วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 19:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2015, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิคัณฐสูตร

[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย
บัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะหรือ

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เราบัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะ ฯ


ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลาย
เห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ
เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ


อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต









บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้

ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ








บุคคลผู้กำหนัด
อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง



เมื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นตามความเป็นจริง




ความกำหนัดแล
ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน






บุคคลผู้ดุร้าย(โทสะ) ฯลฯ






บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต









บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ




เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ


บุคคลผู้หลง
ถูกความหลงครอบงำจิตรัดรึงจิตไว้

ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง
ไม่หลงและทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรผู้มีอายุ เราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีหรือ ฯ

อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ

ฉ. ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ

อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นดี
และสมควรเพื่อความไม่ประมาท ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 809&Z=5853






หมายเหตุ;



เมื่อผัสสะมีเกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เมื่อไม่รู้ จึงหลงกระทำตามตัณหา ความทะยานอยากที่มีเกิดขึ้น


เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้





อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง


หมายเหคุ;

เมื่อถูกตัณหาครอบงำ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ

เหตุมี ผลย่อมมี(มโนกรรม)
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง





บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้

ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ



หมายเหตุ
เหตุปัจจัยจาก ความไม่รู้ที่มีอยู่ ผู้ที่ถูกตัณหาครอบงำ
ย่อมหลงกระทำ(สร้างเหตุ) ตามความรู้สึกนึกคิด(มโนกรรม) ที่มีเกิดขึ้น
ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย(กายกรรม) ทางวาจา(วจีกรรม)




เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ


หมายเหตุ;

คำว่า ละ
วิธีการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)


เมื่อปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
(ถึงจะไม่รู้สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เรียกว่า ผัสสะ ด้วยตนเองก็ตาม)


เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เชื่อพระพุทธเจ้า
เป็นปัจจัยให้เกิดความศรัทธาในพระธรรมคำสอน

จึงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้
ได้แก่ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)


เมื่อกำหนดรู้ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของตัณหา
ย่อมไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกมาทางกาย วาจา
เป็นการดับเฉพาะตน เกี่ยวกับเหตุปัจจัยที่มีอยู่











บุคคลผู้มีกิเลส ตัณหามีกำลังแรงกล้า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เหตุปัจจัยจากอวิชชา เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

เมื่อไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น นั้นคืออะไร
ทำไมจึงมีผลกระทบทางใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกนึกคิด


เมื่อไม่รู้
ย่อมหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นใหม่เนืองๆ
มากกว่าคิดกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์


ถูกใจก็ยกยอ
ไม่ถูกใจ ก็นินทาว่าร้าย ชอบเพ่งโทษนอกตัว เพราะมันๆๆๆๆ
เพราะถูกครอบงำด้วยตัณหา
ให้ตัณหาเป็นนาย



อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้

ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง



บุคคลผู้กำหนัด
ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ




บุคคลผู้กำหนัด
อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง



ความกำหนัดแล
ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ

เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน





หมายเหตุ;


บุคคลผู้มีกิเลส ตัณหามีกำลังแรงกล้า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
เหตุปัจจัยจากอวิชชา ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น



ย่อมหลงสร้างเหตุแห่งทุกข์ ให้มีเกิดขึ้นเนืองๆ
มากกว่าคิดกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ส.ค. 2015, 19:40, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2015, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
มิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา
ในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตาม
ขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
ตายมีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้น
ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
ไม่มีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.


[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.


[๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน บัญญัติว่า
นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.


[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็น
ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.


[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.


[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถาม
ปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


[๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมีความเห็นตาม
ขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


[๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า
อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อม
บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็น
ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานที่จะมีได้.

[๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี
กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๖๒ ประการ
เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
พวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ...
พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ...
พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ...
พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
อนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖
ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... A=0&Z=1071

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2015, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป

สิ่งที่ควรศึกษา
เกี่ยวกับ การทำความเพียร เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ส.ค. 2015, 17:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2015, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่ ๑


walaiporn เขียน:
ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๕
๑. ปสาทสูตร

[๒๗๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี
มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิ
ใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่
บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด
วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย ถอนขึ้นด้วยดี
ซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ
ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฐิ
สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ
ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด
หมู่สาวกของพระตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่และคณะเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ
ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล ฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว
ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า


เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัยที่เลิศ
รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม

เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ
ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัดและเป็นที่สงบ เป็นสุข

เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ
ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม

ถวายทานในพระรัตนตรัย ที่เลิศ
บุญที่เลิศย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุขะและพละอันเลิศย่อมเจริญ

นักปราชญ์ถวายไทยธรรมแก่พระรัตนตรัยที่เลิศ
ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันเลิศแล้ว

เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม
เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ฯ


เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 267&Z=6308

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรามาสพระธรรมคำสอน

เท่ากับปรามาสพระพุทธเจ้า

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ชีวิตสูตร

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อนข้าวนี้
เป็นกรรมที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย

บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่า ท่านผู้นี้มีบาตรในมือ
ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรทั้งหลายเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ
อาศัยอำนาจแห่งเหตุ

ไม่ได้ถูกพระราชาทรงให้นำไปจองจำไว้เลย

ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้

ไม่ได้เป็นหนี้

ไม่ได้ตกอยู่ในภัย

เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปรกติ
ย่อมเข้าถึงความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้น

ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
แม้ไฉน การกระทำซึ่งที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้
เป็นผู้มีอภิชฌามาก
มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย
มีจิตพยาบาท
มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย
มีสติหลงลืม
ไม่รู้สึกตัว
มีจิตไม่ตั้งมั่น
มีจิตหมุนไปผิด
ไม่สำรวมอินทรีย์

เรากล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผี ที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง
ตรงกลาง เปื้อนคูถ จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน ในป่า ก็ไม่สำเร็จฉะนั้น
บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ และไม่ยังผลแห่งความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้ ฯ




พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์
ย่อมขจัดผลแห่งความเป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป
เหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น

ก้อนเหล็กร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ
อันบุคคลบริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า บุคคลผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวม
พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะดีอะไร ฯ

จบสูตรที่ ๒


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 309&Z=6334

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ข้อที่ ๑


walaiporn เขียน:
ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้


เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0









๑.๑ สิ่งที่ควรรู้ ข้อปฎิบัติ




ยมกวรรคที่ ๒


สัมโพธสูตรที่ ๑





[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้
ได้มีความคิดดังนี้ว่า

อะไรเป็นคุณ

อะไรเป็นโทษ

อะไรเป็นความสลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่ง
กาย ฯลฯ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ
นี้เป็นคุณแห่งจักษุ

จักษุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งจักษุ

การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ
นี้เป็นความสลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ

สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ
นี้เป็นคุณแห่งใจ

ใจเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งใจ

การกำจัด การละฉันทราคะในใจ
นี้เป็นความสลัดออกแห่งใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง
ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้
โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ
และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้เพียงใด

เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น

เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้

โดยเป็นคุณ

ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ

และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้

เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า
ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

จบสูตรที่ ๑


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =129&Z=151









สัมโพธสูตรที่ ๒

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้
เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น ความสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ
แห่งเสียง ฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯแห่งโผฏฐัพพะ
อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป นี้เป็นคุณแห่งรูป
รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป
การกำจัด การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นความสลัดออกแห่งรูป ฯลฯ

สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่งธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งธรรมารมณ์
การกำจัด การละฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้
โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความ เป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด

เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น


เมื่อใด เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้
โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกอย่างนี้

เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ก็ญาณทัสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

จบสูตรที่ ๒


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =227&Z=251

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑.๒



โนอัสสาทสูตรที่ ๑



[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ
แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในจักษุ

ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ
แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ

ถ้าความสลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ
แต่เพราะความสลัดออกแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ ฯลฯ
แห่งหู ฯลฯ แห่งจมูก ฯลฯ แห่งลิ้น ฯลฯ แห่งกาย ฯลฯ

ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ
แต่เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ

ถ้าโทษแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ
แต่เพราะโทษแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในใจ
ถ้าความสลัดออกแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากใจ
แต่เพราะความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากใจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้

โดยเป็นคุณ

ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ

ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด

สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่ เพียงนั้น

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖เหล่านี้
โดยเป็นคุณ
ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ
และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก

เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ

จบสูตรที่ ๕

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =203&Z=226





โนอัสสาทสูตรที่ ๒

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป
แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป
ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป
แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป
ถ้าความสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป
แต่เพราะความสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป ฯลฯ
แห่งเสียงฯลฯ แห่งกลิ่น ฯลฯ แห่งรส ฯลฯ แห่งโผฏฐัพพะ ฯลฯ

ถ้าคุณแห่งธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์
แต่เพราะคุณแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในธรรมารมณ์
ถ้าโทษแห่งธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
แต่เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากธรรมารมณ์
แต่เพราะความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากธรรมารมณ์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง
ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้
โดยเป็นคุณ
ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ
ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกเพียงใด

สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่เพียงนั้น

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้
โดยเป็นคุณ
ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ
และซึ่งความสลัดออก โดยเป็นความสลัดออก

เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจอันหาเขตแดนมิได้อยู่ ฯ

จบสูตรที่ ๖



http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =227&Z=251

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 17:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑.๓


สัพพวรรคที่ ๓
สัพพสูตร

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น
ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์
อันนี้ เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน
วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ดุจเทพเจ้า
แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ

จบสูตรที่ ๑



http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =299&Z=308






ปหานสูตรที่ ๑

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อละสิ่งทั้งปวงนั้นเสีย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ

ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล
เป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๒


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =309&Z=318








ปหานสูตรที่ ๒

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลายเพื่อรู้ยิ่ง
รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่ง
รอบรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน

จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส
เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งควรรอบรู้แล้วละ

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง
ควรรอบรู้แล้วละเสีย ฯลฯ

ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส
เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรรอบรู้แล้วละเสีย
นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย



ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล
เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง รอบรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง ฯ
จบสูตรที่ ๓



http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... =319&Z=330

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานันทวรรคที่ ๓
ฉันนสูตร


[๕๑๑] ๗๒. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแลฉันนปริพาชกได้ไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์ ท่านทั้งหลาย
บัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะหรือ

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
เราบัญญัติการละราคะ
บัญญัติการละโทสะ
บัญญัติการละโมหะ ฯ


ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทั้งหลาย
เห็นโทษในราคะอย่างไร จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะอย่างไร จึงบัญญัติการละโทสะ
เห็นโทษในโมหะอย่างไร จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ


อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เพื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต

บุคคลผู้กำหนัด ถูกความกำหนัดครอบงำรัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ประพฤติทุจริตด้วยใจ

เพื่อละราคะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ

บุคคลผู้กำหนัด อันความกำหนัดครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นตามความเป็นจริง




ความกำหนัดแล ทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

บุคคลผู้ดุร้าย ฯลฯ บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมคิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง
เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเอง
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่คิดเพื่อจะเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย
ไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต


บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำ รัดรึงจิตไว้
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ


บุคคลผู้หลง ถูกความหลงครอบงำจิตรัดรึงจิตไว้
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมไม่รู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่นตามความเป็นจริง
ย่อมรู้แม้ซึ่งประโยชน์ตนและ ผู้อื่นทั้งสองฝ่ายตามความเป็นจริง
ไม่หลงและทำให้เป็นคนมืด
ทำให้เป็นคนไร้จักษุ
ทำให้ไม่รู้อะไร
ทำปัญญาให้ดับ
เป็นไปในฝ่ายความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ดูกรผู้มีอายุ เราเห็นโทษในราคะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละราคะ
เห็นโทษในโทสะเช่นนี้ จึงบัญญัติการละโทสะ เห็นโทษในโมหะเช่นนี้แล จึงบัญญัติการละโมหะ ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีหรือ ฯ

อา. มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นมีอยู่ ฯ

ฉ. ก็มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้นเป็นไฉน ฯ

อา. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แล มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้น ฯ

ฉ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ นั้นดี
และสมควรเพื่อความไม่ประมาท ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 667&Z=5721

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น
คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ




http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมโดยไม่เหลือ

ศิล สมาธิ ปัญญา






walaiporn เขียน:
นิคัณฐสูตร

[๕๑๔] ๗๕. สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ กุฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าอภัยลิจฉวีกับเจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวี
ได้พากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ อภิวาทท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเจ้าอภัยลิจฉวีได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครณฐนาฏบุตร เป็นคนรู้เห็นธรรมทุกอย่าง
ย่อมปฏิญญาญาณทัสสนะไว้อย่างไม่มีส่วนเหลือว่า
สำหรับเราจะเดิน จะยืน จะหลับและตื่น ก็ตาม ญาณทัสสนะก็ปรากฏชั่วกาลนิรันดร

เขาบัญญัติว่า กรรมเก่าหมดไป เพราะความเพียรเผากิเลส
ฆ่าเหตุได้เพราะไม่ทำกรรมใหม่ ด้วยประการฉะนี้

จึงเป็นอันว่า เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงหมดไป
เพราะทุกข์หมดไป เวทนาจึงสิ้นไป
เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งสิ้นจึงจักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
การล่วงทุกข์ย่อมมีได้ด้วยความหมดจด ที่ให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ
ซึ่งบุคคลจะพึงเห็นเองนี้ ด้วยประการฉะนี้

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้อย่างไร
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรเจ้าอภัย
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ ๓ อย่างแล

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว

เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อการล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง





ความหมดจด ๓ อย่าง เป็นไฉน คือ




๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไป


โดยคิดเห็นว่า ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ



ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ




๒. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
สงัดจากกาม ฯลฯ
เข้าจตุตถฌานอยู่

เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

และสัมผัสถูกต้องกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดเห็นว่า
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ





ซึ่งผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ








๓. ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีล
ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้แล้ว

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

เธอไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

สัมผัสถูกต้องกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปโดยคิดเห็นว่า
ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมไปโดยไม่เหลือ




ซึ่งผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
เป็นของไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ด้วย ฯ





ดูกรเจ้าอภัย ความหมดจดที่ทำให้กิเลสเสื่อมโดยไม่เหลือ ๓ อย่างนี้แล
อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ชอบแล้ว

เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้
เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง


เมื่อท่านพระอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว
เจ้าบัณฑิตกุมารลิจฉวีได้พูดกะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า

ดูกรอภัยเพื่อนรัก ทำไมท่านจึงไม่ชื่นชมอนุโมทนา
คำสุภาษิตของท่านพระอานนท์
โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า

เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า เพื่อนรัก
ไฉนเราจักไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิต
ของท่านพระอานนท์โดยความเป็นคำสุภาษิตเล่า

ผู้ใดไม่ชื่นชมอนุโมทนาคำสุภาษิตของท่านพระอานนท์
โดยความเป็นคำสุภาษิต ความคิดของผู้นั้นพึงเสื่อม ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 809&Z=5853

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วย ผัสสะ (กรรมเก่าและกรรมใหม่)


เมื่อยังมีกิเลส เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน
ความสามารถ ที่จะกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์
มีรู้กับไม่รู้ แต่ได้ศึกษา มีความศรัทธา เชื่อในพระธรรรมคำสอน
และปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน


ทีนี้ขึ้นอยู่กับว่า
บุคคลนั้น มีขันติ มีความอดทนอดกลั้นต่อผัสสะ ที่มีเหตุปัจจัยต่อกันนั้น
บุคคลนั้น มีความอดทน อดกลั้นได้มากน้อยแค่ไหน

หากให้ตัณหานำหน้า ประมาณว่า แกว่าชั้น ชั้นต้องว่าแก
เป็นการสร้างเหตุใหม่ ให้มีเกิดขึ้นทันที

หากกำลังโลภะแรงกล้า ความอยากได้ในทรัพย์สินของผู้อื่น
มีตัณหานำหน้า ย่อมทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ



ฉะนั้น จะรู้หรือไม่รู้
ต้องมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เพื่อเป็นที่พึ่งที่อาศัย ให้เกิดการสำรวม สังวร ระวัง ประกอบเนืองๆ
ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ยังดีกว่าหลงวังวนการเวียนว่ายในสังสารวัฏ













พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย


เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา



เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปด้วย





นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ









พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย


เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา


เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปด้วย





นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ










พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า


แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน


ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ













พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ













พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น









[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัด
ความเกิด
ความดับ
คุณ
โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว
เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้








[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่า
ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ

ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไป
แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ
สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น

คือ ความรู้เหตุเกิด

เหตุดับ

คุณ

โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไป
แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง
แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2015, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยผัสสะ

กล่าวในแง่ของ ปริยัติ




ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,
อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,
อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,
และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;
ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น
ชื่อว่า ผัสสะ.


เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเพลิดเพลิน
ย่อมพร่ำสรรเสริญ
เมาหมกอยู่,


อนุสัยคือราคะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว
ย่อมเศร้าโศก
ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ
ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่,

อนุสัยคือปฏิฆะ
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.






เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข
ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,

อนุสัยคืออวิชชา
ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.







ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือ ราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
ยังบรรเทาอนุสัย คือ ปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
ยังถอนอนุสัย คือ อวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้ :
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.



– อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร