วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 23:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




article-1361790-0D6B9F5F000005DC-40_634x531.jpg
article-1361790-0D6B9F5F000005DC-40_634x531.jpg [ 181.23 KiB | เปิดดู 4421 ครั้ง ]
toy1 เขียน:
มองอีกมุมหนึ่ง มิใช่เราหลงยึดไปกับขันธ์ห้า ขันธ์ห้านั้นก็ยึดเราใว้เหมือนกันด้วยวิบากกรรม สิ่งต่างๆที่ไหลออกมาจากขันธ์ห้าก็มีมายาทำให้จิตหลงใหล การรักษาจิตให้มีสติประกอบด้วยปัญญาไม่เลื่อนไหลไปกับสิ่งต่างๆ จิตของผู้นั้นต้องเป็นผู้มีกำลังสะสมบารมีสะสมการปฏิบัติธรรมไว้มาก จึงจะสามารถหลุดพ้นออกมาได้


อุปาทาน เปรียบเหมือนงู
ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนกบ

ขันธ์ ๕ ไม่มมีโอกาสยึดอุปาทาน

งูเท่านั้นที่จะยึดกบ กบไม่มีโอกาสยึดงู

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
การเจริญสติกับการเจริญวิปัสสนานั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

การเจริญสตินั้น เป็นเหตุใกล้คือ การรับรู้สภาวะของอายตนะตามปัจจุบันเหตุ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร

หลงทีไร ก็อยากทุกที
หลงทีไร ก็เกิดเป็นตัวเราทุกที
หลงทีไร ก็ดันทุรังร่ำไป

มีอาการอย่างไรล่ะ มีอาการคือ เวียนๆว่ายๆ ในสังสารวัฏฏ์ นี่ล่ะ

หลงนี่ล่ะ ตัวพ่อเลย เรียกอีกชื่อว่าอวิชชา น้องย่อมๆ ลงมาหน่อย ก็เรียกโมหะ

แนวทางสังเกต จะรู้ได้เมื่อ รู้สึกว่าตนเองเจอตอ เป็นทุกข์ แก้ไม่ตก งุ่มๆ ง่ามๆ มีอาการเหมือนวัวพันหลัก
ลิงติดตัง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็นครับ เราเองมักได้ยินได้ฟังเรื่องโลภ โกรธ หลงบ่อยๆ พูดได้บ่อยๆ ว่าหลงรัก หลงเกลียด หลงอยากได้ หลงดีใจ หลงเพลิดเพลิง หลงทุกข์ หลงว่าเป็นจริง หลงผิด หลงกิน เป็นต้นเหมือนอย่างลุงหมานว่า แล้วอยากถามว่าความหลงนี้มันเป็นกรรมหรือไม่


ความหลงจนเคยตัว หลงจนเป็นสันดาน เป็นเหตุให้ก่อกรรม ครับ ตัวมันเองไม่ใช่กรรม
เรียกว่า เจตนาเกิดจากสันดานในจิตใต้สำนึกครับ เป็นมูลเหตุของกรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอบคุณครับลุงหมาน ขอถามต่อคือเรื่องของอุปาทานที่เราหลงเข้าไปยึดถือ เช่นทิฐิความคิดเห็นที่เกิดในตน เรื่องของสัญญาอดีตบ้างเช่นคนนี้เคยทำไม่ดีกับเรา เราก็นึกโกรธ นึกเกลียด ไม่ชอบใจ นึกตำหนิติเตียน เราควรทำอย่างไรเพื่อละอุปาทานความยึดถือในเรื่องเหล่านี้ที่เกิดในตน

ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล มีพรหมวิหาร 4 เจริญสติเจริญสมาธิ เจริญปัญญา
ฟังธรรม เพื่อให้รู้จักอุปาทาน ว่ามีหน้าตาคร่าวๆ ยังไง ฟังธรรมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจก่อน
ให้ทาน เพื่อละความตระหนี่ ความยึดถือ รู้จักให้รู้จักวาง
รักษาศีล เพื่อไม่ก่ออกุศลกรรมบถเพิ่ม จะได้มีเมตตา กรุณา มุฒิตา อุเบกขาที่ยังไม่เกิดให้เกิดได้ง่ายขึ้น
เจริญพรหมวิหารธรรม เพื่อให้อยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุข ปรับปรุงคุณภาพชีวิตการอยู่ร่วมกัน การให้อภัย การเอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูล สัญญาใหม่เกิดขึ้น สัญญาในอดีตก็จะตกไป
เจริญสติเจริญสมาธิ เพื่อให้สิ่งดีๆ ที่ตั้งใจทำนั้นมั่นคงอยู่ได้นานเท่านาน
เจริญปัญญา เพื่อทำให้ความละวางกิเลสในใจตนนั้นวางได้อย่างฉลาด ไม่กำเริบขึ้นมาอีก อุปาทานก็จะค่อยวางไปๆ จนสิ้นไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
เสียงที่มากระทบกับหูก็ยึดมั่นถือว่า "เรา" ได้ยิน
เสียง หู โสตวิญญาณ ที่ประกอบขึ้นมาสื่อให้ตัวเรารับรู้ มีอารมณ์คอยปรุงแต่งจิตให้ยินดีพอใจหรือไม่พอใจในเสียง เหมือนในชีวิตประจำวันที่เราใช้อยู่พอใครมาด่าว่าเรา ก็มีอารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นมา มีอารมณ์หงุดหงุดบ้าง อารมณ์โมโหบ้าง.....แสดงออกทางหน้าตา....อารมณ์ที่ก่อตัวขึ้นมานี้บางครั้งก็ยังพอขันติอดทนต่ออารมณ์ได้ แต่พอเจอบ่อยๆ บางครั้งก็ตบะแตก เสียจริต ยอมไม่ได้ละไม่ได้ จึงต้องทำไปตามอารมณ์ที่สั่งให้มีกายกรรมวจีกรรมเช่นข่มเหงเขา ดูถูกเขา เหยีอดหยามเขา เฉือดเฉือนเขา ทำให้เขาเดือดร้อนทุกข์เพราะเราไม่ปกติวิปริตไปตามอารมณ์ จนเป็นผู้ขาดเหตุผลเหมือนคนไม่รู้จักกรรมดีกรรมชั่ว แต่ก็ยังหลงตัวเองว่าดีแล้วทำดีแล้ว แล้วเราจะเดินไปตามทางสายกลางที่ไม่เบียดเบียดตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองไม่ก่อทุกข์ไห้กับผู้อื่นได้อย่างไร ควรจะจัดการบริหารอย่างไรในสิ่งที่เผชิญในชีวิตอันน้อยนิด

แล้วเราควรฝึกฝนตัวเราอย่างไร เพราะขณะเสียงกระทบหูสื่อเข้ามาทางโสตวฺิญญาณนั้นมันรวดเร็ว อารมณ์ก็มาเร็วเหมือนกัน เหมือนกระแสไฟฟ้ากระตุกให้กายนี้ขันธ์ห้านี้มีทิฐิความคิดเห็นเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ จนดูเหมือนเป็นธรรมชาตินิสัยสันดานสัญชาตญาณที่ตนเองเคยกระทำ จนไม่มีสติระลีกรู้เพื่อแก้ไขพิจารณาปรับปรุงตนเองเพื่อกระทำในสิ่งที่เป็นคุณ

ดูกิเลส ว่ามีหรือไม่มีก็พอ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ในการเจริญวิปัสสนาในเรื่องของขันธ์ห้า เรื่องของส่วนที่เป็นนามธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ควรวางตนอย่างไร วางจิตอย่างไร หรือว่าใช้แค่เพียงความคิดกับสัญญาจำที่เคยอ่านเคยฟัง

ทำได้ เห็นชัดแจ้ง เห็นแจ่มแจ้ง ก็เป็นปัญญา
รู้แต่ยังทำอย่างนั้นไม่ได้ ก็แค่สัญญา

สัญญา ปัญญา สัญญา เป็นความสืบเนื่องเกื้อกูลกัน แยกออกจากกันไม่ได้ แต่รู้ได้เพราะลักษณะไม่เหมือนกัน


ลองนั่งแก้กลุ่มด้ายที่พันกันดูสิ
คุณแยกไม่ออกหลอก สัญญาและปัญญา แต่คุณจะรู้ได้ว่าหน้าที่ต่างกัน ขณะไหนใช้ความคิดเพื่อทำให้สำเร็จ
ขณะนั้นใช้ปัญญา ขณะไหนศึกษาหาทางขณะนั้นคุณใช้สัญญาเป็นวัตถุดิบของปัญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
การเจริญสติกับการเจริญวิปัสสนานั้นมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรครับ

การเจริญสติ .... จิตที่ไม่รู้จักกำหนด หรือไปกำหนดเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าคือสิ่งที่ควรกำหนด
ก็ฝึกจิตก่อน ให้รู้จักกำหนดสิ่งที่ควรกำหนด เพื่อการฝึกจิต ให้ได้สัมมาสมาธิ .... เรียกว่า เจริญสติ

การเจริญวิปัสสนา .... อาศัยจิตที่มีสติมีสมาธิ จิตถูกฝึกให้เชื่อง มาพิจารณาลักษณะความจริง ของสิ่งทั้งปวง เพื่อขุดเอารากเง่าของความยึดถือ ของตัวตนออกจากสิ่งทั้งปวง

ไม่เรียกว่า เหมือน หรือแตกต่าง กล่าวว่า อิงอาศัยกันเพื่อความบริสุทธิ์ของจิต

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอถามลุงหมานต่อนะครับ ผลที่ได้จากการพิจารณาขันธ์ห้า ด้วยไตรลักษณนั้น ทำให้ภาวะของจิตเรา ตัวเราเองมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่่ครับ

มีความรู้เห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น หรือน้อยลงไหมล่ะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ในขณะที่รูปนี้ยังมีชีวิตอยู่ ยังมีกรรมกับรูปนี้อยู่ มีผู้ที่ทำจิตก้าวล่วงพ้นขันธ์ห้าได้จริงหรือ เพราะยังต้องอาศัยรูปนี้อยู่ เมื่อต้องอาศัยรูปนี้กายนี้ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยสี่เพื่อยังชีวิตที่มีสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยังต้องรับเวทนากายอยู่ มีหิวมีกระหาย หรือเป็นผู้ที่สามารถเข้านิโรธได้ชั่วขณะ แต่ยังไม่ได้เป็นผู้หมดกรรม ยังต้องสะสางเวรกรรมของตนให้หมด

กำจัดอุปาทาน ให้สิ้นไป ไม่ใช่ฆ่าตัวตาย
มีชีวิตอยู่ต่อไปแต่ไม่มีอุปาทาน ไม่ใช่ไม่มีขันธ์ 5

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2014, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
มองอีกมุมหนึ่ง มิใช่เราหลงยึดไปกับขันธ์ห้า ขันธ์ห้านั้นก็ยึดเราใว้เหมือนกันด้วยวิบากกรรม สิ่งต่างๆที่ไหลออกมาจากขันธ์ห้าก็มีมายาทำให้จิตหลงใหล การรักษาจิตให้มีสติประกอบด้วยปัญญาไม่เลื่อนไหลไปกับสิ่งต่างๆ จิตของผู้นั้นต้องเป็นผู้มีกำลังสะสมบารมีสะสมการปฏิบัติธรรมไว้มาก จึงจะสามารถหลุดพ้นออกมาได้

เรายึดขันธ์ 5 ด้วยความโง่
จึงต้องมีวิบากกรรม ตายเกิด ตายเกิด

การกระทำต่างๆ ของหมู่สัตว์ไหลออกจาก อวิชชาอาสวะอนุสัยทั้งนั้นซึ่งก่อเป็นมายาให้จิตหลงใหลไปกับมายาเหล่านั้น

พระพุทธองค์จึงทรงชี้ทางให้พ้นจากมัน สอนวิธีการให้พ้นจากมัน และเราๆผู้ต้องการพ้นจากมันต้องทำด้วยความสม่ำเสมอ แน่วแน่ไม่ท้อถอย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2014, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเช่นนั้นครับ
ที่มาช่วยขยายความของธรรมะให้กระจ่างขึ้น อีกในแง่มุมหนึ่ง
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2014, 07:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกียะ
จิตของผู้มีกรรม ตกลงมาสู่รูปของกรรม ที่กำเนิดขึ้นมาด้วยในโลกียะ อารมณ์ฝ่ายโลกียะ ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นตัวใหญ่ มี่อารมณ์นานาชนิดฝ่ายโลกียะ ไหลผ่านรูป ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งขันธ์ห้า เหมือนควบคุมจิตของเรามิให้เป็นอิสระ อีกทั้งสิ่งที่สื่อผ่านเข้ามาทางวิญญาณหูตาจมูกลิ้นกายใจ ก็ชักนำมาซึ่งอารมณ์ปรุงแต่งที่เกิดกับรูปและขันธ์ห้าที่เราอาศัย เมื่อมีอารมณ์เกิดการปรุงแต่งกับรูปและขันธ์ห้า จิตเราไม่เท่าทันอารมณ์ปราศจากปัญญา ไม่มีความขันติอดทนต่ออารมณ์ นื่งเฉยไม่ได้ ปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้ จึงเหมือนตัวเราถูกบังคับให้ใช้กาย วาจา ใจ เป็นไปตามอารมณ์ขณะนั้น ๆ จึงเป็นเหตุให้เราเป็นผู้มีกรรม มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เกิดเป็นการคล้องกรรม เป็นหนี้เวรกรรม และต้องเป็นผู้ชดใข้กรรมเวียนว่ายตายเกิดเนื่องด้วยอารมณ์ของโลกียะ

เมื่อจะออกจากอำนาจของโลกียะ ก็นำกายที่อาศัยมาปฏิบัติธรรม สะสมบารมีด้วยการไม่เดินไปตามของอารมณ์โลกียะ ทำวันละห้านาที สิบนาที ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง สะสมวันละเล็กวันน้อย เหมือนเราเดินลดละอารมณ์โลกียะ มีสติรู้จักจิตของตน เพื่อนำตนให้พ้นจากบ่วงกรรมที่ประกอบกันขึ้นมา มีความสัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายด้วยอำนาจของโลกียะที่ดำเนินอยู่ในกายตน

สิ่งที่เราทำประพฤติปฏิบัติ ล้วนเป็นพยายานหลักฐานของกรรม กรรมดีกรรมชั่ว ซึ่งวันข้างหน้าเราต้องเป็นผู้รับ เราจึงควรพิจารณาชีวิตของตนว่ากำลังดำเนินอยู่ในหนทางใด หนทางพาตนให้พ้นทุกข์หรือหนทางพาตนให้รับทุกข์ ตนของตนเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของตนได้ พึ่งที่การใช้กายวาจาใจให้เป็นประโยชน์ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว รู้จักหลีกหนีอารมณ์ที่พาให้เรามีกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2014, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
โลกียะ
จิตของผู้มีกรรม ตกลงมาสู่รูปของกรรม ที่กำเนิดขึ้นมาด้วยในโลกียะ อารมณ์ฝ่ายโลกียะ ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นตัวใหญ่ มี่อารมณ์นานาชนิดฝ่ายโลกียะ ไหลผ่านรูป ปรุงแต่งรูป ปรุงแต่งขันธ์ห้า เหมือนควบคุมจิตของเรามิให้เป็นอิสระ อีกทั้งสิ่งที่สื่อผ่านเข้ามาทางวิญญาณหูตาจมูกลิ้นกายใจ ก็ชักนำมาซึ่งอารมณ์ปรุงแต่งที่เกิดกับรูปและขันธ์ห้าที่เราอาศัย เมื่อมีอารมณ์เกิดการปรุงแต่งกับรูปและขันธ์ห้า จิตเราไม่เท่าทันอารมณ์ปราศจากปัญญา ไม่มีความขันติอดทนต่ออารมณ์ นื่งเฉยไม่ได้ ปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้ จึงเหมือนตัวเราถูกบังคับให้ใช้กาย วาจา ใจ เป็นไปตามอารมณ์ขณะนั้น ๆ จึงเป็นเหตุให้เราเป็นผู้มีกรรม มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เกิดเป็นการคล้องกรรม เป็นหนี้เวรกรรม และต้องเป็นผู้ชดใข้กรรมเวียนว่ายตายเกิดเนื่องด้วยอารมณ์ของโลกียะ

เมื่อจะออกจากอำนาจของโลกียะ ก็นำกายที่อาศัยมาปฏิบัติธรรม สะสมบารมีด้วยการไม่เดินไปตามของอารมณ์โลกียะ ทำวันละห้านาที สิบนาที ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง สะสมวันละเล็กวันน้อย เหมือนเราเดินลดละอารมณ์โลกียะ มีสติรู้จักจิตของตน เพื่อนำตนให้พ้นจากบ่วงกรรมที่ประกอบกันขึ้นมา มีความสัมพันธ์กัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายด้วยอำนาจของโลกียะที่ดำเนินอยู่ในกายตน

สิ่งที่เราทำประพฤติปฏิบัติ ล้วนเป็นพยายานหลักฐานของกรรม กรรมดีกรรมชั่ว ซึ่งวันข้างหน้าเราต้องเป็นผู้รับ เราจึงควรพิจารณาชีวิตของตนว่ากำลังดำเนินอยู่ในหนทางใด หนทางพาตนให้พ้นทุกข์หรือหนทางพาตนให้รับทุกข์ ตนของตนเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของตนได้ พึ่งที่การใช้กายวาจาใจให้เป็นประโยชน์ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว รู้จักหลีกหนีอารมณ์ที่พาให้เรามีกรรม


อารมณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง ๖ ทั้งที่ดีและไม่ดีล้วนแล้วเป็นวิบากกรรมเก่าทั้งสิ้น
ที่มาส่งผลในปัจจุบัน ที่เรียกว่ารับผลของกรรมเก่า

ส่วน ความโลภ โกรธ หลง หรือที่เป็นกุศลต่างๆ เป็นกรรมใหม่ ที่จะสืบต่อไปยังภพนี้และภพหน้า
(ยกเว้นเข้านิพพานเสียก่อน) ส่วนการกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นเป็นปัจจุบันนั้นก็อาศัยอารมณ์
ที่เป็นวิบากเก่าที่เคยทำมาแล้ว มาใหม่อีก เช่นคนด่าว่าเรา นี่เป็นวิบากหรือกรรมเก่า

สังขารปรุงแต่งวิบากเก่าให้เราโกรธ แต่ถ้าหากว่าเรามีสติรู้ทันเราไม่โกรธและไม่แสดงออก
ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นอันว่าเราไม่สร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก
ถ้าหากมีใครสรรเสริญเยินยอว่าเราเป็นคนดีมีเมตตาน่าเคารพนับถือ นี่ก็เช่นเดียวกัน
คือวิบากที่ดีเป็นวิบากเก่าทั้งสิ้นถ้าเราดีใจ กับคำสรรเสริญกับคำเหล่านี้ก็เป็นการสร้างกรรมใหม่
สืบต่อภพชาติต่อไปอีกเช่นกัน

ข้อสำคัญเราควรสร้างเหตุใหม่ที่ดีไว้ ส่วนผลนั้นไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะเป็นอย่างไร
ดังที่มีคำสอนของพระอัชสชิ ที่กล่าวกับพระสารีบุตรว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ เหตํ ตถาคโต อาห เตสญจ
โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติฯ

คำแปล
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิดก่อน
พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่าใด และความดับใดของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
พระตถาคตเจ้าตรัสซึ่งเหตุแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น และความดับนั้น พระมหาสมณเจ้าตรัสอย่างนี้ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2014, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว








อนุโมทนาครับ :b8: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร