วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
จากนั้น จึงส่งต่อให้สมาธิ ทำหน้าที่ออกแรง "ถ่าง" แยกรูปแยกนาม แยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกันได้นาน จนไตรลักษณ์ปรากฏให้รับรู้ขึ้นได้ต่อหน้าต่อตา :b44: :b39: :b41:


:b6:

:b32: เข้าใจใช้ศัพท์ ... :b32: :b32:



เป็นความพยายามในการหาคำศัพท์ภาษาไทย มาช่วยอธิบายสภาวธรรมที่ต้องใช้ขยายความในการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมครูหน่ะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งสภาวธรรมต่างๆเหล่านั้น บางอย่าง เป็นส่วนของนามธรรมที่ยากจะเข้าใจ จึงต้องพยายามหาคำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมมาช่วยอธิบาย เพื่อเทียบเคียงให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น :b46: :b47: :b46:

โดยผู้ปฏิบัติ จะเข้าใจสภาวธรรมนั้นๆได้อย่างแจ่มชัด ก็ด้วยหลังจากที่ได้ทดลองลงมือปฏิบัติ แล้วรู้เห็นจากประสบการณ์ตรงในนามธรรมนั้นๆได้ด้วยตนเองแล้วจริงๆนะครับ :b8: :b44: :b39:

ซึ่งถ้าจะว่ากันในแง่ของการปฏิบัติ ตรงที่ยกมานี้ก็จะเป็นการทำงานร่วมกันขององค์ธรรมที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้จิต ทำหน้าที่ "รู้" ได้อย่างถูกต้อง "ตรง" ตามความเป็นจริง :b47: :b49: :b50:

และองค์ธรรมที่กล่าวถึงนั้น ก็คือ สติ สมาธิ และปัญญานั่นเอง โดยปัญญาในที่นี้ มักจะใช้คำแทน ที่เข้าคู่กับคำว่าสติ ก็คือคำว่า สัมปชัญญะ :b49: :b48: :b47:

โดย

สติ คือ การ "ระลึก" รู้ได้ :b43: :b42: :b43:

ปัญญาสัมปชัญญะ คือ การรู้ได้อย่าง "ชัดเจน" ในสิ่งที่ระลึก ตรงตามสภาวธรรม :b46: :b47: :b46:

และ สมาธิ คือ "ความตั่งมั่น จดจ่อต่อเนื่อง" ในสภาวะของการรู้ได้อย่างชัดเจนนั้น อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน :b49: :b42: :b47:


หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบให้สั้นกระชับ ก็จะได้ว่า

สติ ทำหน้าที่ จับ :b46: :b47: :b46:

ปัญญาสัมปชัญญะ ทำหน้าที่ จ้อง :b46: :b47: :b46:

และ สมาธิ ทำหน้าที่ จดจ่อ คือ จับให้มั่น และจ้องให้นาน เพื่อให้เห็นได้ชัด อย่างตั้งมั่น จดจ่อต่อเนื่อง :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือจะอธิบายโดยขยายรายละเอียด ก็จะได้ว่า :b47: :b46: :b42:

เมื่อเริ่มแรก สติ จะทำหน้าที่ของเขา ก็คือการ "ระลึก" เพื่อให้จิต ทำหน้าที่ "รู้" :b50: :b51: :b49:

แต่จะเป็นการ "รู้" ที่ไม่ธรรมดา คือไม่เรื่อยเปื่อย ไม่ประกอบด้วยความหลง แต่เป็นการ "ระลึกรู้" ได้อย่างมีสติ
:b47: :b48: :b43:

(ซึ่งจะระลึกรู้ได้หรือไม่ได้ และระลึกรู้ได้เร็วแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสติ หรือสติเจตสิกนั้น นั่นเอง) :b49: :b48: :b42:

หลังจากนั้น ปัญญาที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ก็จะทำหน้าที่ต่อ เพื่อให้จิต "รู้" ในสิ่งที่ระลึก "ได้ชัด" ตรงตามความเป็นจริงของสภาวธรรม :b51: :b50: :b49:

(ซึ่งจะ "ชัด" + "ตรงตามความเป็นจริง" แค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของตัวสัมปชัญญะ หรือปัญญินทรียเจตสิกนั้น นั่นเอง) :b51: :b44: :b40:

ซึ่งทั้งสององค์ธรรม ต้องอาศัยกำลังของ สมาธิ เพื่อให้มีกำลัง "ตั้งมั่น" และ "จดจ่อ" ในการ "ระลึก" และ "รู้ชัด" อยู่แต่ในสิ่งที่กำลังรู้อยู่นั้น ตามความเป็นจริง "อย่างต่อเนื่องยาวนาน" :b47: :b46: :b42:

(ซึ่งจะตั้งมั่น จดจ่อ ต่อเนื่อง ยาวนานแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ หรือเอกัคคตาเจตสิกนั้น นั่นเอง) :b48: :b54: :b49:

ซึ่งถ้าจิต จะเริ่มเหออกจากสิ่งที่กำลังรู้ชัดอยู่ :b46: :b41: :b47:

กำลังของสติ จะคอยทำการตบ หรือประคอง กุมกิจ ให้จิตกลับไประลึกรู้ ในสิ่งที่กำลังรู้ :b47: :b43: :b42:

ซึ่งจะทำงานคู่กับสัมปชัญญะ เพื่อให้จิต เกิดอาการรู้ได้ "ชัด" ขึ้นมาใหม่ :b48: :b49: :b39:

โดยมีกำลังของสมาธิ ช่วยในการประคอง หรือ hold ทั้งตัวสติ โดยเฉพาะตัวสัมปชัญญะ ให้จิต ระลึกรู้ในสภาพธรรมนั้นๆได้ชัด อย่างจดจ่อต่อเนื่อง และยาวนาน :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสำหรับการปฏิบัติ เพื่อแยกรูปแยกนาม เพื่อรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงแล้วนั้น :b1: :b46: :b47: :b46:

ก็คือการใช้สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ในการรู้ลงที่ "กายใจ" :b46: :b47: :b46:

คือ ไม่ได้ไปรู้แบบเกาะเกี่ยวจมแช่ลงในอารมณ์ที่มากระทบภายนอก ซึ่งหมายถึง ไม่ได้ไปเกาะเกี่ยวจมแช่ลงในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้ดม รสที่ได้ลิ้ม สัมผัสที่มากระทบ หรือเรื่องที่ขบคิด :b50: :b49: :b48:

คือ ไม่ได้ไปรู้หรือไปอิน จมแช่ลงในอารมณ์ที่มากระทบ หรือรู้ลงในภูเขา ป่าไม้ สายน้ำ หรือธรรมชาติอื่นๆที่ไหน :b49: :b48: :b42:

แต่ให้รู้อย่างมีสติ ลงที่กายใจ หรือรู้ลงใน กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งภายในภายนอก คือ ทั้งของกายใจผู้ปฏิบัติเอง และของกายใจผู้อื่น ตามความเป็นจริง ซึ่งก็คือรากฐานของการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง :b50: :b49: :b55:

(แต่ในขั้นของสติสัมปชัญญะ เป็นแค่การรู้ลงที่กายใจ ซึ่งจะต้องต่อยอดขึ้นไปอีก โดยการรู้อย่างเป็นกลาง ไม่ประกอบไปด้วยความยินดียินร้าย โดยรู้ให้ถึงความเกิดขึ้น ความเสื่อม หรือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในกาย เวทนา จิต ธรรม นั้นๆตามคำของพระบรมครู ที่ท่านได้กล่าวปิดท้ายไว้ทุกหมวด ถึงจะได้ชื่อว่า สติปัฏฐาน :b51: :b50: :b51:

และในส่วนของการปฏิบัติ ที่รู้ลงในกายใจผู้ปฏิบัตินั้นเอง อาจจะเห็นภาพได้ง่ายนะครับเพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านเคยประสบพบด้วยตนเองอยู่แล้ว :b55: :b54: :b49:

แต่ส่วนของการรู้ลงในกายใจผู้อื่นนั้น อาจจะเห็นภาพได้ยากกว่า ว่าปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เกิดปัญญา และไม่เป็นการส่งจิตออกนอก ซึ่งวิสุทธิปาละจะพยายามยกตัวอย่าง ขยายความตามประสบการณ์และสติปัญญาที่พอจะมี เมื่อถึงช่วงที่ต้องลงรายละเอียดในสติปัฏฐานนะครับ) :b47: :b42: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือกล่าวได้ว่า :b47: :b48: :b49:

สติปัฏฐาน = การเพียร ระลึกรู้ลงในกายใจ (กาย เวทนา จิต ธรรม) อย่างเป็นกลาง ได้ชัด ตรงตามสภาวธรรม/กระบวนธรรมที่เป็นจริง อย่างจดจ่อต่อเนื่อง จนพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น ความเสื่อม ของกายใจ ตามความเป็นจริง :b49: :b50: :b55:

โดย

ระลึกรู้ = สติ :b46:
ได้ชัด ตรงตามสภาวธรรม/กระบวนธรรมที่เป็นจริง = สัมปชัญญะ :b46:
อย่างจดจ่อต่อเนื่อง = สมาธิ :b46:
เพียรลงในกายใจ รู้อย่างเป็นกลาง จนเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อม ของกายใจ = ทำให้สติสัมปชัญญะนั้น กลายเป็นสติปัฏฐาน
:b46:

คราวนี้ ถ้าจะกลับมากล่าวถึงการแยกรูปแยกนาม ซึ่งเป็นญาณขั้นต้นสำหรับใช้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน .. :b46: :b47: :b46:

ถ้ายังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว การแยกธาตุแยกขันธ์ออกจากกันเมื่อเริ่มฝึกใหม่ๆ ต้องใช้แรง หรือใช้กำลังของสมาธิกันอย่างมากมายจริงๆนะครับ ในการหนุนสติและสัมปชัญญะ เพื่อออกแรง "ถ่าง" ขันธ์ที่มักจะจมแช่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน เพราะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันอยู่ตามธรรมชาติ ตามความเคยชินที่สะสมมา โดยเฉพาะกิเลสเหตุทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น ให้แยกออกจากผู้รู้คือจิต ไม่ไหลกลับมาจมแช่รวมกันได้ จนเห็นสภาวธรรมหรือกระบวนธรรมได้ชัด และ ตรง ตามความเป็นจริง :b46: :b47: :b46:

ซึ่ง "ตรงตามความเป็นจริง" ในที่นี้ก็คือ ตรงทั้งลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ หรือวิเสสลักษณะ และตรงทั้งลักษณะร่วม หรือสามัญลักษณะของธรรมนั้นๆ ซึ่งได้แก่ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม หรือทั้งความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ ซึ่งแยกออกได้ในสี่หมวด คือ ในกาย เวทนา จิต ธรรม ตามคำสอนของพระบรมครู :b55: :b49: :b50:

นั่นกล่าวถึงผู้เริ่มฝึกใหม่ๆนะครับ ที่ต้องออกแรงเยอะหน่อย ในการแยกธาตุแยกขันธ์ :b1: :b46: :b47: :b46:

แต่สำหรับผู้ที่ฝึกจิตมาดีแล้ว ชำนาญแล้ว (คือ มีกำลังของ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่เข้มแข็งดีแล้ว) การแยกธาตุแยกขันธ์ก็จะกลายเป็นเรื่องอัตโนมัติไป ดังเช่นที่องค์หลวงตาบัวท่านใช้คำว่า สติอัตโนมัติ และปัญญาอัตโนมัติ นั้นเอง :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างการแยกธาตุแยกขันธ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร หัวข้อสัจจบรรพ ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน .. :b47: :b46: :b47:

การที่จะทำให้รู้ได้ชัดในอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมครูตามความเป็นจริง จะต้องทำกิจในอริยสัจจ์ให้ครบทั้ง ๔ ข้อเสียก่อนนะครับ สัจจะทั้ง ๔ ถึงจะปรากฏให้เห็นขึ้นได้ครบทั้ง ๔ ในชั่วขณะจิต :b1: :b46: :b39:

ซึ่งอันที่จริงแล้ว องค์ธรรมของอริยสัจจ์ ที่มีองค์ของพระนิพพานเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยนั้น เป็นธรรมที่ปรากฏอยู่แล้วทุกที่โดยทั่วไป สามารถทำให้แจ้งเห็นได้อยู่ในทุกขณะจิต เพียงแต่นักปฏิบัติต้องออกแรง แหวกสิ่งที่ปิด แยกธาตุแยกขันธ์ เพื่อให้อริยสัจจ์เปิดตัวออกมาให้เห็น :b47: :b46: :b41:

ด้วย "เครื่องมือ" คือกำลังของสติ สมาธิ ปัญญา (และมรรคที่เหลืออีก ๕ องค์) :b46:

และด้วย "วิธีการ" คือการกระทำกิจในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
:b46:

โดยการทำกิจในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งก็คือการเจริญมรรค เพื่อละสมุทัย และเข้ามารู้ตรงๆลงเฉพาะในทุกข์ จนเห็นทุกข์ดับไปต่อหน้าต่อตา และในขณะเดียวกันที่ทุกข์ดับนั้น ก็จะประจักษ์แจ้งในนิโรธได้ต่อหน้าต่อตาเช่นเดียวกันได้นั้น .. :b47: :b48: :b42:

องค์มรรคที่ทำหน้าที่ออกแรง "ถ่าง" เพื่อ "แยก" และ "รั้ง" หรือ "hold" ให้จิตตั้งมั่น จดจ่อ ต่อเนื่อง แน่วแน่ โฟกัส "รู้" เฉพาะลงไปแต่ในตัวทุกข์ โดยไม่ "ไหล" กลับไปจับ "เหตุ" หรือสมุทัย ที่ละไปได้แล้ว ให้เข้ามารวมกับจิตได้อีก ก็คือ องค์ของสมาธิ นั่นเอง :b1: :b46: :b39:

(โดยมีกำลังของสติ เป็นตัวช่วยตรวจจับ ช่วยประคอง หรือช่วยกุมจิต ให้อยู่ในกิจเดียวอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ปัญญาสัมปชัญญะ ทำหน้าที่ให้จิต รู้ธรรมได้ชัด ตรง ตามความเป็นจริง) :b49: :b54: :b49:

ซึ่งถ้าสติและสมาธิไม่ตั้งมั่น ไม่มีกำลังแรงพอที่จะกุมจิตให้จดจ่อ แน่วแน่อยู่ในกิจเดียว คือรู้เฉพาะลงในทุกข์แล้วละก็ จิตเจ้ากรรมก็จะไหลกลับไปจับ จมแช่รวมกับเหตุ หรือกลับไปครุ่นคิดคำนึงถึงเหตุตามความเคยชินให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้อีก ซึ่งจะทำให้ทุกข์ไม่ดับ และไม่สามารถเห็นสัจจะครบทั้ง ๔ องค์ในชั่วขณะจิตได้เลย :b49: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะจิตที่ไม่ได้ฝึกมาดีแล้ว มักจะไหลกลับไปรวมกับกิเลสเหตุทุกข์ต่างๆ เหมือนแม่เหล็กต่างขั้วที่มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้จิตของผู้นั้น เกิดทุกข์ขึ้นได้บ่อยๆเพราะเหตุไม่ดับ วนเวียนซ้ำซากเป็นวัฏฏะ และการเกิดทุกข์แต่ละครั้ง ก็กินเวลายาวนานเพราะจิตไม่ยอมละ ไม่ยอมปล่อยเหตุ :b6: :b5: :b46:

เนื่องเพราะไม่รู้จักแยกจิตออกจากเหตุ ซึ่งเกิดจากการที่สติและสมาธิ (รวมถึงมรรคองค์อื่นๆอีก ๖ องค์) ไม่มีกำลังแรงพอที่จะตรวจจับและแยกธาตุแยกขันธ์ แยกกิเลสออกจากจิต และรู้เฉพาะในทุกข์ เพื่อให้ความเป็นจริงของทุกข์ ซึ่งก็คือไตรลักษณ์แห่งทุกข์ และสัจจะทั้ง ๔ ได้เกิดปรากฏขึ้นมาให้ได้เรียนรู้ต่อหน้าต่อตา จนเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และเกิดโลกุตรปัญญาในที่สุดนะครับ :b1: :b46: :b39:

(เพื่อให้เห็นภาพการแยกธาตุแยกขันธ์ได้ชัดขึ้น ขอให้ลองกลับไปดูตัวอย่างของการปฏิบัติในสัจจบรรพ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามที่เคยโพสท์ไว้นะครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=49
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=63
)

ดังนั้น การฝึกสมาธิ เพื่อให้จิตมีความตั้งมั่น แน่วแน่ "รู้" อยู่ในสิ่งเดียวได้เป็นระยะเวลายาวนาน (โดยไม่เป็นการกระตุ้นนิวรณ์) .. :b46: :b47: :b46:

ไม่ว่าจะรู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ รู้คำบริกรรม รู้วิตกวิจาร รู้ปีติ รู้สุข หรือรู้ลงในรู้ ซึ่งก็คือสมาธิในฌาน ๔ เหล่านี้นั้น :b42: :b46: :b42:

จึงเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการฝึก เพื่อให้จิตจดจ่อ ตั้งมั่น รู้อยู่ในสิ่งเดียวได้ยาวนาน จนธรรมหรือกระบวนธรรมของกายใจ เปิดเผยตัวให้เห็นได้ตามจริง ซึ่งเป็นการพัฒนาในโลกุตรปัญญาของนักปฏิบัติ จนเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และเข้าสู่วิมุตติหลุดพ้น :b46: :b42: :b39:

(สมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญาตัวนี้ ก็คือการรู้ชัด แจ้งในธรรมตามความเป็นจริง) :b48: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะในการฝึกกรรมฐานหมวดธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ต้องใช้พื้นฐานของสมาธิเป็นอย่างมากในการแยกจิตออกจากสิ่งรบกวนที่มาจากขันธ์อื่น โดยรั้ง หรือ hold จิตให้จดจ่อรู้อยู่ในสิ่งเดียว :b46: :b47: :b46:

คือรู้ธรรมในบรรพนั้นๆอย่างเดียว โดยมีความต่อเนื่องยาวนานพอ จนกระทั่งเห็นชัดถึงการเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เห็นในต้นเหตุหรือเหตุใกล้ เห็นในปัจจัย เห็นการพัฒนาตัว และเห็นการคลี่คลายตัวลงขององค์ธรรมต่างๆในบรรพนั้นๆอย่างแจ้งชัด จนเกิดปัญญาญาณ
:b46: :b42: :b39:

ลองอ่าน ลองศึกษา ลองทบทวนพุทธพจน์ในธัมมานุปัสสนา มหาสติปัฏฐานอย่างละเอียดดูนะครับ แล้วลองฝึกปฏิบัติดูด้วยก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ :b1: :b46: :b42: :b46:

http://84000.org/tipitaka/read/?10/290-299

อย่างเช่นตัวอย่างที่ยกมา คือสัจจบรรพ ซึ่งเป็นกรรมฐานบรรพสุดท้ายในหมวดธัมมานุปัสสนา และเป็นกรรมฐานที่มีผลมาก มีอานิสงค์มาก เพราะเป็นการรู้ตรงๆลงในอริยสัจจ์ ๔ ซึ่งเป็นการกำจัดเสียในตัวอวิชชา ที่เป็นต้นรากของกิเลสทั้งหลายทั้งปวงลงไปตรงๆ จึงมีผลทำให้การเข้าถึงโลกุตรปัญญาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว :b46: :b47: :b41:

(แต่ก็ต้องใช้กำลังของสติ สมาธิ และปัญญามากขึ้นตามกันไป ในการปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งในธรรมหมวดนี้ ตามเป็นจริงนะครับ) :b46: :b42: :b39:

แล้วจะมาเพิ่มเติมรายละเอียดของการฝึกสมาธิ และกรรมฐานหมวดธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในทุกบรรพ โดยเฉพาะสัจจบรรพอีกที (ซึ่งเป็นกรรมฐานเดียวที่มีวิธีปฏิบัติ หรือกิจที่ซับซ้อนนิดหน่อยในแต่ละองค์ธรรม ต่างจากบรรพอื่นที่ใช้วิธี "รู้" ลงไปตรงๆในทุกองค์ธรรมของบรรพนั้นๆ) เมื่อเข้าถึงหมวดอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขานะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และที่กล่าวมา คืออานิสงค์ของการใช้กำลังของสมาธิ หนุนสติสัมปชัญญะ ในการออกแรงถ่างเพื่อแยกธาตุแยกขันธ์ให้ออกจากกัน :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในกระบวนการฝึกปฏิบัติทั้งหมด จะมีช่วงเวลาเดียวที่ผู้ปฏิบัติ ไม่ต้องคอยออกแรงถ่างเพื่อแยกธาตุแยกขันธ์ แต่ขันธ์จะกระจายตัวออกของเขาเองให้รับรู้ได้อย่างแจ่มแจ้งที่สุด ก็คือช่วงขณะที่เกิดมรรคผลช่วงเดียวเท่านั้น นั่นเองครับ
:b1: :b46: :b39:

เพราะขณะที่มรรคผลเกิดขึ้นจริงๆแล้วนั้น จะเกิดอาการของการแยกธาตุแยกขันธ์ หรือขันธ์กระจายตัวออกจากกันได้เองโดยไม่ต้องจงใจออกแรงถ่าง เพราะการเกิดนั้น เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือกำลังของมรรคที่ถึงพร้อม :b47: :b46: :b47:

โดยที่จิต ไม่ได้จงใจใช้กำลังของสติ สมาธิ ปัญญาเข้าไปแยก .. แต่ขันธ์ที่เกาะกันอยู่ จะแยกตัวออกของเขาเอง จิตและขันธ์อื่นๆจะกระจายตัวพรึบออกจากการเกาะเกี่ยวเป็นก้อนเดียวกัน ด้วยกำลังของมรรคที่เป็นอัตโนมัติ :b49: :b48: :b49:

ซึ่งด้วยเหตุที่ขันธ์กระจายตัวออกเองในช่วงของการเกิดมรรคผลนั้น จิตจะแจ้งในกระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาทสายเกิด ซึ่งจะเห็นการกระจายออกแต่ยังอยู่ในสภาพเชื่อมต่อ ร้อยเรียงกันของขันธ์ต่างๆ ที่มีหน้าที่ต่างๆกัน แต่ทำงาน หรือประสานงานร่วมกันตามเหตุปัจจัย เรียงร้อยเป็นกระบวนธรรมที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท :b46: :b42: :b39:

ซึ่งกระบวนธรรมที่เกิดขึ้น จะแสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ปรากฏ เป็นแต่เพียงกระแสของกระบวนธรรมล้วนๆที่คล้องต่อเนื่องกันเป็นสายโซ่
:b48: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2013, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหลังจากจิตแจ้งกระบวนธรรมดังกล่าวในแวบเดียวแล้ว สิ่งที่จะเผยตัวต่อมาก็คือ การดับซึ่งกระบวนธรรมเหล่านั้น :b46: :b47: :b46:

โดยจะเกิดขึ้นเนื่องจากจิตเกิดปัญญาเห็นถึงสภาวะสุญญตาของธรรมตามความเป็นจริง ทำให้ข้อต่อของกระบวนธรรมขาด โดยในระดับโสดาบัน จะขาดที่ข้อต่อของขั้วอวิชชา ในส่วนของสักกายทิฏฐิ หรือความเห็นผิดว่ามีตัวตน :b47: :b46: :b47:

หรือขาดในข้อต่อของ ตัณหา อุปาทาน ซึ่งได้แก่ ความติดเพลินในกามราคะ ความติดเพลินในภพ (กามตัณหา ภวตัณหา) / ความปฏิเสธในการกระทบกระทั่งแห่งจิต - ความไม่อยากให้เกิดมีแห่งภพ (ปฏิฆะ - วิภวตัณหา) ซึ่งจะปรากฏในชั้นของสกทาคามี และอนาคามี :b46: :b47: :b41:

หรือขาดในข้อต่อของอวิชชา ในส่วนของความไม่รู้ในอริยสัจจ์ ที่จะปรากฏในชั้นอรหันต์ ซึ่งเป็นชั้นเดียวที่ขันธ์ซึ่งกระจายตัวออกแล้ว จะไม่กลับเข้ามารวมตัวกันอีก เนื่องจากกิเลสทั้งหมดที่เป็นเสมือนกาวเชื่อมขันธ์เข้าด้วยกัน ก็คืออวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ถูกทำลายลงหมดแล้วอย่างสิ้นเชิง โดยไม่เหลือเชื้อของยางเหนียวอีก
:b46: :b42: :b39:

แต่ถ้ายังไม่ถึงในระดับอรหันต์ เชื้อของยางเหนียวซึ่งก็คืออวิชชา หรือตัณหาอุปาทานที่เหลืออยู่ จะทำให้ขันธ์ที่กระจายตัวออก รวมตัวกลับเข้ามายึดเหนี่ยวกันใหม่ (แต่ไม่ครบ หรืออ่อนแรงลงไปบ้างในบางตัวของสังขารขันธ์ หมวดอกุศลเจตสิก) :b48: :b47: :b48:

ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติที่ใช้กำลังของสติ สมาธิ และปัญญา (ร่วมกับมรรคอื่นๆอีก ๕ องค์) ในการแยกธาตุแยกขันธ์ เพื่อปฏิบัติในสติปัฏฐานกันต่อไปอีก จนกว่าจะแยกขันธ์ให้กระจายออกได้อย่างถาวรในระดับอรหัตตผลที่เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน คืออรหันต์ที่ยังดำรงค์ธาตุขันธ์อยู่ :b46: :b42: :b47:

และหมดสิ้นซึ่งขันธ์ทั้งหลายอย่างหมดจด ไม่ต้องมีอะไรเหลือให้แยกกันอีก ในระดับอนุปาทิเสสนิพพาน คืออรหันต์ที่สิ้นขันธ์ ดับรอบแล้วอย่างถาวร นั่นเองครับ
:b46: :b39: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 23:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อจากคราวที่แล้วกันครับ :b1: :b38: :b37: :b39:

ก่อนอื่น พอดีนึกอะไรขึ้นได้ เพื่อกันความสับสน ขอทำความเข้าใจในขอบเขตของบัญญัติตรงนี้ให้สอดคล้องกันเสียก่อนว่า จริงๆแล้วการฝึกสตินั้น (ที่แปลตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของท่านเจ้าคุณอาจารย์ว่า "ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้") เป็นหัวข้อที่ครอบคลุมกว้างขวางมาก และแทรกอยู่ในทุกหัวข้อของสิกขาทั้ง ๓ :b46: :b47: :b46:

ตั้งแต่การฝึกสติ ที่เป็นการฝึกในลักษณะควบกับสัมปชัญญะ (แปลว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้) หรือการฝึกสติสัมปชัญญะ ฝึกความรู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งเป็นอาหารของอินทรียสังวรศีล และยังอยู่ในหมวดของอธิศีลสิกขา ที่เรากำลังลงรายละเอียดกันอยู่นี่ :b48: :b49: :b48:

http://84000.org/tipitaka/read/?35/612,%20
http://84000.org/tipitaka/read/?35/636,%20
http://84000.org/tipitaka/read/?35/672


ไปถึงการฝึกสติ เพื่อให้เกิดผลในขั้นสมถะ เพื่อกำจัดนิวรณ์ ให้จิตสงบตั้งมั่น ซึ่งอยู่ในหมวดของอธิจิตตสิกขา (และสามารถต่อไปถึงขั้นปัญญา) เช่น การฝึกสติด้วยลมหายใจ (อานาปานสติ), ด้วยอาการ ๓๒ (ปฏิกูลมนสิการ), ด้วยธาตุ ๔ (ธาตุมนสิการ), ด้วยเป็นซากศพ (นวสีวถิกา), ด้วยการเจริญฌานต่างๆ ซึ่งมีกล่าวไว้ในกายคตาสติสูตร ที่ใช้กาย เป็นเครื่องระลึกของสติ :b48: :b49: :b50:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=4182&Z=4496&pagebreak=0

หรือกระทั่งใช้สติ ระลึกถึงสิ่งที่ควรระลึก ๑๐ ประการ ตามที่ท่านพุทธโฆษาจารย์ ท่านได้รวบรวมธรรมที่ควรระลึกซึ่งกระจายอยู่ในพระไตรปิฎก ลงไว้เป็นอนุสสติ ๑๐ ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ สำหรับอธิจิตตสิกขา เพื่อฝึกให้จิตสงบ ตั้งมั่น :b49: :b44: :b45:

http://larnbuddhism.com/visut/2.9.html
http://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๑_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๗_ฉอนุสสตินิเทศ_หน้าที่_๓๒๙_-_๓๓๕


จนกระทั่งการฝึกสติเพื่อให้เกิดผลในขั้นโลกุตรปัญญา ซึ่งอยู่ในหมวดของอธิปัญญาสิกขา เช่น การฝึกในกายคตาสติ, การฝึกในสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ ซึ่งเป็นอะไรที่ต้องต่อยอดออกไปอีกโดยใช้พื้นฐานของสติสัมปชัญญะ โดยในบางที่ พระบรมครูท่านถึงกับยกคำว่าสติ ให้มีความหมายถึงสัมมาสติ หรือสติปัฏฐานแลยทีเดียว :b47: :b46: :b42:

http://84000.org/tipitaka/read/?10/90

และบางจุด ยังมีรายละเอียดแทรกลึกลงไปอีกว่า เป็นการฝึกสติเพื่ออะไร เช่น สติในฌาน ๓ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน, สติในอาโลกสัญญา เพื่อญาณทัสสนะ, สติในอาการ ๓๒ เพื่อละกามราคะ, สติในนวสีวถิกา เพื่อถอนความถือตัวถือตน หรืออัสมิมานะ, สติในอิริยาบถ เพื่อความรู้เนื้อรู้ตัว หรือสติสัมปชัญญะ :b48: :b47: :b48:

(อนุสสติที่เป็นพุทธวจนะ http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7595&Z=7659&pagebreak=0)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสิ่งที่ต้องการจะสื่อให้เข้าใจตรงนี้ก่อนก็คือว่า สติที่กำลังกล่าวถึงในหมวดอธิศีลสิกขาตรงนี้ หมายถึงสติ ที่มาคู่กับคำว่า สัมปชัญญะ คือสติสัมปชัญญะ เพื่อให้เกิดความรู้เนื้อรู้ตัว ซึ่งเป็นอาหารของอินทรียสังวร :b46: :b47: :b46:

โดยมีวิธีฝึกอยู่ ๒ แบบ คือด้วยการรู้กายลงในอิริยาบถ และด้วยการรู้ใจในการฝึกด้วยสมาธิภาวนา (หรือรู้อาการของใจในสมาธิภาวนา อันได้แก่ เวทนา สัญญา วิตก, ซึ่งวิตก เป็นเจตสิกที่สำคัญในหมวดสังขาร) ตามคำสอนของพระบรมครูนะครับ
:b1: :b46: :b39:

(อนุสสติข้อที่ ๖ ใน http://84000.org/tipitaka/read/?22/300 และสมาธิภาวนาข้อที่ ๓ ในสมาธิสูตร หรือสังคีติสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?21/41, http://84000.org/tipitaka/read/?11/233)

ซึ่งจะต้องใช้องค์ธรรมที่สำคัญ ประกอบร่วมในการฝึกก็คือ สติ ปัญญาสัมปชัญญะ และสมาธิ :b46: :b47: :b46:

และจากตอนต้นที่ให้ความหมายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆไว้นะครับว่า :b47: :b42: :b43:

สติ = การ "ระลึก" รู้ได้ :b46:
ปัญญาสัมปชัญญะ = การรู้ได้อย่าง "ชัดเจน" ในสิ่งที่ระลึก ตรงตามสภาวธรรม :b46:
และ สมาธิ = "ความตั่งมั่น จดจ่อต่อเนื่อง" ในสภาวะของการรู้ได้อย่างชัดเจนนั้น อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน :b46:

ดังนั้น สติสัมปชัญญะ จึงเป็นองค์ธรรมที่เนื่องด้วยทั้งศีล (คือ เป็นอาหารของอินทรียสังวรศีล), สมาธิ (คือ ต้องใช้พื้นของสมาธิ เพื่อทำกิจร่วมด้วย), และปัญญา (คือ สัมปชัญญะ อาการรู้ชัด)

ซึ่งสติสัมปชัญญะนี้ จะเป็นกุศลธรรมที่ทำให้เกิดกุศลจิต ใช้ฝึกเพื่อเป็นพื้นฐานของอินทรียสังวร ซึ่งจะต่อยอดไปที่สุจริต ๓ สติปัฏฐาน๔ โพชฌงค์ ๗ จนกระทั่งเข้าถึงวิชชาและวิมุตติ :b47: :b42: :b39:

โดยความที่สติสัมปชัญญะเป็นองค์ธรรมที่เนื่องด้วยกุศล จึงเป็นองค์ธรรมที่ไม่เกิดร่วมกับกิเลส เนื่องเพราะตอนที่มีกิเลส .. :b46: :b47: :b46:

๑) จิต ไม่ได้ระลึกรู้ลงกายใจ แต่ไปรู้ลงในกิเลสวัตถุ (กิเลสวัตถุ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?35/1026) หรือที่องค์หลวงปู่ดูลย์ท่านว่า ส่งจิตออกนอก :b46: :b47: :b46:


เช่น เห็นสาวสวยหนุ่มหล่อแล้วไม่ได้รู้ลงที่กายใจ แต่ไปรู้ลงที่สาวสวยหนุ่มหล่อ :b48: :b49: :b50:

และ

๒) ไม่ได้รู้กิเลสวัตถุชัด ตามเป็นจริง แต่รู้ตามการปรุงของกิเลส ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาการชอบ (อภิชฌา) กำหนัดรักใคร่ หลงไหลติดเพลิน หรือชัง (โทมนัส) อึดอัดคับข้อง หงุดหงิดโกรธแค้น เข้าร่วมด้วย :b51: :b50: :b51:

เช่น เห็นสาวสวยหนุ่มหล่อแล้วไม่เห็นตามจริงว่าเป็นเพียงก้อนธาตุธรรมธาตุ แต่เห็นเป็นวัตถุอันน่าใคร่ :b55: :b54: :b51:

ทำให้เกิดการจมแช่ หลงไหล คือ หลง (โมหะ) และ ไหล (แกว่งไกว ไหว ไม่ตั้งมั่น ไม่ประกอบด้วยสติ และปัญญา) ไปตามกิเลส :b47: :b48: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปูพื้นทำความเข้าใจในขอบเขตที่จะกล่าวต่อไปกันคร่าวๆแล้ว ก่อนจะไปที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้นาม หรือรู้ใจผ่านสมาธิภาวนา ขอเพิ่มเติมรายละเอียดบางส่วนที่ยังไม่ครบ ในการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้รูป หรือรู้กาย ผ่านอิริยาบถกันอีกนิดหน่อยนะครับ :b1: :b46: :b39:

การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายผ่านอิริยาบถนี้ สามารถฝึกด้วยการทำความรู้สึกตัว หรือรู้ตัวทั่วพร้อมได้ตลอดทั้งวัน ทั้งในทุกอิริยาบถใหญ่และย่อย ยกเว้นช่วงเวลาเดียว คือในขณะที่จิตตกภวังค์หลับสนิท :b30: :b46: :b41:

แต่ในขณะที่นอน พระบรมครูท่านก็ยังมีวิธีให้ฝึกด้วยการเข้านอนอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติสัมปชัญญะในท่าตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้าแบบสีหไสยา และทำความหมายในอันที่จะลุกขึ้นทันทีที่ตื่นขึ้นมาใหม่ ด้วยความหมายใจว่าจะไม่ประกอบความสุขในการนอน ในการเอนข้าง หรือในการเคลิ้มหลับ ตามที่ท่านได้แนะนำองค์พระโมคคัลลานะ ในโมคคัลลานสูตร :b49: :b48: :b49:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1873&Z=1938&pagebreak=0

ซึ่งการนอนอย่างมีสตินี้ จะมีอานิสงค์ ๕ ประการตามที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ คือหลับสบาย ตื่นสบาย ไม่ฝันเห็นสิ่งเลวทราม เทวดารักษา และน้ำอสุจิไม่เคลื่อน (ข้อสุดท้ายนี้เฉพาะผู้ชาย เพราะท่านกล่าวกับพระภิกษุ) :b42: :b47: :b42:

http://84000.org/tipitaka/read/?8/1224

ซึ่งอานิสงค์ที่ทำให้หลับก็สบาย และตื่นก็สบายนี้ สำหรับผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งดีแล้ว เวลานอนในขณะที่ขยับตัวก็จะรู้ และหลับต่อลงได้แบบปิดสวิตช์เหมือนเดิม :b30: :b46: :b47: :b46:

อีกทั้งเวลานอน ก็สามารถกำหนดเวลาในการตื่นได้อย่างไม่คลาดเคลื่อนมากเกินไปกว่าบวกลบสิบนาที โดยที่ไม่จำเป็นต้องตั้งนาฬิกาปลุกในทุกเช้าเลยนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพักผ่อนนอนหลับมากมายอะไรด้วย คือแค่วันละ ๔ ถึง ๕ ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วสำหรับฆราวาสในวัยทำงานที่ยังต้องมีภารกิจในการหาเลี้ยงชีพอยู่เป็นประจำทุกวัน (แต่ไม่ใช่การงานที่ต้องฝึกซ้อมมากแบบนักกีฬา หรือออกแรงแบกหามเป็นกรรมกร จนร่างกายต้องการการพักผ่อนมากกว่าอาชีพธรรมดาทั่วไป) :b49: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือเป็นไปได้แม้กระทั่งไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันทั้งคืนตามความหมายถึงการนอนแบบโลกๆ แต่ต้องนอนตามแบบฉบับของพระบรมครูนะครับ คือตถาคตไสยา http://84000.org/tipitaka/read/?21/246 ได้แก่การพักผ่อนในฌาน ๔ ซึ่งมีสติบริสุทธิอยู่ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งจะฝึกได้วิธีหนึ่งด้วยการกำหนดรู้ในรู้ หรือรู้ในจิต ซึ่งตรงตามหัวข้อการปฏิบัติในอานาปานสติ รู้เฉพาะในจิต ไปจนถึงการทำจิตให้ปล่อยอยู่ จิตจะมีสติรู้ชัดอยู่ในรู้อย่างบริสุทธิ์ เบาสบาย ใสกระจ่าง สว่างไสวไปตลอดทั้งคืนยันเช้ามืด โดยไม่มีอาการอดนอนง่วงมึนซึมปรากฏ หลังออกจากการพักผ่อนแบบที่ว่านี้แล้วในวันรุ่งขึ้น :b47: :b48: :b47:

ซึ่งจะทำถึงตรงนี้ได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยอื่นๆอีกที่สนับสนุน เช่น ความชำนาญในการเข้า ทรงอยู่ และออกจากฌาน หรือวสีในฌาน, สัปปายะทั้ง ๗, การฝึกปฏิบัติในศีล ๘ โดยเฉพาะข้ออพรหมจริยา, วิกาลโภชนา, และนัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสนา, ฯลฯ :b47: :b46: :b47:

โดยเฉพาะข้อปฏิบัติในศีล ๘นั้น ผู้ปฏิบัติที่ชำนาญในฌานแล้ว จะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งลึกซึ้งถึงใจเลยนะครับว่า ทำไมพระบรมครูถึงได้กล่าวว่า ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว หรืออริยกันตศีลนั้น ได้แก่ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่แปดเปื้อน .. :b49: :b50: :b49:

และที่สำคัญคือในส่วนท้ายสุดที่ว่า "ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ" ด้วย :b46: :b39: :b46:

ซึ่งวิสุทธิปาละจะพยายามลงรายละเอียดของการปฏิบัติตรงนี้ตามสติปัญญาที่พอจะมี คือการทรงฌานเพื่อการพักผ่อน รวมถึงความสามารถที่จะทรงฌานอยู่ได้ในชีวิตประจำวันอีกทีเมื่อถึงช่วงอธิจิตตสิกขานะครับ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่การฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายในขณะตื่นกันอีกที :b46: :b38: :b37:

ซึ่งถ้าจะว่ากันอย่างคร่าวๆแล้ว ผู้ปฏิบัติจะสามารถฝึกได้ทั้งในขณะใช้ชีวิตประจำวันตามปรกติ ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอนเลยทีเดียว :b47: :b48: :b47:

ไม่ว่าจะในการลุก ในการนั่ง ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้ ในการเหยียด ในการทาน ในการเคี้ยว ในการดื่ม ในการถ่าย ในการพูด ในการนิ่ง ฯลฯ :b49: :b48: :b49:

หรือจงใจฝึกตามเวลาและรูปแบบอิริยาบถที่กำหนด เช่น ในการเดินจงกรม (ที่แปลว่า เดินไปมาโดยมีสติกำกับ) ในการดูลมหายใจ ในการดูท้องพองยุบ ในการเคลื่อนไหวมือตามจังหวะ หรือแม้แต่ในการเล่นโยคะ หรือรำมวยจีนตามท่าที่กำหนดต่างๆ ฯลฯ :b51: :b53: :b51:

ซึ่งการฝึกตามเวลาและรูปแบบอิริยาบถที่กำหนดนั้น ก็จะเป็นการฝึกเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยคุ้นชิน จนลามมาสู่การเกิดขึ้นของสติสัมปชัญญะและอินทรียสังวรเพื่อคุ้มครองจิตได้บ่อยๆ ในกิจกรรมต่างๆของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย นะครับ :b1: :b46: :b39:

และการฝึกตามรูปแบบนี้ สำหรับนักปฏิบัติมือใหม่ ครูบาอาจารย์ท่านมักจะแนะนำให้ฝึกด้วยความ "ช้า" เข้าไว้ก่อนในตอนแรก :b49: :b48: :b49:

เช่น ถ้าจะเดิน ก็เดินให้ช้า ถ้าจะเคลื่อนไหว ก็เคลื่อนไหวให้ช้า ฯลฯ (แต่ในส่วนหายใจ ไม่ต้องช้านะครับ แต่ท่านเปลี่ยนเป็น ให้หายใจยาวแทน ในช่วงแรก) :b51: :b50: :b51:

ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ "ช้า" ในช่วงแรก ก็เพื่อให้เกิดความ "ชัด" :b55: :b54: :b49:

นั่นคือ เพื่อให้เกิดสัมปชัญญะ ที่จะอำนวยการให้จิต รู้ในการเคลื่อนไหวได้ "ชัด" :b51: :b50: :b51:

แต่ถ้าปฏิบัติไปสักระยะ จนแจ้งในความชัดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องช้า :b48: :b49: :b48:

แต่ให้ปฏิบัติตามความเร็วที่ใช้งานเป็นปรกติในชีวิตประจำวันได้เลย :b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2013, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะสติสัมปชัญญะที่ฝึกมาในรูปแบบที่กำหนดตรงนี้ สุดท้ายแล้ว จะเป็นการฝึกที่ต้องนำมาใช้ให้เกิดผลอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องการองค์ของศีลที่เรียกว่า อินทรียสังวร มาคุ้มครองจิต เพื่อให้เกิดสุจริตทางกาย วาจา ใจ มากที่สุด :b46: :b47: :b46:

ดังนั้น สำหรับครูบาอาจารย์วัดป่าแล้ว เวลาเดินจงกรม ท่านจึงใช้ความเร็วในการเดินตามปรกติ แต่ให้มีสติกำกับในทุกขณะ :b47: :b48: :b42:

และการเคลื่อนไหวที่เร็วโดยมีสติกำกับ ก็จะมีอานิสงค์อีกประการก็คือ :b47: :b48: :b42:

สติ จะคุมจิตให้มีสัมปชัญญะ รู้ชัดอยู่กับกิจ โดยที่ไม่เกิดอาการวอกแวกไปหลงคิดฟุ้งได้ง่ายเหมื่อนกับการเคลื่อนไหวช้า ที่จิตมักเผลอให้อาการคิดฟุ้งแทรกได้อยู่เรื่อย :b51: :b50: :b51:

แต่ตรงนี้ก็แล้วแต่จริตของผู้ปฏิบัตินะครับ โดยบทสรุปสุดท้ายจะอยู่ที่ผลของการปฏิบัตินั้นนั่นเอง ก็คือมีสติสัมปชัญญะ รู้เนื้อรู้ตัวดีขึ้น ซึ่งบางท่านเคลื่อนไหวช้าแล้วจิตตามอาการได้ชัด แต่บางท่านต้องใช้การเคลื่อนไหวที่เร็ว ถึงจะทำให้จิตไม่วอกแวก จดจ่ออยู่กับกิจได้ชัดเจน ยาวนาน :b54: :b49: :b48:

และการฝึกสติสัมปชัญญะตามรูปแบบที่กำหนดนั้น ตามประสบการณ์ของวิสุทธิปาละแล้ว การเดินจงกรม จะเป็นการฝึกที่มีอานิสงค์มาก ตามที่พระบรมครูท่านได้กล่าวไว้นะครับ :b48: :b47: :b48:

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหารที่กิน
ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้ง
อยู่ได้นาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=629&Z=635&pagebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร