วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

Kiss
:b1:
ความจำไม่มั่นคงแต่ปัญญารู้+จำถูก+สติระลึกตรงธัมมะ
ไม่ใช่จำไม่ได้แต่ความเพลิดเพลินทางตาค่ะทำให้ลืมน๊า
เช่นเห็นสาวสวยเดินผ่านมองและคิดแล้วลืมธัมมะตลอด
ทุกคนนั้นแหละเป็นตามนี้จริงๆจะรู้ตัวว่ามีกิเลสตอนฟังน๊า
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความต่างระหว่าง สังขาร ในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

๒ สังขารในขันธ์ ๕ กับ สังขารในไตรลักษณ์

ในภาษาไทย มีตัวอย่างมากมายที่คำพูดหรือคำศัพท์เดียวกัน แต่มีความหมายต่างกันหลายอย่าง ที่ต่างกันเล็กน้อย ยังมีเค้าความหรือลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงหรือพอเทียบเคียงกันได้ก็มี ที่ต่างกันห่างไกลจนไม่มีอะไรเทียบหรือโยงถึงกันเลย ก็มี เช่น "กลอน" หมายถึงคำประพันธ์ประเภทหนึ่งก็ได้ หมายถึง ไม้ชัดหรือลูกสลักประตูหน้าต่าง ก็ได้ ลูกตุ้มที่ใช้เป็นอาวุธ ก็ได้

"เขา" ที่หมายถึงเนินอันสูงขึ้นไปบนพื้นดิน และ "เขา" ที่หมายถึงส่วนของกายมีลักษณะแข็ง ที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก กล่าวได้ว่ามีลักษณะคล้ายกันอยู่บ้าง "เขา" ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่สาม กับ "เขา" ที่เป็นชื่อนกพวกหนึ่ง คงพูดได้ยากว่ามีอะไรใกล้เคียงหรือเทียบคล้ายกันได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เข้าใจความหมายนัยต่างๆ ของถ้อยคำดีแล้ว และได้ยินได้ฟังได้ใช้อยู่จนเคยชิน เมือพบคำเช่นนั้น ที่มีผู้ใช้พูดใช้เขียนในข้อความต่างๆ ตามปกติจะแยกได้ไม่ยากว่า คำนั้น ที่ใช้ในข้อความนั้น มีความหมายอย่างไร โดยมากจะเข้าใจได้ทันที ตัวอย่างเช่น "จะเย็บผ้าได้ ก็ต้องใช้เข็ม จะสร้างบ้านใหญ่ ท่านให้ลงเข็ม" "เขาขึ้นเขาตามล่ากวางเพื่อเอาเขา" "หญิงชราไปในเรือเดินทะเล พอได้ยินว่า จะพบลมใหญ่ ก็จะเป็นลม" "เขาหักพวงมาลัยหลบเด็กขายพวงมาลัย" "อย่าทำล้อเล่น รถนี้มีแค่สองล้อ" "พอหนังจบ เขาก็รีบคว้ากระเป๋าหนังรูปไปทำงาน" "ตายังตาดี แต่ฟันไม่ดี" "กาน้ำนั้นหากินในน้ำ กาน้ำนี้คนขายกาแฟใช้หากิน" "เพราะเสียดสี จึงเสียสี" "ร่วงโรจไม่ร่วงโรย" ดังนี้ เป็นต้น

ในภาษาบาลีก็เช่นเดียว กัน มีศัพท์มากมายที่มีความหมายหลายนัย ผู้ได้เล่าเรียนดีแล้ว แม้พบศัพท์เหล่านี้ที่ใช้ในความหมายหลายอย่างปะปนกันอยู่ ก็สามารถจับแยกและเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ไม่คุ้นเคยหรือผู้แรกศึกษาอาจสับสนงุนงงหรือถึงกับเข้าใจผิดได้


ตัวอย่างคำจำพวกนี้ ที่มาจากภาษาบาลี เช่น "นาค" อาจหมายถึงสัตว์คล้ายงูแต่ตัวใหญ่มาก ก็ได้ หมายถึงช้างใหญ่เจนศึกก็ได้ หมายถึงบุคคลผู้ประเสริฐก็ได้ "นิมิต" ในทางพระวินัย หมายถึง วัตถุที่เป็นเครื่องหมายเขตที่ประชุมสงฆ์บ้าง หมายถึง อาการแสวงหาลาภในทางที่ผิดด้วยวิธีขอเขาแบบเชิญชวนโดยนัย บ้าง แต่ในทางธรรมปฏิบัติ หมายถึง ภาพที่เห็นในใจการเจริญกรรมฐาน "นิกาย" หมายถึง หมวดตอนในพระไตรปิฎกส่วนพระสูตร ก็ได้ หมายถึง คณะนักบวชหรือกลุ่มศาสนิกที่แบ่งกันเป็นพวกๆก็ได้ "ปัจจัย" ในทางพระวินัย หมายถึง เครื่องอาศัยของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ... แต่ในทางธรรม หมายถึง เหตุ (เหตุปัจจัย) หรือเครื่องสนับสนุนให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น


ขอให้พิจารณาความหมายของคำศัพท์เดียวกัน ที่ต่างนัยกันออกไป เมื่อใช้ในข้อความต่างๆ ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ "ภิกษุรู้รสด้วยลิ้น อร่อยก็ตาม ไม่อร่อยก็ตาม เธอไม่ปล่อยให้ความติดใจหรือความขัดใจเข้าครอบงำจิต ภิกษุนี้ ชื่อว่าสำรวมอินทรีย์ คือลิ้น" "อินทรีย์คือศรัทธา มีการยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบอยู่ด้วยให้เข้าถึงภาวะผ่องใสเป็นรส ประดุจดังสารส้ม หรือมีการวิ่งแล่นไปหาอารมณ์เป็นรส ภิกษุพึงเจริญอินทรีย์คือศรัทธานั้น"


คำว่า รส ก็ดี อินทรีย์ ก็ดี ในข้อความ ๒ ท่อนนี้ มีความหมายต่างกัน ในข้อความแรก รส หมายถึง สิ่งที่รู้ด้วยลิ้น หรือ สิ่งที่เป็นอารมณ์ของชิวหาวิญญาณ อินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่เป็นเจ้าการในการรับรู้อารมณ์ กล่าวคืออายตนะภายใน ส่วนข้อความหลัง รส หมายถึงกิจหรือหน้าที่ อินทรีย์ หมายถึงกุศลธรรมที่เป็นเจ้าการในการกำราบอกุศลธรรมที่เป็นปฏิปักษ์


"ภิกษุพึงกระทำโยคะ เพื่อบรรลุธรรมเป็นที่ปลอดภัยจากโยคะ" โยคะคำ ต้น หมายถึงการประก่อบความเพียรในการเจริญภาวนา คือฝึกฝนพัฒนาจิตปัญญา โยคะ คำหลัง หมายถึงธรรม คือ กิเลสที่ประกอบ คือ เทียมหรือผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในภพ


"ปุถุชน มองเห็นรูปบ้าง เวทนาบ้าง สัญญาบ้าง สังขารบ้าง วิญญาณบ้าง ว่าเป็นตน แต่ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น จะเป็นตนหาได้ไม่ เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัว มิใช่ตนทั้งสิ้น" สังขาร คำแรก หมายถึงเพียงขันธ์หนึ่งในบรรดาขันธ์ ๕ แต่สังขารคำหลังครอบคลุมความหมายของสังขตธรรมทั้งหมดทีเป็นไปตามไตรลักษณ์


คำเกี่ยวข้องที่ต้องการอธิบายในที่นี้ คือ "สังขาร" แต่ที่ได้ยกตัวอย่างคำอื่นๆ มาแสดงไว้มากมาย และได้บรรยายมาอย่างยึดยาว ก็เพื่อให้เห็นว่า คำพูดในภาษาไทยก็ตาม ในภาษาบาลีก็ตาม ที่เป็นคำเดียวกัน แต่มีความต่างกันเป็นสองอย่างบ้าง หลายอย่างบ้าง กว้างแคบกว่ากันบ้าง เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกันบ้าง ตลอดจนตรงข้ามกันก็มีนั้น มีอยู่มากมายและเป็นของสามัญ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว มาเห็นคำว่าสังขารที่ท่านใช้ในความหมายต่างๆ หลายนัย ก็จะไม่เห็นเป็นของแปลก และจะเข้าใจมองเห็นตามได้ง่าย


คำว่าสังขารนั้น มีที่ใช้ในความหมายต่างๆ กันไม่น้อย กว่า ๔ นัย แต่เฉพาะที่ต้องการให้เข้าใจในที่นี้ มี ๒ นัย คือ สังขารที่เป็นข้อหนึ่งในขันธ์ ๕ กับ สังขารที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ เพราะสังขาร ๒ นัยนี้มาในหลักธรรมสำคัญ กล่าวอ้างกันบ่อย และความหมายคล้ายจะซ้อนกันอยู่ ทำให้ผู้ศึกษา สับสนได้ง่าย
อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่กำลังอธิบาย อยู่โดยตรง เบื้องแรกขอยกคำมาดูให้เห็นชัด

๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๒. สังขาร ในไตรลักษณ์ สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

นำความหมายทั้ง ๒ นั้น มาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้

๑. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึงสภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียก ง่ายๆว่า เครื่องปรุงของ จิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โล ภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียก ว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้ง ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้น ล้วนเป็น นามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ


๒. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่ เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขารในไตรลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ และโดยองค์ธรรม

ก. โดยความหมายของศัพท์: "สังขาร" ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ตัวปรุงแต่งจิตใจ และการกระทำ ให้มีคุณภาพต่างๆ เครื่องปรุงแต่งจิต หรือแปลกันง่ายๆ

นอกจากความหมายจะต่างกันอย่างที่พอสังเกตเหนได้อย่างนี้แล้ว ความหมายนั้น ยังแคบกว่ากันด้วย กล่าวคือ สภาวะที่ปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงของจิต หรือความคิดปรุงแต่ง (สังขารในขันธ์ ๕ ) นั้น ตัวของมันเอง ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง เป็นสิ่งปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่ง เพราะเกิดจากปัจจัยอย่างอื่นปรุงแต่งขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง ทยอยกันไปเป็นทอดๆ จึงไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในความหมายอย่างหลัง (สังขารในไตรลักษณ์) คือ ความเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือเป็นของปรุงแต่งนั่นเอง "สังขาร" ในขันธ์ ๕ จึงกินความหมายแคบกว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ส่วน "สังขาร" ในไตรลักษณ์กินความหมายครอบคลุมทั้งหมด

ข. โดยองค์ธรรม: ถ้าแบ่งธรรมหรือสิ่งต่างๆ ออกเป็น ๒ อย่างคือ รูปธรรม กับ นามธรรม และแบ่งนามธรรมซอยออกไปอีกเป็น ๔ อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จะเห็นว่า "สังขาร" ในขันธ์ ๕ เป็นนามธรรมอย่างเดียว และเป็นเพียงส่ว่นหนึ่งในสี่ส่วนของนามธรรมเท่านั้น แต่ "สังขาร" ในไตรลักษณ์ ครอบคลุมทั้งรูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง รูปธรรมและนามธรรมที่กล่าวถึงนี้ เมื่อแยกออกไปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง

จะ เห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ เป็นเพียงขันธ์หนึ่งในขันธ์ ๕ (เป็นลำดับที่สี่) แต่สังขารในไตรลักษณ์ ครอบคลุมขันธ์ ๕ ทั้งหมด กล่าวคือ สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นสังขารอย่างหนึ่ง (ในไตรลักษณ์) เช่นเดียวกับขันธ์อื่นๆ ทั้งสี่ขันธ์


นอกจากนั้น ธรรมหรือสิ่งต่างๆ ที่นำมาแบ่งในที่นี้ ก็คือสังขตธรรม ซึ่งก็เป็นไวพจน์คืออีกชื่อหนึ่งของสังขาร (ในไตรลักษณ์) นั่นเอง จะเห็นชัดเจนว่า สังขาร (ในขันธ์ ๕) เป็นเพียงส่วนย่อยอย่างหนึ่งฝ่ายนามธรรมที่รวม อยู่ด้วยกันทั้งหมดภายในสังขาร (ในไตรลักษณ์) เท่านั้นเอง


เพื่อกันความสับสน บางทีท่านใช้คำว่า "สังขารขันธ์" สำหรับคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ ที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนามธรรม และใช้คำว่า สังขารที่เป็นสังขตธรรม หรือ "สังขตสังขาร" หรือ "สังขาร" เดี่ยวๆ สำหรับสังขานในไตรลักษณ์ที่มีความหมายครอบคลุมทั้งรูปรรมและนามธรรม หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด


การที่ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ มาลงเป็นคำศัพท์เดียวกันว่า "สังขาร" ก็เพราะมีความหมายเหมือนกันว่า "ปรุงแต่ง" แต่มาต่างกันตรงที่ว่า อย่างแรกเป็น "ความคิดปรุงแต่ง" อย่างหลังเป็น "สิ่งปรุงแต่ง หรือของปรุงแต่ง"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

Kiss
:b1:
ความจำไม่มั่นคงแต่ปัญญารู้+จำถูก+สติระลึกตรงธัมมะ
ไม่ใช่จำไม่ได้แต่ความเพลิดเพลินทางตาค่ะทำให้ลืมน๊า
เช่นเห็นสาวสวยเดินผ่านมองและคิดแล้วลืมธัมมะตลอด
ทุกคนนั้นแหละเป็นตามนี้จริงๆจะรู้ตัวว่ามีกิเลสตอนฟังน๊า


สัญญาไม่มี ไม่จำ ปัญญาจะเอาอะไรมารู้ล่ะคุณโรส ปัญญาอาศัยข้อมูลจากสัญญาจำมาให้คิด

ตย. ถ้าคุณโรสจำเลขที่บ้านตัวเองไม่ได้ จำซอยเข้าบ้านก็ไม่ได้ คุณโรสกลับบ้านถูกไหม ลองตอบ

มีคนยืมตังค์คุณโรส คนยืมจำได้ว่ายืมเงินคุณโรสไป เขาเอามาคืน คุณโรสจำไม่ได้ เออดี คิกๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสเป็นต้น กรัชกายพูดยังงี้ถูกหรือผิดวิจารณ์ด้วย

คือ พวกเราอยากมีธัมมะกันจนลืมความเป็นจริงของธรรม-ชาติ คือ ชีวิตนี้ ตามที่มันเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

Kiss
:b1:
ความจำไม่มั่นคงแต่ปัญญารู้+จำถูก+สติระลึกตรงธัมมะ
ไม่ใช่จำไม่ได้แต่ความเพลิดเพลินทางตาค่ะทำให้ลืมน๊า
เช่นเห็นสาวสวยเดินผ่านมองและคิดแล้วลืมธัมมะตลอด
ทุกคนนั้นแหละเป็นตามนี้จริงๆจะรู้ตัวว่ามีกิเลสตอนฟังน๊า


สัญญาไม่มี ไม่จำ ปัญญาจะเอาอะไรมารู้ล่ะคุณโรส ปัญญาอาศัยข้อมูลจากสัญญาจำมาให้คิด

ตย. ถ้าคุณโรสจำเลขที่บ้านตัวเองไม่ได้ จำซอยเข้าบ้านก็ไม่ได้ คุณโรสกลับบ้านถูกไหม ลองตอบ

มีคนยืมตังค์คุณโรส คนยืมจำได้ว่ายืมเงินคุณโรสไป เขาเอามาคืน คุณโรสจำไม่ได้ เออดี คิกๆๆๆ

tongue
:b1:
ปัญญาหมายถึงปัญญาเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกเกิดตอนฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมถูกไหมคะ
แต่ยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้ามีแต่พระพุทธพจน์สติปัญญาเกิดตอนกำลังเข้าใจตามคำของพระองค์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้3ระดับคือ1สุตมยปัญญา2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ไม่ใช่ปัญญาที่คนทั่วไปเอามาใช้พูดกันว่ามีสติปัญญา เพราะปุถุชนไม่รู้จักสติและปัญญาเจตสิก
คุณกรัชกายยกตัวอย่างที่ไม่ใช่โสภณเจตสิกที่เกิดดับพร้อมจิต นั่นเป็นสัญญามีตัวตนใช่ไหมคะ
:b16:
:b39: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 30 มิ.ย. 2016, 11:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

Kiss
:b1:
ความจำไม่มั่นคงแต่ปัญญารู้+จำถูก+สติระลึกตรงธัมมะ
ไม่ใช่จำไม่ได้แต่ความเพลิดเพลินทางตาค่ะทำให้ลืมน๊า
เช่นเห็นสาวสวยเดินผ่านมองและคิดแล้วลืมธัมมะตลอด
ทุกคนนั้นแหละเป็นตามนี้จริงๆจะรู้ตัวว่ามีกิเลสตอนฟังน๊า


สัญญาไม่มี ไม่จำ ปัญญาจะเอาอะไรมารู้ล่ะคุณโรส ปัญญาอาศัยข้อมูลจากสัญญาจำมาให้คิด

ตย. ถ้าคุณโรสจำเลขที่บ้านตัวเองไม่ได้ จำซอยเข้าบ้านก็ไม่ได้ คุณโรสกลับบ้านถูกไหม ลองตอบ

มีคนยืมตังค์คุณโรส คนยืมจำได้ว่ายืมเงินคุณโรสไป เขาเอามาคืน คุณโรสจำไม่ได้ เออดี คิกๆๆๆ

tongue
:b1:
ปัญญาหมายถึงปัญญาเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกเกิดตอนฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมถูกไหมคะ
แต่ยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้ามีแต่พระพุทธพจน์สติปัญญาเกิดตอนกำลังเข้าใจตามคำของพระองค์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้3ระดับคือ1สุตมยปัญญา2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ไม่ใช่ปัญญาที่คนทั่วไปเอามาใช้พูดกันว่ามีสติปัญญา พราะปุถุชนไม่รู้จักสติและปัญญาเจตสิก
คุณกรัชกายยกตัวอย่างที่ไม่ใช่โสภณเจตสิกที่เกิดดับพร้อมจิต นั่นเป็นสัญญามีตัวตนใช่ไหมคะ




จะสัญญามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน มันก็จำได้หมายรู้ นั่นแหละคุณโรส พูดยังงั้น พระพุทธเจ้าและพระสาวกก็จำอะไรไม่ได้แล้วซี่ ออกบิณฑบาต จำทางกลับวัดเชตวันไม่ถูกยังงั้นน่าซี่

ทุกวันนี้ คนเราทั่วๆไป เขียน อ่าน ครู-อาจารย์สอนจำได้ จำบ้านเลขที่ได้ จำที่ทำงานได้ ก็ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่สัญญายังงั้นน่าซี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรสเป็นต้น กรัชกายพูดยังงี้ถูกหรือผิดวิจารณ์ด้วย

คือ พวกเราอยากมีธัมมะกันจนลืมความเป็นจริงของธรรม-ชาติ คือ ชีวิตนี้ ตามที่มันเป็น

cool
จิตแต่ละ1ขณะของแต่ละคนเกิดดับไม่รู้ว่าแต่ละขณะโลกทางใดใน6ทางที่กำลังปรากฏ
เพราะจิตแต่ละขณะที่ดับไปแล้วเปลี่ยนไม่ได้แต่ไม่มีใครรู้ความจริงมีพระพุทธเจ้าที่รู้ค่ะ
และพระองค์ตรัสคำจริงตามความจริงที่พระองค์รู้ให้สาวกคือผู้สนใจฟังรู้ตัวทันทีแต่
ความไม่รู้ที่ยึดถือตัวตนมันสะสมมาทุกภพชาติเพราะสะสมกิเลสใหม่ตลอดเวลา
จะเริ่มรู้ตัวเมื่อคำที่พระองค์ทรงแสดงกระตุกกิเลสที่ตนกำลังมีตอนที่สติเกิด
ไม่มีใครเอากิเลสความไม่รู้ออกจากจิตได้นอกจากสะสมความรู้เพิ่มขึ้น
จนกว่าปัญญาแทงตลอดธรรมเป็นสติสัมปชัญญะทันกิเลสทุกขณะ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรสที่กรัชกายทำอยู่นี่ลงบทความอยู่นี่ บทความจากตำราศาสนานะ ความรู้เบื้องต้น เรียกตามศัพท์ว่า ปริยัติ แต่ก็สำคัญนะ ปริยัติก็สำคัญ ไม่ใช่มองข้ามหรือเห็นไม่สำคัญ ถ้ารู้จำไว้ถูกต้อง ขั้นการปฏิบัติก็พอประคองตัว (แต่ที่สำคัญยิ่งคือผู้รู้เข้าใจภาคปฏิบัตินำทาง) ไม่ใช่ปริยัติก็ไม่รู้ รู้ก็รู้ผิดๆงูๆปลาๆ แล้วไปปฏิบัติ เดี๋ยวเถอะศรีธัญญา บอกไม่เชื่อ

:b1:
แล้วข้าพเจ้าบอกว่าคุณกรัชกายทำผิดหรือไงคะ
ก็บอกว่าให้สนใจในการศึกษาจากการฟังเพิ่ม
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจคิดและสงสัย
ถกเถียงไปตามความเห็นของตน
มันไม่ตรงคำสอนตรงปัญญา
ปัญญา3ระดับ1สุตมยปัญญา
2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ปัญญาเป็นสัมมาทิฐิความเห็นตรงถูกต้อง
ขณะที่สะสมความเห็นถูกจากการฟังทีละ1ขณะ
กำลังเข้าใจปัญญาเจตสิก+โสภณเจตสิกอื่นสะสม
1ขณะที่กำลังเข้าใจไม่ใช่ตัวตน พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


อ้างคำพูด:
พอเลิกฟังลืมธัมมะแล้ว


ที่ลืมเพราะไม่จำ จำไม่ได้ใช่มั้ย

Kiss
:b1:
ความจำไม่มั่นคงแต่ปัญญารู้+จำถูก+สติระลึกตรงธัมมะ
ไม่ใช่จำไม่ได้แต่ความเพลิดเพลินทางตาค่ะทำให้ลืมน๊า
เช่นเห็นสาวสวยเดินผ่านมองและคิดแล้วลืมธัมมะตลอด
ทุกคนนั้นแหละเป็นตามนี้จริงๆจะรู้ตัวว่ามีกิเลสตอนฟังน๊า


สัญญาไม่มี ไม่จำ ปัญญาจะเอาอะไรมารู้ล่ะคุณโรส ปัญญาอาศัยข้อมูลจากสัญญาจำมาให้คิด

ตย. ถ้าคุณโรสจำเลขที่บ้านตัวเองไม่ได้ จำซอยเข้าบ้านก็ไม่ได้ คุณโรสกลับบ้านถูกไหม ลองตอบ

มีคนยืมตังค์คุณโรส คนยืมจำได้ว่ายืมเงินคุณโรสไป เขาเอามาคืน คุณโรสจำไม่ได้ เออดี คิกๆๆๆ

tongue
:b1:
ปัญญาหมายถึงปัญญาเจตสิกเป็นโสภณเจตสิกเกิดตอนฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมถูกไหมคะ
แต่ยุคนี้ไม่มีพระพุทธเจ้ามีแต่พระพุทธพจน์สติปัญญาเกิดตอนกำลังเข้าใจตามคำของพระองค์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้3ระดับคือ1สุตมยปัญญา2จินตามยปัญญา3ภาวนามยปัญญา
ไม่ใช่ปัญญาที่คนทั่วไปเอามาใช้พูดกันว่ามีสติปัญญา พราะปุถุชนไม่รู้จักสติและปัญญาเจตสิก
คุณกรัชกายยกตัวอย่างที่ไม่ใช่โสภณเจตสิกที่เกิดดับพร้อมจิต นั่นเป็นสัญญามีตัวตนใช่ไหมคะ




จะสัญญามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน มันก็จำได้หมายรู้ นั่นแหละคุณโรส พูดยังงั้น พระพุทธเจ้าและพระสาวกก็จำอะไรไม่ได้แล้วซี่ ออกบิณฑบาต จำทางกลับวัดเชตวันไม่ถูกยังงั้นน่าซี่

ทุกวันนี้ คนเราทั่วๆไป เขียน อ่าน ครู-อาจารย์สอนจำได้ จำบ้านเลขที่ได้ จำที่ทำงานได้ ก็ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่สัญญายังงั้นน่าซี่

:b12:
พระอริยบุคคลรู้ถูกต้องทั้งโลกียธรรมและอยู่ตรงเส้นทางอริยมรรครู้ทุกข์ละสมุทัยด้วยมรรคไม่ใช่ตัวตนกั้น
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2016, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
อ้างคำพูด:
จะสัญญามีตัวตนหรือไม่มีตัวตน มันก็จำได้หมายรู้ นั่นแหละคุณโรส พูดยังงั้น พระพุทธเจ้าและพระสาวกก็จำอะไรไม่ได้แล้วซี่ ออกบิณฑบาต จำทางกลับวัดเชตวันไม่ถูกยังงั้นน่าซี่

ทุกวันนี้ คนเราทั่วๆไป เขียน อ่าน ครู-อาจารย์สอนจำได้ จำบ้านเลขที่ได้ จำที่ทำงานได้ ก็ไม่ใช่ความจำ ไม่ใช่สัญญายังงั้นน่าซี่

:b6:
สัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกขณะและสังขารขันธ์เจตสิกทั้งกุศลและอกุศล
จำถูกหรือจำผิดหมายถึงจำถูกตามคำสอน ที่จำว่าเป็นตัวเราทำโน่นนี่นั้นคือ
จิตวิปลาศคลาดเคลื่อนไปจากสิ่งที่กำลังมีจริงๆที่ดับไปแล้วตามคำสอนค่ะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ ลิงค์นี้
.
viewtopic.php?f=1&t=52452


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา
แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้
ถ้าไม่มนสิการคือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น

สิ่งที่เป็น เหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

1. สันตติ - บังอนิจจลักษณะ

2. อิริยาบถ - บังทุกขลักษณะ

3. ฆนะ - บังอนัตตลักษณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเคลื่อนไหว (อิริยาบถ)

ดูความหมายหน่อย สะกดอย่างนี้

อิริยาบถ "ทางแห่งการเคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน, อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ค. 2016, 08:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกตว่า หลักขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็ดี หลักอายตนะ ๖ (สฬายตนะ) ก็ดี แสดงเนื้อหาของชีวิต เน้นการศึกษาพิจารณาเกี่ยวกับชีวิต คือ ว่าด้วยขันธ์ ๕ ที่เป็นภายใน และอายตนะภายในเป็นสำคัญ
ส่วนหลักไตรลักษณ์นี้ ขยายขอบเขตการพิจารณาออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งขันธ์ ๕ ที่เป็นภายใน และขันธ์ ๕ ที่เป็นภายนอก ทั้งอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก เป็นการมองทั้งชีวิต และสิ่งทั้งปวงที่ชีวิตเกี่ยวข้อง คือว่าด้วยชีวิต และโลกทั่วไปทั้งหมดทั้งสิ้น

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2016, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
มาเป็นหน้าม้าแซวก่อนโฮฮับค่ะ
รูปเด็กน่ารักมากค่ะเห็นด้วยอีก
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจสิ่งที่บังไม่ให้เราเห็นไตรลักษณ์แล้ว


ต่ออีกหน่อย


อนิจจตา และอนิจจลักษณะ


คัมภีรร์ปฏิสัมภิทามัคค์แสดงอรรถ (ความหมาย) ของอนิจจตาไว้อย่างเดียวว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง โดยความหมายว่า เป็นของสิ้นไปๆ (ขยฏฺเฐน) *
หมายความว่า เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใด ก็ดับไปที่นั่น เมื่อนั้น เช่น รูปธรรมในอดีต ก็ดับไปในอดีต ไม่มาถึงขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็ดับไปที่นี่ ไม่ไปถึงข้างหน้า รูปในอนาคตจะเกิดถัดต่อไป ก็จะดับ ณ ที่นั้นเอง ไม่มีอยู่ถึงเวลาต่อไปอีก ดังนี้เป็นต้น


ต่อมาในคัมภีร์อรรถกถา ท่านต้องการให้ผู้ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น จึงได้ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ ยักย้ายคำอธิบายออกไปให้เห็นความหมายในหลายๆแง่ และหลายๆระดับ ตั้งแต่ระดับคร่าวๆ หยาบๆลงมาจนถึงความเป็นไปในแต่ละขณะๆ
เช่น
เมื่อมองชีวิตของคน เบื้องต้นก็มองอย่างง่ายๆ ดูช่วงชีวิตทั้งหมด ก็จะเห็นว่าชีวิตมีการเกิดและการแตกดับ เริ่มต้นด้วยการเกิดและสิ้นสุดลงด้วยความตาย เมื่อซอยลงไปอีก ก็ยิ่งเห็นความเกิดและความดับ หรือการเริ่มต้นและการแตกสลายกระชั้นถี่เข้ามา เป็นช่วงวัยหนึ่งๆ ช่วงระยะสิบปีหนึ่งๆ ช่วงปีหนึ่งๆ ช่วงฤดูหนึ่งๆ ช่วงเดือนหนึ่งๆ ฯลฯ ช่วงยามหนึ่งๆ
ตลอดถึงชั่วเวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแต่ละครั้งแต่ละหน จนกระทั่งมองเห็นความเกิดดับที่เป็นไปในทุกๆขณะ ซึ่งเป็นของมองเห็นได้ยากสำหรับคนทั่วไป


อย่างไรก็ตาม ในสมัยปัจจุบันนี้ ที่วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากแล้ว อนิจจตาหรือความไม่เที่ยง โดยเฉพาะในด้านรูปธรรม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก จนเกือบจะกลายเป็นของสามัญไปแล้ว ทฤษฎีต่างๆตั้งแต่ทฤษฎีว่าด้วยการเกิดดับของดาว ลงมาจนถึงทฤษฎีว่าด้วยการสลายตัวของปรมาณู ล้วนใช้ช่วยอธิบายหลักอนิจจตาได้ทั้งสิ้น


ที่ว่า คัมภีร์ชั้นอรรถกายักเยื้องคำอธิบายออกไปหลายๆแง่ ขยายความหมายออกไปโดยนัยต่างๆ นั้น
เช่น
บางแห่งท่านอธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นอนิจจัง ก็เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป (อนจฺจนฺติกตาย) และเพราะเป็นสิ่งที่มีความเริ่มต้นและความสิ้นสุด (มีจุดเริ่ม และมีจุดจบ อาทิอนฺตวนฺตตาย) *

แต่คำอธิบายอย่างง่ายๆที่ใช้บ่อย ก็คือข้อความว่า
ชื่อว่า เป็นอนิจจัง โดยความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีแล้วก็ไม่มี (คือมีหรือปรากฏขึ้นแล้ว ก็หมดหรือหายไป หุตฺวา อภาวฏฺเฐน) *
บางแห่งก็นำข้อความอื่นมาอธิบายเสริมเข้ากับข้อความนี้อีก เช่นว่า ชื่อว่าเป็นอนิจจัง เพราะเกิดขึ้น เสื่อมสลาย และกลายเป็นอย่างอื่น หรือเพราะมีแล้ว ก็ไม่มี (อุปปาทวยญฺญถตฺตภาวา หุตฺวา อภาวโต วา) *

แต่ที่ถือว่า ท่านประมวลความหมายต่างๆ มาแสดงไว้โดยครบถ้วน ก็คือ การแสดงอรรถแห่งอนิจจตา เป็น ๔ นัย หมายความว่า เป็นอนิจจังด้วยเหตุผล ๔ อย่าง คือ *

๑. อุปฺปาทวยปฺปวตฺติโต เพราะเป็นไปโดยการเกิดและการสลาย คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. วิปริณามโต เพราะเป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. ตาวกาลิกโต เพราะเป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔. นิจฺจปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่อความเที่ยง คือ สภาวะของมันที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง ขัดกันอยู่เองในตัวกับความเที่ยง หรือโดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว เมื่อมองดูรู้เห็นตรงตามสภาวะของมันแล้ว ก็จะหาไม่พบความเที่ยงเลย ถึงคนจะพยายามมองให้เห็นเป็นเที่ยง มันก็ไม่ยอมเที่ยงตามที่คนอยาก จึงเรียกว่า มันปฏิเสธความเที่ยง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * ข้างบนตามลำดับ

* ขุ.ปฏิ.31/79/53

* วิสุทฺธิ.3/327

* เช่น วิสุทฺธิ. 3/260

* วิสุทฺธิ.3/275

* วิสุทฺธิ. 3/246 ฯลฯ ว่า เหตุผล ๔ อย่างนี้ เป็นวิธีพิจารณาที่ใช้สำหรับสังขารฝ่ายรูปธรรม แต่ความในอรรถกถาวิภังค์แสดงให้เห็นว่า ใช้ได้สำหรับสังขารทุกอย่าง ดู วินย.ฎีกา.3/80

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร