วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เท่าที่ โฮฮับ แสดงมาทั้งหมดจนถึงวันนี้
โฮฮับ ไม่มีความเข้าใจในเรื่อง สัมมาทิฏฐิ โพธิปักขิยธรรม อารมณ์พระโสดาบัน ขันธ์5 ปฏิจสมุปบาท
และ
V
ธัมมวิจยะอีกตัวหนึ่งเพิ่มด้วยในวันนี้
ธัมมวิจยะไม่ได้เอาบัญญัติมานั่งแปลนั่งตีความ
แต่
ใช้ในการทำวิปัสสนา ต่อปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งฝึกฝนขึ้นมาได้อย่างเข้มข้นจากการทำกัมมัฏฐาน
โฮฮับ
คุณอย่าแสดงธรรมะที่คุณแต่งเอาเองแต่งขึ้นมาเองเลยครับ



ตีความนะใช่ เพราะการตีความของผมเป็นการเลือกเฟ้นธรรมของพระพุทธเจ้า
มาอธิบายความ

เอ่อ! ธัมมวิจยะของคุณได้จาก ความเข็มข้นของกรรมฐานนี่เอง

แต่ธัมมวิจยะของผม มันเป็นความคิดครับ เป็นความคิดที่ยึดหลักสัมมาทิฐิครับ

คุณเช่นนั้นลองพิจารณาดูหน่อยครับว่า ความเห็นไหนชาวบ้านจะรู้เรื่องกว่ากันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดิฉันรบกวนถามเพิ่มว่า 1.เราต้องพิจรณาขันธ์๕ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ 2.โสดาบันมีศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ 3.ถ้าดิฉันเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดาแต่มีความศรัทธา มันคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ดิฉันก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรมโสดาบันได้ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ
รบกวนท่านเช่นนั้นช่วยตอบคำถามให้ดิฉันกระจ่างด้วยเถิดเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดิฉันรบกวนถามเพิ่มว่า 1.เราต้องพิจรณาขันธ์๕ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ 2.โสดาบันมีศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ 3.ถ้าดิฉันเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดาแต่มีความศรัทธา มันคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ดิฉันก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรมโสดาบันได้ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ
รบกวนท่านเช่นนั้นช่วยตอบคำถามให้ดิฉันกระจ่างด้วยเถิดเจ้าค่ะ :b8:

สวัสดี NongKong
การจะเข้าใจ พระดำรัสของพระศาสดาที่แสดงต่อ พระจุนทะ ให้ละอัตตานุทิฏฐิ (ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับสักกายทิฏฐิ) พระองค์ทรงให้ทำวิปัสสนา ต่อคำสามคำ
คือ นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ต่อนามรูปทั้งหมดทั้งปวง คือขันธ์ 5
เราพิจารณา อารมณ์ที่จิตไปจับเอาอย่างเหนียวแน่น ณ อารมณ์ปัจจุบัน จนทำความคิดความเห็นถูกตรงต่อคำพระศาสดาให้ได้ครับ
เพราะเราไปยึดเอาสิ่งที่เป็นเพียงการประกอบกันการมีอยู่โดยเหตุโดยปัจจัยเท่านั้น
เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็ไม่มี
เราเห็นเท่าทัน ขันธ์ 5 อย่างนี้ตลอดเวลได้หรือไม่ สิ่งนี้พระศาสดาจึงตรัสสอนว่า
"ด้วยอุบายเพียงเท่านี้" ...คือไม่ต้องไปเติมแต่งอย่างอื่นใดออกมาอีกครับ

nongkong...พระธรรมที่พระองค์แสดงเพื่อขัดเกลาปุถุชนอย่างเราๆนี่ล่ะครับให้เป็นอริยบุคคลครับ

ส่วนศีลที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ ก็หมายความว่า รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีครับ
ไม่ด่าง ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่เป็นท่อนๆ ครับ
เช่น รักษาศีล 5 ก็รักษาเต็มที่ครับ พระอริยเจ้ารู้เห็นความเป็นปรกติของ nongkong ว่ารักษาศีลห้าอย่างบริบูรณ์ พระอริยเจ้าก็สรรเสริญ

หวังว่าคงตอบตรงคำถามนะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เท่าที่ โฮฮับ แสดงมาทั้งหมดจนถึงวันนี้
โฮฮับ ไม่มีความเข้าใจในเรื่อง สัมมาทิฏฐิ โพธิปักขิยธรรม อารมณ์พระโสดาบัน ขันธ์5 ปฏิจสมุปบาท
และ
V
ธัมมวิจยะอีกตัวหนึ่งเพิ่มด้วยในวันนี้
ธัมมวิจยะไม่ได้เอาบัญญัติมานั่งแปลนั่งตีความ
แต่
ใช้ในการทำวิปัสสนา ต่อปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งฝึกฝนขึ้นมาได้อย่างเข้มข้นจากการทำกัมมัฏฐาน
โฮฮับ
คุณอย่าแสดงธรรมะที่คุณแต่งเอาเองแต่งขึ้นมาเองเลยครับ



ตีความนะใช่ เพราะการตีความของผมเป็นการเลือกเฟ้นธรรมของพระพุทธเจ้า
มาอธิบายความ

เอ่อ! ธัมมวิจยะของคุณได้จาก ความเข็มข้นของกรรมฐานนี่เอง

แต่ธัมมวิจยะของผม มันเป็นความคิดครับ เป็นความคิดที่ยึดหลักสัมมาทิฐิครับ

คุณเช่นนั้นลองพิจารณาดูหน่อยครับว่า ความเห็นไหนชาวบ้านจะรู้เรื่องกว่ากันครับ

การเจริญสมถะวิปัสสนา
ธัมมวิจย ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นการจับเหตุจับผล ณ ปัจจุบัน
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลานั่ง ยืน เดิน นอน
ธัมมวิจย ก็สามารถทำได้ตลอดตราบเท่าที่มีสติ
จึงไม่ใช่การตีความเช่น ที่โฮฮับเข้าใจ

โฮฮับ....ธัมมวิจยนะครับ ไม่ใช่ทิฏฐิ ไม่ใช่วิตก ....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดิฉันรบกวนถามเพิ่มว่า 1.เราต้องพิจรณาขันธ์๕ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ 2.โสดาบันมีศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ 3.ถ้าดิฉันเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดาแต่มีความศรัทธา มันคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ดิฉันก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรมโสดาบันได้ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ
รบกวนท่านเช่นนั้นช่วยตอบคำถามให้ดิฉันกระจ่างด้วยเถิดเจ้าค่ะ :b8:


ขออนุญาตตอบข้อนี้ด้วยเพื่อสอบทานความเข้าใจของตน และถือเป็นการสนธนาธรรม ถ้าผู้รู้ท่านใดเห็นว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์จะกรุณาติติงหรือเพิ่มเติมจักเป็นพระคุณ

1.เราต้องพิจรณาขันธ์๕ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ

ขอตอบว่า แน่นอน เพราะที่เป็นทุกข์เพราะเจ้าขันธ์ ๕ นี่แหละ

2.โสดาบันมีศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ

ขอตอบว่า คือมีศีลที่สะอาด ถูกต้อง ไม่ถือศีลเพื่อจุดมุ่งหมายผิดๆ(สีลพพตปรามาส)

3.ถ้าดิฉันเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดาแต่มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ดิฉันก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรมโสดาบันได้ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ

ขอตอบว่า ความมีศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ต้องเพิ่มเติมด้วยความมีปัญญาเห็นชัดเจนลงไปจนละความยึดมั่นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความเที่ยงแท้ เป็นตัวเป็นตนของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง (สักกายทิฏฐิ)

-ละความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ว่ามีจริงหรือไม่ ( วิจิกิจฉา)

- ละความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย(สีลัพพตปรามาส)

ข้าพเจ้าเห็นดังนี้ :b12:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การเจริญสมถะวิปัสสนา
ธัมมวิจย ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นการจับเหตุจับผล ณ ปัจจุบัน
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลานั่ง ยืน เดิน นอน
ธัมมวิจย ก็สามารถทำได้ตลอดตราบเท่าที่มีสติ
จึงไม่ใช่การตีความเช่น ที่โฮฮับเข้าใจ

โฮฮับ....ธัมมวิจยนะครับ ไม่ใช่ทิฏฐิ ไม่ใช่วิตก ....


ก็คุณคิดแบบนี้ไง ถึงไม่เข้าใจว่า ทำไมจึงต้องมีสัมมาทิฐินำหน้า
อยู่กับความเป็นจริงเถอะครับคุณ"เช่นนั้น" อย่าเอะอะก็กรรมฐาน
เอะอะก็สมถะวิปัสนา ผมพูดไม่รู้กี่ครั้งแล้วว่า สมาชิกคนอื่นเขาไม่เข้าใจ
ว่า คำพูดที่คุณพูดหมายถึงอะไร คุณเข้าใจมั้ยว่ามันกว้าง

แต่ที่ผมพูดมาไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจคุณนะครับ เข้าใจครับเข้าใจว่า
คุณอ่านมาอย่างไรก็พูดไปอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ที่เป็นอริยสงห์
ท่านบอกมาในฐานะอริยสงฆ์ คุณก็พูดตามท่าน ซึ่งผมว่าคุณก็ไม่เข้าใจ
กับคำพูดของตัวเอง พอมีใครมาอธิบายคำพูดของอริยสงฆ์ที่ละเอียดขึ้น
คุณก็เถียงก็ค้านชนิดหัวชนฝา

อย่างธัมมวิจยะนี่ก็เช่นกัน เพียงแค่ผมบอกเป็นความคิดที่มีสัมมาทิฐินำหน้า
คุณก็ไม่เข้าใจแล้ว หาว่าเป็น ทิฐิบ้างละ เป็นวิตกบางละ ไอ้ที่ว่าผมไม่เข้าใจเรื่อง
กระบวนการขันต์ห้าหรืออายตนะ ผมว่าเป็นคุณเองนั้นแหล่ะ
รูปมีนามมี ผัสสะธัมมารมณ์มันก็ต้องมี สมองมีไว้คิดใจมีว่านึกมันเป็นธรรมชาติ
มันสำคัญว่า คิดอย่างไรถึงจะให้อยู่กับความเป็นจริงแห่ง รูปนามขันต์ห้า

อย่าพยายามดัดแปลงพระธรรมให้ผิดธรรมชาติเลยครับ



คุณแน่ใจหรือเปล่าว่าคำที่โต้ผมมามันเป็นเรื่องเดียวกับผม
ที่บอกมาว่า ธัมมวิจยะทำได้ตลอดนี่ก็เหมือนกัน มันไม่ใช่ทำได้ตลอด
แต่ต้องทำตลอดครับ


เพื่อให้เป็นธรรม เพราะตั้งแต่คุญกันมาส่วนใหญ่
คุณจะแย้งผมแล้วก็ถามผม ผมขอถามคุณบ้างว่า

หลักของธัมมวิจยะเขาปฏิบัติเพื่ออะไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 03:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น ถามโฮฮับ:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
โฮฮับตอบ:
แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

โฮฮับ เขียน:
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ


ไหนล่ะ พุทธดำรัส แสดงให้สาวกเจริญไตรลักษณ์จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
และ พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์

โฮฮับเป็นผู้นั่งเทียนเขียนออกมา ก็แสดงออกมาสิว่าเป็นไปตามพุทธดำรัส
:b12:

ก่อนอื่นไม่ทราบว่า คุณเข้าใจหรือเปล่าว่าโพธิปักขิยธรรม มาจบลงที่มรรคมีองค์แปด
ถ้าเข้าใจ ผมก็ของยกพุทธพจน์ ให้ดู



[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... A%D9%B5%C3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ


ไหนล่ะ พุทธดำรัส แสดงให้สาวกเจริญไตรลักษณ์จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
และ พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์


โฮฮับ ....อย่าแถ ไปนู่นไปนี่.....ยกพุทธพจน์ออกมา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตร กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วย พระมหากัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ

[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจานโคต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ

[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี

โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ

[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ... ความเกิดขิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ยกพระสูตรมาให้อ่านเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 01:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ไหนล่ะ พุทธดำรัส แสดงให้สาวกเจริญไตรลักษณ์จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
และ พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์


โฮฮับ ....อย่าแถ ไปนู่นไปนี่.....ยกพุทธพจน์ออกมา

๓. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0


*อ่านแล้วใช้สมองคิดตามไปด้วย ดูที่เนื้อหา
อย่าหาบัญญัติที่ตัวเองเคยอ่านแต่อย่างเดียว
ถ้าจนปัญญาก็ถามกลับมาว่า
ไม่เข้าใจตรงไหนยินดีตอบให้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 02:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ


พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์

โฮฮับ ....อย่าแถ ไปนู่นไปนี่.....ยกพุทธพจน์ออกมา

นี่ก็อีกครับ ตอบไปแล้วตัวเองอ่านพระไตรปิฎกไม่รู้เรื่อง ก็โวยวายว่าไม่ได้ตอบ
อย่ามองแต่บัญญัติที่ตัวเองท่องมาซิ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามมา ไม่ใช่ทำตัวเป็น
ตอไม้เอาน้ำรดเท่าไรก็ไม่รู้สา เอาเอาไปดูซ้ำ


"ก่อนอื่นไม่ทราบว่า คุณเข้าใจหรือเปล่าว่าโพธิปักขิยธรรม มาจบลงที่มรรคมีองค์แปด
ถ้าเข้าใจ ผมก็ของยกพุทธพจน์ ให้ดู

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... A%D9%B5%C3 "


ก่อนจะแย้งมาว่า ไม่ใช่เพราะไม่มีบัญญัติที่ตัวเองเคยอ่าน ก็ได้โปรดกรุณา
ใช้สติแล้วคิดว่า ตัวเองยังไม่มีปัญญาพิจารณาธรรมในพระไตรปิฎก
ดังนั้นต้องใช้ความอุตสาหะให้มาก ด้วยการถอดบัญญัติที่ละตัวไปหาที่มาของบัญญัตินั้น

อย่างเช่น อริยมรรคแต่ละตัว จะต้องมีการปฏิบัติให้ได้มา
สัมมามรรคนั้นแท้จริงก็คือ ผลของการปฏิบัติธรรมแห่งโพธิปัก

และสัมมัธปทานสี่ก็เป็นองค์ธรรมหนึ่งที่อริยะต้องปฏิบัติ
เพื่อให้ได้อริยมรรคของแต่ละตัว ยกเว้นสัมมาทิฐิ(ก่อนมีสัมมาทิฐิก็สามารถปฏิบัติ
สัมมัธปทานได้แต่เราไม่เรียกสัมมัปทานนี้ว่า ธรรมของอริยะ เป็นแค่ธรรมของปุถุชน)


และจากพุทธพจน์ที่ผมยกมากล่าวไว้ว่า สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
นั้นก็แสดงว่า ต้องมีสัมมาทิฐินำหน้า(สัมมาทิฐิคือผู้ที่ได้ผ่านไตรลักษณ์มาแล้ว)
ดังนั้นมันต้องมี สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ถึงจะถูก


"คุณเช่นนั้น" กำลังหลงละเมอเพ้อพกกับคำว่า
มีนิพานเป็นอารมณ์ นี่แสดงว่า แม้กระทั้งเรื่องง่ายๆอย่างเช่นอารมณ์คืออะไร
อารมณ์เกิดจากอะไร คุณเช่นนั้นยังไม่รู้เรื่อง นิพพานเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้
แต่ดันจะเอานิพพานเป็นอารมณ์ ตื่นเถอะคุณเช่นนั้น คุณกำลังฝันไปนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 03:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดิฉันรบกวนถามเพิ่มว่า 1.เราต้องพิจรณาขันธ์๕ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ 2.โสดาบันมีศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญเป็นอย่างไรเจ้าค่ะ 3.ถ้าดิฉันเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดาแต่มีความศรัทธา มันคงเต็มเปี่ยมต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีล ดิฉันก็สามารถเข้าถึงกระแสธรรมโสดาบันได้ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ
รบกวนท่านเช่นนั้นช่วยตอบคำถามให้ดิฉันกระจ่างด้วยเถิดเจ้าค่ะ :b8:

ต้องขอสอดตอบ "น้องคิงคอง"หน่อยแล้วล่ะครับ
ข้อ1.นะครับ อย่าหลงไปพิจารณาขันธ์ห้าเลยครับ การพิจารณาขันธ์ได้นั้น
คุณจะต้องได้เคยเห็นสภาวะไตรลักษณ์มาแล้วครับ ถ้าไม่เคยเห็นสิ่งที่คุณกำลังทำ
มันก็เป็นแค่ความคิด การปรุงแต่งเท่านั้น เสียเวลาครับ

ข้อ2. ความหมายศีลของอริยะ คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องศีลครับ
พระอริยะบุคคลถ้าไม่ยึดมั่นสิ่งใดเมื่อทำสิ่งนั้น ผลกรรมเท่ากับศูนย์ครับ
ไม่ทราบว่า คุณคิงคองจะเข้าใจเรื่องความยึดมั่นถือมั่นมั้ย เอาง่ายๆมันเป็น
สิ่งที่ทำให้เราต้องไปสู่ภพหน้าชาติหน้าไม่สิ้นสุดครับ

ถ้าเป็นปุถุชนยังตัดความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เราจึงต้องมีศีลครับ
เป็นการไม่ประมาท เพราะความยึดมั่นถือมั่นมันจะส่งผลเป็นวิบาก
ต่อปุถุชนครับ อีกความหมายก็คือเราไปยึดมั่นต่อสิ่งที่ทำนั้นเอง

ข้อ3. คุณคิงคองครับ คุณกำลังเข้าใจผิดกับบัญญัติที่เรียกว่า"ศรัทธา"
ที่คุณบอกว่า มีศรัทธาแท้จริงแล้วมันเป็นความเชื่อครับ พระพุทธองค์ทรง
ห้ามไว้ในกาลามสูตร

ศรัทธานั้นเกิดจากสัมมาทิฐิครับ คือต้องรู้เห็นตามความเป็นจริง
มันจึงเกิดศรัทธาได้ มักจะมีคนอวดเป็นผู้ทรงภูมิ หยิบเอาบัญญัติ
มาใช้ผิดกาละเทศะเสมอๆในนี้ก็มีเยอะครับ


การเข้าถึงกระแสธรรมในเรื่องของโสดาบัน สิ่งที่ปุถุชนต้องปฏิบัติ
ก็คือการมีสติอยู่กับปัจจุบัน พยายามมีสมาธิกับการงานที่ทำ
เพราะมันเป็นวิธีไปเห็น ไตรลักษณ์

จำให้ขึ้นใจเลยว่า มีสติจนเป็นสมาธิเนื่องๆ นี่แหล่ะทางไปสู่สัมมาทิฐิหรือโสดาบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
"ก่อนอื่นไม่ทราบว่า คุณเข้าใจหรือเปล่าว่าโพธิปักขิยธรรม มาจบลงที่มรรคมีองค์แปด
ถ้าเข้าใจ ผมก็ของยกพุทธพจน์ ให้ดู

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐


จะยกพระสูตรมาอธิบายทั้งที ก็ยกผิดๆถูกๆ
พระพุทธองค์แสดง องค์ธรรมทั้ง 8 แห่งอริยมรรค และ..ทำความเข้าใจต่อไปตามพุทธดำรัส
ในข้อนี้ให้ดี
Quote Tipitaka:
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ [u]ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์[/u] ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคฯ

โฮฮับ น้อมนำพระสูตรมาปฏิบัติ มาพิจารณาใคร่ครวญตาม ใส่ใจให้ดี

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 เม.ย. 2012, 10:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
"คุณเช่นนั้น" กำลังหลงละเมอเพ้อพกกับคำว่า
มีนิพานเป็นอารมณ์ นี่แสดงว่า แม้กระทั้งเรื่องง่ายๆอย่างเช่นอารมณ์คืออะไร
อารมณ์เกิดจากอะไร คุณเช่นนั้นยังไม่รู้เรื่อง นิพพานเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้
แต่ดันจะเอานิพพานเป็นอารมณ์ ตื่นเถอะคุณเช่นนั้น คุณกำลังฝันไปนะครับ

ครั้งที่แล้ว
ก็ได้ยกมา เรื่องสมาธินทรีย์ อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ จากพระสูตรให้พิจารณา
โฮฮับก็ยังดันทุรัง แถออกนอกพระสูตรอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ โฮฮับ ก็อ่านพระสูตรอีกพระสูตรหนึ่งเพิ่มเติมเพื่อที่จะได้รู้ว่า
การทำนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร

Quote Tipitaka:
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉา-
*ทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก
วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา
ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ

วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ
นิพพานเป็นวิราคะ ๑
ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑
เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ
เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่
ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ
เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ
ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ


หรือโฮฮับ ยังดันทุรังต่อไปอีก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ต้องขอสอดตอบ "น้องคิงคอง"หน่อยแล้วล่ะครับ
ข้อ1.นะครับ อย่าหลงไปพิจารณาขันธ์ห้าเลยครับ การพิจารณาขันธ์ได้นั้น
คุณจะต้องได้เคยเห็นสภาวะไตรลักษณ์มาแล้วครับ ถ้าไม่เคยเห็นสิ่งที่คุณกำลังทำ
มันก็เป็นแค่ความคิด การปรุงแต่งเท่านั้น เสียเวลาครับ


จะสอดเข้าทั้งที ก็อย่าพา NongKong ออกนอกลู่นอกทางจากพระพุทธวจนะ
การพิจารณาขันธ์ 5 ตามพุทธดำรัสนั้น ให้ยึดหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้อยู่ 3 คำ
คือ
นั่นไม่ใช่เรา
นั่นไม่ใช่ของเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

และทำวิปัสสนาต่อขันธ์ 5 เพื่อให้เห็นได้ตามเป็นจริง

ซึ่งคุณNongKong สามารถศึกษาและ นำพุทธดำรัสมาพิจารณานามรูป ตามไปได้ทุกขณะ
ดังคฤหบดีชือ นกุลบิดา ทูลถามพระองค์ และพระองค์ทรงให้ทำความศึกษาเพื่อให้เห็นรูปนามดังต่อไปนี้

Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า นั่น
ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้ ดูกร
คฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไร
เล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้แล.

เนื่องจาก นกุลบิดาไม่เป็นผู้ฉลาด แต่ก็ได้โอกาสพบกับพระสารีบุตร และพระสารีบุตรก็ได้แสดงธรรมถึงวิธีาการที่จะทำความศึกษอันเนื่องกับรูปนามนั้น
ดังท้ายพระสูตร การพิจารณารูปนามตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่ปัจจุบัน จึงเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงต่อรูปนามนั้น
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=0&Z=105&pagebreak=0

ใส่ใจให้ดีต่อ
วรรคเกี่ยวกับ ช่วงนี้ทั้งหมด
Quote Tipitaka:
เพราะ....เป็นอย่างอื่นไปโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น
ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล
บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.


และ
Quote Tipitaka:
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็น...
......ของเรา
.....นั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะ.....แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น

ดูกร
คฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.


ดังนั้นไตรลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องสำคัญในการพิจารณาในการทำวิปัสสนา เป็นเพียงองค์ประกอบเล็กน้อยเท่านั้น...

โฮฮับ ...อย่าแสดงธรรมผิดๆ อีกต่อไปเลย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร