วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 01:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เพราะคุณนั่งเทียน เขียนขึ้นมา จากสิ่งที่พระศาสดาไม่ได้ตรัสสอน จริง

คุณว่าผมหลายครั้งแล้วนะ สู้อุตสาห์เตือนว่าคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
นี่ก็มาอีกแล้ว เอาอย่านี้ทั้งคุณและผมยกเอาพระพุทธพจน์มาอ้างดีกว่า
แล้วก็จะรู้ว่าใครกันแน่ที่นั่งเทียนเขียน ผมให้คุณก่อนเลย แล้วก็ไม่ต้องมาอ้างอีกล่ะว่า
เปิดตำราคนละเล่ม

และไอ้ความเห็นที่เหลือผมจะเข้ามาตอบให้ครับ

ดีมาก ถ้าคุยกันด้วยอรรถด้วยธรรม ไม่ได้นั่งเทียนมา

ทำมาตีขลุมหน้าตาเฉย แล้วไหนล่ะพุทธพจน์อ้างอิงของคุณ
อย่าทำหน้านวลตีเนียน ไปไม่ถูกก็บอกมาเถอะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น ถามโฮฮับ:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
โฮฮับตอบ:
แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

โฮฮับ เขียน:
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ


ไหนล่ะ พุทธดำรัส แสดงให้สาวกเจริญไตรลักษณ์จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
และ พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์

โฮฮับเป็นผู้นั่งเทียนเขียนออกมา ก็แสดงออกมาสิว่าเป็นไปตามพุทธดำรัส
:b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ตอบแบบนี้เด็กที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นประถมก็ตอบได้ครับ
ตอบสเปะสปะ เอาความหมายไม่ได้เลย ฟังน่ะคุณเช่นนั้น
ความศรัทธา มันมาที่หลังหรือหลังจากเป็นโสดาบัน
ไอ้ความศรัทธา ที่คุณบอกที่คุณมีแน่ใจแล้วหรือว่าเป็นความศรัทธา
คุณอาจไม่รู้ว่าความเชื่อกับความศรัทธามันไม่เหมือนกัน

อารมณ์พระโสดาบัน มีการละวิจิกิจฉาได้นั้นก็คือ มีความรู้ความเข้าใจในธรรม
หรือพระพุทธพจน์ สามารถตีความในพระไตรปิฎกได้อย่างดี
เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราคถาคต"
เอ๋อ! ถามหน่อยครับ พระสงฆ์มาเกี่ยวอะไรด้วยเป็นถึงอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้วยังต้องศรัทธาพระสงฆ์อีกหรือครับ
ผมว่าพระสงฆ์ต้องศรัทธาโสดาบันถึงจะถูกพระสงฆ์ที่ว่าคือสมมุติสงฆ์นะครับ


ที่ว่าศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญ ตอบแบบนี้ชาวบ้านจะรู้เรื่องหรือครับ
ศีลอะไรอย่างไรล่ะครับพระอริยเจ้าถึงสรรเสริญ

จะบอกให้ครับศีลที่ว่า มีความหมายในตัวว่า ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้เพราะความไม่ยึดในตัวตน
สามารถวางอุเบกขาต่อศีลได้ ไม่เคร่งจนเกินไปเมื่อหลงไปทำอะไรที่ผิดศีลเข้าก็เกิดทุกข์
หรือการทำผิดศีลจนเกิดเจตนาขึ้นทางใจ
เช่นนั้น เขียน:
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

พุดโถ๋! พูดเอาแต่ได้มันไม่ง่ายเกินไปหรือครับ ถ้าทำแบบที่คุณบอก ผมว่า ปีนี้เราได้โสดาบัน
จากการบวชสามเฌรภาคฤดูร้อนอีกหลายพันรูปแน่ๆ

มันต้องไปเห็นครับ ไม่ใช่ทำความเห็น แล้วเห็นอะไรก็คือเห็น
เหตุที่ให้รู้ว่า นามรูปที่ว่า มันไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยงเกิดแล้วก็ดับและเป็นทุกข์

ทำความเห็นมันเป็นสังขารปรุงแต่งมันใช่ไม่ได้ครับ
เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อละสักกายะทิฏฐิ
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อรักษาศีล
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดศรัทธาในพระพุทธองค์
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อละวิจิกิจฉา

ถ้าพูดแบบคุณพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนอยู่แล้ว เพราะประโยคคำพูดของคุณ
มันใช่ไม่ได้ หยิบยกคำพูดคนอื่นมาตีความผิดๆ

การพิจารณาไตรลักษณ์ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ
เมื่อเกิดสัมมาทิฐิแล้ว กิเลสหรือสังโยชสามก็จะละไปเองครับ

เช่นนั้น เขียน:
เพราะไตรลักษณ์ เป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆ ไม่ต้องใช้ปัญญามากเห็นได้ง่าย ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้

มิหน้าเล่าถึงพูดธรรมไม่รู้เรื่อง นี่ยังไม่รู้อีกหรือว่า ไตรลักษณ์ คือปัญญา
เป็นประตูบานแรกที่จะไปนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ไหนล่ะ พุทธดำรัส แสดงให้สาวกเจริญไตรลักษณ์จนเป็นสัมมาทิฏฐิ
และ พุทธดำรัส แสดงว่า สัมมัมปธาน 4 มีสภาวะไตรลักษณ์ หรือสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์

โฮฮับเป็นผู้นั่งเทียนเขียนออกมา ก็แสดงออกมาสิว่าเป็นไปตามพุทธดำรัส
:b12:

กรุณาอย่าเอาโทสะมาสร้างประเด็นใหม่ได้มั้ยครับ ให้เวลาผมตอบความเห็นคุณ
ก่อนซิครับ ตอบข้ามไปข้ามมาคนอื่นเขาจะเข้าใจหรือครับ

อีกอย่างนะ เรื่องเอาพุทธพจน์มาอ้างเนี่ย คุณเป็นคนจุดประเด็นนะครับ
คุณไม่คิดที่จะทำเป็นแบบให้ดูหรือครับ ถามหน่อยเข้าใจคำว่า"ตีขลุม"ที่ผมเขียนมั้ยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ตอบแบบนี้เด็กที่เรียนวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นประถมก็ตอบได้ครับ
ตอบสเปะสปะ เอาความหมายไม่ได้เลย ฟังน่ะคุณเช่นนั้น
ความศรัทธา มันมาที่หลังหรือหลังจากเป็นโสดาบัน
ไอ้ความศรัทธา ที่คุณบอกที่คุณมีแน่ใจแล้วหรือว่าเป็นความศรัทธา
คุณอาจไม่รู้ว่าความเชื่อกับความศรัทธามันไม่เหมือนกัน

อารมณ์พระโสดาบัน มีการละวิจิกิจฉาได้นั้นก็คือ มีความรู้ความเข้าใจในธรรม
หรือพระพุทธพจน์ สามารถตีความในพระไตรปิฎกได้อย่างดี
เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราคถาคต"
เอ๋อ! ถามหน่อยครับ พระสงฆ์มาเกี่ยวอะไรด้วยเป็นถึงอริยบุคคลชั้นโสดาบันแล้วยังต้องศรัทธาพระสงฆ์อีกหรือครับ
ผมว่าพระสงฆ์ต้องศรัทธาโสดาบันถึงจะถูกพระสงฆ์ที่ว่าคือสมมุติสงฆ์นะครับ

ที่ว่าศีลอันพระอริยะเจ้าสรรเสริญ ตอบแบบนี้ชาวบ้านจะรู้เรื่องหรือครับ
ศีลอะไรอย่างไรล่ะครับพระอริยเจ้าถึงสรรเสริญ

จะบอกให้ครับศีลที่ว่า มีความหมายในตัวว่า ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้เพราะความไม่ยึดในตัวตน
สามารถวางอุเบกขาต่อศีลได้ ไม่เคร่งจนเกินไปเมื่อหลงไปทำอะไรที่ผิดศีลเข้าก็เกิดทุกข์
หรือการทำผิดศีลจนเกิดเจตนาขึ้นทางใจ


นี่ก็นั่งเทียนเขียนออกมาค้านกับพุทธพจน์ จนละเลยคุณธรรมอันพระอริยบุคคลชั้นต้นคือ พระโสดาบันบุคคลพึงประกอบพึงมี
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=8207&Z=8234

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

พุดโถ๋! พูดเอาแต่ได้มันไม่ง่ายเกินไปหรือครับ ถ้าทำแบบที่คุณบอก ผมว่า ปีนี้เราได้โสดาบัน
จากการบวชสามเฌรภาคฤดูร้อนอีกหลายพันรูปแน่ๆ

มันต้องไปเห็นครับ ไม่ใช่ทำความเห็น แล้วเห็นอะไรก็คือเห็น
เหตุที่ให้รู้ว่า นามรูปที่ว่า มันไม่ใช่ตัวตน ไม่เที่ยงเกิดแล้วก็ดับและเป็นทุกข์
ทำความเห็นมันเป็นสังขารปรุงแต่งมันใช่ไม่ได้ครับ


มันใช้ไม่ได้ ....ก็คงต้องให้โฮฮับอ่านพระสูตรนี้ ให้จงหนัก ว่า
พระศาสดา ตรัสว่า "ด้วยอุบาอย่างนี้" อยู่ที่ วรรคใด ล่ะครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 04 ส.ค. 2012, 01:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ่าาาาาา โพธิปักขิยธรรม มีสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์ไปซะแล้ว โฮฮับ โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เลยนะ
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์

คุณนี้เพ้อเจ้อไม่ได้เรื่อง เรากำลังพูดถึงขั้นตอนปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพาน
ถามหน่อยคุณได้นิพพานแล้วหรือ ถึงได้ใช้นิพานเป็นอารมณ์
พูดจาไม่ได้ดูที่มาที่ไปเลย แบบนี้เรียกว่า สักแต่ว่ามีปากพูดไปเรื่อย :b13:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ
อะไรดับ ทุกข์จึงดับ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่ความทุกข์
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่ไตรลักษณ์ :b12:

ทุกข์ถ้าในความหมายว่า การเกิดเป็นทุกข์ ดับความยึดมั่นถือมั่น ทุกข์นั้นก็ดับ

เหตุปัจจัยแก่ความทุกข์ ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นอีกนั้นแหล่ะ

เหตุปัจจัยแห่งไตรลักษณ์ คือการได้เห็น(ไม่ใช่ความเห็น)สภาวะของรูปนาม
ตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:
ทุกข์เน๊าะ....

ทุกข์....ตัวนี้เกิดจากอะไร?

ทำงั้ยจะหายทุกข์?.....ต้องสนอง..หรือ...ตัดที่เหตุดี
rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อละสักกายะทิฏฐิ
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อรักษาศีล
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดศรัทธาในพระพุทธองค์
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อละวิจิกิจฉา

ถ้าพูดแบบคุณพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนอยู่แล้ว เพราะประโยคคำพูดของคุณ
มันใช่ไม่ได้ หยิบยกคำพูดคนอื่นมาตีความผิดๆ

การพิจารณาไตรลักษณ์ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ
เมื่อเกิดสัมมาทิฐิแล้ว กิเลสหรือสังโยชสามก็จะละไปเองครับ

เพราะพระพุทธองค์ ไม่เคยสอนอย่างที่ โฮฮับนั่งเทียนเขียนออกมาล่ะครับ
โสดาปัตติมัคค คือคุณธรรมที่พระอริยสาวกพึงประกอบพึงมี ดังเช่นพุทธดำรัสตรัสสอน พร้อมทั้งให้ทำวิปัสสนานามรูป เพื่อให้เห็นชัดถึงความเกิดขึ้น ดับไป โดยเหตุปัจจัย เพื่อละสักกายทิฏฐิ ไม่ใช่มานั่งมองไตรลักษณ์เช่นที่โฮฮับเข้าใจ
ปฏิจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ เป็นธรรมทั้งหมด เป็นสัจจะธรรม
ไม่ใช่ไตรลักษณ์ ที่จะนำมาพิจารณาก็ได้ ไม่นำมาพิจารณาก็ได้

โฮฮับ คงไม่เคยทำวิปัสนานามรูป โดยเหตุปัจจัยตามองค์ธรรมที่ปรากฏในปฏิจสมุปบาท มีแต่นั่งเทียนมองไตรลักษณ์ ที่ไม่มีในพุทธดำรัส

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมเห็นเก่งบัญญัติไม่น่าเชื่อว่าคุณจะไม่เข้าใจ บัญญัติสามตัวนี้
มันก็นั้นล่ะครับ การจะให้เข้าใจธรรมจะต้องอาศัย หลักธัมมวิจยะมาช่วย

ก่อนอื่นผมขออนุญาติแปลบัญญัติเพื่อความเข้าใจ
อาสวะ หมายถึง กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน
สาสวะ หมายถึง ความเป็นไปด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอาสวะ
อนาสวะ หมายถึง ไม่มีอาสวะหาอาสวะมิได้

อ่านความหมายของบัญญัติสามตัวนี้ก็น่าจะเข้าใจได้แล้ว
ว่าทำไมเราถึงต้องปฏิบัติตามหลัก อนาสวะ ถึงจะถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พูดง่ายๆ สาสวะเป็นการทำดีทำกุศลแต่มันเจือด้วยกิเลส คุณต้องเข้าใจด้วยว่า
ความดีหรือผลบุญพระพุทธเจ้าก็ทรงกำหนดให้เป็นกิเลส เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
มันเป็นเชื้อทำให้ต้องเกิดในสังสารวัฏ

โฮฮับ
ไม่ได้ถามบัญญัติแปลว่าอะไร

ผมก็ไม่ได้ให้คุณดูคำแปลเป็นหลัก ผมให้คุณพิจารณาธรรมจากคำแปลทั้งสามคำนี้
มันตอบคำถามกันเองไปในตัวครับ อ่านความเห็นคนอื่นหัดตีความด้วยซิครับ


[/quote]
อาสวะธรรม ให้ผลไปสู่ทุกคติ ก็ได้สุขคติก็ได้
สาสวะธรรม ให้ผลไปสู่สุคติเท่านั้น
อนาสวะธรรม ให้ผลไปสู่อริยภูมิเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้ โฮฮับเคยเอามาทำวิปัสสนาหรือยัง :b12:[/quote]
มันจะสุขคติหรือทุกขคติอะไรมันก็เรื่องของมัน พระพุทธองค์ทรงสอนให้
ยึดแต่อนาสวะธรรมเท่านั้น

แล้วเลิกถามเสียที่เคยทำไม่เคยทำ ถามเป็นเด็กไปได้
ที่ตอบมาทั้งหมดเนี่ยคุณยังไม่รู้หรือว่าเคยทำไม่เคยทำ
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ตอบไม่ถูกใจก็เลยโมเมว่า ชาวบ้านไม่เคยทำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งทำความเพียรชอบ

1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่เกิดแล้ว.... ( เพียรละ )
3.ภาวนาปทาน คือ เพียรเจริญกุศลธรรม..ที่ยังไม่มี....ให้เกิดขึ้น ( เพียรเจริญ )
4.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
...........

ก็มีคำถาม...ถามเพื่อน ๆ ต่อไปว่า...

ไอ้การละ..อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วนี้....ละยังงัย

ใครมีเทคนิคอะไร...ยังงัยกันบ้าง??



ขออนุญาตตอบย้อนหลังพอดีพึ่งอ่านเจอ

วิธีการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ของข้าพเจ้า โดย "จะเห็นว่าอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วนั้นได้ปรากฏแก่จิตแล้ว ตั้งอยู่ และดับไปแล้ว ตามธรรมชาติ ตามกฏแ่ห่งอนิจจังเอง จึงไม่ต้องทำลายมัน มันหายไปเอง แต่เพียงมีสติดูจิตที่ทำงานอยู่ ไม่ให้ก่อรูปปรุงความคิดเป็นอกุศลอันใหม่ แม้จิตพลั้งเผลอก่อรูปความคิดทางอกุศล ก็ไม่ปรุงตามเป็นรูปความคิดที่ใหญ่ขึ้น เพียงมีสติรู้อยู่ดูความคิดนั้น แล้วความเป็นอนิจจังของความคิดนั้นจะค่อยๆทำให้มันหายไปเอง เื่มื่อจิตมีสติรู้มากเข้าจะรู้ว่าความคิดอกุศลนั้นทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ จิตก็จะไม่ก่อรูปความคิดเช่นนั้นอีก ความอยากคิดเช่นนั้นจะจืดชืดชาไป เหมือนคนที่รู้จักความสะอาดแล้ว อาบน้ำชำระล้างร่างกายสะอาดแล้วย่อมไม่ปารถนาสัมผัส โคลนตม มูตร คูถหรือความสกปรกเน่าเหม็นใดๆอีก ข้าพเจ้าทำดังนี้ :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แก้ไขล่าสุดโดย ขณะจิต เมื่อ 31 มี.ค. 2012, 00:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณนี้เพ้อเจ้อไม่ได้เรื่อง เรากำลังพูดถึงขั้นตอนปฏิบัติเพื่อไปสู่นิพพาน
ถามหน่อยคุณได้นิพพานแล้วหรือ ถึงได้ใช้นิพานเป็นอารมณ์
พูดจาไม่ได้ดูที่มาที่ไปเลย แบบนี้เรียกว่า สักแต่ว่ามีปากพูดไปเรื่อ


สักแต่ว่ามีปากพูดไปเรื่อย...
โฮฮับคงต้อง เปิดพระสูตร ให้มากทำความรู้จักพุทธดำรัสที่สอนให้ดี
ว่า องค์ธรรมในคำสอนของพระศาสดา มีนิพพานเป็นอารมณ์ ทั้งสิ้นเพื่อบรรลุนิพพาน

ยกตัวอย่าง
สมาธินทรีย์เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว
ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต

นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ทุกข์ถ้าในความหมายว่า การเกิดเป็นทุกข์ ดับความยึดมั่นถือมั่น ทุกข์นั้นก็ดับ

เหตุปัจจัยแก่ความทุกข์ ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นอีกนั้นแหล่ะ

เหตุปัจจัยแห่งไตรลักษณ์ คือการได้เห็น(ไม่ใช่ความเห็น)สภาวะของรูปนาม
ตามความเป็นจริง


นี่ก็คือความไม่เข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง สัจจะความจริง กับสัจจะโดยเหตุปัจจัย
จึงได้ตอบมั่วๆ ออกมาเยี่ยงนี้

ทุกข์ มีเหตุปัจจัย คือตัณหาเป็นสมุทัย
แต่
ไตรลักษณ์ เป็นสัจจะความจริงของสังขตะธรรมทั้งปวง
สัจจะความจริง ไม่มีเหตุปัจจัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:
ทุกข์เน๊าะ....

ทุกข์....ตัวนี้เกิดจากอะไร?

ทำงั้ยจะหายทุกข์?.....ต้องสนอง..หรือ...ตัดที่เหตุดี
rolleyes rolleyes rolleyes


ทุกข์ อริยะสัจจ์ หรือทุกข์ในไตรลักษณ์ละครับ อิอิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2012, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มันจะสุขคติหรือทุกขคติอะไรมันก็เรื่องของมัน พระพุทธองค์ทรงสอนให้
ยึดแต่อนาสวะธรรมเท่านั้น

แล้วเลิกถามเสียที่เคยทำไม่เคยทำ ถามเป็นเด็กไปได้
ที่ตอบมาทั้งหมดเนี่ยคุณยังไม่รู้หรือว่าเคยทำไม่เคยทำ
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ตอบไม่ถูกใจก็เลยโมเมว่า ชาวบ้านไม่เคยทำ


มันจะสุขคติ หรือทุกคติอะไรก็เรื่องของมัน โอ้วววว :b12:
แสดงว่า โฮฮับ ไม่รู้เรื่องสาสวะธรรม และมรรค 8 อันเป็นสาสวะธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยกิเลส แต่เป็นโลกียะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร