วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 03:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 12:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b23: :b23:

จะพิศดารไปถึงไหนกันเพื่อน ๆ..
..รู้ว่าชอบ...
..ผมก็ชอบ...อิอิ...
..เอาพอดี..พอดี...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 13 ต.ค. 2013, 12:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนา หลายๆคนมีแง่มุมองแตกต่างกันไป
เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

คำสนทนาที่มีต่อกัน ถ้อยคำหรือตัวอักษรนั้นๆ อาจก่อให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา
ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

การสนทนา หากมีการเหตุของการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
เช่น เราว่าเขา เขาย่อมว่าเรา เป็นธรรมดา

ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ในความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ก็ตาม
หากมีสติรู้อยู่ จะเกิดความเป็นกลางในสิ่งที่เกิดขึ้นมากขึ้น

คำพูดหรือตัวอักษร จะมีความเป็นกลางมากขึ้น
คือ ไม่นำ เขา-เรา เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ถ้ามีความเห็นไม่ตรงกัน
อีกฝ่าย ย่อมนำสิ่งที่คิดว่า ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้น นำมาแสดง

หากยังมีการพลาดพลั้งในการสร้างเหตุออกไป มีเขา-เรา
มีว่าเขา เขาย่อมว่าเรากลับมา

เมื่อมีสติรู้ทัน ใจย่อมเกิดการปล่อยวาง
ไม่เกาะเกี่ยวถึงขั้นนำมาสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นอีก
จะทำให้เกิดการสำรวม สังวรระวัง ในการสนทนามากขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่กล่าวมาข้างบน เป็นแค่การเกิดกระบวนการขันธ์๕ ในลักษณะของผัสสะเดียวกัน
ซึ่งแค่ผัสสะเดียว มันก็เกิดขันธ์๕เกิดดับมากมาย
มันยังไม่จบเพียงแค่นั้น ขันธ์๕มากมายที่เกิดดับ ยังส่งผลให้เกิดกระบวนการขันธ์
อันเกิดจากผัสสะตัวใหม่อีก

นั้นก็คือเกิดผัสสะหรือการกระทบที่มโนทวาร (ความคิด)


เกิดวิญญานใหม่เรียกว่า...มโนวิญญาน รู้...รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตัวใหม่

ดังนั้น"ความพอใจ ไม่พอใจ"ที่จขกทกล่าถึง
มันเกิดจาก มโนวิญญานหรือกระบวนการขันธ์๕ตัวนี้
โดยสรุปเราเรียกมันว่า......ความคิด


ดู...ดู....ให้ความหมายของมโนทวาร..ว่า..ความคิด....ไม่กล้าเขียนคำบาลี...เพราะกลัวไปซ้ำกับ..สังขารขันธ์.....
ไม่รู้จะหาทางออกงัย...จะว่าเป้นจิตก็ไม่ได้..ก็ตัวเองเอาคำว่า..จิตเกิดดับในแง่ของอภิธรรมมาใช้แล้ว...ไปทางไหนดีหว่า!!!
หวยเลยมาออกที่ภาษาไทย....มโนทวาร คือ ความคิด..นี้งัย

อิอิ.... :b32:

ไอ้เรารึพยามพูดจาให้ฟังง่ายๆ นี่อะไรดันสร้างจินตภาพเอง
แล้วเอามาย้อน ทั้งๆที่ตัวก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แทนที่จะพูดจาตรงไปตรงมา ว่าไม่เข้าใจตรงไหน
จะได้พุดจะได้อธิบายกันไป นี่เป็นเพราะอายที่จะถาม ก็เลยสร้างเรื่องให้มันเป๋ออกนอกเรื่อง :b9:

ความคิดมันเป็นอายตนะภายนอก....เรียกอีกอย่างว่า ธัมมารมณ์
ความคิดหรือธัมมารมณ์ ...มันไม่ใช่จิต

ความคิดหรือธัมมารมณ์ มันเป็นสิ่งที่มากระทบกับมโนทวาร เมื่อกระทบแล้วจิตหรือมโนวิญญาน
เข้าไปรู้การกระทบนั้น เราเรียกการรวมตัวของสามสิ่งนี้ว่า...ผัสสะ

ผัสสะจึงมีธัมมารมณ์(ความคิด)...มโนทวาร...และมโนวิญญาน สัมประยุตกันอยู่



ปล. ก่อนที่จะคิดเองเออเองกรุณาถาม หรือโต้แย้งมา
ไม่ใช่พูดจาเสียดสีทั้งๆที่ตัวเองยังขาดความเข้าใจ ไม่งั้นจะอายเขาครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่กล่าวมาข้างบน เป็นแค่การเกิดกระบวนการขันธ์๕ ในลักษณะของผัสสะเดียวกัน
ซึ่งแค่ผัสสะเดียว มันก็เกิดขันธ์๕เกิดดับมากมาย
มันยังไม่จบเพียงแค่นั้น ขันธ์๕มากมายที่เกิดดับ ยังส่งผลให้เกิดกระบวนการขันธ์
อันเกิดจากผัสสะตัวใหม่อีก

นั้นก็คือเกิดผัสสะหรือการกระทบที่มโนทวาร (ความคิด)


เกิดวิญญานใหม่เรียกว่า...มโนวิญญาน รู้...รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตัวใหม่

ดังนั้น"ความพอใจ ไม่พอใจ"ที่จขกทกล่าถึง
มันเกิดจาก มโนวิญญานหรือกระบวนการขันธ์๕ตัวนี้
โดยสรุปเราเรียกมันว่า......ความคิด


ดู...ดู....ให้ความหมายของมโนทวาร..ว่า..ความคิด....ไม่กล้าเขียนคำบาลี...เพราะกลัวไปซ้ำกับ..สังขารขันธ์.....
ไม่รู้จะหาทางออกงัย...จะว่าเป้นจิตก็ไม่ได้..ก็ตัวเองเอาคำว่า..จิตเกิดดับในแง่ของอภิธรรมมาใช้แล้ว...ไปทางไหนดีหว่า!!!
หวยเลยมาออกที่ภาษาไทย....มโนทวาร คือ ความคิด..นี้งัย

อิอิ.... :b32:

ไอ้เรารึพยามพูดจาให้ฟังง่ายๆ นี่อะไรดันสร้างจินตภาพเอง
แล้วเอามาย้อน ทั้งๆที่ตัวก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แทนที่จะพูดจาตรงไปตรงมา ว่าไม่เข้าใจตรงไหน
จะได้พุดจะได้อธิบายกันไป นี่เป็นเพราะอายที่จะถาม ก็เลยสร้างเรื่องให้มันเป๋ออกนอกเรื่อง :b9:

ความคิดมันเป็นอายตนะภายนอก....เรียกอีกอย่างว่า ธัมมารมณ์
ความคิดหรือธัมมารมณ์ ...มันไม่ใช่จิต


ความคิดหรือธัมมารมณ์ มันเป็นสิ่งที่มากระทบกับมโนทวาร เมื่อกระทบแล้วจิตหรือมโนวิญญาน
เข้าไปรู้การกระทบนั้น เราเรียกการรวมตัวของสามสิ่งนี้ว่า...ผัสสะ

ผัสสะจึงมีธัมมารมณ์(ความคิด)...มโนทวาร...และมโนวิญญาน สัมประยุตกันอยู่[/b]


ปล. ก่อนที่จะคิดเองเออเองกรุณาถาม หรือโต้แย้งมา
ไม่ใช่พูดจาเสียดสีทั้งๆที่ตัวเองยังขาดความเข้าใจ ไม่งั้นจะอายเขาครับ :b32:

พี่โฮฮับพอเหอะ น้องปวดหัว55555+ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน



โฮฮับ เขียน:

ความคิดหรือธัมมารมณ์ มันเป็นสิ่งที่มากระทบกับมโนทวาร เมื่อกระทบแล้วจิตหรือมโนวิญญาน
เข้าไปรู้การกระทบนั้น เราเรียกการรวมตัวของสามสิ่งนี้ว่า...ผัสสะ

ผัสสะจึงมีธัมมารมณ์(ความคิด)...มโนทวาร...และมโนวิญญาน สัมประยุตกันอยู่





หมายถึง ขณะผัสสะเกิด ธรรมารมณ์กับมโนทวาร กระทบกัน
มโนวิญญาณ(วิณญญาณ ๖) ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย(อายตนะ)


เขียนคนละอย่าง สภาวะที่เกิดขึ้น เป็นสภาวะเดียวกัน




[๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน


เหตุที่เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ(เวทนา) เกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีกับสิ่งที่เกิดขึ้น(ผัสสะ)


เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้า จึงมีวิธีการสอนหรืออุบาย ในการใช้ดับผัสสะ
เช่น ว่าด้วย กรรมเก่า

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.




กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),
เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า

“ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; … ฯลฯ …
ฯลฯ … ฯลฯ … เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”
ดังนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.



ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) ….ฆานะ (จมูก) ….
ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่า เป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้ เกิดความรู้สึกขึ้น)

เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.





หมายเหตุ

ปฏิจจสมุปบาท
ว่าด้วย ผัสสะ เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ขันธ์ ๕
ว่าด้วย รูป(ผัสสะ) เป็นเหตุของ การเกิด เวทนา

ภาษาชาวบ้าน
ว่าด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต (ณ ปัจจุบัน ขณะ)

สิ่งนั้นๆ หมายถึง ผลของเหตุ ได้แก่ กรรม หรือ การกระทำในอดีต
ส่งผลมาให้ได้รับ ในรูปของเหตุ/สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

ทำให้มี (เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด) ความรู้สึกยินดี(ถูกใจ/ชอบ) ยินร้าย(ไม่ถูกใจ/ชัง) เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ที่กล่าวมาข้างบน เป็นแค่การเกิดกระบวนการขันธ์๕ ในลักษณะของผัสสะเดียวกัน
ซึ่งแค่ผัสสะเดียว มันก็เกิดขันธ์๕เกิดดับมากมาย
มันยังไม่จบเพียงแค่นั้น ขันธ์๕มากมายที่เกิดดับ ยังส่งผลให้เกิดกระบวนการขันธ์
อันเกิดจากผัสสะตัวใหม่อีก

นั้นก็คือเกิดผัสสะหรือการกระทบที่มโนทวาร (ความคิด)


เกิดวิญญานใหม่เรียกว่า...มโนวิญญาน รู้...รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตัวใหม่

ดังนั้น"ความพอใจ ไม่พอใจ"ที่จขกทกล่าถึง
มันเกิดจาก มโนวิญญานหรือกระบวนการขันธ์๕ตัวนี้
โดยสรุปเราเรียกมันว่า......ความคิด


ดู...ดู....ให้ความหมายของมโนทวาร..ว่า..ความคิด....ไม่กล้าเขียนคำบาลี...เพราะกลัวไปซ้ำกับ..สังขารขันธ์.....
ไม่รู้จะหาทางออกงัย...จะว่าเป้นจิตก็ไม่ได้..ก็ตัวเองเอาคำว่า..จิตเกิดดับในแง่ของอภิธรรมมาใช้แล้ว...ไปทางไหนดีหว่า!!!
หวยเลยมาออกที่ภาษาไทย....มโนทวาร คือ ความคิด..นี้งัย

อิอิ.... :b32:

ไอ้เรารึพยามพูดจาให้ฟังง่ายๆ นี่อะไรดันสร้างจินตภาพเอง
แล้วเอามาย้อน ทั้งๆที่ตัวก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แทนที่จะพูดจาตรงไปตรงมา ว่าไม่เข้าใจตรงไหน
จะได้พุดจะได้อธิบายกันไป นี่เป็นเพราะอายที่จะถาม ก็เลยสร้างเรื่องให้มันเป๋ออกนอกเรื่อง :b9:

ความคิดมันเป็นอายตนะภายนอก....เรียกอีกอย่างว่า ธัมมารมณ์
ความคิดหรือธัมมารมณ์ ...มันไม่ใช่จิต


ความคิดหรือธัมมารมณ์ มันเป็นสิ่งที่มากระทบกับมโนทวาร เมื่อกระทบแล้วจิตหรือมโนวิญญาน
เข้าไปรู้การกระทบนั้น เราเรียกการรวมตัวของสามสิ่งนี้ว่า...ผัสสะ

ผัสสะจึงมีธัมมารมณ์(ความคิด)...มโนทวาร...และมโนวิญญาน สัมประยุตกันอยู่[/b]


ปล. ก่อนที่จะคิดเองเออเองกรุณาถาม หรือโต้แย้งมา
ไม่ใช่พูดจาเสียดสีทั้งๆที่ตัวเองยังขาดความเข้าใจ ไม่งั้นจะอายเขาครับ :b32:

พี่โฮฮับพอเหอะ น้องปวดหัว55555+ :b32: :b32:

คือถ้าเราเข้าใจว่าขันธ์5เนียะมันคืออะไร เราจะเข้าใจธรรมชาติทั้งหมดที่เกิดขึ้น ตามสภาพธรรม แล้วความคิดมันก็ไม่ได้เป็นอาตนะภายนอกอย่างพี่โฮฮับบอก ความคิดเป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์(รุป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อาตนะภายนอกคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่อาตนะภายนอกก็คือ ผัสสะสิ่งที่เข้ามากระทบทาง หู ตา จมุก ลิ้น กาย ใจ แล้วทำให้เกิดสภาพธรรมนั้น(อารมณ์ที่ปรุงแต่งในมโนทวาร มีสภาพไม่เที่ยง เกิดดับไปตามเหตุปัจจัย) ความคิดก็คือสังขารขันธ์ ไม่ใช่อาตนะภายนอก อย่าสับสน แต่อาตนภายนอกเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สังขารขันธ์ :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 13:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมารมณ์...เกิดจากความคิดเป็นอายตนภายนอก...

แล้วสรุปว่าความคิด..ไม่ใช่จิต...อย่างที่โฮว่ามานั้น

พูดเกือบถูก...แต่เข้าใจผิด..ไปมาก

ความคิด....ไม่เห็นใครว่าเป็นจิตสักคน...มันเป็นกลุ่มหนึ่งมีหน้าที่คิด...เรียกรวม ๆ ว่า..กองความคิด...นั้นก็คือ..สังขารขันธ์...

ลำพังมันเองอย่างเดียว..ไม่ใช่จิตอยู่แล้ว...

ธรรมารมณ์...เกิดขึ้นเพราะ...บางสิ่งผุดมาจากกองความจำเรียกสัญญาขันธ์...หากเป็นกิเลสก็เรียกอาสวะ..เช่น..หน้าหรือชื่อคนที่เราไม่ชอบ..โผล่ขึ้นมา...รู้ได้ด้วยใจ...คือมโน....ผ่านมโนวิญญาณ
ซึ่งก็อยู่ที่เดียวกันนั้นแหละ....ไม่แยกเรียกก็ยังได้....

แค่หน้าเขาผุดขึ้นมา.(เราชอบบอกว่าโผล่มาในความคิด...มันเป็นภาษาพูด...อย่าเอามาปนกับคำว่าสังขารในทางธรรม)...เราก็รู้สึกไม่ชอบเขาแล้ว...เวทนาเกิดแล้วทันที่...นี้ยังไม่ได้คิดเลย...เป็นอารมณ์ที่เกิดจากภายในกระตุ้นให้เกิด...ในกรณีนี้..อะไรคืออายตนภายนอก..อะไรคือภายใน...ถ้าเอามโนเป็นหลัก...อายตนภายนอกก้คือสิ่งที่ระลึกขึ้นได้...สัญญาจึงเป้นอายตนภายนอกของมโน...และมโนก็คืออายตนภายใน

ในกรณีที่หน้าเขาผุดขึ้นมา...แล้วยังปรุงแต่งต่อไปอีกว่า..เขาไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ซ้ำเข้าไปอีก...ยิ่งไม่ชอบเขาเข้าไปใหญ่...ในกรณี้นี้..ถึงจะเข้ากับกรณีที่โฮว่า...ความคิดเป็นอายตนภายนอก...
.สังขารขันธ์จจึงเป็นอายตนภายนอก...ของมโน...เกิดเวทนาคือ..อาการไม่ชอบเขามากขึ้น...

ธรรมารมณ์..เรียก..อารมณ์ที่เกิดจากภายในเป็นตัวกระตุ้น...หลัก ๆ คือจากสัญญาขันธ์...

อิอิ....นะโฮ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขาร


ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนา หกเหล่านี้ คือ สัญเจตนาในเรื่องรูป,
สัญเจตนาในเรื่องเสียง, สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น, สัญเจตนาในเรื่องรส,
สัญเจตนาในเรื่องโผฎฐัพพะ, และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๖.



ความหมายของคำว่า “สังขาร”

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความหมาย อะไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่งนั้น
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร.

สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ?

สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นรูป,
ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา,
ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา,
ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร,
และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นวิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น
ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๖/๑๕๙.





ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกเหล่านี้ คือ สัญเจตนาในเรื่องรูป,
สัญเจตนาในเรื่องเสียง, สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น, สัญเจตนาในเรื่องรส,
สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ, และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.




ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย มีได้เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ;
ความดับไม่เหลือแห่งสังขารทั้งหลาย มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ;

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย,
ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
- ขนฺธ.สํ. ๑๗/๗๔/๑๑๖.




[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็น
สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๔๖๕] พ. เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่
ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่าง
นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ (อีก ๒๔
สูตรเหมือนในวรรคที่ ๒)

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 557&Z=5632

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมารมณ์...เกิดจากความคิดเป็นอายตนภายนอก...

แล้วสรุปว่าความคิด..ไม่ใช่จิต...อย่างที่โฮว่ามานั้น

พูดเกือบถูก...แต่เข้าใจผิด..ไปมาก

เลอะแล้วเราบอกที่ไหนกันว่า ธัมมารมณ์เกิดจากความคิด
เราบอกว่า ธัมมารมณ์ก็คือความคิด ซึ่งมันเป็นอายตนะภายนอกเป็นส่วนหนึ่งในผัสสะ


กบนอกกะลา เขียน:
ความคิด....ไม่เห็นใครว่าเป็นจิตสักคน...มันเป็นกลุ่มหนึ่งมีหน้าที่คิด...เรียกรวม ๆ ว่า..กองความคิด...นั้นก็คือ..สังขารขันธ์...
ลำพังมันเองอย่างเดียว..ไม่ใช่จิตอยู่แล้ว...

แน่ะก็ตัวเองพูดเอง พยายามพูดสร้างลีลาเชิงเสียดสี จนทำให้ความหมายในสิ่งที่ตัวพูด
หาใจความไม่ได้ นี่ลองดูซิว่า ที่กะลาพูดมันหมายความว่าอะไร..


กบนอกกะลา เขียน:
ดู...ดู....ให้ความหมายของมโนทวาร..ว่า..ความคิด....ไม่กล้าเขียนคำบาลี...เพราะกลัวไปซ้ำกับ..สังขารขันธ์.....
ไม่รู้จะหาทางออกงัย...จะว่าเป้นจิตก็ไม่ได้..ก็ตัวเองเอาคำว่า..จิตเกิดดับในแง่ของอภิธรรมมาใช้แล้ว...ไปทางไหนดีหว่า!!!
หวยเลยมาออกที่ภาษาไทย....มโนทวาร คือ ความคิด..นี้งัย
อิอิ.... :b32:

:b6:
..................................................................
แล้วใครบอกกะลาว่า กองความคิดเป็นสังขารขันธ์
มันคนล่ะเรื่อง......สังขารขันธ์มันเป็น..จิตสังขาร มันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด
มโนผัสสะ ความคิดหรือธัมมารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของมโนผัสสะ


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมารมณ์...เกิดขึ้นเพราะ...บางสิ่งผุดมาจากกองความจำเรียกสัญญาขันธ์...หากเป็นกิเลสก็เรียกอาสวะ..เช่น..หน้าหรือชื่อคนที่เราไม่ชอบ..โผล่ขึ้นมา...รู้ได้ด้วยใจ...คือมโน....ผ่านมโนวิญญาณ
ซึ่งก็อยู่ที่เดียวกันนั้นแหละ....ไม่แยกเรียกก็ยังได้......

สัญญาขันธ์ ไม่ใช่กองความจำ
สัญญาขันธ์จำอะไรไม่ได้นอกจาก เวทนา ๓
นั้นคือสุขเวทนา ทุกข์เวทนา อุเบกขาเวทนา

กองความความจำเป็นเรื่องของกายที่เรียกว่า...สมอง
จิตจะรับรู้ได้โดยผ่านทางมโนทวาร
การรับรู้ของจิตหรือมโนวิญญาน ไม่ใช่เป็นการรู้เรื่องราวที่สมองจำไว้
มโนวิญญานรู้แต่เกิดการกระทบขึ้นที่มโนทวาร

โปรดจำไว้ การจำหน้าคนหรือเรื่องราวต่างๆเป็นหน้าที่ของสมอง
ไม่ใช่มโนวิญญานหรือจิต


กบนอกกะลา เขียน:
แค่หน้าเขาผุดขึ้นมา.(เราชอบบอกว่าโผล่มาในความคิด...มันเป็นภาษาพูด...อย่าเอามาปนกับคำว่าสังขารในทางธรรม)...เราก็รู้สึกไม่ชอบเขาแล้ว...เวทนาเกิดแล้วทันที่...นี้ยังไม่ได้คิดเลย...เป็นอารมณ์ที่เกิดจากภายในกระตุ้นให้เกิด...ในกรณีนี้..อะไรคืออายตนภายนอก..อะไรคือภายใน...ถ้าเอามโนเป็นหลัก...อายตนภายนอกก้คือสิ่งที่ระลึกขึ้นได้...สัญญาจึงเป้นอายตนภายนอกของมโน...และมโนก็คืออายตนภายใน

ในกรณีที่หน้าเขาผุดขึ้นมา...แล้วยังปรุงแต่งต่อไปอีกว่า..เขาไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ซ้ำเข้าไปอีก...ยิ่งไม่ชอบเขาเข้าไปใหญ่...ในกรณี้นี้..ถึงจะเข้ากับกรณีที่โฮว่า...ความคิดเป็นอายตนภายนอก...
.สังขารขันธ์จจึงเป็นอายตนภายนอก...ของมโน...เกิดเวทนาคือ..อาการไม่ชอบเขามากขึ้น...

ธรรมารมณ์..เรียก..อารมณ์ที่เกิดจากภายในเป็นตัวกระตุ้น...หลัก ๆ คือจากสัญญาขันธ์...

อิอิ....นะโฮ...

ที่กะลาพูดมาทั้งหมดทั้งมวล มันก็คือความคิดปรุงแต่งทั้งนั้น
เราถึงได้บอกไงว่า กะลาไม่รู้เรื่องปรมัตถ์ธรรม

ขันธ์ห้ามันเป็นปรมัตถ์ธรรม ความหมายของปรมัตถ์ธรรมก็คือ ธรรมที่เป็นเพียงสภาวะ
เกิดแล้วก็ดับ.....มันไม่มีเนื้อหา

ผัสสะเป็นสภาวะที่วิญญานไปรู้รูป(ปสาทรูป)...................
เวทนาคือสภาวะที่วิญญานไปรู้อารมณ์ สุข ทุก เฉยๆ............
สัญญาคือสภาวะทที่วิญญานไปรู้อารมณ์สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ในอดีต......
สังขารคือสภาวะที่วิญญานไปรู้สภาวะที่ถูกปรุงแต่งโดยเวทนาและสัญญา



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาขันธ์ เป็นไฉน

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญาอนาคต
สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ
สัญญาละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล
สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์


[๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน

สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับแล้ว
ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอดีต
ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา
สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา
นี้เรียกว่าสัญญาอดีต


สัญญาอนาคต เป็นไฉน

สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด
ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น
ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต


สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน

สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว
ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว
ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน



[๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน

สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน
เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ
มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน


สัญญาภายนอก เป็นไฉน

สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล
อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่
จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก



[๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน

สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา
หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา
ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา
เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา
ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา
หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด

หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา
นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป


[๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา
ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ
ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม
สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต

หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป


[๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล
สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น
สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ
อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา
สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น
สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข-
*เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่
เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล


สัญญาใกล้ เป็นไฉน

อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา
ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่
สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข
เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ
สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่
ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้
เรียกว่าสัญญาใกล้

หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ
เป็นชั้นๆ ไป


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... =141&Z=225

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2013, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

สัญญาขันธ์ ไม่ใช่กองความจำ
สัญญาขันธ์จำอะไรไม่ได้นอกจาก เวทนา ๓
นั้นคือสุขเวทนา ทุกข์เวทนา อุเบกขาเวทนา

กองความความจำเป็นเรื่องของกายที่เรียกว่า...สมอง
จิตจะรับรู้ได้โดยผ่านทางมโนทวาร
การรับรู้ของจิตหรือมโนวิญญาน ไม่ใช่เป็นการรู้เรื่องราวที่สมองจำไว้
มโนวิญญานรู้แต่เกิดการกระทบขึ้นที่มโนทวาร

โปรดจำไว้ การจำหน้าคนหรือเรื่องราวต่างๆเป็นหน้าที่ของสมอง
ไม่ใช่มโนวิญญานหรือจิต




มิน่าละ...ปกติถึงคุยกับโฮไม่รู้เรื่องกันซะที...เพราะผมเข้าใจผิดไปจากโฮนี้เอง


ถามหน่อย..โฮ....บางคนระลึกชาติได้
แต่ไม่ได้มีฌาณมีญาณอะไร...มันจำเรื่องเก่าได้งัยเมื่อสมองมันถูกเผาไปเรียบร้อยแล้ว
...อย่าบอกนะว่าพวกนี้ถูกฝังไม่ได้เผา..อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2013, 03:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มิน่าละ...ปกติถึงคุยกับโฮไม่รู้เรื่องกันซะที...เพราะผมเข้าใจผิดไปจากโฮนี้เอง

มันไม่ใช่เข้าใจผิดไปจากเรา แต่มันเป็นความเข้าใจผิดไปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
สรุปจากการอ่านความเห็นของกะลามา มันเป็นสิ่งที่กะลาเล่นจินตนาการเอาเอง
แล้วก็โมเมว่า สิ่งที่ฉันคิดถูกต้อง เรื่องนี้มันก็แล้วแต่ ตัวใครตัวมันไม่ได้บังคับ


กบนอกกะลา เขียน:
ถามหน่อย..โฮ....บางคนระลึกชาติได้
แต่ไม่ได้มีฌาณมีญาณอะไร...มันจำเรื่องเก่าได้งัยเมื่อสมองมันถูกเผาไปเรียบร้อยแล้ว


พูดด้วยความยึดติดสักกายทิฐิแบบนี้ เมี่อไรถึงจะเข้าใจ
แล้วที่ยกเรื่องฌานเรื่องญานมา รู้แล้วหรือว่ามันคืออะไร
จะอ้างอิงอะไรเพื่อมาถามในสิ่งที่ตนติดข้อง มันต้องรู้จักและเข้าใจในสิ่งที่เอามาอ้างอิงเสียก่อน

พูดมาได้ไงว่า คนไม่มีฌานหรือญาน ระลึกชาติได้
แค่นี้ก็เข้าใจได้ว่า กะลาไม่รู้เรื่องที่เกี่ยวกับฌานและญาน

กะลาที่เราบอกไปว่า กะลาไม่ได้เข้าใจผิดไปจากเรา แต่เข้าใจผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าสอน
ก็เป็นเพราะ.....พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า อย่าถามเรื่องที่เป็นอจินไตยกับผู้รู้
เพราะให้ผู้รู้จะอธิบายอย่างไร ผู้ที่ขาดปัญญาและผู้ที่ศึกษาธรรมนอกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ย่อมต้องไม่เข้าใจ และอาจทำให้ผู้ถามเป็นบ้าไปซะเปล่าๆ


แต่ไม่เป็นไรจะยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบให้ดูสักเล็กน้อย
สมองของคนมันเป็นแค่เครื่องมือทำให้เกิด......ญานรู้

ถามหน่อยถ้าเรามีเมมโมรี่เล็กจิ๋วสักอัน ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์
เราจะรู้เรื่องราวในเมมโมรี่นั้นมั้ย แล้วเมมโมรีมันใช้ได้กับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็ไม่ใช่

จิตของเราเมื่อออกจากร่างมันก็เป็นกองสังขาร ไอ้กองสังขารก็เหมือนเมมโมรี่
เมื่อจิตเรามาปฏิสนธิ์ในร่างใหม่ กองสังขารเก่ามันยังอยู่ คนที่มีสมาธิมันก็สามารถ
เห็นอดีตได้ ....แต่ไอ้คนพวกนี้เชื่อไม่ค่อยได้เห็นห้าบอกสิบ เห็นสิบบอกร้อย :b32:


กบนอกกะลา เขียน:
...อย่าบอกนะว่าพวกนี้ถูกฝังไม่ได้เผา..อิอิ

ตลกดี! ถามเอง ตอบเอง หัวเราะเอง :b32:

กะลามีสติหน่อยปะเดี๋ยวคนใกล้ตัว เขาจะตกใจ อาจคิดว่ากะลาเสียสติ

รู้สึกว่ากะลาจะชอบจริงๆกับสำนวนแบบนี้
สงสัยจะไม่รู้ว่า มันเป็นสำนวนของพวกแก็งเด็กวัยรุ่น ที่ใช้เพื่อยียวนชาวบ้านแบบไร้สาระ

เราก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอก เพียงแต่ถ้าใครเขาย้อนคำพูดตัวเอง
ก็อย่าไปพิราบร่ำพรรณกับกลุ่มของตัวเอง พร่ำเพ้อแต่ว่าตัวเองเป็นคนดี
ถูกพวกพาลใช้โทสะ
เราตั้งชื่อกลุ่มให้แล้วว่า "ชมรมคนดีที่ถูกย่ำยีจากคนพาล"
หวังว่าจะช่วยปลอบประโลมใจให้หายเศร้าไม่มากก็น้อย :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron