วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับผู้ไม่รู้จักภาษา ...
ภาษาคนเป็นความรุ่งเรืองอย่างหนึ่งของอารยธรรมของมนุษย์


เช่นนั้นผู้มืดบอด....

สัตว์ก็มีภาษาของมัน!
ภาษาคนจึงไม่ได้หมายถึงความรุ่งเรื่องและหรืออารยธรรมของมนุษย์
ความรุ่งเรื่องและอารยธรรมท่านดูที่การพัฒนาภาษาของตนให้เกิดความหลากหลาย
สามารถใช้ภาษาเรียกหรือให้ความหมายต่อสิ่งต่างๆ ด้วยการแตกแขนงออกให้มากหรือกว้างขึ้น

ชาติใดภาษาใดสามารถใช้ภาษาของตนเรียก สิ่งต่างๆได้มากถือว่าเป็นชาติที่มีอารยธรรมของภาษา
ชาติใดที่ยังต้องอาศัยหยิบยืมภาษาของชาติอื่นมาใช้ท่านว่าไร้อารยธรรมทางภาษา


เช่นนั้นผู้มืดบอด แค่เริ่มต้นอธิบายความหมายของภาษา...ก็มั่วซะแล้ว :b32:


เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์อนุญาติให้ยกพุทธพจน์โดยภาษาท้องถิ่นตน


ถามเช่นนั้นผู้มืดบอดว่า คุณว่าอรรถกถาเป็นการแปลพุทธพจน์หรืออธิบายพุทธพจน์
ถ้าเช่นนั้นยังไม่เข้าใจหรือแยกแยะคำว่า...แปลกับคำว่าอธิบายเช่นนั้นก็คงมืดบอดต่อไป

เช่นนั้น เขียน:

การแปลภาษาบาลี เป็นการแปลที่ต้องเป็นไปตามเนื้อความเดิม เพื่อให้คนชนชาตินั้นๆ รู้จักความหมายของพุทธพจน์...อย่างมีหลักเกณฑ์กำหนดตายตัว.


พูดเรื่อยเปือย! เวทนาเป็นพุทธพจน์มั้ย ทำไมถึงไม่แปลคำว่าเวทนา
ที่ท่านไม่แปลเพราะบาลีท่านเรียกทับศัพท์
แต่มีคนไทยเก่งกว่า กลับแปลได้ แถมเจอเวทนาตั้ง๓สามตัว เก่งกว่าพุทธองค์อีก :b32:

หลักเกณท์ที่ว่า มันเป็นหลักเกณท์ของคนที่ตั้งหลักเกณท์ขึ้นมาเอง
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นโวหาร อะไรเป็นพุทธพจน์
เมื่อเห็นท่านแปลบาลีโวหาร ก็เข้าใจว่าท่านแปลพุทธพจน์ ....

เช่นนั้นผู้มืดบอดไปหาพระสูตรแปลที่ถูกต้องอ่าน จะเห็นว่ามีคำบางคำท่านไม่แปล
ที่ท่านไม่แปลก็เป็นเพราะมันเป็นพุทธพจน์ ไอ้ที่คุณอ่านๆอยู่ท่านเรียกโวหารบาลี


เช่นนั้น เขียน:
อย่าเอาอัตโนมัติตนแสดงแล้วอ้างว่าเป็นคำกล่าวของพระพุทธองค์


ผมไม่ได้อ้างเหมือนที่คุณกำลังเอาพระไตรปิฎกแปลไทย(ฉบับที่คุณไปมั่วเอามา)
แล้วมาบอกว่า เป็นกฎเกณท์......กฎเกณท์ของใครครับ ชาติอื่นเขายอมรับมั้ย
ขนาดนิกายเดียวกันชาติเดียวกันยังส่ายหัวเลย

สิ่งที่ผมอ้างแล้วเอามาเป็นประเด็นก็คือ.....บาลีพระไตรปิฎก
มันเป็นคุณที่ขาดจิตสำนึก หาได้มีสติกับการสนทนา


ผมบอกว่า พระไตรปิฎกแปลไทยบางบทมันมั่ว
แล้วผมก็อ้างบาลีพระไตรปิฎก เอาบาลีมาเป็นหลักฐานเพื่อแสดงเหตุผล
มันเป็นคุณที่มืดบอด ผมบอกพระไตรปิฎกแปลมันใช่ไม่ได้....
ก็ยังดันทุรังอ้างพระไตรปิฎกแปล
แบบนี้แหละเรีอกมืดบอดแล้วยังหัวแข็ง......สอนให้ว่าต้องไปอ้างบาลีที่แสดงว่า..
พระไตรปิฎกแปลนั้นใช่ได้
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้น
อาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุ
ผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการ
โดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึง
ละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี
ที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.



ถามเช่นนั้นผู้มืดบอดหัวแข็งว่า..........คุณว่าพุทธพจน์แปลได้
กับคำว่า "อาสวะ"ในพระสูตรแปลนี้ เหตุใดจึงไม่แปล


รับรองได้เช่นนั้นไม่ตอบ แต่จะเฉไฉไปเรื่องอื่น หรือไม่ก็หาคำมาประชดเสียดสีเรา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ ผู้ไม่รู้จักภาษา.... : )
1. พระพุทธเจ้า เป็นคน สาวกของพระพุทธองค์ ก็เป็นคน


เช่นนั้นผู้เป็นโมฆะบุรุษ......

ผู้ที่จะเรียกหรือกล่าวว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนได้นั้น....จะต้องเป็นพวกเดียรถีร์หรือคนในศาสนาอื่น
ชาวพุทธที่น้อมนำเอาพระรัตนไตรเป็นที่ตั้ง จะกล่าวว่า พระพุทธองค์เป็น อรหันตบุคคล

ส่วนสาวกของพระพุทธองค์ บ้างก็อยู่ในสถานะของ ปุถุชน โสดาบัน สกิทาคา อนาคามีและอรหันต์
ถ้าชาวพุทธคนใดบอกว่าตัวเองอยู่ในสถานะที่เรียกว่า"คน" ผู้รู้จะเรียกมันผู้นั้นว่า ...โมฆะบุรุษ
คือหาได้เข้าใจหรือซึบซับพระธรรมแม้สักนิด :b32:


เช่นนั้น เขียน:
2. พระพุทธเจ้า สื่อสารกับสาวกของพระพุทธองค์ ด้วยภาษาหลายภาษา เช่นภาษาของแคว้นสักกะ แคว้นโกศล แคว้นวัชชี แคว้นมคธ หรือแม้แต่ภาษาพระเวทสนทนากับพราหมณ์ด้วยเช่นกัน


เข้าใจล่ะ อ้างเพราะไม่รู้เรื่องแต่ต้นนี่เอง! บอกแล้วว่า คำสอนของพุทธองค์
มีทั้งที่เป็น พุทธพจน์และโวหาร ไอ้ภาษาที่พระพุทธองค์ใช้กับคนแคว้นอื่น...เขาเรียกโวหาร
ไอ้ที่เขาแปลๆกันอยู่เขาเรียก โวหารไม่ใช่พุทธพจน์
พุทธองค์สอนคนแคว้นอื่นด้วยพุทธบัญญัติ(พุทธพจน์)ของตนเองและโวหารของคนชาตินั้นๆ

ยกตัวอย่าง คำว่า "เวทนา" ทั้งไทย ลาว แขก.....ล้วนออกเสียงว่า เวทนา....นี่คือพุทธพจน์
แต่ถ้าคนไทยบอกว่า "กินข้าว" คนลาวจะบอกว่า "กิ๊นเข่า"....นี่คือโวหาร

ไอ้ที่เขาแปลๆกันคือโวหาร พุทธพจน์ไม่แปล ใครเอาไปแปลถือเป็นโมฆะบุรุษ :b6:

เช่นนั้น เขียน:
3. ยุคสมัยของพระพุทธองค์ ไม่มีภาษาบาลี ภาษาบาลีมีรากฐานอย่างแน่นแฟ้นมาจากภาษามาคธี(ปรากฤต-มคธี) เพราะทำสังคยนาครั้งแรกที่แคว้นมคธ แต่มีความจำเพาะที่ถ้อยคำ ความหมายต่างๆ มีไว้เพื่อรักษาพุทธพจน์ซึ่งเป็นเจตจำนงหลักของพระอรหันตสาวกกำหนดขึ้นและสวดพร้อมๆกัน

ประเด็นหลักฐานที่เราศึกษากันคือ......บาลี
สมัยพุทธกาลพุทธองค์หรือแม้แต่ใครก็ตามในสมัยนั้นจะพูดภาษาใดก็ตาม
ประเด็นปัญหามันอยู่ที่ .....ภาษาไทยกับบาลีในพระไตรปิฎก

ต่อให้พระพุทธองค์จะแร๊พกับสาวก แต่ที่คุณกำลังเถียงกับผมคือ ไทยกัยบาลี
ถ้าคุณจะอ้างว่า พระสูตรแปลไทยที่คุณอ้างเชื่อถือได้โดยจะเอาภาษาบ้าบอคอแตกที่คุณพร่าม
คุณต้องไปเอาหลักฐานที่เป็นพระไตรปิฎกภาษานั้นมาแสดง.....
ไม่ใช่พูดจาเรื่อยเปื่อยให้อีกฝ่ายรำคาญเล่น

เช่นนั้น เขียน:
4.พระพุทธองค์อ่านออกเขียนได้ด้วยอักขระอื่น มีตัวอักขระอื่นที่ไม่ใช่อักษรบาลีในสมัยพระพุทธองค์
เพราะในสมัยพระพุทธองค์ มีการออกหมายจับ มีการเขียนด้วยตัวหนังสือ
ดังปรากฏในพระวินัย


เอ้าเอาเข้าไป! น่าจะตบหัวสักฉาดเพื่อเรียกสติ ...แล้วไหนล่ะพระไตรปิฎกภาษาที่คุณว่า
แบบนี่เรียก อัตโนมัติหรือเปล่า สรุปคุณจะเอาพระไตรปิฎกภาษาอะไรเป็นหลักก็บอกมา
ผมเริ่มงงกับคุณแล้วนะ บอกมาเลยว่าคุณจะเอาพระไตรปิฎกภาษาอะไร แคว้นไหน
อย่าลากประเด็นเรื่อยเปื่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
พรรณนาด้วยหนังสือ
ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้
ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือแล้ว
คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุ-
*ผู้เขียน ต้องอาบัติปาราชิกฯ


จำได้มั้ยเคยถามผมว่า ทำไมต้องใช้บาลีในการทำสังคายนาครั้งแรก
แค่นี้ยังไม่เป็นเครื่องพิสูจน์หรือว่า...พระพุทธองค์สอนสาวกด้วยบาลี

การทำสังคายนาครั้งแรกท่านเรียกว่า....มุขปาฐะ
มุขขปาฐะ คือ....การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

แล้วเรื่องตัวอักขระภาษาอื่น ในพุทธกาลมันมีไม่ใช่ไม่มี ก็ภาษาสันสกฤตไง
แต่ประเด็นมันอยู่ที่พระพุทธองค์สื่อสารกับสาวกด้วยภาษาอะไร

สาวกของพุทธองค์เป็นพราหมณ์ที่มีความรู้ทางสันสกฤตเยอะแยะไป
แถมในสมัยนั้นตัวอักษรจีนก็มีแล้ว

ในพระวินัยไม่ได้บอกว่า พรรณาด้วยหนังสืออะไรสักหน่อย
วินัยบทนี้พระพุทธองค์กล่าวกับสาวกด้วยบาลี
ตอนมุขปาฐะอรหันตสาวกก็กล่าวเป็นบาลี ไม่ใช่ภาษาอื่น
ถ้าท่านอุบาลีกล่าวพระวินัยเป็นภาษาอื่นค่อยว่าไปอย่าง
แถมที่เอามาอ้างก็เอามาจากต้นตอที่เป็นบาลี.....โมฆะบุรุษคนนี้พูดจาไม่ได้สติจริงๆครับ



Quote Tipitaka:
[๑๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรม แล้วหนีไปบวชในสำนักภิกษุ
และบุรุษนั้นถูกเจ้าหน้าที่ออกหมายประกาศไว้ทั่วราชอาณาจักรว่า พบในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น.
คนทั้งหลายเห็นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้ คือโจรผู้ถูกออกหมายจับคนนั้น ถ้ากระไร
พวกเราจงฆ่ามันเสีย.
คนบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราชได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส
ไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้
มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใครๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับบวชเล่า. ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ


ใครเป็นคนออกหมายจับ!!! ใช่เป็นพุทธองค์หรือถึงได้เอามามั่วอ้าง
มันเป็นทางการที่ออกหมาย มันไปเกี่ยวอะไรกับพุทธองค์.....เลอะเทอะสิ้นดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับผู้ไม่รู้ภาษา.....
พระพุทธองค์เกิดในสกุลของศากยะ แคว้นสักกะ
แคว้นต่างๆ ที่รายล้อมแคว้นนี้มีแคว้นที่มีอำนาจการปกครองมากเช่น แคว้นโกศล แคว้นวัชชี แคว้นมคธ แคว้นอังคะ ...
ภาษาที่ใช้ในแคว้นต่างๆ เหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่การกำเนิดแห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อักขระที่ใช้ในสมัยนั้นต่างก็ได้รับอิทธิพลมากจาก Harappa ความแตกต่างทางภาษาเสียงสำเนียงก็มีแตกต่างกันไป

ในยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนี้ เป็นยุคที่มีอารยธรรมเจริญมาก มีการวางผังเมือง มีระบบชลประทาน รู้จักเขียนตัวหนังสือ มีมาตราชั่ง-ตวง-วัด นับถือเทพเจ้า ซึ่งก่อนพุทธกาล หรือ พ.ศ. 900-600 ปี ชนเผ่าอารยันได้แผ่อิทธิพลไปตลอดลุ่มแม่น้ำคงคา และนำศาสนาพราหมณ์ ภาษาพระเวท และระบบวรรณะเข้ามา

พระพุทธองค์รอบรู้หลายภาษา
การพรรณาเกี่ยวกับการปกครองหมู่สงฆ์ในสมัยพุทธกาล และการดำเนินเผยแผ่ของพระพุทธองค์ไปยังแคว้นต่างๆ จึงเชื่อได้ว่า พระองค์ทรงรอบรู้หลายภาษารอบๆ แคว้นสักกะด้วย.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการอนุญาติให้ยกพุทธพจน์ด้วยภาษาเดิมของเหล่าสาวกซึ่งมาจากหลายชาติหลายสกุล โดยไม่ให้ยกพุทธพจน์ด้วยภาษาพระเวทเพียงภาษาเดียว
ดังปรากฏในพระวินัย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒

Quote Tipitaka:
[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ
เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระ-
*พุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามา
บวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระ-
*พุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวก
เธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ
ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษา
สันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1315&Z=1353&pagebreak=0


พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ขอย้อนถามบ้างว่า ไอ้ที่พูดมาทั้งหมดรู้ได้ยังไง ก๊อปปี้ตำราฝรั่งมาโพส
แบบอัตโนมัติหรือเปล่า

ดูที่พระวินัยแล้วฟังจะอธิบาย อย่ามั่วเอาเอง

ในเนื้อหาของวินัย สาวกเป็นพราหมณ์มาจากหลากหลายภาษา
เป็นเพราะพราหมณ์สองพี่น้องกลัวสาวกอื่นจะทำให้พุทธวจนเดิมผิดเพี้ยน
ก็เลยจะขอบัญญัติเป็นสันสกฤต ......แต่พุทธองค์ไม่อนุญาต ทรงให้ใช้พุทธวจนเดิมๆของพระองค์

นี่ก็แสดงว่าพุทธองค์ไม่ได้สอนพุทธวจนเป็นภาษาอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาษาไหนก็ตาม
และที่ไม่อนุญาตสันสกฤต ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอนุญาตภาษอื่น เห็นหรือเปล่าว่า...
ทรงให้ใช้พุทธวจนเดิมๆของพระองค์


ตะบี้ตะบันอ้างวินัยเอย พระสูตรเอย....ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่รู้เรื่อง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับผู้ไม่รู้ภาษา....
พุทธพจน์ คือถ้อยคำซึ่งพระองค์ตรัส.
พุทธบัญญัติ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์มีเจตนาแสดงจำเพาะโดยอาศัยถ้อยคำ เช่นบัญญัติพระวินัย บัญญัติอนัตตา จุลศีล มหาศีล บัญญัติเฉพาะลงไปในถ้อยคำต่างๆ เพื่อประสงค์ให้มีความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน.
พุทธบัญญัติเป็นส่วนหนึ่งในพุทธพจน์.


พุทธวจน .... คือถ้อยคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสจากพระโอษถ์โดยตรง
เช่น ตรัสธัมจักรกัปปวัตนสูตรต่อหน้าปัจจวัคคี...เช่นนี้เรียกพุทะวจน
เน้นว่าต้องเป็นปัจจุบันที่พระพุทธองค์ยังทรงมีชีวิต

พุทธบัญญัติ....คือสิ่งที่พุทธองค์ค้นพบและทรงให้คำนิยาม(ลักษณะ)กับสิ่งนั้น
เช่น ธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ไตรลักษณ์

พุทธพจน์.......หมายถึงชื่อที่ใช้เรียก สิ่งที่พุทธองค์ค้นพบ
เช่น สังขาร วิญญาน ขันธ์ อินทรีย์ฯลฯ

พระวินัย พระสูตร หรือพระอภิธรรม ที่เรียกว่าพระไตรปิฎกนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติ
พระไตรปิฎกเกิดจากการที่สาวกได้นำเอา พุทธบัญญัติ พุทธพจน์และโวหารของพุทธองค์
มาบัญญัติอีกทีหนึ่ง พระไตรปิฎกจึงไม่นับเป็นบัญญัติของพุทธองค์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับผู้ไม่รู้ภาษา...
ภาษาบาลี เกิดขึ้นหลังจากการปรินิพพานของพระพุทธองค์

ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"




สิ่งที่เราต้องยึดถือ ไม่ใช่ว่าใครจะพูดภาษาอะไร แต่เราต้องคำนึงว่า....เราใช้อะไรเป็นหลัก
ในการศึกษา ในที่นี้เราใช้บาลี เราก็ต้องเอาบาลีมาให้เหตุผลกับคำแปลที่เป็นปัญหา

มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาเถียงกันว่า พุทธองค์พูดบาลีหรือไม่พูด เกิดก่อนเกิดหลัง
ถ้าคุณศึกษาพระธรรมจากสันสกฤตหรือทิเบตก็ว่าไปอย่าง...เราถึงจะได้มาเถียงกัน
เรื่องบาลีเกิดก่อนเกิดหลัง พุทธองค์พูดหรือไม่พูดบาลี

ถามจริงเช่นนั้นเป็นลามะทิเบตหรือเปล่าครับ
เอางี้ถ้าคุณยอมรับว่าเป็นลามะทิเบต ผมจะได้หาเหตุผลอื่นมาเถียงกับคุณ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"

เป็นภาษาซึ่งอาศัยภาษาปรากฤต-มคธี เป็นภาษาหลักแต่มีความละเอียดรัดกุมขึ้นของไวยากรณ์
เป็นภาษาซึ่งพุทธสาวกฝ่ายเถรวาทใช้เป็นหลักในการศึกษาพุทธพจน์

ภาษาบาลีเป็นวจนภาษา เอาภาษาพูดเป็นหลัก ส่วนตัวอักขระยืมจากภาษาอื่นเฉพาะตัวอักขระ โดยเป็นเพียงเครื่องหมายที่มีเสียงกำกับอักขระจากภาษาอื่น

ตัวอักขระบาลีจึงแปรเปลี่ยนตามไปของเหล่าชนชาติ แต่การเปล่งเสียงซึ่งสืบทอดกันมาจะไม่เปลี่ยนแปลง
ตักอักขระบาลีที่มีการบันทึกจะเริ่มในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยใช้อักขระพราหณมี และได้มีการพัฒนาเรื่อยมา เป็นอักขระเทวนาครี พม่า มอญ ไทยลานนา ลาว มลายู สิงหล ฯลฯ


หลักเกณท์ทั้งหมดนี้ มันเป็นหลักเกณท์ที่คนมีอำนาจชี้นำ
พยายามแต่งเรื่องเพื่อจะได้มีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา
เน้นว่าเพียงเพื่อมีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา :b6:

สมัยเมื่อสองพันกว่าปี มันไม่มีหรอกหลักเกณท์พวกนี้
สมัยนั้นท่านเริ่มต้นด้วยการ สลักรูปบนแผ่นศิลา(รูปไม่ใช่ตัวอักษร)
ดูตัวอย่างที่มีให้เห็นเช่น จีนเป็นต้น จีนมีภาษาเขียนมาหลายพันปี เริ่มแรกก็เป็นลักษณะของรูปภาพ
และพัฒนามาเป็นลายเส้น และเป็นดังที่เห็นในปัจจุบัน.....

นี่คือการอธิบายความแบบตรงไปตรงมา และเป็นจริงที่สุด
ไม่ต้องเมคเรื่องสร้างภาพสารพัดสารเพเพื่อให้คนคล้อยตาม
:b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
[color=#0000BF][size=150]หลักเกณท์ทั้งหมดนี้ มันเป็นหลักเกณท์ที่คนมีอำนาจชี้นำ
พยายามแต่งเรื่องเพื่อจะได้มีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา
เน้นว่าเพียงเพื่อมีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา :b6:

เท่าที่อ่านมา แสดงว่า
โฮฮับ ไม่รับรู้เรื่องไวยากรณ์บาลี
ไม่สนใจด้วย
ปฏิเสธฉบับแปลด้วย
และมหาเปรียญทั้งหลายที่แปลพระไตรปิฏก บาลี-ไทย ก็มั่วด้วยถูกไหม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
[color=#0000BF][size=150]หลักเกณท์ทั้งหมดนี้ มันเป็นหลักเกณท์ที่คนมีอำนาจชี้นำ
พยายามแต่งเรื่องเพื่อจะได้มีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา
เน้นว่าเพียงเพื่อมีหลักสูตรไว้สอนนักศึกษา :b6:

เท่าที่อ่านมา แสดงว่า
โฮฮับ ไม่รับรู้เรื่องไวยากรณ์บาลี
ไม่สนใจด้วย
ปฏิเสธฉบับแปลด้วย
และมหาเปรียญทั้งหลายที่แปลพระไตรปิฏก บาลี-ไทย ก็มั่วด้วยถูกไหม




บาลีแท้ๆมันมีหลักไวยากรณ์ซะที่ไหนกัน ดันไปเอาหลักของคัมภีร์เวทมนต์ขอมมาผสมโรง...
ไม่เละงานนี้จะเละงานไหน

อย่าแถไถเลนเช่นนั้น ที่ผมพูดมาทั้งหมดไม่รู็เรื่องใช่มั้ย
สู้อุตสาห์แยกเป็นประเด็นๆให้ มันก็ยังลากให้มันนอกเรื่อง
ถ้าคิดว่า คำเสียดสีประชดประชัน เป็นเหตุผลก็เอาตามสะดวกแล้วกัน ท่านโมฆะบุรุษ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 07:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 11:29
โพสต์: 64

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอส่งเสียงหน่อยว่า.....อ่านคุ้มเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2016, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
ขอส่งเสียงหน่อยว่า.....อ่านคุ้มเลย

กด Like รัวๆๆๆๆ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร