วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 40, 41, 42, 43, 44, 45, 46 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาว่ากันต่อที่อธิศีลสิกขา ในหมวดของการฝึกสติสัมปชัญญะนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากคราวที่แล้วที่กล่าวถึงการฝึกในอิริยาบถเดินและยืน :b48: :b49: :b48:

คราวนี้มาว่ากันด้วยการฝึกในอิริยาบถนั่งและนอน :b49: :b50: :b49:

ซึ่งในอิริยาบถนั่งและนอน ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการฝึกในอิริยาบถยืน เพราะเป็นอิริยาบถที่ร่างกายอยู่ในอาการหยุดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหวในอวัยวะใหญ่ :b51: :b53: :b45:

ไปที่การฝึกในอิริยาบถนั่งกันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b47: :b48:

เริ่มตั้งแต่หาที่สัปปายะสะดวกสบาย ทำการนั่งในท่าที่เกิดความมั่นคงและนั่งได้นาน ไม่ว่าจะนั่งบนพื้นขัดสมาธิ หรือนั่งบนเก้าอี้ห้อยขาฝ่าเท้าทั้งสองแนบพื้น .. :b48: :b49: :b48:

โดยให้แนวกระดูกสันหลังทั้ง ๓๓ ชิ้นจากก้นกบเชิงกรานไปถึงกระโหลกท้ายทอย อยู่ในแนวตรงถ้ามองจากด้านหน้า และอยู่ในแนวโค้งตามธรรมชาติโดยอาการยืดอกหลังไม่ค่อมหน้ามองตรงตาหลุบต่ำเมื่อมองจากด้านข้าง :b55: :b54: :b55:

เพื่อให้กระดูกสันหลังแต่ละข้อ ต่อกันอยู่ด้วยอาการแนบสนิท สามารถรับแรงเพื่อพยุงกายท่อนบนได้เต็มที่ และเป็นการป้องกันอาการผิดปรกติของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากการนั่งผิดท่าเป็นระยะเวลายาวนาน โดยจัดวางมือทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่สบาย ไม่ว่าจะวางลงข้างลำตัว หรือวางไว้บนตัก โดยปราศจากอาการเกร็งในอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง :b48: :b47: :b48:


โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการนั่งนี้ จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้ แต่เมื่อเริ่มแรก จากประสบการณ์และสติปัญญาของวิสุทธิปาละที่พอจะแบ่งปันกันได้นั้น ขอแนะนำให้ฝึกด้วยการหลับตาก่อน เพื่อตัดประสาทสัมผัสทางจักขุทวาร และรู้อาการนั่งหรือรูปนั่ง ลงที่ใจเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะชำนาญแล้วจึงฝึกด้วยการลืมตาเพื่อให้เกิดความคุ้นชินในการมีสติด้วยอาการนั่งในชีวิตประจำวันทั่วๆไป :b46: :b47: :b46:

ด้วยหลักการเดียวกับการฝึกสติสัมปชัญญะในรูปยืนนะครับ ผู้ฝึกจะสามารถสังเกตลงในกายได้ทั้งลักษณะเฉพาะของรูปนั่ง (วิเสสลักษณะ ของปฐวีธาตุและวาโยธาตุ หรือของธาตุอื่นๆอีก ที่มาประชุมประกอบกันขึ้นเป็นกาย) และลักษณะสามัญในอาการของรูปนั่ง (คือไตรลักษณ์ของปฐวีธาตุและวาโยธาตุ หรือของธาตุอื่นๆอีก ที่มาประชุมประกอบกันขึ้นเป็นกาย) เหมือนเช่นเดียวกับรูปยืน :b42: :b44: :b45:

คือร่างกายในส่วนที่เป็นกระดูก นับตั้งแต่ก้นกบเชิงกรานขึ้นมาถึงสันหลังยันท้ายทอยนั้น จะมีอาการแข้นแข็งค้ำยัน body ส่วนบนของกายไว้ โดยรู้สึกในอาการที่เป็นเพียงท่อนหรือก้อนธาตุที่แข้นแข็งค้ำยัน อยู่ห่างๆจากศูนย์กลางการรับรู้ที่เรียกว่า ใจ :b51: :b53: :b45:

ซึ่งความรู้สึกแยกอยู่ต่างหากจากใจนี้ ก็จะทำให้รับรู้ถึงความที่กายนี้ไม่ใช่ของๆเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา เป็นเพียงก้อนธาตุก้อนหนึ่งที่อยู่นิ่งๆ :b50: :b49: :b48:

และก้อนธาตุหรือกายท่อนบนที่ว่าอยู่นิ่งๆนั้น แท้จริงแล้วจะมีอาการโคลงเคลงโยกไหวหรือกระเพื่อมอยู่เล็กน้อย โดยไม่ได้จงใจให้กระเพื่อมโยกไหว โดยถ้าลองพยายามสั่งการให้เกิดการหยุดในอาการกระเพื่อมโยกไหวนั้น ก็จะเห็นว่าอย่างไรก็ยังมีอาการโคลงเคลงกระเพื่อมโยกไหวอยู่ดีตามเหตุปัจจัย พยายามบังคับให้หายในอาการกระเพื่อมโยกไหวก็ไม่สามารถจะทำได้ :b55: :b54: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือถ้าจะพยายามไปบังคับกันจริงๆให้หายจากอาการกระเพื่อมโยกไหว ก็จะเกิดความอึดอัดทนไม่ได้ เนื่องจากกระบังลมและปอดยังต้องขยับเพื่อให้กายหายใจ และหัวใจ (ซึ่งสั่งการทำงานด้วยจิตไม่ได้โดยตรง) ยังต้องเต้นเพื่อสูบฉีดเลือดยู่ :b42: :b46: :b47:

หรือยกเว้นจิตจะเลิกจดจ่อเฝ้าดูอาการกระเพื่อมโยกไหวนั้นไปเอง หรือจิตไม่นิ่งละเอียดพอที่จะจับอาการกระเพื่อมโยกไหวนั้นได้ ซึ่งแท้จริงแล้วก็ยังมีอาการดังกล่าวอยู่ แต่จิตไม่ได้มารับรู้ในอาการดังกล่าวเท่านั้น :b51: :b50: :b51:

จากนั้นพอนั่งไปได้ซักพัก ก็จะรู้สึกถึงอาการเมื่อยอันเนื่องมาจากการที่ร่างกายเริ่มถูกบีบคั้นขึ้นเรื่อยๆจากน้ำหนักที่กดทับบีบคั้นลงมาบนตัวของเขาเอง ให้รับรู้ได้บนความแปรปรวนของเวทนาทางกาย :b54: :b55: :b50:

จากเดิมที่นั่งอยู่ได้ด้วยความสบาย เข้ามาสู่ความรู้สึกเฉยๆ จนสู่ความทุกข์ของกายจากความบีบคั้น จนแสดงออกด้วยการปวดเมื่อยในที่สุด บังคับสั่งการให้หายปวดเมื่อยก็ไม่ได้ จนกว่าจะกระทำเหตุปัจจัยให้หายปวดเมื่อย ซึ่งก็คือการเปลี่ยนอิริยาบถที่โบราณอาจารย์ท่านว่าไว้ว่า เป็นสิ่งที่ปิดบังอาการทุกขังทางกายได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะเฝ้าดูอาการทุกขังทางกายไว้ก่อนทำการขยับเปลี่ยนท่า :b51: :b50: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(หมายเหตุ : ซึ่งความแปรปรวนไปในเวทนานี้ เป็นสิ่งที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในมหาทุกขักขันธสูตรว่า เป็นโทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) ซึ่งเกาะคู่มากับคุณในรสอร่อย (อัสสาทะ) ของเวทนา ในอันที่ผู้ปฏิบัติจะต้องพิจารณาให้รู้ชัด เพื่อให้ถึงซึ่งทางออก (นิสสรณะ) แห่งเวทนา อันได้แก่การกำจัดฉันทราคะในเวทนาลงไปได้เนื่องจากซาบซึ้งถึงใจในโทษคือความแปรปรวนไปของเวทนานั้นแล้ว จนเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในเวทนา :b46: :b47: :b41:

เช่นเดียวกับที่องค์พระสารีบุตรพิจารณาความแปรปรวนไปของเวทนาตามคำเทศน์ของพระบรมครูที่มีต่อทีฆนขปริพาชกในฑีฆนขสูตร จนจิตท่านหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ และทีฆนขปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาบัน :b8: :b46: :b39:

ซึ่งในมหาทุกขักขันธสูตรตรงนี้ พระบรมครูท่านได้กล่าวถึงการพิจารณาคุณโทษและทางออกของ "กามและรูป" ในลักษณะเดียวกันไว้ด้วยในช่วงต้น ซึ่งวิสุทธิปาละเห็นว่า มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับไว้เป็นข้อพิจารณาโยนิโสมนสิการของสกทาคามีมรรคบุคคลที่ต้องทำกามราคะให้เบาบาง และโดยเฉพาะอนาคามีมรรคบุคคลที่ต้องกำจัดเสียซึ่งกามราคะ ซึ่งจะกล่าวถึงอีกทีในช่วงที่เหมาะสมต่อไปนะครับ :b1: :b46: :b47:

ทีฆนขสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?13/273-274
มหาทุกขักขันธสูตร http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2784&Z=3013&pagebreak=0
)

ซึ่งในขณะที่เกิดความปวดเมื่อยขึ้นมา ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถแยกใจซึ่งเป็นผู้รู้ ออกจากกายที่กำลังถูกบีบคั้นได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ตรงนี้ให้ลองใช้ใจสังเกตให้ดีนะครับว่า ความปวดเมื่อยอยู่ที่ไหน .. ใคร .. หรืออะไร เป็นสิ่งที่ถูกบีบคั้นจนปวดเมื่อย :b48: :b47: :b48:

ซึ่งถ้าแยกกายใจได้ชัดเจนแล้ว จะเห็นและรู้สึกได้ลงเป็นปัจจุบันทีเดียวนะครับว่า ความปวดเมื่อยนั้นอยู่ที่ขา หรืออวัยวะ หรือร่างกาย ไม่ได้อยู่ที่ใจ โดยถ้าวกเข้ามาดูที่ใจ จะเห็นใจที่นิ่งเฉยปราศจากอาการปวดเมื่อย หรือปราศจากอาการถูกบีบคั้นเป็นทุกข์ มีแต่อุเบกขาเป็นผู้รู้ผู้ดู เฉยอยู่ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งก็จะเห็นต่อไปอีกได้ว่า กายนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นตัวตนของเรา เช่นเดียวกับการฝึกสติสัมปชัญญะและสติปัฏฐานด้วยอาการเดินและยืน นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 11 มิ.ย. 2013, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปตามวิธีการปฏิบัติตามด้านบนที่กล่าวมานี้ได้ว่า :b47: :b48: :b47:

เมื่อผู้ปฏิบัติ ฝึกสติเพื่อระลึกรู้ และสัมปชัญญะเพื่อรู้ชัด (อสัมโมหสัมปชัญญะ) ในลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) ของรูปนั่งซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ได้จนชำนาญแล้ว :b46: :b39: :b46:

ก็จะสามารถต่อยอดปัญญาด้วยการรู้ลงในลักษณะสามัญ (สามัญลักษณะ) ของรูปนั่ง ซึ่งเป็นการเข้าสู่การปฏิบัติในหมวดอิริยาบถบรรพ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จนเห็นตามความเป็นจริงของกาย (หรือของเวทนา ถ้าพิจารณาสังเกตลงในความสบายและความเมื่อย เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราได้ในขณะเดียวกันนั้น เช่นเดียวกับการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูปเดินและรูปยืนนั่นเองครับ
:b1: :b46: :b39: :b46:

แล้วมาต่อการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูปนอนในคราวหน้า :b47: :b46: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 18 มิ.ย. 2013, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ คือ สติ สัมปชัญญะ ละอุปทาน สำหรับสติและสัมปชัญญะ เป็นที่เข้าใจดีแล้ว แต่” ละอุปทาน “ นี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีใครกล่าวถึง ซึ่ง” ละอุปทาน “นี้มีความหมายว่า ขณะที่ใส่ใจในองค์กรรมฐาน นอกจากเป็นการสร้างสมาธิแล้ว ยังได้ของแถมคือ ความยึดติดในสิ่งที่ใส่ใจ และสิ่งนี้คือสภาพอัตตานั่นเอง และอัตตานั่นแหละที่เป็นผู้ผลิต หรือดึงกิเลส ตัณหาตามมา

ดังนั้นการรู้ในองค์กรรมฐานต้องไม่นานจนเกินไป ประมาณ 6-7 วินาที ปล่อยวางการรู้สัก 2 วินาที ค่อยกลับไปรู้องค์กรรมฐานอีกครั้ง การปล่อยวางมีความหมายไปถึงการเปลี่ยนสิ่งที่กำหนดรู้ เช่น การรู้ลมหายใจเข้าออก ประมาณ 6-7 วินาที แล้วเปลี่ยนไปรู้พัดลมที่กระทบโดนตัว หรือเสียงจิ้งหรีด ประมาณ
2 -3 วินาที แล้วกลับมารู้ลมหายใจเข้าออก อีก ระหว่างการเปลี่ยนให้รู้สึกการปล่อยจริงๆ หากขณะกำหนดกรรมฐานมีความนึกคิดเกิดขึ้น ให้รู้ว่าคิด แต่ไม่ต้องรู้เรื่องที่คิด ถ้าปวดขาให้รู้ว่าปวดขา 5-6 วินาที แล้วสังเกตที่กลางหน้าอกว่ามีแรงไหวที่ตำแหน่งนั้นหรือไม่ ถ้ามี ให้รู้ 2 -3 วินาที แล้วกลับไปรู้ที่ปวดขา 5-6 วินาที แล้วปล่อยวาง หากลองทำตามจะพบว่า การปฏิบัติกรรมฐานไม่ใช่เรื่องยากต่อไป

สรุป 1.การรู้ช่วงแรก อาจเป็นการรู้ กายกับกาย(การกระทบอายตนะ) แต่ระดับลึกจะเป็นการรู้ความสัมพันธ์ของกายกับใจ คำว่าใจนี้ ไม่ได้จำเพาะว่าเป็นอารมณ์ แต่รวมถึงแรงที่กระทำที่หัวใจและกลางหน้าอก อาจเป็นการรู้สึกทึบๆ แน่นๆ เหมือนมีอะไรทาบที่หน้าอก สิ่งหล่านี้คือความหมายของใจทั้งสิ้น
2.การรู้กาย แล้วเปลี่ยนไปรู้ใจ จึงถือเป็นการไม่ติดในกาย และเมื่อรู้ใจแล้วกลับเปลี่ยนมารู้กายจึงถือเป็นการไม่ติดการรู้ใจ
3.เมื่อไม่ติดทั้ง 2 ส่วน สภาวะความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผล ที่เกาะกุมทั้ง 2 ส่วนก็จะเกิดดับลง
4. เป็นการปฏิบัติที่อิงแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงให้ไว้แก่ปัญจวัคคี ที่เรียกว่า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร


โพสต์ เมื่อ: 22 มิ.ย. 2013, 11:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะ ที่มีความหมายรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติใหม่ไม่ค่อยเข้าใจนัยยะนี้ เพราะว่าเมื่อเริ่มต้นพิจารณาลมหายใจเข้าออก ก็ไม่เห็นจะรู้ตัวทั่วพร้อมอันใด เพราะสนใจอยู่กับลม ส่วนใหญ่จึงพูดถึงกันแต่เรื่องสติ แต่ที่จริงแล้วสัมปชัญญะ(ปัญญา) มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงมรรคผลนิพพาน

ดังนั้นจึงต้องเข้าใจและเชื่อมต่อ สติกับสัมปชัญญะ จากหลักที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปฏิบัติใหม่จะรู้ตัวทั่วพร้อม ซึ่งเป็นภาพใหญ่ทั้งร่างกาย จึงเริ่มจากการรู้เป็นจุดๆ โดยขณะการกำหนดอริยาบท รู้การเคลื่อนของอวัยวะภายนอก เช่น แขน ขา ส่วนภายใน ขณะนั่งสมาธิ รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าที่จมูก หรือที่ท้องพองยุบ เมื่อจิตมีการเคลื่อนจากตำแหน่งที่กำหนดรู้ เช่น เกิดความคิดขึ้น ขณะนั้นจิตละจากลม แล้ว
ปัจจุบันขณะ จึงเป็นความคิด ไม่ใช่ลม จึงต้องเป็นการรู้ว่าคิด แต่ผู้ปฏิบัติใหม่ที่กำหนดรู้ลมอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อจิตละจากลมไปคิดนึก อาจไม่รู้ทันว่าขณะนั้นเราเผลอไปคิดแล้ว เมื่อรู้ตัวก็กลับมาที่ลมหายใจ เป็็นการระลึกรู้ (มีสติ )หากมีสภาวะธรรมอื่นมาปรากฏต่อจากความคิด ก็ให้รู้สภาวธรรมนั้น ซึ่งเป็นปัจจุบันขณะใหม่ต่อไป จะเห็นว่า 2-3 ขณะที่ผ่านมาเราไม่ได้รู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว เพราะ 2-3 ขณะที่ผ่านมาลมหายใจไม่ใช่ปัจจุบันขณะ แต่ถ้าเราตั้งใจอยู่กับลม เกาะยึดอยู่กับลมเป็นการติดกับอดีต จึงเป็นการทำงานของตัณหาเราจะไม่พบปัจจุบันขณะ นั่นหมายถึง เมื่อใดที่จิตรู้อยู่กับอะไรก็ได้ที่เป็นปัจจุบันขณะ ก็เป็นการเจริญบนเส้นทางมรรค มีองค์ 8


โพสต์ เมื่อ: 28 มิ.ย. 2013, 03:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:


ปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงกระบวนการเกิดขี้นและดับไปของทุกข์
หนทางที่จะออกจากทุกข์คือมรรคมีองค์แปดครับ


โพสต์ เมื่อ: 29 มิ.ย. 2013, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมา ทั้งส่วนของ สติ สัมปชัญญะ และละอุปทาน(ความยึดถือในการกำหนดรู้) เป็นการดำเนินมรรค
ผู้ปฏิบัติพึงตั้งสติอยู่เนืองๆ ด้วยความเพียร (วิริยะ) ในความสัมพันธ์ของรูปและนาม พลังของการร้อยรัดของตัณหา(นาม)และฮอร์โมน(รูป)จะคลายรอบออกมาเป็นนิวรณ์ธรรม ในลักษณะการเกิดดับ จึงอย่ามองว่านิวรณ์คือปัญหา ให้เห็นว่าเป็นการสลัดคืนเหตุของทุกข์ และในการหยั่งรู้รูปนามในระดับลึก จะเป็นการรู้ความเป็นเหตุผลของรูปกับนาม ซึ่งแสดงความเป็นไตรลักษณ์ ผู้ใดเข้าใจนัยะนี้อย่างแจ่มแจ้ง ย่อมเข้าใกล้พระนิพพาน


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

คราวนี้มาถึงการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูปนอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่สบายที่สุดในอิริยาบถใหญ่ทั้งหมด :b48: :b47: :b49:

โดยการฝึก ก็เป็นไปด้วยหลักการปฏิบัติเดียวกันกับรูปเดิน ยืน และนั่ง ได้แก่การสังเกตรู้กายลงในวิเสสลักษณะ (เพื่อฝึกสติสัมปชัญญะ) และสามัญลักษณะ (เพื่อฝึกสติปัฏฐาน) ของรูปนอน ลงที่ใจ :b51: :b50: :b51:

ซึ่งตามประสบการณ์ของวิสุทธิปาละ รูปนอนจะเป็นรูปที่ใช้ฝึกเพื่อเฝ้าดูการทำงานของธาตุขันธ์ของเขาเองได้ชัดที่สุด โดยเวลาฝึกที่เหมาะสม ก็คือในช่วงกลางคืนขณะเข้านอนก่อนตกภวังค์หลับ ด้วยอาการสีหไสยา ได้แก่ ... :b47: :b46: :b41:


(ขอยกเอาคำอธิบายของคุณมหานาลันทา จากธรรมลีลา ฉบับที่ ๓๗ เดือนธันวาคม ๒๕๔๖ มาทั้งท่อนนะครับ เพราะบรรยายได้เห็นภาพดี)

"การนอนตะแคงขวา ศีรษะหนุนหมอน มือซ้ายวางทาบไปตามร่างกายด้านซ้าย มือขวาวางหงายแนบกับใบหน้าเพื่อไม่ให้คอพลิกไปมา วางเท้าเหลื่อมเท้า กำหนดในใจ มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาและจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด

ข้อที่บอกว่าวางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวาซึ่งมีความโค้งมน ส้นเท้าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมา

เท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก

มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายนิ้วก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา"

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara28.htm

ซึ่งการนอนตะแคงขวาในทางการแพทย์กล่าวไว้ว่า เป็นท่านอนที่ไม่กดทับหัวใจที่อยู่ด้านซ้าย ทำให้หัวใจเต้นสะดวก การไหลเวียนโลหิตคล่องตัวดี และผนังหน้าท้องไม่กดลงมาบนกระเพาะอาหารเหมือนท่านอนหงาย ทำให้ไม่อึดอัดกระเพาะเวลานอนอีกด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และหลักการก็เหมือนเดิม คือการใช้สติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ เข้ามาสังเกตลักษณะพิเศษ (วิเสสลักษณะ) จนกระทั่งลักษณะสามัญ (ไตรลักษณ์) ของรูปนอน :b47: :b46: :b47:

(หรือของจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนอน เช่น เวทนาที่แปรปรวนไป จากความสุขความสบายไปสู่ความเฉยๆจนระทั่งความเมื่อยขบ, หรืออาการของความจำได้หมายรู้ที่จิตเคยพบเจอแล้วบันทึกไว้ (สัญญา) ที่ผุดฟุ้งขึ้นมาเอง, หรือสังขารคืออาการแต่งปรุงฟุ้งคิดในเรื่องราวต่างๆของจิตเองที่ต่อเนื่องจากการผุดขึ้นของสัญญานั้นๆ, หรือแม้กระทั่งวิญญาณอาการรู้ลงในรู้หรือรู้ลงในรูปขณะนอน) :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ แยกใจออกมารู้กาย (หรือจิตเจตสิกธรรมที่เกิดร่วม) ได้ชัดแล้ว .. :b51: :b50: :b51:

ก็จะเห็นการทำงานของธาตุขันธ์อย่างเป็นอัตโนมัติอนัตตาด้วยตัวของเขาเอง ทั้งจิต เจตสิก (หรือพฤติของจิต) และรูป เหมือนกับที่องค์หลวงปู่ดูลย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า :b8: :b46: :b44:


"จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะสามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน แล้วจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป"
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=376

ขยายความได้ก็คือการใช้ใจที่แยกออกจากกาย เฝ้าดูกายที่นอนอยู่นั้น เหมือนกับการเฝ้าดูหุ่นยนต์ชีวะหรือ Bio machine ที่มีลักษณะอาการเป็นก้อนธาตุที่มีแกนเป็นแท่งกระดูกแข้นแข็ง วางตะแคงนอนอยู่โดยมีเนื้อหนังที่มีความอ่อนหยุ่นหรือแข็งน้อยกว่าห่อหุ้ม :b49: :b55: :b49:

มีปั๊มลมคือปอดซึ่งมีธาตุคือลมไหลเข้าไหลออกอยู่เหมือนเครื่องยนต์สันดาบภายใน (Internal Combustion Engine) ที่ติดเครื่องรอบเดินเบา, มีปั๊มของเหลวที่เรียกว่าหัวใจ ทำการบีบคลายเป็นจังหวะเพื่อส่งของเหลวคือธาตุน้ำให้หมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลด้วยอาหารและออกซิเจนจนเกิดการเผาผลาญความร้อนทั่วร่างกาย ให้รู้สึกได้ถึงไออุ่นจากธาตุไฟที่ยังชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ ฯลฯ :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนอนเฝ้าดูรูปขันธ์ทำงานของเขาเองแล้ว ถ้าไม่ตกภวังค์หลับไปเสียก่อน จากท่านอนเดิมที่รู้สึกสุขสบายเมื่อแรกเริ่มที่เอนตัวลงนอน ความสุขกายนั้นก็จะเริ่มแปรปรวนไปทีละน้อยด้วยแรงบีบคั้นกดทับอันเนื่องมาจากน้ำหนักของกายนั้นเอง :b49: :b46: :b49:

เข้าสู่การจางคลายลงในความสุขกาย เป็นความรู้สึกเฉยๆ จนกระทั่งเริ่มปวดเมื่อยเป็นทุกข์ ให้ใจนั้นรู้สึกได้แบบสดๆร้อนๆ ต่อหน้าต่อตา ถึงความแปรปรวนไปของเวทนา ต้องการไม่ให้ปวดเมื่อยอย่างไรก็บังคับไม่ได้ จนกว่าจะทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้องคือการขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อหนีทุกข์ ฯลฯ :b46: :b50: :b46:


และเช่นเดียวกับการเฝ้าดูเวทนาทางกายในอิริยาบถใหญ่อื่นๆนะครับ ถ้าแยกใจได้เด็ดขาดออกจากกายด้วยสติสัมปชัญญะและกำลังของสมาธิที่เข้มแข็งต่อเนื่อง แล้วเฝ้ารู้กายอยู่ด้วยใจที่วางเฉย .. :b47: :b46: :b47:

จะเห็นเลยนะครับว่า ความบีบคั้นปวดเมื่อย หรือเวทนาทางกาย จะอยู่แค่ที่กาย ไม่ได้เข้ามาอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่เข้าไปจับและจมแช่เป็นทุกข์กับความบีบคั้นนั้น ใจจะโปร่งโล่งวางเฉย ดูธาตุขันธ์ทำงานภายใต้ความบีบคั้นอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ "เช่นนั้นเอง" ตามเหตุตามปัจจัย :b46: :b47: :b46:

ซึ่งการฝึกแยกใจออกจากกายในอิริยาบถ "นอน" นี้ จะมีประโยชน์อีกประการหนึ่งที่ได้ใช้และเห็นได้ชัดสำหรับการนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันก็คือ .. :b50: :b55: :b50:

เมื่อขณะร่างกายป่วยไข้ไม่สบาย ความคุ้นชินในการแยกใจออกมาเป็นผู้ดูกายขณะที่ต้องนอนแบบอยู่บนเตียง จะสามารถลดความทุกข์ที่เกิดขึ้นลงได้ ทั้งทุกข์ทางใจที่ไม่เกิดขึ้นอยู่แล้วในขณะมีสติสมาธิเฝ้าดูกายอยู่ กับทุกข์ทางกายที่สามารถลดลงและหายจากอาการป่วยไข้ได้เร็วกว่าคนทั่วไป :b39: :b39: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากจิตที่เฝ้าดูกายอันประกอบด้วยสมาธิ และถ้าเป็นผู้ที่ฝึกสมาธิมาจนได้ฌาน เมื่อเฝ้าดูกายอย่างต่อเนื่องถึงจุดหนึ่งจิตจะเข้าฌาน (ฌานสมาบัติ) ทำให้เกิดปีติ สุข อุเบกขา อันเกิดแต่สมถะ :b1: :b46: :b39:

หรือถ้าไม่ได้เข้าฌานสมาบัติ แต่เพียรพิจารณาขันธ์ที่เนื่องด้วยอาการป่วยไข้ด้วยสติปัฏฐาน (สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์) จนเกิดธรรมปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) และอาการผ่อนคลายคือปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) เข้าสู่สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) และอุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) จนเข้าถึงสภาพของความไม่มีตัวตนหรืออนัตตา/สูญญตา (วิชชาและวิมุตติ ซึ่งถ้าเคยเข้าได้แล้วตรงนี้ก็คือการเข้าผลสมาบัติ) แล้วละก็ :b1: :b46: :b39:

สภาวะปีติ สุข ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ฯลฯ ไม่ว่าด้วยกำลังของสมถะล้วนๆ (ฌานสมาบัติ) หรือสมถะร่วมกับวิปัสสนา (ผลสมาบัติ) ดังกล่าว จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสาร Endogenous Morphine หรือที่เรียกชื่อย่อว่า Endorphins จาก Pituitary Grand & Hypothalamus ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับเข้าสู่สภาวะปรกติได้เร็วขึ้นด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

และตรงนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่พระอริยเจ้าตั้งแต่ระดับโสดาบัน คือผู้ที่เคยเห็นแจ้งในพระนิพพานมาแล้ว เวลาป่วยไข้และได้ฟังโพชฌังคปริตร, อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร), หรือบทสวดใดก็ตามที่เนื่องด้วยเส้นทางที่เข้าสู่การเห็นแจ้งในพระนิพพาน จะเกิดธรรมปีติ เกิดความผ่อนคลายสงบลงทั้งกายใจคือปัสสัทธิ เข้าสู่สมาธิและอุเบกขาจนอาการป่วยไข้ทุเลาลงได้โดยเร็ว :b51: :b50: :b51:

แต่ก็ต้องทานยาปฏิบัติดูแลต่อร่างกายให้เหมาะสมกับอาการของการเจ็บป่วยด้วยนะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ทำให้เจ็บไข้ เพราะเรื่องเจ็บไข้ พระบรมครูจำแนกคนไข้ไว้ ๓ จำพวกคือ :b8: :b46: :b44:


คนไข้ประเภทแรก ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย (คือรักษาอย่างไรก็ไม่หาย) :b5: :b46: :b41:

คนไข้ประเภทที่ ๒ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้ (คือรักษาไม่รักษาก็หายได้เอง) :b4: :b46: :b39:

และ

คนไข้ประเภทที่ ๓ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐากที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย (คือ ต้องดูแลรักษาถึงหาย ไม่ดูแลรักษาก็ไม่หาย) :b1: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 01 ก.ค. 2013, 00:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเหตุปัจจัย (สมุฏฐาน) ของอาการเจ็บไข้ หรือความแปรปรวนไปของรูป ก็มีเหตุปัจจัยเดียวกับการเกิดขึ้นของรูป (รูปสมุฏฐาน) ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร นั่นเอง :b48: :b47: :b46:

โดยการแก้ไข ก็ต้องดูว่าอาการเจ็บไข้นั้นเนื่องมาจากเหตุปัจจัยอะไร :b48: :b49: :b50:

ซึ่งการแยกใจออกจากกาย เฝ้าดูกายที่ถูกอาการป่วยไข้มากระทบเฉยอยู่ เป็นแค่การทำให้การกระทบถูกบีบคั้นจนปรวนแปรไปของรูป (ทุกขัง + อนิจจังแห่งรูป) ไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์กระแทกซ้ำขึ้นในจิตในใจเป็นดอกสองได้อีก ตามที่พระบรมครูทรงเปรียบเหมือนกับบุรุษที่ถูกยิงด้วยลูกศรเพียง ๑ ดอกในสัลลัตถสูตร :b46: :b39: :b46:

ซึ่งการใช้ฌานสมาบัติและผลสมาบัติเข้าช่วย อาจจะทำให้อาการป่วยไข้ทางกายดีขึ้นจนถึงหายได้บ้างในบาง case แต่ก็ต้องอย่าลืมที่จะจัดเตรียมโภชนะ เภสัช และอุปัฏฐากที่เหมาะสมกับสมุฏฐานของโรคด้วยนะครับ :b1: :b50: :b49: :b50:


คิลานสูตร พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2549&Z=2568&pagebreak=0
คิลานสูตร พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2523&Z=2548&pagebreak=0
คิลานสูตร พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2498&Z=2522&pagebreak=0
คิลานสูตร จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐานทุกขเวทนาไม่ครอบงำ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7436&Z=7457&pagebreak=0
อาพาธสูตร พระคิริมานนท์หายอาพาธด้วยสัญญา ๑๐
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2597&Z=2711&pagebreak=0
ทุสีลยสูตร ท่านอนาถบิณฑิกหฤหบดีหายอาพาธด้วยการจำแนกโสตาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=9064
คิลานสูตร ว่าด้วยคนไข้ ๓ จำพวก
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3167&Z=3200&pagebreak=0
สัลลัตถสูตร ว่าด้วยเวทนาเปรียบด้วยลูกศร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5572&Z=5634&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งนอกจากการเฝ้าดูธาตุขันธ์ คือ รูป และ เวทนา ทำงานของเขาเองแล้ว ในขณะนอนนั้นก็ยังสามารถ .. :b48: :b49: :b48:

เฝ้าดู สัญญา หรือความจำได้หมายรู้ที่ผุดขึ้นมาโดยไม่จงใจเจตนา เช่น ขณะนอนดูรูปหรือเวทนา จู่ๆก็มีภาพของสถานที่ที่พึ่งไปมา หรือภาพของงานที่ทำคั่งค้างอยู่ ฯลฯ ผุดเกิดในหัวขึ้นมาแล้วดับลงไปได้เฉยๆ :b46: :b47: :b46:

หรือเฝ้าดู สังขาร ซึ่งตัวที่เด่นก็คืออาการคิดฟุ้งปรุงแต่งผุดเกิดขึ้นมา ได้แก่อาการที่มีสัญญาเกิดขึ้น แต่ไม่ตั้งอยู่แล้วดับลงไปเฉยๆ จิตเจ้ากรรมดันเอาสัญญาหมายรู้ที่ผุดเกิดขึ้นมานั้น ไปปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นมาต่อเนื่องออกไปอีก :b46: :b47: :b46:

เช่น ขณะนอนดูรูปหรือเวทนาแล้วจู่ๆก็มีภาพของงานที่ทำค้างอยู่ (สัญญา) ผุดเกิดขึ้นมา จิตเจ้ากรรมแทนที่จะรู้แค่การผุดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับลง กลับเป็นว่าจับเอางานที่คั่งค้างนั้น มาปรุงมาแต่งมาคิดมากังวลต่อ จนกว่าจะเกิดสติรู้ตัวขึ้นมาตัดให้เห็นความคิดฟุ้งปรุงแต่งที่ตั้งอยู่นั้น ดับลงไป :b46: :b47: :b46:

หรือเฝ้าดู วิญญาณ ซึ่งก็คือดูอาการ "รู้" ของจิตเอง ทั้งการรู้ลงที่กาย (คือวิญญาณที่เกิดขึ้นที่ตาหูจมูกลิ้นหรือกายในขณะนอน) และการรู้ลงที่ใจ (คือวิญญาณที่เกิดขึ้นโดยการรู้ลงที่ใจในอิริยาบถนอน) ซึ่งจะเห็นความแปรปรวนไปของอาการ "รู้" (ไม่ว่ารู้ลงที่กาย หรือลงที่ใจ) :b46: :b47: :b46:

ซึ่งผู้ที่ฝึกใหม่ยังไม่ชำนาญ จะเห็นความเกิดขึ้นและตั้งอยู่ของอาการรู้ชัด ได้ชัดเจนในขณะที่เริ่มจงใจกำหนดรู้ จนเห็นถึงความเสื่อมลงไปของอาการรู้ชัดที่เริ่มเบลอลงไป คือเริ่มรู้ได้ไม่ชัดเมื่อสติอ่อนกำลังลง :b42: :b48: :b41:

หรือผู้ที่ฝึกการรู้ชัดได้ชำนาญแล้ว ที่จะเห็นอาการรู้ชัดนั้น ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนถึงชัดเจนที่สุดเมื่อสติเข้าถึงความบริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ในรูปฌาน ๔ :b48: :b54: :b55:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 40, 41, 42, 43, 44, 45, 46 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร