วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 13:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 49, 50, 51, 52, 53, 54, 55 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2014, 11:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2014, 15:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เเมื่อมีสัมมาทิฏฺฐิแล้ว ทั้งนามรูปปริเฉทญาณและปัจยปริคหญาณก็จัดเป็นสัมมาสังกับปะตือการพิจารณาชอบ จะเห็นได้ว่าทั้งญาณที่1และญาณที่2นี้เป็นผลจากภาวนามยปัญญา ซึ่งไม่ใช่การคิด และในมรรคมีองค์8 ทั้งสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัป ทั้ง 2มรรคเป็นองค์ปัญญาแห่งการตัสรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 03:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สิ่งที่ควรทราบซึ่งเป็นองค์ประกอบของธรรมที่สำคัญต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ที่จริงสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เคยได้กล่าวมาแล้วในโพสต์ที่ผ่านๆมาแต่ยังไม่เคยแสดงในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือที่ใช้ สภาวธรรมที่คลายออก เทคนิคที่ใช้ในการปรับอินทรีย์ ลำดับของสมาธิ ภายใต้โครงสร้างวิปัสสนาญาณ 16 ซึ่งจะมีบางส่วนของเนื้อหาจะซ้ำของเดิม เนื้อหาบางส่วนอาจไม่เคยมีการกล่าวไว้ในหลักธรรม แต่อย่างไรก็ตามแนวทางและวิธีการต้องไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

โครงสร้างวิปัสสนาญาณ 16
1.นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณแสดงความเป็นเหตุผลหรือปัจจัยแห่งนามกับรูป
3.สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
4.อุทยัพพยญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
5.ภังคญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
6.ภยญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
7.อาทีนญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
8นิพพิทาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
9.มุญจิกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
10.ปฏิสังขารญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
11.สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
12.อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง 8 คืออุทพยญาณ-สังขารุเบกขาญาณที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง 8 ตามลำดับ )
13.โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
14.มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
15.ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
16.ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)

ขอเพิ่มเติม นามรูปปริจเฉทญาณ ในส่วนของตัวรู้และลักษณะการรู้
ความหมาย รู้การเคลื่อนไหวของกายใจ และ ตามรู้การเคลื่อนไหวของกายใจ
เมื่อเราคิดจะรู้การเคลื่อนไหวของกาย หากสังเกตให้ดีจะมีเพียงช่วงแรกของการรู้เท่านั้นที่เรียกว่า สติ ถ้ายังรู้การเคลื่อนไหวของกายต่อไป นั่นแสดงว่าเรามีเจตนาที่จะรู้อยู่กับกาย ซึ่งเจตนาที่จะรู้อยู่กับกาย นั้นคือตัณหา หากยังใช้เจตนาต่อไป ยิ่งปฏิบัติ จะพบว่าร่างกายจะหนักเกร็ง สมองมุนงง อึดอัด นี่คือความหมาย รู้การเคลื่อนไหวของกายใจ หรือเพ่งกาย
เพราะที่จริงแล้ว ตามธรรมชาติรู้ การรู้การเคลื่อนไหวของกายจะรู้เพียงชั่วขณะ ก็จะเปลี่ยนฐานรู้ เช่น ขณะรู้การเคลื่อนไหวของกายได้ไม่นาน จะมีช่วงเผลอ และจิตก็จะเคลื่อนไปคิดนึก ดังนั้นการปฏิบัติที่เป็นไปตามหลักวิปัสสนา ก็คือตามรู้ว่าจิตนึกคิด ซึ่งก็คือความหมาย ตามรู้การเคลื่อนไหวของกายใจ หรือ มีสติระลึกรู้ คือเผลอแล้วรู้นั่นเอง

:b8:
ที่อนุโลมญาณ เป็นช่วงตอนของอนัตตวิปัสสนา........ไม่มีการพิจารณาแล้ว(คือไม่มีอนิจจังและทุกขัง)......มันเป็นอนัตตามาตั้งแต่สังขารุเปกขาญาณ สภาวธรรมเขาจะจัดแจงตนเองโดยอนัตตาจริงๆ คือเข้าไปกำกับดูแลอะไรมิได้เลย เขาหากเป็นไปเอง (ตถตา).....มรรคทั้ง 8 โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ จะมาหลอมรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวตรงนี้ บางท่านเรียกว่า "เอโกมรรคโค"จนเกิดแรงส่งให้ข้ามโคตรจากปุถุชนไปสู่อริยชน

อุปมาคล้ายคนที่จะกระโดดข้ามร่องน้ำ เขาประมาณแรงตนเองว่าร่องนี้ข้ามได้แน่แล้ว จึงรวมพลังทั้งหมดวิ่งและกระโดดข้ามร่องน้ำไปจนพ้น
:b8:
อนุโมทนาในการแจกแจงธรรมโดยละเอียด

สาธุ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 10:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
suttiyan เขียน:
12.อนุโลมญาณ หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง 8 คืออุทพยญาณ-สังขารุเบกขาญาณที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง 8 ตามลำดับ )
13.โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ

:b8:
ที่อนุโลมญาณ เป็นช่วงตอนของอนัตตวิปัสสนา........ไม่มีการพิจารณาแล้ว(คือไม่มีอนิจจังและทุกขัง)......มันเป็นอนัตตามาตั้งแต่สังขารุเปกขาญาณ สภาวธรรมเขาจะจัดแจงตนเองโดยอนัตตาจริงๆ คือเข้าไปกำกับดูแลอะไรมิได้เลย เขาหากเป็นไปเอง (ตถตา).....มรรคทั้ง 8 โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ จะมาหลอมรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวตรงนี้ บางท่านเรียกว่า "เอโกมรรคโค"จนเกิดแรงส่งให้ข้ามโคตรจากปุถุชนไปสู่อริยชน

อุปมาคล้ายคนที่จะกระโดดข้ามร่องน้ำ เขาประมาณแรงตนเองว่าร่องนี้ข้ามได้แน่แล้ว จึงรวมพลังทั้งหมดวิ่งและกระโดดข้ามร่องน้ำไปจนพ้น
:b8:
อนุโมทนาในการแจกแจงธรรมโดยละเอียด

สาธุ
:b27:

ในการที่เรามัก
- จินตนาการ ถึงห้วงน้ำเข้ามาเกี่ยวพันกับการข้ามโคตร...
- จินตนาการ ถึงห้วง....ใด ๆ ก็ตาม เขามาเกี่ยวพันกับการข้ามโครต

:b1: :b1: :b1:

จิตนั้น อันประกอบด้วยเจตสิกอันจะเป็นปัจจัยสู่การข้ามโคตรฯ นั้น
และผู้ปฏิบัติได้ใช้คำว่า กระโดด กับอาการที่ดำเนินไปในขั้นนั้น

:b1:

หนึ่ง เปรียบการโดดลงจากหน้าผา สู่ความว่าง - ไม่แสดงการปรากฎอีกฝั่งที่จะหย่อนเท้าลง

อีกหนึ่ง เปรียบการกระโดดข้ามฝั่งน้ำ - ปรากฎฝั่งนี้ ห้วงน้ำ และฝั่งนั้น

:b1: :b1: :b1:

ลองตรองดู อาการจิต อารมณ์จิต ของทั้งสองการเปรียบ...ที่ต่างกัน
ไหนจะเป็นการข้ามโคตร กันแน่
หรือ ไม่แน่ ทั้งสองกรณีเปรียบ

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 14 ก.พ. 2014, 20:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 11:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=26402

:b1: :b12: :b12: :b12: :b1:

ระลึกถึงท่านมหาราชันย์

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 11:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อผ่าน โคตรภูญาณ แล้ว
จากนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะพอที่อ่านพระสูตรนี้เข้าใจได้

Quote Tipitaka:
ภิกษ ท.! นิพ พ านธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า?
สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.


ก. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ภิกษุ ท.! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.!
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ. อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอ
ย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและ
ทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ
ของเธอ อันใด,. ภิกษุ ท.! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ภิกษุ ท.! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.!
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว
มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
ภิกษุ ท.! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็น
ในโลกนี้เอง. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

(คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า :-)
นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือ
นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ เป็นไป
ในทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฎฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ, และนิพพาน-
ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า
(สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.

บุคคลเหล่าใดรู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็น
อสังขตบท
เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นพิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภว-
เนตติ; บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะ
การถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้วซึ่งภพทั้งปวง, ดังนี้.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 14 ก.พ. 2014, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนบไฟล์:
โอวาทปาฏิโมกข์.jpg
โอวาทปาฏิโมกข์.jpg [ 103.55 KiB | เปิดดู 2647 ครั้ง ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
ที่อนุโลมญาณ เป็นช่วงตอนของอนัตตวิปัสสนา........ไม่มีการพิจารณาแล้ว(คือไม่มีอนิจจังและทุกขัง)......มันเป็นอนัตตามาตั้งแต่สังขารุเปกขาญาณ สภาวธรรมเขาจะจัดแจงตนเองโดยอนัตตาจริงๆ คือเข้าไปกำกับดูแลอะไรมิได้เลย เขาหากเป็นไปเอง (ตถตา).....มรรคทั้ง 8 โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ จะมาหลอมรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวตรงนี้ บางท่านเรียกว่า "เอโกมรรคโค"จนเกิดแรงส่งให้ข้ามโคตรจากปุถุชนไปสู่อริยชน

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพระสูตร ที่แสดงการเปรียบเปรยลักษณะญาณนั้น ๆ อยู่แล้ว

เพียงแต่ว่า ผู้ใดมองออก

ก็จะสามารถหยิบการเปรียบเปรยนั้นมาใช้ในการอธิบายได้




:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2014, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องเข้าไปเห็นให้ชัดเจนว่า มันเกิดแรงส่ง

หรือ

อะไร ๆ โน่นนี่นั่น มันหมดแรงส่ง...กันแน่

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 10:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
"ผลทั้งหมด เกิดแต่เหตุ

ไม่มีเหตุ ไม่เกิดผล"

12 ญาณ เป็นเหตุและผลส่งกันขึ้นมา

13-14-15 เป็นผลที่เกิดครั้งเดียวเกิดแล้วไม่เกิดอีก

นี่คือการมองในแง่อนุโลม

"เหตุเบาบาง ผลเบาบาง"

"เหตุหมด ผลหมด".....เข้าสู่ความเป็น สุญญะ

นี่คือการมองใแง่ปฏิโลม
:b38:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 11:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
"ผลทั้งหมด เกิดแต่เหตุ

ไม่มีเหตุ ไม่เกิดผล"

12 ญาณ เป็นเหตุและผลส่งกันขึ้นมา

13-14-15 เป็นผลที่เกิดครั้งเดียวเกิดแล้วไม่เกิดอีก

นี่คือการมองในแง่อนุโลม

"เหตุเบาบาง ผลเบาบาง"

"เหตุหมด ผลหมด".....เข้าสู่ความเป็น สุญญะ

นี่คือการมองใแง่ปฏิโลม
:b38:
:b39:


ท่านดำเนินการปรับแต่งคำบรรยายธรรมไปทีละ step ที่มีการทักท้วง

:b1:

เพื่อ...อะไร


:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
"ผลทั้งหมด เกิดแต่เหตุ

ไม่มีเหตุ ไม่เกิดผล"

12 ญาณ เป็นเหตุและผลส่งกันขึ้นมา

13-14-15 เป็นผลที่เกิดครั้งเดียวเกิดแล้วไม่เกิดอีก

นี่คือการมองในแง่อนุโลม

"เหตุเบาบาง ผลเบาบาง"

"เหตุหมด ผลหมด".....เข้าสู่ความเป็น สุญญะ

นี่คือการมองใแง่ปฏิโลม
:b38:
:b39:


ท่านดำเนินการปรับแต่งคำบรรยายธรรมไปทีละ step ที่มีการทักท้วง

:b1:

เพื่อ...อะไร


:b1: :b1: :b1:

:b16:
เพื่อให้รู้ว่าสามารถมีมุมมองและคำอธิบายที่แตกต่างกันได้ในสภาวธรรมอันเดียวกันจำแนกไปตามพื้นความรู้บัญญัติ ระดับความสามารถ ความเฉียบแหลม คมกล้าความสามารถและประสบการณ์จริงของแต่ละท่านแต่ละคนครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

มองภาพกว้างในความเชื่อมโยงของแนวทาง และจุดหมายของการปฏิบัติธรรมตามวิถีเซ็นและหลวงปู่นัท ฮันห์กันแล้ว คราวนี้มาลงรายละเอียดในวิธีการปฏิบัติของท่านต่อเนื่องกันไปนะครับ :b46: :b39: :b41:

และจากแนวคำสอนของท่านที่มีกลิ่นอายของความเป็นกวีอย่างสูง แต่แฝงไว้ด้วยเรียบง่ายแบบเซ็น .. :b46: :b41: :b39:

วิสุทธิปาละพยายามเรียบเรียง เพื่อสรุปวิธีการเจริญสติของท่านด้วยสำนวนส่วนตัวไปได้สักพักใหญ่ ก็พบว่าไม่สามารถสื่อความได้อย่างเรียบง่าย งดงามตามอักษรเดิมที่ท่านเขียนขึ้นและมีผู้แปลไว้ :b6: :b5: :b1:

เลยขออนุญาตตัดต่อข้อความสำคัญที่สื่อถึงวิธีในการเจริญสติของท่าน มาให้ศึกษากันตรงๆเลยจะดีกว่า :b1: :b46: :b39: :b41:

(ถึงแม้ว่าจะยาวไปสักหน่อยก็ตาม ก็ขอให้ผู้ปฏิบัติได้อดทนอ่านกันสักนิด ซึ่งในขณะที่อ่านและจินตนาการตามไป ก็จะซึมซับได้ถึงความเรียบง่ายและงดงามในภาษาคำสอนของท่านนะครับ) :b1: :b46: :b41:

เริ่มจากข้อเขียนที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่สานุศิษย์และผู้ติดตามคำสอนของท่านกันก่อน ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2014, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ล้างจานเพื่อล้างจาน" และ "ความสงบจากชิ้นส้ม"
จากหนังสือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ (The Miracle of Being Awake)
เขียนโดย หลวงปู่นัท ฮันห์
แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม (ประชา หุตานุวัตร ในปัจจุบัน)



.. เมื่อ ๓๐ ปีก่อนโน้น ตอนที่ครูยังเป็นเณรอยู่ที่วัดตื่อเฮี้ยว การล้างถ้วยชามออกจะเป็นงานที่ไม่น่าอภิรมย์เอาเลย .. บางทีเณร ๒ องค์ ต้องล้างถ้วยชามของพระกว่า ๑๐๐ รูป สบู่ก็ไม่มี มีแต่ขี้เถ้าแกลบ และก็กาบมะพร้าวเท่านั้นเอง การล้างถ้วยชามกองเท่าภูเขาเลากาอย่างนั้น จึงเป็นงานที่น่าเบื่อมาก .. บางคนอาจจะรีบๆล้างแผล็บเดียวก็เสร็จ เพื่อจะมาหาความสุขกับการนั่งดื่มน้ำชา ..

ตามหลักพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของสติ ขณะล้างจานเราก็ควรจะล้างจานอย่างเดียว ซึ่งหมายความว่าขณะล้างจาน เราต้องรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเรากำลังล้างจาน ถ้าดูเผินๆอาจจะเห็นว่า เป็นเรื่องที่ออกจะดูโง่เขลาที่ไปให้ความสำคัญมากมายกับสิ่งธรรมดาๆ แต่นั่นกลับตรงจุดเผงเลยทีเดียว ..

ความเป็นจริงที่ว่า ครูกำลังยืนอยู่ตรงนั้น และล้างถ้วยชามเหล่านั้นอยู่ เป็นความจริงที่ถือว่าเป็นความอัศจรรย์ทีเดียว ครูเป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ตามลมหายใจตลอดเวลา รู้ตัวทั่วพร้อมถึงปัจจุบันกาลของตนเอง รู้พร้อมทั้งมโนกรรมและวจีกรรมต่างๆ

ไม่มีทางที่จะทำให้ใจของครูลอยแกว่งไปแกว่งมาเหมือนขวดแกว่งบนยอดคลื่น ความสำนึกของครูไม่มีอะไรจะมาทำให้หวั่นไหวได้ ดังฟองบนผิวคลื่นที่ซัดกระแทกกระทบกับหน้าผา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 49, 50, 51, 52, 53, 54, 55 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร