วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 08:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับการฝึกสติในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ฝึกใหม่ๆแล้ว อาจจะต้องเกิดอาการกลัวหรือโกรธขึ้นเสียก่อน สติ ถึงจะ detect ได้ :b46: :b42: :b46:

ซึ่งต่างกับผู้ที่ฝึกสติในเบื้องต้นจนชำนาญ หรือเริ่มเข้ามาการฝึกรู้ลงในรู้ ซึ่งถ้ามีสติสมาธิที่เข้มแข็งแล้ว จิตที่ "รู้ในรู้" นิ่งเฉยอยู่ จะรู้ได้ในอาการ "ก่อนกลัว" หรือ "ก่อนโกรธ" คือ จิตกระทบอารมณ์ เกิดผัสสะแบบวิเวกวังเวง หรือกระทบอารมณ์ไม่ชอบใจที่รุนแรง และเกิดอาการคิดฟุ้ง
:b47: :b46: :b41:

คือรู้ได้ในอาการว่า จิตเริ่มมีผัสสะวิเวกวังเวง หรือผัสสะที่ไม่ชอบใจ จนเริ่มขยับออกจากการ "นิ่งรู้" นั้น เพื่อไปคิดฟุ้ง ก่อนที่อาการกลัว หรือโกรธ จะเกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:

ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ปฏิบัติ มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในระดับไหนของการฝึก และอารมณ์ที่เข้ามาผัสสะกระทบจนเกิดกิเลสกลัว หรือโกรธขึ้นนั้น ค่อยๆเกิดขึ้นหรือเกิดปุ๊ปปั๊ปกระทันหัน บวกกับการที่จิต มีการเสพจนคุ้นชินในกิเลสตัณหา สะสมเป็นอาสวะอนุสัยหนาแน่นแล้วในระดับใด :b1: :b46: :b39:

(พูดถึงอกุศลก่อนนะครับ ซึ่งในแง่ของกุศลที่สะสมเป็นบารมี ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน) :b49: :b50: :b49:

เช่น ถ้าจิตที่ไม่ได้ถูกฝึกให้มีสติสมาธิที่ดีพอ สำหรับผัสสะเวทนาบางอย่างที่จิตเสพจนคุ้นชินแล้ว เมื่อเกิดผัสสะแบบปุ๊ปปั๊ป ก็จะไม่สามารถสังเกตเห็นความคิดฟุ้งที่ผุดแทรกขึ้นมาก่อน :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือวงจรปฏิจจฯ ชุดแรกเกิดให้รู้ในผัสสะเวทนาปั๊ป ไม่ทันได้เห็นอาการคิดฟุ้งจากสัญญา (มโนสัญญเจตนา ที่นำไปสู่ ปปัญจสัญญา) ในวงจรที่ตามต่อมา แต่เห็นการเกิดของตัณหาหรือทุกข์ในวงจรที่ตามต่อเลย :b5: :b5:

เช่น ถ้าเป็นคนมักโกรธ เมื่อโดนขับรถปาดหน้าแล้ว ก็จะมีความไม่พอใจขึ้นมาทันที, ถ้าเป็นคนขี้ตกใจ เมื่อได้ยินเสียงระเบิดแล้ว ก็จะสะดุ้งตกใจทันที, หรือถ้าเป็นคนขี้กลัว เมื่อเห็นภัยอันตรายฉุกเฉินต่อหน้าแล้ว ก็จะหวาดกลัวทันที ฯลฯ เป็นต้น :b46: :b42: :b41:

แต่ผู้ที่ฝึกสติ "รู้ลงในรู้" จนจิตคุ้นชินในอาการ "ตั้งมั่นรู้" นั้นแล้ว :b1: :b46: :b39:

แม้จะมีคนขับรถปาดหน้า, หรือมีเสียงระเบิดเกิดขึ้นข้างๆ, หรือเห็นภัยอันตรายฉุกเฉินต่อหน้า
:b46: :b47: :b46:

จิตก็จะรู้ได้ทันในผัสสะ และการตีความถึงอันตรายที่จะเกิด :b46: :b39: :b46:

และเมื่อจิตตามทันในผัสสะ และการตีความถึงอันตรายที่จะเกิด :b46: :b47: :b46:

จิตก็จะไม่กระเพื่อม สะดุ้งหวาดกลัว
:b46: :b39: :b46:

(แต่ก็ alert หรือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อยู่ ถ้าต้องเบรคก่อนชน หรือกระโดดหลบก่อนเกิดอันตราย ก็จะเบรคหรือกระโดดหลบด้วยความมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ไม่ใช่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร) :b47: :b48: :b47:

หรือถ้ายังฝึกมาไม่ดี ยังมีอาการกระเพื่อม ขุ่นมัว หรือสะดุ้งหวาดกลัวอยู่บ้าง :b46: :b39: :b46:

อาการกระเพื่อม ขุ่นมัว หรือสะดุ้งหวาดกลัวนั้น ก็จะเกิดไม่มาก และกลับสู่ความสงบ ตั้งมั่นรู้ได้เร็ว เป็นอัตโนมัตินะครับ :b42: :b47: :b48:

แล้วมาต่อกันในอีกสองพระสูตร ที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกสติสัมปชัญญะ เพื่อฝึก "รู้ลงในรู้" คราวหน้า :b1: :b46: :b39: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 10:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ.... :b8:

ปฏิจจะ...เกิดกับเราตลอด....ภพเก่าใหม่ก็เกิดตลอดเช่นกัน

ขออนุญาติเรียก....ความรู้สึกเดิม ๆ...ความชอบไม่ชอบ...ความขุ่นเคืองยินดีเก่า ๆ...ว่า...ภพ....เรียกตามความรู้สึกนะครับ..อาจจะไม่ตรงตามหลักการก็ขออภัย

หากมีเหตุการณ์กระทบกระทั้งกันกับ..ใครคนหนึ่ง...เกิดความรู้สึกไม่ชอบ..เกลียด..ขึ้นมา...แล้วเราก็ท่องว่า....ชั่งมันเถอะ...ทำงานต่อไป..

มาวันหลัง.....มองเห็นเขาแต่ไกลกำลังเดินมาทางเรา....เราเริ่มรู้สึกอึดอัดอยากจะเปลี่ยนไปทางอื่น....ภพเก่าสำแดงเดชแล้ว

จะผัสสะกี่ครั้ง....เวทนาที่เกิด...ก็ล้วนเอนเอียงไปทางภพเก่าอันนั้น

หากไม่มีภพเก่าอันนั้น......เวทนาที่จะสนับสนุนให้ภพนั่นดำรงอยู่....ก็ไม่มี

ล้างภพเก่า..ทำอย่างไร?.....ใช้ความเพียรชอบข้อ...ปหานปทาน...ถามจิตให้จิตตอบ...จิตแม้จะอวิชชาก็ต้องการเหตุผล...ถามจนมันตอบไม่ได้...ถามจนมันยอม....ถ้ามันลงจริง...ยอมจริง....เมื่อเจอหน้าคนที่เราไม่ชอบอีก...ก็เหมือนว่า...เหตุการณ์ที่กระทบกระทั้งกันนั้นไม่เคยเกิด....นี้คือข้อสังเกตุของผมนะ

ที่นี้...ก็ลองไปสังเกตุตัวเองดู

เมื่อเรามีสังวรปทาน...ภพใหม่ไม่เกิดแล้ว....ภพเก่า ๆ ...ก็ลองปหานดู....

อิอิ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สาธุ.... :b8:

ปฏิจจะ...เกิดกับเราตลอด....ภพเก่าใหม่ก็เกิดตลอดเช่นกัน

ขออนุญาติเรียก....ความรู้สึกเดิม ๆ...ความชอบไม่ชอบ...ความขุ่นเคืองยินดีเก่า ๆ...ว่า...ภพ....เรียกตามความรู้สึกนะครับ..อาจจะไม่ตรงตามหลักการก็ขออภัย

หากมีเหตุการณ์กระทบกระทั้งกันกับ..ใครคนหนึ่ง...เกิดความรู้สึกไม่ชอบ..เกลียด..ขึ้นมา...แล้วเราก็ท่องว่า....ชั่งมันเถอะ...ทำงานต่อไป..

มาวันหลัง.....มองเห็นเขาแต่ไกลกำลังเดินมาทางเรา....เราเริ่มรู้สึกอึดอัดอยากจะเปลี่ยนไปทางอื่น....ภพเก่าสำแดงเดชแล้ว

จะผัสสะกี่ครั้ง....เวทนาที่เกิด...ก็ล้วนเอนเอียงไปทางภพเก่าอันนั้น

หากไม่มีภพเก่าอันนั้น......เวทนาที่จะสนับสนุนให้ภพนั่นดำรงอยู่....ก็ไม่มี

ล้างภพเก่า..ทำอย่างไร?.....ใช้ความเพียรชอบข้อ...ปหานปทาน...ถามจิตให้จิตตอบ...จิตแม้จะอวิชชาก็ต้องการเหตุผล...ถามจนมันตอบไม่ได้...ถามจนมันยอม....ถ้ามันลงจริง...ยอมจริง....เมื่อเจอหน้าคนที่เราไม่ชอบอีก...ก็เหมือนว่า...เหตุการณ์ที่กระทบกระทั้งกันนั้นไม่เคยเกิด....นี้คือข้อสังเกตุของผมนะ

ที่นี้...ก็ลองไปสังเกตุตัวเองดู

เมื่อเรามีสังวรปทาน...ภพใหม่ไม่เกิดแล้ว....ภพเก่า ๆ ...ก็ลองปหานดู....

อิอิ...


โหย อ๊บซ์ อ๊บซ์ ใช้ศัพท์ซะเอกอนงง

ปหาน ปหานปทาน สังวรปหาน คือรัย :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 19:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ.... :b32: :b32: :b32:

แก้ให้หน่อยดิ.... :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 19:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อิอิ.... :b32: :b32: :b32:

แก้ให้หน่อยดิ.... :b12: :b12:


เอ้า :b10:

แน๊ะ มาย้อนถาม คนถาม :b6: :b10: :b10:

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 19:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุกับการแบ่งปันประสบการณ์ปฏิบัติของมิตรทางธรรมด้วยครับ :b8: :b46: :b39:

นึกอะไรขึ้นได้ ขออนุญาตแทรกข้อความไว้ก่อน เผื่อใครนำไปปฏิบัติแล้วอาจจะสุ่มเสี่ยงอันตราย :b46: :b39: :b46:

จากคราวที่แล้วที่เล่าถึงการฝึกปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ความกลัว ซึ่งพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านมักใช้วิธีเดินธุดงค์เข้าป่า เพื่อศึกษากายใจ :b46: :b44: :b39:

แต่สำหรับชาวเมืองที่ต้องทำมาหากินด้วยแล้ว การหาทั้ง เวลา และ ป่า เพื่อเดินธุดงค์เหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์ท่าน คงทำได้ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง :b47: :b46: :b47:

ซึ่งจากประสบการณ์ที่วิสุทธิปาละนำมาแชร์มิตรทางธรรมกันนั้น ก็คือการอาศัยจังหวะที่ไปเที่ยวป่าเที่ยวธรรมชาติ ก็ให้นักปฏิบัติใช้โอกาสใช้เวลาสำหรับค้นหาศึกษากายใจ ออกไปเรียนรู้ความกลัวที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองในเวลาเย็นย่ำค่ำคืนที่ดึกดื่นมืดมิด แทนที่จะตกค่ำร่ำสุรา หรือมัวแต่สรวลเสเฮฮา ร้องรำทำเพลงกัน :b46: :b39: :b46:

แต่ตรงนี้ ขอเน้นย้ำเพิ่มเติมว่า ต้องพิจารณาหาทางเพื่อเซฟตัวเองด้วยนะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:

คือต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัย ทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น โรคประจำตัว ความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ และปัจจัยภายนอก เช่น หลุมบ่อหุบเหว งูเงี้ยวเขี้ยวขอ สัตว์ร้าย หรือเหล่ามิจฉาชีพทั้งหลายที่อาจจะซุ่มซ่อนอยู่ในที่มืด :b47: :b48: :b49:

โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติเพศหญิง ที่แม้แต่พระบรมครูยังทรงตั้งเป็นกฏไว้สำหรับภิกษุณีว่า ไม่ให้เดินทางธุดงค์ หรืออาศัยค้างคืนเพียงรูปเดียว ซึ่งถ้าละเมิด มีโทษอาบัติหนักถึงขั้นสังฆาทิเสสเลยทีเดียว (หรืออย่างเบาก็ปาจิตตีย์) :b46: :b42: :b41:

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=559&Z=687&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=3920&Z=3957&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=3958&Z=3995&pagebreak=0


ซึ่งการพิจารณาความกลัวที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติในยามค่ำคืนนี้ ถึงจุดหนึ่งเมื่อจิต "เห็น" ความกลัว "ดับหายไปต่อหน้าต่อตา" จนสัมผัสได้ถึงสภาพจิตที่ตั้งมั่น รู้ธรรมชาติรอบตัวอย่างเป็นกลางแล้ว :b46: :b39: :b46:

เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะสัมผัสได้ถึงจิตที่ประภัสสร สว่าง สงบ เบิกบาน อยู่ภายใต้ธรรมชาติที่มืดมิดนั้นเอง :b1: :b39: :b39:

และยิ่งถ้าวันนั้นเป็นคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ก็จะยิ่งสัมผัสได้ถึงสภาวะแห่งความสว่าง สงบ เบิกบาน ควรค่าแก่การงานอย่างถึงที่สุด จนผู้ปฏิบัติหมดความสงสัยได้เองเลยว่า ทำไมบรรยากาศในคืนวันเพ็ญ ถึงได้มีความสำคัญยิ่งต่อการตรัสรู้ของพระพุทธองค์และเหล่าสาวกผู้รู้ตามทั้งหลาย ที่แม้ฟังพระบรมครูเทศน์สั่งสอนเพียงแค่กัณฑ์เดียว ก็สามารถรู้ธรรมตามพระองค์ได้อย่างมากมาย ด้วยสภาวะของจิตใจที่สว่าง สงบ เบิกบาน ควรค่าแก่การงานอย่างถึงที่สุดในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง :b46: :b42: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 28 พ.ย. 2012, 23:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในยามค่ำคืน เมื่อยืนอยู่บนยอดเขา มองดูพระจันทร์ที่สุกสว่างกลางท้องฟ้าที่กระจ่างใส ไร้เมฆบดบังในคืนวันเพ็ญ ..

หรือในยามเช้า เมื่อยืนอยู่บนยอดดอย มองลงมาบนม่านไอทะเลหมอกที่สวยงาม ..

ฉันพบความจริงอย่างหนึ่งว่า ไม่ใช่พระจันทร์ ภูเขา หรือทะเลหมอกหรอกที่สวยงาม ..

แต่เป็นใจที่เบิกบาน เป็นอิสระ สงบ ตั้งมั่น ปราศจากกิเลสนั้นต่างหาก ที่สวยงาม ..

และด้วยใจที่มีลักษณะเดียวกันนี้ แม้จะเดินฝ่าเข้าไปในสลัมที่อยู่กลางดงน้ำคร่ำ หรือธุดงค์ไปในค่ำคืนป่าเขาอันวิเวกวังเวง มืดมิด ..

ใจนั้นก็ยังคงเป็นใจที่สวยงาม ให้เจ้าของใจรู้สึกอยู่ได้ ..

แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ใจที่สวยงามที่สุด ปราณีตที่สุดอยู่ดี ..

เพราะใจที่สวยงามที่สุด ปราณีตที่สุด กลับเป็นใจที่ไม่ติดเพลิน ไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของความสวยงามในภายใน ..

หรือแม้กระทั่งไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของใจนั้นเอง ที่สงบนิ่ง เบิกบาน เป็นอิสระอย่างยิ่ง แม้กระทั่งเป็นอิสระจากใจนั้น ที่แผ่สภาพรู้ออกไปอย่างไม่มีเขตแดน กว้างขวาง ไม่มีประมาณ ร่วมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งหลายอยู่ในขณะนั้น นั่นเอง ..

"อุทานธรรม"








เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2013, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึ่งสวดมนต์ นั่งสมาธิเสร็จมาครับ :b8:

ปีใหม่นี้ ขอให้ทุกท่าน มีกำลังกายกำลังใจ กำลังสติสัมปชัญญะ กำลังสมาธิ และกำลังของปัญญาที่เต็มพร้อมสมบูรณ์ ในการเพียรปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปในปีใหม่ ๒๕๕๖ นี้ด้วยครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2013, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ tongue :b45: คุนน้องเข้ามาอ่านตลอดเลยนะ :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สาธุค่ะ tongue :b45: คุนน้องเข้ามาอ่านตลอดเลยนะ :b27:


สาธุอนุโมทามิครับ :b8:

ถ้าสิ่งที่พยายามเรียบเรียงขึ้นมา เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา โดยมีเหตุปัจจัยชักนำมาจากคำถามของคุณ self-esteem เจ้าของกระทู้ กับคุณอานาปานา และคุณ ploypet ในคราวนี้ (ถึงแม้ว่าทั้งสามท่าน จะยังเข้ามาอ่านอยู่หรือไม่ก็ตาม) ยังพอมีประโยชน์กับมิตรทางธรรมท่านอื่นๆในแง่ของการปฏิบัติอยู่บ้าง :b8: :b46: :b39: :b46:

ก็ถือได้ว่า บรรลุจุดประสงค์ของความพยายามในการเรียบเรียงขึ้นมาในครั้งนี้แล้วครับ และขออนุโมทนาบุญกับทั้งสามท่านที่เอ่ยนามข้างต้น รวมถึงมิตรทางธรรมทุกท่าน ในสิ่งที่อาจจะได้จากข้อเขียน ที่พยายามเรียบเรียงขึ้นมานี้ด้วยนะครับ :b8: :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อในข้อธรรมกันครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

ขอสรุปข้อความจากพระสูตรที่แล้วในส่วนที่เนื่องกับภาคปฏิบัติ ก็คือการหมั่นโยนิโสมนสิการในสภาวธรรมต่างๆจนเกิดความจำได้หมายรู้ในอาการของสภาวธรรม และเหตุใกล้ ปัจจัยก่อนหน้า จนเป็นสัญญาที่มั่นคง :b51: :b50: :b49:

และเมื่อเกิดสภาวธรรมนั้นๆ .. โดยเฉพาะเหตุใกล้ ปัจจัยก่อนหน้า ของสภาวธรรมนั้นๆขึ้นมาอีก ก็จะเกิดสติสัมปชัญญะ "ระลึกรู้" และ "รู้ได้ชัด" ในสภาวธรรมได้โดยไว .. :b54: :b49: :b48:

ตั้งแต่สามารถ "ตามรู้ทัน" ไล่กวดกระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ จน "รู้เท่าทัน" ในสภาวธรรมนั้นๆ ย้อนทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท เข้าสู่ธาตุรู้ คือการรู้ซื่อๆ รู้สักว่ารู้ ในทุกผัสสะเวทนาที่เกิดขึ้น และหยุดอาการรู้อยู่แค่รู้ :b47: :b48: :b46:

คือรู้ลงในผัสสะเวทนา โดยไม่มีตัณหาคือความยินดี (อภิชฌา) หรือยินร้าย (โทมนัส) เกิดขึ้น :b48: :b49: :b50:

คราวนี้ก็มีคำถามที่น่าสนใจสำหรับการปฏิบัติต่อว่า ที่ว่าโยนิโสฯ โยนิโสฯ นั้น แล้วเราจะโยนิโสฯในอะไร :b46: :b47: :b46:

สิ่งที่จะโยนิโสฯ เพื่อให้เกิดปัญญาในทางธรรมเพื่อรู้เท่าทันโลกแล้วนั้น ก็คือ การโยนิโสฯ ลงในวิปัสสนาภูมิ ๖ อันได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจจ์ ๔, และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ :b49: :b50: :b48:

สำหรับผู้มาใหม่แล้ว อย่าพึ่งตกใจไปนะครับ วิปัสสนาภูมิทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ถ้าจะว่าโดยย่อเพื่อให้ปฏิบัติง่าย ก็คือการโยนิโสฯ พิจารณาโดยแยบคาย ลงในรูป - นาม หรือ กาย - ใจนี้ นั่นเอง :b1: :b46: :b39:

ซึ่งความเพียรในการโยนิโสฯ (๑) "ลงที่กาย" (หรือในรูป) และ (๒) "ลงที่ใจ" (หรือในนาม) ที่ได้ จะเป็นอาหารปัจจัย สำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะ :b42: :b46: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยมีหลักการฝึกก็คือ การพิจารณา

(๑) การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของรูป ซึ่งได้แก่ อาการต่างๆของกาย - วาจา ด้วยจิตที่ตั้งมั่น แยกรู้อาการของกาย - วาจา โดยรู้ลงที่ใจ :b48: :b49: :b48:

และ

(๒) การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของนาม ซึ่งได้แก่ อาการต่างๆของใจ (คือ เวทนา สัญญา สังขาร รวมเรียกว่า เจตสิก) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น แยกรู้อาการเฉพาะต่างๆ โดยรู้ลงที่ใจ :b48: :b49: :b48:

โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ วิธีตามพุทธพจน์ที่จะยกมาให้ได้ศึกษาปฏิบัติกันนะครับ ก็คือ

(๑) การฝึกรู้ลงในการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของกาย - วาจา กับ
(๒) การฝึกรู้ลงในการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของใจ ซึ่งจะเห็นได้ชัดในสมาธิภาวนา

ขอยกเอาพุทธพจน์ขึ้นมาตั้งไว้ก่อน แล้วจะค่อยๆแจกแจงรายละเอียดการปฏิบัติทีหลัง นะครับ

เริ่มจากพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับการเจริญสิตสัมปชัญญะด้วยการรู้กาย

[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.


สามัญญผลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0 และที่อื่นๆอีกมาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับการเจริญสติสัมปชัญญะโดยการฝึกรู้ใจ :b1: :b46: :b39: :b46:

(โดยองค์พระสารีบุตรท่านได้นำพุทธพจน์มาแจกแจงไว้เป็นหมวดๆ ซึ่งตรงที่ยกมานี้ อยู่ในธรรมะหมวด ๔ ของสังคีติสูตร) :b48: :b49: :b48:

[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ...

... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอัน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ
สัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่
ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ


สังคีติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/?11/233


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร