:

๒) ก็ยังเป็นเพื่อนต่อกัน คือเพื่อนทุกข์ เพราะตกอยู่ภายใต้สภาวะร่วมเดียวกัน (คือเป็นทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ .. แล้วเดี๋ยวก็ต้องตายจากกันไป ลงไปเหมือนๆกัน) :b46: :b39: :b41:

๓) แล้วจะมาโกรธเกลียดเบียดเบียน จะมาเอาอะไรกันมากมายอีกนักเล่า (ภาษาวัยรุ่นว่า แล้วจะมา "เยอะ" อะไรกันมากมายอีกละท่าน) :b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 53, 54, 55, 56, 57, 58, 59 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร