วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 13:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 48, 49, 50, 51, 52, 53, 54 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน คือความเพ่ง ความเข้าไปเพ่ง
ฌาน ... เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
สมาธิ เป็นความตั้งมั่นแห่งจิต

ฌานที่เป็นกุศล โลกียฌาน โลกุตตรฌาน

โลกียกุศลฌาน มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา มีสมาธิ แต่ได้เพียงวิหารสมาบัติที่มีอารมณ์เป็นเครื่องอยู่ มีความเพลินในอารมณ์ของฌานนั้นอยู่
>ฌาน 1 2 3 4
>รูปฌาน 1 2 3 4
>อรูปฌาน 1 2 3 4

โลกุตตรกุศลฌาน มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญา มีสมาธิ มีองค์ฌานเช่นเดียวกับโลกียฌาน แต่ต่างกันที่เมื่อเข้าถึงโลกียฌานใดก็ตาม ก็น้อมจิตพิจารณาฌานนั้นเพื่อละความเพลิน
ให้สำเร็จวิโมกข์ใดวิโมกข์หนึ่งใน วิโมกข์ 3
คือ อนิตตวิโมกข์ อัปณิหิตวิโมกข์ หรือสุญญตวิโมกข์.

ส่วนฌานที่เป็นอกุศลนั้น ไม่มีสติไม่มีปัญญา มีแต่สมาธิ ฌานนั้นจึงแนบแน่นไปกับอารมณ์ที่จิตทำความเพ่งอยู่
เป็นฌานที่พัวพันไปกับนิวรณ์ และเป็นฌานที่ไม่อาจแสดงคุณวิเศษใดๆ ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์

นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง


[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร


ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน


มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน


มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


[๑๑๘] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ เป็นอันว่า ท่านพระโคดม
พระองค์นั้น ทรงติเตียนฌานที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ
เอาละ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีกรณียะมาก จะขอลาไปในบัดนี้.


อา. ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านโปรดสำคัญกาลอันควรในบัดนี้ เถิด
ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระอานนท์แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=12463

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 มิ.ย. 2014, 18:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 10:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ

กรัชกายน่าจะอธิบายเพิ่มเติมได้เจ้าค่ะเรื่องฌาน เพราะกรัชกายบอกว่าแกเป็นพ่อชาน อ้าวเร็วพ่อชานมาบอกหน่อย :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:


กรัชกายน่าจะอธิบายเพิ่มเติมได้เจ้าค่ะเรื่องฌาน เพราะกรัชกายบอกว่าแกเป็นพ่อชาน อ้าวเร็วพ่อชานมาบอกหน่อย



ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อเห็นลูกๆเติบโตเลี้ยงตนเองได้ดำเนินชีวิตไปได้แล้ว ก็อุเบกขาหยุดขวนขวาย คอยดูอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปจุ้นจ้านจัดการนั่นนี่กับครอบครัวของเค้า นี่คือชีวิตพ่อ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
nongkong เขียน:


กรัชกายน่าจะอธิบายเพิ่มเติมได้เจ้าค่ะเรื่องฌาน เพราะกรัชกายบอกว่าแกเป็นพ่อชาน อ้าวเร็วพ่อชานมาบอกหน่อย



ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อเห็นลูกๆเติบโตเลี้ยงตนเองได้ดำเนินชีวิตไปได้แล้ว ก็อุเบกขาหยุดขวนขวาย คอยดูอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปจุ้นจ้านจัดการนั่นนี่กับครอบครัวของเค้า นี่คือชีวิตพ่อ :b32:

แถเก่งจังนะพ่อชาน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ



การทำสมาธิ....จนเป็นสมาธิได้....ก็ต้องปราศจากนิวรณ์....ไม่งั้นก็เป็นสมาธิไม่ได้

แต่.....ฌาน..ที่พระองค์ไม่สรรเสริญ.....ดูคล้ายกับว่า...มีนิวรณ์ทั้ง 5 อยู่ครบเลย...
ประเด็นคือ...มีนิวรณ์ครบ..แล้ว..จิตเป็นสมาธิ..ได้อย่างไร...แม้จะเป็นมิจฉาสมาธิก็เถอะ....

ก็เลยอยากฟังคำอธิบายจากเพื่อนๆ...นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

การทำสมาธิ....จนเป็นสมาธิได้....ก็ต้องปราศจากนิวรณ์....ไม่งั้นก็เป็นสมาธิไม่ได้

แต่.....ฌาน..ที่พระองค์ไม่สรรเสริญ.....ดูคล้ายกับว่า...มีนิวรณ์ทั้ง 5 อยู่ครบเลย...
ประเด็นคือ...มีนิวรณ์ครบ..แล้ว..จิตเป็นสมาธิ..ได้อย่างไร...แม้จะเป็นมิจฉาสมาธิก็เถอะ....

ก็เลยอยากฟังคำอธิบายจากเพื่อนๆ...นะครับ

สมาธิ เป็นสภาวะของจิตที่ตั้งมั่น
ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่า ขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล

ตัวที่ชี้ว่าเป็นกุศล หรืออกุศล คือสติและปัญญา ครับ

ดังนั้นขณะที่จิต เกาะมั่นอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
ถ้ามีสติมีปัญญา จิตนั้นก็เป็นกุศล และจิตเป็นสมาธิ
ถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญา จิตนั้นเป็นอกุศล และจิตเป็นสมาธิ

ถ้าถามว่า แล้วไม่มีสติไม่มีปัญญา แต่ถูกนิวรณ์ครอบงำ แต่เป็นสมาธิได้อย่างไร
ตอบว่า จิตมีความแล่นไปด้วยอำนาจของอนุสัยความเคยชิน ไปเกาะมั่นกับอารมณ์นั้นครับ
อาการเช่นนี้คือมิจฉาสติ สติที่อยู่ในอำนาจของอาสวะอนุสัยจึงไม่เรียกว่า สติปัญญาครับ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ



การทำสมาธิ....จนเป็นสมาธิได้....ก็ต้องปราศจากนิวรณ์....ไม่งั้นก็เป็นสมาธิไม่ได้

แต่.....ฌาน..ที่พระองค์ไม่สรรเสริญ.....ดูคล้ายกับว่า...มีนิวรณ์ทั้ง 5 อยู่ครบเลย...
ประเด็นคือ...มีนิวรณ์ครบ..แล้ว..จิตเป็นสมาธิ..ได้อย่างไร...แม้จะเป็นมิจฉาสมาธิก็เถอะ....

ก็เลยอยากฟังคำอธิบายจากเพื่อนๆ...นะครับ


คิดถึงความเป็นจริงง่าย ๆ

ถ้าเราอยากกินขนมจีบ และเรายังเพ่งขนมจีบอยู่
จดจ่อ ตั้งมั่นส่งจิตคลุกเคล้าไปกับขนมจีบอยู่
ไม่ยอมวางวายส่งจิตไปยังสิ่งอื่นเสียบ้าง
สุดท้ายเราได้ทำอะไรลงไปสักอย่างกับขนมจีบแน่

ถ้าจิตประกอบด้วยนิวรณ์ แล้วเรายังคงส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น ๆ อะไรๆที่จะตามมาก็จะไม่พ้นไปจากอำนาจแห่งนิวรณ์น่ะ
และด้วยความเป็นไปเช่นนั้น นักปฏิบัติที่แสวงหาปัญญาเพื่อกระทำการหลุดพ้น จะพ้นได้มั๊ยล่ะ

ขนมจีบ น่ะ

ให้พิจารณาเห็นลักษณะความน้อมไปของจิตในการเข้าไปเสพอารมณ์

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 17:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าหมั่นไส้คน แล้วยังส่งจิตไปในอารมณ์นั้นอยู่

ก็มีหวังได้เตะคนแน่น่ะ :b32: :b32: :b32:

แน่ล่ะ พระพุทธองค์มีเหตุผลที่จะไม่สรรเสริญอยู่แล้ว


และยิ่งถ้าเป็นผู้ที่มีฤทธิ์ทางใจ
ก็อาจจะทำได้มากกว่า เตะ น่ะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ



การทำสมาธิ....จนเป็นสมาธิได้....ก็ต้องปราศจากนิวรณ์....ไม่งั้นก็เป็นสมาธิไม่ได้

แต่.....ฌาน..ที่พระองค์ไม่สรรเสริญ.....ดูคล้ายกับว่า...มีนิวรณ์ทั้ง 5 อยู่ครบเลย...
ประเด็นคือ...มีนิวรณ์ครบ..แล้ว..จิตเป็นสมาธิ..ได้อย่างไร...แม้จะเป็นมิจฉาสมาธิก็เถอะ....

ก็เลยอยากฟังคำอธิบายจากเพื่อนๆ...นะครับ





คุณกบ เข้าใจคำว่า "เพ่ง" ไหม?

อาการเพ่ง เรียกว่า ฌาน

สมาธิ เป็นเรื่องของ ความตั้งมั่นของจิต เป็นคนละสภาวะที่เรียกว่า ฌาน

วิธีการทำสมาธิ มีหลากหลายรูปแบบ

ใช้การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ ก็มี

ในกรรมฐาน ๔๐ กอง

ใช้การเพ่ง ก็มี

ใช้การกำหนดรู้ ก็มี

พอคุณกบถามเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงเรื่องที่เคยโด่งดังมาก ในอดีต ที่เคยได้ยินมา

ลองเขียนเรื่อง ทำสมาธิโดยการเสพสังวาส แล้วเสริชหาในกูเกิ้ล

บางลัทธิ ใช้การเสพสังวาส ก็มี ลองหาอ่านดูนะ ในกูเกิ้ล ลัทธิตันตระ

ลิงค์น่ะมี แต่ไม่ขอแนบ ถ้าอยากรู้ หาอ่านเอง อยู่ในพันทิพ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกลองดูวลัยพรลอกคัมภีร์มาหรือเปล่า :b10: :b14: อ้อ เช่นนั้นด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 มิ.ย. 2014, 19:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์

นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง


[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร


ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน


มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน


มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์
และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


[๑๑๘] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ เป็นอันว่า ท่านพระโคดม
พระองค์นั้น ทรงติเตียนฌานที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ
เอาละ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีกรณียะมาก จะขอลาไปในบัดนี้.


อา. ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านโปรดสำคัญกาลอันควรในบัดนี้ เถิด
ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระอานนท์แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=12463







"ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน


มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน


มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน"





หมายเหตุ:

ขณะทำความเพียร ในรูปแบบใด ก็ตาม
เมื่อมีผัสสะเกิด เป็นปัจจัยให้ เกิดความรู้สึกนึกคิด

เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
จึงไม่รู้จัก "ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕"

หากรู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
ย่อมรู้ว่า ความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น เกิดจากอะไร เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อรู้ว่า เป็นความปกติของเหตุปัจจัยที่มีอยู่
ย่อมไม่นำสิ่งที่เกิดขึ้น มาเป็นอารมณ์ แค่รู้ว่า มีเกิดขึ้น




ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า
ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.



ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า
ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า
ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า
ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง."
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีใครว่า เอามั่งงั้นก็


ความหมายคำว่า ฌาน


ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่า ฌาน ๔ ตามปกติหมายถึง รูปฌาน ๔ ดังนั้น จะพูดว่า ฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ก็มีความหมายเท่ากัน อนึ่ง ไม่พึงสับสนฌาน ๔ กับ ฌาน ๕ เพราะฌาน ๕ ก็คือฌาน ๔ นั่นเอง เป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌานที่ ๕ ตามแนวอภิธรรมนั้น ก็ตรงกับฌานที่ ๔ ในที่นี้นั่นเอง (ฌานที่แยกเป็น ๔ เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็นแบบหลักที่ทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรม เรียก ฌานปัญจกนัย)


ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้นมีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆกัน แยกได้เป็นหลายระดับ ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่ วิตก (การจรดจิตลงในอารมณ์) วิจาร (การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) และเอกัคคตา (ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)


ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ (รูปฌาน) ท่านนิยมแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ มีองค์ประกอบที่ใช้กำหนดระดับ ดังนี้

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา


ฌานที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา เหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรมเป็น อารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด

ฌาน อาจใช้ในความหมายหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และอาจใช้ในแง่ที่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/98) หรือกิริยาของสัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน (ใช้ในรูปกริยา เช่น ม.มู.12/560/604)


บางทีก็นำไปแสดงความ หมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา ในอรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์ตามแบบสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ ฌานสมาบัตินั่นเอง) การเพ่งพินิจให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน (ในกรณีนี้ แม้แต่มรรค ผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่า เผากิเลสบ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพานบ้าง) (องฺ.อ.1/536 ปฏิสํ.อ.221 สงฺคณี. อ. 273...)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
walaiporn เขียน:
คำว่า ฌาน หมายถึง ลักษณะอาการ "เพ่ง"
เป็นที่มาของ กุศลฌาน และ อกุศลฌาน

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่งท่านพระโคดมพระองค์
นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้า
เข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย

พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่
พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดกามราคะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะกามราคะ
ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ
ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะ อันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ
ทำอุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา
ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน

ดูก่อนพราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.


ดูก่
]

ใครพอจะอธิบาย.....เพิ่มเติม....ได้บ้างครับ



การทำสมาธิ....จนเป็นสมาธิได้....ก็ต้องปราศจากนิวรณ์....ไม่งั้นก็เป็นสมาธิไม่ได้

แต่.....ฌาน..ที่พระองค์ไม่สรรเสริญ.....ดูคล้ายกับว่า...มีนิวรณ์ทั้ง 5 อยู่ครบเลย...
ประเด็นคือ...มีนิวรณ์ครบ..แล้ว..จิตเป็นสมาธิ..ได้อย่างไร...แม้จะเป็นมิจฉาสมาธิก็เถอะ....

ก็เลยอยากฟังคำอธิบายจากเพื่อนๆ...นะครับ

ฌาน หมายถึง ลักษณะของจิตที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพ่งอยู่กับมัน โดยไม่แส่ส่าย จนจิตเป็นสมาธิ แล้วถ้าเกิดว่าจิตในขณะนั้นเพ่งจดจ่อในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างเหนียวแน่นจนเป็นสมาธิล่ะ จะเกิดอะไรขึ้นในขณะนั้น :b10:
ยกตัวอย่าง สมาธิที่เพ่งที่มองเห็นง่ายๆเลยคือ นักยิงธนู นักยิงปืน สมาธิพวกเค้านี้คือเป็นการเพ่ง จดจ่อกับเป้าหมายเพราะเค้าได้รับการฝึกฝนมาจนชำนาญ แล้วถ้าเป็นประเภทคนที่ได้ฌาน แล้วเกิดอารมณ์ที่เป็นมิจฉาสติขึ้นมา อย่างนิวรณ์ครอบงำมีจิตพยาบาท แล้วเพ่งไปยังผู้ที่เป็นปฏิปักต่ออำนาจจิตนั้น กำลังในมิจฉาสมาธิจะเกิดขึ้นได้ไหม ถ้าจิตจดจ่ออยู่ในอารมณ์พยาบาทอย่างเหนียวแน่น ตั้งมั่นตั้งเป้าหมายไว้ แล้วถ้าพลังงานบางอย่างที่แฝงอยู่ในรูปของพลังงานทางจิตขึ้นมา เราจะควบคุมพลังในรูปแบบนั้นได้ไหม ถ้าเราเพ่งใส่ผู้อื่น
อ้างคำพูด:
เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท
ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง



eragon_joe เขียน:
และถ้าหมั่นไส้คน แล้วยังส่งจิตไปในอารมณ์นั้นอยู่

ก็มีหวังได้เตะคนแน่น่ะ :b32: :b32: :b32:

แน่ล่ะ พระพุทธองค์มีเหตุผลที่จะไม่สรรเสริญอยู่แล้ว


และยิ่งถ้าเป็นผู้ที่มีฤทธิ์ทางใจ
ก็อาจจะทำได้มากกว่า เตะ น่ะ


:b1:

:b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 48, 49, 50, 51, 52, 53, 54 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร