วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายในขณะตื่นกันอีกที :b46: :b38: :b37:

ซึ่งถ้าจะว่ากันอย่างคร่าวๆแล้ว ผู้ปฏิบัติจะสามารถฝึกได้ทั้งในขณะใช้ชีวิตประจำวันตามปรกติ ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอนเลยทีเดียว :b47: :b48: :b47:

ไม่ว่าจะในการลุก ในการนั่ง ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้ ในการเหยียด ในการทาน ในการเคี้ยว ในการดื่ม ในการถ่าย ในการพูด ในการนิ่ง ฯลฯ :b49: :b48: :b49:

หรือจงใจฝึกตามเวลาและรูปแบบอิริยาบถที่กำหนด เช่น ในการเดินจงกรม (ที่แปลว่า เดินไปมาโดยมีสติกำกับ) ในการดูลมหายใจ ในการดูท้องพองยุบ ในการเคลื่อนไหวมือตามจังหวะ หรือแม้แต่ในการเล่นโยคะ หรือรำมวยจีนตามท่าที่กำหนดต่างๆ ฯลฯ :b51: :b53: :b51:

ซึ่งการฝึกตามเวลาและรูปแบบอิริยาบถที่กำหนดนั้น ก็จะเป็นการฝึกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยคุ้นชิน จนลามมาสู่การเกิดขึ้นของสติสัมปชัญญะและอินทรียสังวรเพื่อคุ้มครองจิตได้บ่อยๆ ในกิจกรรมต่างๆของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย นะครับ :b1: :b46: :b39:

และการฝึกตามรูปแบบนี้ สำหรับนักปฏิบัติมือใหม่ ครูบาอาจารย์ท่านมักจะแนะนำให้ฝึกด้วยความ "ช้า" เข้าไว้ก่อนในตอนแรก :b49: :b48: :b49:

เช่น ถ้าจะเดิน ก็เดินให้ช้า ถ้าจะเคลื่อนไหว ก็เคลื่อนไหวให้ช้า ฯลฯ (แต่ในส่วนหายใจ ไม่ต้องช้านะครับ แต่ท่านเปลี่ยนเป็น ให้หายใจยาวแทน ในช่วงแรก) :b51: :b50: :b51:

ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ "ช้า" ในช่วงแรก ก็เพื่อให้เกิดความ "ชัด" :b55: :b54: :b49:

นั่นคือ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ ที่จะอำนวยการให้จิต รู้ในการเคลื่อนไหวได้ "ชัด" :b51: :b50: :b51:

แต่ถ้าปฏิบัติไปสักระยะ จนแจ้งในความชัดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องช้า :b48: :b49: :b48:

แต่ให้ปฏิบัติตามความเร็วที่ใช้งานเป็นปรกติในชีวิตประจำวันได้เลย :b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะสติสัมปชัญญะที่ฝึกมาในรูปแบบที่กำหนดตรงนี้ สุดท้ายแล้ว จะเป็นการฝึกที่ต้องนำมาใช้ให้เกิดผลอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องการองค์ของศีลที่เรียกว่า อินทรียสังวร มาคุ้มครองจิต เพื่อให้เกิดสุจริตทางกาย วาจา ใจ มากที่สุด :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น สำหรับครูบาอาจารย์วัดป่าแล้ว เวลาเดินจงกรม ท่านจึงใช้ความเร็วในการเดินตามปรกติ แต่ให้มีสติกำกับในทุกขณะ :b47: :b48: :b42:

และการเคลื่อนไหวที่เร็วโดยมีสติกำกับ ก็จะมีอานิสงค์อีกประการก็คือ :b47: :b48: :b42:

สติ จะคุมจิตให้มีสัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่กับกิจ โดยที่ไม่เกิดอาการวอกแวกไปหลงคิดฟุ้งได้ง่ายเหมื่อนกับการเคลื่อนไหวช้า ที่จิตมักเผลอให้อาการคิดฟุ้งแทรกได้อยู่เรื่อย :b51: :b50: :b51:

แต่ตรงนี้ก็แล้วแต่จริตของผู้ปฏิบัตินะครับ โดยบทสรุปสุดท้ายจะอยู่ที่ผลของการปฏิบัตินั้นนั่นเอง ก็คือมีสติสัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัวดีขึ้น ซึ่งบางท่านเคลื่อนไหวช้าแล้วจิตตามอาการได้ชัด แต่บางท่านต้องใช้การเคลื่อนไหวที่เร็ว ถึงจะทำให้จิตไม่วอกแวก จดจ่ออยู่กับกิจได้ชัดเจน ยาวนาน :b54: :b49: :b48:

และการฝึกสติสัมปชัญญะตามรูปแบบที่กำหนดนั้น ตามประสบการณ์ของวิสุทธิปาละแล้ว การเดินจงกรม จะเป็นการฝึกที่มีอานิสงค์มาก ตามที่พระบรมครูท่านได้กล่าวไว้นะครับ :b48: :b47: :b48:

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน
ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้ง
อยู่ได้นาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=629&Z=635&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะการเดินจงกรม เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างเช่นกล้ามเนื้อขา ซึ่งผู้ปฏิบัติจะสามารถรับรู้อาการได้ "ชัด" กว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก จึงทำให้เกิดสติสัมปชัญญะได้ชัด หนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกด้วยกำลังของสมาธิที่อยู่ตัวได้มากกว่า :b47: :b46: :b47:

และยิ่งตอนขณะที่ต้องเดินขึ้นเนินหรือทางลาดชัน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว จะเป็นไปในลักษณะของการเดินที่ช้ากว่าเดินบนพื้นราบ ประกอบกับกล้ามเนื้อจะต้องออกแรงมากขึ้น จึงทำให้การเดินขึ้นเนินนั้น สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติ เกิดการรับรู้ได้ชัดในอาการทางกาย มากกว่าการเดินบนพื้นราบขึ้นไปอีกนะครับ :b1: :b46: :b39:

อีกทั้งในขณะที่เดินจงกรม ผู้ปฏิบัติยังสามารถทำวิปัสสนาได้ด้วยการศึกษา เฝ้าสังเกตในอาการทั้งหลายของกายและของใจในขณะเดินจงกรมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เช่น ในขณะที่เริ่มเหนื่อย ร่างกายเริ่มหอบเพราะต้องการออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงในกระบวนการเผาผลาญที่มีมากขึ้น :b49: :b48: :b49:

ถ้าแยกจิตออกมาเป็นผู้ดูกาย จะเห็นเลยนะครับว่า เราไม่สามารถบังคับกายไม่ให้หอบหายใจได้ เมื่อกายถูกบีบคั้นจนหอบเหนื่อย ก็ต้องเกิดอาการหอบเหนื่อยตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาให้หายหอบไม่ได้ โดยอาการหอบจะหายไปได้เองเมื่อกายได้หยุดพักตามเหตุปัจจัย โดยแยกจิตออกเป็นผู้ดูกายตลอดทั้งกระบวนการอย่างตั้งมั่น เฉยอยู่ :b49: :b50: :b51:

หรือในขณะเดินจงกรมแล้วรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิต เมื่อภาพของสิ่งแวดล้อมรอบตัวไหลเข้ามากระทบตา หู หรือจมูกขณะเดิน แล้วไหลผ่านไปสักแต่ว่ากระทบเฉยๆ จิตก็จะรู้ว่ากระทบเฉยๆ :b48: :b47: :b48:

หรือถ้าจิตมีอาการตอบสนองต่อภาพ เสียง หรือกลิ่นที่มากระทบ จิตก็จะรู้ว่ามีอาการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ เช่น ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉยๆแต่ปรุงเป็นความคิดขึ้นมา ฯลฯ จิตก็จะรู้ลงได้ในอาการต่างๆเหล่านั้น และเห็นในการจางคลายของอาการ หรือกระบวนธรรมต่างๆเหล่านั้นได้เอง ลงในจิต :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งจากที่เคยกล่าวไว้แล้วนะครับว่า สำหรับคนเมืองสมัยปัจจุบันซึ่งอาจจะหาที่ทางสำหรับเดินจงกรมได้ยากสักหน่อย ก็ขอให้ลองใช้เส้นทางในสวนสาธารณะที่ไม่ค่อยมีผู้คนที่เรารู้จัก สำหรับเอาไว้ฝึกเดินจงกรม :b47: :b48: :b49:

โดยกำหนดทางเดินที่วนกลับมาเป็นวงรอบได้ และเดินไปในทิศทางเดียวกันกับผู้คนทั่วไปได้ก็ยิ่งดี เพราะจะได้ไม่ต้องคอยระวังระไวผู้คนที่เดินสวนกันมา ให้จิตวอกแวกเฉไฉออกจากการรู้กายรู้ใจ จนเป็นอุปสรรคต่อการฝึกเดินจงกรมนะครับ :b49: :b48: :b49:

และในขณะเริ่มเดิน ก็ให้เดินความเร็วตามปรกติ แกว่งแขนตามปรกติเพื่อสร้างสมดุลตามธรรมชาติ จะได้ไม่เป็นที่แปลกแยกแตกต่างจากผู้คนทั่วไป เพียงแต่มองทางเดินด้วยสายตาที่ทอดลงต่ำ และสำรวมกายใจให้เหมือนพระเวลาท่านเดินบิณฑบาต :b50: :b49: :b44:

พยายามกำกับการเดินด้วยการรู้เนื้อรู้ตัว รู้กายรู้ใจให้ตลอดต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเดินบนพื้นราบ หรือขึ้นลงบนทางลาดชัน หรือขึ้นลงบรรไดในสวน ก็ให้กำกับด้วยการรู้กายรู้ใจ โดยเฝ้ารู้ลงที่ใจ :b43: :b44: :b45:

เหตุที่ให้เฝ้ารู้ลงที่ใจ เนื่องเพราะผัสสะในภาครับรู้โลก ที่ผ่านทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สุดท้ายแล้วก็จะต้องส่งมารับรู้ที่ใจ คือมโนทวารทั้งสิ้น (ปัญจทวาราวัชชนจิต --> ทวิปัญจวิญญาณจิต --> มโนทวาราวัชชนจิต) :b44: :b43: :b39:

และในภาคการต่อเชื่อมสู่โลกภายนอกทางกาย วาจา ใจนั้น ก็ต้องเริ่มต้นการประมวลผลและสั่งการมาจากใจก่อน เช่นกัน :b45: :b44: :b45:


และจากการที่จิตเป็นใหญ่ ใจเป็นประธานในกรรมทั้งปวง :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น การเดินจงกรมโดยเฝ้ารู้ลงมาที่ใจ จึงง่ายต่อการฝึกสติสัมปชัญญะให้คุ้มครองจิต ทั้งภาครับรู้โลก ภาคประมวลผล และภาคสั่งการกระทำเพื่อต่อเชื่อมสู่โลก มากกว่าการเฝ้ารู้ลงที่ทวารอื่น :b55: :b51: :b53:

และการรู้ลงที่ทวารอื่น อาจจะทำให้จิตไหลตามกิเลสได้ง่าย เช่น ถ้าบังเอิญเห็นสาวสวยหนุ่มหล่อแล้วรู้อยู่ที่ตา จะทำให้จิตส่งออกนอกทางตา ตามติดไปกับกิเลสวัตถุ หรือสาวสวยหนุ่มหล่อที่มองเห็นได้ง่ายกว่าการมาตั้งรับ และรู้ลงที่ใจ :b54: :b48: :b49:

หรือถ้าบังเอิญได้ยินเสียงเพลงที่ชอบโดยรับรู้ที่หู จะทำให้จิตส่งออกนอกทางหู หลงตามฟัง จนกระทั่งจิตไหลร้องคลอไปกับเสียงเพลงได้ง่ายกว่าการมาตั้งรับ และรู้ลงที่ใจ ฯลฯ ตามที่ได้เคยขยายความไว้แล้ว นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการเฝ้ารู้ลงที่ใจ หรือรู้เฉพาะในจิตขณะเดินจงกรม ยังมีอานิสงค์ตามที่พระบรมครูกล่าวไว้ด้วยนะครับ คือสมาธิที่เกิดขึ้น จะตั้งมั่นอยู่ได้นาน :b48: :b50: :b49:

คือเมื่อเดินจงกรมโดยประคองจิตให้รู้เฉพาะในจิตยาวนานจนถึงจุดหนึ่ง จิตจะเข้าฌานได้เองโดยอัตโนมัติทั้งๆที่อยู่ในอิริยาบถเดินนั่นหล่ะครับ โดยมีอาการปีติ สุข ปรากฏตามสภาวะในรูปฌาน ต่อด้วยการไล่ตามสภาวะในอานาปานสติ จตุกกะที่ ๓ :b51: :b50: :b49:


คือกำหนดรู้จิต หรือทำญาณให้เห็นจิต ดั่งตาเห็นรูป ตามบันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ดูลย์ ซึ่งมีอาการประคองรู้ลงในจิต ใช้จิตเฝ้าดูจิต อุเบกขาเฉยอยู่, ไปสู่จิตปราโมทย์ ซึ่งมีอาการอิ่มเอมเบิกบานประภัสสร, ไปสู่จิตตั้งมั่น ซึ่งมีอาการที่จิตรู้ชัดในจิตอย่างหนักแน่นมั่นคงโดยไม่ต้องคอยประคอง .. :b48: :b42: :b48:

จนถึงอาการเปลื้องแห่งจิต ซึ่งมีอาการปลดปล่อยจากความหนักแน่นมั่นคงที่เหมือนกับการกำเชือกดึงควบคุมลิงจนสงบเชื่อง มาเป็นอาการผ่อนคลายเบาในจิตที่เหมือนกับการปล่อยคลายเชือกออกจากการควบคุมลิงเพราะลิงเชื่องสงบได้ด้วยตัวเอง ไม่ไปปรุงแต่งวุ่นวายอะไรแล้วอีก ปรากฏเกิดให้รับรู้ขึ้นได้แบบไม่ผิดเพี้ยนในขณะที่เดินอยู่นั้น นั่นเอง :b50: :b49: :b50:

และถ้าพิจารณาเข้ามาในจิตผู้รู้นั้นเองต่อไปอีก ไล่จากการพิจารณาเห็นความเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงเกิดดับในจิตที่มีลักษณะยิบๆยับๆนั่น (อนิจจานุปัสสี), จนเห็นความคลายกำหนัดในจิต (วิราคานุปัสสี), เข้ามาสู่การเห็นความปราศจากกิเลสของจิต (นิโรธานุปัสสี), จนกระทั่งเห็นจิตผู้รู้เป็นเพียงธาตุรู้เช่นเดียวกับธรรมธาตุอื่นๆโดยรอบ จิตผู้รู้นั้นก็จะกระจายตัวพรึบ แผ่ออกไปสู่ธรรมชาติรอบข้างอย่างไม่มีประมาณ ไม่มีเขตแดน (ปฏินิสสัคคานุปัสสี) ได้ในขณะที่อยู่ในอิริยาบถเดินจงกรมอยู่นั้น นั่นเอง :b46: :b47: :b46:


ซึ่งจะมาลงรายละเอียดอีกครั้งในวิธีปฏิบัติดังกล่าวและสภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อถึงช่วงอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขานะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมการฝึกสมาธิและวิปัสสนาสติปัฏฐานด้วยการเดินจงกรมกันนิดหน่อยแล้ว ขอกลับมาที่การฝึกสติสัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัว ด้วยการเดินจงกรมกันต่อ .. :b1: :b46: :b39:

หลังจากฝึกเดินจงกรมด้วยการเดินตามปรกติแต่สายตาทอดลงต่ำไปสักพัก จนจิตสงบ เกิดสติสัมปชัญญะมั่นคงดีแล้ว :b50: :b49: :b50:

การฝึกต่อไป อาจจะไม่ต้องทอดสายตาลงต่ำก็ได้นะครับ คือเดินแบบปรกติแบบสบายๆทั่วไป มองไปข้างหน้าหรือชมนกชมไม้ แต่มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่ตลอดทุกอิริยาบถ ทุกการมอง ทุกการเดิน ทุกการเคลื่อนไหว โดยรู้ลงในจิต
:b48: :b47: :b42:

ซึ่งผู้คนทั่วไปจะไม่รู้เลยว่า เรากำลังฝึกเดินจงกรมอยู่ :b44: :b43: :b44:

และด้วยวิธีนี้ ก็จะเป็นการฝึกที่ค่อยๆถอยออกจากการฝึกในรูปแบบที่กำหนด เข้าสู่การฝึกอย่างเป็นปรกติในอิริยาบถของการใช้ชีวิตประจำวันได้เองเลยนะครับ :b47: :b46: :b47:

โดยที่ความคุ้นชินและความชำนาญของสติสัมปชัญญะในการตามทัน หรือในการรับมือกับสภาวะที่อายตนะ หรือทวารในการรับรู้โลกเปิดหมด พร้อมรับในทุกผัสสะที่มากระทบ ก็จะมีความพร้อมสำหรับใช้งานในการคุ้มครองจิต และตามติดออกมาอย่างเป็นอัตโนมัติในการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดอินทรียสังวรศีลและสุจริต ๓ ตามมาเป็นลูกโซ่ได้เองเนื่องจากเหตุปัจจัยถึงพร้อม
:b44: :b39: :b44:

:b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46: :b39: :b46:

เล่าถึงตัวอย่างของการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายใจผ่านอิริยาบถเดิน คือจากการเดินจงกรมตามรูปแบบ จนเข้าสู่การเดินที่ใช้เป็นปรกติในชีวิตประจำวันกันแล้ว :b55: :b54: :b49:

คราวหน้าจะมาต่อรายละเอียดอีกเล็กน้อย สำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการรู้กายในอิริยาบถใหญ่อื่น คือขณะยืน นั่ง นอน และในอิริยาบถย่อยทั่วไปกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2013, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัว อย่างย่อๆ
ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
เริ่มจากการถือศีล เป็นฐาน คุณธรรมทั้งหลายตั้งด้วยศีล ชำระศีลให้บริสุทธิ์ อบรมจิตใจด้วยสมาธิให้พ้นจากนิวรณ์ อบรมปัญญาด้วยวิปัสสนา วิปัสสนานั้นเป็นปัจจัตตัง ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส มีอยู่มาก ก็ปฏิบัติตามจริตนิสัยที่ได้สั่งสมมา ธรรมที่เป็นเครื่องถูกจริตนิสัย ทั้งสามอย่างนี้ปฏิบัติควบคู่กันไป จะทิ้งอย่างใดอย่างนึงไม่ได้ แต่เมื่อถึงธรรมแล้วทั้งสามอย่างจะควบคู่กันไปเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความเห็นส่วนตัว อย่างย่อๆ
ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา
เริ่มจากการถือศีล เป็นฐาน คุณธรรมทั้งหลายตั้งด้วยศีล ชำระศีลให้บริสุทธิ์ อบรมจิตใจด้วยสมาธิให้พ้นจากนิวรณ์ อบรมปัญญาด้วยวิปัสสนา วิปัสสนานั้นเป็นปัจจัตตัง ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส มีอยู่มาก ก็ปฏิบัติตามจริตนิสัยที่ได้สั่งสมมา ธรรมที่เป็นเครื่องถูกจริตนิสัย ทั้งสามอย่างนี้ปฏิบัติควบคู่กันไป จะทิ้งอย่างใดอย่างนึงไม่ได้ แต่เมื่อถึงธรรมแล้วทั้งสามอย่างจะควบคู่กันไปเอง

สาธุกับความเห็นของมิตรทางธรรมด้วยครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


short note : ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๖

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ณ. เวลาเมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ เมื่อ ๒๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว องค์พระสารีบุตร ได้บรรลุอรหัตตผล ณ. ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์

หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏไปพระวิหารเวฬุวัน ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ ..

อรรถกถาทีฆนขสูตร

ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขาตักให้ผู้อื่นแล้ว บรรเทาความหิวลงได้ เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณและปัญญา ๑๖ แล้วดำรงอยู่.

ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔.

องค์ ๔ เหล่านี้ คือวันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตนๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269

ณ. ท่ามกลางที่ประชุมของเหล่าพระสาวก ๑,๒๕๐ รูปอันบริสุทธิ์แล้วซึ่งกิเลส สมเด็จพระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ด้วย ๓ คาถากึ่งดังนี้

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพาน เป็นธรรมอันประเสริฐสุด
น หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
ผู้ที่ยังฆ่าผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
ผู้ที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ

สัพพะปาปัสสะ อะกะรณัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง
กุสะลัสสูปะสัมปะทา
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์
เอตัง พุทธานะสาสะนัง
นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อะนูปวาโท
การไม่เข้าไปว่าร้ายใคร
อะนูปฆาโต
การไม่เข้าไปทำร้ายใคร
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ คือ ศีลของภิกษุ
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสะมิง
รู้จักประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
ให้อยู่ในทีที่สงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค
หมั่นประกอบความเพียรทางจิตให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
เอตัง พุทธานะสาสะนันติ
นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ


ขอนอบน้อมแด่พระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยเศียรเกล้า :b8:

ขอนอบน้อมแด่พระธรรม อันเป็นธรรมที่พระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า :b8:

ขอนอบน้อมแด่พระอริยสงฆ์ อันเป็นสาวกของพระบรมครูผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ซึ่งปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ด้วยเศียรเกล้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คืนมาฆบูชาปีนี้ได้มีโอกาสทบทวนสิ่งที่พระบรมครูทรงสอนไว้เมื่อ ๒,๖๐๐ ปีที่แล้ว ..

เพียงวรรคแรกของคาถา ที่ว่า

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง


ก็เกิดธรรมปีติขึ้นในใจ เพราะระลึกได้ว่า ขันติ เป็นองค์ธรรมสำคัญที่สามารถนำพาผู้ปฏิบัติ ไปสู่วรรคที่สองของคาถาได้ ซึ่งก็คือ

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพาน เป็นธรรมอันประเสริฐสุด


โดยขันติ จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่งในการเผากิเลสให้หมดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวตัณหาราคะ และความติดเพลินในภพทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางทางเข้าสู่อรหัตตผล

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของอนาคามีมรรค ที่ถึงแม้ว่าจะมีราคะและปฏิฆะเหลืออยู่อย่างเบาบางมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีกำลังมากพอที่จะยึดเหนี่ยวผู้ปฏิบัติให้ติดเพลินอยู่ในภพได้ ซึ่งในสภาวะดังกล่าวนี้นั้น ต้องใช้กำลังของขันติ เป็นองค์ธรรมสำคัญร่วมกับองค์ธรรมอื่นๆ ในการเผาตัณหาราคะให้หมดเชื้อลงไปได้อย่างถาวร

หรือแม้แต่ในขั้นของอรหัตตมรรค ซึ่งยังมีตัณหาคือความต้องการที่จะเข้าถึงความไม่มีภพ ซึ่งเป็นกิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นหลังจากเพียรปฏิบัติมานานแล้วก็ยังไม่สามารถเข้าถึงความสิ้นภพเสียที หรือความติดเพลินในความสงบสุขของฌานที่มีความปราณีตแต่ก็ยังเป็นการติดเพลินอย่างละเอียดในภพ ซึ่งต้องใช้กำลังของขันติ ในการเพียรปฏิบัติต่อเพื่อละความต้องการเข้าถึงความไม่มีภพ และความติดเพลินในภพ เข้าสู่ความบริสุทธิ์อย่างแท้จริงต่อไป

แล้วจะพยายามเรียบเรียงตามสติปัญญาที่พอจะมีเมื่อถึงช่วงที่เหมาะสมนะครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2013, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง


ก็เกิดธรรมปีติขึ้นในใจ เพราะระลึกได้ว่า ขันติ เป็นองค์ธรรมสำคัญที่สามารถนำพาผู้ปฏิบัติ ไปสู่วรรคที่สองของคาถาได้ ซึ่งก็คือ

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพาน เป็นธรรมอันประเสริฐสุด


เจริญในธรรมครับ :b8:


:b8: :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2013, 17:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฎิจสมุปบาท เป็นความสัมพันธ์ของเหตุและผล ทั้งตั้งแต่ระดับมหภาคจนถืงอนุภาคคือ อนันคกาแลคซื่และปรมณู การย้อนรอยสู่จุดกำเนิดที่เป็นกุญแจสำคัญของธรรมหรือสรรพสิ่ง คือธรรมคู่ ระหว่างความนิ่ง
(ความเป็นหนื่งซี่งเป็นรูป การยึดหรือการเพ่งซี่งเป็นนาม)กับความไหว(การเคลื่อนซี่งเป็นรูป การไม่รู้ซึ่งเป็นนาม) เมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างความเป็นหนี่งและความไหว จึงเกิดการหมุนวนทำปฎิกิริยา จนกลายเป็นกำเนิดของรูปและนาม ในลักษณะของปฎิจสมุปบาท การบรรลุธรรมตั้งแต่ขั้นต้นจึงเป็นการแยกเจตสิกออกจากจิต จนถึงการย้อนสู่การไม่ติดในธรรมคู่ซึ่งเป็นจุดเริ่มของสรรพสิ่ง คือการนิ่งและการไหว ซี่ึงเป็นการบรรลุธรรมในระดับอรหันตผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวธรรมของพระอนาคามีหรือสกทาคามีที่ได้ฌาน คือการวนรอบเกิดดับอยู่ในสภาวะรูปฌานและอรูปฌาน โดยฌานที่ 4 คือส่วนของความเป็นหนึ่ง (นิ่ง) ต่อจากนั้นจะเข้าสู่อรูปซึ่งเป็นความไหว(กระจาย) ความเกิดดับของสภาวะธรรมจะเคลื่อนจากฌานหนึ่งสู่อีกฌานหนึ่ง ทั้งแบบไม่ครบวงรอบคืออนุโลมตั้งแต่ขณิกะจนถึงอรูป และปฎิโลมกลับจากอรูปสู่ปฐมฌาน(ไม่ต่ำไปกว่าปฐมฌาน) แล้วอนุโลมขึ้นลำดับฌานอีกครั้งกลับไปกลับมา ซึ่งลักษณะของอนูโลมจะมีเจตนาในการกำหนดรู้สภาวะธรรมในฌาน แต่ปฎิโลมจะเป็นการคลายละเจตนา จึงเสมือนเป็นการล้างรอบไปในตัว จิตจึงเกิดความสะอาด และเป็นมัชฌิมา ซึ่งเป็นเหตุให้บรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 17:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อกล่าวถึงฌาน ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายในมรรค 8 (สัมมาสมาธิ)บาทฐานของมรรค ผล นิพพานนั้น บุคลยังมีข้อสงสัย เนื่องจากมีการกล่าวว่า การปฎิบัติวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องมีสมาธิถึงฌาน ซึ่งเป็นการกล่าวถูกในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถูกทั้งหมด เพราะขณะกำหนดรู้สภาวธรรมของรูปนาม(ผู้ยังไม่ได้ฌาน) จะใช้สมาธิเพียงขณิกสมาธิ แต่เมื่อระดับญาณถึงสังขารุเบกขาญาณแล้ว สมาธิจะพัฒนาถึงอุปจารสมาิธิ และถึงระดับอัปปนาเมื่อถึงมรรคผล บรรลุถึงความเป็นพระโสดาบัน ซึ่งอาจเป็นการได้อัปปนาสมาธิเพียงขณะจิตเดียวและอาจไม่สามารถเข้าถึงอัปปนาได้อีกก็ตาม(พระโสดาบันที่มีอินทรีย์อ่อน) ดังนั้นโสดาบันบุคคลประเภทนี้จะไม่สามารถเข้าผลสมาบัติได้ เพราะผลสมาบัติต้องมีฌานเป็นบาท แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจะพัฒนาจิตให้ลุถึงพระสกทาคามีบุคลจะต้องมีวสีในฌานแน่นอน และจะต้องมีสมาธิระดับทุติยฌานขึ้นไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 22:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเคลื่อนของสภาวธรรมในองค์ฌาน ที่เคยกล่าวถึงคือการอนุโลมปฎิโลม เป็นการเิดินฌานที่ไม่ครบรอบวงกลม ซึ่งถือเป็นวิธีการหนึ่ง ยังมีอีกวิธีคือการเคลื่อนเป็นวงกลมคือการรู้ในสภาวธรรมเกิดดับตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจาร จนเคลื่อนเข้าสู่ฌาน1เมื่อเมื่อเจตสิกชองฌานที่1คือวิตก วิจาร ดับไปจิตก็เลื่อนเข้าสู่ฌานที่ 2 ,3,4และอรูปฌานตามลำดับ เมื่อเกิดดับในอรูปสุดท้ายซึ่งเหลือความรู้สึกเพียงน้อยนิด จิตจะวนกลับมาที่ขณิกสมาธิเป็นการครบรอบวงกลม ณ จุดนี้จะเกิดความสั่นสะเทือนของจิตอย่างมาก จิตจะคลายอารมณ์ระดับที่ลึกที่สุดออกมา(ใต้สำนึก) พร้อมภพชาติที่แสดงความรู้สึกของนาม และรูป(ภาพ) เป็นการย้อนให้รู้ถึงความสัมพันธ์ของสภาพใจทั้งที่หยาบและปราณีต ก่อให้เกิดรูปที่มีสภาพเช่นเดียวกับใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร