วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 05:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 102 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา * เป็นความรู้จำพวกหนึ่ง หมายถึง การหมายรู้ หรือกำหนดรู้ อาการของอารมณ์ เช่น ลักษณะทรวดทรง สี สัณฐาน ฯลฯ ตลอดจนชื่อเรียก และสมมติบัญญัติต่างๆ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา ทุ้ม แหลม อ้วน ผอม โต๊ะ ปากกา หมู หมา ปลา แมว คน เขา เรา ท่าน เป็นต้น

การหมายรู้ หรือกำหนดรู้นี้ อาศัยการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่า กับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการณ์ เก่า เช่น พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว ได้ยินเสียง ที่เคยได้ยินแล้ว ดังตัวอย่าง นาย ก. รู้จักนาย เขียว ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง นาย ก. เห็นนายเขียว อีก และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว อย่างนี้เรียก ว่า จำได้
ถ้าประสบการณ์ใหม่ไม่ตรงกับประสบการณ์เก่า เราย่อมนำเอาประสบการณ์ หรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วนั่นเอง มาเทียบเคียงว่าเหมือนกันและไม่ เหมือนในส่วนไหน อย่างไร แล้วหมายรู้สิ่งนั้นตามคำบอกเล่าหรือ ตามที่ตนกำหนดเอาว่า เป็นนั่น เป็นนี่ ไม่ใช่นั่น ไม่ ใช่นี่ อย่างนี้ เรียกว่า กำหนดหมาย หรือ หมายรู้

การหมายรู้เช่นนี้ ย่อมมีหลายชั้น หมายรู้ไปตามความตกลงอันเนื่องด้วย ความรู้สามัญบ้าง เช่น ว่า เขียว ขาว เหลือง แดง เป็นต้น ตามนิยมของโลก ของสังคม ของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น บ้าง เช่นว่า อย่างนี้สุภาพ อย่างนั้นสวยงาม อย่างนั้น ถูกธรรมเนียม อย่างนี้ผิดธรรมเนียม เป็นต้น ตามนิยมปรุงแต่ง จำเพาะตนบ้าง เช่นว่า อย่างนี้สวย อย่างนั้นน่าชม อย่างนี้น่าหมั่นไส้ เป็นต้น

หมายรู้สองชั้น (แบบ สัญลักษณ์) บ้าง เช่นว่า สีเขียวแดงหมายถึงมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง เสียงระฆังสองครั้งหมายถึงการกินอาหาร ตลอดจนตามการศึกษา อบรม ในทางธรรม เช่น หมายรู้ในภาวะที่ไม่เที่ยง หมาย รู้ในภาวะที่เป็นอนัตตา เป็นต้น มีทั้งความหมายรู้สามัญและความ หมายรู้ที่ละเอียดซับซ้อน (คือสัมพันธ์กับขันธ์อื่นมากขึ้น) มี ทั้งหมายรู้เกี่ยวกับรูปธรรม และหมายรู้เกี่ยวกับนามธรรม

คำแปล สัญญาว่า จำได้ กำหนดได้ หมายรู้ กำหนดหมาย จำหมาย สำคัญหมาย ล้วนแสดงแง่ต่างๆ แห่งความหมายของกองสัญญานี้ทั้งสิ้น

พูดเพื่อให้เข้าใจอย่างง่ายๆ สัญญาก็คือกระบวนการเรียกเก็บ รวบรวม และสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้ และวัตถุดิบสำหรับความคิดนั่น เอง


สัญญา เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีโทษมิใช่น้อย เพราะมนุษย์จะยึดติดตามสัญญา ทำให้สัญญากลายเป็นเครื่องกีดกั้นกำบังตนเอง และห่อหุ้มคลุมตัวสภาวะไว้ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงแท้ที่อยู่ลึกลงไป

สัญญา แยกออกคร่าวๆ เป็น ๒ ระดับ คือ สัญญาอย่างสามัญ ซึ่งกำหนดหมายอาการของอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเป็นไป อยู่ตามปกติธรรมดาของมัน อย่างหนึ่ง และ
สัญญาสืบทอด หรือสัญญาอย่างซับซ้อน ที่บางคราวก็ใช้คำเรียกให้ต่างออกไป เฉพาะอย่างยิ่ง "ปปัญจสัญญา" อันหมายถึงสัญญาเนื่องด้วยอารมณ์ที่คิดปรุงแต่งขึ้นให้ ซับซ้อนพิสดาร ด้วยแรงผลักดันของตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ ซึ่งเป็นสังขารชั้นนำฝ่ายร้าย อีกอย่างหนึ่ง

การแยกเช่นนี้ จะช่วยให้มองเห็นความหมายของสัญญาที่กำลังแสดงบทบาทอยู่ พร้อมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสัญญา กับ ขันธ์อื่น ภายในกระบวนธรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

...............

ที่อ้างอิง *

* คัมภีร์ชั้นอรรถกถาแสดงลักษณะหน้าที่ เป็นต้น ของสัญญาไว้ว่า สัญญา มีลักษณะจำเพาะคือสัญชานน์ (จำได้, รู้จัก)
มีหน้าที่ทำเครื่องหมายไว้เป็นปัจจัยแห่งการจำได้ (หรือ รู้จัก) ต่อไปว่า "นั่นคือสิ่งนั้น" เหมือนดังช่างไม้ เป็นต้น ทำเครื่องหมายไว้ที่วัสดุมีตัวไม้เป็นอาทิ มีผลปรากฏ คือ เกิดความยึดถือไปตามเครื่องหมายที่กำหนดเอาไว้ เหมือนพวกคนตาบอดคลำช้าง ยึดถือไปตามเครื่องหมายที่ตนจับได้ (ว่าช้างเป็นอย่างนั้นๆ) มีปทัฏฐาน คือ อารมณ์ตามที่ปรากฏ เหมือนลูกเนื้อเห็นหุ่นคนที่ผูกด้วยมัดหญ้า สำคัญหมายว่าเป็นคนจริงๆ (วิสุทธิมัคค์ 3/35)
ถ้าเทียบกับหลักจิตวิทยาฝ่ายตะวันตก สัญญาจะครอบคลุมเรื่อง perception, conception และ recognition (แต่ไม่ใช่ memory ทั้งหมด)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ฟังคำตถาคต...นั้นดี...ไม่เห็นมีใครแย้งคุณโรส...นี้ครับ

รึใครว่าไม่ดี?

แต่..แนวคิดพื้นฐานในการฟังของคุณโรส ..นั้นผิด

ทำไม..ผมถึงว่าผิด?

เพราะ...ไม่มีวี้แววของญาณรู้...ให้เห็นเลย

ญาณรู้สึกในเรื่องกฏของกรรม...รู้สึกในไตรลักษณ์..รู้สึกถึงความดับไปของทุกๆสิ่ง...รู้สึกถึงภัยของวัฏฏะสงสาร .ฯ

ทำไม..ผมถึงกล้ากล่าวว่า. คุณโรส..ไม่ได้รู้สึกในญาณเหล่านี้...อันเป็นสัญญลักษณ์..ของคนที่กำลังเจริญในมรรค.เลย?

เพราะ....คุณโรสยังวางเฉยต่อสังขาร..คำพูดภายนอกทั้งหลายแหล่...ไม่ได้เลย....

เมื่อญาณรู้ไม่เกิด....ก็แสดงว่า..ทำมาผิด

คุณรสชอบการฟัง...ก็แสดงว่าวิธีการฟังของคุณโรส..มันผิด...

คำตถาคต. ไม่ผิด..
วิธีการฟังของคุณโรส..มันผิดเอง...
ไม่ได้ฟังโดยชอบ....ไม่ได้สะดับโดยชอบ...



ญาณไหนคะกบตามปกติลืมตาเห็นเนี่ยทุกคนเห็นเหมือนกันหมดเลยพระอรหันต์ก็เห็นด้วยตาเนื้อปกติไม่ต่าง
ปัญญา=ญาณ=วิปัสสนา=รู้แยกแยะที่กายใจตนเองตามปกติเป็นปกติรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงมีครบ4ชาติเลย
แยกแยะออกไหมคะแยกไม่ออกน่ะไม่รู้และไปนิพพานไม่ได้เพราะนิพพานรู้ความจริงทั้ง4ชาติตามปกติ
ถ้าไม่ฟังน่ะแยกไม่ออกหรอกค่ะเพราะความจริงไม่เหาะเหินเดินอากาศแต่เป็นบุญหูที่ได้เกิดมาฟังน๊า




ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณหรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึงวิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่ง หมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้างก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

ญาณ, ญาณ - (ยาน,ยานะ-) น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกำหนดรู้ที่เกิดจากอำนาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ, (ป.)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:

อุปติสสะมานพคือพระสารีบุตร
อัครสาวกของพระสมณโคดม
คืออดีตปุถุชนฟังพระธรรม
1อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์
บรรลุเป็นพระโสดาบันจากฟังพระอัสชิ
และคำที่พระสารีบุตรฟังแล้วบรรลุนั้น
พระสารีบุตรนำไปกล่าวให้พระโมคคัลลานะ
ฟังคำเดียวกันบรรลุเป็นพระโสดาบันจากการถ่ายทอดคำเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแสดงว่าการจะฟังแล้วบรรลุตามได้ทันทีนั้น
เกิดจากฟังมาบ่อยๆจนไม่ลืมพอได้ฟังปุ๊บเก็ตปั๊บไรงี้
แล้วตัวเองลองไปอ่านคำที่พระอัสชิแสดงดูสิคะ
แปลเข้าใจแล้วก็ยังไม่บรรลุตามนั้นน่ะเพราะ
สะสมปัญญาจากการฟังยังไม่พอค่ะ



สารี ชื่อนางพราหมณีผู้เป็นมารดา ของพระสารีบุตร

สารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ (บางแห่งเรียกนาลันทะ) ไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี จึงได้นามว่าสารีบุตร แต่เมื่อยังเยาว์ เรียกว่า อุปติสสะ มีเพื่อนสนิทชื่อ โกลิตะ ซึ่งต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ มีน้องชาย ๓ คน ชื่อ จุนทะ อุปเสนะ และเรวตะ น้องหญิง ๓ คน ชื่อจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด เมื่ออุปติสสะ และโกลิตะจะบวชนั้น ทั้งสองคนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วย
คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ คิดออกแสวงหาโมกขธรรม และต่อมาได้ไปบวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชก แต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย

จนวันหนึ่งอุปติสสปริพาชก พบพระอัสสชิเถระขณะท่านบิณฑบาต เกิดความเลื่อมใสติดตามไปสนทนาขอถามหลักคำสอน ได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะ แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน
ได้รับเอหิภิกขุอุปสมบททั้งหมดที่เวฬุวัน เมื่อบวชแล้วได้ ๑๕ วัน พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ทีฆนขปริพาชก ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา

ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้า ในการประกาศพระศาสนา และได้รับยกย่องเป็น พระธรรมเสนาบดี คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร ที่เป็นแบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น
ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน เมื่อจวนจะปรินิพพาน ท่านเดินทางไปโปรดมารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิ ให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้วปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ
หลังจากปลงศพแล้ว พระจุนทะน้องชายของท่านนำอัฐธาตุไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรลุอัฐิธาตุของท่านไว้ ณ พระเชตวัน เมื่อสาววัตถี

พระสารีบุตรมีคุณธรรมและจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น เป็นผู้มีความกตัญญูสูง ดังได้แสดงออกเกี่ยวกับพระอัสสชิ (นอนหันศีรษะไปทางที่พระอัสสชิพำนักอยู่) และราธพราหมณ์ (ระลึกถึงบิณฑบาตหนึ่งทัพพีและรับเป็นอุปัชฌาย์แก่ราธะ) สมบูรณ์ด้วยขันติธรรมต่อคำว่ากล่าว (ยอมรับคำแนะนำแม้ของสามเณร ๗ ขวบ) เป็นผู้เอาใจใส่อนุเคราะห์เด็ก (เช่น ช่วยเอาเด็กยากไร้มาบรรพชา มีสามเณรอยู่ในความปกครองดูแล ซึ่งเก่งกล้าสามารถหลายรูป) และเอาใจใส่คอยดูแลภิกษุอาพาธ เป็นต้น

โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูลหัวหน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยมาภายหลังคือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกว่า โมคคัลนะ หรือพระมหาโมคคัลานะ

โกลิตปริพาชก พระมหาโมคคัลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมกขธรรม ธรรมที่นำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส, ความหลุดพ้น, นิพพาน

ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ธรรม ธรรม -, ธรรมะ (ทำ, ทำมะ) น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คำสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม (ส.ธรฺม ป. ธมฺม)

ธรรมชาติ น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้นๆ , ภาพภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ

ธรรมฐิติ น. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง (ป. ธมฺมฐิติ)

ธรรมดา น. อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ เช่น การกิน การถ่ายเท การสืบพันธุ์ และการเสื่อมสลาย. ว. สามัญ, พื้นๆ, ปรกติ, เช่น เป็นเรื่องธรรมดา (ส. ธรฺมตา ป. ธมฺมตา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ; บุถุชน ก็เขียน

บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึง ภิกษุรูปเดียว

บุทคล บุคคล (เขียนอย่างสันสกฤต)

ปปัญจ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ปั่นให้เชือนแชชักช้าในสังสารวัฏ หรือ ปั่นสังสารวัฏให้เวียนวนยืดเรื้อ, กิเลสที่เป็นตัวการปั่นเรื่องทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อแผกเพี้ยนพิสดาร พาให้เขวออกไปจากความเป็นจริง และก่อปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนเพิ่มขยายทุกข์ มี ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น (บาลี โสก สันสกฤต โศก)

ปริเทวะ ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

ทุกข์ ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น

โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตนเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น

อุปายาส ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น

กรัชกาย เขียน:
ต่อ

การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์

cool
อุปติสสะมานพคือพระสารีบุตร
อัครสาวกของพระสมณโคดม
คืออดีตปุถุชนฟังพระธรรม
1อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์
บรรลุเป็นพระโสดาบันจากฟังพระอัสชิ

และคำที่พระสารีบุตรฟังแล้วบรรลุนั้น
พระสารีบุตรนำไปกล่าวให้พระโมคคัลลานะ
ฟังคำเดียวกันบรรลุเป็นพระโสดาบันจากการถ่ายทอดคำเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแสดงว่าการจะฟังแล้วบรรลุตามได้ทันทีนั้น
เกิดจากฟังมาบ่อยๆจนไม่ลืมพอได้ฟังปุ๊บเก็ตปั๊บไรงี้
แล้วตัวเองลองไปอ่านคำที่พระอัสชิแสดงดูสิคะ
แปลเข้าใจแล้วก็ยังไม่บรรลุตามนั้นน่ะเพราะ
สะสมปัญญาจากการฟังยังไม่พอค่ะ




เห็นภาพความคิดคุณโรสศิษย์บ้านธัมมะแระ คือว่า คุณโรสและเจ้าสำนักที่เน้นการฟังลูกเดียวอย่างเดียวนั้น เพราะไปอ่านเรื่องเล่าจากธรรมบท คือจากประวัติผู้นั้นผู้นี้ฟังธรรมจากผู้นั้นผู้นี้แล้วบรรลุนั่นๆนี่ๆ แล้วก็เอามาผสมกับการตีความของตน ก็จึงเป็นแบรนด์ของสำนักบ้านธัมมะว่าต้องสุตะ สุตมยปัญญาแล.

อ้างคำพูด:
แล้วตัวเองลองไปอ่านคำที่พระอัสชิแสดงดูสิคะ

แปลเข้าใจแล้วก็ยังไม่บรรลุตามนั้นน่ะเพราะ

สะสมปัญญาจากการฟังยังไม่พอค่ะ


นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป

:b12:
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ
:b32: :b32:
แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ
:b13:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ; บุถุชน ก็เขียน

บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึง ภิกษุรูปเดียว

บุทคล บุคคล (เขียนอย่างสันสกฤต)

ปปัญจ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ปั่นให้เชือนแชชักช้าในสังสารวัฏ หรือ ปั่นสังสารวัฏให้เวียนวนยืดเรื้อ, กิเลสที่เป็นตัวการปั่นเรื่องทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อแผกเพี้ยนพิสดาร พาให้เขวออกไปจากความเป็นจริง และก่อปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนเพิ่มขยายทุกข์ มี ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น (บาลี โสก สันสกฤต โศก)

ปริเทวะ ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

ทุกข์ ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น

โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตนเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น

อุปายาส ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น

กรัชกาย เขียน:
ต่อ

การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์

cool
อุปติสสะมานพคือพระสารีบุตร
อัครสาวกของพระสมณโคดม
คืออดีตปุถุชนฟังพระธรรม
1อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์
บรรลุเป็นพระโสดาบันจากฟังพระอัสชิ
และคำที่พระสารีบุตรฟังแล้วบรรลุนั้น
พระสารีบุตรนำไปกล่าวให้พระโมคคัลลานะ
ฟังคำเดียวกันบรรลุเป็นพระโสดาบันจากการถ่ายทอดคำเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแสดงว่าการจะฟังแล้วบรรลุตามได้ทันทีนั้น
เกิดจากฟังมาบ่อยๆจนไม่ลืมพอได้ฟังปุ๊บเก็ตปั๊บไรงี้
แล้วตัวเองลองไปอ่านคำที่พระอัสชิแสดงดูสิคะ
แปลเข้าใจแล้วก็ยังไม่บรรลุตามนั้นน่ะเพราะ
สะสมปัญญาจากการฟังยังไม่พอค่ะ


และถ้าปุถุชนไม่สามารถคิดตามคำสอนได้
พระองค์คงไม่บอกย้ำแล้วย้ำอีกจนถึง45ปีทุกคำ

กล่าวความจริงที่กำลังปรากฏตรงปัจจุบันธรรมคือเดี๋ยวนี้
พระพุทธเจ้าตรัสไม่ให้มีการแสดงฤทธิ์เพราะผู้คนจะไม่ฟังคำสอนทราบข้อนี้ไหมคะ
ห้ามอวดอุตริมนุษยธรรมเพราะตถาคตปรารถนาให้ทุกคนฟังด้วยหูตนเองเข้าใจไหมคะ


นั่นคุณโรสก็กำลังเข้าใจผิด 45 ปีนั่น พระพุทธเจ้ามิใช่สอนให้ฟังอย่างเดียว สอนให้ฟัง คิด ทำ ฟังแล้วคิด คิดแล้วทำ และคำสอนของพระองค์นั่นมีมาก ว่ามีตั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ และคำสอนของพระองค์นั้นแบ่งออกเป็น ๒ คือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง จริยธรรมอย่างหนึ่ง

ต่างกันนะ ระหว่างสภาวะหรือสภาวธรรม กับ จริยธรรมเนี่ย เมื่อแยกอย่างนี้แล้วจะเห็นว่าคุณโรสกับเจ้าสำนักบ้านธัมมะพูดปนเปกัน

:b12:
ปัจจุบันขณะคือเดี๋ยวนี้ไม่ทำสุตมยปัญญาแปลว่าไม่พึ่งพระรัตนตรัยไงคะยังคิดไม่ออกหรือปัจจุบันขณะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 20:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป

:b12:
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ
:b32: :b32:
แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ
:b13:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ
:b32: :b32:


:b32: :b32: :b32:

คำตถาคต..ตรงตรง....ก็ฟังซิครับ...คุณโรส

คุณโรสฟังไม่เข้าใจ....นั้นเป็นกิเลสมั้ย?.. :b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ; บุถุชน ก็เขียน

บุคคล "ผู้กลืนกินอาหารอันทำอายุให้ครบเต็ม" คนแต่ละคน, คนรายตัว, อัตตา, อาตมัน, ในพระวินัย โดยเฉพาะในสังฆกรรม หมายถึง ภิกษุรูปเดียว

บุทคล บุคคล (เขียนอย่างสันสกฤต)

ปปัญจ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ปั่นให้เชือนแชชักช้าในสังสารวัฏ หรือ ปั่นสังสารวัฏให้เวียนวนยืดเรื้อ, กิเลสที่เป็นตัวการปั่นเรื่องทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อแผกเพี้ยนพิสดาร พาให้เขวออกไปจากความเป็นจริง และก่อปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนเพิ่มขยายทุกข์ มี ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

โสกะ ความเศร้าโศก ได้แก่ ความแห้งใจ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น (บาลี โสก สันสกฤต โศก)

ปริเทวะ ความคร่ำครวญหรือร่ำไร ได้แก่ บ่นเพ้อไปต่างๆ เช่น เมื่อสูญเสียญาติ เป็นต้น

ทุกข์ ความทุกข์กาย ได้แก่ เจ็บปวด เช่น กายบาดเจ็บ ถูกบีบคั้น เป็นโรค เป็นต้น

โทมนัส ความทุกข์ใจ ได้แก่ เจ็บปวดรวดร้าวใจ ที่ทำให้ร้องไห้ ตีอกชกหัว ลงดิ้น เชือดตนเอง กินยาพิษ ผูกคอตาย เป็นต้น

อุปายาส ความคับแค้น หรือสิ้นหวัง ได้แก่ เร่าร้อนทอดถอนใจ ในเมื่อความโศกเศร้าเพิ่มทวี เป็นต้น

กรัชกาย เขียน:
ต่อ

การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์

cool
อุปติสสะมานพคือพระสารีบุตร
อัครสาวกของพระสมณโคดม
คืออดีตปุถุชนฟังพระธรรม
1อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์
บรรลุเป็นพระโสดาบันจากฟังพระอัสชิ
และคำที่พระสารีบุตรฟังแล้วบรรลุนั้น
พระสารีบุตรนำไปกล่าวให้พระโมคคัลลานะ
ฟังคำเดียวกันบรรลุเป็นพระโสดาบันจากการถ่ายทอดคำเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแสดงว่าการจะฟังแล้วบรรลุตามได้ทันทีนั้น
เกิดจากฟังมาบ่อยๆจนไม่ลืมพอได้ฟังปุ๊บเก็ตปั๊บไรงี้
แล้วตัวเองลองไปอ่านคำที่พระอัสชิแสดงดูสิคะ
แปลเข้าใจแล้วก็ยังไม่บรรลุตามนั้นน่ะเพราะ
สะสมปัญญาจากการฟังยังไม่พอค่ะ


อ้างคำพูด:
การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์



กดดูตัวอย่าง กท. นี่เทียบด้วย

อ้างคำพูด:
เหตุผลที่ท่านคึกฤทธิ์สอนว่านิพพานไม่ใช่อนัตตา

https://pantip.com/topic/37964837



เขาพูดถึงนิพพาน - อนัตตากัน ซึ่งก็เปรียบเหมือนคนไม่เคยเห็นช้างดังตัวนั่น

:b32:
นิพพานก็คือนิพพานคือนิโรธหนึ่งเดียวที่บรรลุแล้วจึงครบอริยสัจจ์สี่อริยมรรค8ค่ะ
ส่วนที่เหลือไม่ครบค่ะและนิพพานบังคับให้เกิดไม่ได้ตามใจอยากไงคะเข้าใจไหมคะ
จะไปทำอย่างไรทรมาณอย่างไรพากเพียรอย่างไรก็ไม่ถึงเพราะขาดปัญญาจากฟังไงคะ
ไม่เคยคิดตรงตามเสียงจริงๆแล้วจะเกิดปัญญาเข้าใจตรงปัจจุบันขณะได้อย่างไรว่ากำลังสะสมอะไร
ทั้งหมดทุกคำในพระไตรปิฎกคือมีครบทุกคำเดี๋ยวนี้มีแล้วไม่ต้องทำแค่เพียรฟังเพื่อรู้ความจริงที่ตนมีตรง1
ไม่มีใครเอากิเลสออกได้เข้าใจไหมคะมีแต่ฟังเพื่อเข้าใจถูกตามสิ่งที่ตนมีแล้วกำลังปรากฏแต่ไม่สนใจฟังไง
มัวแต่ไปคิดทำอยู่ได้เหตุปัจจัยที่กำลังเกิดดับมีตลอดเวลาทุกขณะไม่เคยขาดจิตแม้แต่วินาทีเดียวเลยค่ะ
เริ่มฟังจึงเริ่มเกิดสัมมาคือจึงเริ่มคิดถูกตรงตามสัทบัญญัติตรงความจริงที่กายใจตนกำลังมีไงคะสิกขาคร่า
ทุกอย่างเป็นธัมมะแต่ละ1หลากหลายที่จิตแต่ละ1ดวงสะสมดับไม่กลับมาให้รู้อีกเกิดดับโดยอนัตตามีแล้ว
ที่ไปทำน่ะไม่รู้ว่ามีแล้วไงคะจึงมีแต่พาตัวตนไปจดจ้องตัวตนบีบบังคับให้รู้เร็วๆมันอิมพอสซิเบิ้นเป็นไปไม่ได้
แม้นิพพานก็อยากถึงยิ่งถึงไม่ได้เพราะนิพพานก็เป็นนิพพานไม่ใช่อัตตาและไม่ใช่อนัตตาแต่ถึงโดยอนัตตา
อนัตตาแปลว่าไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของใครเพราะถึงเมื่อปัญญาพร้อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป

:b12:
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ
:b32: :b32:
แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ
:b13:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ
:b32: :b32:


:b32: :b32: :b32:

คำตถาคต..ตรงตรง....ก็ฟังซิครับ...คุณโรส

คุณโรสฟังไม่เข้าใจ....นั้นเป็นกิเลสมั้ย?.. :b13: :b13: :b13:

:b12:
อ่านแล้วค่ะก็แค่คิดจำตัวอักษรที่ไม่รู้ความหมายอ่ะค่ะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยนี่คะ
เพราะอะไรทราบไหมคะเพราะคำที่อ่านไม่ใช่เหตุปัจจัยตรงสัทบัญญัติตนไง
เหมือนแบบนี้เลยค่ะมีคนเดินมาพูดภาษาที่คุณแปลไม่ออกก็มองเฉยๆไงคะ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย
นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป


อ้างคำพูด:
Rosarin
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ

แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ

ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ



คิกๆๆ บอกเป็นร้อยหนแล้วว่า ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย

คุณโรสว่าอุปติสสะ ฟังพระอัสสชิพูดแล้วบรรลุธรรมเลย เพราะเป็นภาษาพูดของเขาด้วย เพราะเขามีพื้นฐานทางความคิดแล้วด้วย

อ้างคำพูด:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ


นี่ก็บอกเป็นร้อยหนแล้วว่าที่คุณโรสฟังนั่นน่าฟังแม่สุจิน ไม่ใช่พุทธพจน์

ที่เป็นพุทธพจน์ก็คำพูดพระอัสสชินั่นแหละภาษาบาลีซึ่งรักษาพุทธพจน์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป


ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ

แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ

ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ




คำตถาคต..ตรงตรง....ก็ฟังซิครับ...คุณโรส

คุณโรสฟังไม่เข้าใจ....นั้นเป็นกิเลสมั้ย?..


อ่านแล้วค่ะก็แค่คิดจำตัวอักษรที่ไม่รู้ความหมายอ่ะค่ะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยนี่คะ
เพราะอะไรทราบไหมคะเพราะคำที่อ่านไม่ใช่เหตุปัจจัยตรงสัทบัญญัติตนไง
เหมือนแบบนี้เลยค่ะมีคนเดินมาพูดภาษาที่คุณแปลไม่ออกก็มองเฉยๆไงคะ


อ้างคำพูด:
เหมือนแบบนี้เลยค่ะ มีคนเดินมาพูดภาษาที่คุณแปลไม่ออก ก็มองเฉยๆไงคะ


นี่ชัดเจน คุณโรสขาดพื้นฐานภาษาทางธรรม คือ ภาษาบาลี จึงได้มั่ว เช่น เอาคำว่า สติ มาฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วก็ว่าฟังคำพุทธพจน์ทีละคำ สติ ก็ว่า สะ คำหนึ่ง ติ คำหนึ่ง
นิพพาน ก็ว่า นิพ คำหนึ่ง พาน คำหนึ่ง ว่า ฟังคำพุทธพจน์ทีละคำ นี่ขาดพื้นฐานภาษาทางธรรม

คำอื่นๆที่พูดมานอกจากนี้ ก็ทำนองเดียวกัน พูดได้แต่ไม่เข้าใจ เหมือนนกแก้วนกขุนทองพูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้เขาสื่อถึงอะไร

ฟังดูครับ

https://www.youtube.com/watch?v=p287WRzp9wk

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย
นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป


อ้างคำพูด:
Rosarin
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ

แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ

ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ



คิกๆๆ บอกเป็นร้อยหนแล้วว่า ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย

คุณโรสว่าอุปติสสะ ฟังพระอัสสชิพูดแล้วบรรลุธรรมเลย เพราะเป็นภาษาพูดของเขาด้วย เพราะเขามีพื้นฐานทางความคิดแล้วด้วย

อ้างคำพูด:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ


นี่ก็บอกเป็นร้อยหนแล้วว่าที่คุณโรสฟังนั่นน่าฟังแม่สุจิน ไม่ใช่พุทธพจน์

ที่เป็นพุทธพจน์ก็คำพูดพระอัสสชินั่นแหละภาษาบาลีซึ่งรักษาพุทธพจน์

:b32:
ก็อ่านไม่ใช่เหรอเป็นจิตคิดนึกหลังเห็นดับ
ไม่เข้าใจความหมายก็ไม่ใช่ปัญญาก็ตรงๆ
แล้วคุณกรัชกายอ่านแล้วบรรลุไหมคะ
คำตถาคตแท้ๆต้นภาษาบาลีน๊านั่น
คริคริคริไม่มีปัญญาเข้าใจก็ไม่รู้
ทุกคนที่อ่านอยู่ก็อ่านไปสิคะ
บรรลุหรือเฉยก็บอกมาตรงๆ
ก็ปัญญาเจตสิกเกิดเองไม่ได้ไงคะ
เพราะคุณต้องกำลังฟังและเข้าใจความหมายเสียงนั้นด้วยคือสัทบัญญัติ
คุณถึงจะไตร่ตรองตามได้ตรงความจริงที่คิดถูกตัวตนไงคะ
เอามาทั้งดุ้นอย่างนั้นเปิดดิกชินนารี่ก็ไม่ทันคริคริคริ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย
นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป


อ้างคำพูด:
Rosarin
ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ

แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ

ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ



คิกๆๆ บอกเป็นร้อยหนแล้วว่า ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย

คุณโรสว่าอุปติสสะ ฟังพระอัสสชิพูดแล้วบรรลุธรรมเลย เพราะเป็นภาษาพูดของเขาด้วย เพราะเขามีพื้นฐานทางความคิดแล้วด้วย

อ้างคำพูด:
ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ


นี่ก็บอกเป็นร้อยหนแล้วว่าที่คุณโรสฟังนั่นน่าฟังแม่สุจิน ไม่ใช่พุทธพจน์

ที่เป็นพุทธพจน์ก็คำพูดพระอัสสชินั่นแหละภาษาบาลีซึ่งรักษาพุทธพจน์

:b32:
ก็อ่านไม่ใช่เหรอเป็นจิตคิดนึกหลังดห็นดับ
ไม่เข้าใจความหมายก็ไม่ใช่ปัญญาก็ตรงๆ
แล้วคุณกรัชกายอ่านแล้วบรรลุไหมคะ
คำตถาคตแท้ๆต้นภาษาบาลีน๊านั่น
คริคริคริไม่มีปัญญาเข้าใจก็ไม่รู้
ทุกคนที่อ่านอยู่ก็อ่านไปสิคะ
บรรลุหรือเฉยก็บอกมาตรงๆ
ก็ปัญญาเจตสิกเกิดเองไม่ได้ไงคะ
เพราะคุณต้องกำลังฟังแบะเข้าใจความหมายเสียงนั้นด้วยคือสัทบัญญัติ
คุณถึงจะไตร่ตรองตามได้ตรงความจริงที่คิดถูกตัวตนไงคะ
เอามาทั้งดุ้นอย่างนั้นเปิดดิกชินนารี่ก็ไม่ทันคริคริคริ
:b32: :b32: :b32:


อ้าวแล้วทำไมอุปติสสะฟังแล้วบรรลุล่ะ คุณพูดเองนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นี่คำพูดของพระอัสสชิ

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - เอวํ วาที มหาสมโณ.


คุณโรสเข้าใจแล้วลองบอกสิหมายถึงอะไร ว่าไป


ไม่ใช่ภาษาไทยแปลไม่ออกหรอกค่ะคริคริคริ

แปลได้แล้วก็พิจารณาด้วยนะอ่านแล้วยังเฉยๆน่ะปัญญาไม่มีไงคะคริคริคริ

ฟังพระพุทธพจน์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตค่ะ




คำตถาคต..ตรงตรง....ก็ฟังซิครับ...คุณโรส

คุณโรสฟังไม่เข้าใจ....นั้นเป็นกิเลสมั้ย?..


อ่านแล้วค่ะก็แค่คิดจำตัวอักษรที่ไม่รู้ความหมายอ่ะค่ะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยนี่คะ
เพราะอะไรทราบไหมคะเพราะคำที่อ่านไม่ใช่เหตุปัจจัยตรงสัทบัญญัติตนไง
เหมือนแบบนี้เลยค่ะมีคนเดินมาพูดภาษาที่คุณแปลไม่ออกก็มองเฉยๆไงคะ


อ้างคำพูด:
เหมือนแบบนี้เลยค่ะ มีคนเดินมาพูดภาษาที่คุณแปลไม่ออก ก็มองเฉยๆไงคะ


นี่ชัดเจน คุณโรสขาดพื้นฐานภาษาทางธรรม คือ ภาษาบาลี จึงได้มั่ว เช่น เอาคำว่า สติ มาฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วก็ว่าฟังคำพุทธพจน์ทีละคำ สติ ก็ว่า สะ คำหนึ่ง ติ คำหนึ่ง
นิพพาน ก็ว่า นิพ คำหนึ่ง พาน คำหนึ่ง ว่า ฟังคำพุทธพจน์ทีละคำ นี่ขาดพื้นฐานภาษาทางธรรม

คำอื่นๆที่พูดมานอกจากนี้ ก็ทำนองเดียวกัน พูดได้แต่ไม่เข้าใจ เหมือนนกแก้วนกขุนทองพูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้เขาสื่อถึงอะไร

ฟังดูครับ

https://www.youtube.com/watch?v=p287WRzp9wk

:b32:
เป็นคนไทยคิดตามภาษาไทยที่โรสเขียนอ่านไม่เข้าใจหรือคะ
กำลังเห็นมีแล้วกำลังได้ยินมีแล้วหูหนวกตาบอดลงเดียวนี้
หมดโอกาสสะสมปัญญาเลยน๊าชาตินี้อ่ะค่ะมีครบแล้ว
ตาหูจมูกลิ้นกายใจแต่ปัญญาไม่มีจึงไม่รู้ไงคะว่า
พระพุทธเจ้าตรัสแต่ความจริงตรงคำตรงขณะ
คือทุกคำในพระไตรปิฎกเลยนะคะจิตตนมี
และกำลังรู้อะไรตรงคำไหนที่ตรงจริงที่
ตนกำลังมีเป็นปัญญารู้ชัดตรงปัจจุบัน
มีแค่นั้นค่ะปัญญาตัวเองแต่ถ้าไม่เคย
ไม่เคยคิดตรงเลยแปลว่ามีอวิชชา
ทุกคำที่ทรงตรัสรู้มีแล้วทุกคำ
ตรงจริงที่ทุกคนกำลังมีแล้วค่ะ
คลิปวิดีโอทุกคลิปทุกตอน
ของบ้านธัมมะตรงสัจจะ
ดูความจริงที่ตนกำลังมี
ตรงกับที่กายใจกำลังมี
จริงๆค่ะพิสูจน์ได้จาก
การฟังและไตร่ตรองตามทีละคำ
ฟังทีละคำไม่เข้าใจแปลว่าปัญญายังไม่พอไงคะ
:b12:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 102 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร