วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 16:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:


:b8: :b8: :b8:


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตตานัง ก็เป็น สภาวะที่จิตเข้าไปรู้ได้

:b13: :b4: :b4: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จิตจะ ตัด/ขาด จาก ภพ ได้ง่าย ๆ

เพราะ ตัณหา เปรียบดัง ยางเหนียว
พระพุทธองค์ เปรียบเปรย เช่นนั้น

ยางนั้น เป็น แรงกระทำ อย่างหนึ่ง
ที่ จิตเข้าไปรู้ได้

จงปลง อาลัย เสีย

:b45: :b45: :b45:


ภพใหญ่ตัดยาก....ก็ลองตัดภพย่อย ๆ...ที่มียางยังไม่เหนียวมากนัก..ดู..อิอิ. :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 21:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คือ การที่เราจะตัดภพ ตัดชาติได้นั้น

จิต จะแสดงสภาวะ
ไม่ใช่ คิดเอา นะ
ถ้าคิดเอา มันคิดไปได้เรื่อย ตั้งแต่ หมู หมา กา ไก่ ไม้จิ้มฟัน ยันเรือรบ
ยิ่งคิดกระจาย โจทย์ที่ต้องตีก็ยิ่งกระจาย

:b8: :b8: :b8:

:b8: :b8:

คิดเป็นเส้นตรง...เส้นสั้น ๆ...

แก้สมการสั้น ๆ...ง่าย ๆ...

ใช้ปล่องใดปล่องหนึ่ง...ของปฏิจจะ...ปล่องเดียวก็พอสำหรับสาวกภูมิ...

สำคัญ...อย่าแตก...แต่..ต่อเป็นเส้น...เส้นเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 22:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จิตจะ ตัด/ขาด จาก ภพ ได้ง่าย ๆ

เพราะ ตัณหา เปรียบดัง ยางเหนียว
พระพุทธองค์ เปรียบเปรย เช่นนั้น

ยางนั้น เป็น แรงกระทำ อย่างหนึ่ง
ที่ จิตเข้าไปรู้ได้

จงปลง อาลัย เสีย

:b45: :b45: :b45:


ภพใหญ่ตัดยาก....ก็ลองตัดภพย่อย ๆ...ที่มียางยังไม่เหนียวมากนัก..ดู..อิอิ. :b12: :b12: :b12:


:b13: :b13: :b13:

เราไม่ได้เลือก หรอก
จิต มันไม่ได้ทอดธุระ ในการเข้าไปกิน

แม้แต่ตอนเป็น สมาธิ ว่านิ่ง ๆ มันก็กำลัง กิน

แม้ยางเหนี๋ยว ถ้าปัจจัยส่ง ก็ ... :b4:
แม้ยางไม่เหนี๋ยว ถ้าปัจจัยไม่ส่ง ก็... :b13:

ลืมไปได้เรย ...ว่าเราจะปฏิบัติสำเร็จวันไหน บรรลุวันไหน
เราต้องพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามา
ซึ่งมันเข้ามา และมันก็ผ่านไป

จิตเขาไม่ใช่สิ่งที่ ต้องฝึก หรือ ฝึกยาก
เขาทำตามหน้าที่ของเขาด้วยดีมาตลอด
แต่ มรึงน่ะแหละ รู้มั๊ย มรึงน่ะแหละ
( :b32: :b4: ขออภัย แบบว่าต้องใช้คำให้ได้อารมณ์ ขำขำ)

:b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 28 พ.ย. 2012, 22:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 22:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ....

ต้องทำปัจจัยมันไปเรื่อย ๆ... :b16: :b16: :b16:

เหมือนปิรามิด...ตอนจะเสร็จ...มันวางก้อนหินก้อนสุดท้ายแค่ก้อนเดียว...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิอิ....

ต้องทำปัจจัยมันไปเรื่อย ๆ... :b16: :b16: :b16:

เหมือนปิรามิด...ตอนจะเสร็จ...มันวางก้อนหินก้อนสุดท้ายแค่ก้อนเดียว...


:b32: :b32: :b32:

คิดยังไง ถึงได้สร้างปิรามิด

เอกอนนั่งเชียร์คนเขาสร้างดีกว่า
และก็ชวนกันนั่งดูมันผุพัง ทลายลงมา
แม้หินที่เคยอยู่ก้อนบนสุด ก้อนที่น่าภูมิในนักหนา
สุดท้ายก็ลงมากองอยู่เสมอดิน

จุดที่เราคิดไม่ถึงนี้ อาจจะเป็นจุดที่สูงที่สุด ก็ได้

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 10:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 29 พ.ย. 2012, 10:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 10:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ....ผู้ชม..นี้สบายกว่าผู้คุมงานเสียอีก...เอิ๊ก...เอิ๊ก...

คิดว่า....มีแต่อากาศ....เราก็คิดมาแล้ว
คิดว่า...มีแต่วิญญาณ....เราๆก็คิดมาแล้ว
คิดว่า...ไม่มีอะไรเลย....เราๆก็คิดมาแล้ว
ถึงขนาดที่ว่า...ปฏิเสธว่ามีสัญญา....เราๆก็ทำมาแล้ว

อิอิ...ที่จะมานั่งเชียร์อย่างเดียว...ก็เพราะเคยทำมาหมดแล้ว...นะซิ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิอิ....ผู้ชม..นี้สบายกว่าผู้คุมงานเสียอีก...เอิ๊ก...เอิ๊ก...

คิดว่า....มีแต่อากาศ....เราก็คิดมาแล้ว
คิดว่า...มีแต่วิญญาณ....เราๆก็คิดมาแล้ว
คิดว่า...ไม่มีอะไรเลย....เราๆก็คิดมาแล้ว
ถึงขนาดที่ว่า...ปฏิเสธว่ามีสัญญา....เราๆก็ทำมาแล้ว

อิอิ...ที่จะมานั่งเชียร์อย่างเดียว...ก็เพราะเคยทำมาหมดแล้ว...นะซิ

:b12: :b12: :b12:

:b9: :b9:

ไม่รู้จิ่ รู้แต่ว่า
ช่วงนี้บ๊กตู่ไม่อยู่ ลานมันเงียบ ๆ ไม่ค่อยมีโพสต์อะไรเคลื่อนไหว
ก็เลยหาเรื่องหาราวมา "นำเหน๋อ" ปั่นกระทู้ไปเรื่อย ๆ งั๊นล่ะ ลานจะได้ไม่เงียบ
:b5: :b6: :b9: :b9:

อิอิ เป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล น่ะ :b32: :b32:

:b13: :b3: :b3: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยเรื่อง สัญญา(เก่า)หร๋า

ถ้าเห็นลักษณะของ "กรรม" ก็จะพอมองภาพ "สัญญา(เก่า)" ออก

พิจารณาการแก้กรรม ตามแนวทางพระพุทธองค์ ดีๆ

และ การไล่สมาธิ ตั้งแต่ รูปสัญญา จนถึง อรูปสัญญา
การดับไปของสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่มันแค่ดับ
แต่ ผล ของการดับ มันทำให้ รู้ แง่มุมที่พ้นไปจากสิ่งยึดติดมาแต่กาลก่อนๆ

กรรม มันก็ยังเป็นเช่นนั้น
แต่ความสำคัญมั่นหมายในตัวตนที่เข้าไปแบกรับ มันจะ... :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.watnapahpong.com:8080/webboa ... ad&tid=500

:b12:

ปั่นกระทู้ต่อ

:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อรูปภูมิ
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูปร่าง เพราะเห็นโทษของการมีรูปร่าง อัตภาพร่างกายว่า เป็นไปด้วยทุกข์โทษนานาประการ จากการถูกทำร้าย ถูกประหาร มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เป็นต้น จึงขวนขวายในการเจริญสมถภาวนา เพื่อปรารถนาที่จะไม่มีรูปร่างกาย เมื่อบรรลุถึงอรูปฌานสิ้นชีพแล้ว จึงได้มาบังเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่สูงสุด มีแต่นามคือจิตวิญญาณอย่างเดียว ไม่มีรูปร่างกาย ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ เป็นผู้ที่ได้เจริญในรูปฌานมาก่อน ในอรูปภูมิซึ่งเป็นแดนจิตวิญญาณนี้ มี ๔ ภูมิ คือ

๑. อากาสานัญจายตนภูมิ
ผู้ที่เกิดในภูมินี้จะต้องเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปัญจม ฌาน มาก่อนแล้ว มาเจริญอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตน ฌาน กำหนดเอาอากาศที่อยู่ในปฏิภาคนิมิตมาเป็นอารมณ์ โดย ภาวนาว่า “อากาศมีไม่สิ้นสุด” จนสำเร็จอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะมาเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ นี้ ซึ่ง มีแต่นาม ไม่มีรูป มีอายุเสวยในพรหมสมบัติ ๒๐,๐๐๐ มหากัป

๒. วิญญานัญจายนตนภูมิ
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ วิญญาณัญจายตนพรหมผู้ ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยการพิจารณา จิตวิญญาณที่เข้าไปรู้ อากาศไม่มีที่สิ้นสุดในอากาสานัญจายตนฌาน ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากอากาสานัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๔๐,๐๐๐ มหากัป

๓. อากิญจัญญายตนภูมิ
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ อากิญจัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณา ความไม่มีอะไร คือ ไม่มีทั้งอากาสและวิญญาณ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๑ และอรูปฌานที่ ๒ ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากวิญญาณัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า วิญญาณัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๖๐,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไปเกิดอยู่ในภูมินี้ ได้แก่ อาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้ซึ่งเป็นครูที่สอนการทำฌานสมาบัติ ให้แก่พระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ก็คิดที่จะไปโปรดอาจารย์ผู้นี้ แต่เมื่อส่องทิพพจักขุญาณแล้ว ก็ทรงประจักษ์ว่า ท่านอาฬารดาบสผู้นี้ ได้ดับขันธ์ไปแล้วเมื่อ ๗ วัน ก่อนที่พระองค์ จะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เข้าสู่ความเป็นอรูปพรหม คือ อากิญจัญญายตนภูมิ นี้

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณาสัญญาที่เข้าไปรู้ ในบัญญัติอารมณ์ว่า มีก็ใช่ ไม่มีก็ใช่ อุปมาเสมือนกับ น้ำมันที่ทาบาตร จะว่าบาตรนั้น มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ หรือไม่มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ เพราะเทออกมาไม่ได้ ซึ่งเป็นฌานที่สูงสุด ภูมินี้จะอยู่ห่างไกลจากอากิญจัญญายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่ าอากิญจัญญายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๘๔,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไป เกิดอยู่ในภูมินี้ได้แก่ อุทกดาบสรามบุตร ซึ่งเป็นครูสอนฌานสมาบัติ ให้แก่พระพุทธองค์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับ อาฬารดาบส เมื่อพระองค์คิดจะไปแสดงธรรม ก็ได้ทราบโดยทิพพจักขุว่า อุทกดาบส ได้สิ้นชีพไปแล้ว เมื่อภพค่ำนี้เอง อุบัติเป็นอรูปพรหม ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นี้

http://www.buddhism-online.org/Section06B_15.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 12:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ง. การละความผูกพันในรูปฌานและอรูปฌาน

อุทายิ ! ภิกษุในกรณ ีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศล-
ธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
อุทายิ! เรากล่าวปฐมฌานนี้แล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย
เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งปฐมฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้า
ถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. นี้แหละ
เป็นการก้าวล่วงซึ่งปฐมฌานนั้น. อุทายิ! เรากล่าวแม้ทุติยฌานนั้นแล ว่าสิ่ง
ไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่า
เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งทุติยฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็น
ผู้อยู่อุเบกขา มีสิตและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่
เป็นปรกติสุข" ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วง
ซึ่งทุติยฌานนั้น. อุทายิ! เรากล่าวแม้ตติยฌานนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอ
ใจ) เรากล่าวว่าจะละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการ
ก้าวล่วงซึ่งตติยฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณ ีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์
เสียได้ เรพาะความดับแห่งโสมนัสและโทมนัสสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถ-
ฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้ว
แลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งตติยฌานนั้น. อุทายิ! เรากล่าว
แม้จตุตถฌานนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร(จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่า
จงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงซึ่งจตุตถฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เรพาะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาทั้งหลาย เป็นผู้เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
"อากาศไม่มีที่สุด" ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงซึ่งจตุถฌานนั้น.
อุทายิ ! เรากล่าวแม้อากาสานัญจายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรา
กล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าว่าจงก้าวล่วงเสีย ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสีย
ซึ่งอากาสานัญจายตนะนั้นฯ

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะ
ด้วยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า
"วิญญาณไม่มีที่สุด" ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งอากา-
สานัญจายตนะนั้น. อุทายิ! เรากล่าวแม้วิญญาณัญจายตนะนั้นแล ว่าสิ่ง
ไม่ควร(จะพอใจ เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย ก็ อะไรเล่า
เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัยจายตนะ
โดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ
ไม่มี" ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะนั้น.
อุทายิ ! เรากล่าวแม้อากิญจัญญายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าว
ว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่ง
อากิญจัญญายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง เนวสัญ ญ านาสัญ ญ ายตนะ แล้วแลอยู่.
นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะนั้น. อุทายิ! เรากล่าวแม้เนว-
สัญญานาสัญญายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรา
กล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณี นี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญ ญ านา-
สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่.
นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น.

อุทายิ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เรากล่าวการละแม้ซึ่งเนวสัญญานา-
สัญญายตนะ. อุทายิ ! เธอเห็นบ้างไหม ซึ่งสังโยชน์น้อยใหญ่นั้น ที่เราไม่
กล่าวว่าต้องละ ?

"ข้อนั้น ไม่มีเลย พระเจ้าข้า!"


http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/f ... index.html

:b1:

พุทธวจนะ ใช้คำว่า สัญญา ไม่ใช้คำว่า ฌาณ

:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 พ.ย. 2012, 14:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 13:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สัญญาขันธ์

[๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญาอนาคต
สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ
สัญญาละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล
สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์

[๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน
สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ
ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า
กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา
สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา
นี้เรียกว่าสัญญาอดีต
สัญญาอนาคต เป็นไฉน
สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น
ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ-
*สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต
สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน
สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว
ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน

[๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน
สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน
เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา-
*สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน
สัญญาภายนอก เป็นไฉน
สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด
ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่
จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก


[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน
สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา
หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา
ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด
หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป

[๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา
ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต
หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป

[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล
สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ
อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข-
*เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล
สัญญาใกล้ เป็นไฉน
อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้
เรียกว่าสัญญาใกล้
หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป


สัญญา กรรม ตัณหาทิฐิ

:b9:

บังเอิญจัง ที่มีพระสูตร ที่ 3 คำนี้มาปรากฎอยู่ด้วยกัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 114 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร