วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 13:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ในวงปฏิจจสมุทบาททั้งสิบสองถ้าเราจะดับทุกข์
เราจะดับอะไรตัวไหนอย่างไรเอาแบบเน้นๆเรียงลำดับ ที่ท่านยกมายังไม่เข้าใจครับ

วงปฏิจจสมุปบาท เราจะเลือกดับอะไร..ตัวไหนอย่างไร..ไม่ได้เลย
มีเเต่...จิต..เท่านั้น ที่สามารถจะตัดวงปฏิจจฯได้

แค่ฝากความเห็นนะครับ..

จะว่าเลือกดับ..ก็คงไม่ใช่ซะทีเดียว..แต่เป็นความถนัดมากกว่ามั้งครับ..
บางที..เวทนาเกิด..ตัณหาเกิด..แต่ปล่อย..ก่อนที่จะอุปทาน..อันนี้ภพก็ไม่เกิด
บางที..เวทนาเกิด..แล้วใช้ปัญญา..ตัณหาก็ไม่เกิด...ภพก็ย่อมไม่เกิดเช่นกัน
แต่ทั้งหมดนี้..จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีวิชชา..ดับความหลงอยู่ก่อนแล้ว

บางที..แม้อวิชชาคือความโง่ยังมีอยู่..แต่ใช้สติ..ก็อาจจะระงับเป็นบางครั้งบางคราวได้

เช่น..วิญญาณเกิด...สัญญาเกิด..สติทัน..เวทนาอาจไม่เกิดได้..ภพก็คงไม่เกิด(เฉพาะครั้งนี้)
บางที..วิญญาณเกิด..สติทัน..สัญญาไม่เกิด..แต่ภพ..ไม่รู้ว่าจะเกิดไหม..อาจเป็นพรหมก็ได้??

อ้างคำพูด:
เช่น ตาเห็นรูป รู้สึกไม่พอใจ เผลอเหน็บเขาไปเเล้ว...นึกขึ้นมาได้...อุ๊ย!เผลอ (เเต่เหน็บไปเเล้ว)
จบไปเเล้ว ๑ วงปฏิจจฯ พอเห็นมั้ยว่า...เราจะเลือกดับอะไรได้?

เป็นความถนัด..แบบไม่ได้คิดจะเลือก..มั้ง?? :b12:

คือที่เขียนข้างบนมานี้..เพราะมีบางอย่างที่เป็นหลักฐาน(ของตัว)ว่า..
มีความเป็นไปได้..ที่จะทัน..

ก็ในเมื่อ..สัญญายังดับทัน..

เวทนารึ..ตัณหารึ..อุปาทานรึ..

ทำไมจะดับไม่ทัน..

ขอให้มีปัญญาที่เห็นจริงก่อน..

(คิดว่า)..การดับแบบสมุจเฉปหาน..ย่อมเป็นไปได้


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะมาต่อกันในส่วนของการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป ขอเพิ่มเติมตัวอย่างในการปฏิบัติส่วนสมถะที่มีมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้ากันอีกสักหน่อยนะครับ เพราะการปฏิบัติในส่วนนี้เหมาะกับชนหมู่มาก ซึ่งส่วนใหญ่เจริญสมถะไม่ได้ถึงขั้นฌาน :b1: :b46: :b45: :b51:

(แต่การเจริญสมถะก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติคู่กันไปด้วยความเพียรอย่างเข้มข้นเพื่อให้ครบองค์ ๘ ของมรรคนะครับ และเพราะสมถะนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นในการเห็นสามัญลักษณะของขันธ์ต่างๆได้อย่างชัดแจ้งจนหมดซึ่งอุปาทานแห่งขันธ์ และขณะที่เกิดอริยมรรคขึ้นในจิตนั้น จะต้องอาศัยกำลังของทั้งสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กันรวมเป็นมรรคสมังคี เพื่อใช้ในการกำจัดกิเลสให้หมดไปอย่างสิ้นเชื้อทีละระดับ :b39: :b42: :b44: )

ตัวอย่างที่ยกมาก่อนหน้าในการใช้สติและ (ขณิกะ) สมาธิ พิจารณาทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจนกระทั่ง “เห็น” ในไตรลักษณ์แห่งทุกข์ คือทุกข์ที่เสื่อมลง และดับหายไปต่อหน้าต่อตา จนเกิดจิตที่เบิกบานตั้งมั่น (สมถะ) เป็นผลตามวิปัสสนามานั้น :b46: :b45: :b41:

สามารถใช้หลักเดียวกันนี้ เพียรปฏิบัติเพื่อพิจารณาเวทนาขันธ์อื่นๆ (สุข, อุเบกขา = เวทนานุปัสสนา) หรือขันธ์ ๕ องค์อื่นๆ (รูป = กายานุปัสสนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ = จิตตา + ธรรมานุปัสสนา) นอกเหนือจาก (ทุกข์) เวทนาขันธ์ได้เช่นเดียวกัน :b46: :b46: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะขยายความให้ละเอียดขึ้นสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทประกาศแจกโบนัสปลายปี ๘ เดือน :b4: เกิดความดีใจ (สุขเวทนา) :b19: :b12:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะสุข คือความตื่นเต้น สดชื่น คึกคัก กระเพื่อม กระโดดโลดเต้น เริงร่าภายในจิต (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น (มัชฌิมา) เพียงแต่เป็นการแกว่งไปในทางตื่นเต้น (กามสุขัลลิกะ) ไม่ใช่ซบเซาเศร้าซึม (อัตตกิลมถะ) เหมือนในตัวอย่างก่อนหน้า หรือในอีกมุมหนึ่ง ทุกข์นี้คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาขันธ์) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้สุข คือ อย่าไปจดจ่อกับการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงตัวเงินและการบริโภคที่จะตามมาจากโบนัสนั้น เช่น อย่าไปปรุงแต่งฝันถึงกระเป๋ากุชชี่ พราด้า :b22: :b4: หรือการเลี้ยงฉลองเสพสุขอื่นๆที่ยังมาไม่ถึง (สมุทัยให้ละ คือความอยากเสพเสวยในกามต่างๆ = กามตัณหา = โลภะ) :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งสุข (ซึ่งจริงๆคือทุกข์ ในความหมายที่ให้ไว้ด้านบน) ได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ จะเห็นสภาวะสุข คือความตื่นเต้น สดชื่น คึกคัก กระโดดโลดเต้น เริงร่าภายในจิต ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงหรือการกระทบจากภายนอก (คือการที่ได้รับโบนัส) โดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากบริโภคในกาม (กามตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โลภะ + โมหะ) :b46:

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย สภาวะที่จิตตั้งมั่น เป็นกลางและเบิกบานจะมาเพียงแวบเดียวแล้วหายไป เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงตัวเงินและการบริโภคในกามสุขที่จะตามมาจากโบนัสนั้น มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้สุขจากโลภะ คือความอยากและความคาดหวังที่จะได้เสพเสวย ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b6: :b6: :b6:


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างสำหรับการใช้วิปัสสนานำหน้าสมถะ ในการพิจารณาไตรลักษณ์ในสังขารขันธ์ (จิตตานุปัสสนา) :b39: :b44: :b46:

ยกตัวอย่างเช่น ชายหนุ่มไปเที่ยวงานมอเตอร์โชว์เห็นพริตตี้สาวสวยนุ่งน้อยห่มน้อยตรงหน้า แล้วจิตแวบไปปรุงแต่งจนเกิดราคะกำหนัด :b22: :b22: :b22:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะแห่งความกำหนัด คือความตื่นเต้น วาบหวิว ฉ่ำเคลิ้ม หื่นกระหาย อยากใคร่ กระเพื่อมภายในจิต (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น (มัชฌิมา) เพียงแต่เป็นการแกว่งไปในทางตื่นเต้น (กามสุขัลลิกะ) ไม่ใช่ซบเซาเศร้าซึม (อัตตกิลมถะ) หรือในอีกมุมหนึ่ง ทุกข์นี้คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้กำหนัด คือ อย่าไปจดจ้องมองตาไม่กระพริบกับพริตตี้ที่อยู่ตรงหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการในหัว (สัญญา + สังขาร) ถึงการที่จะได้เสพในกามนั้น (สมุทัยให้ละ คือความอยากเสพเสวยในกามต่างๆ = กามตัณหา = โลภะ) :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งราคะกำหนัดได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ คือพริตตี้ที่ยืนอยู่ตรงหน้านั้นแล้ว จะเห็นสภาวะของความกำหนัด คือความตื่นเต้น วาบหวิว ฉ่ำเคลิ้ม หื่นกระหาย อยากใคร่ ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดใช้ประโยชน์จากการกระทบจากภายนอก (คือการที่ได้เห็นพริตตี้ ซึ่งอาจจะพลิกไปเพื่อการปลงอสุภะด้วยอาการ ๓๒) โดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากบริโภคในกาม (กามตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โลภะ + โมหะ) :b46:

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย สภาวะที่จิตตั้งมั่น เป็นกลางและเบิกบานจะมาเพียงแวบเดียวแล้วหายไป เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับพริตตี้ตรงหน้า :b22: :b22: และการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) :b22: :b22: ถึงการบริโภคในกามสุข มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้สุขจากโลภะ คือความอยากและความคาดหวังที่จะได้เสพเสวย ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b46: :b46:

~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~~~~

ขอแทรกเพิ่มเติมสำหรับตัวอย่างการพิจารณาโทสะ ตามนี้ครับ :b51: :b53: :b41:

ยกตัวอย่างเช่น กำลังขับรถต่อแถวไหลไปอย่างช้าๆอยู่อย่างสุภาพบนถนน มีนักเลงดีขับรถเข้ามาเบียดแทรกหรือปาดหน้า ความมีตัวตนเกิดขึ้นออกรับการกระทบ ทำให้ความโกรธโมโหผุดแปล๊บขึ้นมาทันทีในบัดเดี๋ยวนั้น ประมาณว่า i-เvรนี่ ! เดี๋ยวเถอะมุง !! :b33: :b33:
( :b8: ขอโทษครับที่ใช้ภาษาพ่อขุนให้เห็นภาพ)

ถ้าตามความโกรธและตัวตนที่ใหญ่คับรถคับทางไม่ทัน จะต้องเกิดการปะทะวิทยายุทธในบทที่ว่าด้วยการขับรถจี้ติดและเบียดแทรกกันบนถนน ซึ่งอาจจะตามมาด้วยการชูนิ้ว (ซึ่งแน่ๆไม่ใช่นิ้วโป้งที่หมายความว่า นายแน่มาก :b4: :b4: ) หรือหนักกว่านั้นคือ เบียดกันจนบุบไปข้าง ต้องเปิดประตูลงมาปะทะวิทยายุทธกันต่อบนท้องถนน :b33: :b33: :b34: :b34:

แต่ผู้ที่ได้สดับพระธรรมของบรมครูและฝึกสติมาดีแล้วระดับหนึ่ง :b8: :b8: :b8:

๑) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

๒) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะแห่งความโกรธ คืออาการปี๊ดขึ้นมาในจิต คืออาการของขึ้น อัดแน่นพร้อมระเบิดให้ฝ่ายตรงข้ามพินาศกันไปข้าง :b33: :b34: พร้อมทั้งอาการของกายภายนอก ได้แก่ ความแน่นในอก หัวใจเต้นเร็วและแรง มือไม้สั่น หน้าแดง :b33: :b33: (ทุกข์ให้รู้ ซึ่งทุกข์ตรงนี้ คือสภาวะที่จิตโดนบีบคั้นให้กวัดแกว่งหลุดออกจากสภาวะที่มีจิตตั้งมั่น เป็นทั้งอาการที่จิตถูกบีบคั้น (ทุกขัง) และเกิดความไม่สบายในจิต (ทุกขทุกข์) หรือในอีกมุมหนึ่ง คือการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ (= ชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ - ความเกิดขึ้นแห่งตัวตนที่ถูกกระทบ) ซึ่งก็คือทุกข์ (ชาติปิทุกขา) ในทุกขอริยสัจจ์) :b46: :b46:

๓) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้โกรธ คือ อย่าไปจดจ้องกับการปาดหน้าเบียดแทรกของอีกฝ่ายที่อยู่ตรงหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการในหัว (สัญญา + สังขาร) ถึงการที่จะได้แก้แค้น i-หมอนั่น (สมุทัยให้ละ คือความไม่อยากให้คู่กรณีเกิดขึ้นหรือคงอยู่ = วิภวตัณหา -> อันนำให้เกิด -> โทสะ) :b46: :b46:

๔) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งความโกรธได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ คือคู่กรณีที่อยู่ตรงหน้านั้นแล้ว จะเห็นสภาวะของความโกรธ คืออาการปี๊ดขึ้นมาในจิต คืออาการของขึ้น อัดแน่นพร้อมระเบิดให้ฝ่ายตรงข้ามพินาศกันไปข้าง พร้อมทั้งอาการของกายภายนอก ได้แก่ ความแน่นในอก หัวใจเต้นเร็วและแรง มือไม้สั่น หน้าแดง ฯลฯ ค่อยๆมอดลงและดับไปได้เองเหมือนไฟที่หัวเตาแก๊สตอนปิดวาล์วแก๊สที่ถัง เพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะตั้งมั่น เป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดหาทางแก้ไขสถานการณ์ให้ไม่เกิดโทษ คือไม่เจือไปด้วยโทสะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแกว่งแห่งจิต (โทสะ + โมหะ) และตามมาด้วยการกระทำที่รุนแรง ขาดสติ

เช่นกันครับ หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อย เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่ออยู่กับความแค้นที่โดนเบียดปาดหน้า และการปรุงแต่งจินตนาการ (สัญญา + สังขาร) ถึงความอยากให้อีกฝ่ายพินาศ มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะที่จิตแกว่งไหว ทำให้ทุกข์จากโทสะ คือการถูกกระทบบีบคั้นแล้วจิตแอ่นอกเอาตัวเองเข้าไปรับการถูกกระทบและยกแบกความอึดอัดคับข้องนั้นไว้ ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b1: :b46: :b46:

ปล. แต่ถ้าสถานการณ์ภายในใจของเรายังไม่เอื้อให้เจริญสติแก้ทุกข์ด้วยปัญญาได้ ก็ต้องหาทางแก้ด้วยวิธีอื่นที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำด้วยเหมือนกันก่อนนะครับ เช่น ใช้องค์ธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน (ตทังคปหาน) แก้ไขกดข่มโทสะ ได้แก่ การแผ่เมตตา ด้วยการคิดในใจว่า ไปที่ชอบที่ชอบเถอะพ่อคุณ อะไรประมาณนั้นนะครับ :b13: :b13: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ลองมาต่อกันในส่วนของการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป :b8: :b46: :b46:

จริงๆแล้วการปฏิบัติแนวนี้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมีสมถะเป็นเบื้องหน้าในวิธีที่ ๑ นั่นเอง เพราะเป็นการพิจารณาไตรลักษณ์ของการปรุงแต่งจิตในฌานสมาบัติขั้นต่างๆ (จิตสังขาร คือเจตสิกที่เกิดร่วมในฌาน เป็นอเนญชาภิสังขาร) :b46: :b46:

โดยในอรรถกถาท่านใช้คำว่า เข้าสมาบัติถึงไหน พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น (ยกเว้นในสัญญาเวทยิตนิโรธและในอรูปฌานที่ ๔ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่ต้องออกจากสมาบัตินั้นก่อนแล้วจึงพิจารณาได้ เพราะไม่มีสัญญาหรือสัญญาอ่อนมากเกินกว่าจะอยู่ในฌานแล้วพิจารณาได้) :b45: :b46: :b41:

ซึ่งมีหลักฐานการบำเพ็ญด้วยแนวทางนี้ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเล่าให้เห็นถึงการบรรลุธรรมขององค์พระสารีบุตรในอนุปทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ :b8:

“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่งอยู่
ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตนฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ
เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า
ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็นผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น
ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่
และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ ...”


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในพระสูตร ระบุวิธีการไว้ชัดเจนว่า ให้พิจารณาธรรม (เจตสิกต่างๆ) ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมและดับไปในฌานต่างๆ ไม่ยินดี (อภิชฌา) ยินร้าย (โทมนัส) จนกิเลสไม่อาศัย พ้นการปรุงแต่ง (พ้นวิเศษ) เข้าสู่สภาวะสูญตา เป็นหนึ่งเดียวกับธรรม (มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่) :b46: :b45: :b41:

ซึ่งตามความรู้ของวิสุทธิปาละเองนั้น (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) ผู้ปฏิบัติที่สามารถพิจารณาไตรลักษณ์ของเจตสิกและอารมณ์ทั้งในรูปฌานและอรูปฌานได้นั้น (โดยเฉพาะในอรูปฌาน ซึ่งมีความละเอียดเป็นอย่างยิ่ง) ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาทำลายกิเลสมากจริงๆระดับพระพุทธเจ้า หรือพระสารีบุตร (ตามที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวยกย่องพระสารีบุตรไว้ในตอนต้น และตอนท้ายของพระสูตร) :b8: :b39: :b44:

เนื่องเพราะการพิจารณาให้เห็นถึงสภาวะบีบคั้น แปรปรวน หรือทุกข์ในองค์ฌาน โดยเฉพาะอรูปฌานที่มีความละเอียดมากๆนั้น เป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าหรือพระสารีบุตรเอง ทรงมีปัญญาพิจารณาเห็นได้ดังที่ปรากฏในบางพระสูตรที่ท่านใช้คำว่า อาพาธ (สิ่งรบกวน หรือสิ่งเบียดเบียน) เพื่อแสดงถึงอาการแห่งความแปรปรวน เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ในองค์ฌานขั้นต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นที่สูงกว่า :b46: :b46: :b46:

สำหรับผู้ปฏิบัติที่ได้ฌานแต่ไม่มีปัญญาถึงระดับนั้นแล้ว ให้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปโดยพิจารณาไตรลักษณ์ขององค์ธรรมที่เกิดขึ้นแค่ในรูปฌานก็เพียงพอกับการบรรลุธรรมแล้วครับ :b1: :b46: :b51:

ซึ่งนั่นคือการปฏิบัติอานาปานสติในจตุกกะที่ ๑, ๒, และ ๓ นั่นเอง โดยเฉพาะการพิจารณาสุขเวทนาในจตุกกะที่ ๒ (เวทนานุปัสสนา) ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่หยาบกว่า สามารถรู้เห็นถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปได้ง่ายกว่าเอกัคคตาและอุเบกขาเจตสิกในฌาน ๔ และอรูปฌาน :b46: :b45: :b41:

เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการพิมพ์ ขอตัดบางส่วนที่เคย reply ไว้ในกระทู้ 33984.ขบวนการของเวทนาเป็นอย่างไร + แก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=33984

ตามนี้ครับ


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาเวทนา โดยใช้สมาธินำเพื่อให้เกิดวิปัสสนาปัญญา (หรืออีกนัยหนึ่ง คือการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป) ขอแนะนำเพิ่มเติมด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในอานาปานสติสูตรครับ เป็นการปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทาด้วย แต่ยากหน่อยที่ต้องเข้าอัปปนาสมาธิให้เกิดฌาน :b46: :b46: :b46:

คือทำสมาธิก่อนให้เกิดกำลัง รู้กองลมผ่านฌาน ๑ จนเกิดฌาน ๒ มีปีติ รู้ชัดในปีติ เกิดเอโกธิภาวะหรือจิตผู้รู้ จนล่วงเข้าฌาน ๓ มีสุข รู้ชัดในสุข และรู้การปรุงแต่งของสุขในจิต (กำหนดรู้จิตสังขาร) จนรู้ชัดถึงการดับของการปรุงแต่งสุขในจิต (ระงับจิตสังขาร) นั่นคือล่วงเข้าฌาน ๔ ครับ ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านปีติโสมนัสเวทนาเหล่านี้ ถ้าอบรมจิตจนความรู้แก่รอบพอ จิตจะเกิดปัญญาจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) ขึ้นมาเอง และตัดสังโยชน์ได้ด้วยตัวจิตเอง :b39: :b39: :b39:

เคยมีท่านหนึ่งที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวเล่าว่า ระหว่างทำสมาธิผ่านฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ จนล่วงเข้าฌานที่ ๓ อันมีโสมนัสเวทนาเป็นองค์ฌานเด่น กำหนดตามรู้ชัดอยู่ในสุขอยู่ดีๆ เกิดภาวนามยปัญญารู้แจ้งขึ้นมาเอง (อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติตามที่องค์หลวงตาบัวท่านกล่าว หรืออีกนัยหนึ่งคือ จิตภาวนาของเขาเอง) :b1: :b46: :b46: :b41:

คือจิตดวงใหม่เห็นจิตดวงเก่าที่กำลังเสวยโสมนัสเวทนา เหมือนเห็นคนกำลังกินอาหารอร่อย โดยเห็นจิตแยกไปทาง เวทนาก็แยกไปทาง โดยเวทนาปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร) และจิตกำลังบริโภคเวทนา จิตก็อ๋อของเขาเองว่า จิตก็ไม่ใช่เรา เวทนาก็ไม่ใช่เรา ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นและดับไปตามเหตุและปัจจัย ปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น สักกายทิฏฐิก็ขาดลงตรงนี้เอง :b39: :b39: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2011, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเห็นได้ว่า ไม่มีการใช้ความคิดซึ่งเป็นจินตามยปัญญา ในกระบวนการปฏิบัติของภาวนามยปัญญานะครับ (แต่การคิดก็จำเป็นที่จะต้องสะสมในขั้นต้นก่อนการปฏิบัติ) แต่จะเป็นการให้จิตรู้เวทนาตามสภาวะความเป็นจริงลงในไตรลักษณ์ไปเรื่อยๆจนถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว จิตจะภาวนาของเขาเอง รู้เห็นและตัดสินความเป็นจริงได้ด้วยจิตเองครับ โดยที่ไม่ต้องรู้กระบวนการเกิดของสุขหรือทุกข์เวทนามาก่อนเลย :b46: :b46: :b46:

ซึ่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมเจาะลึกของพระอภิธรรมที่เน้นในเรื่องของวิถีจิตและจิตตุปาทะซึ่งเริ่มจากภวังค์จิตไหว จิตเปิดทวารเกิดผัสสะ (ปัญจทวาราวัชชนจิตทางทวาร ๕ หรือมโนทวาราวัชชนจติทางมโนทวาร ซึ่งจริงๆแล้วมีเวทนาเกิดร่วมด้วยแล้วตั้งแต่ต้นคืออุเบกขา แต่ไม่ได้เป็นเจตสิกเด่น) เรื่อยไปในวิถีต่อมาจนจิตเสพสุขทุกข์ – โสมนัสโทมนัสเวทนานั้น (ชวนะจิต .. ตทาลัมพนะจิต หรือฌานจิต ที่มีเวทนานั้นๆเป็นเจตสิกเด่น) :b39: :b44: :b43:

หรือแม้กระทั่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมกว้างเน้นเหตุปัจจัยตามแนวปฏิจสมุปบาท ตั้งแต่อวิชชา ... สังขาร ... จนเวทนาเกิด และเป็นปัจจัยต่อไปเรื่อยจนทุกข์เกิด :b39: :b39: :b44:

ก็เป็นในแง่ของทฤษฎีหรือปวัตินัย คือความเป็นไปที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ในแง่ของปฏิบัตินัย ดังนั้น ไม่รู้ก็ได้ เพราะพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ท่านก็ไม่ได้มีสัญญาตรงนี้มาก่อนที่จะฟังธรรมครั้งแรกแล้วบรรลุโสดาบัน (แต่ถ้ารู้ได้ก็ดีครับถ้ามีเวลาศึกษา เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ธรรมได้อีกอย่างพิศดารหลากหลาย) :b41: :b46:

ส่วนที่สำคัญกว่าในการนำไปใช้คือส่วนของปฏิบัตินัย ได้แก่มรรค ๘ อันมีสมถะและวิปัสนาภาวนา (สัมมาสมาธิ (ฌาน) & สัมมาสติ (สติปัฏฐาน ๔)) หรือตามความหมายอย่างเคร่งครัดได้แก่ วิปัสสนาภาวนา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) และสมถภาวนา (มรรคอีก ๖ องค์ที่เหลือ) เป็นองค์หลักในการปฏิบัติเพื่อรู้และคลายความยึดติด (อุปาทาน) ในเวทนาขันธ์ครับ :b8: :b46: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 10 ม.ค. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ดึกแล้ว ขอเวลาไปนั่งเรียบเรียงในส่วนของวิธีที่ ๔ คือการพิจารณาไตรลักษณ์ ข้ามอุทธัจจะในธรรม (ความฟุ้งในธรรม, วิปัสสนูปกิเลส) จนจิตตั้งมั่น หรือ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง :b8: :b42: :b39:

ซึ่งที่จริงแล้วก็คือหัวข้อย่อยในการหาทางแก้เมื่อปฏิบัติด้วยวิธีที่ ๑ และ ๒ จนเกิดวิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา) แล้วเกิดความฟุ้งในธรรม (ธรรมมุธัจจ์ = ธรรม + อุทธัจจะ) นั่นเอง ซึ่งสามารถเทียบเคียงวิธีปฏิบัติตามบันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ดูลย์เข้าในมรรคนี้ได้อย่างกลมกลืน โดยมีรายละเอียดของสภาวะที่เป็นผลของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ตามมาหลายประการ :b8: :b46: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2011, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโทษด้วยครับ ช่วงนี้มีกิจทางโลกให้ต้องบริหารจัดการให้ลุล่วงไปมากมายจริงๆ :b31: :b31: :b46: :b46:

ขอเพิ่มเติมตัวอย่างของการปฏิบัติสมถะโดยมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ว่าด้วยการพิจารณาความโกรธให้เกิดปัญญา ตามแก้ไขด้านบนไปก่อนครับ :b1: :b39: :b39:

แล้วจะมาสรุปในส่วนของมรรค ๔ ข้อสุดท้าย รวมถึงการปฏิบัติสำหรับการบรรลุอริยมรรค - อริยบุคคลในแต่ละขั้น ตามความรู้และหลักฐานที่พอจะมีปัญญาอธิบายได้นะครับ :b8: :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 18 ม.ค. 2011, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในส่วนวิธีปฏิบัติของมรรคข้อที่ ๔ ที่องค์พระอานนท์ท่านว่าไว้ในปฏิปทาวรรคดังนี้ครับ :b8: :b46: :b46: :b46:

"… อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป ..."


ซึ่งมีคำอธิบายขยายความอยู่ในส่วนท้ายของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย) และในส่วนอรรถกถาไว้อย่างละเอียด :b45: :b46: :b44:
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=7564&Z=7861

โดยสรุปเป็นข้อปฏิบัติได้ว่า สำหรับผู้ที่ทำความเพียรจนได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา คือสามารถพิจารณาได้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (ไตรลักษณ์) ของขันธ์ ๕ เป็นสัมมสนญาณ คือญาณที่ ๓ ในโสฬสญาณ) เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ ลงในไตรลักษณ์ถึงจุดหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะด้วยสมถะนำ หรือวิปัสสนานำ จิตจะรวมพรึบลงลงด้วยกำลังของวิปัสสนาญาณจนเกิดแสงสว่าง ปีติ ความสุขสงบ ฯลฯ :b8: :b39: :b39:

ซึ่งที่จริงแล้ว นี่เป็นหลุมล่อกับดักของเหล่านักปฏิบัติ ก็คือกิเลสอย่างละเอียดในวิปัสสนา (วิปัสสนูปกิเลส ๑๐) แต่ผู้ปฏิบัติหลงเข้าใจผิดว่าเป็นการบรรลุธรรม ซึ่งในความเป็นจริง ขณะที่กำลังพิจารณาไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ อยู่ก่อนหน้านั้น มีกิเลสละเอียดแทรกเข้ามาทำให้จิตทิ้งการพิจารณาไตรลักษณ์มาจับกับกิเลสละเอียดนี้เข้าก่อนเพราะเป็นสิ่งสวยงามชวนให้ยินดีพอใจ ติดใจเพลิดเพลิน (นิกนฺติ) :b22: :b46: :b41:

เป็นการตกหลุมพรางดังแอ๊กก่อนจะเข้าถึงการเห็นธรรมอย่างแจ่มแจ้ง เหมือนกับลิงที่กำลังดูส้มอยู่ในมือ (ไตรลักษณ์) แต่เมื่อมีคนโยนเปลือกกล้วย (วิปัสสนูฯ) เข้าไปให้ ก็ทิ้งผลส้มแล้วคว้าเอาเปลือกกล้วยด้วยนึกว่าเป็นของดี :b19: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 20 ม.ค. 2011, 23:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 18 ม.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการหันมาจับยึดในสิ่งที่ผิดฝาฝิดตัวนี้คือความฟุ้งในธรรม เกิดความยินดีพอใจด้วยตัณหาอย่างละเอียดขึ้นในจิตว่าได้บรรลุธรรมแล้ว ทำให้หลงผิดติดกับ ไม่เจริญก้าวหน้าในธรรมต่อ :b10: :b46: :b46:

แต่ถ้ามีปัญญามากพอจนถึงจุดหนึ่ง จิตจะสังเกตเห็นว่าวิปัสสนูฯที่ยึดอยู่นั้นก็ยังเป็นสิ่งปรุงแต่ง แล้วจับเอาวิปัสสนูฯต่างๆมาพิจารณาลงในไตรลักษณ์เสียเอง (เหมือนกับที่หลวงปู่ชาท่านให้เอากิเลสต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่วิปัสสนูปกิเลส มาเป็นปุ๋ยที่ทำให้บัวบานพ้นน้ำได้) จนเห็นการดับของ (วิปัสสนูป) กิเลส ก็จะก้าวข้ามผ่านจุดนี้ไปได้ แถมยังเกิดปัญญารู้แจ้งในไตรลักษณ์เพิ่มขึ้น :b8: :b39: :b39:

ซึ่งนี่ เป็นวิธีการที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้สอนวิธีแก้กรรมฐานเอาไว้เวลานั่งสมาธิแล้วพบเห็นแสงสว่าง ปีติสุข หรือสิ่งต่างๆเข้ามาในจิตจนเกิดความยินดีพอใจ หรือยินร้ายหวาดกลัว ว่าที่เห็นนั้นจริง แต่สิ่งที่เห็นไม่เป็นจริง ให้ดูด้วยสติที่ตั้งมั่นอย่าไหลตาม จนมันดับลงไปในไตรลักษณ์ให้เห็นเองจนเกิดปัญญา :b8: :b39: :b39: :b46:

และถ้าหมั่นปฏิบัติด้วยวิธีนี้คือก้าวข้ามวิปัสสนูฯจนทำให้ :b45:

“ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” :b46:

และ :b45:

“จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” :b46:

แล้ว ...

“มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น” :b46:

และถ้า :b45:

“เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น” :b46:

ไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งแล้ว :b45:

“ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป” :b46:

เป็นขั้นๆของอริยมรรคอริยผล ตามที่พระอานนท์ท่านกล่าวทุกประการ :b8: :b46: :b46:

คราวหน้าลองมาเปรียบเทียบมรรค ๔ นี้ กับบันทึกที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบทถามตอบธรรมมะขององค์หลวงปู่ดูลย์กับลูกศิษย์กันดูนะครับ ซึ่งถ้าได้ลองปฏิบัติตามวิธีของท่านดูด้วยแล้ว จะเห็นแนวทางที่เดินตามรอยกันอยู่ :b51: :b53: :b48:

เพียงแต่ความหมายของคำว่า ธรรมมุธัจจ์ ซึ่งก็คือความฟุ้งในธรรมด้วยการลองปฏิบัติตามวิธีขององค์หลวงปู่นั้น ตามความรู้ของวิสุทธิปาละเอง (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) จะครอบคลุมถึงความฟุ้งซ่านปรุงแต่งต่างๆของจิต โดยไม่จำกัดอยู่แค่วิปัสสนูฯ ๑๐ :b1: :b44: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 30 ม.ค. 2011, 23:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 20 ม.ค. 2011, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากคราวที่แล้ว ขอขยายความในคำกล่าวของพระอานนท์เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นสักเล็กน้อยก่อนครับ :b1: :b38: :b37:

คือเมื่อพิจารณาวิปัสสนูฯลงในไตรลักษณ์จน “ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” และ “จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” แล้ว “มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น” :b46: :b46: :b46:

แล้ว “มรรคย่อมเกิด” ขึ้นได้อย่างไร ? :b10: :b41:

ตามความรู้ของวิสุทธิปาละเอง (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) มรรคเกิดจากการที่จิตเห็นและเปรียบเทียบสภาวะของความฟุ้งปรุงแต่งก่อนหน้า (จิตสังขาร) เทียบกับสภาวะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหลังจากพิจารณาการปรุงแต่งดับลงในไตรลักษณ์แล้ว (จิตวิสังขาร) :b39: :b44: :b46:

จิตจะเกิดปัญญาเห็นถึงทุกข์ คือจิตที่แกว่งไหวปรุงแต่ง (ภพ ชาติ = ทุกข์ ชาติปิทุกขา) เทียบกับนิโรธ คือจิตที่มีสติสมาธิตั้งมั่น ปลอดจากการปรุงแต่งฟุ้งซ่านซัดส่าย (วิสังขาร หรืออสังขตะ) :b51: :b53: :b45:

ซึ่งจะทำให้เห็นถึงเหตุแห่งความไหวของจิต คือสมุทัย ได้แก่ความยินดีพอใจ ยึดอยากติดใจ เพลิดเพลิน (นิกนฺติ) ในวิปัสสนูฯ และเห็นถึงทางแห่งการหลุดพ้น คือมรรค ได้แก่การละเหตุละสมุทัย คือทำใจให้ปราศจากการปรุงแต่งเมื่อมีวิปัสสนูฯหรือผัสสะต่างๆเกิดขึ้น รู้สักแต่ว่ารู้ โดยใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ + มรรค ๖ องค์ที่เหลือในการเข้าไปทำให้สภาวะของการ “รู้สักแต่ว่ารู้” เกิดขึ้นให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย จิตฉลาดด้วยปัญญาญาณในการเห็นถึงอริยสัจจ์ หรือปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับตลอดทั้งสาย :b8: :b46: :b46:

และถ้าเพียรทำให้มากด้วยสัมมาวายามะแล้วในส่วนที่ว่าไว้ว่า “เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น” ไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งแล้ว “ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป” เป็นขั้นๆของอริยมรรคอริยผล ตามที่พระอานนท์ท่านกล่าวทุกประการ

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 23 ม.ค. 2011, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น key word ที่เป็นข้อสรุปอันหนึ่งของวิธีปฏิบัติ (หรือมรรค) ก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าและพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้กรุณาสรุปเป็นวลีสั้นๆให้จำง่าย เข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย ก็คือคำว่า “รู้สักแต่ว่ารู้” :b1: :b46: :b46:

ซึ่งคำว่า “รู้สักแต่ว่ารู้” นี้นะครับ มีอานิสงค์มากถึงกับทำให้ท่านพาหิยทารุจีริยะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ได้ชื่อว่า เป็นเอตทัคคะในทางตรัสรู้เร็วพลัน (ขิปปาภิญญา) ด้วยการสดับและส่งกระแสจิตตามที่พระพุทธเจ้าเทศน์ให้ฟังในเรื่อง “รู้สักแต่ว่ารู้” เพียงครั้งเดียวขณะที่พระตถาคตกำลังบิณฑบาต สำเร็จเป็นพระอรหันต์เดี๋ยวนั้น ในที่นั้นเอง :b8: :b46: :b41:
(พาหิยสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1607&Z=1698, ประวัติท่านพระพาหิยะ http://84000.org/one/1/28.html)

ถึงตรงนี้ ขอแทรกเพื่อกันการเข้าใจผิดไว้ก่อนว่า การรู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่ไม่ให้คิดนะครับ :b46: :b46: :b46:

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าไม่ให้คิด เพราะการคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันตามสมมติบัญญัติ (อยู่กับสมมติ และใช้สมมติให้เป็น เช่น นักเรียนคิดคำตอบในข้อสอบ ผู้บริหารคิดวางแผนงานบริษัท การคิดสั่งการตัดสินใจในการควบคุมรถขณะขับอยู่บนถนน ฯลฯ) และในการปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งหลุดพ้น (โยนิโสมนสิการ คิดพิจารณาปรมัตถธรรมโดยแยบคายลงในไตรลักษณ์ ฯลฯ) :b39: :b44: :b45:

ในทางกลับกัน พระองค์ทรงสนับสนุนให้ใช้ความคิดเสียอีกด้วย เพียงแต่ต้องคิดให้ถูกทางเป็นสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นเกลียวหนึ่งในแปดเกลียว ที่ฟั่นกันเป็นเส้นเชือกที่เรียกว่าอริยมรรคนั่นเอง :b8: :b48: :b53:

โดยการปฏิบัติอยู่ที่ “รู้สักแต่ว่ารู้” นั้น ท่านหมายความว่า หลังจากที่จิตรับรู้การกระทบจากอายตนะต่างๆจนเกิดผัสสะเวทนาตามวงจรปฏิจจสมุปบาทแล้ว ให้เฝ้าระวังการคิดที่เป็นมิจฉาสังกัปปะ คือ คิดอยากสนองตัณหาอุปาทานต่างๆ, คิดในแง่ร้ายพยาบาท, คิดเบียดเบียนรุกรานทำร้าย (คือคิดนอกเหนือไปจากเนกขัมมะ – อพยาบาท – อวิหิงสาสังกัปปะ) ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า ความฟุ้งซ่านปรุงแต่ง :b14: :b20: :b33:

หรือที่พ่อแม่ครูอาจารย์เรียกว่า จิตที่ส่งออกนอก ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) นั่นเอง :b8: :b51: :b53: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 23 ม.ค. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหลังจากรับรู้ผัสสะต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ก็แค่สักแต่ว่ารู้ทั้งผัสสะและเวทนานั้นโดยไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งส่งจิตออกนอก ก็จะทำให้การรับรู้นั้นบริสุทธิ์ไม่เจือไปด้วยตัณหาจนเกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทสายเกิด นั่นคือ การตัดกระบวนการของทุกข์ไม่ให้เกิด :b39: :b39: :b39:

และหลังจากการรับรู้มีความบริสุทธิ์แล้ว ถ้าจะมีกระบวนการตอบสนองต่อผัสสะเวทนานั้นต่อเนื่องออกไปอีก การตอบสนองนั้นก็จะเป็นไปด้วยปัญญาล้วนๆ นั่นคือการทำงานในส่วนของความคิดที่เป็นสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นกระบวนการภายในจิต และอาจจะต่อเนื่องด้วยสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อโลกภายนอก ต่อเนื่องจากการรู้เฉยๆตามความเป็นจริงแล้วนั่นเอง :b1: :b38: :b37:

ซึ่งขั้นตอนของการรู้เฉยๆเพื่อที่จะปฏิบัติต่อสิ่งที่ผัสสะด้วยปัญญานั้น นอกเหนือจากการตัดกระบวนการเกิดของทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาทที่ขั้วของตัณหา ไม่ให้ตัณหาเกิดแล้ว อานิสงค์ที่สำคัญที่สุด คือการเข้าไปตัดถึงรากของกิเลส คือตัวอวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจอย่างแท้จริง ซึ่งมาจากความเห็นผิด และความยึดอยากในตัวในตน :b4: :b41: :b46:

ซึ่งถ้าปฏิบัติให้มากแล้ว จะเห็นและเข้าใจถึงอริยสัจตามที่แจกแจงไว้ในโพสก่อนหน้า พร้อมทั้งเห็นถึงลักษณะสามัญของสิ่งที่เป็นจริงต่างๆ (ปรมัตถ์ธรรมในส่วนสังขตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป) จนเบื่อหน่าย (นิพพิทานุปัสสนาญาณ) คลายกำหนัด (สังขารุเปกขาญาณ) หลุดพ้น (มัคคญาณ ผลญาณ) และเมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว (ปัจจเวกขณญาณ) ตามพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่หลายที่ในพระไตรปิฎก (ซึ่งอรรถกถาจารย์ได้นำมาขยายขั้นตอนของการพัฒนาทางโลกุตรปัญญาเหล่านี่ในโสฬสญาณตามที่วงเล็บต่อท้ายไว้) :b1: :b51: :b51: :b51:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร