วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ถ้าเป็นปัญญาแท้มันมีแต่คุณไม่มีโทษครับ


ครับ ปัญญาเป็นของดีครับ ผมอาจจะเขียนไม่ชัดเจนต้องขออภัย โทษที่ผมพูดถึงทั้งหมดไม่ใช่โทษของปัญญา แต่เป็นโทษของการยึดมั่น พอใจในปัญญาที่ได้มาครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: สัพเพ ธัมมา อนัตตา :b42:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 22:25
โพสต์: 59

แนวปฏิบัติ: รักษาศีลให้แน่นหนามั่นคง
ชื่อเล่น: Soduku
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
ในเมื่อเราต่างปฏิญานตนว่าเป็นผู้ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศรัทธาเต็มเปี่ยม แต่ทำใมเราถึงบรรลุธรรมช้า เร็วต่างกันหนอ :b10:



การที่เรายังมีกิเลสอยู่ จึงทำให้เรายังไม่บรรลุธรรมตามประเภทกิเลสที่เหลืออยู่

การบรรลุธรรมมีหลายขั้น ขั้นสูงสุดคือขั้นนิพพาน หรือขั้น “จิตหมดธุลี”* หมดสิ้นกิเลส

กิเลสของมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา นั้นมีอยู่สามตระกูลใหญ่ด้วยกัน ได้แก่

ตระกูลความรัก เช่น
1. อภิชฌาวิสมโลภะ (โลภอย่างแรง)
2. อภิชฌา (เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่น)
3. โลภะ (อยากได้ในทางทุจริต)
4. ปาปิจฉา (อยากได้โดยวิธีสกปรก)
5. มหิจฉา (อยากใหญ่)
6. กามราคะ (กำหนัดในกาม)
7. รูปราคะ (กำหนัดในรูปอันพึงใจ)
8. อรูปราคะ (กำหนัดในอารมณ์ทางใจ)
หากจะเปรียบกับของเลอะภายนอก ตั้งแต่ง่ายในการเห็นเพราะเป็นของหยาบ จนถึง ยากในการเห็น
เพราะเป็นของละเอียดขนาดฝุ่นธุลี

กิเลสหมายเลข 1-2-3 หยาบมากเหมือนขยะมูลฝอย ดูรกทีเดียว
กิเลสหมายเลข 4-5 หยาบน้อยลง เหมือนฝุ่นผงไม่ถึงกับรกตา แต่รกใจ
กิเลสหมายเลข 6-7-8 ที่มีคำลงท้ายว่าราคะนั้นละเอียดมาก เหมือนฝุ่นละอองหรือธุลี (ผู้ละกิเลสข้อ 6-7-8ได้เรียกว่าอยู่ในขั้น “จิตหมดธุลี” สำหรับตระกูลความรัก)

ตระกูลความชัง เช่น
1. พยาบาท (ความผูกอาฆาตแก้แค้น)
2. โทสะ (ความคิดทำร้าย)
3. โกธะ (ความเดือดดาลใจ)
4. ปฏิฆะ (ความขัดเคืองใจ)
กิเลสชั้นพยาบาทและโทสะ น่าเกลียดมาก เทียบกับขยะมูลฝอย เพราะถึงกับเกะกะตาคนอื่น
โกธะ เป็นความวุ่นวายในใจของผู้นั้นเอง ละเอียดลงมาหน่อย เทียบกับฝุ่นผง
ส่วนปฏิฆะ เพียงความรู้สึกในจิต ละเอียดมากเทียบกับฝุ่นละออง หรือธุลี (ผู้ละกิเลสส่วนปฏิฆะนี้ได้เรียกว่าอยู่ในขั้น “จิตหมดธุลี”สำหรับตระกูลความชัง)


ตระกูลความหลง เช่น
1. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
2. โมหะ (ความลุ่มหลง)
3. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีตัวตน)
4. วิจิกิจฉา (ความลังเลในทางปฏิบัติ)
5. สีลพตปรามาส (ความติดอยู่ในศีลพรต)
6. มานะ (ความถือตัว – ถือเราถือเขา)
7. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
8. อวิชชา (ความไม่รู้สัจธรรม)
มิจฉาทิฐิ หยาบมาก เทียบกับขยะมูลฝอย
โมหะ ละเอียดเข้าอีกหน่อย เทียบกับฝุ่นผง
ตั้งแต่ข้อ 3 ถึง 8 เป็นเรื่องทางจิตชั้นใน เทียบได้กับฝุ่นละออง หรือธุลี (ผู้ละกิเลสข้อ 3 ถึง 8 ได้เรียกว่าอยู่ในขั้น “จิตหมดธุลี”สำหรับตระกูลความหลง)

(*ถอดความ จากมงคลชีวิต ขั้นที่ 37 “จิตหมดธุลี” จากหนังสือ มงคลชีวิต โดย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ค.2549 สร้างสรรค์บุ๊คส์ ISBN 974-341-454-4)

สรุป ผมเห็นว่าอัตราเร่งในด้านความขยันหมั่นเพียร ในการศึกษา และปฏิบัติธรรมโดยมีกัลยามิตรและโยนิโสมนัสิการ ช่วยนำทางไปสู่การลดละเลิกกิเลส ที่ยังมีหลงเหลือตามตัวอย่างข้างต้นโดยใช้หลักอริยมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้า อันอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอาทิ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุธรรมได้ช้าหรือเร็วต่างกัน ครับ :b44: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
bbby เขียน:
:b1: :b41: :b55: :b43:

คุณพี่อยากรู้มั้ยว่า ทำไมคุนน้องตัดกิเลส จาก รัก โลภ โกรธ ลง ให้เบาบางลงได้ เพราะชะตากรรมชีวิตคุนน้องเองค่ะ เค้าคงลิขิตใว้แล้ว สามีคุนน้องรถคว่ำเสียชีวิตค่ะ...เพราะเกิดมาชะตาอาภัพแต่เด็กเป็นปัจจัย
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย เราก็ไม่เจอความจริง ที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เจ้าค่ะ :b8:
ปล.ตอนนี้ครองตัวเป็นโสด หมดสิ้นกาม ราคะ ไม่สนใจเพศตรงข้ามเลยเจ้าค่ะ แต่ ต่อไปก็ไม่รู้นะเจ้าค่ะตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ กิเลศ มันผุดขึ้นในใจได้ทุกเมื่อ เราจึงต้องอยู่ในความไม่ประมาทจะดีที่สุด :b16:


ขออนุญาติแลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรม

ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนากับคุณnongkongที่ประสบปัญหารุนแรงในชีวิตแต่สามารถยืนหยัดและหันหน้าเข้าหาธรรมะได้และเห็นสัจธรรมของชีวิตที่น้อยคนจะเห็นได้ขณะอายุยังน้อย

ผมได้พิจารณาดูจากความเห็นของผม เมื่อได้อ่านข้อความในกระทู้ของคุณnongkongแล้วขอแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้

การประสบความสูญเสียรุนแรงทำให้คุณได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง และน้อมลงสู่อนัตตาทำให้เกิดอนิจจสัญญาที่แนบแน่น จนมีผลต่อจิตใจทำให้คลายรัก โลภ โกรธ หลง เป็นอันมากเพราะอำนาจแห่งอนิจจสัญญานั้น ถ้าพิจารณาดูความรู้สึกนั้นอยู่จะเห็นว่าความรู้สึกนั้น จะค่อยๆคลายและเมื่อพิจารณากว้างออกไปจะเห็นอนิจจังในสังขารธรรมทั้งมวล และถ้ายกจิตสู่วิปัสนากรรมฐาน เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญาควบคู่ไป จิตย่อมเจริญสู่วิปัสนาญาน ขั้นสูง เพื่อละอุปาทานขันธ์อันละเอียดขึ้นไป ถ้ายังใคร่ครวญอยู่แค่อนิจจสัญญาเดิมนั้นไม่นานความจางคลายแห่งสัญญาย่อมเกิดมี และความรัก โลภ โกรธหลง ความทุกข์ก็จะกลับมามีอำนาจอีก เพราะความรู้สึกคล้ายกันเช่นนี้ผมเคยเป็นมาก่อน

แต่ผมเกิดจากการพิจารณาอิทัปปัจยตา(เมื่อประมาณปี๒๕๓๘)แล้วเห็นกระบวนการเกิดโดยชัดแจ้งแล้วเกิดปีติ สามารถพูดเรื่องอิทัปปัจยตาโดยไม่ติดขัด ผมติดปีติสุขกับสัญญาที่เห็นนั้นเป็นเดือน(จนเผลอคิดไปว่าเราบรรลุธรรมชั้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่)แล้วสัญญานั้นก็เสื่อมลง ความรู้สึก หวั่นไหว สุข ทุกข์กับอารมณ์โลกก็กลับมาแต่ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก ทำให้เนิ่นช้าในการปฏิบัติไปนาน

จึงขอแสดงความเห็นกับคุณnongkongว่าอย่าประมาทเพราะการแสดงความเห็นบางอย่างยังหวั่นไหว ไม่แน่ใจอยู่ เพราะการเห็นธรรมนั้น มีความตื้นลึก หนาบางหลายระดับเมื่อรู้จริงย่อมหายสงสัย แม้สงสัยก็ย่อมเทียบเคียง แจกแจง จนจิตหายสงสัยในที่สุดเพราะความจริงย่อมมีหนึ่งเดียว ไม่ว่าใครๆเห็น ย่อมเห็นความจริงอันสูงสุดนี้เท่านั้น คุณเริ่มต้นมาดีมากแล้วและการเข้ามาในกระแสธรรมเป็นเรื่องที่หาได้ยากนัก อนุโมทนา :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 23:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
แต่ผมเกิดจากการพิจารณาอิทัปปัจยตา(เมื่อประมาณปี๒๕๓๘)แล้วเห็นกระบวนการเกิดโดยชัดแจ้งแล้วเกิดปีติ สามารถพูดเรื่องอิทัปปัจยตาโดยไม่ติดขัด ผมติดปีติสุขกับสัญญาที่เห็นนั้นเป็นเดือน(จนเผลอคิดไปว่าเราบรรลุธรรมชั้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่)แล้วสัญญานั้นก็เสื่อมลง ความรู้สึก หวั่นไหว สุข ทุกข์กับอารมณ์โลกก็กลับมาแต่ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก ทำให้เนิ่นช้าในการปฏิบัติไปนาน



:b1: เน๊อะ

เป็นเรื่องดี ที่นำมาแชร์

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


เราอ่านตรงนี้แล้วเห็นว่าดีค่ะเลยยกมาให้อ่านค่ะ :b1:

การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน

จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน


สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้สมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจสงบอารมณ์ให้เป็นสมาธิคือ ในอันดับแรก ขณะที่รับฟังเสียง ตั้งใจฟังเสียงให้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ

การตั้งใจฟังเสียงทุกถ้อยคำแสดงว่าจิตทรงสมาธิ เพราะว่า สมาธิแปลว่าตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เวลาที่เราตั้งใจฟังเสียง ถ้าหูได้ยินเสียง จิตรู้เรื่องตาม ก็ชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าหากว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสเสียงด้วยหรือตามถ้อยคำ และเนื้อความที่กล่าว ก็ชื่อว่าเป็นการใช้ปัญญาในด้านวิปัสสนาญาณ นี่มีความสำคัญ

หลังจากพูดจบแล้วขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจยาวหรือสั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายในออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้ จัดว่ามีอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ให้ใช้ว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึก พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้เป็นอารมณ์สมาธิ ขณะใดการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนา นั่นเป็นสมาธิ

สมาธิจัดไว้หลายระดับคือ ขณิกสมาธิ เรียกว่า สมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ สมาธิใกล้เข้าถึงปฐมฌาน แล้วขึ้นไปเป็น ฌาน คือ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 และฌานที่ 4 และอารมณ์ที่เป็นสมาธิจะอยู่ในระดับใดก็ตามก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของความดี เพราะจิตเราตั้งอยู่ในกุศล

อีกประการหนึ่ง ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนพยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ใน พรหมวิหาร 4 เป็นปกติ คือว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีพลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ได้ ก็จัดว่าเป็นศูนย์กำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี

ถ้าหากว่าบรรดาจิตใจของบรรดาท่าพุทธบริษัทมีคติตรงกันข้าม คิดเห็นว่าคนอื่นเป็นศัตรูสำหรับเรา มีอารมณ์ปรารถนาในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น ด้วยการเสียดสีด้วยวาจาบ้าง แสดงอาการทางกายบ้างอย่างนี้เป็นต้น และมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นเมื่อเห็นเขาได้ดี อดทนอยู่ไม่ไหว เห็นคนอื่นได้ดี หาทางกลั่นแกล้ง กล่าววาจาเสียดสีกระทบกระแทกให้เกิดความช้ำใจ อาการตรงกันข้ามกับพรหมวิหาร 4 แบบนี้เป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายลงอเวจีมหานรกเป็นอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์ชั่วที่มันจับอยู่ในใจตลอดเวลามันก็เป็นอาจิณกรรม กรรมนั้นบันดาลให้เราลงอเวจีมหานรก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงเว้นเสีย ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร 4 ได้ตลอดกาลก็ชื่อว่าเราสามารถ คุมศีล ของเราให้ปกติอยู่ได้ตลอด สามารถ คุมสมาธิ ให้ทรงตัว คือ จิตน้อมอยู่ในเกณฑ์ของกุศลตลอดเวลา และ คุมวิปัสสนา และเมื่อจิตเราเยือกเย็นมีแต่ความรัก ความสงสาร ปรารถนาในการเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร มีการวางเฉยไม่หวั่นไหวในเมื่อกฎของกรรมเกิดขึ้น อารมณ์จิตของเราก็มีความเย็น อารมณ์จิตมีความสุข เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสุข อารมณ์สบายก็เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์สบายเกิดขึ้นศีลมันก็ไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว ปัญญาก็แจ่มใส สามารถพิจารณาได้ตามเหตุตามผลที่สมควร คนที่ทรงอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นปกติ บุคคลประเภทนั้นจะเป็นผู้ทรงฌาน ก็ไม่ยาก เพราะ จิตมีความดีอยู่ในด้านกุศลทรงอยู่ มันเป็นฌานอยู่แล้ว จะบังคับจิตให้ทรงฌานขนาดไหนก็ได้ ตามอัธยาศัย แล้วก็ใช้เวลาไม่นานยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีความปรารถนาจะเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบัน เป็นอันดับต้น

นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมาตั้งใจทำความดี ก็จงอย่าคิดว่าเราจะสร้างความดีกันแค่ความดีสามัญ หรือที่เรียกกันว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย อันนี้ไม่สมควร มันจะเป็นการขาดทุนเกินไปในการที่บำเพ็ญความดี อารมณ์ของเราก็ควรจะคิดว่า อย่างเลวที่สุดเราจะต้องตั้งอยู่ใน พระโสดาบัน เป็นอย่างต่ำ เพราะว่าพระโสดาบันแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ

1. เอกพีชี มีอารมณ์เคร่งเครียด เป็นพระโสดาบันละเอียด

2. โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันอย่างกลาง

3. สัตตักขัตตุง เป็นพระโสดาบันอย่างหยาบ

อย่างเลวที่สุด เราควรจะคิดว่าภายใน 3 เดือน ใน 6 เดือน หรือว่า 1 ปี เราจะทรงอารมณ์ความเป็นพระโสดาบันไว้ให้ได้ นี่ควรจะตั้งใจอย่างนี้ เพราะการเจริญพระกรรมฐานเราทำเพื่อความดี อย่าคบกิเลส อย่าทำใจให้เป็นทาสของกิเลส นี่การปฏิบัติเข้าถึงพระโสดาบันเบื้องต่ำที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อันนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า มีสมาธิพอสมควร คือ มีสมาธิเล็กน้อย แล้วก็มีปัญญาพิจารณาวิปัสสนาญาณเล็กน้อย ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงพระโสดาบันไม่ใช่ของสูง เป็นของธรรมดาที่เรียกกันว่า ชาวบ้านชั้นดี ถ้าพระอริยะเบื้องสูงซึ่งกล่าวว่าพระโสดาบัน คือ ธรรมะที่จะทำให้คนเป็นพระโสดาบันเหมือนกับของเด็กเล่น คือ เป็นของทำง่าย ๆ มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ เราก็เป็นพระโสดาบันได้แบบสบาย ถ้าเรามีความฉลาด แต่ถ้าหากว่าเราโง่ ปล่อยให้จิตเป็นทาสของกิเลส ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อยากจะพิฆาตเข่นฆ่าทำลายบุคคลอื่น ให้มีความทุกข์ ขาดความเมตตาปรานี มีอารมณ์อิจฉามีอารมณ์หวั่นไหวในกฎของกรรมอันเป็นสิ่งธรรมดา อันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างนี้จะป่วยการกล่าวไปใยถึงพระโสดาบัน แม้แต่เราจะเป็นคนก็ยังเป็นไม่ได้เพราะวิสัยเป็นจิตของอบายภูมิ คือ เป็นนิสัยของสัตว์นรก เป็นวิสัยของเปรต เป็นวิสัยของอสุรกาย เป็นวิสัยของสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นอารมณ์ประเภทนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงเว้นเสีย ทรงพรหมวิหาร 4 ให้เป็นปกติ

นี่เรามาพูดกันถึงการเป็นพระโสดาบัน ต่อนี้ไปเราก็จะใช้วิธีอธิบายให้ละเอียดสักหน่อย เพราะการเป็นพระโสดาบันที่บอกว่าไม่ยาก ในอันดับแรก ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะไม่สนใจกับจริยาของบุคคลอื่น โดยจะไม่ไปก้าวก่ายกับจริยาของใคร ไม่เข้าไปอิจฉาริษยาบุคคลอื่น ว่าบุคคลนี้กินมากเกินไป นอนมากเกินไป หลงในลาภสักการะเกินไป บำเพ็ญเพียรดีเกินไป อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าจิตเราไปยุ่งกับเขาแสดงว่าเรานิยมอบายภูมิ อย่างนี้ไม่ต้องมีใครแช่ง ไปเองแบบสบาย จะบวชพระสักกี่โกฎิปีมันก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าจิตมันเลว สภาวะของเพศเป็นพระ แต่จิตเป็นจิตของอบายภูมิ จะสร้างความดีแบบไหน มันก็ดีไม่ได้ คนที่มีจิตเลว นี่เป็นอันว่าเราจะพยายามควบคุมจิตของเราไม่ให้ไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น แค่ความจริงเรื่องนี้ เราได้ยินกันอยู่ทุกวัน แต่ความเลวของพวกเราน่ะเปลื้องกันได้หรือเปล่า

ในประการต่อไปเราตั้งใจไว้เสมอว่า จะทรงศีลให้บริสุทธิ์ โดยไม่ทำลายศีลเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว และเราจะมีจิตยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระสงฆ์ และมีจิตตรงเฉพาะพระนิพพาน คือ การกระทำกิจทุกอย่างไม่ว่าอะไรทั้งหมด จะให้ทานแก่สัตว์ ชี้ทางให้แก่บุคคลผู้หลงทาง แนะนำบุคคลผู้มีความโง่ ถวายทานแก่พระสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย นึกถึงความดีของบิดามารดา ครูบาอาจารย์เป็นต้น เราทำอย่างนี้ทุกอย่างเราไม่หวังผลในการตอบแทนในปัจจุบัน เรามีความต้องการอย่างเดียวคือ สร้างความดีเพื่อสู่พระนิพพาน อารมณ์ที่กล่าวมานี้เป็นอารมณ์ของ โสดาบันสัตตักขัตตุง คำว่า สัตตักขัตตุง ก็หมายความว่า เราเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ ก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ได้

ถ้าหากท่านทั้งหลายจะถามว่า เอาสมาธิจิตมาจากไหน ก็จะต้องตอบว่า ถ้าหากท่านทั้งหลายคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม คิดถึงพระอริยสงฆ์ ว่าท่านทั้งหลายทั้ง 3 ประการนี้มีความดีหาประมาณมิได้ เราขอยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า โดยจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง และจะเว้นถ้อยคำห้ามปรามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ แล้วเราก็ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์สาวกว่าท่านมีควาดีตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน แล้วท่านปฏิบัติตาม เป็นความดีที่ท่านทรงความบริสุทธิ์ มีจิตเป็นสุข มีอารมณ์เป็นสุขอย่างนี้เพราะอะไร

เพราะว่าท่านเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และก็พยายามปฏิบัติความดีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ท่านจะไม่ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีสมาธิใน พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน เพราะจิตเราทรงตรงอยู่ในความดี ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่เป็นองค์สมาธิที่มีความสำคัญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่ที่เรานั่งภาวนาเพื่อให้จิตสงบเฉพาะเวลา แต่พอลืมตาขึ้นมาก็ปล่อยอารมณ์ลอยไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นปัจจัยของความชั่ว คือ ไม่ยอมเคารพในศีล ไม่ยอมเคารพในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การหลับตาสักแสนปีหรือโกฎิชาติก็ไม่มีประโยชน์ใด ๆ มันมีอยู่อย่างเดียวคือ อารมณ์ทรงความดี

ทีนี้ในเมื่อยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นปกติ เมื่อเรายอมรับนับถือท่านเราก็ต้องทรงศีล 5 ในศีลของตนเองบริสุทธิ์ พระมีศีล 227 บริสุทธิ์ เณร มีศีล 10 บริสุทธิ์ ฆราวาสมีศีล 5 บริสุทธิ์ นี่เราว่ากันขั้นพระโสดาบัน สำหรับศีล 8 นั้นเป็นขั้นของพระอนาคามี ในเมื่อเรามีศีลบริสุทธิ์ ศีลน่ะมันบริสุทธิ์ยากถ้าอารมณ์ใจเราต่ำ ถ้ามีอารมณ์เลว ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องมีอารมณ์เยือกเย็น คือ มีอารมณ์เป็นน้ำ ไม่ใช่มีอารมณ์เป็นไฟ ทั้งนี้เพราะว่าต้องมีใจประกอบไปด้วยความรัก เห็นคนและสัตว์เป็นที่รักของเราทั้งหมด จิตต้องประกอบไปด้วยความกรุณา ความสงสาร เห็นคนและสัตว์เราเห็นว่าเป็นคนที่เห็นว่าเราควรจะสงเคราะห์ทั้งหมด ตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ อารมณ์จิตเราจะอ่อนโยน ไม่หวั่นไหวไปในความชั่ว พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อารมณ์อิจฉาริษยาน่ะ มันเป็นอารมณ์ของสัตว์นรก มันมีแต่ความเร่าร้อน อารมณ์ที่ไม่มีจิตอิจฉาริษยาใครเป็นอารมณ์เยือกเย็น เป็นอารมณ์ของสวรรค์ เป็นอารมณ์ของพรหม เป็นอารมณ์ของนิพพาน แล้วเราก็มีอุเบกขา หมายความว่ารู้ว่าสิ่งใดที่มันเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

ทีนี้ถ้าพรหมวิหาร 4 มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นหาความเลวไม่ได้ มีแต่ความดี การที่จะคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่มีในใจ เพราะเรามีความรัก ความสงสาร การจะลักจะขโมยเขามันก็ไม่มี วาจาหยาบคายก็ไม่มี วาจาส่อเสียดยุยงส่งเสริม อารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นก็ไม่มี แล้วก็วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ก็ไม่มี นี่เป็นอันว่าการทรงพรหมวิหาร 4 ทำตนให้เป็นพระโสดาบันได้ง่าย และก็แถมใจอีกนิดหนึ่งว่าเราต้องการพระนิพพาน ทีนี้การที่เราคิดอยู่ว่าเราจะทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ คือ ทรงศีลประจำเพศให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้ ชื่อว่าเรามีฌานในสีลานุสสติกรรมฐาน ถ้านึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็นประจำ ก็ชื่อว่าเรามีฌานอยู่ในอนุสติ 3 ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจอยู่ในพรหมวิหาร 4 ประการเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเรามีฌานในพรหมวิหาร 4 จิตน้อมไปถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเรามีฌานใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน

เป็นอันว่าอารมณ์แห่งการถึงพระโสดาบันขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเข้าใจว่าการเป็นพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก คนดีเป็นง่าย คนเลวเป็นยาก เพราะหากว่าคนเลวมีสันดานอบายภูมิติดมา ก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของความเป็นพระโสดาบัน โดยการปฏิบัติความดีเพียงแค่เล็กน้อย

ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา



http://www.luangporruesi.com/286.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
nongkong เขียน:
bbby เขียน:
:b1: :b41: :b55: :b43:

คุณพี่อยากรู้มั้ยว่า ทำไมคุนน้องตัดกิเลส จาก รัก โลภ โกรธ ลง ให้เบาบางลงได้ เพราะชะตากรรมชีวิตคุนน้องเองค่ะ เค้าคงลิขิตใว้แล้ว สามีคุนน้องรถคว่ำเสียชีวิตค่ะ...เพราะเกิดมาชะตาอาภัพแต่เด็กเป็นปัจจัย
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย เราก็ไม่เจอความจริง ที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เจ้าค่ะ :b8:
ปล.ตอนนี้ครองตัวเป็นโสด หมดสิ้นกาม ราคะ ไม่สนใจเพศตรงข้ามเลยเจ้าค่ะ แต่ ต่อไปก็ไม่รู้นะเจ้าค่ะตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ กิเลศ มันผุดขึ้นในใจได้ทุกเมื่อ เราจึงต้องอยู่ในความไม่ประมาทจะดีที่สุด :b16:


ขออนุญาติแลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรม

ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนากับคุณnongkongที่ประสบปัญหารุนแรงในชีวิตแต่สามารถยืนหยัดและหันหน้าเข้าหาธรรมะได้และเห็นสัจธรรมของชีวิตที่น้อยคนจะเห็นได้ขณะอายุยังน้อย

ผมได้พิจารณาดูจากความเห็นของผม เมื่อได้อ่านข้อความในกระทู้ของคุณnongkongแล้วขอแสดงความเห็นส่วนตัวดังนี้

การประสบความสูญเสียรุนแรงทำให้คุณได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง และน้อมลงสู่อนัตตาทำให้เกิดอนิจจสัญญาที่แนบแน่น จนมีผลต่อจิตใจทำให้คลายรัก โลภ โกรธ หลง เป็นอันมากเพราะอำนาจแห่งอนิจจสัญญานั้น ถ้าพิจารณาดูความรู้สึกนั้นอยู่จะเห็นว่าความรู้สึกนั้น จะค่อยๆคลายและเมื่อพิจารณากว้างออกไปจะเห็นอนิจจังในสังขารธรรมทั้งมวล และถ้ายกจิตสู่วิปัสนากรรมฐาน เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญาควบคู่ไป จิตย่อมเจริญสู่วิปัสนาญาน ขั้นสูง เพื่อละอุปาทานขันธ์อันละเอียดขึ้นไป ถ้ายังใคร่ครวญอยู่แค่อนิจจสัญญาเดิมนั้นไม่นานความจางคลายแห่งสัญญาย่อมเกิดมี และความรัก โลภ โกรธหลง ความทุกข์ก็จะกลับมามีอำนาจอีก เพราะความรู้สึกคล้ายกันเช่นนี้ผมเคยเป็นมาก่อน

แต่ผมเกิดจากการพิจารณาอิทัปปัจยตา(เมื่อประมาณปี๒๕๓๘)แล้วเห็นกระบวนการเกิดโดยชัดแจ้งแล้วเกิดปีติ สามารถพูดเรื่องอิทัปปัจยตาโดยไม่ติดขัด ผมติดปีติสุขกับสัญญาที่เห็นนั้นเป็นเดือน(จนเผลอคิดไปว่าเราบรรลุธรรมชั้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่)แล้วสัญญานั้นก็เสื่อมลง ความรู้สึก หวั่นไหว สุข ทุกข์กับอารมณ์โลกก็กลับมาแต่ลดน้อยลงกว่าเดิมมาก ทำให้เนิ่นช้าในการปฏิบัติไปนาน

จึงขอแสดงความเห็นกับคุณnongkongว่าอย่าประมาทเพราะการแสดงความเห็นบางอย่างยังหวั่นไหว ไม่แน่ใจอยู่ เพราะการเห็นธรรมนั้น มีความตื้นลึก หนาบางหลายระดับเมื่อรู้จริงย่อมหายสงสัย แม้สงสัยก็ย่อมเทียบเคียง แจกแจง จนจิตหายสงสัยในที่สุดเพราะความจริงย่อมมีหนึ่งเดียว ไม่ว่าใครๆเห็น ย่อมเห็นความจริงอันสูงสุดนี้เท่านั้น คุณเริ่มต้นมาดีมากแล้วและการเข้ามาในกระแสธรรมเป็นเรื่องที่หาได้ยากนัก อนุโมทนา :b8:

อนุโมทนาเจ้าค่ะ ที่เข้าใจ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของคุนน้อง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 15:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ทีนี้ถ้าพรหมวิหาร 4 มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นหาความเลวไม่ได้ มีแต่ความดี การที่จะคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่มีในใจ เพราะเรามีความรัก ความสงสาร การจะลักจะขโมยเขามันก็ไม่มี วาจาหยาบคายก็ไม่มี วาจาส่อเสียดยุยงส่งเสริม อารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นก็ไม่มี แล้วก็วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ก็ไม่มี นี่เป็นอันว่าการทรงพรหมวิหาร 4 ทำตนให้เป็นพระโสดาบันได้ง่าย และก็แถมใจอีกนิดหนึ่งว่าเราต้องการพระนิพพาน ทีนี้การที่เราคิดอยู่ว่าเราจะทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ คือ ทรงศีลประจำเพศให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้ ชื่อว่าเรามีฌานในสีลานุสสติกรรมฐาน ถ้านึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็นประจำ ก็ชื่อว่าเรามีฌานอยู่ในอนุสติ 3 ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจอยู่ในพรหมวิหาร 4 ประการเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเรามีฌานในพรหมวิหาร 4 จิตน้อมไปถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเรามีฌานใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน

เป็นอันว่าอารมณ์แห่งการถึงพระโสดาบันขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเข้าใจว่าการเป็นพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก คนดีเป็นง่าย คนเลวเป็นยาก เพราะหากว่าคนเลวมีสันดานอบายภูมิติดมา ก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของความเป็นพระโสดาบัน โดยการปฏิบัติความดีเพียงแค่เล็กน้อย

ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา



http://www.luangporruesi.com/286.html

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
ในเมื่อเราต่างปฏิญานตนว่าเป็นผู้ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศรัทธาเต็มเปี่ยม แต่ทำใมเราถึงบรรลุธรรมช้า เร็วต่างกันหนอ :b10:

ต้องแปลความหมายของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ให้ถูกต้องก่อนครับจึงจะเดินได้ถูกทางและรวดเร็ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณnongkong ครับการจะเข้าสู่พระอริยะนั้นต้องละสังขารครับ
จะละได้มากน้อยยังไงก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละคน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าวังทอง เขียน:
คุณnongkong ครับการจะเข้าสู่พระอริยะนั้นต้องละสังขารครับ
จะละได้มากน้อยยังไงก็ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ของแต่ละคน

เจ้าค่ะ :b8: ขอบพระคุณ ที่ทำให้เข้าใจกระจ่าง ดิฉันก็เข้าใจตามที่ท่าน เจ้าวังทอง บอกมาแหละเจ้าค่ะ แต่คนบางคน ไม่เข้าใจแล้วชอบมาซี้ซั่วประจำเลยเจ้าค่ะ(คนที่ชอบมาจุกจิก) ชอบมาทำให้คนอื่นสับสน cool


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร