วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ส่วนเรื่องอภิธรรมก็บอกแล้วไงว่าพระองค์แสดงไวเลกน้อยมากซึ่งมีอยู่ในบาลีสยามรัฐ แต่ที่แต่งใหม่ที่อางอิงที่มานั้นแต่งใหม่มาก ซึ่งท่านโฮฮับนั้นมักจะนำมาอางอิงก็ขอให้รูว่าเลิกใชไปได้เลย เพราะคำหลายคำไม่มีเลย

เอาอย่างนี้นะครับ! ผมเห็นคุณชอบอ้าง ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าว
คุณไม่รับพระอภิธรรมปิฎก เราตกลงกันอย่างนี้ดีกว่า.....

ถ้าใครอ้างว่าความเห็นตัวเอง เอามาจากพุทธวจน
คนนั้นจะต้องเอา พุทธวจนหรือพุทธพจน์ มาอ้างอิงให้เห็นด้วย ไม่ใช้พูดลอย.....
หรือประเภทดีแต่ปาก บอกของคนอื่นไม่ใช่ แต่ของตัวเองก็ไม่ใช่ ไม่มีหลักฐานมาอ้าง

ปล. ถ้าเขาบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวก็เป็นอีกเรื่อง

amazing เขียน:
ง่ายๆเลย กายหรือกายสังขารนั้นคือสิ่งเดียวกันเพียงกายสังขารแสดงอาการต่างๆให้จิตรับรู้ภายใต้กว้างคืบยาววานี้หรือพูดง่ายๆว่าตังแต่หัวจรดเท้านี้เองเมื่อมันระงับลงหรือเรียกตามภาษานักปฎิบัติเขาย่อมรู้กันเป็นภาษาที่เขาเข้าใจกันเมื่อคนที่ปฎิบัติถึงก็เท่านั้น ส่วนคุณจะเรียกให้มันดูดีหน้าปวดหัวมันก็เป็นแค่ภาษาตามตำรา และที่ท่านบอกกายดับไม่ได้ไม่จริงกายดับไปได้โดยสภาวะและแตกสลายเป้นธาตุคืนสู่ธรรมชาติแล้วแต่สถานะที่เป็นอย่างการปฎิบัติถึงสภาวะที่กายดับวิญญานรับรูไม่ได้นันหมายความว่าอาตยนะและลมหายใจดับไปด้วยเพราะทั้งหมดคือกายสังขาร


ไอ้ที่อเมซิ่ง บอกว่า กายหรือกายสังขารคือสิ่งเดียวกัน.....
"ตามภาษานักปฎิบัติเขาย่อมรู้กันเป็นภาษา
ที่เขาเข้าใจกันเมื่อคนที่ปฎิบัติถึงก็เท่านั้น "

สรุปคนจะเอาอย่างไรกันแน่
จะยึดพุทธพจน์หรือยึดเอาภาษาที่พวกคุณเข้าใจกันเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 03:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ง่ายๆเลย กายหรือกายสังขารนั้นคือสิ่งเดียวกันเพียงกายสังขารแสดงอาการต่างๆให้จิตรับรู้ภายใต้กว้างคืบยาววานี้หรือพูดง่ายๆว่าตังแต่หัวจรดเท้านี้เองเมื่อมันระงับลงหรือเรียกตามภาษานักปฎิบัติเขาย่อมรู้กันเป็นภาษาที่เขาเข้าใจกันเมื่อคนที่ปฎิบัติถึงก็เท่านั้น ส่วนคุณจะเรียกให้มันดูดีหน้าปวดหัวมันก็เป็นแค่ภาษาตามตำรา

ที่บอกว่าผมใช้ภาษาตามตำราดูดีหน้าปวดหัว ผมฟังคุณอ้างแล้ว....มันตลกครับ

แล้วภาษาที่คุณใช้ล่ะครับ คุณพูดชนิดที่เรียกว่า คุณเข้าใจของคุณคนเดียว
คำพูดของคุณหาที่มาที่ไปไม่ได้ ลักษณะเป็นการจินตนาการคำพูด
ไม่มีหลักเกณท์แบบนี้คนฟัง...มึนตึบ คุณเนี่ยพูดจากลับตาลปัตร กลับหัวกลับหาง

amazing เขียน:
และที่ท่านบอกกายดับไม่ได้ไม่จริงกายดับไปได้โดยสภาวะและแตกสลายเป้นธาตุคืนสู่ธรรมชาติแล้วแต่สถานะที่เป็นอย่างการปฎิบัติถึงสภาวะที่กายดับวิญญานรับรูไม่ได้นันหมายความว่าอาตยนะและลมหายใจดับไปด้วยเพราะทั้งหมดคือกายสังขาร

คุณพูดจาขาดสติไม่มีสมาธินะครับ พูดในลักษณะแต่งคำพูด ขาดหลักความจริง
พุทธวจน ไม่ได้มีไว้อ้างเพื่อ เสกสรรค์ปั้นแต่งคำพูดเอาเองนะครับ

พุทธวจนที่พระพุทธองค์กล่าวนั้น มีขึ้นจากความเป็นจริงของธรรมชาติ
คุณพูดว่าเป็นนั้นเป็นนี่ ซึ่งมันผิดหลักธรรมชาติ

แล้วที่บอกกายดับวิญญานรับรู้ไม่ได้ มันไม่ใช่กายดับ
แต่ที่ดับมันเป็นผัสสะ ผัสสะมันไม่เที่ยง
ในขณะที่ผัสสะดับไป ยังไม่เกิดผัสสะตัวใหม่ วิญานก็ยังไม่เกิดมารับรู้อารมณ์

กายของบุคคล มีปสาทรับรู้อยู่เรียกว่ารูป เมื่อไม่มีอะไรมากระทบ
วิญญานหรือสิ่งที่รับรู้ความรู้สึกมันก็ไม่เกิด
ต่อให้คุณเข้าฌาน๘ในอรูปพรหม กายของคุณก็ยังตั้งโด่เด่อยู่อย่างนั้น
มันไม่ได้ดับไปไหน .....ไอ้ที่ดับไปมันเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กาย


กายก็คือ ธาตุทั้งสี่ ต่อให้เราตายไปแล้ว ธาตุทั้งสี่มันก็ยังคงอยู่ไม่ได้ดับไปไหน
แต่กายสังขาร ท่านไม่ได้ให้ดูกาย ท่านให้ดูที่จิต
จิตในขณะที่เกิดกายสังขาร เขาเรียกว่า...จิตสังขาร
การปฏิบัติสิ่งที่ดับเป็นตัวจิต ที่ทำให้เกิดกายสังขาร
เมื่อจิตสังขารดับ กายสังขารก็ระงับลง เหลือแต่กาย


ระงับหรือรำงับ มันแตกต่างจากคำว่าดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 03:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติภาวนา..........................
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 541&Z=2681

ผมเห็นคุณชอบอ้างพุทธวจน ไหนคุณลองอธิบายพุทธวจนบทนี้ให้ผมฟังหน่อยซิครับ
ผมตรวจดูแล้ว พระสูตรนี้ตรงกับพระสูตรในสยามรัฐแปลบาลี
ดังนั้นกรุณาอย่าอ้างโน้นนี่นั้น คุณต้องเข้าใจในสิ่งที่คุณอ้าง คุณต้องอธิบายได้
ถ้าทำไม่ได้หรืออธิบายมั่วๆ คุณก็ไปคิดเอาเองว่า คุณเป็นคนเช่นไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 04:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ท่านบอกกายดับไม่ได้นี้นั้นขัดแย้งโดยตรง เพราะทุกสิ่งเกิดดับตลอดเวลา สิ่งที่ผมพบนั้นเป็นสภาวะที่เกิดเฉพาะตน

ไปเอามาจากไหนทุกสิ่งเกิดดับตลอดเวลา
ไอ้ที่เกิดดับน่ะเขาเรียกสังขาร
สังขารเป็นนาม มันแปรปวน

กายเป็นธาตุสี่ มันไม่เกิดดับ เป็นวิสังขาร
กายไม่สามารถปรุงแต่งตัวมันเองได้ มันไม่แปรปวน แต่มันเป็นลักษณะ อาพาท
ลักษณะการแตกสลายเป็นธาตุสี่เรียกว่า อาพาท ไม่เรียกเกิดดับ
อาการเกิดแก่เจ็บตาย ก็เรียกอาพาท ไม่ใช่อนิจจังหรือทุกขัง

สังขตสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
อสังขตสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
สิ่งที่ผมพบนั้นเป็นสภาวะที่เกิดเฉพาะตน เอาเป้นภาษาคนปฎิบัตินะครับ

อ้าว! ไงเอาภาษาคนปฏิบัติแล้วล่ะครับ
ทำไมไม่เอา พุทธวจนหรือพุทธพจน์ล่ะครับ คุณจะเอาไงกันแน่

นี่แหล่ะหนอ เขาถึงว่า คนมันอ้างเรื่อยเปื่อย :b32:


amazing เขียน:
ผมก็ไม่ได้ทำอะไรมากนัก เพียงมีสติอยู่กับลมหายใจไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ที่เกิดกับผมก็คือ รูป1นาม3ดับไป หรืออธิบายย่อยๆอาตยนะทั้งหมดหายไปนั้นหมายความว่าพูดง่ายให้พอเข้าใจ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสธัมมารมณ์ดับไป เหลือแต่วิญญาฯที่เป็นธาตุรู้ รับรู้ถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไรนานสัก1นาที ก็กลับมาสู่สภาพเดิม

เพ้อเจ้อ พูดผิดหลักพุทธวจน

ที่บอกเหลือวิญญานเป็นธาตุรู้ รับรู้ความว่างเปล่า
จะบอกให้ครับ ในวิญญาณัญจายตนะ เขาใช้วิญานรู้อากานัญจายตนะ มาเป็นอารมณ์

พูดมาได้ว่า อายตนะทั้งหมดหายไป มันจะหายไปอย่างไรครับ

เขาต้องเอา อายตนะของแต่ล่ะฌานมาเป็นอารมณ์ ดันบอกว่าหายไป
อย่ามั่วครับ

แล้วอีกอย่าง เอาเรื่องการทำรูปฌานมาละเลงเรื่องอรูปฌานซะเละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สภาพรู้ ตัวอย่างรูป เช่น ตา หู จมูก ลิ้น

กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น รูปธรรม เกิดขึ้นตามสมุฏฐานของตน ๆ

แล้วก็ดับไปไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน รูปมีมากมากมีทัื้งรูปที่เป็นภายในและภายนอก เกิดขึ้น

แล้วก็ดับไป ทะยอยกันเกิดทยอยกันดับ รูปแต่ละกลุ่มจะไม่ปะปนกัน กล่าวคือ รูปที่

เกิดจากกรรม ไม่ใช่รูปกลุ่มเดียวกันกับรูปที่เกิดจากจิต เป็นต้น และที่ำสำคัญ รูป

จะไม่ปะปนกันกับนามธรรมอย่างเด็ดขาด อาุยุของรูปเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

มีอายุที่ยาวนานกว่าจิต(และเจตสิก) เพราะจิตมีขณะย่อย ๓ อนุขณะ คือ ขณะที่เกิด

ขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป สั้นแสนสั้นจริง ๆ ไม่มีใครที่จะสามารถหยุดยั้งความเป็นไป

ของสภาพธรรมได้เลย ความเป็นจริงของธรรม ก็เป็นเช่นนี้ ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ

เปลี่ยนแปลงได้

ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมก็ตาม ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาก็เพื่อความเข้าใจ

ตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรม

แต่ละอย่าง ๆ ทีเ่กิดขึ้นแล้วก็ดับไป เท่านั้นเอง ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมนั้น ๆ ได้

เลย ครับ

สิ่งที่คุณเอามากล่าว แล้วบอกว่า เป็นพระอภิธรรม .....ผิดแล้วครับ
ผมไม่รู้ว่าคุณไปเอามาจากไหนนะครับ

สิ่งที่คุณเอามาพูดมันเป็นเพียงความเห็น มิหน่ำซ้ำยัง ผิดอีกด้วย


[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคต
มิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อม
กล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า
ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่
กล่าวตู่ตถาคต

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
*สุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
สุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ

http://84000.org/tipitaka/read/?20/270/76

อัตถะ๒......

พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัส ว่าโดยการแปลความหมาย มี 2 ประเภท คือ
๑. เนยยัตถะ พระสูตร ซึ่งมีความหมายที่จะต้องอธิบายความ พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ
อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง
๒. นีตัตถะ พระสูตรซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว, พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์
ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ

ผู้ใดแสดงพระสูตรที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นนีตัตถะ หรือแสดงพระสูตรที่เป็นนีตัตถะ
ว่าเป็นเนยยัตถะ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระตถาคต


หวังว่าคงเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจถามได้ครับ

ตอนนี้ผมจะคุยกับคุณในเรื่องที่มีบอกไว้เป็นพุทธวจนเท่านั้นครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 07:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สภาพรู้ ตัวอย่างรูป เช่น ตา หู จมูก ลิ้น

กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น รูปธรรม เกิดขึ้นตามสมุฏฐานของตน ๆ

แล้วก็ดับไปไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน รูปมีมากมากมีทัื้งรูปที่เป็นภายในและภายนอก เกิดขึ้น

แล้วก็ดับไป ทะยอยกันเกิดทยอยกันดับ รูปแต่ละกลุ่มจะไม่ปะปนกัน กล่าวคือ รูปที่

เกิดจากกรรม ไม่ใช่รูปกลุ่มเดียวกันกับรูปที่เกิดจากจิต เป็นต้น และที่ำสำคัญ รูป

จะไม่ปะปนกันกับนามธรรมอย่างเด็ดขาด อาุยุของรูปเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ

มีอายุที่ยาวนานกว่าจิต(และเจตสิก) เพราะจิตมีขณะย่อย ๓ อนุขณะ คือ ขณะที่เกิด

ขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป สั้นแสนสั้นจริง ๆ ไม่มีใครที่จะสามารถหยุดยั้งความเป็นไป

ของสภาพธรรมได้เลย ความเป็นจริงของธรรม ก็เป็นเช่นนี้ ใคร ๆ ก็ไม่สามารถ

เปลี่ยนแปลงได้

ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมก็ตาม ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาก็เพื่อความเข้าใจ

ตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นธรรม

แต่ละอย่าง ๆ ทีเ่กิดขึ้นแล้วก็ดับไป เท่านั้นเอง ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมนั้น ๆ ได้

เลย ครับ

สิ่งที่คุณเอามากล่าว แล้วบอกว่า เป็นพระอภิธรรม .....ผิดแล้วครับ
ผมไม่รู้ว่าคุณไปเอามาจากไหนนะครับ

สิ่งที่คุณเอามาพูดมันเป็นเพียงความเห็น มิหน่ำซ้ำยัง ผิดอีกด้วย


[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต
ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคต
มิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อม
กล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า
ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่
กล่าวตู่ตถาคต

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
*สุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-
สุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ

http://84000.org/tipitaka/read/?20/270/76

อัตถะ๒......

พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัส ว่าโดยการแปลความหมาย มี 2 ประเภท คือ
๑. เนยยัตถะ พระสูตร ซึ่งมีความหมายที่จะต้องอธิบายความ พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ
อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง
๒. นีตัตถะ พระสูตรซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว, พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์
ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ

ผู้ใดแสดงพระสูตรที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นนีตัตถะ หรือแสดงพระสูตรที่เป็นนีตัตถะ
ว่าเป็นเนยยัตถะ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวตู่พระตถาคต


หวังว่าคงเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจถามได้ครับ

ตอนนี้ผมจะคุยกับคุณในเรื่องที่มีบอกไว้เป็นพุทธวจนเท่านั้นครับ :b13:
เอาเป้นว่าสิ่งที่เราพูดคุยกันเรื่องรูปหรือกายดับไม่ได้(ความเห็นคุณ) เอาเป้นว่าสิ่งที่เราชาวพุทธเข้าใจกันคือสรรพสิ่งทั้งหลายเกิดดับเกิดดับ เป็นอย่างนี้ แต่คนแต่ละคนให้ความจำกัดความไม่เท่ากันในภูมิความรู้ที่จะเข้าถึงพิจารณาถึง และบทความที่ผมนำมากล่าวให้ท่านรู้เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องรูปธรรมและนาธรรมนั้น คือผู้ที่มีความรู้ทรงคุณวุฒิทางด้าศาสนามาก คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่เป็นไรว่ารูปดับเหมือนจิต เพราะคุณวินิจฉัยอย่างนั้นในสังสารวัฎนี้นั้น มีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไปเท่านั้น มันอยู่ที่คุณมีปััญญาเข้าถึงหรือไม่เท่านั้นเอง อย่างเช่นคำนี้ สัพเพธรรมาอนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 07:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อานาปานสติภาวนา..........................
[๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 541&Z=2681

ผมเห็นคุณชอบอ้างพุทธวจน ไหนคุณลองอธิบายพุทธวจนบทนี้ให้ผมฟังหน่อยซิครับ
ผมตรวจดูแล้ว พระสูตรนี้ตรงกับพระสูตรในสยามรัฐแปลบาลี
ดังนั้นกรุณาอย่าอ้างโน้นนี่นั้น คุณต้องเข้าใจในสิ่งที่คุณอ้าง คุณต้องอธิบายได้
ถ้าทำไม่ได้หรืออธิบายมั่วๆ คุณก็ไปคิดเอาเองว่า คุณเป็นคนเช่นไร
พระสูตรเกี่ยวกับอานาปานนั้นมีมากถึง30กว่าพระสูตร แต่ละพระสูตรก็จะมีนัยอย่างนี้คือป้องกันอาตยนะภายนอกเช่นรูปรสกลิ่นเสียงที่มากระทบอาตยนะภายในแล้วให้ปรุงแต่งจนเกิดภพเกิดชาติ ให้มีสติอยู่กับกาย(เรียกว่ามีกายเป็นเสาเขื่อนเสาหลัก)

เพราะพระองค์กล่าวว่า ผู้ใดไม่บริโภคกายคตาสติผู้นั้นมิได้บริโภคอมตะธรรม และในที่ท่านยกมานีนั้นก็เพียงให้รู้ว่าการที่เราอยู่กับลมหายใจนั้นทำให้ มีอะไรเกิดขึ้นแก่ กาย เวทนา จิต ธรรม และทั้งหมดมันก็เิกิดขี้นและก็ดับไปก็เท่านั้น และยังสามารถทำให้จิตหลุดพ้นจากกายทั้งหลาย ลมหายใจจึงดับไป

เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว
ดับไปไม่ได้ดังนี้
.
และท่านเองมาถึงตรงนี้หรือยังถ้ายังอานาปานสติท่านก็ยังไม่สมบูรณ์ ท่านก็จะไม่ทราบ และกายคตาสติไม่ว่าท่านจะเลือกเอากายใดก็จะมีจุดประสงค์เดียวกัน จุดหมายเดียวกันคือ ละนันทิจนจิตหลุดพ้นจากรูปนาม เมื่อรูปนามดับไปสาฬายตนะก็ดับไป ผัสสะจึงไม่สามารถเกิดได้ จึงดับเหตุปัจจัยตามสายปฎิจสมุปบาทคุณคงรู้นะครับว่าเมื่อรูปนามดับ ต่อไปอะไรจะดับต่อ ดูวงจรปฎิจสมุปบานทต่อนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
เพียงมีสติอยู่กับลมหายใจไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น ที่เกิดกับผมก็คือ รูป1นาม3ดับไป หรืออธิบายย่อยๆอาตยนะทั้งหมดหายไปนั้นหมายความว่าพูดง่ายให้พอเข้าใจ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสธัมมารมณ์ดับไป เหลือแต่วิญญาฯที่เป็นธาตุรู้ รับรู้ถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไรนานสัก1นาที ก็กลับมาสู่สภาพเดิม



เป็นเพียงแค่สภาวะ ขณะที่จิตเป็นสมาธิ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถรู้ชัดได้ทั้งหมดเท่านั้นเอง

ถ้ารู้ชัดได้ทั้งหมด จะรู้ชัดในความว่าง ของความไม่ว่าง ที่ไม่ปรากฏซ้อนอยู่ เท่านั้นเอง นอกนั้น ไม่มีอะไร

สภาวะนี้ หากสมาธิมีกำลังมาก จะสามารถรู้ชัดในสภาวะความว่าง แต่รู้ว่ากายมีอยู่ แต่กายไม่ปรากฏ หากรู้แค่ความว่างปรากฏ แต่ไม่รู้ว่ากายมีอยู่ อันนี้ สมาธิมากเกินสติ

เหตุที่ สภาวะดังกล่าวมานี้ คือ รู้ชัดในความว่าง แค่ ๑ นาที เกิดจาก จิตตั้งมั่นได้ ไม่นานพอ เพราะกำลังสมาธิที่เกิดขึ้น ไม่มากพอนั่นเอง

หากกำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น มีมาก และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สติ สัมปชัญญะ) จะเกิดขึ้นได้นานกว่านี้ มากกว่า ๑ ชม. ก็ยังได้

เพราะเป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

ข้อเสีย

หากรู้แล้วยึด นำไปสร้างเหตุกับผู้อื่น จะติดอุปกิเลส


ข้อดี

ทำให้เกิดความศรัทธามาก และทำให้มีกำลังใจ ตั้งใจทำความเพียร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีนามรูป สาฬายตนะจึงมี
เมื่อมีชีวิต หมายถึง กายและจิต อายตนะ ๖ จึงมี

เมื่อมีสาฬายตนะ จึงมีผัสสะ
เมื่อมีอายตนะ จึงมีผัสสะ เพราะ ผัสสะเกิดจาก การทำงานของอายตนะ ๖

ผัสสะสามารถเกิดได้ในคนเป็น คือ มีชีวิตอยู่ ได้แก่ กายและจิต คือ นามรูป

ผัสสะสามารถเกิดได้ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สติ สัมปชัญญะ) ได้แก่ ใจกับธรรมารมณ์ เช่น กามราคะ หรือ ปฏิฆะ แม้กระทั่งความคิด สามารถเกิดขึ้นได้ ขณะที่จิต เป็นสมาธิอยู่


ผัสสะไม่สามารถเกิดได้ในคนตาย เมื่อนามรูปดับ ได้แก่ กายและจิต

วิธีดับผัสสะ ได้แก่ การทำงานของอายตนะ ๖ ในคนเป็น ไม่สามารถดับได้

แต่สามารถดับเหตุของการเกิด ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ได้โดย ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 09:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 08:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เมื่อมีรูปนาม สาฬายตนะจึงมี
เมื่อมีชีวิต หมายถึง กายและจิต อายตนะ ๖ จึงมี

เมื่อมีสาฬายตนะ จึงมีผัสสะ
เมื่อมีอายตนะ จึงมีผัสสะ เพราะ ผัสสะเกิดจาก การทำงานของอายตนะ ๖

ผัสสะสามารถเกิดได้ในคนเป็น คือ มีชีวิตอยู่ ได้แก่ กายและจิต คือ รูปนาม

ผัสสะสามารถเกิดได้ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สติ สัมปชัญญะ) ได้แก่ ใจกับธรรมารมณ์ เช่น กามราคะ หรือ ปฏิฆะ แม้กระทั่งความคิด สามารถเกิดขึ้นได้ ขณะที่จิต เป็นสมาธิอยู่


ผัสสะไม่สามารถเกิดได้ในคนตาย เมื่อรูปนามดับ ได้แก่ กายและจิต

วิธีดับผัสสะ ได้แก่ การทำงานของอายตนะ ๖ ในคนเป็น ไม่สามารถดับได้

แต่สามารถดับเหตุของการเกิด ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ได้โดย ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
การเข้าใจในวงจรปฎิจสมุปบาทนันเข้าใจต่างกัน เขาถึงก็ต่างกัน นามรูปทำให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เิกิดเวทนาฯลฯนี่คือวงจรเกิด ถ้าวงจรดับ รูปนามดับทำให้ดับดับสฬายตนะ สฬายตนะดับทำให้ผัสสะดับ ผัสสะดับทำให้เวทนาดับฯลฯ ก็มีเท่านี้ การเกิดการดับวงจรมีเท่านี้ กายคตาสตินั้นเป็นการปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม คือจิตหลุดพ้น มิใช่การเข้าสมาธิได่แน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านใดคิดว่ารูปดับไม่ได้นี้นั้นขัดแย้งกับธรรมะโดยตรง โดยสภาพธรรมแล้วทุกอย่างเกิดขึ้นดับไป
อย่างเช่นตัวเราที่เราสมมุติว่าเป็นตัวเรานี้นั้นเราได้ดายไปเป็นล้านๆครั้งในชั่วลัดนิ้วมือ เราจึงมีรูปใหม่ปรากฎแก่เราตลอดแต่เรามองไม่เห็นเท่านั้น ย้อยไปดูอดีตเราถึงรู้ว่าก่อนหน้านั้นหน้าตาเราไม่ได้เป็นอย่างนี้ เราเปลี่ยนแปลงจากการตายหรือดับไปแล้วเกิดใหม่ตลอด รูปเก่าดับไปรูปใหม่ปรากฎเป็นอย่างนี้ตลอด เกิดดับ เกิดดับ


แก้ไขล่าสุดโดย amazing เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 09:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
walaiporn เขียน:
เมื่อมีรูปนาม สาฬายตนะจึงมี
เมื่อมีชีวิต หมายถึง กายและจิต อายตนะ ๖ จึงมี

เมื่อมีสาฬายตนะ จึงมีผัสสะ
เมื่อมีอายตนะ จึงมีผัสสะ เพราะ ผัสสะเกิดจาก การทำงานของอายตนะ ๖

ผัสสะสามารถเกิดได้ในคนเป็น คือ มีชีวิตอยู่ ได้แก่ กายและจิต คือ รูปนาม

ผัสสะสามารถเกิดได้ ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ และมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สติ สัมปชัญญะ) ได้แก่ ใจกับธรรมารมณ์ เช่น กามราคะ หรือ ปฏิฆะ แม้กระทั่งความคิด สามารถเกิดขึ้นได้ ขณะที่จิต เป็นสมาธิอยู่


ผัสสะไม่สามารถเกิดได้ในคนตาย เมื่อรูปนามดับ ได้แก่ กายและจิต

วิธีดับผัสสะ ได้แก่ การทำงานของอายตนะ ๖ ในคนเป็น ไม่สามารถดับได้

แต่สามารถดับเหตุของการเกิด ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ได้โดย ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
การเข้าใจในวงจรปฎิจสมุปบาทนันเข้าใจต่างกัน เขาถึงก็ต่างกัน นามรูปทำให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะทำให้เกิดผัสสะ ผัสสะทำให้เิกิดเวทนาฯลฯนี่คือวงจรเกิด ถ้าวงจรดับ รูปนามดับทำให้ดับดับสฬายตนะ สฬายตนะดับทำให้ผัสสะดับ ผัสสะดับทำให้เวทนาดับฯลฯ ก็มีเท่านี้ การเกิดการดับวงจรมีเท่านี้ กายคตาสตินั้นเป็นการปฎิบัติเพื่อให้เข้าถึงที่สุดแห่งธรรม คือจิตหลุดพ้น มิใช่การเข้าสมาธิได่แน่นอน



มีข้อความตรงไหน ที่วลัยพรเขียนว่า การเข้าสมาธิ งง :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม/หยุดสร้างเหตุนอกตัว

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.




หมายเหตุ:

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น) เช่น ตาเห็น หูได้ยินฯลฯ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้น ให้แค่รู้ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้สั้นลงไปเรื่อยๆ

ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามธรรมบทข้างบน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นมิได้บริโภคอมตะธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร