วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 12:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน & บัวซนซน

:b8: :b8: :b8:

:b9: :b9: :b9:

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบสวัสดีท่านเจ้าของกระทู้ท่านคุณลุงหมาน ขออนุญาตเข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้
ของคุณลุงนะคะ
กราบครูอาจารย์ผู้มีพระคุณทุกๆ ท่าน ขอบพระคุณที่ให้ความเมตตาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์
กับตัวข้าพเจ้าอย่างที่สุด ยังระลึกถึงพระคุณนั้นเสมอมาและสวัสดีกัลยาณมิตรทุกๆ ท่าน

ใคร่ครวญอย่างมากที่จะเข้ามาตอบได้พยายามเข้ามาตอบตั้งแต่เมื่อวานแต่ล็อคอินเดิมชื่อศรีวรรณ์ เข้าไม่ได้เลยลองล็อกอินชื่อนี้จึงเข้ามาตอบได้ ในความคิดเห็นของผู้เขียนแล้วผู้เขียนเห็นว่าพระธรรมที่ปรากฏสืบทอดกันมาที่เรารู้จักกันคือในพระไตรปิฎกนั้น พระธรรมยังมีความสมบรูณ์อย่างยิ่งชนิดที่ถ้าผู้ปฎิบัติปฎิบัติได้ตามคำสอนก็จะสามารถทำให้เกิดผลการปฎิบัติตามคำสอนได้ อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็เห็นว่าการเข้ามาแสดงความคิดเห็นในฐานะกัลยาณมิตรกันของผู้ปฎิบัติด้วยกัน อาจก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ปฎิบัติบางท่านบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการปฎิบิติให้จิตว่าง คือ จิตว่างเป็นจิตของผู้เจริญมรรคปฎิปทา ตามคำสอนของพระพุทธองค์ก็คือการเจริญมรรค ๘ มีอิทธิบาท4 ในการปฎิบัติเป็นการเจริญสติจนสติที่เกิดจากการปฎิบัติสติปัฎฐาน ๔ ผ่านการปฎิบัติสติปัฎฐานกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต จนถึงธรรมในธรรม สติสัมปชัญญะที่เกิดก็จะเกิดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป อันเป็นการปฎิบัติที่พัฒนาไปจนถึงการปฎิบัติโพชฌงค์ ๗ จนสามารถผ่านวิสุทธ ๗ หรือในคัมภีร์ภายหลังใช้คำอธิบายคือการผ่านวิปัสสนาญาณ ๑๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้นั้นต้องผ่านวิสุทธิ ๗ อันมี
๑. ศีลวิสุทธิ สำหรับผู้เขียนผู้เขียนผู้เขียนพยายามปฎิบัติตตามจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
พร้อมกันนั้นก็ปฎิบัติอินทรีย์สังวร คือการมีสติสำรวมในอายตนะ ๖ โดยเฉพาะในสมาธิภาวนาถ้าเกิดนิมิตต่างๆ ก็จะใช้ราหุลสูตร ๑ มาเป็นหลักในการปฎิบัติ ซึ่งเป็นการปฎิบัติอนิมิตสมาธิไปโดยไม่รู้ตัวในขณะนั้น แต่เมื่ออ่านพระสูตรย้อนหลังไปทำให้รู้ว่าด้วยผลจากที่ปฎิบัตินี้ทำให้เป็นการปฎิบัติที่ทำให้เกิดสุญญตา
๒. จิตตวิสุทธิ การชำระจิตโดยการปฎิบัติสมถ+วิปัสสนาเพื่อชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์๕มีการพิจารณาอารมณ์โดยรูปนามคือการพิจารณาขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ที่มากระทบโดยความเป็นพระไตรลักษณ์
๓. ทิฎฐิวิสุทธ มีสัมมาทิฎฐิ มีความรู้ความเข้าใจรูปนาม คือทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ รู้ชัดเห็นชัดในรูปนามอันเป็นส่วนประกอบของขันธ์ ๕ ทั้งหมด รู้ชัดเห็นชัดถึงผัสสะกับอายตนะที่กระทบกันตลอดเวลาที่เกิดขึ้นกับขันธ์ของผู้ปฎิบัติเป็นการรู้ชัดเห็นชัดด้วยปัญญาญาน รู้ชัดเห็นชัดในเรื่องธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ปรากฏในร่างกาย
๔. กังขาวัตรณวิสุทธิ
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นปัญญาเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งสังขาร
ในการปฎิบัติที่ใช้สมถ+วิปัสสนาเป็นหลักปฎิบัติก็คือการเข้าไปรู้เกี่ยวกับอุปทานขันธ์ ๕
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
อย่างนี้ความดับแห่งรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็เช่นกันต้องพิจารณาให้เห็นชัดรู้ชัดถึงความเกิดและความดับของอุปทานขันธ์ ๕
๖. ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธ
๗. ญาณทัสสนวิสุทธเป็นความรู้แจ้งมีโสดาปัตติมรรคญาณในเบื้องต้น


หรือวิปัสสนาญาณ ๑๖ ต้องผ่านขั้นตอนนี้แล้วทั้งหมดถึงจะเข้าถึงสภาวะจิตว่างนอกจากนี้ยังมีวิธีที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ในพระสูตรอาทิ สุญญตวรรค จุฬสุญญตสูตรก็มีลองไปปฎิบัติดูนะคะ สำหรับผู้เขียน

ในการผ่านมรรคญาณหรือวิปัสสนาญาณครั้งแรกจะพบกับสภาวะ
จิตว่างชั่วคราว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตว่างชั่วคราวจะว่างอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ไม่สั้นนักประมาณเจ็ดวันเต็มๆ ที่จะทราบสภาวะทุกๆ วินาทีตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาจนกระทั่งหลับไปที่จิตจะมีสภาวะจิตว่าง

สภาวะจิตว่างถ้าอธิบายโดยวิถีจิตจะเห็นชัดที่สุดคือทั้งปัญจทวารวิถีจนถึงมโนทวารวิถีเมื่อจิตไม่ว่างจิตจะเสพอารมณ์อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเกิดสภาวะจิตว่างจิตจะไม่เสพอารมณ์ใดๆ เลย จิตจะว่างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ดังภาพวิถีจิตด้านล่างนี้ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว




7796-1.jpg
7796-1.jpg [ 17.81 KiB | เปิดดู 3071 ครั้ง ]
11155-3.gif
11155-3.gif [ 7.5 KiB | เปิดดู 3071 ครั้ง ]
แผนภาพแสดงวิถีจิตผู้เขียนก็อปมาไม่เป็นขอท่านใดสะดวกก็อปแสดงให้ด้วยค่ะ

ภาพวิถีมีหลายอย่างก็ไม่ทราบว่าผู้เขียนจะเอาภาพวิถีแบบไหน เลยเอาภาพวิถี
อติมหันตารมณ์ กับมรณาวิถี
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เนื่องจากเป็นสภาวะจิตว่างชั่วคราวเพราะผู้ปฎิบัติยังไม่สามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้
การวิปัสสนากิเลสก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสออกไปจากจิตได้จึงเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติที่ปฎิบัติมาคือวิถีจิตจะกลับไปอยู่ยังวิถีเช่นเดิมมีการเสพอารมณ์ของจิตดังเช่นที่เคยมาเช่นเดิม ผู้ปฎิบัติก็ต้องปฎิบัติสมถ+วิปัสสนาต่อไปอีกเรื่อยๆ



ในความเป็นจริงพระสูตรยุคนัทธวรรค สุญกถา (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ ปฎิสัมภิทามรรค )
ได้มีอธิบายไว้แล้ว แต่เราจะมีความเข้าใจได้ทั้งหมดหรือไม่ค่ะ ผู้เขียนขอยกเพียงข้อความส่วนหนึ่งที่เข้ากับสภาวะที่ปรากฏกับผู้เขียนโดยตรงเท่านั้น คือ
“...พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฎฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมมารมณ์สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ...”
“...(๖๔๗)ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูปภายนอก ทั้งสองสูญจากตน
จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ...”
“...(๖๔๘)ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอกันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖...หมวดวิญญาณ ๖...หมวดผัสสะ ๖... “
“...(๖๔๙)ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป...”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


จนวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๒
ถ้าผู้ปฎิบัติเกิดปัญญาญาณสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว สามารถเห็นกิเลสที่เกิดดับกับจิต เห็นจิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต จนถึงขั้นละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ก็จะไม่พบว่ากิเลสที่เป็นของเรายังหลงเหลืออยู่ในจิตอีกแล้ว สามารถดับสังโยชน์ได้แล้วทั้ง ๑๐ สภาวะจิตว่างที่ผู้ปฎิบัติจะพบกับตัวเองก็คือ ความรู้สึกว่างกลางอกกลวงๆ มีจิตเหมือนไม่มี ตลอดเวลาจะรู้สึกเหมือนไม่มีจิตอยู่ เพราะไม่มีเราไปเป็นเจ้าของเพราะสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ทุกวันเวลา มันจะว่างอยู่อย่างนั้น เดิมอายตนะทั้ง ๖ ทวารจะกระทบกับจิตอยู่ตลอดเวลาแต่เมื่อสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้วจิตจะว่างอยู่อย่างนั้นจิตมันไม่เสพอารมณ์ การกระทำจากสิ่งที่มากระทบสำหรับผู้มีจิตว่างก็คือการใช้สมองพิจารณาว่าควรทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไรก็เท่านั้นสมองสั่งไม่ใช่จิตสั่งเป็นเหมือนเป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้นประคองสังขารไปเท่าที่ควรเท่าที่ทำได้เท่านั้นค่ะ
ในพระสูตรพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้คือ
“...เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย...”(สุญญตวรรค จุฬสุญญตสูตร
พระไตรปิฎกมัชฌิมนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๖)
ผู้เขียนพยายามอธิบายโดยตัวสภาวะที่ปรากฏกับตัวเองให้กัลญานมิตรผู้สนใจเรื่องจิตว่างให้เข้าใจได้บ้างค่ะสภาวะนี้ประสพกับผู้เขียนมาก็ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันผู้เขียนเลยใช้คำว่าจิตว่างอย่างถาวรค่ะผู้เขียนคิดว่าเป็นความว่างที่เป็นปรมุตระ มีจิตแต่มันว่างในอกตลอดเวลาจนรู้สึกเหมือนไม่มีจิตในนั้น ไม่รู้สึกว่ามีจิตอยู่ มีแต่เพียงความว่างเท่านั้น การละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ตัวจิตจึงอยู่ของมันโดดๆ โดยไร้ผู้เป็นเจ้าของ มีแต่ไม่รู้สึกว่ามี มีแต่ความว่าง
อย่างเดียวตลอดเวลาทุกวินาทีตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป อายตนะ ๖ที่มีขึ้นในแต่ละวันจิตมันไม่เสพอารมณ์ ผู้เขียนเคยใช้คำอธิบายว่าเหมือนผัสสะดับไปผู้เขียนรู้สึกเช่นนั้น
จิตว่างนี้จะว่างอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไปเป็นจิตว่างอย่างถาวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


จนวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ ๒
ถ้าผู้ปฎิบัติเกิดปัญญาญาณสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว สามารถเห็นกิเลสที่เกิดดับกับจิต เห็นจิตปรุงกิเลส กิเลสปรุงจิต จนถึงขั้นละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ก็จะไม่พบว่ากิเลสที่เป็นของเรายังหลงเหลืออยู่ในจิตอีกแล้ว สามารถดับสังโยชน์ได้แล้วทั้ง ๑๐ สภาวะจิตว่างที่ผู้ปฎิบัติจะพบกับตัวเองก็คือ ความรู้สึกว่างกลางอกกลวงๆ มีจิตเหมือนไม่มี ตลอดเวลาจะรู้สึกเหมือนไม่มีจิตอยู่ เพราะไม่มีเราไปเป็นเจ้าของเพราะสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ทุกวันเวลา มันจะว่างอยู่อย่างนั้น เดิมอายตนะทั้ง ๖ ทวารจะกระทบกับจิตอยู่ตลอดเวลาแต่เมื่อสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้วจิตจะว่างอยู่อย่างนั้นจิตมันไม่เสพอารมณ์ การกระทำจากสิ่งที่มากระทบสำหรับผู้มีจิตว่างก็คือการใช้สมองพิจารณาว่าควรทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไรก็เท่านั้นสมองสั่งไม่ใช่จิตสั่งเป็นเหมือนเป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้นประคองสังขารไปเท่าที่ควรเท่าที่ทำได้เท่านั้นค่ะ
ในพระสูตรพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้คือ
“...เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะ และชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย...”(สุญญตวรรค จุฬสุญญตสูตร
พระไตรปิฎกมัชฌิมนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๖)
ผู้เขียนพยายามอธิบายโดยตัวสภาวะที่ปรากฏกับตัวเองให้กัลญานมิตรผู้สนใจเรื่องจิตว่างให้เข้าใจได้บ้างค่ะสภาวะนี้ประสพกับผู้เขียนมาก็ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบันผู้เขียนเลยใช้คำว่าจิตว่างอย่างถาวรค่ะผู้เขียนคิดว่าเป็นความว่างที่เป็นปรมุตระ มีจิตแต่มันว่างในอกตลอดเวลาจนรู้สึกเหมือนไม่มีจิตในนั้น ไม่รู้สึกว่ามีจิตอยู่ มีแต่เพียงความว่างเท่านั้น การละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ตัวจิตจึงอยู่ของมันโดดๆ โดยไร้ผู้เป็นเจ้าของ มีแต่ไม่รู้สึกว่ามี มีแต่ความว่าง
อย่างเดียวตลอดเวลาทุกวินาทีตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไป อายตนะ ๖ที่มีขึ้นในแต่ละวันจิตมันไม่เสพอารมณ์ ผู้เขียนเคยใช้คำอธิบายว่าเหมือนผัสสะดับไปผู้เขียนรู้สึกเช่นนั้น
จิตว่างนี้จะว่างอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งหลับไปเป็นจิตว่างอย่างถาวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เขียนขอยกพระสูตรสุญญตาวิหาร ๑
“...สุญญตาแปลว่าภาวะของจิตที่ว่างจากกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่างจากความรู้สึกว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบคคล เป็นเรา เป็นเขา ภาวะที่ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวตน หรือของตนนั้นเรียกว่า สุญญตา ถ้าจิตเข้าไปอยู่ในภาวะอย่างนั้นเรียกว่าอยู่ในสุญญตาวิหาร...”

คำตอบของผู้เขียนนี้ผู้เขียนเขียนขึ้นอย่างคร่าวๆ พอให้กัลยาณมิตรที่สนใจเข้าใจสภาวะเท่านั้นค่ะเพราะ ณ. ที่แห่งนี้มีพระคุณกับผู้เขียนอย่างหาที่สุดมิได้ เรื่องนี้ที่เข้ามาตอบเพราะเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล ผู้เขียนทราบดี จึงมาให้คำอธิบายผู้เขียนหวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้ทีสนใจบ้างสักเล็กน้อย

บทอธิบายสภาวะอากิญจาญายตนะเพราะเคยเห็นความสับสนของคำอธิบายเรื่องอากิญจาญายตนะกับจิตว่างซึ่งไม่ใช่สิ่งเดียวกัน อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี เป็นสภาวะว่างที่ต่างจากจิตว่างไม่ใช่สภาวะเดียวกัน ผู้ผ่านอากิญจาญายตนะจะรู้สึกว่างกลางอกกลวงๆ ก็จริงแต่ยังมีจิตอยู่ในนั้น เป็นภาวะที่ยังมี มานะ มีสังโยชน์ตัวท้ายๆ อยู่ ยังมีอุปทานขันธ์ห้าอยู่ยังไม่สามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ ต่อเมื่อวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นพระไตรลักษณ์ สำหรับผู้เขียนพิจารณาโดยความเป็นอนัตตาจนสามารถละอุปทานขันธ์ ๕ ได้แล้วถึงจะพบกับจิตว่าง

จิตว่างตามพระสูตรที่ศึกษามาจะเป็นสภาวะที่ผู้ปฎิบัติวิโมกข์ ๘ โดยไม่ยึดถือในนิมิตรเป็นการปฎิบัติอนิมิตร และรู้อริยสัจน์โดยการพิจารณาอนัตตา ผู้เขียนขอเขียนเป็นบทสังเกตไว้เพียงคร่าวๆ แค่นี้นะคะ
ขอน้อมกราบครูอาจารย์ทุกท่านยังระลึกถึงพระคุณทุกท่านอยู่เสมอ
ศรีวรรณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 12:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 16:42
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 13:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

:b8: :b8: :b8:

ทันทีที่เอกอนเข้ามาแล้วเห็นชื่อ แก้วเก้า ชื่อนี้รู้สึกดึงดูดใจ
แม้ยังไม่ทันได้อ่าน เอกอน สัมผัสรู้สึกได้ถึง
อารมณ์มิตรภาพที่ละมุน ๆ ชุ่มชื่นใจบางอย่าง

จึงได้เข้าไปเริ่มต้นความเห็นแรกของคุณ และเมื่อได้เห็นว่าเป็นคุณ ศรีวรรณ ...
เอกอนรู้สึกดีใจมากที่ได้พบคุณอีกครั้ง ... คุณหายไปนานเลย

คงมีเรื่องราวมากมายที่จะได้ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบคุณแน่เลย

:b27: :b27: :b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2015, 14:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
Kiss Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2018, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร