วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการปฏิบัติในขั้นที่สูงขึ้น จะต้องให้จิตเห็นถึงสภาวะอนิจจัง พ่วงด้วยทุกขังอย่างแจ่มชัดจนเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในผัสสะแห่งกาย (ปสาทรูป) ตัวราคะและปฏิฆะซึ่งผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส จึงจะค่อยๆเบาบางลงจนเข้าสู่ระดับสกทาคามี :b8: :b46: :b46: :b46:

และเมื่อเห็นอนิจจังและทุกขังต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งเพิกถอนความยึดอยากในผัสสะที่ผ่านปสาทรูปได้จนหมดสิ้น นั่นคือในระดับอนาคามีที่จิตจะประกอบด้วยสติและสมาธิเป็นองค์ธรรมตั่งมั่นเด่นดวงอยู่ :b39: :b39: :b39:

ส่วนการปฏิบัติในขั้นปลาย จะต้องให้จิตเห็นถึงสภาวะอนิจจัง ทุกขัง พ่วงด้วยอนัตตาอย่างแจ่มแจ้ง (ซึ่งเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง ก็จะเห็นอีกสองอย่างอย่างแจ่มแจ้งไปด้วย) จนเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นในจิตเองเป็นครั้งสุดท้ายว่า
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนไม่ดับเป็นธรรมดา” :b46: :b46: :b46:

เหมือนเช่นที่ท่านเจ้าคุณนรฯท่านได้กล่าวไว้ว่า
“พระโสดาบันรู้ว่าสิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับ พระอรหันต์รู้ว่า สิ่งใดไม่มีเกิด สิ่งนั้นไม่มีดับ” :b46: :b46: :b46:

เพราะมี “จิตหาประมาณมิได้อยู่” ตามพระสูตรที่ยกมาก่อนหน้า (ข้อความจากอรรถกถาคือ อปฺปมาณเจตโส ความว่า ชื่อว่ามีจิตหาประมาณมิได้ เพราะมีจิตเป็นโลกุตตระอันประมาณมิได้. อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต) :b38: :b37: :b39:

ซึ่งเป็นจิตที่ละความยึดอยากและอุปาทานในตัวขันธ์ ๕ โดยเฉพาะตัวจิตเองจนหมดสิ้น “สลัดคืน” ตัวจิตเองกลับสู่ธรรมชาติ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ในอานาปานสติข้อสุดท้าย ซึ่งพุทธศาสนานิกายเซ็นนำมาใช้เป็นวิธีในการปฏิบัติและนั่งสมาธิที่เรียกว่า ZaZen) จิตสลัดคืนหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ (คือสภาวะที่หลวงปู่ดูลย์ท่านว่า เป็นหนึ่งเดียวรวด) ทำให้ไม่มีการเกิดขึ้นแห่ง (อุปาทาน) ขันธ์ทั้ง ๕, ภพชาติ, ชรามรณะ ฯลฯ และไม่มีการดับแห่ง (อุปาทาน) ขันธ์ทั้ง ๕, ภพชาติ, ชรามรณะ ฯลฯ อีกต่อไป :b39: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 08 พ.ย. 2010, 14:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ คะท่านวิสุทธิปาละ

อยากทราบเหมือนท่านอานาปานา

แต่ขอถามอีกข้อนะคะ เป็นข้อถามในอภิธรรมทางไปรษณีย์

ถามว่าจิตเป็นประธานในธรรมทั้งปวง หมายถึงอะไรคะ

หมายถึงจิตเท่าน้นทำให้เราออกจากอวิชชาได้ใช่ไหมคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:



หากรู้ว่าเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น คืออะไร
ก็ย่อมจะรู้ว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไร ทุกข์ถึงจะไม่เกิด
โดยมิต้องไต่ถามผู้ใดเลยครับ :b45:

ปฏิจจสมุปบาท หากผู้ใดได้เห็น
แสดงว่าผู้นั้นได้พบกับพระพุทธเจ้าองค์ที่แท้จริงแล้วครับ

:b42: ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม :b42:


เมื่อเห็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ก็ย่อมเห็นมรรคหรือข้อปฏิบัติที่จะทำให้ทุกข์ดับ ครับ

เพราะอริยสัจจ์๔
หากเห็นข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ย่อมเห็นอีก๓ข้อที่เหลือครับ
เพราะมันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันครับ

ขึ้นอยู่กับว่าเราเห็นจริงหรือไม่จริงเท่านั้นครับ
รู้จริงหรือรู้ไม่จริงเท่านั้นครับ
สัมมาหรือมิจฉา เป็นอย่างไรกันแน่

หากสัมมาทิฏฐิ มันก็เห็นอริสัจจ์๔ที่แท้จริง
หากมิจฉาทิฏฐิ มันก็เห็นอริสจจ์๔ที่ไม่จริง

เห็นปฏิจจสมุปบาทได้
สักกายะทิฏฐิ มันจะถูกทำลายลงทันที
มันมองไม่เห็นสรรพสิ่งใดๆที่เป็นอัตตาตัวตนเลยสักอย่างเดียว
มันจะมองเห็นว่า ไม่มีจิตวิญญาณใดๆเลยที่เป็นอัตตาตัวตน

การปฏิบัติ(มรรค๘)มันจะสมบูรณ์พร้อมทั้ง๘
ไม่ว่าจะปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่ง
หากข้อหนึ่งข้อใดผิด มันก็จะผิดหมดทั้ง๘ข้อ :b8: ครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 08 พ.ย. 2010, 21:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 22:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

:b8:


เราควรปฏิบัติตาม..มรรค 8 ..อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 ..อย่างไหนก็ได้เลือกเอาตามถนัดครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
ท่านฯพอจะให้รายละเอียดในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์กับท่านจขกท.&พวกเราๆในที่นี้
จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
นิมนต์ค่ะ :b8:
:b6: :b6:
เห็นคำถามแล้วถ้าจะตอบในคืนนี้เพื่อให้ได้รายละเอียด คงไม่ได้พักผ่อนเป็นแน่ครับ ซึ่งคงจะเป็นการทรมานธาตุขันธ์เกินไป :b5: :b5:

ก่อนอื่น ขออนุญาตทำความเข้าใจก่อนสัก ๒-๓ ประการนะครับ :b46: :b46: :b46:

๑) ในพุทธบริษัท ๔ แล้ว ขณะนี้ สมมติบัญญัติของวิสุทธิปาละเป็นอุบาสกครับ ไม่ได้เป็นภิกษุ เลยไม่กล้ารับนิมนต์ :b1: :b46: :b48: :b39:

แต่ถ้าว่าตามพุทธคาถาที่ว่า
“หากบุคคลประดับแล้ว (แต่งกายอย่างคฤหัสถ์) แต่ประพฤติสม่ำเสมอ เป็นผู้สงบ ฝึกตนแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ วางอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว บุคคลนั้นเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ” (ขุ.ธ.ข้อ ๒๐, ธ.อ. ๓/๑๑๓-๑๒๐)
ก็คงครึ่งคฤหัสถ์ครึ่งภิกษุ แต่ก็ยังคงไม่กล้ารับนิมนต์อยู่ดี :b15: :b46: :b41: :b46:

เรียกว่า มาสนทนาธรรมกันแบบเบาๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กันดีกว่าครับ :b37: :b38: :b39:

๒) ถ้าจะเปรียบเทียบกับการบอกทาง รายละเอียดที่พิมพ์มานั้น ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ของการเดินทางส่วนตัว ซึ่งอาจจะไม่ถูกกับจริตของบางท่าน อีกส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์คำสอนของครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณทั้งหลาย ซึ่งในยุคนี้ สามารถศึกษาได้ง่ายขึ้นมากจากทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ นอกเหนือจากการไปกราบท่านถึงที่นะครับ :b8: :b39:

และผู้บอกทาง ก็ไม่สามารถรู้เส้นทางที่จะไปได้ทุกสาย หรืออาจจะมองเห็นเส้นทางแจ่มแจ้งแล้วแต่ยังไปไม่ถึง หรืออาจจะรวบรวมจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ที่เคยไปถึงแล้วมาเล่าสู่กันฟังนะครับ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเคยไปถึงมาแล้วถึงจะมาบอกกันได้ ดังนั้น ผู้อ่านจะต้องใช้โยนิโสมนสิการบนหลักของกาลามสูตร เพื่อลองพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติดู เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง :b41: :b46: :b45: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 09 พ.ย. 2010, 00:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) ส่วนที่พิมพ์มา เป็นการย่อส่วนของเส้นทาง ซึ่งคงไม่สามารถอธิบายลงในรายละเอียดได้ทั้งหมดว่า จะต้องเดินทางอย่างไร ก้าวซ้ายหรือก้าวขวา แล้วจะเจออุปสรรคอะไร และจะต้องแก้ไขอย่างไร ฯลฯ

ซึ่งผู้เดินทางก็เป็นคนละคน เวลาเดินก็คนละเวลา สิ่งแวดล้อมระหว่างทางก็อาจจะเปลี่ยนไป ทำให้พบเจอรายละเอียดบนเส้นทางที่ต่างกันได้

ซึ่งคงต้องขึ้นกับปัญญาความสามารถของแต่ละท่านในการแก้ไขเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเองนะครับ เพราะทางที่จะเดินไปนั้น เป็นทางที่ต้องเดินคนเดียว และต้องเดินไปด้วยตนเองเท่านั้น กัลยาณมิตรเป็นได้เพียงผู้แนะนำเท่านั้น :b4: :b46: :b46:

ส่วนรายละเอียดในทางปฏิบัตินั้น คงจะค่อยๆทยอยลงทั้งในกระทู้นี้ หรือกระทู้อื่นๆตามแต่กาละ และเทศะที่เหมาะสมนะครับ :b48: :b48:

ซึ่งจริงๆแล้ว ยังมีผู้ที่รู้จริงมากกว่า และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติดีๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันด้วยความเอื้ออาทรกับผู้ร่วมเดินทาง บนพื้นฐานของพรหมวิหาร ๔ อีกหลายท่าน ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมลานฯ ได้แนวทางที่หลากหลาย และสามารถเลือกปฏิบัติในแนวทางที่ถูกกับจริตของตนเองได้มากที่สุดด้วยครับ :b8:

พรุ่งนี้ต้องตื่นทำกิจแต่เช้า ขอให้ศึกษาคำแนะนำของกัลยาณมิตรท่านอื่นไปก่อนนะครับ :b47: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ploypet เขียน:
ถามว่าจิตเป็นประธานในธรรมทั้งปวง หมายถึงอะไรคะ
หมายถึงจิตเท่าน้นทำให้เราออกจากอวิชชาได้ใช่ไหมคะ

เช่นกันครับ :b41: :b46: :b46:

เนื่องจากถ้าจะลงรายละเอียด คงใช้เวลาพอสมควร และวิสุทธิปาละเองพิมพ์ (จริงๆใช้นิ้วจิ้มทีละตัว :b15: ) งานได้ช้ามาก :b5: :b5:

ขอทยอยตอบในวันหน้าครับ ลองศึกษาจากผู้รู้ท่านอื่นที่เข้ามาตอบก่อน เผื่อเป็นความรู้ดีๆ วิสุทธิปาละจะได้ช่วยอนุโมทนา :b17: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 19:07
โพสต์: 3

สิ่งที่ชื่นชอบ: ธรรมนำเทรนด์
อายุ: 16

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านวิสุทธิปาละมากๆนะครับ....


ทีทำให้ผมได้รู้ วิธีปฏิบัติตามหลักธรรมของปฏิจสมุปบาท

คือผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ

และขอขอบคุณทุกท่านที่มาตอบกระทู้ผมด้วยนะครับ

..........

.....................................................
สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ - การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
คือผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ

อนุโมทนากับคุณ self-esteem ด้วยครับ ที่ตั้งใจศึกษาธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย :b8:

ตอนวิสุทธิปาละอายุ ๑๖ ยังไม่เคยแม้แต่จะได้ยินคำว่า ปฏิจสมุปบาทเลยนะครับ ได้แต่ทำสมาธิติดสุขติดสงบอยู่มาอีกเป็นสิบปีกว่าจะรู้ถึงคุณค่าของการเจริญสติ และอีกเป็นสิปปี ถึงจะพอรู้พอเข้าใจในปฏิจสมุปบาทได้บ้าง :b41: :b46: :b46:

วัยนี้เป็นวัยที่ต้องใช้ชีวิตด้วยความระวังอย่างมาก ขอให้ปฏิบัติด้วยความมีสติอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องนะครับ

สำหรับคนเมือง ถึงแม้เราจะหาโอกาสออกไปธุดงค์ทางกายในป่า เพื่อให้เห็นกายเห็นใจและเห็นทุกข์อย่างแจ่มแจ้งเหมือนครูบาอาจารย์ท่านได้ยาก แต่มนุษย์เมืองในสมัยปัจจุบันก็สามารถใช้การธุดงค์ทางใจ ฝ่าเข้าไปในสิ่งยั่วเย้าและความบีบคั้นต่างๆที่เข้ามากระทบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพื่อให้เห็นการดิ้นรนทางใจและทางกาย จนถึงเห็นทุกข์จากความบีบคั้นกดดันแบบเมืองๆอย่างแจ่มแจ้ง ได้เหมือนครูบาอาจารย์ท่านเช่นกันนะครับ :b4: :b41: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะเข้าเรื่องของการปฏิบัติโดยใช้ภาษาที่ง่ายขึ้น ขออ้างอิงถึงข้อธรรมภาคปริยัติที่จะมีภาษาบาลีปนอยู่บ้าง เพื่อให้รู้ความหมายและปูพื้นคร่าวๆ และเป็นการสอบทานกลับได้ว่าไม่มีการกล่าวอะไรที่นอกเหนือพระไตรปิฎก ก่อนจะลงท้ายด้วยผลหรือสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากปฏิบัติได้ผลแล้ว เพื่อให้ครบทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (แบบฉบับย่อ) นะครับ :b1: :b46: :b46: :b41:

การที่ให้ความสำคัญกับภาคปริยัติ เนื่องมาจากประสบการณ์ที่พบด้วยตนเองว่า จริงๆแล้วภาคปริยัตินั้นก็คือบทสรุปแนวทางของภาคปฏิบัติ และคำอธิบายสภาวะที่เกิดขึ้นจริงของภาคปฏิเวธนั่นเอง :b39: :b39:

ยิ่งปฏิบัติมากขึ้นไปเรื่อยๆจะยิ่งพบว่า องค์ธรรมและขั้นตอนการปฏิบัติที่สำคัญต่างๆ รวมถึงสภาวะที่พบเจอทั้งหมดนั้น จริงๆแล้วได้ถูกระบุอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆแล้วทั้งหมด เพียงแต่คำบาลีบางคำพึ่งจะมารู้ความหมายอย่างลึกซึ้งถึงใจ ต่อเมื่อปฏิบัติไปจนถึงจุดหนึ่งจนรู้แจ้งด้วยตนเองแล้วจริงๆเท่านั้น :b45: :b45: :b46:

ดังนั้น จากประสบการณ์ส่วนตัวจึงรู้ได้ว่า พระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆ (เฉพาะในส่วนที่ได้ปฏิบัติผ่านมาแล้วนะครับ) ได้ถูกบันทึกขึ้นอย่างเป็นระบบจากการบอกเล่าที่มาจากประสบการณ์จริงของพระพุทธองค์เอง รวมถึงพระอัครสาวก และสาวกรุ่นหลัง :b46: :b46: :b48:

เพียงแต่ถูกบันทึกด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย และถูกแปลด้วยสำนวนที่เราไม่คุ้นเคยเท่านั้น จึงทำให้รู้สึกว่าการศึกษาภาคปริยัตินั้นยากและน่าเบื่อหน่าย :b12: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเริ่มด้วยข้อธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งการหลุดพ้นนะครับ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ :b38: :b37: :b39:

ประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปทาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรค ๘

ซึ่งหลวงพ่ออำนาจ โอภาโส ผาซ่อนแก้ว เพชรบูรณ์ ท่านได้ฝากเบอร์โทรสายด่วนพระนิพพานให้จำกันง่ายๆคือ ๔๔๔-๕๕๗๘ :b8: :b4: :b39:

ซึ่งข้อธรรมทุกหมวด มีการซ้ำในหัวข้อย่อยบ้าง เนื่องจากต่างกันในแง่ของการนำไปใช้ หรือตามหน้าที่ที่ทำ เช่น อินทรีย์ ๕ หัวข้อเหมือนกับพละ ๕ ทุกประการ แต่ต่างกันที่ พละ ๕ มีหน้าที่ในเชิงป้องกัน (เหมือนทีม Defensive ในอเมริกันฟุตบอล) ส่วนอินทรีย์ ๕ มีหน้าที่ในการรุกไล่องค์ธรรมที่ตรงกันข้ามของแต่ละอย่าง (เหมือนทีม Offensive ในอเมริกันฟุตบอล) :b4: :b39: :b41:

ซึ่งผู้ปฏิบัติ จะต้องบ่มเพาะธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ให้เข้มแข็งอยู่ในจิตใจ เพื่อที่จะใช้เป็นกำลังในการเดินทางฝ่าฟันและกำจัดกิเลสทีละด่านจนถึงที่สุดแห่งการหลุดพ้น :b8: :b41:

ถึงจุดนี้ ผู้ที่ชอบของง่ายอาจจะเริ่มท้อแล้วว่า ทำไมมันเยอะจัง (ฟ๊ะ !!) ของ่ายๆและน้อยข้อกว่านี้ไม่ได้เหรอ ? :b6: :b6: :b5: :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัดให้ครับ จริงๆแล้วทั้ง ๓๗ ประการนั้นสามารถรวมลงได้ในมรรคมีองค์ ๘ คือ :b39: :b39:

สัมมาทิฏฐิ คือ ฉันทะ, ศรัทธา, ปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ วิมังสา, ปัญญา, ธัมมวิจยะ
สัมมาวายามะ คือ สัมมัปปทาน ๔, วิริยะ
สัมมาสติ คือ สติปัฏฐาน ๔, สติ
สัมมาสมาธิ คือ จิตตะ, สมาธิ, ปิติ, ปัสสัทธิ, อุเบกขา
ส่วนสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะนั้น ต้องมีทุกข้อปนอยู่ด้วย เพราะเป็นการกระทำส่วนที่ต่อเชื่อมสู่ภายนอก :b41: :b46: :b46:

แต่สำหรับคนที่ยังคิดว่ามากอยู่ พระพุทธเจ้าท่านได้ย่อมรรคทั้ง ๘ ข้อลงมาเหลือเพียง ๓ ข้อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา :b8: :b39: :b39:

เวลาออกเดินทางเพื่อรบกับกิเลส ศีล เปรียบเสมือนโล่ที่คอยไว้ป้องกันกิเลสทำร้าย ซึ่งคุณสมบัติของโล่ คือเอาไว้ป้องกันอย่างเดียว ไม่สามารถกำจัดกิเลสให้ขาดไปได้ แต่ก็ขาดเสียมิได้ เพราะการป้องกันตนจะอ่อนด้อยลงและเสียท่ากิเลสได้โดยง่าย :b41: :b46:

ส่วนปัญญา เปรียบเสมือนดาบ ซึ่งเอาไว้ใช้ทั้งป้องกัน และประหารกิเลสให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง :b34: :b34:

โดยทั้งโล่และดาบ จะต้องมีสมาธิ ซึ่งเปรียบได้กับแขนที่แข็งแรง คอยถือโล่และออกแรงฟันดาบ รวมทั้งต้องมีสติ ซึ่งเปรียบเสมือนตา ที่ให้เห็นกิเลสที่โจมตีเข้ามา เพื่อที่จะใช้แขน ยกโล่และฟันดาบให้ตรงทิศตรงทางของกิเลสนั้นๆ :b39: :b43: :b44:

ถ้าตา (สติ) พร่ามัวหรือหลงไปมองอย่างอื่น ก็ไม่สามารถเห็นกิเลสที่เข้ามาได้ทันที่จะยกโล่หรือดาบขึ้นป้องกันได้ หรือถ้าจะรุก ก็ไม่สามารถฟันดาบลงไปให้ตรงถูกตัวกิเลสได้ :b41: :b46: :b46:

และถ้าแขน (สมาธิ) อ่อนแรง ก็ไม่สามารถถือโล่ (ศีล) ได้มั่นคง การป้องกันกิเลสก็จะอ่อนด้อย เมื่อกิเลสมากระทบก็จะเสียท่าได้โดยง่าย หรือในแง่ของการบุก ก็จะไม่มีกำลังในการใช้ดาบ (ปัญญา) ฟันกิเลสให้ขาดลงไปได้เช่นกัน :b37: :b38: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 10 พ.ย. 2010, 00:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
ขอเริ่มด้วยข้อธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งการหลุดพ้นนะครับ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ :b38: :b37: :b39:

ประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปทาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรค ๘
:

self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ?
ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว
เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:

self-esteem เขียน:
ขอบคุณท่านวิสุทธิปาละมากๆนะครับ....
ทีทำให้ผมได้รู้ วิธีปฏิบัติตามหลักธรรมของปฏิจสมุปบาท
คือผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ
และขอขอบคุณทุกท่านที่มาตอบกระทู้ผมด้วยนะครับ
..........

ผมขอแสดงความเห็นหน่อยครับท่าน วิสุทธิปาละ
ผมดูการแสดงความเห็นหรือช่วยสอนธรรมให้กับน้องเขามันก็ดีอยู่ครับ
แต่ผมว่าท่านไม่ลองพิจารณา ถึงระดับการรับรู้ของผู้ที่รับคำสอนของท่านว่า
ควรให้แค่ไหนอย่างไรหรือไม่ครับ

ผมว่า..อธิบายแค่อริยสัจจ์สี่ก็พอแล้วครับ
เดี๋ยวก็หลงทั้งคนสอนและคนฟังครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
ผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ


ยามเยาว์เห็นโลกล้วน แสนสนุก
เป็นหนุ่มสาวก็หลงสุข ค่ำเช้า
กลางคนเริ่มเห็นทุกข์ สุขคู่กันนอ
ตกแก่จึงรู้เค้า ว่าล้วนอนิจจัง

อายุน้อง...อยู่ในวัยหนุ่มสาว น่าจะเที่ยวสนุกสนานกับเพื่อนฝูงไปตามวัยตามเรื่อง แต่ทำไมน้อง self esteem จึงสนใจเรื่องของคนวัยกลางคนวัยชราภาพล่ะ มีอะไรคิดยังไงครับเนี่ย :b1: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมดูการแสดงความเห็นหรือช่วยสอนธรรมให้กับน้องเขามันก็ดีอยู่ครับ

ขอบคุณครับ :b8:

อ้างคำพูด:
แต่ผมว่าท่านไม่ลองพิจารณา ถึงระดับการรับรู้ของผู้ที่รับคำสอนของท่านว่า
ควรให้แค่ไหนอย่างไรหรือไม่ครับ

ผมว่า..อธิบายแค่อริยสัจจ์สี่ก็พอแล้วครับ

ขอขอบคุณครับที่สะกิดมา :b8: :b46: :b46: :b46:

ขอชี้แจงสักเล็กน้อยครับ :b38: :b37: :b39:

๑) ผู้ที่ต้องการสนทนาธรรมในประเด็นนี้ นอกจากคุณ self-esteem แล้ว ยังมีคุณ อานาปานา และคุณ ploypet รวมทั้งอาจจะมีท่านอื่นๆในลานฯ ซึ่งเดาจากข้อความในกระทู้ต่างๆของแต่ละท่าน เข้าใจว่าน่าจะมีระดับความรู้ทางธรรมที่สูงพอสมควร :b1: :b39: :b53: :b46:

๒) สำหรับคุณ self-esteem ถึงแม้จะแจ้งว่าอายุเพียง ๑๖ แต่ถามคำถามในเรื่องที่เกี่ยวกับปฏิจสมุปบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า น่าจะมีระดับความรู้ทางธรรมที่สูงพอสมควร วัยรุ่นที่สะสมต้นทุนมามากพอก็น่าจะยังมีอยู่ และน่าอนุโมทนาครับ :b8: :b47: :b46:

๓) แต่ถ้ามีหัวข้อใดที่คุณ self-esteem ยังไม่รู้ ก็จะได้รู้ข้อธรรมในสิ่งที่ยังไม่รู้ และสอบถามเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางประเด็น อาจจะเป็นคำถามที่ดี และมีกัลยาณมิตรท่านอื่นในลานฯตอบได้แจ่มแจ้งกว่าวิสุทธิปาละครับ :b1: :b41: :b46:

๔) สิ่งที่กำลังสื่อคือมรรค ๘ ก็คือหัวข้อหนึ่งในอริยสัจจ์ ๔ นั่นเองครับ แต่เนื่องจากผู้ที่สนใจร่วมสนทนาทั้ง ๓ ถามมาในภาคปฏิบัติ จึงต้องโฟกัสลงไปในภาคปฏิบัติของอริยสัจจ์ ๔ คือมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหลายรูปแบบ เช่น โพธิปักขิยธรรม ๓๗, ไตรสิกขา, ฯลฯ และสิ่งที่จะพิมพ์เพิ่มเติมต่อไป ก็จะเกี่ยวเนื่องกับอริยสัจจ์ ๔ ทังหมดครับ เพราะอริยสัจจ์ ๔ นั้น เปรียบเหมือนกับรอยเท้าช้าง ที่รอยเท้าสัตว์อื่นๆ (กุศลธรรมอื่นๆ) ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้างได้ ตามที่ปรากฏในมหาหัตถิปโทปมสูตรครับ :b41: :b46: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร