วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 11:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 42, 43, 44, 45, 46, 47, 48 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2013, 10:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวว่า” ผู้ปฏิบัติที่มีอารมณ์วิปัสสนา จะใช้วิธีการรู้สภาวธรรมที่เผชิญเฉพาะหน้า ไม่ได้รู้รูปนามในลักษณะของความสัมพันธ์” นั้น ที่จริงแล้วผู้ปฏิบัติจะรู้ถึงปรากฏการณ์รูปนามในลักษณะที่สัมพันธ์เชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจเป็นรูปกับรูป รูปกับนาม หรือนามกับนาม แต่ยังไม่ใช่ความสัมพันธ์ตามนัยยะของผม ซึ่งหมายถึง ความเป็นเหตุของนามที่ส่งผ่านต่อรูป หรืออนุสัยที่ก่อเกิดเวทนา แล้วส่งผลต่อปฏิกิริยาทาง
เคมีอินทรีย์ทางร่างกาย
แต่อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถเลือกได้ ต้องปฏิบ้ติจนกว่าจะพบความเป็นกลางของจิต

สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีอารมณ์สมถะนำหน้า การตามรู้ในลักษณะดังกล่าวกลับเป็นอุปสรรค เนื่องจากการถลำลึกในการรู้ แล้วไม่ปล่อยวางการรู้ จึงเหมือนเป็นการรู้ปัจจุบัน แต่ที่จริงกลับอยู่กับอดีต ดำรงความปารถนาที่จะรู้(โลภะ)ตลอดเวลา ดังนั้นการรู้ของผู้ปฏิบัติที่มีอารมณ์สมถะนำหน้า จึงต้องเรียนรู้การปล่อยวาง หรือการเปลี่ยนสิ่งรู้ ทุก 7-10 วินาที และการปล่อยวางไม่ใช่สักแต่บอกให้ตนปล่อยวางแต่ต้องละจริงๆ เหมือนคนที่ก่อนนอนผ่อนความรู้สึก ปล่อยวางก่อนหลับไปนั่นเอง ต่างกันที่เมื่อปล่อยแล้วกลับมารู้สภาวะรูปนามแล้วปล่อยใหม่อีกจนกระทั่ง การรู้เริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น ก็คือการเข้าถึง”ความเป็นกลาง” ซึ่งเป็นพื้นฐานของมัชฌิมาปฏิปทา [/color[color=#800080]]ข้อควรระวังการรู้ปรากฏการณ์ภายในร่างกายแล้วรู้ความรู้สึกที่เป็นผล เช่นขณะปวดเข่า ก็รู้ว่าปวดเข่า 7-10 วินาที แล้วสังเกตความรู้สีกว่าจิตใจอึดอึดอัด 7-10 วินาที หากถามว่าจิตอยู่ตรงใหน หากใครรู้สึกว่าอยู่ที่จุดที่ปวดก็อยู่ ณ จุดนั้น แต่หากใครรู้สึกวว่าความอึดอัดอยู่ที่กลางหน้าอก ก็อยู่ที่กลางหน้าอก แต่หากพบว่าอยู่ที่กลางหน้าอกจะเกิดระยะทางระหว่างเข่ากับกลางหน้าอก การเคลื่อนที่จากเข่าสู่กลางหน้าอกจึงต้องค่อยๆเคลื่อน หากทำเร็วจะเกิดความอึดอัด

จึงกล่าวได้ว่า ในหลัก 3 ประการคือ
1. จิตพบความเป็นกลาง
2. รู้สภาวะรูปนามในลักษณะความสัมพันธ์
3. ความรวดเร็วในการรู้

การเข้าใจนัยยะทั้ง 3 อย่างถ่องแท้จะทำให้การปฏิบัติเข้าถึงมรรคผล อย่างรวดเร็ว ความเข้าใจต้องเป็นลำดับ เพียรต่อเนื่องอย่างไม่ปารถนาผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2013, 10:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


1.การดำรงจิตที่รู้สภาวธรรมแล้วละการรู้ การตามรู้เมื่อจิตเกิดความพอใจไม่พอใจหรือรู้สึกเฉย จะทำให้จิตเกิดความเป็นกลาง แต่การพยายามรักษาความเป็นกลางของจิตนั้นเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติเนื่องจากจิตบังคับบัญชาไม่ได้ การรู้โดยไม่เลือกจึงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่จะทำให้จิตเป็นกลาง แต่เนื่องจากการรู้โดยไม่เลือกในสภาวธรรมของรูปและนามซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียด ในส่วนของผู้ปฏิบัติใหม่จึงยังทำไม่ได้ จำเป็นต้องสร้างสมาธิก่อน ซึ่งจะใช้ ลมหายใจทั้งที่จมูก ท้อง หรือคำภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่พึงเข้าใจว่าสมาธิเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เพื่อให้เห็นสภาวธรรมของรูปและนาม ดังนั้นขณะกำหนดลมหายใจหากเกิดสภาวธรรมของรูปนามที่คลายออกมา พึงเลิกรู้ลมชั่วขณะ แต่มารู้สภาวธรรมเฉพาะหน้าเช่น ความร้อน อึดอัด แน่น ด้วยใจที่เป็นกลางสักระยะหนึ่งแล้วกลับไปรู้ลมหายใจอีกครั้ง ดั่งที่เคยกล่าวว่าการรู้แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 7-10 วินาที ทำจนกนระทั่งจิตเริ่มมีสมาธิแล้ว อาจไปรู้ที่สภาวธรรมของรูปนามโดยไม่ต้องใช้ลมจนกว่าสมาธิลดลงมากก็กลับไปรู้ลมใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากคราวที่แล้วที่ลงรายละเอียดถึงการฝึกสติและสัมปชัญญะในกิจวัตรประจำวัน บนพื้นฐานของสมาธิซึ่งก็คือความตั้งมั่น จดจ่อต่อเนื่อง กุมกายใจให้อยู่ในกิจ ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า มาถึงการอาบน้ำ :b47: :b48: :b47:

ซึ่งหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วก็ต้องเช็ดตัว :b47: :b46: :b47:

เนื่องจากการเช็ดตัว เป็นกิจวัตรที่โดยปรกติแล้ว จะกระทำในรายละเอียดด้วยอาการซ้ำๆเดิมๆทุกวัน เหมือนกับตอนแปรงฟันและอาบน้ำ :b46: :b47: :b46:

เช่น มือที่หยิบผ้าเช็ดตัว ก็จะใช้ข้างเดิมๆ หยิบมาแล้วจะเช็ดตรงไหนก่อน ด้วยอาการซับ ปาด ถู อย่างไร แล้วไล่ไปเช็ดต่อที่ส่วนไหน ฯลฯ จนแห้งหมดทั้งกาย :b49: :b54: :b50:

ก็จะกระทำซ้ำๆแบบเดิมๆ มีความลงตัวจนเป็นเหมือนชุดคำสั่งของการกระทำ ที่ถูกโปรแกรมไว้เพื่อให้ทำซ้ำๆ เป็น best practice ซึ่งก็เป็นอาการที่ดำเนินไปโดยเป็นอัตโนมัติอยู่แล้วในทุกวัน :b55: :b54: :b55:

ซึ่งชุดของการกระทำที่เป็นกิจวัตร มีการเคลื่อนไหวทางกายที่ลงตัว ซ้ำๆ เป็นอัตโนมัติ โดยไม่มีการเคลื่อนที่ไปในส่วนใหญ่ของร่างกายนี้หล่ะครับ ที่เอาไว้หลับตาทำ คือปิดการรับรู้ทางตา ซึ่งถ้าลืมตาทำแล้ว จะทำให้ "การรู้ความเคลื่อนไหวด้วยใจ" ถูกรบกวนได้ง่าย :b51: :b53: :b51:

ไม่ว่าจะด้วยการมอง หรือการเผลอคิด :b48: :b49: :b48:

เพื่อเปิดทางให้การระลึกรู้ในการเคลื่อนไหวของกาย หรือของอวัยวะนั้นๆ สามารถลงมารู้ชัดได้ ที่ใจ ที่เดียว :b46: :b47: :b46:


(แต่ถ้าการเคลื่อนไหวนั้นๆ มีการเคลื่อนที่ไปในส่วนใหญ่ของร่างกาย เช่น ต้องเดิน ก้ม นั่ง ย่อ หรือหมุนในที่แคบ ฯลฯ ก็ไม่ควรลองหลับตาฝึกนะครับ เพราะเดี๋ยวแขนขาศีรษะจะชนโน่นโขกนี่ หรือล้มคว่ำคะมำหงายในห้องน้ำไป) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วการใช้ใจ มา "รู้สึก" หรือระลึกรู้ได้ "ชัด" ในการเคลื่อนไหวของกายนี้ ก็ให้รู้อย่างสบายๆ ถึงการกระทำ ที่ "ไหลลื่น" เป็นกระแส เป็น current flow อย่างต่อเนื่องไปในกิจกรรม หรือชุดของการกระทำที่โปรแกรมคำสั่งไว้แล้วนั้นๆ :b46: :b39: :b41:

ซึ่งก็คือ การใช้ใจ รับรู้ในการไหล อย่างต่อเนื่องไป ของ "กระบวนธรรม" ทางกาย :b46: :b39: :b41:

คือการรับรู้ลงใน "กระแส" แห่งการไหลไปในธรรม หรือการไหลไป ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย :b41: :b41: :b41:

ลงเป็น "ปัจจุบัน" อย่าง "เป็นธรรมชาติ" :b46: :b39: :b46:

(ซึ่งถ้าสติสัมปชัญญะแก่กล้าจนถึงระดับหนึ่งแล้ว การรับรู้ในการไหลไปของกรรมทางกาย (กายกรรม) ซึ่งเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัยตรงนี้ จะเป็นการรับรู้ลงในกระแสแห่งปัจจยาการ โดยไม่มีความรู้สึกในสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ปรากฏเข้ามาได้เลยนะครับ) :b1: :b46: :b39:

และการรับรู้ตรงนี้ จะอยู่บนพื้นฐานของความตระหนักรู้ที่ว่า :b48: :b49: :b48:

(๑) กาย กำลังทำกิจอะไร (โคจรสัมปชัญญะ - เช่น ตระหนักรู้ว่า กำลังเช็ดตัวอยู่ ... แต่โดยปรกติของผู้ที่ไม่ได้ฝึกสติมา หรือฝึกมาแล้วแต่สติยังไม่แก่กล้าพอ ลองสังเกตตัวเองในทุกๆเช้าหรือเย็นเวลาอาบน้ำเช็ดตัวนะครับว่า แค่การมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันว่า กำลังเช็ดตัวอยู่นั้น ก็ไม่ค่อยจะมีกันแล้ว :b46: :b47: :b46: :b46:

เพราะจิตเจ้ากรรมมักจะ "หลง" ไปอยู่ในโลกของความคิด :b49: :b50: :b49:

ขณะที่ "กาย" กำลังกระทำกิจกรรมไปอย่างอัตโนมัติตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่วางไว้เพื่อกิจนั้น เช่นที่กำลังเช็ดตัวอยู่นั่นละครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งถ้าเกิดสติซักแวบ โยนิโสฯตรงนี้ดีๆ ก็จะเห็นถึงอนัตตสภาวะ คืออาการที่ใจและกาย ทำงานไปได้ด้วยตัวเขาเอง "ตามความเคยชิน" ไม่มีตัวตน เราเขา หรือผู้ใดเป็นคนสั่ง :b49: :b48: :b49:

แต่ทั้งหมด เป็นไปด้วยกำลังขับของ "อวิชชา" ซึ่งในที่นี้เบื้องต้นคือความ" หลง" ไม่รู้เนื้อรู้ตัว แต่กระทำกิจไปตามความเคยชิน คือใจก็คิดไป กายก็ถูตัวไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ คือความรู้เนื้อรู้ตัว รู้ชัดว่ากำลังทำกิจอะไร) :b48: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) ตระนักรู้ว่า กิจนั้น เป็นไปเพื่ออะไร (สาตถกสัมปชัญญะ - เช่น เพื่อให้ตัวแห้ง เพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้ใส่เสื้อผ้าต่อได้ ฯลฯ) :b46: :b42: :b46:

(๓) ด้วยวิธีอะไร ที่ง่ายสบาย และได้ผล เป็น best practice (สัปปายสัมปชัญญะ - เช่น จับผ้าตรงไหน ออกแรงแค่ไหน เอี้ยวตรงไหน ยกตรงไหน ถูตรงไหน ฯลฯ) :b43: :b44: :b45:

(๔) และรู้ชัดในสภาวะของการกระทำนั้น ในทุกการเคลื่อนไหว ที่ "ไหลไป" ทุกขณะ อย่าง "ต่อเนื่อง" ลงเป็น "ปัจจุบัน" (อสัมโมหสัมปชัญญะ - เช่น รู้ชัดในการไหว การคู้เข้า การเหยียดออกของแขน ในการก้ม ในการเงย ในการถูไถผ้าไปบนผิวหนัง ฯลฯ) :b51: :b53: :b51:


ซึ่งการรู้ชัดในสัมปชัญญะทั้ง ๔ นี้ ก็จะเป็นการ "รู้" หรือ "ตระหนักรู้" ลงที่ใจ โดยปราศจาการ "คิด" นะครับ :b1: :b46: :b39:


(แต่การฝึกแรกๆ อาจจะมีการ "หลงคิด" ไปบ้าง ซึ่งก็คืออาการ "หลงพากย์" ที่นักปฏิบัติมือใหม่มักจะเจออาการนี้กันแทบทุกคน ซึ่งเนื่องมาจากอาการที่จิต เพ่งจ้องตั้งใจในการปฏิบัติมากเกินไป เช่น เมื่อเอื้อมมือไปหยิบผ้าเช็ดตัว จิตก็จะพากย์ว่า หยิบผ้าเช็ดตัว เมื่อเริ่มถูตัว จิตก็จะพากย์ว่า ถูตัว แวบขึ้นมาในหัว ฯลฯ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งครูบาอาจารย์บางท่าน ก็จงใจใช้เป็นกุศโลบาย เพื่อให้ผู้ฝึกปฏิบัติเฝ้าเพียรฝึกด้วยการกำหนดพากย์ลงไปเลย เพื่อเป็นการกำกับสติอีกชั้นหนึ่ง :b46: :b39: :b46:

แต่เมื่อฝึกไปซักพัก ไม่ว่าอาการทั้งจงใจกำหนดพากย์ หรือเผลอพากย์ดังกล่าว ก็จะหายไปได้เอง เพราะเมื่อฝึกซ้ำไปเรื่อยๆ จิตที่คุ้นชินชำนาญและมีสติอย่างเป็นธรรมชาติ ก็จะมีอาการเพ่งจ้องน้อยลง และเริ่มเบื่อที่จะพากย์เนื่องจากเห็นว่าเป็นภาระส่วนเกิน การระลึกรู้ ก็จะรู้อย่างเป็นกลางและเป็นธรรมชาติมากขึ้น :b51: :b53: :b55:

ซึ่งเมื่อถึงตรงจุดนี้ จิตก็จะทิ้งอาการพากย์ออกไปได้เองตามเหตุปัจจัยที่แก่รอบพอนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการตระหนักรู้ และการรู้ชัด ในสัมปชัญญะทั้ง ๔ ข้อนี้ เมื่อปฏิบัติในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆจนชำนาญจนคุ้นชินถึงจุดๆหนึ่งแล้ว ก็จะเป็นการ "ตระหนักรู้" และ "รู้" แบบรวมๆ โดยปราศจากการ "คิด" ได้เองอย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา "เช่นนั้นเอง" :b46: :b39: :b46:

เหมือนกับการฝึกขับรถตามที่ยกตัวอย่างในคราวที่แล้วนะครับว่า ผู้ที่ขับจนชำนาญแล้ว จะรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ว่า :b47: :b48: :b47:

(๑) กำลังขับรถ (โคจรสัมปชัญญะ) :b48: :b49: :b50:

(๒) เพื่อไปที่ทำงาน หรือไปสถานที่ท่องเที่ยว หรือไปยังจุดหมายที่ตั้งใจไว้ ด้วยความปลอดภัย (สาตถกสัมปชัญญะ) :b54: :b48: :b51:

(๓) ด้วยท่านั่งที่สบายที่สุด ด้วยเส้นทางที่ลัดสั้นสะดวกที่สุด ด้วยการควบคุมจังหวะความเร็วที่พอดีที่สุดที่สามารถควบคุมการขับขี่ให้ปลอดภัยได้ (สัปปายสัมปชัญญะ แต่จะดีที่สุดจริงๆหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของปัญญาสัมปชัญญะที่ผ่านการเรียนรู้ สะสม บ่มเพาะ จากประสบการณ์ของผู้ขับ ซึ่งจะเอามาใช้ตัดสินใจในขณะนั้น) :b49: :b48: :b50:

และ

(๔) รู้ชัดในขณะที่ขับ ตั้งแต่การระแวดระวัง การมองทาง การฟังเสียง ฯลฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสั่งการ ในการจับการบังคับพวงมาลัย ในการใช้จังหวะบังคับเลี้ยว การเหยียบเบรค การเหยียบคันเร่ง ฯลฯ ให้สัมพันธ์กัน (อสัมโมหสัมปชัญญะ) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งเป็นการ "ระลึก" และ "ตระหนักรู้" อยู่ในขณะที่ขับ เป็นไปโดยธรรมชาติธรรมดาของการฝึกขับที่คล่องได้ที่ คือแก่รอบแล้ว โดยปราศจากการคิดหรือการพากย์ขึ้นในหัว ตามที่ยกตัวอย่างมาในคราวที่แล้ว นะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยการรู้ชัด รู้ตัวทั่วพร้อมในสัมปชัญญะทั้ง ๔ สำหรับนักปฏิบัติที่ชำนาญแล้วนี้ ก็จะเป็นการ "รู้" ที่ครอบคลุมจากภาพใหญ่ (คือในส่วนของ macro หรือมหภาค) อันได้แก่การ "ตระหนักรู้" ในเป้าหมายและสภาวะแวดล้อมที่สะดวก กับหนทางที่สบาย ในการที่จะมุ่งไป :b48: :b49: :b48:

ไปสู่การ "รู้" ลงในรายละเอียดขณะปฏิบัติ (คือในส่วนของ micro หรือจุลภาค) อันได้แก่การรู้ว่ากำลังทำอะไร และรู้สภาวะในทุกขณะที่ลงมือปฏิบัติการ :b47: :b46: :b47:

เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะ มาคุ้มครองจิตคุ้มครองอินทรีย์ เพื่อทำกิจให้สำเร็จลุล่วงไป ด้วยความสะอาดทางกาย วาจา ใจ จนเป็นสุจริตทั้ง ๓ ได้อย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา "เช่นนั้นเอง" นะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งตรงนี้เอง ที่เราเรียกรวมๆว่า การรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะ อันประกอบไปด้วยสมาธิ คือความจดจ่อต่อเนื่อง ทั้งในการรับรู้ ตระหนักรู้ ประมวลผล และสั่งการกระทำกิจต่างๆ ทางกาย วาจา ใจ นั่นเอง :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2013, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ หลังจากฝึกรู้ชัดในการหลับตาเช็ดตัว จนเสร็จกิจแล้ว :b47: :b48: :b47:

ในขณะที่แขวนผ้าเช็ดตัว, เอี้ยวตัวไปหยิบชุดแต่งตัวที่แขวนไว้, ใส่เครื่องในใส่กางเกง ฯลฯ :b48: :b49: :b48:

ก็ใช้ใจ รับรู้การกระทำทางกายที่ไหลลื่นไปนั้นอย่างสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดา โดยใช้อาการเหมือนคนกำลังรำมวยจีน ที่ใช้ใจ เฝ้าดูการเคลื่อนไหว ไหลไปอย่างต่อเนื่องของกาย อย่างสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดา :b48: :b47: :b41:

(แต่ตรงนี้ไม่ควรหลับตานะครับ เพราะเดี๋ยวหยิบผ้าผิดหยิบผ้าถูก แล้วก็การใส่กางเกง จะต้องยกแข้งยกขา ถ้าหลับตาเดี๋ยวจะเสียการทรงตัว หกคะเมนตีลังกาเอาได้ :b50: :b49: :b44:

แต่ตอนใส่เสื้อ จะลองหลับตาฝึกดูก็ดีนะครับ ตั้งแต่เอาแขนใส่แขนเสื้อ กลัดกระดุม เอาชายเสื้อเข้าในกางเกง ฯลฯ ก็ให้ลองหลับตา แล้วใช้ใจรับรู้ และสั่งการกระทำกิจในการใส่เสื้อ ที่ไหลไปอย่างต่อเนื่องดู) :b48: :b49: :b48:

ก่อนเดินไปหยิบกระเป๋า เดินไปที่โต๊ะอาหารเพื่อทานข้าวเช้า การตักข้าว การเคี้ยว การลิ้มรส การกลืน การดื่ม ฯลฯ :b50: :b49: :b51:

ก็ให้กระทำด้วยอาการที่ใช้ใจ เฝ้าดูการเคลื่อนไหวอย่างไหลลื่นของกาย เพื่อทำกิจต่างๆที่ต่อเนื่องกันไป บนพื้นฐานของความรู้ตัวทั่วพร้อม คือประกอบไปด้วยสติ สมาธิ และสัมปชัญญะทั้ง ๔ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างเป็นธรรมชาติธรรมดา นะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยเฉพาะในขณะที่ทานข้าวเช้า (หรือมื้อไหนๆก็ตามแต่ ที่ทานข้าวเป็นการส่วนตัวอยู่คนเดียว) ก็ให้ลองหลับตาแล้วใช้ใจ เข้าไปรู้สึกในอาการเคี้ยว ในการเคลื่อนไหวของขากรรไกร ในการบด ในการกัด ในการกดแทรกฟันเข้าไปในเนื้ออาหาร ในความร้อนความเย็นความเป็นก้อน ความแข็งความอ่อนความหยุ่น ฯลฯ ของเนื้ออาหารที่ต้านแรงบดเคี้ยว :b49: :b54: :b55:

หรือรู้สึกลงในโอชะ (อาหารรูป) ที่แทรกอยู่ในเนื้ออาหารเหล่านั้น ที่ซึมซาบไปทั่วปากทั่วลิ้น ค่อยๆเคี้ยวค่อยๆย่อย ค่อยๆลิ้มรสด้วยอาการรู้ตัวทั่วพร้อม ตามความรู้สึกไปจนกระทั่งการกลืน รับรู้ในอาการไหลไปของธาตุคืออาหาร ที่ล่วงผ่านลำคอ ผ่านหลอดอาหารไปจนถึงกระเพาะ :b50: :b51: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2013, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็จะเป็นการฝึกสติและสัมปชัญญะ ให้ "เห็นตามจริง" ลงในวิเสสลักษณะของรูป คือในอาการเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ไหล เกาะกุม ฯลฯ ของทั้งกาย และของทั้งน้ำทั้งอาหารที่บริโภคลงไป :b43: :b42: :b39:

รวมกระทั่ง "เห็นตามจริง" ถึงสามัญลักษณะของรูป เช่น ในความไม่เที่ยงปรวนแปรไป ถูกบีบคั้นจนทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ในสภาวะเดิมของอาหารที่กำลังถูกย่อยถูกกัด ถูกตัดถูกบด :b51: :b50: :b51:

หรือการเปลี่ยนแปลงปรวนแปรไปของกายที่มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวในขณะที่เคี้ยวที่กลืน :b48: :b47: :b49:

หรือการเปลี่ยนแปลงไปของอวัยวะอื่นๆ เช่น พุง ที่เริ่มจากว่างๆแฟบๆ จนมีอาการถูกบีบคั้นให้ตึงแน่นอึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆเพราะเหตุปัจจัยจากการทยอยใส่อาหารลงไป จะบังคับให้หายแน่นหายอึดอัดไม่ได้จนกว่าจะทำเหตุปัจจัยให้หายแน่นหายอึดอัด เช่น ลุกขึ้นเดิน :b55: :b54: :b41:

หรือเฝ้าดูกายเป็นเช่นถุงหนังมีรูอยู่ ๙ รู มีธาตุคืออาหารที่กำลังไหลเข้าไปสะสมอยู่ และถึงเวลาหนึ่งก็จะเป็นกากไหลออกไป ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ได้อย่างลงเป็นปัจจุบันเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

หรือเฝ้าดูความหมองของใจ เมื่อเห็นอาหารที่น่าเบื่อไม่อร่อย หรือดูอาการกระโดดโลดเต้นของใจ เมื่อเห็นอาหารที่ชอบใจหลากหลาย เช่นในร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์หรือแบบหมูกระทะ ตามเฝ้าดูอาการของจิตที่กระเพื่อมไหวอิ่มเอมไปในความอร่อยความพอใจ หรือความสุขในการรับประทาน จากการพุ่งสู่จุดสูงสุดในคำแรกที่เข้าปาก จนเริ่มจางคลายหายลงเมื่อยังป้อนเข้าปากไปอีกเรื่อยๆ :b48: :b49: :b50:

แล้วถ้ายังทานไม่หยุด ความสุขจากการทานนั้นก็จะเริ่มแปรเปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ตามปริมาณความแน่นตึงของกระเพาะ ให้เห็นให้รู้สึกได้สดๆร้อนๆ คาปากคาท้องเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2013, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับกิจกรรมอื่นๆหลังทานข้าวเช้าเสร็จ แม้ในขณะที่เดินไปขึ้นรถก่อนขับไปทำงาน หรือสำหรับนักเรียนหรือคนทำงานในเมืองที่ต้องใช้บริการขนส่งมวลชน ที่ต้องเดินออกจากบ้านตอนเช้าไปที่ป้ายรถเมล์หรือรถไฟฟ้า :b50: :b49: :b48:

หรือเกษตรกรชาวไร่ชาวนาที่ต้องเดินไปที่สวนที่นา หรือพระหนุ่มเณรน้อยที่ต้องเดินออกบิณฑบาตรในทุกๆเช้า หรือผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เกษียณอายุที่เดินชมนกชมไม้ออกกำลังกายเบาๆรอบบ้านหรือแถวๆบ้าน ฯลฯ :b46: :b39: :b40:

ก็สามารถใช้จังหวะที่ต้องเดินอยู่ในชีวิตประจำวันนี้ ฝึกสติสัมปชัญญะรู้เนื้อรู้ตัวในขณะเดิน คือแทรกการฝึกเดินจงกรม (ที่แปลว่า เดินอย่างมีสติสัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัว) เข้าไปกับกิจกรรม ที่ต้องกระทำให้สำเร็จด้วยอาการเดินในชีวิตประจำวัน ได้ด้วยเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งตรงนี้ก็ครอบคลุมถึงอิริยาบถใหญ่และย่อยอื่นๆที่แทรกอยู่ในกิจกรรมต่างๆของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย :b47: :b48: :b47:


เช่น ขณะยืนรอรถเมล์หรือรถไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการฝึกปฏิบัติ แทนที่จะยืนด้วยอาการใจหลงเหม่อลอย คิดนู่นคิดนี่เรื่อยเปื่อยไป ก็ให้รู้ลงในรูปยืน ในอาการยืน ในอาการแข้นแข็งโยกไหว ตามที่ได้ฝึกมาจนคุ้นชินในรูปแบบ :b48: :b42: :b48:

โดยเฉพาะเมื่อขึ้นรถโดยสารรถไฟฟ้าไปแล้วและไม่มีที่นั่ง การยืนบนรถโดยสารรถไฟฟ้าที่ต้องใช้แขนและขาช่วยในการทรงตัวบนสภาวะที่รถมีการออกตัว การเร่ง การเบรค การเหวี่ยง ฯลฯ ก็จะสามารถทำให้รับรู้ได้ในอาการเกร็ง อาการแข้นแข็ง อาการตึงไหว ฯลฯ ของกาย ที่ต้องต้านต่อแรงกระทำต่างๆในการขับเคลื่อนไปของตัวรถได้เป็นอย่างดีนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2013, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือการนั่งรอรถที่ป้าย ขึ้นไปนั่งบนรถ หรือนั่งขับรถขณะรถติด ฯลฯ ก็ใช้การรู้เนื้อรู้ตัวในรูปนั่ง ในอาการนั่ง ที่เคยฝึกมาดีแล้วตามรูปแบบ แทรกการฝึกเข้าไปอย่างเป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวันได้เลย :b48: :b47: :b48:

ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการ "รู้กาย" ในชีวิตประจำวันนี้ จะมีช่วงเวลาหนึ่งๆของวันที่ไม่สามารถฝึกร่วมได้ ซึ่งก็คือในขณะที่ต้องคิดงานคิดการในชีวิตประจำวันนั่นเอง :b46: :b39: :b46:

เพราะตอนขณะคิดงานนั้น จิตจะต้องไปง่วน ไปจดจ่ออยู่กับการคิด ทำให้ไม่สามารถลงมารู้ที่กายได้ (หรือถ้ารู้ได้ ก็จะรู้เป็นพักๆ ในช่วงรอยต่อของความคิด ซึ่งจะไม่เป็นการรู้กายอย่างต่อเนื่อง) :b42: :b43: :b44:

แต่ในขณะที่คิด นักปฏิบัติก็ยังสามารถฝึกสติสัมปชัญญะได้ :b50: :b44: :b50:

ซึ่งแทนที่จะฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กาย ก็จะเปลี่ยนโหมดไปเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการ "รู้ใจ" แทน ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดในการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจ จากคำสอนของพระบรมครูในสมาธิสูตรที่ยกมาให้ตั้งแต่ตอนต้นกันอีกที หลังจากจบการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายแล้ว นะครับ :b1: :b46: :b39:


แล้วมาต่อในรายละเอียดของการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายกันอีกสักเล็กน้อยในคราวหน้า ก่อนที่จะไปต่อที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจตามคำสอนของพระบรมครูในสมาธิสูตร :b48: :b49: :b48:

ซึ่งจากประสบการณ์ของวิสุทธิปาละ การฝึกรู้ใจตรงนี้ จะเป็นการฝึกที่มีผลมาก มีอานิสงค์มากเหลือเกิน ทำให้ความทุกข์ในชีวิตลดลงไปได้อย่างมากมาย รวมถึงเกิดปัญญาเข้าใจ จนรู้แจ้งในพฤติของจิตได้ ทั้งสำหรับนักปฏิบัติมือใหม่ จนกระทั่งถึงระดับเสขะบุคคลที่ต้องการต่อยอดขึ้นไปอีกด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2013, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรวดเร็วในการรู้ ถือเป็นสิ่งสำคัญลำดับสุดท้ายในขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนาก่อนการบรรลุธรรม
ทำไมต้องรู้สภาวธรรมของรูปนามเร็ว จากเหตุผลที่ทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ หรือโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล และอนันตจักรวาล โดยอาศัยแรงดึงดูดและแรงผลักออกเชื่อมต่อกัน มวลที่มากย่อมส่งอิทธิพลต่อมวลที่น้อยกว่า หากมองในภาพเล็กลงมาอีก ระบบสุริยะจักรวาลชองเราคือทางช้างเผือกใกล้เคียงกับเรา หรือเล็กกว่าเราคือไตรแองกูลั่ม และที่ใหญ่กว่า 2 จักรวาลดือแอนโดรเมดา ทั้ง 3 จักรวาลจะมีอิทธิพลต่อกัน

ในระบบสุริยะจักรวาลทางช้างเผือก มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางโดยจะส่งแรงดึงดูดดาวบริวาร และโลกก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อมีแรงดึงและเมื่อสุดแรงก็จะเกิดแรงผลักขึ้น ซึ่งเรียกแรงนี้ว่า เส้นแรงแม่เหล็กโลก การทำงานของเส้นแรงแม่เหล็กโลก จะมีความถี่ 1 วินาที หากเคยสังเกตลูกตุ้มนาฬิกาที่แกว่งไปทางซ้ายขวาจะได้ยินเสียง ติ๊ก-ต๊อก ซึ่งก็คือ 1 วินาที ทำให้เกิดกาลเวลา และแรงดึงผลักนี้ยังเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทุกสรรพสิ่งทั้งรูปและนาม เกิด(อนิจจัง)และเกิดทุกขัง และอนัตตา ดังนั้นหากความถี่ของจิต(สติ สัมปชัญญะ) มากกว่า 1 วินาที ก็จะหลุดออกจากอิทธิพลของแรงนึ้หรือการคลายแรงจนถึงจุดกำเนิดของแรง ที่เรียกว่าบรรลุธรรมนั่นเอง เส้นแรงแม่เหล็กโลกนึ้เป็นรูปละเอียด นอกจากมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีผลต่อจิตใจ กล่าวคือ ทุก 1 วินาทีหากไม่กำหนดรู้ความจริงของรูปนามแล้ว ในส่วนของนาม ตัณหาและอุปทาน จะทำกิจสร้างแรงร้อยรัดหทัยวัตถุ (ใจ) และไปสร้างอิทรีย์เคมีหลั่งจากสมองสู่รางกาย การกำหนดสติถ้าความถี่ต่ำก็ไม่สามารถคลายแรงตัณหาได้ หรือเรียกว่า รอบสร้างภพมากกว่ารอบทำลายภพ

แต่หากผู้ปฏิบัติทราบข้อเท็จจริงนี้แล้วจะเร่งตัวรู้การทำเช่นนี้ก็จะเกิดตัณหาคือ อยากกำหนดเร็วขึ้นอีกดังนั้นที่ถูกแล้วจึงต้องเจริญสติสัมปชัญญะให้มาก เพียรมากและเจริญให้มาก และเมื่อรอบความถี่ของจิตเพิ่มขึ้นจนเป็นธรรมชาติ จึงอาจเทียบเคียงเร่งสติขึ้นได้ เหมือนการถีบจักรยานแรกๆต้องใช้แรงมากแต่เมื่อมีความเร็วถึงระดับหนึ่ง ใช้แรงเพียงเล็กน้อยแต่ความเร็วจะไม่ลดลงมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2013, 08:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่กล่าวมา พอสรุปได้ว่า พระพุทธองค์ทรงค้นพบกฎธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ จิตศาสตร์ และอีกหลายศาสตร์

กฎธรรมชาติทางวิทยาศาสตร์ นั้น สสารและพลังงาน ถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน โดยเมื่อสลายแยกสสารออกเป็นส่วนย่อยก็จะพบว่าเป็นกลุ่มของพลังงาน คือ ความร้อน แสง และคลื่น ( vibration ) สำหรับกายวิภาคศาสตร์ ในส่วนแรกเมื่อใช้สติ สัมปชัญญะกำหนดรู้ตามความเป็นจริง และเมื่ออยู่กับความเป็นจริงของรูปนาม (ปัจจุบันขณะ)จะพบความเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง)ของรูปนาม และปลดปล่อยพลังงาน ความร้อนของกายคือความอึดอัด และความร้อนของจิตอันเกิดจากตัณหาจะคลายออกมาเป็นความคับข้อง หงุดหงิด (ทุกขัง)นั่นคือ การแยกพลังงานออกจากรูปนาม และหากรู้ตามความเป็นจริง ก็จะพบความสัมพันธ์ของสภาวธรรมที่เชื่อมต่อกัน แต่อย่างไรก็ตามขณะตามรู้สภาวธรรมดังกล่าวก็ต้องรู้ปล่อยวางเป็นระยะเพื่อเกิดช่องว่างให้พลังงานคลายออกได้สะดวก และเมื่อคลายพลังงานออกมาระดับหนึ่งจิตก็จะเข้าสู่ความว่าง(อนัตตา) ความว่างนี้เป็นเพียงเบื้องต้นของความสงบ (ปฏิจสมุปบาทรอบเล็ก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2013, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การคลายพลังงานแต่ละรอบของกายและจิต จะเกิดปรากฏการณ์ของ แสง ความร้อนและการสั่นสะเทือน
โดยในรอบหยาบแสงจะมีสีต่างๆ สีเหล่านี้ก็คือสภาพอารมณ์ อุปนิสัยและอินทรีย์เคมีที่สะสมในร่างกาย ซึ่งสามารถบอกถึงสุขภาพของผู้นั้นได้ ส่วนความร้อนจะค่อยๆคลายออกและลดลงในต่อมา สำหรับความสั่นสะเทือนของจิต ระดับปุถุชนที่ไม่ปฏิบัติจิตจะมีความถี่ต่ำ ผู้ปฏิบัติก็จะมีความถี่สูงขึ้นมา จนถึงระดับอริยะระดับต้นจิตจะมีความถึ่ที่สูง โดยเฉพาะผู้เข้าถึงกระแสระดับที่ 2 การมองเห็นสิ่งต่างๆจะสังเกตเห็นความเกิดดับตลอดเวลาเหมือนพยับแดด ความถี่ระดับนี้ จึงสลายอารมณ์ต่างๆออกเป็นส่วนเล็กๆ ไม่เกาะเกี่ยวกันเป็นรูปหยาบ หากฝันจะไม่เป็นเรื่องราว และจะไม่ฝันในเรื่องน่ากลัว ซึ่งเกิดจากตะกอนอารมณ์ที่รุนแรง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2013, 10:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงสว่างของจิต จากการที่ผู้ปฏิบัติได้คลายอารมณ์และสารเคมีในร่างกายออกมาจะทำให้จิตมีความละเอียดขึ้น สิ่งที่คลายออกมาจะอยู่ในรูปพลังงานแสง และแสงที่มีสีมากเท่าไร ก็จะมีความถี่ต่ำ และยิ่งมีความถี่สูง แสงจะมีลักษณะละเอียดลดระดับสี แต่จะมีความคมยิ่งขึ้น สำหรับแสงที่มีความถี่สูง ได้แก่สีเหลือง ขาว และใส ตามลำดับ สามารถจำแนกเป็นสนามพลังเจตสิก ดังนี้

วงรอบนอกสุด วงที่ 5 คือ นิวรณ์ธรรม : กามฉันทะ พยาบาท อุทธัจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
วงที่ 4 คือ ปฐมฌาน : วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
วงที่ 3 คือ ทุตติยฌาน : ปิติ สุข เอกัคคตา
วงที่ 2 คือ ตติยฌาน : สุข เอกัคคตา
วงที่ 1 คือ จตุตถฌาน : อุเบกขา เอกัคคตา


แก้ไขล่าสุดโดย suttiyan เมื่อ 22 ก.ย. 2013, 10:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2013, 10:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การคลายพลังงานหยาบของรูปและนามนี้ เป็นการละเจตสิกจากหยาบสู่ละเอียดปรากฏเป็นแสงสีต่างๆ นั้นจิตจะค่อยๆ เคลื่อนสู่ศูนย์กลาง เมื่อนิวรณ์ธรรมดับลง จิตจึงเข้าสู่ปฐมฌานผู้ปฏิบัติจะรู้สึกถึงความสบายที่เริ่มเกิดขึ้น และมักเกิดปรากฏการณ์ที่ผู้ปฏิบัติต้องแปลกใจ เช่น บางท่านรู้สึกหน้าหันไปด้านใดด้านหนึ่ง คล้ายๆหลงทิศ บ้างตัวยึดออกหรือหดเล็กลง ตัวเบาลอยขึ้น ที่เราเรียกว่า ปิติ แท้จริงปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมชาติ

เป็นที่ทราบกันว่าในส่วนที่เล็กที่สุดของอะตอม จะประกอบด้วย อิเลคตรอน (-) โปรตรอน(+)และนิวตรอน ซึ่งเป็นธาตุกลาง เมื่อเกิดสมาธิ จิตจะค่อยๆละความรู้สึกทางกายลง จิตเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลาง เมื่อขณะจิตเคลื่อนที่ผ่าน สนามพลังอิเลคตรอนที่วิ่งหมุนรอบแกนกลางอะตอม เกิดแรงเหนี่ยวนำทำให้เกิดความรู้สึกทางใจที่แตกต่างจากร่างกายดังที่กล่าว แต่เมื่อจิตผ่านสนามพลังของอิเลคตรอนแล้ว จิตจะมีลักษณะเสถียรขึ้น และพบพลังงานแสงสว่าง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 42, 43, 44, 45, 46, 47, 48 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร