วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเริ่มรู้จักกับการกลับมาสู่ตัวรู้ได้แล้ว ให้ประคองตัวรู้ไปเรื่อยๆ :b48: :b48: :b55:

หรือถ้าประคองไม่ได้ ให้ใช้อุบายปรุงแต่งเพื่อหยุดปรุงแต่ง เพียงแต่ใช้การปรุงแต่งที่ซ้ำๆและไม่เป็นการกระตุ้นกิเลสนิวรณ์ :b51: :b51: :b51:

ไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งทางกาย (กายสังขาร เช่น ดูลมหายใจเข้าออก หรือรูปที่เนื่องด้วยกายสังขาร เช่น ดูท้องพองยุบ (วาโยธาตุ))

ทางวาจา (วจีสังขาร เช่น สวดมนต์หรือท่องพุทธโธในใจ หรือรูปที่เนื่องด้วยวจีสังขาร เช่น ออกเสียงบริกรรมหรือสวดมนต์ที่มีทำนองเป็นโมโนโทนเบาๆ (สัททรูป))

หรือทางใจ (มโนสังขาร หรือจิตสังขาร เช่น นึกถึงองค์กสิญที่เคยเพ่งอยู่จนเป็นความจำได้หมายรู้ในใจ)

เข้าไปชัก, จูง, และผูกจิตไม่ให้วิ่งวุ่นวาย จนจิตสงบแล้วจึงทิ้งการปรุงแต่งกลับมาสู่ตัวรู้ :b46: :b46: :b46:

และเมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จะมีวิวัฒนาการที่เริ่มจากการรู้ สลับกับการเผลอฟุ้งปรุงแต่ง โดยการเผลอฟุ้งปรุงแต่งจะเป็นตัวทำสกอร์นำไปก่อน :b41: :b41: :b46:

จนกระทั่งสติสมาธิมีความคมมากขึ้น อาการรู้อยู่กับตัวรู้จะเริ่มตีตื้น อยู่ได้นานขึ้นจนสามารถสังเกตเห็นถึงอาการพร่าและมัวลงของสติหรืออาการรู้ ก่อนที่จะหลุดไปฟุ้งปรุงแต่ง และกลับมารู้ตัวใหม่เมื่อมีสติกลับคืนมาระลึกได้ว่า กำลังปรุงแต่งอยู่ ซึ่งการระลึกได้ถึงการที่กำลังปรุงแต่งนี้ก็เป็นการดับการปรุงแต่งไปด้วยในตัวเองอยู่แล้ว :b39: :b39: :b39:

และตรงนี้ จะเป็นจุดต่อที่สามารถสังเกตและพิจารณาเพื่อให้เกิดโลกุตรปัญญาได้ชัดตามมรรคข้อที่สี่ขององค์พระอานนท์ที่โพสไว้ก่อนหน้า :b1: :b48: :b48:

โดยให้พิจารณาสภาวะของจิตที่ฟุ้งปรุงแต่ง (ทุกข์ = ภพ ชาติ ชาติปิทุกขา) เทียบกับจิตที่ปราศจากการปรุงแต่ง (นิโรธ แต่ยังเป็นแค่นิโรธชั่วคราวที่เกิดจากจิตที่สงบด้วยกำลังของสมาธิ (วิกขัมภนนิโรธ)) :b42: :b42: :b42:

ซึ่งจะเห็นถึงสาเหตุแห่งการฟุ้งปรุงแต่ง (สมุทัย คือ จิตที่ส่งออกนอก ตามคำสอนขององค์หลวงปู่ดูลย์ท่าน) และวิธีการที่ทำให้การฟุ้งปรุงแต่งหยุด (มรรค คือ กลับมารู้อยู่กับตัวรู้ หรือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ตามคำสอนขององค์หลวงปู่ดูลย์ท่าน) :b8: :b46: :b46: :b46:

ซึ่งทั้งหมดในย่อหน้าที่ผ่านมา ก็คือธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในหมวดของ อริยสัจจบรรพ นั่นเอง :b39: :b39: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 26 ม.ค. 2016, 22:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสามารถปฏิบัติให้เห็นได้ในขณะที่จิตก้าวข้ามจากฟุ้งปรุงแต่ง เป็นจิตที่สงบนิ่งกลับมาสู่ตัวรู้ โดยการเกิดขึ้นแห่งปัญญาตรงนี้ จะเห็นถึงอริยสัจจ์ทีเดียวทั้งสี่องค์พร้อมกันในขณะจิตเดียวนะครับ ไม่ได้เห็นทีละองค์ :b1: :b51: :b53: :b51:

และการเห็นนั้น เป็นการเห็นด้วยโลกุตรปัญญาที่ไม่มีบัญญัติเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นการเห็นถึงสภาวะล้วนๆโดยที่จิตคิดไม่ทันหรอกครับว่า นี่เรียกว่าทุกข์น๊ะ นี่เรียกว่านิโรธน๊ะ นี่เรียกว่าสมุทัยน๊ะ นี่เรียกว่ามรรคน๊ะ :b44: :b42: :b39:

เพราะทั้งหมดเกิดขึ้นภายในแวบเดียว สิ่งที่รู้ว่า นี่เรียกว่าทุกข์น๊ะ นี่เรียกว่านิโรธน๊ะ นี่เรียกว่าสมุทัยน๊ะ นี่เรียกว่ามรรคน๊ะ นั้นเกิดขึ้นในภายหลังที่รู้ผ่านสภาวะนั้นมาแล้ว และคิดพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) ตามหลังอีกที :b1: :b38: :b37: :b46:

ซึ่งถ้าสะสมบุญบารมีและอินทรีย์ทั้ง ๕ แก่กล้ามากพอ ก็อาจจะทำให้ตัดกิเลสได้โดยเด็ดขาดทีละขั้นด้วยการเห็นอริยสัจจ์เพียงครั้งเดียว :b8: :b46: :b46:

หรือถ้ากำลังไม่พอ ก็ต้องเพียรทำให้มากด้วยสัมมาวายามะในส่วนที่พระอานนท์ท่านว่าไว้ว่า “เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น” ไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งแล้ว “ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป” เป็นขั้นๆตามลำดับของอริยมรรคอริยผลนะครับ :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในส่วนของการปฏิบัติยังไม่หมดอยู่แค่นี้นะครับ :b1: :b46: :b51: :b53:

นอกจากการสังเกตจิตที่ฟุ้ง กับจิตที่กลับมาอยู่กับตัวรู้เพื่อให้เกิดปัญญาตามด้านบนแล้ว เมื่อจิตอยู่กับตัวรู้ได้นานมากขึ้น การพัฒนาการจะสามารถต่อไปได้ถึงในส่วนที่จิตสงบถึงที่สุดแล้วรวมพึบเข้าสู่ฌานสี่ที่มีอุเบกขาและเอกัคคตาเจตสิกเป็นองค์ธรรมเด่นได้เอง (คือคำว่า “จิตผู้รู้” ของพ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่า) :b8: :b42: :b42:

การพิจารณาอะไรตรงนี้จะคมชัดมากเพราะจิตจะอยู่กับตัวรู้จริงๆเป็นเอกัคคตาจิต ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเล่าว่า ทรงละนิวรณ์ ๕ บรรลุฌาน ๔ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งนั่นคือ การที่จิตเข้าสู่ฐานของจิตอย่างแท้จริง :b46: :b46: :b46:

ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ จิตจะมีความพร้อมที่จะ “น้อมไปในอาสาวักขยญาณ” ตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวแล้วนะครับ :b44: :b42: :b39:
(ซึ่งตรงกับมรรคที่หนึ่งของพระอานนท์ ได้แก่ การปฏิบัติวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นเบื้องหน้า)

และที่เคยโพสไว้ก่อนหน้าไว้ว่า การน้อมจิตไปเพื่อเข้าถึงซึ่งอาสาวักขยญานนั้น คือขั้นตอนของอานาปานสติในจตุกกะที่สี่ ได้แก่การพิจารณาถึงพระไตรลักษณ์ ไล่ตั้งแต่อนิจจัง และทุกขัง (อนิจฺจานุปสฺสี, วิราคานุปสฺสี) จนเห็นถึงอนัตตาและสุญญตา (นิโรธานุปสฺสี, ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) :b41: :b46: :b46:

จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่นั้นจะรวมพึบลง สลัดคืนตัวเองกลับสู่ธรรมชาติ ซึ่งมีอาการแผ่ออกอย่างกว้างขวางไม่มีประมาณ :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งณ.จุดที่จิตแผ่ออกอย่างกว้างขวางนั้น จะมีความรู้สึกถึงจิตที่ลอยดุจสายหมอกที่บางเบาแล้วสลายตัวแผ่ออกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติโดยรอบ จิตจะมีอาการยิ้มแย้มเบิกบานโดยปราศจากความตั้งใจที่จะยิ้ม เป็นสภาวะที่จิตว่างและมีความบริสุทธิ์อย่างถึงที่สุด หมดสิ้นซึ่งความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เห็นแต่กระบวนการของธรรมชาติล้วนๆ โดยมีสภาวะของสุญญตาเป็นอารมณ์ :b8: :b8: :b8:

(ซึ่งสภาวะดังว่านี้ ในระดับชั้นของโสดาบันและสกทาคามี จะเห็นได้ด้วยกำลังของสมาธิในฌานสี่เท่านั้น เพราะอริยบุคคลชั้นต้นทั้งสองระดับ ยังมีสมาธิที่ไม่สมบูรณ์พร้อมที่สามารถเห็นสภาวะดังกล่าวได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนในระดับอนาคามีจะสามารถเริ่มเห็นได้บ้างในการใช้ชีวิตปกติประจำวันเพราะมีสติสมาธิสมบูรณ์แล้ว เมื่อมีสิ่งใดมากระทบแล้วทำให้เกิดการพิจารณาลงจนถึงความเป็นอนัตตาก็สามารถเข้าสู่สภาวะดังกล่าวได้ ส่วนพระอรหันต์ท่านจะเห็นเป็นประจำอยู่แล้วในทุกขณะที่เกิดการกระทบและเห็นอนัตตา - สุญญตาโดยอัตโนมัติ)

ซึ่งสภาวะดังกล่าว จะเกิดขึ้นกับอริยบุคคลที่เคยเข้าถึงแล้วซึ่งสภาวะแห่งพระนิพพาน โดยในตำราวิสุทธิมัคค์ใช้คำว่า การหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งจะเข้าถึงได้ตามระดับขั้นของอริยะนั้นๆนั่นเองครับ :b51: :b51: :b51:

ดึกแล้วครับ และต้องตื่นทำกิจแต่เช้า :b30: :b30: :b31: :b31:

อันที่จริงแล้ว มีสภาวะที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยเกิดขึ้นอีกหลายประการ :b8: :b46: :b46: :b51:

ไว้ขอเวลาไปเรียบเรียงค้นคว้าและทบทวน ก่อนที่จะสรุปด้วยขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อบรรลุอริยมรรค อริยผลในแต่ละขั้น รวมถึงสภาวะที่เกิดขึ้น ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ไปจนถึงอรหัตตมรรค อรหัตตผล เท่าที่พอจะมีปัญญาอธิบายได้นะครับ :b1: :b51: :b51: :b51:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 28 ก.พ. 2011, 18:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:


:b8: ความรู้ปฏิจจสมุปบาทที่คุณรู้นั้นเป็นการรู้ด้วยสุตตมยปัญญาและจินตมยปัญญา ยังมิใช่รู้ด้วยภาวนามยปัญญา ยังไม่ทราบซึ้งใจจริงๆหรอกครับ

เมื่อไหร่คุณได้เข้าไปสัมผัสสภาวปรมัตถ์คือความจริงที่กำลังแสดงอยู่ภายในกายและจิตของคุณ ได้เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกตพิจารณาอาการทางธรรมชาติต่างๆที่กำลังแสดงอยู่ ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ของคุณ คุณจะได้เห็นหรือรู้จักปฏิจจสมุปบาทโดยธรรม

เราควรปฏิบัติอย่างไร? นี่เป็นคำถามของนักปราชญ์ ดีมาก

เราควรพิสูจน์ธรรม การพิสูจน์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้เอาสติปัญญามาเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกตที่ช่วงต่อของเวทนากับตัณหา เวทนาที่จะต้องสนใจมากๆคือ สุขกับทุกข์ ถ้าเกิดที่กาย หรือ โสมนัสกับโทมนัส ถ้าเกิดที่จิต รวมๆก็คือ ความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้นในจิตหลังจากเกิดผัสสะของทวารทั้ง 6

ที่ความยินดี ยินร้ายนั้น ถ้าละได้ก็จะเข้าถึงจุดกลางของอารมณ์คือ อุเบกขา นี่คือวัตถุประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยตรง

สำคัญคือจะละยินดีกับยินร้ายได้อย่างไร

ยินดีกับยินร้ายไม่สามารถจะละได้ด้วยการนึกคิดหรือใช้เหตุผลปล่อยวาง แต่ยินดียินร้ายจะละได้ด้วยการที่ปัญญาไปเห็นความจริงแล้วคลายจากความเห็นผิดยึดผิดด้วยตัวของปัญญาเอง

ความจริงที่แสดงอยู่ตลอดเวลาในกายและจิตคือ ความไม่เที่ยง ความทนอยู่ไม่ได้ และความบังคับบัญชาไม่ได้เพราะไร้แก่นสารตัวตนที่จะยึดถือว่าเป็นโน้นเป็นนี้ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)ปัญญาต้องเห็นความจริงอันนี้ ความละวางจางคลายเขาจึงจะเกิดขึ้นมาเองโดยธรรม ไม่มีใครไปปล่อยวางอะไร

เพื่อให้ซึ้งในปฏิจจสมุปบาทให้เราหมายไปที่ตัวอวิชชานั้นเลยทีเดียว มาทำความเข้าใจดดยทฤษฎีก่อนดังนี้ว่า
อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความมืดบอด
เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด
เห็นผิด (มิจฉาทิฐิ) คือเห็นว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู และ มานะทิฐิ ความถือตัว ถือดี ถือรู้ ถือเก่ง
เมื่อเห็นผิดอยู่ อัตตา ตัวกู และมานะทิฐิจึงมีอยู่
อัตตา มานะทิฐิมีอยู่ ยินดี ยินร้ายจึงมี
ยินดียินร้ายมี ตัณหาจึงเกิด
ตัณหาเกิด วงปฏิจจสมุปบาทจึงหมุนวน

ถอนอัตตาและมานะทิฐิเสียได้ จึงจะหักวงปฏิจจสมุปบาทนี้ได้

ทำอย่างไรล่ะจึงจะถอนอัตตาหรือสักกายทิฐิ และมานะทิฐินี้ได้
ก็จงทำความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)ให้เกิดขึ้น
ความเห็นถูกต้องคือเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา

ทำอย่างไรจึงจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา
ก็ต้องนั่งลงหลับตาเนื้อ เปิดตาใจคือตาปัญญาเข้าไปเผชิญหน้ากับอารมณ์และความเป็นจริงในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้บ่อยๆ มากๆ นานๆ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ทีระลึกได้และมีโอกาส นี่คืองานสำคัญของชาวพุทธ

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ

ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้องว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส

นี่คือสิ่งที่พึงกระทำต่อไปนะครับ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ยอมรับกฎธรรมชาติที่ว่า เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี

เข้าใจว่าธรรมทั้งปวงว่างจากอัตตา เพียงแต่อาศัยกันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่มีตัวเราของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุอนุโมทามิกับข้อธรรมของคุณอนัตตาธรรมและคุณ FLAME ด้วยครับ :b8:

ขอเพิ่มเติมรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อให้เห็นภาพระหว่างการเดินทางภายในได้มากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติที่กำลังจะหาทาง และ/หรือกำลังจะออกเดินทางต่อนะครับ :b1: :b51: :b51: :b42:

ตามที่กล่าวแล้วนะครับว่า การปฏิบัติ (มรรค) ด้วยวิธีให้จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งขององค์หลวงปู่ดูลย์นั้น เปรียบได้กับทางลัดเข้าสู่รูปฌาน ๔ ที่จิตจะเป็นตัวรู้ที่บริสุทธิ์ เป็นเอกัคคตาจิต ซึ่งสอดคล้องกับวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงขั้นตอนปฏิบัติของอานาปานสติในจตุกกะที่ ๓ คือในหมวดของจิตตานุปัสสนาซึ่งเป็นการยกจากรูปฌาน ๓ ขึ้นสู่รูปฌาน ๔ โดยข้ามจตุกกะที่ ๑ และ ๒ ไปเลย เข้าสู่จตุกกะที่ ๓ ตรงๆซึ่งเริ่มที่ :b42: :b48: :b44:

(๙ จาก อานาปานสติ ๑๖ ขั้น) เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต (คือการให้รู้มาอยู่ที่ตัวรู้ เหมือนกับการจะตั้งเหรียญบาทบนพื้นกระจก ต้องเริ่มจากการโฟกัสไปที่ตัวรู้ คือมีสติสมาธิไปที่เหรียญ และการตั้งเหรียญให้ได้ก่อน) :b46: :b46: :b46:

(๑๐) เป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ (ซึ่งเมื่อผู้รู้เริ่มกลับมาที่ตัวรู้ ความเบิกบานปราโมทย์จะเริ่มปรากฏ เหมือนกับเหรียญที่เริ่มอยู่นิ่ง เกิดความร่าเริงที่ใกล้จะทำสำเร็จ) :b51: :b51: :b51:

(๑๑) เป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ (ซึ่งเป็นช่วงขณะที่จิตรวมพึบตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ที่รู้อยู่ในรู้อย่างตั้งมั่น เหมือนกับเหรียญที่ตั้งได้นิ่งมั่นคงแล้ว ไม่แกว่งไหวเอนเอียงเสียศูนย์) :b45: :b45: :b45:

(๑๒) เป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ (ซึ่งเมื่อตั้งลงได้อย่างมั่นคงแล้วก็ปล่อยมือ ไม่ต้องคอยประคองเหรียญอีก เพียงแต่รู้และดูอยู่ห่างๆ) :b44: :b44: :b44:

ซึ่งผู้ที่คุ้นเคยกับสภาวะต่างๆในฌาน ๔ จนชำนาญแล้ว (วสี) สามารถข้ามขั้นตอนของการรู้ลมหายใจหรือการบริกรรมต่างๆ (วิตก วิจาร) เข้ามาที่ขั้นของการเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต คือเข้ามาดูจิตให้รู้อยู่กับตัวรู้ หน่วงสภาวะของฌาน ๔ และยกจิตขึ้นสู่ฌาน ๔ ได้เลยโดยตรง :b46: :b46: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 05 มี.ค. 2011, 23:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และตามที่กล่าวแล้วว่า การปฏิบัติด้วยวิธีนี้ จิตจะรวมเข้าสู่ฌาน ๔ ได้เองโดยผ่านฌานขั้นต่ำกว่าไปอย่างรวดเร็ว :b41: :b41: :b44:

แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ? :b10: :b48: :b48:

จะรู้ได้ก็เนื่องจากว่า มีการผ่านไปอย่างช้าๆเกิดขึ้นให้เปรียบเทียบ ซึ่งบางครั้งของการปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้ การที่จิตแล่นผ่านรูปฌานขั้นต่างๆจะเป็นแบบค่อยๆไปทีละฌาน หรือผ่านบางฌานไปเร็วๆแล้วไปติดค้างอยู่ที่บางฌานที่ยังไม่ถึงฌาน ๔ :b38: :b37: :b39:

เช่น บางครั้งจะรู้สึกถึงความสงบระงับแห่งกายขึ้นมาก่อน (เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ในอานาปานสติจตุกกะที่ ๑) หรือบางครั้งจิตรวมพึบลงเกิดปีติ (ฌาน ๒) หรือเกิดความสุขอย่างมากขึ้นในจิต ซึ่งก็คือไปติดอยู่ที่ฌาน ๓ (นับตามพระสูตร) ที่มีโสมนัสเวทนาเป็นองค์ธรรมเด่น :b39: :b45: :b45:

จากนั้น จึงค่อยละปีติสุข (ระงับจิตสังขาร หายใจออก ระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ในอานาปานสติ จตุกกะที่ ๒) และพัฒนาต่อไปในฌานที่ ๔ โดยกำหนดรู้เฉพาะในจิต, ทำจิตให้ปราโมทย์, ทำจิตให้ตั้งมั่น, และทำจิตให้เปลื้องออก ตามที่ปรากฏในอานาปานสติ จตุกกะที่ ๓ ในชั่วแวบเดียวที่จิตรวมเข้าสู่ฌาน ๔ :b44: :b51: :b51:

และในฌาน ๔ นี้ นอกเหนือจากการน้อมจิตไปเพื่ออาสาวักขยญาณตามที่โพสไว้ก่อนหน้าแล้ว ยังสามารถใช้สภาวะในฌาน ๔ เดินตามมรรคที่ ๓ ของพระอานนท์ที่ว่า ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันได้อีก ด้วยสิ่งที่บูรพาจารย์โบราณท่านเรียกว่า กีฬาทางจิต จิตตบริหาร หรือพิจารณาองค์ฌาน โดยทำการลำดับฌานเพื่อให้เกิดโลกุตรปัญญา :b39: :b39: :b39:

ซึ่งปฏิบัติได้ด้วยการกำหนดจิตออกจากฌาน ๔ ลงมาในฌานขั้นต่ำกว่า แล้วกลับเข้าสู่ฌาน ๔ อีกครั้ง เพื่อทำการเปรียบเทียบให้เห็นถึงจิตที่มีการปรุงแต่งด้วยสิ่งที่หยาบกว่าในฌานขั้นต่ำลงมา คือ สุข, ปีติ, วิจาร, วิตก เทียบกับจิตที่บริสุทธิ์ปราศจากการปรุงแต่งในฌาน ๔ :b38: :b37: :b54:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2011, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรืออาจจะไม่ต้องกำหนดจิต แต่จิตเสื่อมจากฌาน ๔ ออกมาเอง ก็ให้กำหนดรู้ในตัวรู้ เพื่อให้ยกจิตกลับขึ้นสู่ฌาน ๔ อีกครั้ง โดยสังเกตเปรียบเทียบตามด้วยว่า จิตที่ประกอบด้วยการปรุงแต่ง มีสภาวะต่างจากจิตที่ไม่ปรุงแต่งอย่างไร :b47: :b51: :b53:

ก็จะรู้เห็นถึงพฤติของจิตในส่วนละเอียด คือการปรุงแต่งในฌาน (อเนญชาภิสังขาร) หรือเห็นอริยสัจจ์ (หรือปฏิจจสมุปบาท) นั่นเอง (อริยสัจจบรรพ ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) :b46: :b46: :b41:

นั่นคือ เห็นถึง สมุทัย (จิตที่ส่งออกนอกไปฟุ้งปรุงแต่งในกรณีหลุดจากฌาน หรือจิตที่ถูกปรุงแต่งฉาบเชื่อมด้วยปีติสุขในฌานขั้นต่ำกว่า) --> ไปสู่การเกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ (คือการเกิดขึ้นแห่งภพและชาติ หรือปฏิจจสมุปบาทสายเกิดตั้งแต่สังขาร วิญญาณ ... จนถึงภพ ชาติ ... ทุกข์ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า จิตที่ฉาบด้วยการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นปีติ สุข นั้นมีความคับข้องอึดอัดเป็นทุกข์อยู่แล้วในตัว เมื่อเทียบกับไม่ปรุงแต่ง) หรือเห็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิดตลอดสาย ส่วนหนึ่ง :b45: :b44: :b39:

และเห็นถึง มรรค (คือการใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ กลับมาให้รู้อยู่กับตัวรู้ในฌาน ๔ หรือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง) --> ไปสู่การเกิดขึ้นแห่งนิโรธ (คือการดับแล้วซึ่งเหตุ คือสังขารที่ปรุงแต่งไป ทำให้วิญญาณ นามรูป ... ภพ ชาติ ... ทุกข์ ดับ หรือว่าอย่างเคร่งครัดคือ ไม่เกิดขึ้นเพราะหมดเหตุ จิตปราศจากความอึดอัดคับข้อง เป็นสงบอิสระเบิกบาน) คือเห็นถึงปฏิจจสมุปบาทสายดับตลอดสาย อีกส่วนหนึ่ง :b44: :b44: :b39:

ซึ่งตรงนี้ จะต้องใช้ความละเอียดปราณีตมากจริงๆของตัวรู้ (คือจิตที่อยู่กับรู้ หรือใจ ในความหมายขององค์หลวงปู่เทสก์) ในการเข้าไปสังเกตเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นจิตที่ไหวด้วยการบีบคั้นปรุงแต่ง (ทุกขัง - ทุกขสัจจ์) :b48: :b42: :b41:

โดยการที่จะให้เห็นสภาวะ ปีติ หรือสุข (ซึ่งเป็นสภาวะที่ละเอียดปราณีตในฌาน) เป็นทุกขัง คือการบีบคั้น หรือทุกขสัจจ์ คือการเกิดขึ้นแห่งภพชาติ เป็นความอึดอัดได้นั้น :b51: :b51: :b51:

จะต้องมีสภาวะที่ละเอียด ปราณีตยิ่งกว่า เข้ามาเปรียบเทียบ จึงจะเห็นสภาวะเช่นนั้นเป็นการบีบคั้นไปได้ (คือตัวทุกขัง หรือในบางทีพระพุทธองค์และพระสารีบุตรท่านใช้คำว่า อาพาธ เมื่อมีสัญญาของฌานขั้นต่ำกว่าฟุ้งเข้ามาในฌานขั้นสูงกว่า) :b1: :b38: :b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรียบเทียบให้เห็นได้ง่ายขึ้นคือ ถ้าเราให้สภาวะโกรธ (โทสะ) :b33: เป็นสีดำมืดสนิท สภาวะอยาก (โลภะ) :b22: ก็คือสีดำธรรมดา ส่วนสภาวะเคลิบเคลิ้ม เผลอๆเหม่อๆ หลง ไร้สติ (โมหะ) :b23: ก็คือสีเทา :b46: :b46: :b46:

ซึ่งจะเริ่มสังเกตสภาวะเคลิ้ม – เหม่อ – เผลอ - หลงได้ยากขึ้นว่าจิตมืดมัว ยังมีสีดำเจือปนอยู่ ถ้าไม่มีสภาวะที่ดำกว่า คือโทสะ – โลภะ หรือสภาวะที่ขาวกว่า คือมีสติตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เข้ามาเปรียบเทียบ :b1: :b51: :b46:

ส่วนปีติหรือสุขซึ่งเป็นสภาวะจิตที่ละเอียดขึ้นนั้น อาจจะเปรียบได้กับสีขาว :b18: :b18: :b18:

ซึ่งถ้าไม่มีสิ่งที่ขาวกว่าแบบขาวสว่างจริงๆมาวางเทียบให้เห็นข้างๆ ก็จะไม่สามารถบอกได้เลยว่า สีขาวของปีติหรือสุขในองค์ฌานนั้น ยังหม่นและมีสีดำเจือปนอยู่เล็กน้อย :b1: :b46: :b46:

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการเปรียบเทียบความปราณีตของจิตในฌาน ๔ กับอรูปฌานขั้นที่สูงขึ้นซึ่งมีความละเอียดปราณีตกว่า โดยผู้ที่จะสังเกตเห็นถึงความหม่นของเอกัคคตาจิตในฌาน ๔ เทียบกับความขาวที่มากขึ้นไปอีกของจิตในระดับอรูปฌานจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีสมาธิและปัญญาละเอียดมากระดับพระสารีบุตร หรือพระพุทธองค์ตามที่เคยโพสไว้ก่อนหน้านะครับ :b39: :b39: :b39:

ซึ่งการเปรียบเทียบความขาวของจิตในฌาน ๒ หรือ ๓ กับความขาวกว่าของจิตในฌาน ๔ นี้ (คือการพิจารณาสุขโสมนัสเวทนา หรือเจตสิกอื่นๆที่ละเอียดในองค์ฌาน ให้เป็นความบีบคั้น คือทุกขัง หรือความดับไป คืออนิจจัง จนจิตรวมเห็นอนัตตาในไตรลักษณ์) ก็คือการปฏิบัติในแนวสุขาปฏิปทา ซึ่งปรากฏตามที่พระอานนท์กล่าวในช่วงต้นของปฏิปทาวรรคตามที่เคยโพสไว้ก่อนหน้า และเป็นปฏิปทาขององค์พระสารีบุตรตามข้อความที่ปรากฏในวรรคเดียวกัน :b46: :b45: :b51:

นั่นคือ การฏิบัติที่เอาสิ่งที่เรียกว่าปีติสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นในจิตอยู่เป็นประจำ มาพิจารณาลงในไตรลักษณ์ :b19: :b4: ซึ่งตรงกันข้ามกับทุกขาปฏิปทา ซึ่งเอาสิ่งที่เรียกว่าทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้นในจิตอยู่เป็นประจำ มาพิจารณาลงในไตรลักษณ์ :b31: :b5:

ดังนั้น การปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทาจึงเป็นวิธีปฏิบัติที่สะดวกสบายกว่า แต่ต้องใช้สติ สมาธิ และปัญญามากในการสังเกตพิจารณาในสิ่งที่ละเอียดลงในไตรลักษณ์ได้นะครับ :b1: :b44: :b44:

ดึกแล้ว ไว้มาต่อคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2011, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอกลับมาเพิ่มเติมในส่วนของการใช้ฌาน ๔ เป็นบาทฐานเพื่อน้อมจิตไปในอาสาวักขยญาณสักเล็กน้อยครับ :b1: :b51: :b51: :b51:

หลังจากที่จิตพิจารณาอนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะในฌาน ๔ ถึงจุดที่เห็นการดับในกิเลสตัวต้นราก คือความยึดอยากในกายใจ (อุปาทานขันธ์, อวิชชา) แล้ว จิตที่ตั้งมั่นเด่นดวงอยู่จะรวมพึบลงแล้วกระจายแผ่ออกไม่มีประมาณ คือเป็นสภาวะของจิตที่สลัดคืนรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม คือธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง :b41: :b46: :b39:

ซึ่งจิตจะเห็นสภาวะของอนัตตา หรือ สุญญตา อย่างแจ่มแจ้ง คือ ความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆที่ไม่มีตัวตน บุคคล เราเขา อยู่ภายในจิต

นั่นคือ จะเกิดความโล่ง โปร่ง เบา เบิกบาน เป็นอิสระ :b41: :b41: :b41:

และเห็นแจ้งอย่างซาบซึ้งถึงใจในพระธรรมบทที่เป็นคำกล่าวของวชิราภิกษุณีกับมาร ที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดีคือ :b42: :b39: :b39:

ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ฯ
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ


ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ - ความจริงทุกข์เท่านั้นเองเกิดขึ้น
ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ - ทุกข์นั่นเองย่อมตั้งอยู่และเสื่อมไป
นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ - นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
นาญฺญตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ - นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ

(วชิราสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

ซึ่ง ทุกฺขํ นี้ในความหมายหนึ่งได้แก่ ทุกขสัจจ์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ อันได้แก่ ความยึดติดถือมั่นในกายใจว่าเป็นตน เป็นของตน นี่คือตน นั่นเองเท่านั้นที่ "เกิด" และทำให้สิ่งต่างๆปรากฏ วิจิตรพิสดารด้วยการปรุงแต่ง

และเมื่อสิ่งนี้ (อุปาทานขันธ์) "ดับ" ก็จะทำให้กิเลสดับลงไปด้วยในจิต จนไม่รู้สึกถึงความเป็นแม้กระทั่งตัวตนของจิต

จะเห็นจิตเป็นเพียง “ธาตุรู้” อย่างหนึ่ง คือเป็น “ธรรมธาตุ” เพราะสลัดคืนจิตเป็นส่วนเดียวกับธรรม คือธรรมชาติเสียแล้ว :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และสิ่งที่จะตามมาคือความสุขอิสระเบิกบานอย่างมากมายมหาศาล ซึ่งจะทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงจิตถึงใจกับพุทธธรรมอีกบทหนึ่งที่ทุกท่านรู้จักกันดี ก็คือ :b45: :b45: :b45:

อนิจฺจา วต สงฺขารา – สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ......
อุปฺปาทวยธมฺมิโน – มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา .......
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ – บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ......
เตสํ วูปสโม สุโข – การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง ฯ

(มหาสุทัสสนชาดก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ว่าด้วยสังขาร)

ซึ่งสังขารในบทนี้ได้แก่ สังขตธรรม คือธรรมที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่ง คือ จิต - เจตสิก – รูป และการเข้าไประงับสังขารการปรุงแต่งเหล่านั้นเสียได้ คือพระนิพพาน ที่เป็นสุขอย่างยิ่ง :b41: :b41: :b41:

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างยังทำงานอยู่ต่อเนื่องตามกระบวนธรรมของเหตุและปัจจัยนะครับ ไม่ใช่ทิ้งขว้างไม่ทำอะไรเลย ซึ่งในระดับพระอรหันต์ที่ยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่ จะเป็นการกระทำที่ตัว “เหตุและปัจจัย” ด้วยกิริยาจิต เพื่อให้บรรลุ “ผล” ในกรอบของจริยะ - ธรรม หรืออริยะ - ธรรม คือความถูกต้องดีงาม โดยที่ไม่ได้ทำเพื่อสนองขันธ์ ๕ ของตัวเองอีกแล้ว :b39: :b39: :b39:

และเมื่อจิตออกมาทำงานเป็นกิริยาจิตจบแล้วก็กลับเข้าไปรู้อยู่กับตัวรู้หรือตัวว่างเป็นวิหารธรรม อยู่กับความว่าง (จากตัวตน) อย่างอิสระเบิกบานของท่านต่อไป :b8: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติของการให้จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งด้วยการนั่งสมาธิไปแล้ว คราวนี้ ลองมาดูการปฏิบัติและอานิสงค์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันกันดูบ้าง ซึ่งวิสุทธิปาละเห็นว่า มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย :b51: :b51: :b51:

จากการศึกษาทางวิทยาการในโลกสมัยใหม่ที่พบว่า จิตและสมองนั้นทำงานด้วยระบบ Neural Network ที่ถ้าต้องการฝึก ก็สามารถ “ฝึกได้” ด้วยการกระทำที่ซ้ำๆกันจนคุ้นชิน และเกิดความเป็นอัตโนมัติ (นิสัย – วาสนา - อนุสัย) ขึ้นมา :b4: :b46: :b46:

ถ้าเป็นทางกาย เช่นคนที่เคยฝึกว่ายน้ำเรื่อยๆจนว่ายน้ำเป็น เมื่อตกน้ำก็สามารถว่ายน้ำได้โดยอัตโนมัติ (แต่การฝึกให้เกิดความชำนาญทางกายนี้ ไม่สามารถติดตัวข้ามภพข้ามชาติได้) :b5: :b46: :b46:

หรือทางจิต เช่นคนที่อยู่กับสภาพสงบเย็นบ่อยๆจนคุ้นชิน เช่น เข้าวัดทำบุญบ่อย เมื่อเจอสภาพที่ไม่พอใจ ก็จะใจเย็น ไม่โกรธง่าย (ซึ่งการฝึกให้เกิดความชำนาญทางจิตนี้ สามารถเอาติดตัวข้ามภพข้ามชาติได้) :b4: :b36: :b41:

เช่นกันครับ การฝึกเข้าฌาน ๔ หรือการฝึกให้รู้อยู่กับตัวรู้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะในสมาธิหรือในการใช้ชีวิตประจำวันจนคุ้นชินแล้วนั้น สติตัวรู้ หรือจิตผู้รู้จะตามออกมาทำหน้าที่คุ้มครองจิตทั้งในชีวิตประจำวัน และในขณะหลับฝันได้เองโดยอัตโนมัติ :b1: :b46: :b46:

โดยเริ่มแรก จิตผู้รู้จะเป็นได้แค่ผู้ “ตามรู้” กายและใจ โดยเฉพาะกิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจะ “ถูกรู้” หลังจากที่เกิดขึ้นและปรุงแต่งจนเลยเถิดเกิดทุกข์แล้ว :b33: :b5: :b2:

ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นกิเลสตัวโมหะ (หลง) เป็นตัวต้นรากผุดนำขึ้นมาก่อนทุกครั้ง คืออาการขาด “สัมมาสติและโลกุตรสัมมาทิฏฐิ” (ได้แก่การขาดวิชชา คือมีอวิชชาหรือโมหะยืนพื้นอยู่) “หลง (โมหะ)” ออกไปปรุงแต่งในเรื่องยินดีอยาก (อภิชฌา, โลภะ = กามตัณหา + ภวตัณหา) หรือยินร้ายไม่อยาก (โทมนัสสัง, วิภวตัณหา ที่ทำให้เกิด โทสะ) เมื่อเกิดผัสสะเวทนาขึ้น :b38: :b37: :b39:

กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ (ปฏิจจสมุปบาท) เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในแวบเดียวจนจบสาย ซึ่งถ้าจิตไม่ได้ฝึกมาให้ไวและละเอียดพอ จะไม่สามารถสังเกตเห็นและคิดใคร่ครวญแยกแยะกระบวนการได้ว่า :b45: :b45: :b45:

การขาดโลกุตรสัมมาทิฏฐิ หรืออวิชชาที่มีอยู่ (ความไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นโมหะที่ผุดมาเป็นตัวแรก คือความ “หลง” ไปปรุงแต่งเจตนา เนื่องมาจากความไม่รู้) ทำให้เกิดสังขาร (ได้แก่ เจตนาเจตสิก) ในการไปรับรู้ผัสสะ (วิญญาณ + นามรูป + สฬายตนะ ซึ่งอาศัยเกิดขึ้นพร้อมกันและมีผลคือผัสสะ การรับรู้การกระทบ) ซึ่งก่อให้เกิดเวทนา :b51: :b51: :b51:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว
อีกนิดหนึ่งก็จบกิจพรหมจรรย์

:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในขั้นหลังจากเวทนา จะเห็นตัวโมหะโผล่ขึ้นมาทำงานอีกรอบก่อนจะเกิดตัณหา ได้แก่ การ “หลง” ไปปรุงแต่งเนื่องมาจากการขาด “สัมมาสติ” ซึ่งเป็นไปได้ ๓ ทางคือ

๑) “หลงขาดสติไปปรุงแต่งความเคลิบเคลิ้มเผลอเหม่อ ซึ่งเป็นกิเลสตัวโมหะล้วนๆเมื่อเกิดไม่สุขไม่ทุกข์จากผัสสะ (อุเบกขาเวทนา) = โมหะ --> โมหะ :b46: :b46: :b46:

๒) หรือ “หลงขาดสติไปปรุงแต่งยินดีชอบใจ (อภิชฌา, โลภะ = กามตัณหา + ภวตัณหา) และยึดอยาก (อุปาทาน) เมื่อเกิดสุขโสมนัสจากผัสสะ (กิเลสตัวโลภะที่มีรากมาจากโมหะ คือการไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงจึงเกิดการ “หลง” ไปปรุงแต่งแล้วอยาก “ดึง” เข้ามาหาตัว = โมหะ --> โลภะ) :b51: :b51: :b51:

๓) หรือ “หลงขาดสติไปปรุงแต่งยินร้าย (โทมนัสสัง, วิภวตัณหา ที่ทำให้เกิด โทสะ) และไม่ยึดไม่อยาก (อุปาทาน คือการยึดอยากในทางปฏิเสธ) เมื่อเกิดทุกข์โทมนัสจากผัสสะ (กิเลสตัวโทสะที่มีรากมาจากโมหะ คือการไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงจึงเกิดการ “หลง” ไปปรุงแต่งแล้วอยาก “ผลักออก” จากตัว = โมหะ --> โทสะ) :b53: :b53: :b53:

จนนำไปสู่การเกิดขึ้นแห่งภพ และทุกขสัจจ์ ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ โศกเศร้า คร่ำครวญ คับแค้นใจ และทุกข์ ซึ่งหมักหมมในขันธสันดานต่อเป็นอาสวะ ซึ่งเป็นเชื้อให้เกิดอวิชชาหมุนทับถมเป็นวงจรต่อเนื่องเกิดดับไปอีกนับภพนับชาติ (ทั้งการเกิดดับในภพภูมินี้และการเกิดดับข้ามภพภูมิ) :b1: :b44: :b44:

จะเห็นได้ว่า ปฏิจจสมุปบาทในวงของกิเลสวัฏฏ์ตัวต้นราก ๒ ตัวคือ อวิชชาและตัณหานั้น การจะตัดที่ขั้วของตัณหา จะมีสัมมาสติสัมมาสมาธิเป็นองค์ยืนที่ใช้ตัด (โดยมีอีก ๖ องค์ที่เหลือเป็นองค์สนับสนุน) เพราะเมื่อมีสติรู้ จนรู้เท่าทันความอยากแล้ว ความอยากทั้งหลายจะเกิดขึ้นไม่ได้ :b39: :b39: :b39:

แต่สำหรับขั้วของอวิชชานั้น จะต้องใช้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระสัมมาทิฏฐิเท่านั้นที่เป็นองค์นำเข้าไปตัด (โดยมีอีก ๗ องค์ที่เหลือสนับสนุน) ถึงจะตัดจนไม่เหลือเชื้อได้ทีละขั้นของโลกุตรผลนะครับ :b39: :b39: :b39:

โดยในภาคปฏิบัติ เมื่อวงจรเกิดขึ้นแล้วให้ใช้สติสมาธิ (มรรคให้เจริญ) ตามจนรู้ทันในตัวกิเลสและทุกข์ (ทุกข์ให้รู้) โดยไม่วกไปคำนึงถึงเหตุ (สมุทัยให้ละ) จนเห็นกิเลสและทุกข์ดับหรือไม่เกิด (นิโรธให้แจ้ง) ตามมรรคที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้าขององค์พระอานนท์ที่เคยโพสท์ตัวอย่างไว้ :b1: :b46: :b46:

ก็จะเป็นการตัดขั้ววงจรของทุกข์ที่ตัวตัณหาโดยใช้สัมมาสติสัมมาสมาธิ และเกิดปัญญารู้เท่าทันในสามัญลักษณะ คือโลกุตรสัมมาทิฏฐิ ที่สามารถเข้าไปตัดวงจรได้ถึงรากคือตัวอวิชชาครับ :b8: :b39: :b39:

ดึกแล้ว ขอมาต่อในคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร