วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพิจารณาในแง่ระดับแห่งคุณธรรมให้ละเอียดลงไปอีก จะเห็นว่า
มนุษย์ภูมินั้น อยู่กลางระหว่างเทวภูมิ หรือ สวรรค์ กับ อบายภูมิมีนรก เป็นต้น
พวกอบาย เช่น นรกนั้น เป็นแดนของคนบาปด้อยคุณธรรม
แม้ชาวอบายบางส่วนจะจัดได้ว่า เป็นคนดี แต่ก็ตกไปอยู่ในนั้น เพราะความชั่วบางอย่าง
ให้ผลถ่วงดึงลงไป

ส่วนสวรรค์ ก็เป็นแดนของคนดีค่อนข้างมีคุณธรรม แม้ว่าชาวสวรรค์บางส่วนจะเป็นคนชั่ว
แต่ก็ได้ขึ้นไปอยู่ในแดนนั้น เพราะมีความดีบางอย่างที่ประทุแรงช่วยผลักดันหรือฉุดขึ้นไป
ส่วนโลกมนุษย์ ที่อยู่ระหว่างกลาง ก็เป็นประดุจชุมทางที่ผ่านหมุนเวียนกันไปมา

ทั้งชาวสวรรค์และชาวอบาย เป็นแหล่งที่สัตว์โลกทุกพวกทุกชนิดมาทำมาหากรรม
เป็นที่คนชั่ว มาสร้างตัว ให้เป็นคนดี เตรียมไปสวรรค์ หรือคนดี มาสุมตัว ให้เป็นคนชั่ว เตรียมไปนรก
ตลอดจนเป็นที่ผู้รู้ จะมาสะสางตัวให้เป็นคนอิสระ เลิกทำมาหากรรม เปลี่ยนเป็นผู้หว่าน
ธรรม ลอยพ้นเหนือการเดินทางหมุนเวียนต่อไป

พวกอบายมีหลายชั้น (มี 4 ชั้น คือ นรก เปรต อสุรกาย ติรัจฉาน) ชั้นเดียวกันก็มีบาป
ธรรมใกล้เคียงกัน
พวกเทพ ก็มีหลายชั้น ซอยละเอียดกว่าอบาย มีคุณธรรมพื้นฐานประณีตลดหลั่นกันไป
ตามลำดับ ชั้นเดียวกันก็มีคุณธรรมใกล้เคียงกัน

ส่วนโลกมนุษย์แดนเดียวนี้ เป็นที่รวมของบาปธรรมและคุณธรรมทุกอย่างทุกระดับ
มีคนชั่วซึ่งมีบาปธรรมหยาบหนาเหมือนดังชาวนรกชั้นต่ำสุด และมีคนดี ซึ่งมีคุณธรรม
ประณีตเท่ากับพรหมผู้สูงสุด ตลอดจนท่านผู้พ้นแล้วจากภพภูมิทั้งหลาย ซึ่งแม้แต่เหล่า
เทพมารพรหมก็เคารพบูชา

ภาวะเช่นนี้นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของโลกมนุษย์ที่เป็นวิสัยกว้างสุดแห่งบาปอกุศล
และคุณธรรม เพราะเป็นที่ทำมาหากรรม และเป็นที่หว่านธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมานี้ จะเห็นข้อเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเทวดาได้ว่า เมื่อเทียบโดยคุณธรรม

และความสามารถทั่วไปแล้ว ทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็มีได้เท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงกัน

เป็นระดับเดียวกัน แต่มนุษย์มีวิสัยแห่งการสร้างปรับปรุงมากกว่า ข้อแตกต่างสำคัญ

จึงอยู่ที่โอกาส

กล่าวคือมนุษย์มีโอกาสมากกว่าในการที่จะพัฒนาคุณธรรมและความสามารถของตน

ถ้ามองในแง่แข่งขัน (ทางธรรมไม่สนับสนุนให้มอง) ก็ว่า ตามปกติธรรมดาถ้าอยู่กันเฉยๆ

เทวดาทั่วไปสูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่ามนุษย์

แต่ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวเมื่อไร ก็จะขึ้นไปเทียมเท่าหรือแม้แต่สูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่าเทวดา***


***ใน องฺ.อฏฺฐก. 23/161/314 มีพุทธพจน์ว่า ต่อเมื่อพระพุทธเจ้าทรงมีอธิเทวญาณทัสสนะ

ครบ 8 ปริวัฏฏ์- (รอบทั้ง 8 ด้าน คือ

1. จำโอภาสได้

2. เห็นรูปทั้งหลาย

3. สนทนากันได้กับเทวดาเหล่านั้น

4. รู้ว่าเทวดาเหล่านั้นมาจากเทพนิกายไหน

5. รู้ว่าเทวดาเหล่านั้นจุติจากที่นี้ไปเกิดที่นั้นด้วยวิบากของกรรมใด

6. รู้ว่าเทวดาเหล่านั้นมีอาหารอย่างไร เสวยสุขทุกข์อย่างไร ๆ

7. รู้ว่าเทวดาเหล่านั้นมีอายุยืนยาวเท่าใด

8. รู้ว่าพระองค์เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านั้นหรือไม่ ) จึงทรงปฏิญาณได้ว่าทรงบรรลุแล้วซึ่ง

อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ


-อธิเทวญาณทัสสนะนี้น่าจะแปลว่า ญาณทัสสนะของพระผู้เหนือกว่าเทพ หรือญาณทัสสนะที่ทำ

ให้ทรงเป็นผู้เหนือกว่าเทพ เพราะทำให้ทรงรู้จักเทวดายิ่งกว่าที่พวกเทวดารู้จักตนเอง (เช่นพระ

พรหมไม่รู้อายุของตน จึงเข้าใจตนเองผิดว่าไม่เกิดไม่ตาย)

อธิเทวญาณทัสสนะนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทิพยจักษุ (ม.อ.3/305) จึงเป็นคุณสมบัติจำเป็นอย่าง

หนึ่งสำหรับความเป็นสัมมาสัมพุทธะ เช่นเดียวกับตถาคตพลญาณข้ออื่นๆ แต่ไม่จำเป็นสำหรับ

การบรรลุอรหัตผลหรือนิพพาน

(แต่เดิมมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ความนับถือเทวดาเป็นของสามัญและฝังรากลึก ดังนั้น การจะ

แสดงความประเสริฐของมนุษย์ได้ก็ต้องให้เห็นว่า มนุษย์สามารถจะทำตนให้เหนือกว่าเทวดาได้

อย่างไร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อทราบฐานะของเทวดาแล้ว พึงทราบความสัมพันธ์ที่ควรและไม่ควรระหว่างเทวดากับ
มนุษย์ต่อไป

ในลัทธิศาสนา ที่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธศาสนา เขาเชื่อว่ามีเทวดาใหญ่น้อยมากมาย
และมีเทพสูงสุดเป็นผู้สร้างโลกและบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ไม่มีทางจะเจริญ
เลิศล้ำกว่าเทพนั้นได้
มนุษย์จึงสร้างความสัมพันธ์กับเทพ ด้วยวิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น สวดสรรเสริญ ยกย่อง สดุดี บวงสรวง สังเวย บูชายัญ เป็นการปรนเปรอเอาอก
เอาใจ หรือไม่ก็ใช้วิธีเรียกร้องความสนใจ บีบบังคับให้เห็นใจ เชิงเร้าให้เกิดความร้อน
ใจจนเทพทนนิ่งอยู่ไม่ได้ ต้องหันมาดูแลหาทางแก้ไขหรือสนองความต้องการให้
ทั้งนี้ โดยใช้วิธีข่มขี่บีบคั้นลงโทษทรมานตนเอง ที่เรียกว่าประพฤติพรตและบำเพ็ญตบะ
ต่างๆ

สรุปให้เห็นชัดถึงวิธีสัมพันธ์กับเทพเจ้าเป็น 2 อย่าง คือ

1. วิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ด้วยการเซ่นสรวง สังเวย บูชายัญ ดังลูกอ้อนวอน
ขอต่อพ่อแม่ บางทีเลยไปเป็นดังประจบและแม้ติดสินบนต่อผู้มีอำนาจเหนือ

2. วิธีบีบบังคับให้ทำตามความประสงค์ ด้วยการบำเพ็ญพรตทำตบะ ดังลูกที่ตีอกชกหัว
กัดทึ้งตนเอง เรียกร้องเชิงบีบบังคับให้พ่อแม่หันมาใส่ใจความประสงค์ของตน


แต่จะเป็นวิธีใดก็ตาม ย่อมรวมลงในการมุ่งหวังผลประโยชน์แก่ตน ด้วยการพึ่งพา
สิ่งภายนอกทั้งสิ้น
เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ได้สอนให้เลิกเสียทั้งสองวิธี
และการเลิกวิธีปฏิบัติทั้งสองนี้แหละ ที่เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้
ในการสอนให้เลิกวิธีปฏิบัติเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสามารถแสดงเหตุผล ชี้ให้เห็น
คุณโทษ และวางวิธีปฏิบัติที่สมควรให้ใหม่ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การหวังพึ่งเทวดา ย่อมมีผลในขอบเขตจำกัด หรือมีจุดติดตันอย่างเดียวกับในเรื่อง

อิทธิปาฏิหาริย์ คือ

ในทางปัญญา เทวดาทั่วๆไปยังมีอวิชชา ไม่รู้สัจธรรม เช่นเดียวกับ

มนุษย์ ดังเรื่องพระภิกษุรูปที่เหาะไปถามปัญหากะเทวดาจนแม้แต่พระพรหมก็ตอบไม่ได้

และเรื่องพระพุทธเจ้าทรมานพกพรหม

ส่วนในด้านจิตใจ เทวดาก็เหมือนกับมนุษย์ คือ ส่วนใหญ่เป็นปุถุชนยังมีกิเลส

มีเชื้อความทุกข์มากบ้างน้อยบ้าง ยังหมุนเวียนขึ้นๆลงๆ อยู่ในสังสารวัฏ ดังเช่น

พระพรหมแม้มีคุณธรรมสูง แต่ก็ยังประมาทเมาว่าตนอยู่เที่ยงแท้นิรันดร-

(สํ.ส.15/586/215)

พระอินทร์เมาประมาทในทิพย์สมบัติ- (ม.มู.12/467/46

คนอื่นหวังพึ่งพระอินทร์ แต่พระอินทร์เองยังไม่หมด ราคะ โทสะ โมหะ ยังมีความหวาด

กลัวสะดุ้งหวั่นไหว- (สํ.ส.15/864/322)

การอ้อนวอนหวังพึ่งเทวดา นอกจากขัดกับความเพียรพยายามโดยหวังผลสำเร็จ

จากการกระทำ ขัดหลักพึ่งตนเองและความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดังในเรื่องในอิทธิปาฏิหาริย์

แล้ว ยังมีผลเสียที่ควรสังเกตอีกหลายประการ เช่น

-ในเมื่อเทวดาเป็นปุถุชน การที่มนุษย์ไปเฝ้าประจบยกยอ บนบานต่างๆ ไม่เพียงแต่

มนุษย์เท่านั้น ที่จะประสบผลเสีย เทวดาทั้งหลายก็จะพลอยเสียไปด้วย เพราะจะเกิดความ

หลงใหลมัวเมาในคำยกย่องสรรเสริญ ติดในลาภสักการะคือสิ่งเซ่นสรวงสังเวย และ

ปรารถนาจะได้ให้มากยิ่งขึ้นๆ

โดยนัยนี้ ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างก็มัวเมาฝักใฝ่วุ่นวายอยู่กับการบนบานและการให้ผล

ตามบนบาน ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือไม่ก็ปล่อยปละละเลยให้บกพร่องย่อหย่อน

เป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท และทั้งมนุษย์และเทวดาก็พากันเสื่อมลงไปด้วยกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดาบางพวก เมื่อมัวเมาติดในลาภสักการะความยกย่องนับถือแล้ว ก็จะหาทางผูกมัด

หมู่ชนไว้กับตน โดยหาทางทำให้คนต้องพึ่งเขาอยู่เรื่อยไป เพื่อผลนี้ เทวดาอาจใช้วิธีการ

ต่างๆ เช่น ล่อด้วยความสำเร็จสมปรารถนาเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้คนหวังผลมากยิ่งขึ้น

และบนบานเซ่นสรวงมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่แกล้งทำเหตุให้คนต้องมาติดต่อขอผลถลำตน

เข้าสู่วงการ


-เมื่อเทวดาประเภทหวังลาภมาวุ่นวายกันอยู่มาก เทวดาดีที่จะช่วยเหลือคนดีโดยไม่หวังผล

ประโยชน์ ก็จะพากันเบื่อหน่ายหลบลี้ปลีกตัวออกไป

คนที่ทำดี ก็ไม่มีใครจะคอยช่วยเหลือให้กำลังใจ

ฝ่ายเทวดาใฝ่ลาภ ก็จะช่วยต่อเมื่อได้รับสิ่งบนหรืออย่างน้อยคำขอร้องอ้อนวอน

มนุษย์ก็เลยรู้สึกกันมากขึ้นเหมือนว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วจึงจะได้ดี

ก่อให้เกิดความสับสนระส่ำระสาย ในสังคมมนุษย์มากยิ่งขึ้น


-เมื่อเทวดาดีงามปลีกตัวไปไม่เกี่ยวข้อง- (ตามปกติธรรมเนียมของเทวดา ก็ไม่ต้องการมา

เกี่ยวข้องวุ่นวายแทรกแซงในกิจการของมนุษย์อยู่แล้ว-- โลกมนุษย์ไม่สะอาดมีกลิ่นเป็นที่

รังเกียจแก่เทวดา- ที.ม.10/306/362 ฯลฯ)

ก็ยิ่งเป็นโอกาสสำหรับเทวดาร้ายใฝ่ลาภ จะแสวงหาผลประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น เมื่อ

มนุษย์อ้อนวอนเรียกร้องเจาะจงต่อเทพบางท่านที่เขานับถือ เทพใฝ่ลาภพวกนี้ก็จะลงมาสวม

รอยรับสมอ้างหลอกมนุษย์ โดยมนุษย์ ไม่อาจทราบเพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยของตน

แล้วเทวดาสวมรอยก็ทำเรื่องให้มนุษย์หมกมุ่นมัวเมายิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยนี้ จะเห็นได้ว่า คนที่ได้รับความช่วยเหลือจากเทวดา ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี

และคนดีก็ไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเทวดา

ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็เป็นปุถุชนและต่างก็ปฏิบัติผิด พากันทำให้ระบบต่างๆ

ที่ดีงามในโลก คลาดเคลื่อนเสื่อมทรามลงไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ขอกล่าวถึงข้อสังเกตบางอย่าง เพื่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติต่อไปชัดเจนขึ้น

ประการแรก

เทวดาประกาศิตหรือ กำหนดเหตุการณ์ หรือ บันดาลชะตากรรมแก่มนุษย์ โดยเด็ดขาดแต่ ฝ่ายเดียว

ไม่ได้ แม้ตามปกติจะถือกันว่า เทวดามีฤทธิ์มีอำนาจเหนือกว่ามนุษย์

แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวขึ้นมาเมื่อใด ก็สามารถเท่าเทียบหรือ

เหนือกว่าเทวดาได้ และสิ่งที่จะกำหนดว่าใครจะเหนือใคร ก็อยู่ที่คุณธรรมและความเพียร

พยายาม

ดังมีเรื่องมาในชาดก กษัตริย์สองเมืองจะทำสงครามกัน

ฝ่ายหนึ่ง ไปถามพระฤๅษีมีฤทธิ์ ซึ่งติดต่อพระอินทร์ได้ ได้รับทราบคำแจ้งของพระอินทร์

ว่า ฝ่ายตนจะชนะ จึงประมาทปล่อยเหล่าทหารสนุกสนานบันเทิง

ส่วนกษัตริย์อีกฝ่ายหนึ่ง ทราบข่าวทำนายว่าฝ่ายตนจะแพ้ ยิ่งตระเตรียมการ

ให้ แข็งแรงยิ่งขึ้น ครั้นเวลารบจริง ฝ่ายหลังนี้ก็เป็นฝ่ายชนะกองทัพกษัตริย์ฝ่ายที่ประมาทได้

พระอินทร์ถูกต่อว่า จึงกล่าวเทวคติออกมาว่า “ความบากบั่นพากเพียรของคน

เทพทั้งหลายก็เกียดกันไม่ได้”

(ขุ.ชา.27/505/128; ชา.อ.4/227-234 )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เทวดาที่อยู่ตามบ้านเรือนนั้น ตามปกติมนุษย์ให้เกียรติและเอาใจมาก

แต่ถ้ามองแง่หนึ่งก็เป็นผู้อาศัย ถ้าเจ้าบ้านมีคุณธรรมสูง เช่น พระอริยสาวก มีความมั่นใจใน

คุณธรรมของตน เทวดาก็ต้องเคารพเชื่อฟัง อยู่ในบังคับบัญชา มิใช่มีอำนาจบังคับเจ้าบ้าน

ดัง เช่น เทวดาผู้อยู่ ณ ซุ้มประตูบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี-

(ท่านเจ้าบ้านไม่ได้สร้างที่อยู่ให้โดยเฉพาะ) เมื่อเศรษฐียากจนลง ได้มาสั่งสอนให้เลิก

ถวายทาน

ท่านเศรษฐีเห็นว่าเป็นคำแนะนำไม่ชอบธรรม ถึงกับไล่ออกจากบ้านทันที

เทวดาหาที่อยู่ไม่ได้ ในที่สุดไปหาพระอินทร์ จะให้ช่วยพามาขอขมาเศรษฐี

ได้รับคำแนะนำวิธีที่จะขอขมาโทษ เมื่อปฏิบัติตามนั้นแล้วจึงได้รับอนุญาตกลับเข้าอยู่ ณ ที่เดิมได้

(ธ.อ.5/10 ชา.อ.1/339)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่สอง

เมื่อคนถูกเทวดาให้โทษ จะถือเอาเป็นเกณฑ์ว่าเขาทำผิดหรือเป็นคนชั่ว

ยังไม่ได้ เพราะคนดีถูกเทวดาร้ายกลั่นแกล้ง ก็มีไม่น้อย ดังเช่นเทวดาซึ่งอยู่ ณ ซุ้มประตูของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐีดังกล่าว

ท่านเรียกว่าเป็นเทวดามิจฉาทิฏฐิบ้าง เทวดาอันธพาลบ้าง

เทวดานั้นไม่พอใจว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกเสด็จมาบ้านเศรษฐีเขาจะต้องลงมาที่พื้น

ดิน

ครั้นเศรษฐียากจนลง จึงได้โอกาสเข้ามาสั่งสอนเศรษฐี เพื่อยุให้เลิกเกี่ยวข้อง

กับพระพุทธเจ้า แต่ได้ผลตรงข้ามดังกล่าวแล้ว

เทวดาบางองค์ แกล้งคนให้ระแวงกันเล่นเท่านั้นเอง- ( ดูเรื่องพระโกณฑธาน องฺ.อ.1/284...)

แม้แต่พวกเทวดาตามป่า เมื่อพระไปอยู่อาศัยเพื่อปฏิบัติธรรม

บางพวกก็ไม่พอใจ เพราะคนดีมีคุณธรรมสูงกว่าตนเข้ามาอยู่ ทำให้พวกตนอึดอัดใจ ทำอะไรๆ

ไม่สะดวก จึงหาทางแกล้งด้วยวิธีต่างๆ- (ขุทฺทก.อ.261; สุตฺต.อ.1246)

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้แก้ไขด้วยการแผ่เมตตา เอาความดีเข้าตอบ

แต่ในกรณีที่พวกเทวดาไปแนะนำให้ทำอย่างนี้อย่างนั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการ

กระทำที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม

พุทธสาวกผู้รู้หลัก ย่อมมีความเข็มแข็งมั่นคงในหลักธรรม และจะไม่ยอมปฏิบัติตามคำของเทวดานั้น

เป็นอันขาด ไม่ว่าเทวดาจะขู่หรือล่อด้วยรางวัลอย่างใดๆ-

(ปัพภารวาสีติสสเถรวัตถุธ.อ.8/123)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่สาม

เทวดาบางองค์มีพฤติการณ์ทางร้าย ชอบทำตนเป็นปฏิปักข์ขัดขวางความ เจริญของ

มนุษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เทวดาอย่างนี้มนุษย์ไม่เพียงแต่มิควรอ้อนวอนขอร้อง หรือ

หวังพึ่งเท่านั้น แต่ควรปราบหรือพิชิตให้ได้ทีเดียว และถ้าฝึกปรือความสามารถของตนให้

ดี มนุษย์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วย ตัวอย่างสำคัญคือ มาร มารนี้เป็นเทพในสวรรค์

ชั้นสูงสุด ของระดับกามาวจร คือชั้นที่ 6 ได้แก่ ปรนิมมิตวสวัตดี แต่ชอบขัดขวางรัง

ควาญผู้อื่น เมื่อเขาจะทำความดี เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใครจะเปลื้องตนให้เป็นอิสระจาก

กาม ถือว่า ผู้นั้นจะข้ามออกนอกเขตอำนาจของมาร- (เขตอำนาจของมาร เรียกว่า มาร

เธยฺย) ก็เป็นอันจะต้องเผชิญหน้ากับมารทีเดียว

มารมีอิทธิพลยิ่งใหญ่มาก แม้แต่พระอินทร์ พอมารมาก็หนีไม่รอหน้า ไปหลบอยู่

สุดขอบจักรวาล พระพรหมก็หลีกเลี่ยง- (ชา.อ.1/113 ฯลฯ)

บางคราว มารก็ขึ้นไปรังควาญถึงพรหมโลก ซึ่งเป็นชั้นรูปาวจรสูงกว่าระดับของตน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ” (องฺ.จตุกก. 21/15/22)

แม้มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่อย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้วด้วย ศีล สมาธิ

ปัญญา ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้

เทพเจ้าทั้งปวงตลอดถึงพรหมย่อมนบไหว้ - (ขุ.อิติ. 25/260/28ฯลฯ)


เท่าที่กล่าวมานี้ มิได้มุ่งหมายจะลบหลู่หรือชักชวนให้มีจิตกระด้างต่อเทวดาทั้งหลาย

แม้แต่น้อย เพียงแต่จะสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมวางจิตใจให้ถูกต้อง สำหรับการดำเนิน

ตามวิธีปฏิบัติที่จะกล่าวต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของเทวดา และเหตุผลเกี่ยวกับโทษของการ

สัมพันธ์กับเทวดา ด้วยท่าทีที่ผิดดังกล่าวมา

พระพุทธศาสนา จึงสอนให้ละเลิกวิธีการแบบหวังพึ่งขอผลเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะ

เป็นการอ้อนวอนหรือการบีบบังคับก็ตาม แล้วชี้แนวทางใหม่ คือ การวางท่าที

แห่งเมตตา มีไมตรีจิตอยู่ร่วมกันฉันมิตร เคารพนับถือซึ่งกันและกัน ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

หรือเพื่อนร่วมสังสารวัฏ และในฐานะที่โดยเฉลี่ยเป็นผู้มีคุณธรรมในระดับสูง

พร้อมทั้งให้มีท่าทีแห่งการไม่วุ่นวายไม่ก้าวก่ายแทรกแซงกัน โดยต่างก็เพียรพยายาม

ทำกิจของตนไปตามหน้าที่ ท่าทีแห่งการไม่รบกวน และไม่ชวนกันให้เสียเช่นนี้

ถ้าสังเกต ก็จะพบว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดในประเพณีความสัมพันธ์แบบชาวพุทธระหว่างมนุษย์

กับเทวดา เพราะมีเรื่องราวเล่ากันมามากมายในคัมภีร์ต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งอรรถกถาชาดก

และอรรถกถาธรรมบท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามประเพณีนี้ เทวดาที่ช่วยเหลือมนุษย์ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ลักษณะการช่วยเหลือ และเหตุ

ที่จะให้ช่วยเหลือต่างออกไปจากแบบก่อน คือ เทวดาที่ช่วยเหลือมาช่วยเองด้วยคุณธรรม คือ

ความดีของเทวดาเอง มิใช่เพราะการเรียกร้องอ้อนวอนของมนุษย์ และเทวดาก็มิได้เรียกร้อง

ต้องการหรือรอการอ้อนวอนนั้น

ทางฝ่ายมนุษย์ ผู้ได้รับการช่วยเหลือ ก็ทำความดีไปตามปกติธรรมดาด้วยคุณธรรมและ

ความสำนึกเหตุผลของเขาเอง มิได้คำนึงว่า จะมีใครมาช่วยเหลือหรือไม่ และมิได้เรียกร้อง

ขอความช่วยเหลือใดๆ

ส่วนตัวกลางคือเหตุให้มีการช่วยเหลือเกิดขึ้นก็ คือ ความดีหรือการทำความดีของมนุษย์

มิใช่การเรียกร้องอ้อนวอนหรืออามิสสินวอนใดๆ

เทวดาองค์เด่นที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ตามประเพณี ได้แก่ท้าวสักกะ ที่เรียกกันว่า พระอินทร์

คติการช่วยเหลือของพระอินทร์อย่างนี้ นับว่าเป็นวิวัฒนาการช่วงต่อที่เชื่อมจากคติ

แห่งเทวานุภาพของลัทธิศาสนาแบบเดิม เข้าสู่คติแห่งกรรมของพระพุทธศาสนา

แม้จะยังมิใช่เป็นตัวแท้บริสุทธิ์ตามหลักการของพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นคติที่วิวัฒน์เข้าสู่

ความเป็นพุทธ ถึงขั้นที่ยอมรับเป็นพุทธได้

สาระสำคัญของคตินี้ก็คือ มนุษย์ที่ดีย่อมทำความดีไปตามเหตุผลสามัญของมนุษย์เอง

และทำอย่างมั่นคงแน่วแน่เต็มสติปัญญา จนสุดความสามารถของตน ไม่คำนึงถึง ไม่รีรอ

ไม่เรียกร้องความช่วยเหลือจากเทวดาใดๆ เลย

เทวดาที่ดี ย่อมใส่ใจคอยดูแล ช่วยเหลือมนุษย์ที่ดีด้วยคุณธรรมของเทวดาเอง

เมื่อมนุษย์ผู้ทำดี ได้รับความเดือดร้อน หากเทวดายังมีความดีอยู่บ้าง เทวดาก็จะทนดูไม่ไหว

ต้องลงมาช่วย เอง

พูดง่ายๆว่า มนุษย์ก็ทำดีโดยไม่คำนึงถึงการช่วยเหลือของเทวดา เทวดาก็ช่วยโดยไม่คำนึง

ถึงการอ้อนวอนของมนุษย์

ถ้าใครยังห่วง ยังหวัง ยังเยื่อใยในทางเทวานุภาพอยู่ ก็อาจจะท่องคติต่อไปนี้

ปลอบใจว่า

“การเพียรพยายามทำดี เป็นหน้าที่ของมนุษย์ การช่วยเหลือคนทำดี เป็นหน้าที่

ของสวรรค์ เราทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน”

ถ้ามนุษย์ไม่เพียรทำดี มัวแต่อ้อนวอนเทวดา และถ้าเทวดาไม่ใส่ใจช่วยคนทำดี

มัวแต่รอการอ้อนวอนหรือคอยช่วยคนที่อ้อนวอน ก็คือเป็นผู้ทำผิดต่อหน้าที่ เมื่อมนุษย์และ

เทวดาต่างขาดคุณธรรม ปฏิบัติผิดหน้าที่ ก็จะประสบความหายนะไปด้วยกัน

ตามกฎธรรมดาที่ควบคุมทั้งมนุษย์และสวรรค์อยู่อีกชั้นหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปวิธีปฏิบัติ


ชุมชน หรือ สังคมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยผู้คนมากมาย

ซึ่งกำลังก้าวเดิน อยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ บนหนทางสายใหญ่สายเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่

จุดหมายปลายทางเดียวกัน และคนเหล่านั้น ก้าวออกมาจากจุดเริ่มต้นที่ต่างๆ กัน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ในขั้นตอนต่างๆแห่งพัฒนาการ

ในอริยะธรรม เมื่อดูการเดินทางหรือพัฒนา ก็จะเห็นลำดับขั้น

แห่งพัฒนาการ เป็น 3 ขั้น คือ

-ขั้นอ้อนวอนหรือพึ่งเทวดา

-ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีกับเทวดา

-ขั้นได้รับความเคารพบูชาจากเทวดา

ขั้นที่ 1 จัดว่าเป็นขั้นก่อนพัฒนา

ขั้นที่ 2 คือจุดเริ่มต้นของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ

ขั้นที่ 3 เป็นระดับพัฒนาการของผู้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา


ข้อควรย้ำก็คือ คนผู้ใดผู้หนึ่งจะได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ ก็ต่อเมื่อเขาก้าวพ้นจากขั้นอ้อนวอน
หวังพึ่งเทพเจ้า เข้าสู่ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรี ซึ่งเขาจะดำเนินชีวิตด้วยความเพียร
พยายาม กระทำการตามเหตุผล เลิกมองเทวดาในฐานะผู้มีอำนาจที่จะต้องวิงวอนประจบเอาใจ
เปลี่ยนมามองในฐานะเป็นญาติมิตรดีงาม ที่ควรเคารพนับถือมีเมตตาต่อกัน ไม่ควรมั่วสุม
คลุกคลีกัน ไม่ควรรบกวนก้าวก่ายกัน และไม่ควรสมคบกันทำสิ่งเสียหาย
ไม่ชอบด้วยเหตุผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมองพัฒนาการนั้นในแง่ที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ (รวมถึงอำนาจ

ศักดิ์สิทธิ์เร้นลับอื่นๆ) ก็จะมี 3 ขั้นเหมือนกัน คือ

-ขั้นหวังผล

-ขั้นเสริมกำลัง

-ขั้นเป็นอิสระสิ้นเชิง

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นรอคอยอำนาจภายนอกดลบันดาล ทำให้หมกมุ่นฝักใฝ่

ปล่อยทิ้งเวลา ความเพียรและการคิดเหตุผลของตน จัดเป็นขั้นก่อนพัฒนา

หรือนอกชุมชนอารยะ


ขั้นที่ 2 คือ ขั้นที่ทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เองแล้ว และใช้อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเพื่อ

เสริมกำลังในการทำความดีอย่างอื่น เช่น ในการช่วยเหลือผู้อื่นจากภัย

อันตราย และเป็นเครื่องประกอบของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นสิ่ง

มงคลศักดิ์สิทธิ์อย่างอื่น


ขั้นที่ 2 นี้ ก็อนุโลมไปถึงการมีสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นเครื่องเสริมกำลังใจ

หรือเป็นเพื่อนใจให้เกิดความอุ่นใจ ทำให้เพียรพยายามทำความดีงามได้

แข็งแรงยิ่งขึ้น มีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น หรือเป็นเครื่องเตือนสติ

และเร่งเร้าให้ประพฤติสิ่งที่ดีงาม ขั้นนี้พอจะยอมรับได้ว่า เป็นการเริ่มต้น

เข้าสู่ระบบชีวิตแบบชาวพุทธ แต่ท่านไม่พยายามสนับสนุน เพราะยัง

อาจปะปนกับขั้นที่ 1 ได้ง่าย ควรรีบก้าวต่อให้ผ่านพ้นไปเสีย


ควรระลึกอยู่เสมอถึงคุณสมบัติของอุบาสกที่ดีข้อ ที่ 3 ว่า “ไม่ถือมงคลตื่น

ข่าว มุ่งกรรม (การกระทำ) คิดมุ่งเอาผลจากกระทำ ไม่มุ่งหามงคล”

องฺ.ปญฺจก. 22/175/230


-ขั้นที่ 3 คือ การมีชีวิตจิตใจเป็นอิสระ ดำเนินชีวิตที่โปร่งเบาแท้

โดยไม่ต้องอาศัยอิทธิปาฏิหาริย์ หรือสิ่งอื่นภายนอกมาเสริมกำลังใจ

ของตนเลย เพราะมีจิตใจเข็มแข็งเพียงพอ สามารถบังคับควบคุมจิตใจ

ของตนได้เอง ปราศจากความหวาดหวั่นกลัวภัย อย่างน้อยก็มีความมั่น

ใจในพระรัตนตรัยอย่างบริบูรณ์เป็นหลักประกัน

ขั้นที่ 3 นี้ จัดเป็นขั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 453 )

เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปฏิหาริย์-เทวดา

ถ้าถามว่า ในทัศนะของพระพุทธศาสนา อิทธิปาฏิหาริย์ ก็ดี

เทวดาหรือเทพเจ้าต่างๆ ก็ดี มีจริงหรือไม่

และถ้าตอบตามหลักฐานในคัมภีร์มีพระไตรปิฎกเป็นต้น โดยถือตามตัวอักษร ก็ต้องว่า มี

หลักฐานที่จะยืนยันคำตอบนี้มีอยู่มากมายทั่วไปในคัมภีร์ จนไม่จำเป็นจะต้องยกมาอ้างอิง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มี และจริงหรือไม่จริงของสิ่งเหล่านี้

เป็นสิ่งยากที่จะทำให้คนทั้งหลาย ตกลงยอมรับคำตอบเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกันได้

และหลายท่าน มองเห็นโทษของความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ว่า ทำให้เกิดผลเสียหายมากมาย

หลายประการ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร