วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 03:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
ผัสสะ


[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า
ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์









พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน








อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน





อุปวาณสูตร




[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947







สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
บางสิ่ง ไม่มีผลกระทบทางใจ สักแต่ว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้น



ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




เมื่อประกอบเนืองๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






ผล



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายใจความพระธรรมคำสอน
เกี่ยวเนื่องด้วย อริยสัจ ๔


ทุกข์

เหตุแห่งทุกข์

ความดับทุกข์

และวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์



อริยสัจ ๔



๑.อริยสัจ๔ ที่ว่าด้วย ปัจจัยที่ทำให้เกิด ทุกข์ สุข มีเกิดขึ้นในชีวิต

๒.อริยสัจ๔ ที่ว่าด้วย ปัจจัยที่ทำให้ เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ



การขยายใจความเกี่ยวกับการอธิบายอริยสัจ ๔
ใช้พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท
และการอธิบายความของคำเรียกต่างๆ ใช้พระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้เป็นหลัก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ก.ย. 2015, 21:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ๔(ฝ่ายเหตุของการเกิด-ดับเหตุของการเกิด การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ)



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์

แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์

แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์

แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายก็เป็นทุกข์

การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็ เป็นทุกข์

กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า
ทุกขอริยสัจ







ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า
ทุกขสมุทยอริยสัจ







ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว

จึงมีความดับแห่งสังขาร

เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป

เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ

เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา

เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา

เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ

เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น

ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า
ทุกขนิโรธอริยสัจ












ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?


มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ
นี้นั่นเอง กล่าวคือ

( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ





ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่าเหล่านี้ คือ
อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้

เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์
ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้
ทำให้เศร้าหมองไม่ได้
ติเตียนไม่ได้
คัดง้างไม่ได้
ดังนี้

อันใดอันเรากล่าวแล้วข้อนั้น
เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้

ก้าวย่างอย่างพุทธะ
อริยสัจสี่ – ปฏิจจสมุปบาท – ( หน้า ๗๕ – ๗๘ )








หมายเหตุ;


ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?

แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์


แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์

แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์

แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายก็เป็นทุกข์

การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์

ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็ เป็นทุกข์

กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า
ทุกขอริยสัจ



หมายเหตุ;
ขึ้นชื่อว่า การเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ฐานะใด ล้วนเป็นทุกข์



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน

ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า
ทุกขสมุทยอริยสัจ



หมายเหตุ;
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่ยังมีอยู่ เป็นปัจจัยให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ







ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะความจางคลายดับไป
โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว

จึงมีความดับแห่งสังขาร

เพราะมีความดับแห่งสังขาร
จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ
จึงมีความดับแห่งนามรูป

เพราะมีความดับแห่งนามรูป
จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
จึงมีความดับแห่งผัสสะ

เพราะมีความดับแห่งผัสสะ
จึงมีความดับแห่งเวทนา

เพราะมีความดับแห่งเวทนา
จึงมีความดับแห่งตัณหา

เพราะมีความดับแห่งตัณหา
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน
จึงมีความดับแห่งภพ

เพราะมีความดับแห่งภพ
จึงมีความดับแห่งชาติ

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรา มรณะ
โสกะ ปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ
ทั้งหลายจึงดับสิ้น

ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า
ทุกขนิโรธอริยสัจ




หมายเหตุ;
การดับเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด






ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นอย่างไรเล่า ?

มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ

นี้นั่นเอง กล่าวคือ

( ความเห็นชอบ )
สัมมาทิฏฐิ

( ความดำริชอบ )
สัมมาสังกัปปะ

( การพูดจาชอบ )
สัมมาวาจา

( การงานชอบ )
สัมมากัมมันตะ

( การเลี้ยงชีพชอบ )
สัมมาอาชีวะ

( ความเพียรชอบ )
สัมมาวายามะ

( ความระลึกชอบ )
สัมมาสติ

( ความตั้งใจมั่นชอบ )
สัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรากล่าวว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



หมายเหตุ;
วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุภพชาติของการเวียนว่ายตายเกิด ที่ยังมีอยู่ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะควบคู่(การดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบันและภพชาติในวัฏฏสงสาร)


ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑


๑. การหยุดสร้างเหตุนอกตัว
ขณะที่ผัสสะเกิด แล้วสิ่งๆนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดจะสั้นหรือจะยาวก็ตาม
ให้กำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ) แต่ไม่สร้างเหตุออกไป
ตามแรงผลักดันของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ
(เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย
รับผลกรรมเก่า
แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
)

๒. ทำความเพียรต่อเนื่อง รูปแบบใด ก็ใช้ได้หมด
เพราะเหตุปัจจัย สร้างมาแตกต่างกันการ
สภาวะการปฏิบัติของแต่ละคน จึงแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่
และเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่(ผัสสะ)


การปฏิบัติทุกๆรูปแบบ ไม่มีแบบไหน ที่เรียกว่า ดีที่สุด และไม่มีแย่ที่สุด
สูงสุด ต่ำสุด ไม่มีการเปรียบเทียบในการปฏิบัติ
ที่ยังมีการเปรียบเทียบอยู่ ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของแต่ละคน

สองสิ่งที่บอกไปนี้ เป็นการใช้ภาษาแบบชาวบ้าน แบบปริยัติก็มีอยู่
มีปรากฏอยู่ทั้งในพระไตรปิฎก และพุทธวจนะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2015, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ฐานสูตร (อารามสูตร)

[๓๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่
ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่
ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่
ชอบคณะ ยินดีคณะ
ประกอบความยินดีในคณะ
จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก
จักถือนิมิตแห่งจิต
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เมื่อไม่ถือนิมิตแห่งจิต
จักบำเพ็ญสัมมาทิฐิให้สมบูรณ์
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฐิให้สมบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์แล้ว
จักละสังโยชน์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ไม่ละสังโยชน์แล้ว จักกระทำให้แจ้ง
ซึ่งนิพพาน ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่
ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่
ไม่ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่
ไม่ชอบคณะ ไม่ยินดีคณะ
ไม่ประกอบความยินดีคณะ
จักเป็นผู้อยู่รูปเดียวยินดียิ่งในวิเวก
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้


เมื่อเป็นผู้อยู่รูปเดียวยินดียิ่งในวิเวก
จักถือนิมิตแห่งจิต
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้


เมื่อถือนิมิตแห่งจิต
จักบำเพ็ญสัมมาทิฐิให้สมบูรณ์
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้


บำเพ็ญสัมมาทิฐิให้สมบูรณ์แล้ว
จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้



บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์แล้ว
จักละสังโยชน์
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้


ละสังโยชน์ได้แล้ว
จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ

จบสูตรที่ ๔



http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 895&Z=9914

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2015, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ ๔
(ฝ่ายเหตุของการเกิดและดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน
ได้แก่ ทุกข์ สุข ที่มีเกิดขึ้นในชีวิต)




เหตุและปัจจัยที่ทำให้ ทุกข์-สุข มีเกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ ตัณหา

เหตุปัจจัยจาก อวิชชาที่มีอยู่
เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัด สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า “ผัสสะ”

เมื่อไม่รู้ว่า ทำไมสิ่งที่เกิดขึ้น จึงมีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

เพราะความไม่รู้ จึงหลงกระทำตามแรงตัณหา ความทะยานอยากที่เกิดขึ้น

ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไป ให้เกิดเป็นกรรมใหม่(กายกรรม วจีกรรม)

เหตุมี ผลย่อมมี
ทุกข์ สุข จึงมีบังเกิดในชีวิตเพราะเหตุนี้





ว่าด้วย ผัสสะ เป็นปัจจัย

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ
โสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์(ความทุกข์กาย)
โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้


หมายเหตุ;
ชรา มรณะ ในทีนี้หมายถึง โลกธรรม ๘








โลกวิปัตติสูตร

[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ
๘ ประการเป็นไฉนคือ

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑

นินทา ๑ สรรเสริญ ๑

สุข ๑ ทุกข์ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้



ดูกรภิกษุ ทั้งหลายลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี
ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี
นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี
สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน
มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ



ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ



พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเขาไม่ตระหนักชัด
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า

ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็แต่ว่าลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ ... ยศ ... ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ...
ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

เขาไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ ...แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ...
แม้นินทา ...แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของเขาได้


เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้วย่อมยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ
ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา
ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์

เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้
ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด

ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ความเสื่อมลาภ ... ยศ ...ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ...
สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ

อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า
ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้

แม้ความเสื่อมลาภ ... แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ...แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ...
แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้

ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ
ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ
ไม่ยินดีความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา
ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์

ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้
ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน
ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ



ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑

เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว

พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่า

ปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่อ

อนิฏฐารมณ์ ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่

อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก

เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ

จบสูตรที่ ๖

http://www.tripitaka91.com/91book/book3 ... 50.htm#308





ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์








ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

ขันธ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง

ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


หมายเหตุ;

[b]ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕


ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง

ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้
เรียกว่า ขันธ์ ๕"


อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)




ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลาย
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ
คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

ฉันทราคะ(ตัณหา)ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ

นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)



อุปทานขันธ์ ๕ ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่นในตัวกรู ของกรู[/b]







ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก
อันประกอบด้วย ความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน
มักทำให้เพลินอย่างยิ่ง ในอารมณ์นั้น ๆ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์



หมายเหตุ;

กามตัณหา ตัณหาในกาม หมายถึง;
ความยินดี ความพอใจ ในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

ภวตัณหา ตัณหาในความมีความเป็น
หมายถึง ความอยากมี อยากเป็น ทั้งทางโลกและทางธรรม

วิภวตัณหา
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น
หมายถึง ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ทั้งทางโลกและทางธรรม



๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง

ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง

ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุขก็ดี
ทุกข์ก็ดี
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี

เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง
พิจารณาเห็นความหน่าย
พิจารณาเห็นความดับ
พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น

เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆในโลก
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตน

ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล
ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน
เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน
เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ดูกรโมคคัลลาน์ เราจำได้อยู่ว่า
เราเป็นผู้กล่าวความน้อมไปในธรรม
เป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0







ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

ความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง
ซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์



หมายเหตุ;
ได้แก่ รู้ทันตัณหา ไม่สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น




ภิกษุทั้งหลาย !
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

( สัมมาทิฏฐิ )
ความเห็นชอบ

( สัมมาสังกัปปะ )
ความดำริชอบ

( สัมมาวาจา )
การพูดจาชอบ

( สัมมากัมมันตะ )
การงานชอบ

( สัมมาอาชีวะ )
การเลี้ยงชีพชอบ

( สัมมาวายามะ )
ความเพียรชอบ

( สัมมาสติ )
ความระลึกชอบ

( สัมมาสมาธิ )
ความตั้งใจมั่นชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์



หมายเหตุ;

วิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)
กล่าวคือ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
กระทำไว้ในใจ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น






ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้
พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็น
ทุกข์

นี้เป็น
เหตุให้เกิดทุกข์

นี้เป็น
ความดับไม่เหลือของทุกข์

นี้เป็น
ทางดำเนินให้ถึง
ความดับไม่เหลือของทุกข์

ดังนี้เถิด

ตามรอยธรรม – อริยสัจสี่โดยสังเขป
( หน้า ๑๓ – ๑๕ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 20 ก.ย. 2015, 21:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2015, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก




[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก
เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น.


ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
ไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า


ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?


เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.



ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ
ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า


ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก
ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี.



ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้
ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ




[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ
ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น


ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า
ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง


ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น
จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า

ดูกรท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้
ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่ว่า

ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น
จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค.



[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจง
มา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา
ท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ
พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.
สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว
จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า
ดูกรโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ
ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี


ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย
จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ
จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.




ยังมีต่อ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2015, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
ผัสสะ


[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า
ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์









พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน








อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน





อุปวาณสูตร




[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947







สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
บางสิ่ง ไม่มีผลกระทบทางใจ สักแต่ว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้น



ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

กล่าวคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




เมื่อประกอบเนืองๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต(ผัสสะ)
บางสิ่งมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ

ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง

ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามา

วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






ผล



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2015, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ว่าด้วยผัสสะ

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ




ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,
อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,
อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,
และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;
ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น
ชื่อว่า ผัสสะ.


เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่,


อนุสัยคือราคะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก
ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ
ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่,

อนุสัยคือปฏิฆะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,

อนุสัยคืออวิชชา
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.







ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2015, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง

ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้
เรียกว่า ขันธ์ ๕"


อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม
ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"
(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)




ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ
คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ(ตัณหา)ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ
นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ
(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)








ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้

ความกำหนดรู้

และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง.




[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้





[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน?

ความสิ้นไปแห่งราคะ

ความสิ้นไปแห่งโทสะ

ความสิ้นไปแห่งโมหะ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้







[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน?

บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.
(พระไตรปิฎก เล่มที่๑๗/๒๘๙)





๔. ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


[๓๖๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะท่านพระราธะว่า


ดูกรราธะ เราจักแสดงปริญเญยยธรรม
ธรรมอันบุคคลควรกำหนดรู้
ปริญญาความกำหนดรู้
และปริญญาตาวีบุคคล
บุคคลผู้กำหนดรู้ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระราธะ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ
ปริญเญยยธรรมเป็นไฉน?


ดูกรราธะ
รูปแลเป็นปริญเญยยธรรม
เวทนาเป็นปริญเญยยธรรม
สัญญาเป็นปริญเญยยธรรม
สังขารเป็นปริญเญยยธรรม
วิญญาณเป็นปริญเญยยธรรม
ดูกรราธะ ธรรมเหล่านี้เรากล่าวว่า ปริญเญยยธรรม:



ดูกรราธะ ปริญญาเป็นไฉน?

ความสิ้นราคะ

ความสิ้นโทสะ

ความสิ้นโมหะ

นี้เรากล่าวว่าปริญญา.







ดูกรราธะ ปริญญาตาวีบุคคลเป็นไฉน?

ผู้ที่เขาพึงเรียกกันว่า พระอรหันต์ คือ
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

ดูกรราธะ ผู้นี้เรากล่าวว่า
ปริญญาตาวีบุคคล.

จบ สูตรที่ ๔.









อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมังนะมัสสามิ. (กราบ)

สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว , ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)







นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)



อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุขโต โลกะวิทู,
อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,
สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
พุทโธ ภะคะวาติ (กราบ)

เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส
และตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความเจริญ
เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2015, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม....
สิ่งที่มิใช่วินัยว่าเป็นวินัย ...

แสดงคำที่พระตถาคตมิได้กล่าวไว้
ตรัสไว้ว่าพระตถาคตกล่าวไว้ตรัสไว้...

แสดงธรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงประกอบ
ว่าพระตถาคตทรงประกอบ ....

แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติ
ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติ....

ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความเสียหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก
เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๑๓๑-๑๓๒)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2015, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ




http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2015, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พึงถือประมาณในบุคคลอื่น


ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณ ในเรื่องนั้นว่า
ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี

ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล

เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน







ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก
๑๐ จำพวกเป็นไฉน




ดูกรอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง


บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ





ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล แต่รู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง


บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม






ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า
ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี


ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน






ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง
กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติ แม้อันเกิดในสมัย

ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต






ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล

เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ







ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ





ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง


บุคคลนั้นกระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติ แม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ







ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ


ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติ แม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ








ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ











ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ


ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย
เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม
ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม



ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ
ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า

ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ
ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน






ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง

บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย

บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต





ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ








ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไร
และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล

ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก


ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด
บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น
บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้

บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด
บุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น
บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้

ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕

หน้า ๑๒๒


http://etipitaka.com/read/thai/24/119/

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2015, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต
ทั้งที่มั่งมี และ ยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า.


เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น


วัยของเรา แก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว
เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเองเราได้ทำไว้แล้ว


ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี
ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด


ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


มหา. ที. ๑๐/๑๔๑/๑๐๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2015, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ว่าด้วยผัสสะ

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ




ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,
อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,
อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,
และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;
ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น
ชื่อว่า ผัสสะ.


เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่,


อนุสัยคือราคะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก
ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ
ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่,

อนุสัยคือปฏิฆะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,

อนุสัยคืออวิชชา
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.







ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร