วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2016, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

การวิปัสสนาภาวนา..หากไม่มีความตั้งมั่นของจิตใจแล้ว...ผลมันก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน...ดีไม่ดีก็เป็นวิปัสสนึกไป..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง

สมาธิ...มันก็มีสัมมาสมาธิ..กับ..มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ...จะเป็นฐานของการโยนิโสมนสิการ..พอเหมาะพอเจาะ..เป็นสมาธิเหมาะแก่งาน


ลุงหมาน เขียน:

แสดงว่า กบ ไม่เข้าใจธรรมะ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยังห่างไกลอีกมาก

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการเจริญ หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
ที่พระองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเดียวเป็นทางสายกลาง ได้แก่องค์มรรค ๘ เมื่อกล่าวว่าเป็นทางสายเดียว
ฉะนั้นหนทางอื่นก็ต้องไม่ใช่ การเจริญวิปัสสนาก็จะขาดสมาธิเสียมิได้เช่นกัน แต่สมาธินั้นจะใช้เพียง
เล็กน้อยเพียงแค่ขณิกสมาธิ เพื่อช่วยให้เข้าถึงความเห็นเป็นอนัตตา

ส่วนสมถะกรรมฐาน หรือที่เรียกกันจนชินหูว่าทำสมาธิหรือเจริญฌาน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง บริกรรมให้แนบแน่นในอารมณ์เดียว ปลายทางจะได้ฌาน ได้อภิญญา
เมื่อแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวจิตจะไปพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ยังไง มันผิดหลักความจริง

อธิบายแค่นี้เเหละเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจต่อไปเถอะ


:b32: :b32: :b32:

แล้วใครให้ลุงไปพิจารณาตอนเป็นฌานนิ่ง ๆ ละลุง...

ลุงแยกออกมั้ย..อาการ..สมาธิที่เหมาะแก่งาน..กับ..สมาธิที่สงบอย่างเดียว..นะลุง

ถามอีก...สติปัฏฐาน 4...ใช้แค่ขณิกสมาธิ...แล้วมันได้ผลมั้ย? :b9: :b9:

ผมไม่เถียงนะ...ขณิกสมาธิก็ใช้สติปัฏฐาน 4 ได้...แต่มันก็ได้แค่ได้ทำ...เข้าถึงอนัตตา...คิดคิด..นะซี

อารมณ์ตอนเข้าถึงการเห็น..นั้น..มันมีอารมณ์แนบแน่นกว่าขณิกสมาธิ..เยอะนะ


กบต้องเข้าใจคำว่าสมาธิตรงนี้ก่อน สมาธินั้นมี ๓ ระดับ ใช่หรือไม่ ?

๑. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิเล็กน้อย เป็นสมาธิเบื้องต้น เป็นสมาธิที่สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น ทำงาน ขับรถ อ่านหนังสือ เล่น กิฬา เหล่านี้เป็นต้น

๒. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิ เกือบจะแนบแน่น เกือบถึงฌาน เฉียดฌาน เหมือนต้นไม้ที่ถูกตัดโค่น
เอนเอียงไปแล้ว ใกล้จะล้มแล้ว มุ่งตรงสู่ฌานอย่างเดียว มีปฐมฌาน เป็นต้น

๓. อัปปณาสมาธิ คือ สมาธิที่แนบแน่นในอารมณ์ที่บริกรรมอยู่เป็เอกัคคตาเป็นหนึ่งเดียว อยู่ในฌานใดฌาน หนึ่ง เมื่อเข้าถึงความแนบแน่นด้วยอำนาจของฌาน ก็ไม่สามารถที่จะพิจารณาอะไรได้
เพราะว่าแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว

อนึ่ง แม้แต่ฌานนั้นจะเป็นบาทของอภิญญาก็จริง แต่ผู้ประสงค์จะทำอภิญญายังต้องออกจากฌานนั้นก่อน
แล้วมาอธิษฐานให้ได้อภิญญาตามความประสงค์ แล้วจึงเข้าฌานต่อเพื่อให้ได้อภิญญานั้นๆ และก็ในทำนองเดียวกัน ผู้ประสงค์ที่จะสำเร็จ มรรค ผล ก็ต้องออกฌาน เพื่อเอาฌานที่ตนได้มาพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ตรงนี้ต่างหากที่คนไม่เข้าใจย่อมจะต้องถกเถียงกันตาย แล้วก็มักจะพูดกันมากว่าใช้สมาธิเป็นบาทเป็นฐานในการเจริญวิปัสสนา โดยความจริงแล้วต้นทางของสมถะกับวิปัสสนาจะไม่เหมือนกันเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2016, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

การวิปัสสนาภาวนา..หากไม่มีความตั้งมั่นของจิตใจแล้ว...ผลมันก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน...ดีไม่ดีก็เป็นวิปัสสนึกไป..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง

สมาธิ...มันก็มีสัมมาสมาธิ..กับ..มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ...จะเป็นฐานของการโยนิโสมนสิการ..พอเหมาะพอเจาะ..เป็นสมาธิเหมาะแก่งาน


ลุงหมาน เขียน:

แสดงว่า กบ ไม่เข้าใจธรรมะ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยังห่างไกลอีกมาก

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการเจริญ หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
ที่พระองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเดียวเป็นทางสายกลาง ได้แก่องค์มรรค ๘ เมื่อกล่าวว่าเป็นทางสายเดียว
ฉะนั้นหนทางอื่นก็ต้องไม่ใช่ การเจริญวิปัสสนาก็จะขาดสมาธิเสียมิได้เช่นกัน แต่สมาธินั้นจะใช้เพียง
เล็กน้อยเพียงแค่ขณิกสมาธิ เพื่อช่วยให้เข้าถึงความเห็นเป็นอนัตตา

ส่วนสมถะกรรมฐาน หรือที่เรียกกันจนชินหูว่าทำสมาธิหรือเจริญฌาน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง บริกรรมให้แนบแน่นในอารมณ์เดียว ปลายทางจะได้ฌาน ได้อภิญญา
เมื่อแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวจิตจะไปพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ยังไง มันผิดหลักความจริง

อธิบายแค่นี้เเหละเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจต่อไปเถอะ


:b32: :b32: :b32:

แล้วใครให้ลุงไปพิจารณาตอนเป็นฌานนิ่ง ๆ ละลุง...

ลุงแยกออกมั้ย..อาการ..สมาธิที่เหมาะแก่งาน..กับ..สมาธิที่สงบอย่างเดียว..นะลุง

ถามอีก...สติปัฏฐาน 4...ใช้แค่ขณิกสมาธิ...แล้วมันได้ผลมั้ย? :b9: :b9:

ผมไม่เถียงนะ...ขณิกสมาธิก็ใช้สติปัฏฐาน 4 ได้...แต่มันก็ได้แค่ได้ทำ...เข้าถึงอนัตตา...คิดคิด..นะซี

อารมณ์ตอนเข้าถึงการเห็น..นั้น..มันมีอารมณ์แนบแน่นกว่าขณิกสมาธิ..เยอะนะ


ลุงหมาน เขียน:
กบต้องเข้าใจคำว่าสมาธิตรงนี้ก่อน สมาธินั้นมี ๓ ระดับ ใช่หรือไม่ ?

๑. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิเล็กน้อย เป็นสมาธิเบื้องต้น เป็นสมาธิที่สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
เช่น ทำงาน ขับรถ อ่านหนังสือ เล่น กิฬา เหล่านี้เป็นต้น

๒. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิ เกือบจะแนบแน่น เกือบถึงฌาน เฉียดฌาน เหมือนต้นไม้ที่ถูกตัดโค่น
เอนเอียงไปแล้ว ใกล้จะล้มแล้ว มุ่งตรงสู่ฌานอย่างเดียว มีปฐมฌาน เป็นต้น

๓. อัปปณาสมาธิ คือ สมาธิที่แนบแน่นในอารมณ์ที่บริกรรมอยู่เป็เอกัคคตาเป็นหนึ่งเดียว อยู่ในฌานใดฌาน หนึ่ง เมื่อเข้าถึงความแนบแน่นด้วยอำนาจของฌาน ก็ไม่สามารถที่จะพิจารณาอะไรได้
เพราะว่าแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว

อนึ่ง แม้แต่ฌานนั้นจะเป็นบาทของอภิญญาก็จริง แต่ผู้ประสงค์จะทำอภิญญายังต้องออกจากฌานนั้นก่อน
แล้วมาอธิษฐานให้ได้อภิญญาตามความประสงค์ แล้วจึงเข้าฌานต่อเพื่อให้ได้อภิญญานั้นๆ และก็ในทำนองเดียวกัน ผู้ประสงค์ที่จะสำเร็จ มรรค ผล ก็ต้องออกฌาน เพื่อเอาฌานที่ตนได้มาพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ตรงนี้ต่างหากที่คนไม่เข้าใจย่อมจะต้องถกเถียงกันตาย แล้วก็มักจะพูดกันมากว่าใช้สมาธิเป็นบาทเป็นฐานในการเจริญวิปัสสนา โดยความจริงแล้วต้นทางของสมถะกับวิปัสสนาจะไม่เหมือนกันเลย


ทำไม..ลุงไม่คิดถึงอุปจารสมาธิ...ละคับ

แล้ว...อัปปณาสมาธิ...นี้ก็ไม่ใช่นิ่งเงียบไปซะหมดที่ไหน..

ฌาน 1 ยังมีวิตก..วิจารณ...ลุงลืมไปแล้วรึงัย

และ...ระดับฌาน..นี้แหละ...สำคัญ..ผลมาเกิดตรงนี้

เริ่มพิจารณาไปเลยก็ได้...(ที่ขณิก)....แต่ผลจะเกิดตอนจิตอยู่ระดับฌาน..คับ

อ้างคำพูด:
อนึ่ง แม้แต่ฌานนั้นจะเป็นบาทของอภิญญาก็จริง แต่ผู้ประสงค์จะทำอภิญญายังต้องออกจากฌานนั้นก่อนแล้วมาอธิษฐานให้ได้อภิญญาตามความประสงค์ แล้วจึงเข้าฌานต่อเพื่อให้ได้อภิญญานั้นๆ และก็ในทำนองเดียวกัน
ผู้ประสงค์ที่จะสำเร็จ มรรค ผล ก็ต้องออกฌาน เพื่อเอาฌานที่ตนได้มาพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ตรงนี้ต่างหากที่คนไม่เข้าใจย่อมจะต้องถกเถียงกันตาย แล้วก็มักจะพูดกันมากว่าใช้สมาธิเป็นบาทเป็นฐานในการเจริญวิปัสสนา โดยความจริงแล้วต้นทางของสมถะกับวิปัสสนาจะไม่เหมือนกันเลย


ลุงหมาน..จิตนาการเองล้วนๆ คับ
1. คนที่ออกจากฌาน..อธิฐาน..แล้วเข้าฌาน...นี้มันเด็ก ๆกำลังฝึก...อภิญญาจริง.เพียงนึกก็ได้เลย..แยกไม่ออกหรอกว่าตรงไหนอธิฐานตรงไหนเข้าฌาน..

2 . " ก็ต้องออกฌาน เพื่อเอาฌานที่ตนได้มาพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา "
ลุงเข้าใจสมถะเพียงด้านเดียว..หากเข้าใจแค่คำแปล...เข้าใจเพียงแต่ตัวหนังสือก็จะมีความเห็นอย่างลุงนี้แหละ...
ตอนทำจริงเห็นผลจริง...มันแยกไม่ออกหรอกว่า..ตอนนี้อยู่ในฌานตอนนี้ต้องออกจากฌานเพื่อมาพิจารณา...และตอนที่จะเห็นผลจริงที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริงกับจิตใจนั้น...การพิจารณาก็แทบจะไม่เรียกว่าเป็นการพิจารณา..เมื่อการพิจารณามันเป็นไปเอง..ซึ่งตอนนี้จิตจะอยู่กับการพิจารณาเองเพียงอย่างเดียว..ทั้งก่อนและหลังนานพอสมควร...มีอาการ..ปราโมทย์..ปีติ...ปัสสัทธิ..สุข..ฯ ตามมา...
ถ้านำผลงานจริงมาวิเคราะวิจัย...
- การอยู่ในอารมณ์เดียว(กระแสการพิจารณาเองของจิต)นานพอสมควร..นี้...ไม่ใช่อาการในขณิกสมาธิแน่นอน.
- อาการปราโมทย์...ปีติ..ปัสสัทธิ..สุข..ฯ..ไม่ใช่ผลของขณิกสมาธิแน่นอน..

อ้างคำพูด:
แล้วก็มักจะพูดกันมากว่าใช้สมาธิเป็นบาทเป็นฐานในการเจริญวิปัสสนา โดยความจริงแล้วต้นทางของสมถะกับวิปัสสนาจะไม่เหมือนกันเลย


ลุงเห็นความแตกต่างกันระหว่าง...สัมมาสมาธิ..มิจฉาสมาธิ..มั้ยคับ?..ต่างกันอย่างไร?

(ผมชอบคำว่าสมาธิเหมาะแก่งาน..มากกว่า...)


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 26 พ.ค. 2016, 06:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2016, 22:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิที่เหมาะกับงาน..กับสมาธิแข็งเป็นหัวตอ...มันต่างกันนะครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2016, 06:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีความเข้าใจในแง่ร้ายกับคำว่า..สมถะ..เยอะมาก

เยอะพอที่..ถึงกับว่า..พอให้คำว่า...สมถะ...เหมือนเห็นผี..

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2016, 06:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:

ส่วนสมถะกรรมฐาน หรือที่เรียกกันจนชินหูว่าทำสมาธิหรือเจริญฌาน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง บริกรรมให้แนบแน่นในอารมณ์เดียว ปลายทางจะได้ฌาน ได้อภิญญา
เมื่อแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวจิตจะไปพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ยังไง มันผิดหลักความจริง

อธิบายแค่นี้เเหละเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจต่อไปเถอ


ลุง....คิดว่าตัวเองเข้าใจถูกแล้ว..ดีแล้ว....จึงเงียบไป

จึงไม่คิดจะหาความจริงเพิ่ม.

ก็คิดแล้วกันว่า..ลุงเป็นบุคคลเช่นไร

:b9: :b9: :b9:

แต่ขอฝากถึงบุคคลทั่วไป..ว่า...อย่าเพียงแค่เห็นคำว่า..สมถะ..ก็เหมือนกำลังเห็นผี..ก็แล้วกัน

สมาธิเหมาะแก่งาน....กับสมาธินิ่งเงียบ..นั้นนะ..แยกกันออกมั้ย?....เคยพบเจอแล้วรึยัง?

ฝากเอาใว้คิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2018, 03:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron