วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงสว่างที่เกิดขึ้นนี้ คือแสงสว่างของจิตจิตโดยเนื้อแท้เป็นธาตุรู้ที่ประภัสสร แต่มืดมิดเพราะถูกตัณหาอุปทานห่อหุ้ม เมื่อนิวรณ์ธรรมที่ห่อหุ้มจิต ซึ่งเป็นผลของตัณหาอุปทานดับลงชั่วคราว จิตจึงสาดแสงออกมา] ดังนั้นผู้ปฏิบัติที่มาถึงตรงนี้อาจ พบนิมิตเป็นภาพต่างๆ หรือการระลึกชาติ ซึ่งที่จริงแล้วถือเป็นปรากฏการณ์ปกติของจิต จากหลักที่ว่า จิตที่เปล่งแสงสว่างออกมาเปรียบเสมือนเครื่องฉายและสำหรับจิตที่มีความสงบระดับนี้ สิ่งที่ผ่านมาใความทรงจำหรือเรื่องราวต่างๆ ในอดีตจะคลายตัวออกมาเปรียบเสมือนฟิลม์ เมื่อแสงจากจิตส่องผ่านฟิลม์จึงเกิดเป็นภาพขึ้นซึ่งภาพจะชัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มและความนิ่งของแสง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2013, 22:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
แสงสว่างที่เกิดขึ้นนี้ คือแสงสว่างของจิตจิตโดยเนื้อแท้เป็นธาตุรู้ที่ประภัสสร แต่มืดมิดเพราะถูกตัณหาอุปทานห่อหุ้ม เมื่อนิวรณ์ธรรมที่ห่อหุ้มจิต ซึ่งเป็นผลของตัณหาอุปทานดับลงชั่วคราว จิตจึงสาดแสงออกมา] ดังนั้นผู้ปฏิบัติที่มาถึงตรงนี้อาจ พบนิมิตเป็นภาพต่างๆ หรือการระลึกชาติ ซึ่งที่จริงแล้วถือเป็นปรากฏการณ์ปกติของจิต จากหลักที่ว่า จิตที่เปล่งแสงสว่างออกมาเปรียบเสมือนเครื่องฉายและสำหรับจิตที่มีความสงบระดับนี้ สิ่งที่ผ่านมาใความทรงจำหรือเรื่องราวต่างๆ ในอดีตจะคลายตัวออกมาเปรียบเสมือนฟิลม์ เมื่อแสงจากจิตส่องผ่านฟิลม์จึงเกิดเป็นภาพขึ้นซึ่งภาพจะชัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้มและความนิ่งของแสง


smiley smiley smiley

:b12: :b12: :b12:

อยากจะพูด....แต่พูดไม่ออก...

ได้แต่.... :b12: ....ละกัน

เพราะเห็นเช่นนั้น...เช่นกัน...ถ้าเอกอนจะพูดก็จะพูดออกมาอย่างที่ท่านพูดนี่ล่ะ

...

สภาวะนั้น...สิ่งที่รู้จะแยกออกจากสิ่งที่ถูกรู้...
และ...ภาพสังสาร...จะแยกออกจาก...รู้
รู้ ... จะ... รู้สังสาร ...
สังสารที่ถูกรู้นั้น จะไม่ปรากฎ สัตตานัง

สัตตานัง ปรากฎ เมื่อปรากฎอุปาทาน
อุปาทาน ...คือลักษณะเมื่อจิตไม่ได้ตั้งอยู่ที่รู้
แต่จิตไปยึดเอาสิ่งที่ถูกรู้เป็นตัวตนของจิต

เมื่อรู้ สภาวะที่ไม่ปรากฎสัตตานัง

ในสภาวะนั้น ที่ทัศนะเห็นเป็นเช่นนั้น มันมีคำเรียก ...

:b1: :b1: :b1:

เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว...
สภาวะที่เห็นจะเป็นอารมณ์ที่คอยระลึกของจิตในการภาวนา
เป็นเครื่องอยู่ของจิต ที่น้อมไปของจิต ต่อไปเอง...

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2013, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อธรรม(สิ่งที่ควรถูกรู้)ปรากฏ แต่ไม่รู้ นั่นคือความหลง
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ แต่ไม่ละ รู้จมกับอดีต นั่นคืออุปปาทาน
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ รู้แต่เหมือนไม่รู้ ไม่มั่นหมายในสิ่งรู้ นั่นคือรู้ที่เป็นกลาง
จึงเป็นรู้ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัญญาเพื่อการตรัสรู้ นั่นคือสัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 18:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
เมื่อธรรม(สิ่งที่ควรถูกรู้)ปรากฏ แต่ไม่รู้ นั่นคือความหลง
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ แต่ไม่ละ รู้จมกับอดีต นั่นคืออุปปาทาน
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ รู้แต่เหมือนไม่รู้ ไม่มั่นหมายในสิ่งรู้ นั่นคือรู้ที่เป็นกลาง
จึงเป็นรู้ที่เป็นปัจจุบัน เป็นปัญญาเพื่อการตรัสรู้ นั่นคือสัมปชัญญะ

อยากรู้วิธีทำฌานครับช่วยแนะนำหน่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2013, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน คือ ความสงบของจิต เป็นความสงบระงับจากนิวรณ์ สาระสำคัญต้นเหตุของนิวรณ์คือความปารถนา
ดังนั้นผู้ปารถนาจะทำฌาน เพื่อได้ฌาน จึงไม่ได้ฌาน เพราะความตั้งใจนั่นแหละเป็นสิ่งขัดขวางไว้
ผู้ได้ฌานส่วนใหญ่จึงได้โดยบังเอิญหลังจากละความปารถนา

สำหรับคุณ amazing ได้ตั้งความปารถนาในอดีตไว้มาก ดังนั้นเมื่อเกิดศรัทธาพุทธศาสนา จึงปฏิบัติโดยตั้งใจมาก เจตนาแรง การปฏิบัติจึงพบสภาพทุกข์ อึดอัด ตึงและมึนศรีษะ ซึ่ง suttiyan ก็เคยประสบมาก่อน ต้องใช้เวลาแก้ไขเสียนาน ดังนั้นในเบื้องต้นจึงต้องละความใส่ใจ ความปารถนาก่อน หาความเป็นกลางของจิตให้พบ

แนวทางการละวางให้จิตเป็นกลาง
1. รักษาอาการมึนที่ศีรษะก่อน โดยแตะรู้เบาที่อาการมึน ทำเหมือนคนไม่ตั้งใจทำ แตะรู้ 2-3 วินาทีแล้วปล่อย ความหมายของปล่อยคือละ หรือไปรู้สิ่งใหม่ เช่น ขณะนั่งสมาธิ เปิดพัดลมไว้ เมื่อรู้อาการมึน แล้วละมารู้ลมที่พัดมาถูกตัว 2-3 วินาที่ แล้วค่อยๆเคลื่อนมารู้ที่อาการมึนอีก ทำอย่างนี้อาการมึนจะลดลง ที่สำคัญต้องทำแบบสบายๆ ทำบ้างปล่อยบ้าง
2. ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปและนาม เช่น ขณะมึนศีรษะ หากสังเกตความรู้สึก จะพบว่ามีความตั้งใจหรือเพ่งรู้ ดังนั้นเมื่อรู้อาการมึน 2-3 วินาที นอกจากรู้ลมที่กระทบตัวแล้วละ และอาจรู้ว่ามีความตั้งใจหรือเพ่งรู้ ซึ่งความรู้สึกนี้สามารถรู้ที่ความรู้สึก หรืออาจพบว่ามันอยู่ที่กลางหน้าอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 07:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ฌาน คือ ความสงบของจิต เป็นความสงบระงับจากนิวรณ์ สาระสำคัญต้นเหตุของนิวรณ์คือความปารถนา
ดังนั้นผู้ปารถนาจะทำฌาน เพื่อได้ฌาน จึงไม่ได้ฌาน เพราะความตั้งใจนั่นแหละเป็นสิ่งขัดขวางไว้
ผู้ได้ฌานส่วนใหญ่จึงได้โดยบังเอิญหลังจากละความปารถนา

สำหรับคุณ amazing ได้ตั้งความปารถนาในอดีตไว้มาก ดังนั้นเมื่อเกิดศรัทธาพุทธศาสนา จึงปฏิบัติโดยตั้งใจมาก เจตนาแรง การปฏิบัติจึงพบสภาพทุกข์ อึดอัด ตึงและมึนศรีษะ ซึ่ง suttiyan ก็เคยประสบมาก่อน ต้องใช้เวลาแก้ไขเสียนาน ดังนั้นในเบื้องต้นจึงต้องละความใส่ใจ ความปารถนาก่อน หาความเป็นกลางของจิตให้พบ

แนวทางการละวางให้จิตเป็นกลาง
1. รักษาอาการมึนที่ศีรษะก่อน โดยแตะรู้เบาที่อาการมึน ทำเหมือนคนไม่ตั้งใจทำ แตะรู้ 2-3 วินาทีแล้วปล่อย ความหมายของปล่อยคือละ หรือไปรู้สิ่งใหม่ เช่น ขณะนั่งสมาธิ เปิดพัดลมไว้ เมื่อรู้อาการมึน แล้วละมารู้ลมที่พัดมาถูกตัว 2-3 วินาที่ แล้วค่อยๆเคลื่อนมารู้ที่อาการมึนอีก ทำอย่างนี้อาการมึนจะลดลง ที่สำคัญต้องทำแบบสบายๆ ทำบ้างปล่อยบ้าง
2. ศึกษาความสัมพันธ์ของรูปและนาม เช่น ขณะมึนศีรษะ หากสังเกตความรู้สึก จะพบว่ามีความตั้งใจหรือเพ่งรู้ ดังนั้นเมื่อรู้อาการมึน 2-3 วินาที นอกจากรู้ลมที่กระทบตัวแล้วละ และอาจรู้ว่ามีความตั้งใจหรือเพ่งรู้ ซึ่งความรู้สึกนี้สามารถรู้ที่ความรู้สึก หรืออาจพบว่ามันอยู่ที่กลางหน้าอก

การเพ่งสีเขียวเป็นกสินทำให้ฌานเกิดได้หรือเปล่าครับ(ผมโทษะจริตครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อนิวรณ์ที่กั้นความดีดับลงจิตเข้าสู่สภาวะความสงบ การปฎิบัติที่กำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ จนกระทั่งเกิดฌาน ที่เรียกว่า ลักขณูณิชฌาน นี้ มีความต่างจากสมถะฌาน ที่สมถะฌานเกิดจากการเพ่งที่มุ่งเน้นอารมณ์เดียว รักษาความนิ่งของจิตให้นานที่สุด จึงมักพบว่าผู้ปฏิบัติเพื่อสมถะฌาน มักแยกตัวออกจากสังคม ติดความสงบ จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการรู้ตามความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตามยังดีกว่าผู้ไม่คิดจะบำเพ็ญอะไรเลย สำหรับลักขณูณิชฌาน มีองค์ฌานเช่นเดียวกับสมถะฌาน แต่มีความแนบแน่นน้อยกว่า เกิดจาการรู้ตามความเป็นจริง การรู้เจตสิกที่หยาบ เมื่อเจตสิกดับลง เจตสิกที่ละเอียดกว่าก็ปรากฏ จึงเป็นการเลื่อนองค์ฌานจากการเกิดดับของเจตสิก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 11:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่ทำให้รักษาความเสถียรของจิต จากลักขณูณิชฌาน คือการสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของจิตที่เคลื่อนจากความเป็นกลาง ซึ่งสามารถทำได้ในอริยาบทต่าง ๆ ต่างจากสมถะฌาน ที่ยากต่อการรักษาอารมณ์ในขณะที่ใช้ชีวิตในสังคม นอกจากนี้ลักขณูณิชฌาน หากฌานเสื่อมลงก็สามารถปฏิบัติกลับไปได้ฌานอีกไม่ยากนัก รวมถึงการติดยึดในความสุขในฌาน เกิดได้น้อยกว่า เพราะผู้ปฏิบัติจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในฌานอยู่ตลอด จึงรู้ชัดว่าเดี๋ยวทุกอย่างก็จะต้องเปลี่ยนไป จะยึดถือให้คงอยู่ไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2013, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อธรรม(สิ่งที่ควรถูกรู้)ปรากฏ แต่ไม่รู้ นั่นคือความหลง
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ แต่ไม่ละ รู้จมกับอดีต นั่นคืออุปปาทาน
เมื่อรู้ธรรมที่ปรากฏ รู้แต่เหมือนไม่รู้ ไม่มั่นหมายในสิ่งรู้ นั่นคือรู้ที่เป็นกลาง

ปัญหาการปฏิบัติธรรมของผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่คือ การรู้ด้วยตัวตน ลักษณะการรู้ด้วยตัวตน คือการมีสิ่งรู้และสิ่งถูกรู้ โดยมีศูนย์กลางการรู้ ไปยังสิ่งถูกรู้ เหมือนมีระยะทางของสิ่งสองสิ่ง ซึ่งจริงๆแล้วในเบื้องต้นของการปฏิบัติก็ต้องเป็นเช่นนั้น เพราะเป็นการแยกผู้รู้(นาม)กับสิ่งที่ถูกรู้ (รูปหรือนาม) แต่การทำเช่นนั้นจะเกิดตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดขวางทาง(มรรค)ด้วย ดังนั้นในการปฏิบัติระดับลึก ภายหลังการภาวนาด้วยองค์ภาวนาใดก็ตามที่ทำให้ได้สมาธิแล้ว สมาธิจากการภาวนาส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความเคยชินต่อการใส่ใจต่อสิ่งที่ถูกรู้(อุปาทาน) จริงแล้วเราต้องการเพียงสมาธิซึ่งไม่ประกอบด้วยของแถมคืออุปาทาน เพราะสมาธิเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้ถึงสภาวธรรมได้ชัด แต่อุปาทานเป็นความยึดติดทำให้จิตไม่เคลื่อนไปกับปัจจุบัน นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำวิปัสสนาแล้ว ยังไม่เป็นวิปัสสนาจริงๆ แต่เป็นวิปัสสนาอารมณ์สมถะ ดังนั้นในขั้นตอนที่ได้สมาธิแล้วแต่จะละอุปทานจึงเป็นงานของผู้ปฏิบัติ

หลักการปฏิบัติในขั้นตอนละอุปาทาน(มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ปฏิบัติผ่านการภาวนาโดยวิธีใดๆมาแล้ว
1.เมื่อนั่งสมาธิ ตั้งกายให้ตรง แล้วหากหลับตาลง หากถามตนเองว่าหากไม่กำหนดสิ่งใดเลย แล้วขณะนี้เรารู้สึกอย่างไรของร่างกาย บางท่านบอกว่ารู้สึกวูบๆวาบในร่างกาย อุ่นๆ นั่นแหละคือสิ่งที่ท่านเผชิญความจริง ต่อมาอาจมีสิ่งกระทบเช่น เสียง กระทบหูหรือลมกระทบตัวท่านก็รู้ นั่นก็คือความจริงปัจจุบันขณะต่อมา ท่านจะพบว่าสภาวะธรรมที่มาเชิญให้ท่านรู้ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปค้นหา การปฏิบัติเช่นนี้ จึงเป็นการรู้โดยไม่เลือก ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะรู้ ซึ่งสรุปได้ว่าไม่มีตัวตนเป็นผู้กระทำต่อปรากฏการณ์ใดๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2013, 21:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้สภาวธรรมโดยไม่มีเจตนาที่ต้องการรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สภาวธรรมที่เกิดภายในร่างกายเข่น ความร้อน อุ่น การไหว การเหนื่อยล้า หรือที่เกิดจากใจ เช่น อึดอัด คับข้อง พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วจึงไม่ต้องไปหา การเข้าไปรู้สภาวธรรมเหล่านี้รู้แค่ใหนก็แค่นั้น รู้แล้วปล่อยรู้ ส่วนใหญ่เราอยากให้สภาวธรรมเกิดชัดเจน อันนี้จึงเป็นกิเลส จะเอากิเลสไปละกิเลส ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ การกำหนดรู้เช่นนี้ จะพบว่าสภาวธรรมมีการเปลี่ยนแปลงเกิด ดับ ต่อเนื่อง บังคับไม่ได้ สภาวธรรมอารมณ์จะค่อยคลายออกมา อย่าปฏิเสธของเสียที่กายและจิต ดีทอกซ์ออกมา จนกระทั่งกายจิตเบาขึ้น การเคลื่อนไหวของกายและจิตจะค่อยๆลดลง จนนิ่ง และเผลอในที่สุด บางท่านเหมือนตกจากที่สูง บ้างเหมือนสัปหงก อันนี้เป็นการคลายโมหะ ซึ่งก็คือการคลายเจตนาในการกระทำ สิ่งต่างๆ การคลายโมหะนี้จะอยู่ในรูปการซึม ง่วงนอน บ้างเป็นนานบ้างไม่นานแล้วแต่อุปนิสัย จะเป็นอย่างนี้ทุกท่านที่ปฏิบัติธรรม และภายหลังสัปหงกหรือวูบแล้วจะรู้สึกสดชื่นขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 09:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากเนื้อหาวันที่ 11 ต.ค.56 หากวิเคราะห์ ในเบื้องต้น เราจะใช้การรู้ในรูป ซึ่งเป็นของหยาบการรู้เป็นลักษณะการตามรู้ไม่ใช่การรู้ไปกับการเคลื่อนไหว เพราะหากรู้ไปกับการเคลื่อนไหว จะเป็นการบังคับรู้ทันที ซึ่งผิดกับธรรมชาติรู้ของจิตที่บังคับบัญชาไม่ได้ จะทำให้เกิด ผลกระทบทำให้สมองมึนงง และการรู้ต้องไม่แทรกแซง หรือสร้างเงื่อนใขต่อสิ่งที่จะรู้ ซึ่งมีพระอาจารย์ท่านหนึ่งให้นิยามว่าเป็นการรู้ ซื่อๆ หากทำตามขั้นตอนดังกล่าว จิตจะเคลื่อนออกไปรับรู้สิ่งใหม่ทันที เช่นขณะตามรู้การเคลื่อนไหวของมือ จิตเผลอไปคิดก็ให้รู้ทันว่าเผลอไปคิด ไม่ต้องมีคำภาวนา แค่รู้อย่างเดียว ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะเคยชินต่อการรู้ที่เป็นธรรมชาติ “มัชฌิมมาปฏิปทา” สำหรับท่านที่มีอารมณ์สมถะอาจไม่ชอบวิธีนี้เนื่องจากต้องเคลื่อนไหวไปรู้สิ่งกระทบ ซึ่งขัดกับอุปนิสัยชอบสงบนิ่ง ท่านต้องตามรู้ให้ทันกับอารมณ์ความชอบ ไม่ชอบด้วย และความยึดติดนี้ ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ที่จะไม่เดินร่องเดียวกับอดีตที่จะสร้างภพติดความสงบทุกภพชาติ หากตามรู้ความจริงของกายใจดังกล่าว (สติ) จะมีความต่อเนื่องทำให้เกิดการรู้เนื้อรู้ตัวบ่อยขึ้น (สัมปชัญญะ) จึงกล่าวได้ว่า เป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งต่อมารูปนามก็จะเผยให้เห็นความจริงในระดับลึกขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาเก็บประเด็นเพิ่มเติมของการฝึกสติสัมปชัญญะผ่านการรู้กาย ก่อนไปต่อที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

คราวที่แล้วได้กล่าวถึงกิจกรรมทางกายบางอย่าง ที่เป็นการกระทำซ้ำในทุกๆวันจนเคยชิน :b46: :b47: :b46:

โดยเมื่อจิต มีเจตจำนงค์ (เจตนาเจตสิก) สั่งกาย (หมายรวมถึง อวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งรวมถึง ระบบประสาท (Nervous System - Neural Network) ที่มีสมองรวมอยู่ด้วย) ให้กระทำการในกิจนั้นแล้ว :b47: :b48: :b47:

กายก็จะดำเนินการกระทำต่อไปได้ของเขาเอง โดยการควบคุมของสมอง ผ่านระบบประสาท ไปบังคับอวัยวะต่างๆ ให้กระทำตามชุดคำสั่งพื้นฐานที่ถูกโปรแกรมไว้ :b49: :b50: :b49:

ซึ่งโปรแกรมชุดคำสั่งของการกระทำดังกล่าว ได้ถูกบันทึกผ่านกระบวนการเรียนรู้ และสะสมเป็นประสบการณ์ จนสรุปเป็นขั้นตอนของการกระทำที่ดีและสะดวกที่สุด (best practice) ผ่านระบบโครงข่ายของประสาท (Neural Network) และเก็บบันทึกไว้ใน "สมอง"
:b46: :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในทางการแพทย์แล้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท :b49: :b49: :b54: :b55:

และในทางธรรม ทั้งสมองและระบบประสาทที่เหลือทั้งหมด ก็เป็นส่วนหนึ่งของรูป หรือของกาย นั่นเอง :b51: :b53: :b51:

โดยการกระทำที่จิตสั่ง แล้วกายทำงานต่อได้เองนี้ เราเรียกกันง่ายๆว่า เป็นการกระทำตามตามความเคยชิน นั่นหล่ะครับ
:b1: :b1: :b47: :b46:


เช่น การเดิน การวิ่ง การแปรงฟัน การเช็ดตัว การนั่งเขย่าขาหรือหมุนปากกาขณะพูดหรือคิดงาน :b55: :b49: :b41:

หรือการฝึกซ้อมในกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ฟุตบอล เทนนิส ปิงปอง ว่ายน้ำ ฯลฯ ที่เราสามารถเลี้ยงลูกรับลูกส่งลูก หรือตกน้ำปุ๊ปปั๊บก็สามารถว่ายเอาตัวรอดได้ ตามจังหวะตามความคุ้นชินที่ฝึกซ้อมมา ฯลฯ :b48: :b47: :b47: :b48:

หรือบางกิจก็จะเป็นการกระทำตามสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องฝึกต้องสอนจนเกิดความเคยชิน เช่น กิน ดื่ม ขับถ่าย สืบพันธุ์ ระบบป้องกันอันตรายที่จะมาถึงตัว ฯลฯ :b43: :b42: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยที่จิต ไม่จำเป็นต้องมาจดจ่อ มาควบคุมการกระทำของกายตามความเคยชิน หรือตามสัญชาตญาณนั้นๆในทุกขณะ กายก็กระทำการของเขาไปได้เอง โดยการควบคุมของระบบประสาทและเซลสมอง ตามชุดคำสั่ง หรือตามความเคยชิน ตามสัญชาตญาณ :b46: :b47: :b46:

จนกว่าชุดคำสั่งนั้นจะถูกยกเลิกโดยจิต กายถึงจะหยุดกิจ หยุดการกระทำนั้นได้ :b50: :b49: :b49:

(ยกเว้นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่จะหยุด หรือยกเลิกการทำงานไปเองเมื่อหมดเหตุหมดปัจจัยมากระตุ้น โดยไม่ขึ้นกับเจตจำนงค์ของจิตสักเท่าไหร่ ซึ่งจะลงรายละเอียดต่อไปนะครับ) :b55: :b51: :b50:

เช่น ขณะแปรงฟันหรือเช็ดตัว มือก็แปรงหรือเช็ดตัวไป จิตก็คิดโน่นคิดนี่ไป .. จะสังเกตได้ว่า จิตง่วนอยู่กับการคิด แต่มือก็แปรงหรือเช็ดตัวไปได้ด้วยตัวเขาเอง โดยไม่ต้องอาศัยจิตมาคอยคุมตลอดเวลา :b45: :b44: :b51:

(แต่สิ่งที่คอยควบคุมก็คือสมองและระบบประสาทในส่วนการทำงานซ้ำๆโดยอัตโนมัติ ผ่านกลไกของ Neural Network ซึ่งแท้จริงแล้ว ทั้งสมอง ทั้งระบบประสาท หรือ Neural Network ทั้งหมด ก็เป็นส่วนหนึ่งของกายนั่นเอง) :b46: :b47: :b48:

หรือในขณะที่เดินไปคุยไป หรือคิดงานไป .. จะสังเกตได้ว่า จิตง่วนอยู่กับการคุยการคิด แต่ขาก็ก้าวเดินของเขาไป ด้วยการควบคุมของสมองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท โดยไม่ต้องอาศัยจิตมาคุม :b49: :b48: :b47:

หรือในกิจกรรมที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อหลายๆส่วนมาทำงานประสานพร้อมๆกัน และซ้ำๆกัน ด้วยความฉับไวรวดเร็ว เช่น ในการวิ่ง ที่ทั้ง เท้า ขา และ แขน ต้องทำงานพร้อมๆกันเพื่อให้กายวิ่งไปได้อย่างสมดุล :b46: :b46: :b47: :b47: :b42:

จะสังเกตได้ว่า ขณะวิ่ง จิตอาจจะคิดถึงหมาที่วิ่งไล่มา คิดถึงเส้นชัย คิดถึงสถานที่ๆจะไป หรือคิดในงานการอย่างอื่น ไม่จำเป็นต้องมาจดจ่ออยู่กับอาการของกายที่วิ่ง :b39: :b43: :b49:

คือจิต ไม่ต้องมาคอยควบคุมสั่งการ ให้กล้ามเนื้อหลายๆส่วนทำงานประสานพร้อมๆกัน ในขณะเดียวกันแบบเร็วๆ (ยกเว้นเวลาที่ต้องเปลี่ยนทิศทางการวิ่ง กระโดด หรือชะลอความเร็ว ฯลฯ ที่ต้องอาศัยจิต เป็นคนออกคำสั่งก่อน) :b55: :b55: :b54: :b49:

แต่จะเป็นสมอง ระบบประสาท ที่คอยควบคุมสั่งการ และประสานงานร่วมกันกับระบบรักษาสมดุลของน้ำในหู ให้กายวิ่งไปได้ด้วยความรวดเร็วโดยไม่เสียศูนย์ ตามสมดุลของการวิ่งที่แต่ละคนฝึกมาตั้งแต่เด็กๆ :b50: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือบางคนเวลาคุยหรือคิดงานขณะนั่ง ก็มักจะเคยชิน หลงเพลินกับการเขย่าขา หรือหมุนปากกา .. :b9: :b47: :b41:

จะสังเกตได้ว่า จิตทำหน้าที่คุยหรือคิด แต่ขาเขย่าของเขาเอง หรือมือหมุนปากกาของเขาเอง ตามความเคยชินที่ติดเพลิน :b46: :b47: :b46:

หรือนักฟุตบอลที่ขาก็เลี้ยงลูกไป แต่ใจกลับทำหน้าที่คิดประมวลผลสัญญาณจากประสาทตา ว่าจะส่งลูกไปให้ใคร โดยที่ไม่ได้มาจดจ่ออยู่กับขาตลอดเวลา :b43: :b42: :b41:

หรือขณะที่ดูทีวีและทานข้าวไป มือก็ป้อน ปากก็เคี้ยว แต่ใจไปอยู่กับหนังกับละคร ฯลฯ :b6: :b46: :b47:

ทั้งนี้ พูดถึงระบบประสาทควบคุมการกระทำที่ "ไม่" เป็นอัตโนมัติ (Voluntary Action) ก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

คือพูดถึงกล้ามเนื้อที่จิต ต้องสั่งการผ่านระบบประสาท ว่าจะให้ทำอะไรได้โดยตรงก่อน :b49: :b50: :b49:


(แต่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่เชื่อมต่อนั้น จะทำงานตามคำสั่งของจิตได้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยประกอบร่วมอื่นๆที่นอกเหนือจากเจตจำนงค์ของจิต เพราะเดี๋ยวจะเข้าใจผิดในเรื่องอัตตาว่า กายเป็นเรา หรือของเรา เพราะจิตสั่งกายได้ ในปุถุชนที่ยังเห็นจิตเป็นเราอยู่ :b47: :b48: :b47:

แต่แท้จริงแล้วเจตจำนงค์หรือเจตนาของจิต เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในเหตุปัจจัยหลายหลากที่มาประกอบกันเข้าเพื่อให้กายทำงาน :b46: :b48: :b46:

คือ เจตนาของจิต เป็นเพียงแค่เหตุปัจจัย (เป็นกัมมปัจจัย ที่แฝงไว้ด้วยเหตุ ๖ คือโลภะ โทสะ โมหะ, อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหตุใดเหตุหนึ่ง หรือหลายเหตุที่ควบกันได้ มาประกอบกัน) โดยเป็นเพียงแค่ "จุดเริ่มต้น" ที่ใช้ "คลิ๊ก" เพื่อให้กายทำงานตามลำดับ (sequence) ซึ่งถูกเรียนรู้และบันทึกไว้ในระบบ Neural Network ของประสาทได้ ตามเจตนาของจิต :b55: :b54: :b48:


แต่ลองคิดดูว่า ถ้าระบบประสาทสั่งงานบกพร่อง, กล้ามเนื้อนั้นพิการ, หรือขณะที่นั่งนอนทับแขนขานานๆจนชาไม่รู้สึก กระดิกไม่ได้, ฯลฯ จิตก็ไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อนั้นทำงานได้ตามต้องการ ผู้ปฏิบัติได้แต่นั่งมองตาปริบๆ เพราะปัจจัยประกอบอื่นๆนั้น บกพร่องไป) :b47: :b48: :b49:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 13 ต.ค. 2013, 16:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ ที่จิตสั่งการทำงานไม่ได้โดยตรง (Autonomic Nervous System, Involuntary Action) ซึ่งสามารถสังเกตเห็นสภาวะที่กายไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เราอย่างแท้จริง หรืออนัตตสภาวะของกายได้ง่ายกว่า :b46: :b47: :b47: :b46:

ตัวอย่างของระบบประสาทอัตโนมัติ ก็ได้แก่ การปรับขยายของรูม่านตา, การสะอึก, การย่อยอาหาร, การเต้นของหัวใจ, การไหลเวียนของโลหิต, การเกิด Reflex Action เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัส เช่น การหดมือหนีเมื่อเจอของร้อน การไอ จาม หรือสำลัก เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

ที่การกระทำเหล่านี้ จะถูกขับเคลื่อนไปโดยเหตุปัจจัย และถูกควบคุมด้วยระบบในกายของเขาเอง คือโดยสมองในส่วน Hypothalamus หรือกระแสประสาทจากไขสันหลัง โดยที่จิต ไม่สามารถสั่งทำงานโดยตรงได้ :b42: :b41: :b47:

แต่อาจจะมีผู้แย้งว่า ในระบบประสาทอัตโนมัตินี้ จิต ก็สามารถออกคำสั่ง เพื่อแทรกแซงการทำงานอย่างเป็นอัตโนมัตินั้นๆได้ คือในส่วนของกล้ามเนื้อร่วม ที่ใช้ในการทำงานชุดเดียวกับระบบประสาท "ไม่" อัตโนมัติ :b49: :b50: :b54:

เช่น ระบบการหายใจ หรือการหอบหายใจเมื่อเหนื่อย จิต อาจจะออกคำสั่งไปที่กระบังลม เพื่อกลั้นหายใจ หรือสะกดอาการหอบ :b46: :b47: :b46:

แต่สังเกตเถอะครับว่า ไม่มีใครสามารถทำได้นาน :b39: :b41: :b47:

โดยถ้าใช้สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เข้ามาสังเกตอาการทางกาย ในส่วนที่ควบคุมด้วยระบบประสาทอัตโนมัติตรงนี้ดีๆ ก็จะซาบซึ้งกับคำว่า กายไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เราอย่างแท้จริง :b48: :b47: :b41:

เพราะการแทรงแซงระบบประสาทอัตโนมัติโดยจิตนั้น ถึงแม้ว่าจะทำได้ในบางระบบ แต่ก็จะทำให้กายเกิดความบีบคั้นอย่างมาก :b43: :b49: :b50:

เพราะคำสั่งของจิต จะเข้าไปขวางกระบวนการตามธรรมชาติของกาย ที่กำลังดำเนินไปตามเหตุปัจจัยของเขาเอง เพื่อให้กายสบายคลายจากความบีบคั้นอยู่ ด้วยระบบตอบสนองของเขาเอง ตามธรรมชาติของเหตุปัจจัยแห่งพีชนิยาม :b46: :b42: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร