วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
พุทธฏีกา เขียน:
อาตมาก็คงต้องโดนตำหนิโดนด่าอยู่บ้างที่เหมือนไปค้านความเห็นคนอื่น
แต่ก็จำเป็นที่ต้องโดนแหละ อันนี้เข้าใจได้ ก็ฝากไว้พิจารณากันทุกๆ คนครับ ^^
ที่นี้ว่าด้วย วาทะหรือคำพูดที่ขัดกัน อัฏฐาธิบายใน พรหมชาลสูตร
ท่านกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่าโลกและอัตตาเที่ยงดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปดังนี้เป็นต้น สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่าย่อมทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่าความเห็นของผู้มีทิฏฐิไม่เนื่องกัน หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจำในกองแกลบ


โลก และ อัตตา ภายนอกเที่ยง แต่สัตว์เหล่านั้น หรือจิตนี้ไม่เที่ยง
ไม่รู้ว่าพอจะคล้ายกันไหมนะครับใช่ก็พิจารณาครับ ไม่ใช่ก็พิจารณาดีๆ
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"

พูดไปพูดมา มันก็ยังไม่รู้เรื่องครับ ถ้าหลวงพี่ยังไม่เอาเรื่องสภาวะไตรลักษณ์เป็นหลัก
ไอ้สิ่งที่หลวงพี่ไปยกเอามาเปรียบ มันก็เหมือนกับที่ผมโพสไว้ตอนแรกว่า ต้องแยกแยะ
ประเด็น แล้วดูด้วยว่าลักษณะของสิ่งที่พูดเป็นอย่างไร มีทีมาที่ไปอย่างไร
ผมก็บอกหลวงพี่ไปแล้วว่า เราถกกันถึงเรื่องสภาวะแห่งไตรลักษณ์ ความไม่เที่ยงแห่งไตรลักษณ์
หลวงพี่ก็ไปยกเอา อัตตา เอาโลกมาพูด ไปเลยเรื่องนี้ไปแล้ว
หลวงพี่พยายามตัดเนื้อหาให้มันแคบลงมาแล้วจะเข้าใจ อย่าไปคิดกว้างๆเหมือนโพส
พระไตรปิฎกสิครับ แบบนี้แล้วเมื่อไรจะเข้าใจ

ถามครับ ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงให้ทำ สติปัสฐานสี่ตลอดเวลา เรื่องกายในกาย
เรื่องจิตในจิตฯลฯหลวงพี่พอเข้าใจมั้ยครับ ที่สำคัญเรื่องสังขตธรรมและอสังขตธรรม
เป็นอย่างไรอย่าลืมดูนะครับ

หลวงพี่ครับ จำความเห็นก่อนๆของหลวงพี่ได้มั้ยครับ หลวงพี่ว่า คนไม่เข้าใจปรมัตถ์
ก็จะไม่เข้าเรื่องที่หลวงพี่เอามาเปรียบเทียบ ผมว่ามันไม่ใช่แล้วล่ะครับ ดูแล้วมันเป็น
คนไม่เข้าใจปรมัตถ์ มักจะเปรียบเทียบสมมุติบัญญัติอยู่ร่ำไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ส่วนสรรพสิ่งหรือธรรมชาติภายนอก มันไม่ได้เป็นสภาวะ
อนิจจังและทุกขัง แต่มันเป็นอนัตตา


ขัดกันเองรึเปล่าครับ มาตอนนี้สรรพสิ่งธรรมชาติภายนอก มาจับเป็นอนัตตาแล้ว
แต่ก่อนหน้านั้น กล่าวว่าเที่ยง ?? "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง"
เพราะสำััคัญเสมออัตตา หรือไปๆ มาๆ เพิ่มซัดส่ายดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยรึเปล่าครับ

เห็นมั้ยล่ะว่าแล้วหลวงพี่ต้องไม่เข้าใจ เรื่องสภาวะไตรลักษณ์
ผมต้องขอโทษที่ต้องลองภูมิด้วยการเน้น ตัวหนังสือ อนัตตา
ผมแค่อยากรู้ครับว่าหลวงพี่เข้าใจเรื่องไตรลักษณ์แค่ไหน รู้เรื่องสังขตธรรม
อสังขตธรรมหรือเปล่า

จะอธิบายพอคร่าวนะครับ ไอ้อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปที่เรียกว่าไตรลักษณ์นั้น
ผลของมันจะต้องเป็น ความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ความทุกข์(ทุกขัง)และความไม่มีตัวตน
บังคับไม่ได้(อนัตตา) สภาวะไตรลักษณ์จะต้องเกิดผลทั้งสามจะขาดอยากใดอย่างหนึ่งไม่ได้

และที่ว่าสรรพสิ่งภายนอก เป็นอนัตตาอย่างเดียว
แสดงว่า มันไม่ได้เป็นไตรลักษณ์ และที่ว่าเป็นอนัตตาก็เพราะ
การที่จะเรียกว่าสรรพสิ่งภายนอกหรือธรรมชาติได้นั้น
เราต้องไม่ไปยึดเอาสิ่งที่ว่า เพราะถ้าเราไปยึดมันจะกลายเป็นสังขารครับ
การไม่ยึดเท่ากับว่า มันไม่ใช่ตัวตนหรือเท่ากับไม่เกิดอัตตา
และที่ว่าบังคับไม่ได้ ต้องเข้าใจนะครับว่า ธรรมชาติมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เราบังคับมันไม่ได้อยู่แล้วครับ

พุทธฏีกา เขียน:
หรือ
โฮฮับ เขียน:
เช่นน้ำฝนย่อมตกจากฟ้ามันจริงแท้
และฝนตกเราก็ไม่ได้ทุกข์ อีกทั้งเราไปบังคับมันไม่ให้ตกก็ไม่ได้

ถ้าอันนี้สำคัญว่าเที่ยงก็ตรงตามอัฏฐกถาแล้วกระมังครับ เข้าใจกันได้ ไม่ต้องอาศัย
ธรรมวิจัยะอะไรเรื่องฝนหรอกครับมันบังคับไม่ได้ แต่อัฏฐกถกล่าวไว้ไม่มีผิด
เมื่่อสำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้น^^
อันนี้ มันจริงแท้

การอธิบายมันต้องอาศัยหลักธัมวิจยะที่ประกอบด้วยปัญญาครับ
สิ่งที่อธิบายความถึงจะได้ไม่มีอัตตา และเราจะเห็นอสังขตธรรมครับ

ถ้าลองไม่มีสัมมาทิฐิการกล่าวมันก็เป็นการเข้าไปยึด
ในสิ่งที่กล่าวนะสิครับ
อรรถกถาที่หลวงพี่ว่า เขากล่าวถึงคนที่มีมิจฉาทิฐิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
[อันนี้ มันจริงแท้
พุทธฏีกา เขียน:
อ้างคำพูด:
บทว่า สสฺสติ ในคำว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสมํ นี้มีความว่า ย่อมสำคัญแผ่นดินใหญ่ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สำคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.


ที่เหลือก็สุดแท้ครับ แค่ความเห็นกว้างๆ ทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ
ผู้หนึ่งผู้ใด (หมายถึงก็หลายๆ คนมีความเห็นยึดตนว่าเที่ยง และยึด
เอาตนว่าสูญว่าไม่มีอย่างผิดๆ ก็มีฯลฯ) อย่าได้ด่วนตำหนิสรุปอ้าง
ต่อผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนมาให้เทียบเคียง ควรโยนิโสมนสิการครับเจริญพร

อันนี้ สำหรับเฉพาะผู้เห็นผิดนะครับคุณโยมเข้าใจ ถูกก็ไม่ต้องเดือดร้อนครับ
อันนี้อัฏฐกถาก็ว่า ผู้สำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งนั้นก็คล้ายๆ กับยึดถือ
ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง ตามอัฏฐกถา อันนี้ว่า มีอยู่แท้
สำหรับที่เห็นผิดนะครับ มันจริงแท้ มีอยู่แท้ นี้เพราะอาศัยผัสสะ อาศัยอัตตา
เนื่องด้วยอัตตาแล้วกล่าว เป็นวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงดังนี้
เรื่องอนัตตายังไม่เห็นที่ไม่สอดคล้องครับ ก็...
อืม...ขออนุโมทนาครับ กัลยาณมิตรเชิญ โยนิโสมนสิการครับเจริญพร

อย่าว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลยครับ เป็นเพราะหลวงพี่ไม่รู้จัการตีความหรือพิจารณาธรรมครับ
หลวงพี่อาศัยการเทียบเคียงสมมุติบัญญัติ ประเภทว่าบัญญัติไหนเหมือนกัน มันก็เป็นอันเดียวกัน

หลวงพี่ครับ โจรที่ถือมีดอยู่ในมือ กับพ่อครัวที่ถือมีดอยู่ในมือ
โจรกับพ่อครัวมันเหมือนกันหรือครับ หลวงพี่อย่าไปดูที่มีดสิครับ
ต้องดูว่าใครเป็นคนถือมีด

เช่นเดียวกันครับ หลวงพี่เห็นแค่คำว่า"บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง"
หลวงพี่ก็ไปยกเอา ประธานอีกอย่างมาคือตัวมิจฉาทิฐิ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว
ตัวประธานคือ สัมมาทิฐิ
ในที่นี้ มิจฉาทิฐิก็เหมือนโจร สัมมาทิฐิก็เหมือนพ่อครัว
และไอ้ตัว"บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงมันก็เหมือนมีดครับ


การแสดงความเห็นของคน ในลักษณะ มิจฉาทิฐิกับ สัมมาทิฐิก็แตกต่างกันครับ
คนมีมิจฉา จะมองอะไรเป็นมิจฉาไปซะหมด อย่างเช่น คนมีสัมมาทิฐิแสดงเหตุ
และผลจะมุ่งเน้นไปให้เห็นถึงกระบวนการของสรรพสิ่ง แต่คนมีมิจฉาก็จะหยิบยก
แปรเปลี่ยนไปเป็น ขนาด ปริมาณ แสดงถึงอัตตาเห็นๆครับ

หลวงพี่ครับกับคำว่า" บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง"
หลวงพี่คิดว่า ในสัมมาทิฐิไม่มีหรือครับ
ผมถามครับ คนที่มีสัมาทิฐิ พวกอริยะบุคคล ในขั้นเสขะ
ท่านเหล่านั้นเห็นความไม่เที่ยงแล้ว ทำไมท่านต้องศึกษาต้องปฏิบัติอีกครับ
ไม่ใช่ท่านต้องการหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงนี้หรือ จุดสุดท้ายของท่าน
ไม่ใช่ความเที่ยงหรือครับ
ความเที่ยงของอริยะบุคคลคืออะไร หลวงพี่เป็นพระน่าจะรู้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กับคำที่หลวงพี่พุทธฎีกาว่า "ยึดของตนเองก่อน แล้วยึดสังขารข้างนอกว่าเที่ยง"
ผมเรียนถามหลวงพี่ครับว่า สังขารในความหมายของหลวงพี่ มันคืออะไรครับ
จากความเห็นผมที่แสดงไว้ ผมว่า ความไม่เที่ยงหรืออนิจจังของไตรลักษณ์
มันเกิดที่รูปนาม หรือขันธ์ห้าของตัวเอง อันนี้เลยสงสัยว่า สังขารที่หลวงพี่บอก
มันหมายถึงอะไรครับ

อุปาทินนกสังขาร และอุปาทินนกสังขาร มีใจครองและไม่มีใจครอง...
อาตมาก็เห็นชอบสังขารตามที่โยมอธิบายนั่นแหละ แต่สังขารที่ยกมาแสดงคือ
บัญญัติ อัตตาและโลก ที่อัฏฐกถากล่าวว่า ผิดไปจากสัมมาทิฏฐิ
คือเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ได้บอกแล้วนะครับว่า เกรงว่าจะเข้าใจกันผิด^^

ว่าแล้วหลวงพี่เอาเรื่องสังขารขันธ์ ที่มันอยู่ในส่วนของอุปาทินนกสังขาร
ไปผสมปนเปกับอนุปาทินนกสังขาร ดูให้ตายก็ดูไม่ออกหรอกครับ
ดูยังไงมันก็หลงไปยึดเป็นอัตตาเมื่อนั้น

ถ้าหลวงพี่จะคุยเรื่องสังขารที่เป็นเรื่องมีใจครองหรือไม่มีใจครอง
หลวงพี่ต้องเอาสังขารขันธ์ออกไปก่อน ยังไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว

สมมุติดูแค่ร่างกายของเรา ถ้ามีใจครองเขาเรียกกาย ในส่วนที่เป็นกาย
มันไม่เที่ยง เพราะมีใจไปยึดไว้ แท้จริงมันเป็น ธาตุสี่(ดิน น้ำ ลม ไฟ)

แล้วมาดูในแง่ไม่มีใจครอง มันก็เป็น แค่ธาตุสี่(ดิน น้า ลมไฟ)เช่นกัน

ทั้งสิ่งที่มีใจครองและไม่มีใจครอง มันเหมือนกันตรงที่ เป็น ธาตุสี่
และมันต่างกันที่มีใจครองไม่มีใจครอง

กายมีจิตเขาไปยึด แท้จริงเป็นธาตุสี่
ธาตุสี่ไม่มีจิตเข้าไปยึด มันก็เป็นธาตุสี่
พอดูออกหรือยังว่าอะไรเป็นสรรพสิ่งภายนอก อะไรเป็นจิต
แล้วอะไรเที่ยง อะไรไม่เที่ยง

หลวงพี่ครับจะพิจารณาธรรม จะเอาจิตออกมานอกๆครับ
อย่าเอาจิตเอาไปคลุกเคล้า กับธรรมที่จะพิจารณา ไม่งั้น
ธรรมที่กำลังพิจารณามันจะกลายเป็นการปรุงแต่งของจิตครับ
พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อย่างเช่น"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง" ถ้าคนเข้าใจโดยไม่เอา
จิตตัวเองไปยึดถือยุ่งเกี่ยวด้วย ธรรมชาติมันก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวิถี
ตามเหตุปัจจัยของมัน ลักษณะที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราจะใช้สมมุติบัญญัติ
อะไรมาเรียกดีครับ แต่ที่รู้ๆ มันไม่ใช่อนิจจัง ในไตรลักษณ์ครับ เพราะมันจะเป็นอนิจจัง
ในไตรลักษณ์ได้ มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าทุกข์และอนัตตาร่วมอยู่ด้วย

ก็...ลองพิจารณาได้นะครับ ความจริงถ้าเข้าใจก็ยุติไปแล้ว อนิจฺจา วต สงฺขารา
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ สังขารทั้งหลายมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น อันปัจจัยมีประมาณเท่าใด มาประชุมก่อกำเนิดไว้ ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าไม่เที่ยงไปทั้งหมด เพราะบรรดาสังขารเหล่านี้ รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง ฯลฯ ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง. รวมความว่า สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิด ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ มีอันใดบ้าง อันนั้นทั้งหมด ไม่เที่ยงทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ จงกำหนดถือเอาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ.

ชัดพอรึยังนะครับ......................
ดังนั้นจึงได้เกรงว่าจะมีความเข้าใจผิด ว่าบางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"
"เช่นน้ำฝนย่อมตกจากฟ้ามันจริงแท้และฝนตกเราก็ไม่ได้ทุกข์
อีกทั้งเราไปบังคับมันไม่ให้ตกก็ไม่ได้" ฯลฯ

ผมรู้สึกว่า หลวงพี่จะอ้างไปเรื่อย อ้างบัญญัติแต่ไม่เข้าใจว่า เหตุปัจจัยคืออะไร
หลวงพี่ก็รู้แล้วว่า อุปาทินนกสังขาร เป็นอย่างไร อนุปาทินนกสังขารเป็นอย่างไร

การที่หลวงพี่เอาเรื่องสุภัทราเทวีมาโพส หลวงพี่ไม่พิจารณาเลยหรือว่า
มันเป็นเรื่องของ อุปาทินนกสังขาร เป็นสังขารที่มีใจครอง มันไม่เที่ยง
มันก็เหมือนกับที่ผมบอกว่า จิตไม่เที่ยง

หลวงพี่คงลืมไปว่ายังมี อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง
แยกอยู่ต่างหากอีกตัว อะไรที่ว่าไม่เที่ยงๆ ของสุภัทราเทวี
มันมีอยู่ในอนุปาทินนกสังขารหรือครับ
จะยกจะอ้างอะไรต้องดูมวลรวมรอบด้านก่อนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สรุปก็คือผมบอกว่า การยึดสังขารข้างนอกมันไม่เที่ยงครับ
แล้วตัวที่ไม่เที่ยงมันคือสังขารของเรา ไม่ใช่สิ่งภายนอกไม่เที่ยง
ชี้ให้ชัดก็คือ หลวงพี่มองเห็นก้อนทองอยู่ก้อนหนึ่ง จิตที่คิดอยากได้เพราะมีราคา
จิตที่ว่านี่แหล่ะครับเรียกว่าสังขาร มันเป็นอนิจจังไม่เที่ยง แต่กลับมาดูที่ก้อนทอง
มันก็ยังเหมือนเดิม หลวงพี่จะเรียกว่าอะไรก็ได้ครับ แต่มันไม่ใช่
ไม่เที่ยงอนิจจังในไตรลักษณ์ครับ

อ้าว..............
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"
อืม...ครับ ขัดกันจนดิ้นไปดิ้นมาหมดแล้วครับ แถมไม่เข้าใจตามอัฏฐกถา
ด้วย ถึงว่าแม้เห็นสิ่งภายนอกเที่ยงตามเดิม ไม่กลับคำใหม่ว่าไม่เที่ยง ก็ไม่พ้นไปจากความ
เห็นที่ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ในความเห็นก่อนๆ
อัตตาที่สำคัญเสมอตนคือต้นต่อ คือเหตุที่ อาตมากล่าวว่า อาจมีคน
เข้าใจผิด เห็นผิดก็ได้ ถูกแล้วดีแล้วก็พิจารณา ไม่ถูกก็พิจารณาต่อไปครับ
...หรือกลับแล้วเห็นแล้วก็อนุโมทนาครับ^

หลวงพี่ครับอย่างอแงสิครับ ไอ้เรื่องกลับคำไม่กลับคำ มันไม่ใช่นะครับ
เพียงแต่ผมตามใจหลวงพี่ ที่หลวงพี่ยกเอาเรื่อง ว่าผมไม่เข้าใจปรมัตถ์
หลวงพี่โยงไปเรื่องปรมัตถ์มา สมมุติบางอย่างมันก็ต้องเปลี่ยนไป
เพื่อให้คู่สนทนาเข้าใจในทางปรมัตถ์ครับ

แต่ถ้าจะเอาสมมุติบัญญัติ ผมก็จะความเห็นเดิมไม่เปลี่ยนไม่ดิ้นหรอกครับ
อีกอย่างครับหลวงพี่ อย่าเอาสิ่งที่ผมอธิบายความเพื่อความเข้าใจ
แล้วหลวงพี่ไม่เข้าใจ ก็อย่าโมเมหาว่าผม"ดิ้นไป ดิ้นมา" แบบนี้ไม่เป็นธรรมกับผมครับ

หลวงพี่ครับผมน้อยใจนะครับ กับการที่ผมสู้อุตสาห์ยกตัวอย่างอธิบายความ
กลับถูกกล่าวหาว่าดิ้น แต่ที่กับหลวงพื่ตัดแปะอย่างเดียว ไม่อธิบายเนื้อหา
ที่เอามาแปะ ก็แค่มีสมมุติบัญญัติที่คล้ายกัน แล้วสรุปเอาเองว่าเป็นแบบนั้น
ผมเข้าใจครับ แต่เกรงว่าสมาชิกคนอื่นจะไม่เข้าใจ เดียวจะวิจิกิจฉากันไปใหญ่
หลวงพี่ไปอ่านเรื่องสังขตธรรมกับเรื่องอสังขตธรรมหรือยังครับ
เอามาคุยกันหน่อยซิครับว่ามีความเห็นอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อ้างคำพูด:
พระเทวีทรงพระกรรแสง เช็ดพระเนตร ตรัสคำอย่างนั้นกะพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยากลำบาก เอาแต่ทรงพระกรรแสงร่ำไห้ เหล่าสตรีแปดหมื่นสี่พันนาง แม้ที่เหลือก็พากันร้องไห้ร่ำไร ถึงในหมู่อำมาตย์เป็นต้นแม้คนเดียวก็ไม่อาจอดกลั้นความโศกไว้ได้ ต่างร้องไห้ระงมทั่วกัน. พระโพธิสัตว์ห้ามคนทั้งหมดว่า อย่าเลยพนาย อย่าได้ส่งเสียงคร่ำครวญไปเลย เพราะสังขารที่ชื่อว่า เที่ยง แม้เท่าเมล็ดงาไม่มีเลย ทุกอย่างไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดา ทั้งนั้น.
หรือ^^

แล้วพระเทวีกรรแสงนั้นน่ะ มันเป็นเรื่องสังขารตัวไหนครับ
ตั้งแต่ฟังหลวงพี่ สาธยายมา ผมไม่เห็นหลวงพี่เข้าประเด็นในสิ่งที่ผมสื่อเลยครับ
ผมพยายามตีวงให้แคบลง เพื่อให้หลวงพี่เข้าใจ จะได้มาคุยในสิ่งที่เป็นแก่น
หลวงพี่กลับไปหยิบยกสมมุติบัญญัติที่มันคล้ายกัน หลวงพี่ยังไม่รู้อีกว่า ชื่อหรือ
สมมุติบัญญัติมันเหมือนกัน แต่ในความเป็นปรมัตถ์มันเป็นคนละตัว

มันเป็นเรื่องของสภาวะ ตัวหนึ่งมีสภาวะที่แปลเปลี่ยนได้
แต่อีกตัวไม่มีสภาวะที่แปลเปลี่ยน เช่น อุปาทินนกสังขาร มันมีสภาวะที่แปรเปลี่ยนได้
ส่วนที่ไม่มีสภาวะที่แปรเปลียน อนุปาทินนกสังขาร พวกนี้ไม่มีใจครอง
จะบอกให้ครับ ก้อนหิน ก้อนดิน มันล้วนแล้วแต่เป็นอนุปาทินนกสังขารนะครับ
พวกก้อนหิน ก้อนดิน มันแสดงความแตกดับอย่างไรครับ

จะขยายความเพิ่มให้อีกหน่อยครับ ความหมายของอนิจจังในไตรลักษณ์
จากการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ดับไปในที่นี้ คือสภาวะนั้นดับสูญเลยนะครับ
ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งต่อ

ผมว่าหลวงพี่เลิกท่องพระไตรปิฎก แล้วกลับไปทำสติปัสนาก่อนดีกว่า
ปฏิบัติได้อะไรมา แล้วค่อยเปิดพระไตรปิฎก หาดูว่าไอ้สิ่งที่ได้มาเรียกว่าอะไร
แล้วต้องทำอะไรต่อ ผมว่าอย่างนี้มันจะเข้าท่ากว่าที่หลวงพี่จะไปนั่งจำพระไตรปิฎก
จำไว้ทั้งๆที่เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แบบนี้มันเสียเวลานะครับ


หลวงพี่พุทธฎีกาครับ ไอ้ที่ว่า"บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง"
ในสัมมาทิฐิมันมีอยู่จริง เพียงผมยังไม่อยากจะบอก ไอ้สิ่งที่เรียกว่า"เที่ยง" มันคืออะไร
ถ้าบอกไปเลยหลวงพี่ก็ไม่เข้าใจ ผมถึงพยายามบอกให้หลวงพี่ไปอ่านโน้น อ่านนี้
เพื่อเป็นการนำทางครับ และหวังว่าคงจะเชื่อคำแนะนำผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.
ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."
ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.
ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"

หลวงพี่ยกเรื่องดอกโกมุทมาทำไมครับ ผมบอกหลวงพี่มาแต่ต้นแล้วว่า
กฎแห่งไตรลักษณ์ มันต้องมีผลสามอย่างครับ
จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ "ไตร"แปลว่าอะไรไม่รู้หรือครับ

แล้วที่ดอกโกมุทมันเหี่ยว มันเกี่ยวกับอนิจจังในไตรลักษณ์ตรงไหนครับ
ดอกโกมุทมันไม่รู้หรอกครับว่ามันเหี่ยว แต่ที่รู้ว่าเหี่ยวมันเป็นตัวเรา

"ชราไปกระทบกับอนุปาทินนกสังขาร มันเป็นเพราะตัวอุปาทินนกสังขาร
ไปยึดเอาตัวอนุปาทินนกสังขารเข้า"
หลวงพี่ครับ รู้หรือเปล่าว่า ยกธรรมมาแต่ละบท มันไม่ได้เกี่ยวกับ
เรื่องที่เป็นปัญหาอยู่เลย เรื่องที่หลวงพี่เอามามันเป็นเรื่อง การยึดมั่น
ถือมั่นในกาย แต่เรื่องของเราไม่เกี่ยวกับการยึดมั่นถือมั่น และมันไม่ใช่เรื่อง
กายใจเรา แต่เป็นสรรพสิ่งหรือธรรมชาติภายนอกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
เหตุผลที่ยกมา ทั้งหมด จะบอกว่าอาจมีคนเข้าใจผิด เกิดความสับสน
ยึดเอาบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง เช่น"ทอง ฝน ธรรมชาติสรรพสิ่ง
ภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"

อาตมาไม่ได้ยกเรื่อง เทวดาพรหมอะไรมากล่าวสักนิด แ่ค่บอกว่าหากมีผู้
เข้าใจผิดเห็นผิด ก็พิจารณาครับ เ้ข้าใจถูกต้องแล้วดีแล้วก็พิจารณา
เท่านั่นเองครับ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงอนิจฺจา วต สงฺขารา
ไม่มีนะครับ อนิจจา บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ที่เหลือก็เช่นเคยครับ เปิดโอกาสให้เชิญพิจารณาตามเห็นสมควร ขอเจริญพร^^

มันไม่ได้เข้าใจผิดครับ แต่มันเป็นว่าหลวงพี่ไม่เข้าใจ
มัวไปหลงยึดเอาสมมุติบัญญัติที่คล้ายกันแต่มันต่างกันในปรมัตถ์ครับ
อยากถามครับไอ้สรรพสิ่งภายนอก ถ้าหลวงพี่ไม่ไปกระทบมัน
หลวงพี่จะรู้ว่ามันเที่ยงหรือไม่เที่ยงมั้ย พูดมาตั้งนานหลวงพี่ยังไม่เข้าใจอีกว่า
ไอ้ตัวเที่ยงไม่เที่ยง มันเป็นผัสสะที่เราไปกระทบ พูดอีกนัยหนึ่ง
สรรพสิ่งภายนอกไม่มีตัวรู้ แต่เรามีตัวรู้


เรื่องเทวดาเรื่องพรหม ผมก็ไม่รู้ครับ แต่อ่านดูพระสุตฯที่หลวงพี่ยกมา
ในข้อ2กับ3 เกี่ยวกับพรหมเกี่ยวกับเทวดา ผมก็ยังสงสัยว่าจะยกมาทำไม
ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเลย

และสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ถูกครับแต่ต้องเข้าใจด้วยว่า สังขารที่ว่าไม่เที่ยง
มีลักษณะอย่างไร เหตุปัจจัยที่แท้เป็นอย่างไร

แล้วก็บางไม่เที่ยงมันเป็นไตรลักษณ์ครับ
แต่บางอย่างเที่ยงมันไม่ใช่ไตรลักษณ์
แต่เป็นผลที่เกิดจากไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
พระสูตรที่ยกมามีนัยยะ ตรัสโดยบุคคลาธิษฐาน เรียกว่าสมมติสัจจะ
ตรัสโดยธรรมาธิษฐาน เรียกว่าปรมัตถสัจจะ หรือสภาวะ
โยมอาจไปติดตรง พรหม เทวดา อะไรอย่างนั่นจึงเข้าใจเอาว่า
อาตมายกคนละเรื่องคนละประเด็น เห็นที่ต้องยุติการสนทนา
เสียแล้วครับไม่ได้เกิดประโยชน์เท่าที่ เจตนา ชี้เอาไว

มันไม่ใช่ผมไปติดพรหมติดเทวดาหรอกครับ พระพุทธองค์สอนว่า
จะดูอะไรให้ดที่เหตุ และเหตุมันอยู่ที่ผมกำลังคุยเรื่องไตรลักษณ์
เรื่องสัมมาทิฐิ ซึ่งในความเป็นจริงมันผ่านพ้นเรื่องมิจฉาทิฐิมาแล้ว
เพราะนักปฏิบัติย่อมรู้ว่า ผู้มีสัมมาทิฐิย่อมต้องไม่มีมิจฉาทิฐิแล้ว

ประเด็นมันอยู่ที่ผมคุยเรื่องไตรลักษณ์สัมมาทิฐิ
แตหลวงพี่เอาเรื่อง มิจฉามาโพส นี่ครับประเด็น
ผมบอกหลวงพี่ไปแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะฟัง
ดันไปจับเรื่องพรหมเทวดา ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่มีความสลักสำคัญ
เอามาเป็นเหตุหาเรื่องผมครับ เลยไม่รู้ใครกันแน่ไปติดเทวดา

และในความเป็นจริงสิ่งที่หลวงพี่เอามาโพส
มันก็มีเรื่องพรหมและเทวดาอยู่ ผมพูดถึงก็ไม่เห็นว่า
เป็นเหตุให้โกรธขึงตรงไหน นอกจากจะพาลครับ

พุทธฏีกา เขียน:
เพราะโยมไปติดทอง ติดฝน เพราะบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ด้วยสำคัญเสมออัตตาในสิ่งเหล่านั้น ทั้งสังขารที่มีใจครอง และสังขาร
ที่ไม่มีใจครอง ตามนัยอัฏฐกถาที่ยกแสดงแล้ว ขอยุติแล้วครับ^^^^

ผมไปติดอะไรตรงไหนครับ มันเป็นการอธิบายความมันต้องยกตัวอย่าง
ให้เห็นให้เข้าใจ ผมไม่ใช่คนประเภท เอะอะก็โพสพระไตรปิฎก
เพียงแค่เห็นว่ามีบัญญัติคำหนึ่งเหมือนกัน หรือไม่ก็อ้างพระสุตฯทั้งๆที่มันเป็นคนละเรื่อง
พุทธฏีกา เขียน:
ก็เพราะเห็นอย่างนั้นบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ทำไมจะไม่ไปติดพรหม
เทวดาตามที่อ่านตามที่พิจารณา ฉันใดก็ฉันนั้น กับคิดว่า อาตมาหยิบยกมาคนละประเด็น
สำคัญเอาว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรศึกษา เรื่องทิฏฐิ ๖๒ มิจฉาทิฏฐิไร้สาระ
ไม่ได้เสียกำลังใจนะครับ ไม่ได้ผูกโกรธนะ ไม่ใช่วิสัยแต่แรกที่จะหยิบยก
ประเด็นมาคัดค้าน ขอคุณโยมขอให้กัลยาณมิตรพิจารณาครับ ขอเจริญพร ^^

หลวงพี่พูดเองเออเองครับ มันมีหรือที่ผมว่า ไม่ควรศึกษา เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า
มันไม่ใช่เรื่องที่คุย มันเลยเรื่องที่อ้างมาแล้ว

และอีกอย่างครับ กับคำพูดของพรหมที่อ้างว่า "มีอยู่ก่อนเที่ยง มาทีหลังไม่เที่ยง"
มันไร้สาระมั้ยครับ
มันทั้งไร้สาระ แถมมันเป็นคนละเรื่องที่ผมนำเสนอ
เรื่องของผมเป็นเรื่องจิตเรากับสรรพสิ่งภายนอก
หลวงพี่ดันไปเอาเรื่องของพรหมที่มีมิจฉาทิฐิมาอ้าง

สุดท้ายก็ต้องขอโหสิล่ะ จะโกรธหรือไม่ไม่เป็นไรครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร